Search This Blog

Showing posts with label จีน. Show all posts
Showing posts with label จีน. Show all posts

Monday, July 17, 2023

Eating German milchreis while reading Speech by Germany's Foreign Minister at MERICS on the future of Germany’s policy on Chinaสุนทรพจน์ของ รมต.กต.เยอรมนี เกี่ยวกับอนาคตของนโยบายเยอรมนีที่มีต่อจีน

ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ขระที่ผมกำลังทดลองชิมอาหารหรือของหวานของชาวเยอรมนีที่นี่เรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า milchreis หรือข้าวต้มนม (ผมเรียกเอง) เพราะกรรมวิธีการทำนั่นเริ่มจาก ต้มนำสดให้เดือด จากนั้นเทข้าวสรเล็กน้อย ใส่น้ำตาลลงไป แล้วเคี่ยวให้เข้ากันจนข้น เหมือนลักษณะคล้าย ๆ โยเกิร์ต เอาไปตั้งพักให้เย็นก็ตักกินได้ ถ้าดูตามรูปนี้ ผมซื้อมาจาก Edeka ร้านแถว ๆ บ้าน เอาล่ะขณะกำลังจะกิน ผมก็อ่านข่าวต่างประเทศของเยอรมัน ได้เห็นว่า เยอรมนีออกยุทธศาสตร์ที่มีต่อจีน หมายความว่า เป็นยุทธศาตร์หรือวิธีการจะอยู่ร่วมกับจีนต่อไปอย่างไรในอนาคต ที่จะต้องเป็นทั้งคู่แข่ง คู่ค้า และคู่แข่งเชิงระบบ #systemicrival 

พอดาวน์โหลดเอกสารทั้งภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน ก็ท้อสักหน่อย เพราะยาวเหลือเกินเกือบ ๆ 45 หน้า อย่างไรก็ตามก็คงอยากจะรู้ว่า รัฐบาลเยอรมันคิดอย่างไรจึงทำยุทธศาสตร์นี้ขึ้นมา เอาเป็นว่าผมก็หาอ่านสุทรพจน์ของ รมต.กต.เยอรมนี มาลองดูก่อนเป็นชั้นแรก 

อ่านไปกิน milchreis จาก Edeka ก็อร่อยหวานจับใจไปอีกแบบ 

คำแปลนี้ผมทำขึ้นอ่านเอง อยากลองฝึกแปลบ้าง ฉะนั้นจะผิดพลอดมากมาย ขอเตือนว่าไม่สามารถนำไปอ้างอิงใด ๆ ได้ เพราะใช้ฝึกส่วนตัว 

ณัฐพล จารัตน์

17.07.2566

Berlin, Bermany 

On July 13, 2023, while I was trying, #milchreis , German food or maybe dessert. I read German foreign news and saw that Germany issued a strategy toward China, meaning that it is a strategy or a method for coexisting with China in the future. that must be both competitors, trading partners and system competitors #systemicrival

When downloading documents in both English and German, I'm discouraged a bit. because it is too long, almost 45 pages. However, I want to know how the German government come up with this strategy? 

I read the speeches of Minister of Foreign Affairs of Germany.
Reading and eating milchreis from Edeka, it's delicious and sweet.

Natthaphon Jarat
17.07.2023
Berlin, Bermany

Am 13. Juli 2023, als ich Milchreis, deutsches Essen oder vielleicht ein Dessert probierte. Ich habe die deutschen Auslandsnachrichten gelesen und gesehen, dass Deutschland eine Strategie gegenüber China herausgegeben hat, das heißt, dass es sich um eine Strategie oder eine Methode für die zukünftige Koexistenz mit China handelt. Das müssen sowohl Wettbewerber, Handelspartner als auch Systemkonkurrenten sein #systemischerrivale

Wenn ich Dokumente sowohl auf Englisch als auch auf Deutsch herunterlade, bin ich etwas entmutigt. weil es zu lang ist, fast 45 Seiten. Allerdings möchte ich wissen, wie die Bundesregierung auf diese Strategie kommt?

Ich habe die Reden des deutschen Außenministers gelesen.
Milchreis von Edeka lesen und essen, das ist lecker und süß. 

(Translated by Google Traslater)

👀คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ👀

สุนทรพจน์ของรัฐมนตรีต่างประเทศ นางแอนนา เบียร์บ็อก เกี่ยวกับอนาคตของนโยบายเยอรมนีที่มีต่อจีน เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ณ สถาบันเมอร์เคเตอร์เพื่อจีนศึกษา (Mercator Institute for China Studies : MERICS)

(เริ่มสุนทรพจน์)

"ชาวจีน 800 ล้านคน" นั่นคือ จำนวนชาวจีนที่ค้นพบทางออกจากความยากจนในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา 

"มูลค่าสินค้า 298 พันล้านยูโร" นั่นคือ มูลค่าการค้าสินค้าระหว่างเยอรมนีกับจีนในปีที่แล้ว ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์

"ปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ 87 กิกะวัตต์" นั่นคือ ปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่จีนติดตั้งในปีเดียว ซึ่งมากกว่ากำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งทั้งหมดของเยอรมนี

"การผลิตแกลเลียม 96 เปอร์เซ็นต์" นั่นคือ ส่วนแบ่งของจีนในการผลิตแกลเลียมทั่วโลก และเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจีนประกาศว่าต้องการจำกัดการส่งออกสินค้าตัวนี้

"เรือรบ 69 ลำ" ด้วยจำนวนขนาดนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จีนกลายเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในแง่ตัวเลข

"หนึ่งล้านเหรียญฮ่องกง" นั่นคือ เงินรางวัลที่ตำรวจฮ่องกงตั้งขึ้นสำหรับการจับกุมนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย 8 คนที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ

นั่นคือ แง่มุมทั้งหมดของประเทศที่มีความซับซ้อนและมีหลายแง่มุมพอ ๆ กับจำนวนประชากรกว่า 1.4 พันล้านคนที่อาศัยอยู่ที่นั่น

ประเทศที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าประเทศอื่น ๆ ในโลกในช่วงสิบปีที่ผ่านมา

ประเทศที่การพัฒนาจะเป็นตัวกำหนดศตวรรษนี้ และนั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมสังคมของเราจึงต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริงนี้

สำหรับเยอรมนี จีนจะยังคงเป็นหุ้นส่วน (partner) คู่แข่ง (competitor) และคู่แข่งเชิงระบบ (systemic rival) อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แง่มุมของคู่แข่งเชิงระบบมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เราไม่ต้องมองยากว่าจีนได้เปลี่ยนไปแล้ว ใครก็ตามที่ฟังจีนจะรู้ว่าความมั่นใจในตัวเองนั้นจะส่งอิทธิพลสำคัญต่อการพัฒนาในโลกของเรามากเพียงใด ทั้งในประเทศและในต่างแดน

ในเมื่อจีนเปลี่ยนไป ฉะนั้น เราก็ต้องเปลี่ยนแนวทางของเราที่มีต่อจีน นั่นคือเป้าหมายที่ชัดเจนของยุทธศาสตร์ของรัฐบาลกลางฉบับแรกเกี่ยวกับจีน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบวันนี้

ยุทธศาสตร์เป็นผลจากการหารือกันนับครั้งไม่ถ้วนในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ระหว่างกระทรวงต่าง ๆ ของรัฐบาลกลาง กับเพื่อนร่วมงานของเราในรัฐสภา (Bundestag) ตัวแทนกลุ่มธุรกิจเยอรมัน ทุกภาคส่วนของกลุ่มทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และเหนือสิ่งอื่นใดด้วย พันธมิตรระหว่างประเทศของเราทั่วโลกด้วย และแน่นอนว่าเราได้พูดคุยกับพันธมิตรชาวจีนของเราอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการประชุมแบบเห็นหน้ากัน (face-toface meeting)) กลับมาดำเนินได้อีกครั้ง ซึ่งเราสามารถพบปะกันได้ทั้งในปักกิ่ง เบอร์ลิน และในการประชุมระหว่างประเทศอีกหลายวาระ ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลา แต่มันเป็นเรื่องจำเป็น 

เนื่องจากความสัมพันธ์ของเรากับจีนมีความหมายมากกว่าแค่การติดต่อระหว่างกระทรวง หรือการติดต่อระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศเพียง 2 คน หรือระหว่างประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลกลาง

ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเยอรมนี ระหว่างจีนกับสหภาพยุโรป ยังหมายถึงคนงานที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก ซึ่งใช้ลิเธียมสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าจากจีน ความสัมพันธ์ระหว่างเรายังหมายถึงบริษัทจากนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลียที่ผลิตยาต้านโรคร้ายแรงในจีน ความสัมพันธ์ของเรายังรวมไปถึงระดับมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยในแซกโซนีที่มีโครงการวิจัยเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์จึงต้องคิดว่าจะจัดการกับใบสมัครจากจีนอย่างไร

ในฐานะการอยู่ร่วมกันในสังคม เราต้องการคำตอบที่สอดคล้องกันสำหรับคำถามเหล่านี้

ดังนั้น ดิฉันจึงขอกล่าวถึง 3 แง่มุมของกลยุทธ์ของเราเกี่ยวกับจีนที่มีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับต่อตัวดิฉัน

ประการแรก เป้าหมายของเราไม่ใช่การแยกตัวออกจากจีน แต่เพื่อลดความเสี่ยงให้มากที่สุด

ปีที่แล้ว เราได้รับคำเตือนอันเจ็บปวดว่าการพึ่งพาฝ่ายเดียวทำให้เราอ่อนแอเพียงใด เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีก เราในฐานะรัฐบาลกลาง และสหภาพยุโรปได้ให้ความสำคัญกับการขจัดความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบให้แน่ใจว่า ความรับผิดชอบในการตัดสินใจขององค์กรที่มีความเสี่ยงยังคงชัดเจน เชื่อมั่นในมือที่มองไม่เห็นของตลาดอย่างทันท่วงที และเรียกร้องบีบบังคับอย่างแข็งกร้าวของรัฐในช่วงเวลาที่ยากลำบากหรือในยามวิกฤต ซึ่งจะไม่ได้ผลในระยะยาว แม้แต่ประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดก็ไม่สามารถจัดการได้ ดังนั้น เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกัน เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของเรามากขึ้น และเหนือสิ่งอื่นใด นั่นหมายถึงการลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัวให้น้อยที่สุด ซึ่งไม่เพียงแค่ส่งผลกระทบต่อบุคคลธรรมดาทั่วไปเท่านั้น แต่รวมถึงเศรษฐกิจทั้งหมดด้วย นั่นคือเหตุผลที่บริษัทที่พึ่งพาตลาดจีนมากในอนาคตจะต้องแบกรับความเสี่ยงทางการเงินมากขึ้นเช่นกัน ความมั่นคงทางเศรษฐกิจยังหมายถึงการที่บริษัทต่าง ๆ ต้องแน่ใจว่า สิทธิมนุษยชนไม่ถูกละเมิดตลอดห่วงโซ่อุปทานของตนเอง

เห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เพียงแค่ความรับผิดชอบของเราในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน แต่ยังเพื่อลดความเสี่ยงต่อเยอรมนีและยุโรปในฐานะที่ตั้งสำหรับธุรกิจและการลงทุน เพราะหากยอมรับเไม่เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชนจะเป็นการบิดเบือนการแข่งขัน โดยเฉพาะบริษัทยุโรป ในเวลาเดียวกัน เราจะปกป้องเศรษฐกิจยุโรปของเราจากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมด้วยการพัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อใช้ร่วมกัน ตัวอย่างเช่น มาตรการบีบบังคับพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศที่สามเข้าแทรกแซงนโยบายของสหภาพยุโรป ซึ่งเราสามารถใช้ปกป้องบริษัทในยุโรปจากความพยายามแบล็กเมล์โดยประเทศที่สามได้หากจำเป็น ด้วยอัตราภาษีศุลกากรหรือข้อจำกัดทางการค้า นับเป็นการการเคลื่อนไหวร่วมกันของยุโรป เพราะนั่นเป็นวิธีเดียวที่จะได้ผล 

เราได้เห็นจากกรณีของลิทัวเนียว่านี่ไม่ใช่การถกเถียงทางทฤษฎี และเรายังได้เห็นว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น หากเราไม่จัดการกับช่องโหว่นี้ร่วมกัน ช่องโหว่นี้อาจถูกใช้ประโยชน์เพื่อสร้างความเสียหายให้แต่ละรัฐและสังคมในยุโรป ในช่วงเวลาดังกล่าว ความสามัคคีในยุโรป คือ จุดแข็งของเรา ตลาดร่วมภายในยุโรปเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของเราในบริบทนี้ เป็นทั้งคันโยกและโล่ เพราะเราจะละเลยตลาดจีนขนาดใหญ่ไม่ได้ ถึงเราไม่ต้องการ แต่ในขณะเดียวกัน ตลาดจีนก็ต้องการตลาดยุโรปเช่นกัน นั่นเป็นเหตุผลที่เราไม่สามารถเฉยเมยต่อความตึงเครียดในไต้หวันได้ การยกระดับกำลังทหารจะเป็นอันตรายต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก ดังนั้นที่นี่ก็เช่นกัน

เรือคอนเทนเนอร์ครึ่งหนึ่งของโลกแล่นผ่านช่องแคบไต้หวัน เรือตู้คอนเทนเนอร์ คือ สิ่งที่เราได้เรียนรู้เมื่อปีที่แล้วและในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา การขนส่ง เช่น ยาแก้ไข้ ชิ้นส่วนเครื่องจักร อาหาร ยารักษาโรค สิ่งเหล่านี้ถูกขนส่งผ่านเส้นทางชีวิตแห่งเศรษฐกิจโลกสายนี้ สำหรับเรานั่นหมายความว่าเราต้องดูแลเส้นทางนี้อย่างใกล้ชิด แต่ก็หมายความว่ายิ่งการค้าและห่วงโซ่อุปทานของเรามีความหลากหลายมากขึ้น ยุโรปและเยอรมนีก็จะยิ่งมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในฐานะที่ตั้งของธุรกิจและการลงทุน 

สิ่งนี้นำฉันเข้าไปสู่ประเด็นที่สอง ดังนั้นเพื่อทำให้เราต้องพึ่งพาตนเองน้อยลง เรากำลังลงทุนในพันธมิตรระดับโลกของเรา

ตังอย่างเช่น ความร่วมมือด้านวัตถุดิบในแอฟริกา ละตินอเมริกา และอินโดแปซิฟิกที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบัน สหภาพยุโรปนำเข้าแร่หายากจำนวนร้อยละ 98 ที่จำเป็นสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากจีน เห็นได้ชัดว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนสิ่งนั้นได้ในชั่วข้ามคืน แต่เราสามารถเริ่มต้นได้ และเราได้เริ่มใช้ประโยชน์จากแหล่งใหม่ ๆ และในการทำเช่นนั้นเพื่อสร้างห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มที่ยุติธรรม ไม่ใช่แค่ในยุโรปเท่านั้น 

นี่เป็นหนึ่งในเป้าหมายของเราในการผลักดันข้อตกลงการค้าใหม่ ๆ เมื่อเดือนที่แล้ว นายฮูเบอร์ตุส ไฮล (Hubertus Heil) เพื่อนร่วมงานของฉันและฉันไปเยือนบราซิล ซึ่งเป็นประเทศที่ตอนนี้ส่งออกสินค้าไปยังจีนเกือบหกเท่าของสินค้ามายังเยอรมนี

เมื่อพูดถึงแร่ธาตุและสินค้าหายากแล้วที่เรากำลังมองหาในภูมิภาคนี้ เราจะเห็นว่าคุณต้องค้นหาอย่างหนักจริงๆ เพื่อหาบริษัทในยุโรปและเยอรมันในด้านนี้ที่นี่

ดังนั้น หากเราไม่ต้องการถูกทิ้งไว้ข้างหลังในการแข่งขันนี้ สิ่งหนึ่งที่เราต้องการคือข้อตกลงที่หนักแน่นระหว่างสหภาพยุโรปและ MERCOSUR (ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง) นั่นคือสิ่งที่พวกเราทุกคนต้องการ และสิ่งที่ดีคือเราไม่ต้องถูกบังคับ แต่อยู่ในผลประโยชน์ร่วมกันของเรา และเราจะสามารถกำหนดรูปแบบการค้าโลกในทางบวกได้ เราสามารถกำหนดมาตรฐานสากลสำหรับความยุติธรรมและความยั่งยืนในยุคใหม่ในฐานะหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน

ประเด็นที่สามของฉันคือ เราต้องการกระจายความเสี่ยง แต่เราต้องการขยายความร่วมมือกับจีนต่อไป ขอย้ำว่าเพราะเราจำเป็นต้องทำ นั่นเป็นความจริงสำหรับการติดต่อทางการค้าของเรา เพราะเราไม่ต้องการขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนหรือของเราเอง

แต่มันก็เป็นความจริงเช่นกัน สำหรับวิกฤตโลกครั้งใหญ่ที่สุด ซึ่งพยายามควบคุมวิกฤตสภาพอากาศ จีนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกือบหนึ่งในสามของโลก และเป็นที่รู้กันว่าจีนกำลังสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน จีนไม่เพียงแต่ตระหนักถึงโอกาสมหาศาลที่นำเสนอโดยการเปลี่ยนแปลงทางด้านพลังงานเท่านั้น แต่ยังคว้าโอกาสเหล่านี้ไว้ในอัตรามหาศาลที่เราไม่สามารถจัดการได้ โดยผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากกว่าที่อื่น ๆ ในโลกรวมกัน

ในการปรึกษาหารือระหว่างรัฐบาลในเดือนมิถุนายน เราไม่เพียงเห็นความตั้งใจของเราเท่านั้น แต่ยังเห็นถึงความปรารถนาร่วมกันที่จะยกระดับความร่วมมือในการดำเนินการด้านสภาพอากาศ

เราต้องการใช้ศักยภาพนี้ ไม่เพียงแต่ในฐานะชาวยุโรปกับจีนเท่านั้น แต่กับพันธมิตรของเราทั่วโลก เพื่อนชาวอเมริกันของเรา และพันธมิตรอื่น ๆ อีกมากมายทั่วโลกด้วย เพราะเราทุกคนต้องการการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เป็นที่ชัดเจนว่าหากไม่มีจีน เราจะไม่สามารถควบคุมวิกฤตสภาพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเพิ่มความเจริญรุ่งเรืองอย่างเท่าเทียมกันในโลก

ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี เพื่อนร่วมงานทุกท่าน

ประเด็นทั้งหมดเหล่านี้และประเด็นอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นประเด็นที่ไม่ได้กล่าวถึงในยุทธศาสตร์จีนของเราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกรอบทางการเมืองด้วย

ดังที่ เราได้ผชิญกับความท้าทายที่เกิดจากการกระทำของจีนในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เรากำลังเน้นแนวทางและเครื่องมือที่ช่วยให้เยอรมนีที่เป็นหัวใจของยุโรปสามารถร่วมมือกับจีนได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อระเบียบเสรีนิยมประชาธิปไตย ความรุ่งเรืองของเรา หรือความเป็นหุ้นส่วนของเรากับประเทศอื่น ๆ

เรากำลังแสดงให้เห็นว่าผู้คน 1.4 พันล้านคนซึ่งมีความหลากหลายอย่างน่าอัศจรรย์ ตั้งแต่ซินเจียงไปจนถึงซานตง สามารถสัมผัส แลกเปลี่ยน และอยู่ร่วมกันได้มากขึ้นอีกครั้งกับพลเมือง 450 ล้านคนในสหภาพยุโรป ตั้งแต่ปอร์ตู (เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศโปรตุเกส) ถึงวิลนีอุส (เมืองหลวงของประเทศลิทัวเนีย)

และในเวลาเดียวกันนี้ เรากำลังแสดงให้เห็นว่าเรามีเหตุผล ที่ไม่ไร้เดียงสา ฉันเชื่อมั่นว่าหากเราทุกคนต้องการ พวกเราจะเติบโตไปด้วยกันเพื่อเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ของโลกของพวกเราอด้วยการเสริมความแข็งแกร่งให้กับตลาดภายในยุโรป ด้วยนโยบายทำเลที่ตั้งที่ดีสำหรับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และกับทุกส่วนของสังคม

จากมหาวิทยาลัยในรัฐซัคเซิน (Saxony) ไปจนถึงผู้ผลิตรถยนต์ในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค  (Baden-Württemberg) ไปจนถึงทุกกระทรวงของรัฐบาลกลางที่ประกอบกันเป็นรัฐบาลกลางที่ดีแห่งนี้

ดังนั้นดิฉันจึงรอคอยที่จะพูดคุยกับคุณ ดิฉันรู้สึกขอบคุณเพื่อนร่วมงานของดิฉันในรัฐสภาแห่งนี้ (Bundestag) รวมถึงทุกคนด้วยที่มีความยืดหยุ่นเหมือนกับการเมืองทั่วโลกในปัจจุบัน สุดท้ายนี้ ดิฉันขอขอบคุณ MERICS (สถาบันเมอร์ริสเพื่อจีนศึกษา) ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันวิจัยชั้นนำในยุโรปเป็นพิเศษ ที่อนุญาตให้เราได้นำเสนอยุทธศาสตร์แรกของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเกี่ยวกับจีนที่นี่ในวันนี้ แม้ว่าวันที่จะยังไม่ชัดเจนนัก ไม่ใช่แค่ 83 สัปดาห์เท่านั้น แต่แม้ในช่วง 83 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ขอบคุณมากค่ะ

=================================================

อ้างอิงต้นแบับภาษาอังกฤษได้จาก https://www.auswaertiges-amt.de/en/newsroom/news/policy-on-china/2608766 หรืออ่านจากข้างล่างนี้ 👇

Speech by Foreign Minister Baerbock at MERICS on the future of Germany’s policy on China

800 million people. That is the number of Chinese who have found their way out of poverty over the past few decades.

298 billion euro. That is the value of trade in goods between Germany and China last year – a record.

87 gigawatts. That’s how much solar energy China installed last year alone – more than Germany’s entire installed solar capacity.

96 percent. That’s China’s share of global gallium production – and last week China announced that it wants to restrict exports of this commodity.

69 warships. With these, China has, over the past five years, made its navy the world’s biggest, in numerical terms.

One million Hong Kong dollars. That is the bounty put up by the Hong Kong police for eight pro-democracy activists living abroad.

These are all aspects of a country that is as complex and as multi-faceted as the 1.4 billion people who live there.

A country that has perhaps changed more rapidly than any other in the world over the past ten years.

A country whose development will shape this century.

And that’s why it is so important that our society faces up to this reality.

For Germany, China remains a partner, competitor and systemic rival.

In the last few years, however, the systemic rival aspect has come more and more to the fore.

So we don’t need to look hard to see that China has changed. Anyone who listens to China knows how self-confidently it will exert crucial influence on developments in our world – more repressively at home, more assertively abroad.

China has changed, and so we need to change our approach to China.

That is precisely the aim of this first Federal Government Strategy on China, which we adopted in cabinet today.

The Strategy is the product of countless discussions over the past few months, among the federal ministries, with colleagues in the German Bundestag, with representatives of the German business community, with all parts of the scientific and academic community, with NGOs and above all with our international partners, worldwide.

And of course we also talked to our Chinese partners: intensively – and especially once face-to-face meetings became possible again – in Peking, in Berlin, and at many international meetings.

This process took its time. But it was necessary.

Because our relations with China mean much more than just contact between individual ministries, contact between two Foreign Ministers, or between the President and the Federal Chancellor.

Relations between China and Germany, between China and the European Union, also mean the workers at a car manufacturer in Baden-Württemberg that gets lithium for the batteries for its electric vehicles from China.

Our joint relations also mean a company from North Rhine-Westphalia that manufactures medicines against deadly diseases in China.

Our relations are also the universities. The university in Saxony that offers a research project on artificial intelligence and then has to think about how to handle applications from China.

As a society, we need coherent answers to these questions.

So I would like to mention three aspects of our Strategy on China that are particularly important to me.

Firstly, our aim is not to decouple from China, but to reduce risks as far as possible.

Last year we were given a painful reminder of how vulnerable one-sided dependencies make us. In order not to repeat that mistake, we, the Federal Government and the EU have made de-risking a priority.

This includes ensuring that the responsibilities for risky corporate decisions remain clear. Trusting in the market’s invisible hand in good times and demanding the strong arm of the state in difficult times, in times of crisis – that will not work in the long term. Not even one of the world’s strongest economies can manage that.

So, in our economic and common social interest, we need to focus more on our economic security.

And above all else that means minimising concentration risks that affect not only individuals but an entire economy. That is why companies that make themselves very dependent on the Chinese market will in future have to bear more of the financial risk themselves.

Economic security also means that companies make sure that human rights are not being violated along their supply chains.

Because of our responsibility to uphold human rights, obviously – but also in order to minimise the risk to Germany and Europe as locations for business and investment. Because if we were to accept that, it would be a distortion of competition, especially for European companies.

At the same time we will protect our European economy against unfair competition by developing new, above all else European, instruments – and then by using them together.

For example, the Anti-Coercion Instrument, with which we can if necessary protect European companies against attempts at blackmail by third countries, with tariffs or trade restrictions if required. In a joint European move – because that’s the only way it will function.

We have seen from the case of Lithuania that this is no theoretical debate. And we have also seen what happens if we don’t tackle this vulnerability together: it is exploited to the detriment of an individual European state and its society.

At moments like that, our European unity is our strength. The shared European internal market is our most effective instrument in this context. It is both a lever and a shield. Because yes, we cannot ignore the huge Chinese market. Nor do we want to. At the same time, however, it is equally true that the Chinese market needs the European market.

That is why we cannot be indifferent to the tensions over Taiwan. Military escalation would endanger millions of people, all over the world, so here too.

Half of the world’s container ships pass through the Taiwan Strait. Container ships – and this is something else we learnt last year and in recent months – transport things like anti-fever medicine, machine parts, foodstuffs, vital medicines. All these things are transported through this lifeline of the global economy.

So for us that means we have to look closely. But it also means that the more diverse our trade and supply chains are, the more resilient Europe and Germany are as locations for business and investment.

This brings me to my second point. In order to make ourselves less dependent, we are investing in our global partnerships.

For example, by concluding raw materials partnerships in Africa, Latin America and more intensively in the Indo-Pacific.

The EU currently imports 98 percent of the rare earths needed for electric motors and generators from China. Obviously we cannot change that overnight. But we can make a start. And we have indeed begun to tap into new sources and in doing so to shape fair value-added chains. Not just in Europe, but particularly beyond.

This is one of our goals in driving forward new trade agreements. Last month, my colleague Hubertus Heil and I visited Brazil, a country that now exports almost six times as many goods to China as to Germany.

And talking about rare earths and rare commodities and then looking closely at the region, we see that you have to search very hard indeed to find European and German companies in the field there.

So if we do not want to be left behind in this competition, one thing we need is a robust agreement between the EU and MERCOSUR. That’s what we want, all of us.

And the good thing is that we are not having to be forced: rather, it is in our mutual interest. And we will thus be able to shape global trade in a positive way. We can set global standards for fairness and sustainability, in a new age as equal partners.

My third point is this: we want to diversify. But we also want to further expand cooperation with China, because we need it.

That is true of our commercial contacts. Because we do not want to impede either China’s economic development or our own.

But it is also true of the biggest global crisis, trying to control the climate crisis. China produces almost a third of global CO2 emissions and is known to be building more coal-fired power stations.

On the other hand, China has not only recognised the huge opportunities presented by the energy transition, but is also seizing them at a tremendous rate that we could never manage, producing more solar energy than the rest of the world put together.

At the intergovernmental consultations in June, too, we saw not only our willingness but our shared aspiration to step up cooperation on climate action.

We want to use this potential, not only as Europeans with China, but especially with our partners worldwide – our American friends but many other partners around the world, too – because we all need this green transformation.

It is clear that, without China, we will be able neither effectively to contain the climate crisis nor to increase equitable prosperity in the world.

Ladies and gentlemen,

Colleagues,

All of these points, and many more, are issues that are not only addressed in our Strategy on China, but given a political framework.

We are thereby facing up to the challenges resulting from China’s actions in the last ten years.

And we are highlighting ways and instruments to enable Germany at the heart of Europe to cooperate with China, without endangering our liberal democratic order, our prosperity or our partnership with other countries.

We are showing how 1.4 billion people, in all their wonderful diversity, from Xinjiang to Shandong, can once again enjoy greater contact, exchange and coexistence with 450 million citizens in the EU, from Porto to Vilnius.

And at the same time we are showing that we are realistic, but not naive. I firmly believe that we will, if we all want, grow together in facing these challenges – for the benefit of our world.

By strengthening the European internal market, with a good location policy for the Federal Republic of Germany, and above all with all sections of society.

From the university in Saxony to the car manufacturer in Baden-Württemberg to every federal ministry that makes up this fine Federal Government.

And so I am looking forward to talking with you now.

I am grateful to my colleagues in the Bundestag, but also to everyone else, for being as flexible as global politics currently is.

And I would especially like to thank MERICS, one of the leading research institutes in Europe, for allowing us to present the Federal Republic of Germany’s first Strategy on China here today – even though the date was not entirely clear, not just for 83 weeks, but even for the last 83 hours.

Thank you very much.

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%