Search This Blog

Tuesday, November 22, 2022

#หน้าสถานี #ekimae : อ่าน "โคโคโร" หัวใจของญี่ปุ่น「こころを読む私」

ทุกครั้งที่เดินทางมาญี่ปุ่น ผมต้องมีวันว่างสักวันเพื่อไปหมกในร้านหนังสือหรือไม่ก็ห้องสมุดสักแห่ง บางครั้งก็ไปอ่านหนังสือบ้าง ไปดูเทรนด์สังคมญี่ปุ่นจากปกหนังสือ และไปดูเรื่องสั้นที่เคยอ่านเคยเรียน 

คราวนี้ผมแวะร้านหนังสือที่ห้างที่ติดกับสถานีโอซากา จำชื่ไม่ได้ว่าห้องอะไร ปกติเป็นคนไม่จำชื่อห้างร้านเท่าไรนัก 

หนังสือที่หยิบมาใส่ตระกร้า คือ วรรณกรรมที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ประพันธ์โดยนักเขียนชาวญี่ปุ่นชื่อ นะทซึเมะ โซเซะกิ ชื่อวรรณกรรม คือ โคโคโร こころ หรือจะแปลว่า หัวใจ 

สมัยเรียนวิชาวรรณกรรมตอนเรียนมหาวิทยาลัย อาจารย์เคยให้อ่านบ้างเล็กน้อย ไม่ได้อ่านทั้งหมด แต่เรื่องราวก็ลืมไปเสียหมดแล้ว 

พอเห็นปกสีขาว สวยและสะอาดตา จึงได้หยิบกลับมาด้วย 1 เล่ม ราคาไม่แพง เพียง 300 เยน น่าจะตกราว ๆ 100 บาท 

เดี๋ยวจะพยายามอ่านรื้อฟื้นความทรงจำ และวิเคราะห์สังคมและคนญี่ปุ่นจากวรรณกรรมนี้อีกครั้ง 

ขอให้อ่านจบ ขอให้มีเวลาอ่านเถอะน๊า 






皆で京都を守ろう‼️



อักษร 戦 (เซน) สงความ เป็นอักษรคักจิแห่งปีของญี่ปุ่น 今年の漢字応募用紙


แต่ละ ณ วัดคิโยมิซุ (清水寺) หรือวัดน้ำใสที่คนไทยเราเรียกขานกัน จัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอตัวอักษรคันจิแห่งปี ผมจะเรียกว่า อักษรคันจิที่ทรงอิทธิพลแห่งปีก็แล้วกันนะครับ 

สำหรับครั้งนี้ตัวอักษร 戦 (เซน) หมายความว่า #สงความ กลายเป็นคันจิที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด สาเหตุสำคัญที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่สะท้อนออกมากจากตัวอักษรคันจิในปีนี้ ทำให้เห็นได้ว่า คนญี่ปุ่นให้ความสนใจในเรื่องสงครามหรือความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในโลก ไม่ว่าจะเป็นสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซียน แม้กระทั่งโศกนาฏกรรมร้ายแรงในประวัติศาสตร์การเมืองญี่ปุ่นสมัยใหม่ คือ การลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี นายซินโซ อาเบะ 



ผมเพิ่งจะอ่านข่าวจากเว็บของ The Japan Times จึงเห็นผลการเสนอคันจิแห่งปี สรุปแล้ว คือ อักษร 戦 (เซน) สงความ 

เมื่อเดือนที่แล้ว ผมหยิบกระดาษสำหรับเขียนเสนอคันจิแห่งปี ผมคิดว่าจะเขียนอักษร 新 (ชิน) แปลว่า ใหม่ เพราะอยากให้อะไร ๆ ได้เริ่มต้นใหม่ ผมยังถ่ายภาพกระดาษที่ใช้เขียนเสนอคันจิมาไว้เป็นที่ระลึกอีกด้วย 


ที่มาของภาพ ผู้เขียนถ่ายภาพเองจากวัดคิโยมิซุ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565

อักษรคันจิ เป็นอักษรที่ญี่ปุ่นรับมาจากอังษรจีนตั้งแต่สมัยโบราณนับพันปี ปรับเพิ่ม ปรับลด ปรับแต่ง จนกลายเป็นอักษรคันจิแบบญี่ปุ่นที่อาจมีความหมายไม่เหมือนเดิมจากรากคันจิของจีน อักษรคันจิเป็นอักษรภาพ หมายความว่า อักษรคันจิจำนวนหนึ่งจำลองภาพจากธรรมชาติ ลงมาเป็นตัวอักษร ทำให้แม้จะอ่านคันจิตัวนั้น ๆ ไม่ได้ว่าออกเสียงว่าอะไร แต่พอจะเดาความหมายของตัวอักษรนั้นได้อย่างคร่าว ๆ 

หวังว่าปีหน้าคงจะเป็นอักษรคันจิแห่งความหวัง รุ่งเรือง สดใส โลกต้องการสันติภาพที่ปราศจากข้อแม้ ผมหวังว่าจะได้ขับเคลื่อนอะไรสักอย่างไม่ในช้า 






自衛隊










#joinsdgs