ช่วงวันหยุดที่ผ่านมา อาจารย์ได้อ่านบทความภาษาญี่ปุ่น เขียนโดยโออิว่า โทชิยูกิ แสดงทัศนะส่วนตัวเกี่ยวกับ วัฒนธรรมสงความ บอกว่าเป็นวัฒนธรรมที่คิดแต่เรื่องของการต่อสู้ เพื่อใคร เพื่ออะไร เพื่อตนเองหรือไม่ หรือเพื่อครอบครัว หรืออาจเพื่อประเทศหรือไม่ก็ตาม แต่ไม่มีความคิดใดเลยที่สงครามว่าจะทำเพื่อโลกทั้งใบ
วัฒนธรรมสงความต้องมี "ศัตรู" หรือคู่แข่ง ซึ่งต่อสู้ด้วยความล้มเหลว ความเกรียดชังและความหวาดกลัวของคู่แข่ง
คู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่ายคิดเข้าข้างตนเองอยู่เสมอว่าตนเองถูกต้อง ตนเองคือความยุติธรรม ผู้ชนะย่อมพูดว่าเป็นเพราะพระเจ้าเข้าข้าง ส่วนผู้แพ้ก็จะบอกว่าเพราะพระเจ้าทอดทิ้ง ความคิดที่จะก่อสงครามอาจมาจากความคิดที่ว่า "ฆ่าเขาก่อนที่จะถูกฆ่า" คือ ต้นกำเนิดของวัฒนธรรมสงคราม
ในมุมของ วัฒนธรรมสันติ เมื่อเกิดความไม่ลงร่องลงรอยหรือความขัดแย้ง ให้พิจารณาวิธีแก้ไขปัญหาก่อน หาวิธีการที่ให้ทุกฝ่ายมีความสุขและเข้าใจกัน แม้ผลลัพธ์จะไม่เพิ่ง่ปราถนาไปทั้งหมด อาจได้มาเพียงครึ่งหนึ่งคือความสุข ส่วนอีกครึ่งหนึ่งคือความเศร้า หรือต้องต่อให้ถูกโจมตี ก็ต้องมั่นคงในหลักไม่ใช้้ความรุนแรงหรือยึดมั่นในหลักอหิงสาอย่างแรงกล้า
หรือจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า "ถ้าจะต้องฆ่าผู้อื่น ขอยอมตายเสียดีกว่า"
เรื่องไร้ความรุนแรงหรือหลักอหิงสา มีท่านผู้รู้และครูบาอาจารย์สอนมาก็มาก ท่านหนึ่งในจำนวนนั้นที่จะขอกล่าวถึง คือ พระเยซู ซึ่งพระองค์ได้สอนว่า "ขอให้รักศัตรู"
แม้พระองค์ถูกทรมานและถูกฆ่า เมื่อพระองค์กลายเป็นพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ก็ไม่ได้ฆ่าหรือทรมานคนที่ฆ่าพระองค์เลย
การรักษาสันติภาพให้ดำรงอยู่ได้ การไม่ใช้ความรุนแรงหรืออหิงสา อยู่ภายใต้แนวคิดที่ว่า ยอมตายดีกว่าจะต้องฆ่าผู้อื่น มนุษย์ต้องเปลี่ยนความตั้งใจได้
อหิงสา เป็นความคิดที่เชื่อมโยงกับความสันติ
ผู้เขียนยกตัวอย่างถึงการสู้ระบบระหว่างปาเลสไตส์์กับอิสราเอล ที่ต่างต่อสู้กันมายาวนาน ปาเรสไตย์บอกว่าตนเองมีสิทธิ์ใช้ระเบิด เพียงแค่บอกว่าจะใช้ระเบิด ความสันติก็ไม่มีทางเกิดขึ้นมาได้อย่างถาวร ถ้าคิดว่าความสันติเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ การต่อสู่แบบใด ๆ ก็ไม่มีทางเกิดขึ้น คนที่ทำสงครามกันต้องคิดถึงเรื่องความสูญเปล่าที่จะเกิดขึ้น
กรณีความต้องการน้ำมัน เป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดสงความ อเมริกาต้องการน้ำมันมหาศาล นอกจากจะใช้เชิงเศรษฐกิจแล้ว การมีน้ำมันจำนวนมากมายก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดสงครามได้เช่นกัน
ในอดีตเกิดสงครามเย็นระหว่างอเมริกากับสหภาพโซเวียต เหตุผลสำคัญคืออเมริกาต้องการเอาชนะในตอนนั้น เพื่อจะเป็นนายของโลก หรือการที่ต้องการเป็นนายของโลก ความต้องการเป็นเบอร์หนึ่งของโลกคือวัฒนธรรมสงครามที่เรากำลังพูดถึงอยู่
ความต้องการความคุมน้ำมันหรือทรัพยากรน้ำหรืออื่น ๆ เป็นสิ่งที่ต้องได้มาจากสงคราม จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ต้องอะไรก็ต้องต่อสู้กัน โลกจะฝากความหวังไว้ที่อเมริกาประเทศเดียวไม่ได้ ถ้าวันหนึ่งอเมริกาล้ม นั่นจะส่งผลต่อทุกประเทศไปด้วย โลกก็ถึงคราวอวสาน
วัฒนธรรมสงครามนั้น ไม่ได้เริ่มเกิดขึ้นในยุคสมัยนี้หรอก แต่มีมาตั้งแต่สมัยโรมันโบราณ หรือการล่าอณานิคมของสเปน หรือแม้แต่การเริ่มต้นของสหราชอาณาจักร จนกระทั้งมาถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามกลายเป็นวัฒนธรรมที่ต้องเกิดขึ้นจริงของมนุษยชาติ
มีความคิดของผู้เขียนต้องการบอกว่า ผู้นำโลกที่ต้องการให้โลกเกิดความสงบและมีสันตินั้น ไม่ใช่อเมริกา เพราะอเมริกาจ้องแต่ทำสงครามกับคนอื่น เพราะอเมริกามองว่าสงครามเป็นวัฒนธรรม ถ้าอเมริกาคิดอย่างนี้โลกก็ไม่มาถึงความสันติ อเมริกาก็คือผู้นำแห่งวัฒนธรรมสงคราม ดังนั้นโลกต้องการผู้นำแห่งวัฒนธรรมสันติภาพด้วยเช่นกัน แล้วประเทศใดในโลกจะได้รับตำแหน่งนี้ เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป
ณัฐพล จารัตน์
ผู้ประนีประนอม ศาลแรงงานภาค 1
ที่มา: 戦争文化と平和文化 (yokokai.com) สรุปความเมื่อ 13 ตุลาคม 2564
***บทความนี้ถอดความด้วยการสรุปคร่าว ๆ ไม่ใช่การแปลเนื้อความทั้งหมด***
No comments:
Post a Comment