Search This Blog

Saturday, October 9, 2010

ร่างโครงการวิจัย ผลกระทบจากนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาญี่ปุ่นที่มีต่อการพัฒนานวัตกรรมของไทย กรณีกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นในประเทศไทย (Impact of Japanese Intellectual Property Policy to innovation development of Thailand: Japanese Automotive Industrial in Thailand Case)

 โครงการวิจัย

 

1.         ชื่อโครงการวิจัย

               ผลกระทบจากนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาญี่ปุ่นที่มีต่อการพัฒนานวัตกรรมของไทย กรณีกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นในประเทศไทย

               Impact of Japanese Intellectual Property Policy to  innovation development of Thailand: Japanese Automotive Industrial in Thailand Case

 

2.         ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Statements and significance of the problems)

               รัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้การบริหารประเทศของ ฯพณฯ ท่านชินโซ อาเบะ ระหว่างวันที่ 26 กันยายน 2006-26 กันยายน 2007 ประกาศนโยบายทางนวัตกรรมอย่างหนึ่งเพื่อเป็นการพัฒนาและนำญี่ปุ่นยังไปสู่ความเป็นประเทศผู้นำทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งต่อไป นโยบายดังกล่าวคือ “Innovation 25” หมายถึง ญี่ปุ่นจะสร้างนวัตกรรมต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิตแห่งชาติและมนุษยชาติให้เกิดขึ้นได้และนำมาใช้จริงในปี ค.. 2025 หนึ่งในแผนการมีอุตสาหกรรรมยานยนต์เป็นเป้าหมายรวมอยู่ด้วย

               ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นและฐานการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้การเป็นฐานการผลิตหรือเป็นฐานการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ ก็ตาม ญี่ปุ่นจำเป็นต้องรักษาสิทธิ์ประโยชน์ทางทรัพย์สินทางปัญญา(IPR) เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ไทยและญี่ปุ่นในฐานะสาชิกWTO ย่อมต้องดำเนินนโยบายและปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้อันเป็นข้อผูกมัด เป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงกฎหมายและวิธีการต่างๆ ภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงที่ให้ไว้ ในอีกด้านหนึ่งนโยบายการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศต่างๆ ย่อมต้องเกิดขึ้นภายใต้กรอบของ WTO

               ตาม ASEAN IPR Action Plan 2004-2010 บัญญัติว่าไทยต้องดำเนินนโยบายทางทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้กรอบของ WTO เท่านั้น และยังมีประเทศญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทสำคัญด้วย นอกจากไทยจะแก้ไขกฎหมายและนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศแล้ว ยังต้องผลักดันนโยบายของประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศญี่ปุ่นไปด้วย ดังนั้นหากนโยบายหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาของญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไปหรือมีทิศทางอย่างไร ประเทศไทยก็ย่อมต้องแก้ไขกฎหมายและนโยบายเพื่อให้เอื้อต่อการลงทุนของญี่ปุ่นไปด้วย ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่ไม่ถูกต้อง

               ในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมดของไทยเป็นการลงทุนของประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยไม่ใช่เจ้าของสิทธิ์ใดๆ ในอุตสาหกรรมประเภทนี้ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา การที่ประเทศไทยจะกระตุ้นให้คนภายในประเทศสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นโดยเฉพาะทางด้านยานยนต์และผลักดันให้เกิดการจดทะเบียนสิทธิบัตรย่อมไปไปได้แต่ยากที่จะกระทำหรือไม่ นโยบายของประเทศญี่ปุ่นมีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายด้วยหรือไม่ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องศึกษากันต่อไป

 

3.         ปัญหาการวิจัย (Research problem)

1. นโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญาของญี่ปุ่นมีผลกระทบต่อนโยบายด้านทรัพย์ทางปัญญาของประเทศไทย

2. การป้องกันสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นในประเทศไทยมีผลกระทบต่อการสร้างนวัตกรรมของคนในประเทศไทยเอง

3. การเปลี่ยนเปลงนโยบายต่างๆ ของไทยเพื่อเอื้อให้อุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่น

 

4.         วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research objective)

1. เพื่อศึกษาผลกระทบจากนโยบายด้านทรัพย์ทางปัญญาของประเทศญี่ปุ่นว่ามีผลกระทบต่อการสร้างนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยอย่างไร

2. เพื่อศึกษาหาข้อสรุปและเสนอแนวทางการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ไทยได้มีนวัตกรรมทางยานยนต์ด้วยตนเอง

 

5.         การตั้งสมมติฐาน (Hypothesis to b tested)

1.นโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญาของญี่ปุ่นมีผลกระทบต่อการพัฒนานวัตกรรมในประเทศไทย

 

6.         ขอบเขตของการวิจัย (Scope or delimitation of the study)

1. ขอบเขตด้านประชากร ประชากรในที่นี้หมายถึง กลุ่มผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นภายในประเทศไทย

2. ขอบเขตด้านปัญหา ศึกษานโยบายทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศญี่ปุ่นที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย

3. ขอบเขตด้านเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ มกราคม 2554-มกราคม 2555

4. ขอบเขตด้านตัวแปร

-ตัวแปรอิสระ ได้แก่             1.ยี่ห้อต่างๆ ของยานยนต์

                       -ตัวแปรตาม   ได้แก่      1.ระดับความคิดเห็นเรื่องนโยบาย

 

7.         นิยามศัพท์เฉพาะ (Definition)

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้แต่มีมูลค่าภายใต้กฎหมายไทยและญี่ปุ่น

นวัตกรรม หมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ๆ ที่มีผลต่อการสร้างสรรค์งานด้านยานยนต์

 

8.         ประโยชน์ที่ความว่าจะได้รับ

1. ทราบถึงผลกระทบตัวใดบ้างทางนโยบายต่อการสร้างนวัตกรรมของไทย

2.ให้คนในประเทศตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมทายายนต์ต่อการพัฒนาประเทศเชิงทรัพย์สินทางปัญญา

 

9.         ระเบียบดำเนินการวิจัย (research methodology)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการทำวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ประชากรและตัวอย่าง

1.1) ประชากร (Population) ประชากรในที่นี้หมายถึง พนักงานสายการผลิต (วิศวกรคนไทย) ในบริษัทผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นในประเทศไทย อันได้แก่ Toyota Honda  Isuzu Nissan Mazda  ทั้งหมด 5 บริษัท

1.2) ขนาดตัวอย่าง (Sample size) ขนาดของตัวอย่างที่เป็นตัวแทนระชากรที่ใช้ในการศึกษาจะได้จากการสุมตัวอย่างแบบ Stratified Random Sampling โดยขนาดกำหนดระดับความเชื่อมั่น 95% และให้ความคลาดเครื่อนไม่เกิน 5 % โดยใช้สูตรคำนวณ

 

 

 

เมื่อ         n  =  จำนวนตัวอย่าง

N =  จำนวนประชากร

e  =  ค่าคลาดเคลื่อน

              

              

1.3)   วิธีการเลือกตัวอย่าง (Sampling Method) การสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มตัวอย่างของอุตสาหกรรมรถยนต์ กำหนดสุ่มสัดส่วนตามกลุ่มตัวอย่างที่มีอยู่ (Proportional Allocation of Sample Size) ตามบริษัท รวมจำนวนตัวอย่างที่สุ่ม 250 ตัวอย่าง ดังนี้

 

บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่น

จำนวนตัวอย่าง

Toyota

50

Honda

50

Isuzu

50

Nissan

50

Mazda

50

 

 

8.         วิธีการประเมินผล / สังเคราะห์ข้อมูล

8.1) การวิจัยจะใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)

8.2) การรวบรวมข้อมูล กรอกแบบสอบถามตามที่กำหนดไว้

8.3) การวิเคระห์ข้อมูล ประมวลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่

สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) เป็นการหาค่าทางสถิติพื้นฐาน เช่น ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าความถี่ เพื่ออธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง เช่น พศ อายุ ระดับการศึกษา เป็นต้น โดยการวิเคราะห์จะแสดงถึงลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง

สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบของตัวแปรต่างๆ โดยใช้การทดสอบความสัมพันธ์ด้วยวิธี Chi-square เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่จะศึกษา

 

9.         แผนการดำเนินงาน / ขั้นตอนการวิจัย

               ตารางสรุปแผนงานวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

10.      ทรัพยากรที่ใช้

10.1) บุคคล  ได้แก่ ผู้พิมพ์ ผู้ช่วยแจกแบบสอบถาม ผู้ช่วยรวมรวมข้อมูลทางสถิติ

10.2) อุปกรณ์ ได้แก่  เครื่องคอมพิวเตอร์  โปรแกรม SPSS อุปกรณ์สำนักงาน

10.3) งบประมาณในการทำวิจัย

                      -ค่าจัดเตรียมโครงการ           2000       บาท

                                           -ค่าอุปกรณ์                           4000        บาท

                                           -ค่าเก็บข้อมูล                        10000      บาท

                                           -ค่าวิเคราะห์ขอมูล                5000        บาท

                                           -ค่าพิมพ์                              5000        บาท       

                                                                        รวม       26000       บาท

 

11.      เอกสารอ้างอิง

       สมบุรณฺ เสงี่ยมบุตรกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการค้า การเงิน และการลุงทุน. ..พัฒนา . 2552

        Kinuta Nikoji. Shinkeizaiseijou zenryoku.   Ministry of Economics Japan. 2006.

       Kotler, Philip.  Marketing Management: Analysis, Planning Implementation and Control, 9th ed. Englewood Cliefs: Pretice-Hall Inc. 1999.

       Silvio L. Emery, Wyn Ellis, Montri Chulavatnatol.  Thailand Competitive Innovation Strategies. National Innovation Agency. 2005.

 

       

No comments:

Post a Comment