Search This Blog

Thursday, June 12, 2025

สุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ฟรีดริช แมร์ซ (Friedrich Merz) ในงาน Familienunternehmer-Tagen 2025 (วันผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัว 2025) ที่กรุงเบอร์ลิน

 #เบอร์ลิน #เยอรมนี สุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ฟรีดริช แมร์ซ (Friedrich Merz) ในงาน Familienunternehmer-Tagen 2025 (วันผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัว 2025) ที่กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2025 มีประเด็นสำคัญ คือ การทำให้เยอรมนีมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น #morecompetitive 

นายกรัฐมนตรีแมร์ซเน้นย้ำว่าปัญหาที่เยอรมนีกำลังเผชิญอยู่สามารถแก้ไขได้ด้วยความพยายามของเยอรมนีเอง โดยรัฐบาลกลางต้องการให้การสนับสนุนบริษัทต่างๆ ในทางปฏิบัติ ท่านได้กล่าวยกย่องความมุ่งมั่นของสมาคม Die Familienunternehmer ในการส่งเสริมผลประโยชน์ทางธุรกิจครอบครัวในเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 90% ของบริษัททั้งหมดในเยอรมนี และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความเจริญรุ่งเรืองและนวัตกรรมของประเทศ

ในสุนทรพจน์ ท่านนายกกล่าวเชิงนโยบายและการเปลี่ยนแปลงเยอรมัน กล่าวคือ 

  🇩🇪 การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ท่านนายกรัฐมนตรีชี้ว่าปัญหาหลัก คือ การขาดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของเยอรมนี และต้องการให้บริษัทต่างๆ มีผลกำไรและแข่งขันได้มากขึ้น

 🇩🇪 การเพิ่มการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รัฐบาลดยอรมันกำลังให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและการปรับปรุงรัฐให้ทันสมัย อาจมีกระทรวงใหม่ที่มีอำนาจครอบคลุมมารับผิดชอบเรื่องนี้

 🇩🇪 การลดระบบและขั้นตอนของราชการ เยอรมนีต้องลดขั้นตอนระบบราชการที่ยุ่งยากลง โดยจะมีการหารือกับคณะกรรมาธิการยุโรปเพื่อลดระบบราชการในสหภาพยุโรป

 🇩🇪 เยอรมนีต้องมีนโยบายพลังงานที่ดีขึ้น ราคาที่จับต้องได้ ปลอดภัย และเปิดกว้างต่อเทคโนโลยี โดยรัฐบาลต้องการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนแก่บริษัทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของภาษีไฟฟ้าและค่าธรรมเนียมเครือข่าย

ผมคิดว่าจสากสุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีฟรีดริช แมร์ซสะท้อนให้เห็นถึงความตระหนักของรัฐบาลเยอรมนีต่อความท้าทายทางเศรษฐกิจที่ประเทศกำลังเผชิญ และแสดงเจตจำนงในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

 การให้ความสำคัญกับธุรกิจครอบครัว เป็นการเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของธุรกิจนี้ ที่คิดเป็นร้อยละ 90 ของบริษัททั้งหมดของเยอรมนี สามารถสร้างยอดขายถึงร้อยละ 37 และจ้างงานกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ประกันตนของเยอรมนี แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมองว่าธุรกิจครอบครัวเป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจที่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง การแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจกลุ่มนี้จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

 อย่างไรก็ตามครับ การรับรู้ปัญหาอย่างตรงไปตรงมาของนาายกรัฐมนตรีระบุอย่างชัดเจนว่า ปัญหาหลักของเยอรมนี คือ การขาดความสามารถในการแข่งขันด้านราคา ที่เยอรมนียอมรับสภาพปัญหาอย่างตรงไปตรงมา และเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการหาแนวทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ และหามาตรการแก้ไขอย่างเป็นรูป

  🇩🇪 ด้านดิจิทัลและลดระบบราชการของเยอรมนี ต้องเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและลดขั้นตอนราชการ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำธุรกิจ แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในปัญหาพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ การตั้งกระทรวงใหม่ที่มีอำนาจครอบคลุมเป็นสัญญาณที่ดีว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง

 🇩🇪 ส่วนนโยบายพลังงาน ท่านกล่าวว่า พลังงานต้องมีราคาที่จับต้องได้ ปลอดภัย และเปิดกว้างต่อเทคโนโลยี รวมถึงการลดภาระภาษีไฟฟ้าและค่าธรรมเนียมสำหรับบริษัท แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลตระหนักถึงต้นทุนพลังงานที่สูง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมเยอรมนี

 แม้เยอรมนีจะยอมรับปัญหา แต่ท่านนสยกก็กล่าวว่า ปัญหาที่เยอรมนีสามารถแก้ไขได้ด้วยความพยายามของเยอรมนีเอง ซึ่งเป็นการสร้างกำลังใจและกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน "กล้าที่จะเริ่มต้นใหม่" (Dare to make a new start) ซึ่งเป็นคำขวัญของงาน ก็สะท้อนถึงเจตคติของการเปลี่ยนแปลงและมุ่งไปข้างหน้า

ณัฐพล จารัตน์

กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี

#นวัตกรรมเยอรมัน #เยอรมนี #เยอรมัน

Monday, May 19, 2025

Willy Brandt คือ สัญลักษณ์แห่งสันติภาพและการประสานรอยร้าวในยุคสงครามเย็นของเยอรมนี


เดินจากบ้านเพียง 100 เมตร มุ่งหน้าไปยังสามแยกระหว่างถนน Schloßstraße และ Lepsiusstraße ก็จะพบกับส่วนหนึ่งของกำแพงเบอร์ลินที่ตั้งตระหง่าน พร้อมภาพวาดและป้ายบอกเล่าเรื่องราวของ Willy Brandt ผู้นำเยอรมนีตะวันตกที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสันติภาพและการรวมชาติเยอรมัน

Willy Brandt เกิดเมื่อปี 1913 ที่เมือง Lübeck เขาเติบโตท่ามกลางยุคที่นาซีเรืองอำนาจและต้องลี้ภัยไปยังนอร์เวย์และสวีเดนเพื่อหลบหนีการจับกุม เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เขากลับสู่เยอรมนีและก้าวเข้าสู่วงการเมืองอย่างเต็มตัว โดยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีกรุงเบอร์ลินและนายกรัฐมนตรีเยอรมนีตะวันกระหว่างปี 1969-1974

สิ่งที่ทำให้ Willy Brandt ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1971 คือ นโยบาย Ostpolitik (นโยบายตะวันออก) ที่เขาผลักดันอย่างจริงจังเพื่อลดความตึงเครียดจากสงครามเย็นและสร้างความสัมพันธ์กับเยอรมนีตะวันออก หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่กลายเป็นสัญลักษณ์คือ การคุกเข่าที่ Warsaw Ghetto Memorial ในปี 1970 เพื่อแสดงความเสียใจและขอโทษต่อชาวยิวที่ตกเป็นเหยื่อในยุคนาซี

ฉะนั้น Willy Brandt คือ สัญลักษณ์แห่งสันติภาพและการประสานรอยร้าวในยุคสงครามเย็นของเยอรมนีตะวันตกและตะวันออกครับ

#เยอรมนี

Wednesday, May 14, 2025

Probationary Employees and Their Entitled Rights in Thailand

My Japanese business acquaintance, who was sent by his parent company to work in Thailand, asked me about the rights of Thai employees during their probationary period. I explained it to him based on my experience as a former labor court mediator, as follows:

In the realm of Thai labor law, the term "employee" does not legally distinguish between probationary and permanent staff. Consequently, concerning rights and protections under labor law, probationary employees are considered employees and possess the same rights and obligations as their permanent counterparts. The law explicitly prohibits employers from discriminatory practices against any employee.

To standardize the recruitment process and ensure the selection of qualified individuals, many companies in Thailand implement a probationary period. This allows employees to demonstrate their capabilities, and both parties can agree upon the terms of employment.

Employees undergoing a probationary period hold the legal status of "employees" from their first day of work, entitling them to the same benefits and protections as confirmed staff.

Regarding the duration of the probationary period, Thai law does not stipulate a specific timeframe. Employers have the autonomy to set this duration based on mutual agreement with the employee. This condition can be established before or after the commencement of employment.

Key points concerning probationary employment in Thailand can be summarized as follows:

 >>> Many companies set the probationary period between 90 to 120 days. This period can be extended upon mutual agreement.

>>> During a 120-day probation, employers should conduct formal performance evaluations at least twice, ideally before the 120-day mark.

>>> If the evaluation extends beyond 120 days and the employer terminates the employment without the employee committing any fault as outlined in Section 119 of the Labour Protection Act, the probationary employee is entitled to severance pay equivalent to permanent employees, as per Section 118 of the same Act.

 >>> If a probationary employee works continuously for 120 days but less than one year and is terminated without cause under Section 119, they are entitled to severance pay equal to 30 days' wages at their final rate.

Termination During Probation:

Termination of a probationary employee can occur in two scenarios:

 >>> Termination Without Prior Notice: This applies when the employee commits one of the offenses specified in Section 119 of the Labour Protection Act, such as dishonesty in their duties, intentional actions causing damage to the employer or company, violation of work regulations, absence without justifiable reason for three consecutive working days, gross negligence, or imprisonment by a final court judgment. In such cases, regardless of whether the 120-day probation period has been completed, the employer is not obligated to pay severance pay.

 >>> Termination With Prior Notice: This occurs when the employee fails to meet the performance, qualification, or conduct standards set by the employer. If the employee has worked for less than 120 days, the employer is not required to pay severance pay but must provide advance notice of termination.

Relevant Supreme Court Judgments:

 >>> Supreme Court Judgment No. 2364/2545: The probationary period is considered an employment contract with no fixed term. Therefore, terminating a probationary employee requires advance notice.

 >>> Supreme Court Judgment No. 6796/2546: Employment contracts stating that the employer has the right to terminate the contract at any time during the probation period without stating reasons are contrary to Section 17 of the Labour Protection Act and are not legally binding.

 >>> Specialized Appeal Court for Labour Cases Judgment No. 593/2563: Regarding a "1-year employment contract with a 90-day probation period," if during probation the employee does not dedicate their full working hours, lacks diligence and honesty, and has poor relationships with colleagues, the employer can terminate the employment due to failure to pass probation. This is considered a normal aspect of personnel management where employers have the right to select the most qualified workforce. In such a case, the employee is not entitled to wages for the remainder of the contract or damages from the employer.

This summary provides a comprehensive overview of the rights and protections afforded to probationary employees under Thai labor law.

Monday, May 5, 2025

The Global Journey of Peace: World #PeaceAward 2025 in Stockholm, Sweden

In a world filled with conflict and uncertainty, the pursuit of peace remains one of the most profound missions of our time. This year, you have a unique opportunity to take part in a historic event that brings together spiritual leaders, peace advocates, and global citizens: the World Peace Award 2025, to be held in Stockholm, Sweden from May 24th to 28th, 2025.


This inspiring event will take place at the prestigious Stockholm Concert Hall, the same venue where the Nobel Prizes are awarded—making it a symbol of global unity, wisdom, and goodwill. Hosted by the Wat Buddhapadipa Temple, Sweden, led by Venerable Phra Vites Panyaporn, this event is a celebration of harmony through spirituality, cultural exchange, and shared values of humanity.

Event Highlights:
- World Peace Award Ceremony at Stockholm City Hall and Concert Hall
- International dialogue forums with Buddhist monks, scholars, and peace-builders
- Interfaith gatherings promoting compassion and cooperation
- Cultural performances showcasing global unity

But that’s not all. Attendees are also invited to join a special “Peace & Dhamma Tour” across three Nordic countries—Sweden, Finland, and Denmark—from May 23rd to 31st, 2025. This spiritual-cultural journey will include visits to Thai temples in Europe, scenic Nordic landmarks, and peaceful meditation retreats. You’ll also experience a luxurious cruise while connecting with like-minded peace lovers.

This isn’t just another event. It’s a once-in-a-lifetime opportunity to become a living part of the global peace movement. Whether you’re a spiritual seeker, a humanitarian, or someone simply wishing to contribute to a kinder world—this journey will leave a lasting impact on your heart and mind.

Reserve Your Seat Today:
Website: worldpeacesweden.com
Sweden Contact: +46 738 268999
LINE ID: @worldpeace2020
Thailand Coordinators: Dr. Phongsak (081-320-7723), Khun Lokan (084-166-4050), Khun Phisanu (095-694-7424)

Reference >>> https://t.co/D0Iz4XS1Yq

hashtagpeace hashtagPeaceOfMind hashtagBuddhism hashtagworldpeace hashtagpeacestudies

KSIM : From Language to Leadership: A Bold Step in Global Korean Management

I’m truly impressed by the visionary leap that Chulalongkorn University is taking through the newly launched Ph.D. program in Korean Studies for International Management (KSIM). This program marks a transformation—from teaching Korean language and culture solely as humanities, into an integrated discipline of Korean Studies + Korean Management = Korean Global Management.


In Thailand, we’ve seen various foreign language programs thrive—English, Japanese, German—but very few have evolved into powerful, service-driven, and innovative programs that integrate language with real-world management frameworks. This KSIM program is a bold step forward—a trailblazing model that redefines how language education can serve as a bridge to global business leadership.

If I hadn’t already pursued my doctoral studies, this would absolutely be my top choice.

Having taught at Thai-Nichi Institute of Technology with a background in Japanese and German, I’ve long believed that language learning alone will soon lose its edge, as translation technologies continue to evolve rapidly. The real opportunity lies in combining language mastery with strategic knowledge—especially in business and innovation.

Years ago, I studied for an MBA in Innovation Management (completed coursework but left due to differing perspectives with my advisor), and later pursued International Business Economics (cut short due to the Bangkok floods). These experiences only reaffirmed my belief that language must go hand-in-hand with management acumen to create professionals who are both culturally fluent and economically strategic.

What excites me the most is how KSIM is ahead of the curve, even outpacing more established fields like Japanese Studies in Thailand. This is not just a degree—it’s a platform to empower global professionals who can shape economic diplomacy and cultural exchange between Thailand and Korea.

Let’s learn not just to speak Korean, but to understand, manage, and lead through it. 

📚🌐 This is the kind of education that builds nations and strengthens global partnerships.

KSIM hashtagPhDOpportunity hashtagKoreanStudies hashtagChulalongkornUniversity hashtagLanguageAndLeadership hashtagInnovationInEducation hashtagFutureLeaders hashtagThaiKoreanRelations


Sunday, April 6, 2025

ซัมโปะ โยชิ: วิถีพุทธสู่ความสำเร็จทางธุรกิจแบบยั่งยืน

ในโลกธุรกิจที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน การแสวงหาผลกำไรสูงสุดมักถูกมองว่าเป็นเป้าหมายหลัก แต่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีหลักการทางธุรกิจที่แตกต่างออกไป นั่นคือ "ซัมโปะ โยชิ" (Sanpo Yoshi) ซึ่งแปลว่า "ความพึงพอใจสามประการ" หลักการนี้ไม่ได้มองแค่ผลกำไรของบริษัท แต่ยังให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้าและสังคมโดยรวมด้วย

ซัมโปะ โยชิ: รากฐานจากวิถีพุทธ

ซัมโปะ โยชิ มีรากฐานที่เชื่อมโยงกับหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัก "สัมมาอาชีวะ" ซึ่งหมายถึงการเลี้ยงชีพชอบ การประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม

หลักการนี้สะท้อนให้เห็นว่า การทำธุรกิจที่แท้จริง ไม่ได้หมายถึงการแสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างประโยชน์และความสุขให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

สามเสาหลักของซัมโปะ โยชิ

ผู้ขาย (Urite Yoshi): บริษัทต้องได้รับผลกำไรที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

ผู้ซื้อ (Kaite Yoshi): ลูกค้าต้องได้รับสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพและคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

สังคม (Seken Yoshi): ธุรกิจต้องมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวม เช่น การสร้างงาน การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม หรือการสนับสนุนกิจกรรมทางสังคม

ซัมโปะ โยชิ ในโลกธุรกิจยุคใหม่

ในยุคที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและจริยธรรมมากขึ้น ซัมโปะ โยชิ จึงเป็นหลักการที่น่าสนใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม

บริษัทที่ดำเนินธุรกิจตามหลักซัมโปะ โยชิ จะได้รับประโยชน์มากมาย เช่น:

สร้างความไว้วางใจและความภักดีจากลูกค้า

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงานและชุมชน

สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัท

สร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจในระยะยาว

ซัมโปะ โยชิ เป็นมากกว่าแค่หลักการทางธุรกิจ แต่เป็นวิถีคิดที่สะท้อนถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของคนญี่ปุ่น การนำหลักการนี้มาประยุกต์ใช้ จะช่วยสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับธุรกิจและสร้างประโยชน์สุขให้กับสังคมโดยรวม

Monday, March 10, 2025

ดอก Crocus สัญลักษณ์ แห่งปลายฤดูหนาว ต้นฤดูบนใบไม้ผลิ ประเทศเยอรมนี

ดอก Crocus ซึ่งเป็นดอกไม้ขนาดเล็กที่มักบานในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิหรือปลายฤดูหนาว เป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนผ่านจากฤดูหนาวสู่ฤดูใบไม้ผลิ (เป็นพืชดอกประเภทดอกบัวดิน) ลักษณะเด่นมีกลีบดอกบาง สีม่วงอ่อนถึงสีลาเวนเดอร์ พร้อมเกสรสีเหลืองสด มักขึ้นใน ทุ่งหญ้า สวน หรือป่าโปร่ง ที่มีอุณหภูมิเย็น เป็นพืชหัว (Corm plant) ที่สามารถเจริญเติบโตในดินที่มีความชื้นปานกลาง






ในเชิงความสำคัญและสัญลักษณ์ กล่าวกันว่า สื่อถึง ความหวังและการเริ่มต้นใหม่ครับ ที่โดดเด่นอีกเรื่อง คือ เขาเป็นหนึ่งใน ดอกไม้แรกที่ผลิบานในยุโรป หลังจากฤดูหนาว

ตามท้องหญ้าในเขตอุทยานแห่งพระราชวังซงโซซี (Sanssouci Palace Park) ดอก Crocus กำลังผุดขึ้นจาก พื้นดินที่ผ่านความหนาวและกองหิมะในฤดูหนาว และกำลังเข้าสู่ผืนดินแห่งฤดูใบไม้ผลิอันอบอุ่นของเมือง Podsdam เมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง ใกล้กรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนี

ณัฐพล จารัตน์

09.03.2568

Podsdam, Germany


Monday, March 3, 2025

เยือนศูนย์ญี่ปุ่น-เยอรมันแห่งเบอร์ลิน: สะพานเชื่อมสองวัฒนธรรม {A Visit to the Japanese-German Center Berlin: A Bridge Between Two Cultures}

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ซึ่งถือเป็น วันเด็กผู้หญิงของญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า เทศกาลฮินะมะทซึริ (Hinamatsuri) ข้าพเจ้ามีโอกาสเดินทางมายัง ศูนย์ญี่ปุ่น-เยอรมันแห่งเบอร์ลิน (JDZB) เพื่อเข้าชมนิทรรศการที่น่าสนใจและสัมผัสกับวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงทั้งสองประเทศ

สัมผัสบรรยากาศญี่ปุ่นกลางกรุงเบอร์ลินเมื่อก้าวเข้าสู่ JDZB ข้าพเจ้ารู้สึกเสมือนเดินทางเข้าสู่บรรยากาศของญี่ปุ่นใจกลางกรุงเบอร์ลิน การออกแบบอาคารของศูนย์แห่งนี้สะท้อนถึง ความงามแบบญี่ปุ่นที่เรียบง่าย ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของเยอรมัน บริเวณโดยรอบยังมี สวนญี่ปุ่นขนาดเล็ก ที่ให้ความรู้สึกสงบเงียบ

ภายในศูนย์มีการจัดแสดงเกี่ยวกับ เทศกาลฮินะมะทซึริ ซึ่งมีการจัดวาง ตุ๊กตาฮินะ (Hina Ningyo) แต่งกายแบบขุนนางในราชสำนักสมัยเฮอัน ตุ๊กตาเหล่านี้ถูกจัดเรียงบนแท่น "ฮินะดัน" โดยมีจักรพรรดิและจักรพรรดินีอยู่บนสุด พร้อมด้วยข้าราชสำนักและของตกแต่งต่างๆ ความละเอียดอ่อนของการจัดแสดงนี้ทำให้ข้าพเจ้าต้องหยิบกล้องขึ้นมาบันทึกภาพ

ภายในศูนย์จัดนิทรรศการพิเศษ: "Expo-Dialoge: Japan und Deutschland – อดีต ปัจจุบัน และอนาคต" ซึ่งเป็นผลงานของ โทมัส ชรีเฟอร์ส (Thomas Schiefers) ศิลปินชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมและการวาดภาพเมือง นิทรรศการนี้สะท้อนถึง วิวัฒนาการของงาน World Expo ผ่าน ภาพสเก็ตช์และภาพคอลลาจ ที่แสดงถึง สถาปัตยกรรมของมหกรรมโลกในแต่ละยุคสมัย โดยเน้นไปที่บทบาทของ ญี่ปุ่นและเยอรมนี ในนิทรรศการระดับนานาชาติเหล่านี้ นอกจากนี้ นิทรรศการยังเชื่อมโยงไปถึง งาน Expo 2025 ที่โอซาก้า-คันไซ ซึ่งกำลังจะมาถึงในปีนี้ครับ

จะเดินทางไปชมนิทรรศการได้ที่นี่ครับ

สถานที่จัดแสดง: ศูนย์ญี่ปุ่น-เยอรมันแห่งเบอร์ลิน (JDZB)

ระยะเวลาจัดแสดง: 26 มกราคม 2025 - 30 พฤษภาคม 2025

เวลาเปิดทำการ: วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 10:30 - 17:30 น.

สามารถดูรายละเอียดจากเว็บ Startseite | Japanese-German Center Berlin (https://jdzb.de/en)

JDZB ไม่ได้เป็นเพียงศูนย์วัฒนธรรม แต่ยังเป็นสถานที่สำคัญสำหรับ การประชุมเชิงวิชาการ การเจรจาทางเศรษฐกิจ และการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมีการจัดสัมมนาในหัวข้อที่สำคัญ เช่น เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม พลังงานและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การแปลงระบบดิจิทัล และเมืองอัจฉริยะ

การเยี่ยมชม JDZB ในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจถึง ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างญี่ปุ่นและเยอรมนี ไม่เพียงแค่ในแง่ของวัฒนธรรมและศิลปะ แต่ยังรวมไปถึงความร่วมมือในระดับโลก จาก การเฉลิมฉลองเทศกาลฮินะมะทซึริ ไปจนถึงการวิเคราะห์แนวโน้มของมหกรรมโลกในอนาคต ข้าพเจ้ารู้สึกว่า JDZB เป็นสถานที่ที่แสดงถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและแนวคิดของทั้งสองประเทศได้เป็นอย่างดี

หากท่านอยู่ในกรุงเบอร์ลินและสนใจเกี่ยวกับ ญี่ปุ่น สถาปัตยกรรม และความร่วมมือระหว่างประเทศ ข้าพเจ้าขอแนะนำให้ลองแวะมาเยี่ยมชม ศูนย์ญี่ปุ่น-เยอรมันแห่งเบอร์ลิน (JDZB) ท่านอาจค้นพบแรงบันดาลใจใหม่ๆ จากสถานที่แห่งนี้


A Visit to the Japanese-German Center Berlin: A Bridge Between Two Cultures

On March 3rd, known in Japan as Hinamatsuri or Girls' Day, I had the opportunity to visit the Japanese-German Center Berlin (JDZB) to explore an exhibition and experience a cultural exchange between Japan and Germany.

Experiencing Japan in the Heart of Berlin

Stepping into JDZB, I felt transported into a piece of Japan right in the middle of Berlin. The center’s architecture blends minimalist Japanese aesthetics with modern German design. Outside, a small Japanese garden provided a tranquil space, offering a moment of serenity before stepping into the exhibition.

Inside, I encountered an elaborate Hinamatsuri display, featuring traditional Hina dolls dressed in exquisite Heian-era court attire. These dolls were arranged on a hinadan, a multi-tiered platform with the Emperor and Empress at the top, surrounded by courtiers and decorations. I couldn't resist capturing the beautiful setup with my camera.

A Special Exhibition: "Expo-Dialogues: Japan and Germany – Past, Present, Future"

Beyond the Hinamatsuri exhibition, JDZB also featured a fascinating art exhibition: "Expo-Dialoge: Japan und Deutschland – Gestern, heute, morgen" (Expo Dialogues: Japan and Germany – Past, Present, Future), showcasing works by Thomas Schiefers, a German artist specializing in architectural drawings and urban design.

This exhibition highlights the evolution of World Expos through intricate sketches and collages, emphasizing the role of Japan and Germany in these global events. It also serves as a bridge to the upcoming Expo 2025 Osaka-Kansai, reflecting on how these nations continue to shape global innovation and architectural trends.

Exhibition Details:

  • Location: JDZB, Berlin
  • Dates: January 26, 2025 - May 30, 2025
  • Opening Hours: Monday - Friday, 10:30 AM - 5:30 PM

JDZB: More Than Just a Cultural Center

Beyond exhibitions, JDZB plays a vital role in academic, economic, and diplomatic relations between Japan and Germany. The center regularly hosts discussions on key topics such as:

  • Economic and Industrial Policy: Labor market changes and business collaboration
  • Energy and Environment: Green energy policies and climate change cooperation
  • Technology and Innovation: AI, digital transformation, and smart cities

Final Thoughts

My visit to JDZB deepened my appreciation for the rich relationship between Japan and Germany. From traditional celebrations like Hinamatsuri to discussions on future global expos, this center embodies cultural exchange at its best.

If you are in Berlin and interested in Japan’s culture, architecture, and future collaborations, I highly recommend visiting JDZB. It's a place where past and future intersect, fostering a deeper understanding between two great nations.


Ein Besuch im Japanisch-Deutschen Zentrum Berlin: Eine Brücke zwischen zwei Kulturen

Am 3. März, dem Hinamatsuri-Fest (Mädchenfest) in Japan, hatte ich die Gelegenheit, das Japanisch-Deutsche Zentrum Berlin (JDZB) zu besuchen, um eine faszinierende Ausstellung zu erkunden und mehr über den kulturellen Austausch zwischen Japan und Deutschland zu erfahren.

Japan mitten in Berlin erleben

Beim Betreten des JDZB hatte ich das Gefühl, in ein Stück Japan inmitten von Berlin einzutauchen. Die Architektur des Zentrums verbindet minimalistische japanische Ästhetik mit modernem deutschen Design. Draußen sorgte ein kleiner japanischer Garten für eine ruhige Atmosphäre.

Im Inneren stieß ich auf eine aufwendig gestaltete Hinamatsuri-Ausstellung, die traditionelle Hina-Puppen zeigte, die prächtige Gewänder aus der Heian-Zeit trugen. Diese Puppen waren auf einer mehrstufigen Plattform (Hinadan) angeordnet, mit dem Kaiser und der Kaiserin an der Spitze, umgeben von Höflingen und kunstvollen Dekorationen.

Sonderausstellung: "Expo-Dialoge: Japan und Deutschland – Gestern, heute, morgen"

Neben der Hinamatsuri-Ausstellung präsentierte das JDZB auch eine besondere Kunstausstellung: "Expo-Dialoge: Japan und Deutschland – Gestern, heute, morgen", mit Werken des deutschen Künstlers Thomas Schiefers, der sich auf Architekturzeichnungen und Stadtplanung spezialisiert hat.

Diese Ausstellung zeigt die Entwicklung der Weltausstellungen anhand detaillierter Skizzen und Collagen und hebt die bedeutende Rolle von Japan und Deutschland in diesen globalen Veranstaltungen hervor. Sie gibt auch einen Einblick in die kommende Expo 2025 Osaka-Kansai und die fortlaufende Innovationskraft beider Nationen.

Ausstellungsdetails:

  • Ort: JDZB, Berlin
  • Zeitraum: 26. Januar 2025 - 30. Mai 2025
  • Öffnungszeiten: Montag - Freitag, 10:30 - 17:30 Uhr

Das JDZB: Mehr als ein Kulturzentrum

Das JDZB ist nicht nur ein Kulturzentrum, sondern auch eine wichtige Plattform für wissenschaftliche, wirtschaftliche und diplomatische Beziehungen zwischen Japan und Deutschland. Regelmäßig finden hier Diskussionen zu zentralen Themen statt, darunter:

  • Wirtschafts- und Industriepolitik: Veränderungen auf dem Arbeitsmarkt und Unternehmenskooperationen
  • Energie und Umwelt: Strategien für grüne Energie und Klimaschutzmaßnahmen
  • Technologie und Innovation: Künstliche Intelligenz, digitale Transformation und Smart Cities

Fazit

Mein Besuch im JDZB hat meine Wertschätzung für die tief verwurzelte Beziehung zwischen Japan und Deutschland verstärkt. Von traditionellen Festen wie dem Hinamatsuri bis hin zu Zukunftsvisionen auf Weltausstellungen – das JDZB ist ein lebendiges Symbol für kulturellen Austausch.

Falls Sie sich für japanische Kultur, Architektur und zukünftige Kooperationen interessieren und in Berlin sind, kann ich Ihnen einen Besuch im JDZB nur empfehlen. Es ist ein Ort, an dem Vergangenheit und Zukunft aufeinandertreffen und das gegenseitige Verständnis zwischen zwei großartigen Nationen vertieft wird.