Search This Blog

Showing posts with label 人づくり. Show all posts
Showing posts with label 人づくり. Show all posts

Wednesday, January 10, 2024

Hitozukuri ในมุมมองหนึ่งของผม 人づくり, ひとづくり, 人造り, 人作り の違い

ผมได้รับโจทย์ให้อธิบายนัยของคำว่า Hitozukuri ในทัศนะส่วนบุคคล จึงพยายามลองอธิบายตามที่อยากจะอธิบายคร่าว ๆ  

คำนี้ประกอบด้วย hito แปลว่า คน และ zukuri แปลว่า สร้าง ผลิต ทำ

ในการจะดำเนินชีวิต ดำเนินธุรกิจ หรือจะทำอะไรก็ตามของญี่ปุ่นจะหา Philosophy ขึ้นมาเป็น “แก่น” ทำให้เกิดการตีความในมุมของแต่ละแห่งต่างกันหรือจะนิยามให้ต่างกัน แต่จะอยู่ภายใต้ “แก่น” ที่ให้ความหมายว่า “การสร้างคน” 

เนื่องจากสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่นเป็นชินโต นับถือบรรพบุรุษ นับถือพุทธ และธรรมชาติ ทำให้คำว่า hito ซึ่งคนจะประกอบด้วย 2 ด้าน คือ 

1.ด้านที่มองเห็น เช่น มารยาท การพูดคุย พฤติกรรม (ในทาง HR คือ ทักษะ Skills หรืออีกนัยหนึ่งจะเรียกว่า การพัฒนาทางด้านร่างกาย หรือพูดภาษาทันสมัยหน่อย คือ Hard power) ถ้าเทียบกับทฤษฎี iceberg จะเป็นส่วนที่ไม่จมน้ำ 

2.ด้านที่มองไม่เห็น เช่น นิสัยใจคอ ความดี ความเลว ความขยัน ความขี้เกียจ จริยธรรม (ในทาง HR คือ สมรรถนะ Competencies หรืออีกนัยหนึ่งจะเรียกว่า การพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ หรือ Soft power) หรือก็คือส่วนที่จมน้ำในทฤษฎี iceberg 

ส่วนคำว่า zukuri ถ้าไม่คิดมากมีความหมายทั่ว ๆ ไปว่า “ทำ สร้าง ผลิต” แต่ในความหมายทาง Philosophy ใกล้เคียงกับคำว่า ฝึกฝน อบรม บ่มเพาะ (cultivate)

ฉะนั้นคำว่า hito จะสร้างขึ้นมาได้จึงต้องสร้างด้วยการอบรมและพัฒนาฝึกฝนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ตั้งเป็นสมการ น่าจะเขียนได้ว่า Skills  + Competencies = hito หรือจะเป็น Body + Soul = hito หรือ Hard + Soft = hito 

ข้อแตกต่าง ในมุมของตะวันออก hito จะอยู่บนพื้นฐานของศาสนา ความคิด ความเชื่อ ความกตัญญู ความดี ความชั่ว จริยธรรม ส่วนในมุมของตะวันตกเน้นหลักเหตุผล กฎหมาย วิทยาศาสตร์ ปฏิเสธความเชื่อที่อธิบายไม่ได้

ขอย้ำว่าเป็นทัศนะส่วนบุคคล อาจไม่โดนใจท่านอื่น หวังว่าจะได้รับคำชี้แนะและเปลี่ยนจากผู้รู้อีกเพื่อเพิ่มพูนความรู้ระหว่างกันครับ

ดร.ณัฐพล จารัตน์

กรุงเบอร์ลิน 10 มกราคม 2567

อุณหภูมิ - 7 องศา


---

อื่น ๆ เพิ่มเติม

人づくり, ひとづくり, 人造り, 人作り の違い

1. 人づくり (ひとづくり)

  • ความหมาย: การพัฒนาศักยภาพของบุคคล มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมทักษะ ความรู้ และคุณธรรม

  • ตัวอย่าง:

  • การศึกษา

  • การฝึกอบรม

  • การพัฒนาองค์กร

  • เน้น: การพัฒนาบุคคลแบบองค์รวม

2. ひとづくり (ひとづくり)

  • ความหมาย: คล้ายกับ "人づくり" แต่เน้นไปที่การพัฒนาบุคคลในฐานะสมาชิกของสังคม

  • ตัวอย่าง:

  • การศึกษาสำหรับพลเมือง

  • กิจกรรมอาสาสมัคร

  • การพัฒนาชุมชน

  • เน้น: การพัฒนาบุคคลให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

3. 人造り (ひとづくり)

  • ความหมาย: การสร้างมนุษย์โดยเทียม หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสร้างสิ่งมีชีวิตที่เหมือนมนุษย์

  • ตัวอย่าง:

  • โคลนนิ่ง

  • ปัญญาประดิษฐ์

  • หุ่นยนต์

  • เน้น: การสร้างมนุษย์โดยเทคโนโลยี

4. 人作り (ひとづくり)

  • ความหมาย: การสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า หมายถึง การใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างผลงานที่มีประโยชน์ต่อสังคม

  • ตัวอย่าง:

  • งานศิลปะ

  • งานวิทยาศาสตร์

  • เทคโนโลยี

  • เน้น: การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

สรุป:

  • 人づくり และ ひとづくり คล้ายกัน แต่ ひとづくり เน้นการพัฒนาบุคคลในฐานะสมาชิกของสังคม

  • 人造り หมายถึง การสร้างมนุษย์โดยเทียม

  • 人作り หมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า


ตารางเปรียบเทียบ:

คำ

ความหมาย

เน้น

人づくり

การพัฒนาศักยภาพของบุคคล

การพัฒนาบุคคลแบบองค์รวม

ひとづくり

การพัฒนาบุคคลในฐานะสมาชิกของสังคม

การพัฒนาบุคคลให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

人造り

การสร้างมนุษย์โดยเทียม

การสร้างมนุษย์โดยเทคโนโลยี

人作り

การสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า

การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อสังคม