Search This Blog

Friday, December 6, 2024

การเสด็จเยือนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ณ Eberswalde ประเทศเยอรมนี ในปี 1934 (The Visit of King Prajadhipok (Rama VII) to Eberswalde, Germany in 1934)

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 เพื่อนชาวเยอรมันของผมเชิญชวนให้ไปเยี่ยมชมเมืองเอเบอร์สวัลเด (Eberswalder) เป็นเมืองขนาดกลางในรัฐบรันเดินบวร์ค (Brandenburg) ขับรถจากกรุงเบอร์ลินออกไปทางประเทศโปรแลนด์ใช้เวลาเดินทางประมาณ 50 นาที ด้วยรถยนต์ ออกเดินทางจากบ้านประมาณ 11.00 น. อากาศวันนี้ค่อยข้างหนาว ใบไม้เปลี่ยนเป็นสีเหลืองสลับกับสีน้ำตาลและเขียงอ่อน ดุจประหนึ่งภาพวาดที่ธรรมชาติตั้งใจสรรสร้าง

คุณมาร์ติน เฮิก (Martin Hoeck) ประธานสภาเมืองเอเบอร์สวัลเด รอต้อนรับเราอยู่ที่ออฟฟิศส่วนตัว เมื่อเดินเข้ามาในออฟฟิศของเขา สิ่งที่ทำให้น่าประหลาดใจ คือ เขาได้จัดเรียงพระบรมฉายาลักษณ์หรือจะพูดภาษาทั่วไป คือ รูปภาพ ของพระบาทสมเด็จพระปกเหล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ภาพข่าว เอกสารทางประวัติศาสตร์ คลิปข่าวการพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพระราชดำเนินของในหลวงรัชกาลที่ 7 ในปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ.1934) หรือเมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว ผมได้ถ่ายภาพบางส่วนไว้ คุณมาร์ตินสนใจการเมืองไทยและค้นคว้าเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปกเหล้าเจ้าอยู่หัวในการเยือนประเทศเยอรมัน นั้นเป็นสิ่งที่น่าประทับใจในเพื่อนชาวเยอรมันคนนี้



ภาพหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ในเยอรมนีเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ในปี พ.ศ. 2477 

ภาพการเสด็จเยือนสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองเอเบอร์สวัลเด (Eberswalder) และเมืองใกล้เคียง จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ประจำเมืองเอเบอร์สวัลเด

การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้นนับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและเยอรมนีในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง การเยือนครั้งนี้มิได้เป็นเพียงแค่การเดินทางส่วนพระองค์ แต่ยังเป็นการเสริมสร้างมิตรภาพและความร่วมมือในระดับนานาชาติที่ยังคงถูกจดจำในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเยือนเมืองเอเบอร์สวัลเด (Eberswalder) และเมืองใกล้เคียง ซึ่งมีความสำคัญทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ

ผมแปลกใจพร้อมด้วยความอยากรู้อยากเห็น ได้ตั้งคำถามกับคุณมาร์ตินว่า สิ่งใดเป็นแรงบันดาลใจทำให้สนใจค้นคว้าเรื่องนี้

คุณมาร์ตอนตอบว่า "ผมได้พบภาพในอัลบัมภาพเก่า ๆ ที่เก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์ของเมือง ด้วยความที่ผมสนใจประเทศไทยอยู่ เมื่อเห็นภาพภพระมหากษัตริย์ของไทยเคยมาเยือนเมืองบ้านเกิด จึงอยากค้นคว้าและศึกษาความสำคัญของประวัติศาสตร์ช่วงนั้น"

การเสด็จเยือนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและเยอรมนี ซึ่งในช่วงเวลานั้นประเทศเยอรมนีที่มีบทบาทสำคัญในยุโรป พระองค์ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของเยอรมนี โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมและการพัฒนาสาธารณูปโภคอันล้ำสมัยในช่วงนั้น พื้นที่สำคัญที่พระองค์เสด็จเยือนในเมืองเอเบอร์สวัลเด และเยี่ยมชมลิฟต์ยกเรือนีเดอร์ไฟโนว (Schiffshebewerk Niederfinow) ซึ่งเป็นลิฟต์ยกเรือที่ทันสมัยที่สุดในโลกในยุคนั้น และถือเป็นสิ่งก่อสร้างเชิงวิศวกรรมที่ล้ำสมัย แสดงถึงความสนใจในเทคโนโลยีและการนำความรู้เหล่านี้กลับไปใช้พัฒนาประเทศไทย 

คุณมาร์ตินค้นคว้าและเขียนเป็นบทความลงในวารสารหรือรายงานประจำปีของเมืองเอเบอร์สวัลเด ผมได้รับมอบมาเป็นที่ระลึกหนึ่งเล่ม บทความนี้เขียนด้วยภาษาเยอรมัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายดายที่ผมจะเข้าใจได้ จึงขอใช้เทคโนโลยีการแปลเพื่อสรุปเป็นประเด็น ๆ สำคัญเอาไว้ รายงานนี้เรียกว่า Eberswalde Jahrbuch 2021 เมือง Eberswalde และสมาคม Verein für Heimatkunde zu Eberswalde e.V. อนุรักษ์และบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ไว้ เชื่อมโยงกับภาพถ่ายและเอกสารร่วมสมัย ทำให้เห็นถึงความสำคัญของเหตุการณ์นี้ในมุมมองของชุมชนท้องถิ่น

หน้าปกของรายงานประจำปีเมืองเอเบอร์สวัลเด ปี 2021 



บทความของคุณมาร์ติน เฮิก เขียนเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสถานที่ต่าง ๆ ของ
เมืองเอเบอร์สวัลเด ปี 1934

คุณมาร์ตินเขียนบทความว่าอย่างไรบ้าง

ด้วยพลังของเทคโนโลยีการแปลสามารถลลดทอนอุปสรรคของภาษาลงไปบ้าง ผมขอเรียบเรียงและสรุปประเด็นสำคัญ


จุดแรก สี่แยกทางประวัติศาสตร์ ณ เมืองเอเบอร์สวัลเด

คุณมาร์ตินพาผมแวะจอดรถใกล้ ๆ กับสี่แยกแห่งหนึ่งในเมืองเอเบอร์สวัลเด คุณมาร์ตินพาเดินไปชมจุดที่เคยเป็นจุดพักระหว่างเดินทางจากกรุงเบอร์ลินมายังเมืองเอเบอร์สวัลเด บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตเหล็กที่ใหญ่ที่สุดในโลกในยุคนั้น คาดว่าทั้ังสองพระองค์เสด็จมาเพื่อชมกิจการของโรงงานแห่งนี้
พวกเรายกภาพเมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้วขึ้นมาเทียบกับสภาพปัจจุบัน แน่นอนว่าสภาพนั้นไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เหลือเพียงเค้าลางที่ยังพอจดจำได้ว่าทั้งสองพระองค์เคยเสด็จมาตรงนี้ 


ภาพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

ภาพถ่ายที่บันทึกไว้ในช่วงเวลานั้นแสดงให้เห็นถึงการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากประชาชนในพื้นที่เมืองเอเบอร์สวัลเด (Eberswalde) และเมืองใกล้เคียง โดยมีประชาชนและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นเข้าร่วมในพิธีต้อนรับ พระองค์ทรงได้รับการยกย่องในฐานะพระมหากษัตริย์ที่ทรงเปิดรับวัฒนธรรมและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ 


จุดที่สอง การเยี่ยมชมลิฟต์ยกเรือ Schiffshebewerk Niederfinow

ต่อจากนั้น ทั้งสองพระองค์เสด็จไปทอดพระเนตรลิฟต์ยกเรือ Schiffshebewerk Niederfinow เป็นสิ่งประดิษฐ์แห่งสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทางวิศวกรรมเยอรมันที่ล้ำสมัยที่สุดในโลกในยุคนั้น นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่เยือนที่นี่

คุณมาร์ตินนำภาพของการเยือนครั้งนั้นมาเทียบกับสภาพปัจจุบัน เพื่อให้เห็นภาพที่เกิดขึ้นในตอนนั้น จนสามารถจิตนาการเห็นได้จริง


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ประทับเรือพระที่นั่งที่ประเทศเยอรมนีจัดถวายเพื่อเยี่ยมชมลิฟต์ยกเรือ Schiffshebewerk Niederfinow 


จุดที่สาม การเยือนพื้นที่ป่า Schorfheide

สำหรับจุดที่สาม พวกเราไม่ได้แวะชม เพียงแต่ขับรถผ่าน ได้เห็นสภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติ นึกไม่ออกเลยว่าเมื่อ 100 ปีที่แล้ว คงจะมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่านี้เป็นแน่ 

ผมจึงได้เพียงจิตนาการผ่านบทความของคุณมาร์ตินว่า หลังจากการเยี่ยมชม Schiffshebewerk Niederfinow พระองค์ได้เสด็จต่อไปยัง Schorfheide ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าที่มีชื่อเสียงในเยอรมนี สถานที่แห่งนี้เคยใช้เป็นแหล่งล่าสัตว์ของขุนนางและชนชั้นสูงของเยอรมนี ภายในพื้นที่ยังมีบ้านพักจักเฮ้าหรือบ้านพักต่างอากาศสไตล์เยอรมัน (Jagdhaus) ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมท้องถิ่น พระองค์ทรงใช้โอกาสนี้ในการพบปะบุคคลสำคัญของท้องถิ่น แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยและเยอรมนีในยุคนั้น

ความสัมพันธ์ไทย-เยอรมนีในบริบทประวัติศาสตร์ 

การเสด็จเยือนครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในยุคของการปฏิรูปและปรับตัวให้ทันสมัยและการเปลี่ยนผ่านระบบการปกครองของประเทศไทยจากระบบสมบูรณายาสิทธิราชเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศที่มีความก้าวหน้าเช่นเยอรมนีช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับประเทศไทยในการนำเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและความร่วมมือที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว แสดงถึงพระวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะนักการทูตที่ทรงเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พระองค์ทรงแสดงถึงความพร้อมในการเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ และแสดงถึงมิตรภาพระหว่างชนชาติไทยและเยอรมัน ในเวลาเดียวกัน การเยือนนี้ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีโลก โดยเฉพาะในยุคที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาสู่ความทันสมัย เรื่องราวทางประวัติศาสตร์นี้ ไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในหมู่คนไทยเท่าไรนัก ผมเองก็เพิ่งทราบและประทับใจกับคุณมาร์ตินที่ทุ่มเทค้นคว้าและเสียกำลังทรัพย์สินส่วนตัวเพื่อให้ได้ถึงข้อมูลสำคัญของประวัติศาสตร์พระมหากษัตริย์ไทย ด้วยเจตนาที่อยากจะแสดงเชิงประจักษ์ความสัมพันธ์ของประเทศไทยและประเทศเยอรมันที่มีมาอย่างยาวนาน

ผมจะขอสนับสนุนเพื่อนคนนี้ในการค้นคว้าให้เรื่องราวนี้ได้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น หวังว่าจะมีคนไทยมาเยือนเมืองเอเบอร์สวัลเดมากยิ่งขึ้นในอนาคต

ณัฐพล จารัตน์
กรุงเบอร์ลิน
6 ธันวาคม 2567

------

The blog post titled "The Visit of King Prajadhipok (Rama VII) to Eberswalde, Germany in 1934" recounts the author's visit to the city of Eberswalde on October 24, 2024. The author was invited by Martin Hoeck, the chairman of the Eberswalde City Council. During the visit, the author explored an exhibition featuring royal photographs, historical documents, and news clips related to the historic visit of King Prajadhipok (Rama VII) to Germany in 1934.

Martin Hoeck conducted extensive research on this royal visit and published an article in the Eberswalder Jahrbuch 2021, a yearly publication that highlights Eberswalde's local history. The article emphasizes the diplomatic relationship between Thailand and Germany, as well as King Prajadhipok's interest in Germany's technological and cultural advancements during his reign.

ブログ記事「ラーマ7世(プラチャディポック王)の1934年ドイツ・エーベルスヴァルデ訪問」は、著者が2024年10月24日にエーベルスヴァルデ市を訪れた際の経験を語っています。著者は、エーベルスヴァルデ市議会の議長であるマーティン・ヘック氏の招待を受けました。訪問中、著者は1934年にラーマ7世がドイツを訪問した際の歴史的な出来事を記録した写真、歴史的な文書、ニュース映像などを展示した特別展を見学しました。

マーティン・ヘック氏は、この王室訪問について詳細に研究を行い、エーベルスヴァルダーイヤーブック2021(Eberswalder Jahrbuch 2021)というエーベルスヴァルデの歴史を紹介する年次出版物に記事を掲載しました。この研究は、タイとドイツの外交関係、そしてラーマ7世が統治中に示したドイツの技術と文化に対する関心を強調しています。

Der Blogbeitrag mit dem Titel "Der Besuch von König Prajadhipok (Rama VII) in Eberswalde, Deutschland im Jahr 1934" beschreibt die Erfahrungen des Autors bei einem Besuch in der Stadt Eberswalde am 24. Oktober 2024. Der Autor war auf Einladung von Martin Hoeck, dem Vorsitzenden des Eberswalder Stadtrats, dort. Während des Besuchs erkundete der Autor eine Ausstellung mit königlichen Fotografien, historischen Dokumenten und Nachrichtenclips, die mit dem historischen Besuch von König Prajadhipok (Rama VII) in Deutschland im Jahr 1934 zusammenhängen.

Martin Hoeck hat umfangreiche Forschungen zu diesem königlichen Besuch durchgeführt und einen Artikel im Eberswalder Jahrbuch 2021 veröffentlicht, einer jährlichen Publikation, die die lokale Geschichte von Eberswalde beleuchtet. Der Artikel hebt die diplomatischen Beziehungen zwischen Thailand und Deutschland sowie das Interesse von König Prajadhipok an den technologischen und kulturellen Fortschritten Deutschlands während seiner Regierungszeit hervor.


No comments:

Post a Comment