Search This Blog

Showing posts with label Speech by Federal Chancellor Olaf Scholz. Show all posts
Showing posts with label Speech by Federal Chancellor Olaf Scholz. Show all posts

Wednesday, February 21, 2024

สุนทรพจน์ของนายโอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีในการประชุม Munich Security Conference ณ เมืองมิวนิก เมื่อวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2024

ผมได้รับอีเมลอัพเดตข่าวสารเกี่ยวกับ การประชุม Munich Security Conference เป็นสุทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ผมลองอ่านและฝึกแปลอย่างมือสมัครเล่น ถ้าพูดถึงประโยชน์คงเป็นประโยชนืส่วนตัวที่ได้ฝึกหัดการแปล อย่างไรก็ตามก็เป็นเพียงการแปลอย่างมือสมัครเล่นดังกล้าวเบื้องต้น ย่อมมีจุดบกพร่องมากหลายจุด ขอให้ท่านที่เข้ามาอ่านโปรดพินิจอย่างถี่ถ้วน



Speech by Federal Chancellor Olaf Scholz at the Munich Security Conference

in Munich

สุนทรพจน์ของนายโอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีในการประชุมความมั่นคง ณ เมืองมิวนิก


February 17, 2024

เมื่อวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2024


Esteemed colleagues,

เพื่อนร่วมงานที่นับถือ


Excellencies,

ท่านผู้เกียรติ


Mr Heusgen

คุณฮอสเกน และ


Ladies and gentlemen,

สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ,


The biggest land war in Europe since the Second World War has been raging in Ukraine for two years now. Every day, Russia’s aggression claims innocent victims. Every day, people cry, grieve and die in Ukraine. And that is why in my speech today I want to focus on this war in our neighbourhood.

สงครามภาคพื้นครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองได้ลุกลามขึ้นในยูเครนมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว ทุกๆ วัน รัสเซียจะรุกรานเหยื่อผู้บริสุทธิ์ ทุกๆ วัน ผู้คนร้องไห้ โศกเศร้า และเสียชีวิตในยูเครน และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมในการกล่าวสุนทรพจน์ของกระผมในวันนี้ จึงต้องการเน้นไปที่สงครามในเพื่อนบ้านของเรา

Despite huge losses, significant parts of the Russian armed forces remain intact. Russia has been preparing its troops for this war for many years, and has developed new, lethal weapons systems at all levels. The Russian economy has long since been operating in war mode. To all intents and purposes, Putin has brought the economy, education, science and culture in Russia under his control. Anyone who actively works for freedom and democracy has to fear for their life. What that means is shown by the shocking, the appalling, news of Alexei Navalny’s death in Russian detention. Not least, Putin is sending ever more troops to the front.

แม้จะมีการสูญเสียครั้งใหญ่ แต่ส่วนสำคัญของกองทัพรัสเซียยังคงไม่บุบสลาย รัสเซียเตรียมกำลังทหารสำหรับสงครามนี้มาหลายปีแล้ว และได้พัฒนาระบบอาวุธร้ายแรงใหม่ ๆ ในทุกระดับ เศรษฐกิจรัสเซียดำเนินไปในโหมดสงครามมานานแล้ว ด้วยเจตนาและวัตถุประสงค์ทั้งหมด ปูตินได้นำเศรษฐกิจ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของรัสเซียมาอยู่ภายใต้การควบคุมของตนเอง ใครก็ตามที่ทำงานเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยอย่างแข็งขันต้องหวาดกลัวต่อความปลอดภัยของชีวิต ความหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นได้จากข่าวที่น่าตกตะลึงและน่าตกใจเกี่ยวกับการเสียชีวิตของอเล็กเซ นาวาลนีในสถานกักกันในรัสเซีย ยิ่งไปกว่านั้น ปูตินกำลังส่งทหารเข้าแนวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ



We all have to ask ourselves two years after the start of the war whether we are doing enough to signal to Putin: “We’re in for the long haul!”? Are we doing enough, given that we know full well what Russia’s victory in Ukraine would mean? Namely, the end of Ukraine as a free, independent and democratic state; the destruction of our peaceful order in Europe; the gravest test of the UN Charter since 1945; and, not least, an encouragement to any and all autocrats around the world to use force to resolve conflicts. The political and financial price we would then have to pay would be many times higher than all the expense of our support for Ukraine today and in the future.


เราทุกคนต้องถามตัวเองว่าสองปีหลังจากการเริ่มสงครามว่าเรากำลังทำอะไรมากพอที่จะส่งสัญญาณถึงปูตินหรือไม่ เราต้องเตรียมพร้อมสำหรับการต่อสู้นะยะยาวหรือไม่ เราได้ทำเพียงพอแล้วหรือยัง เรารู้ดีว่าชัยชนะของรัสเซียในยูเครนจะหมายถึงอะไร กล่าวคือจุดสิ้นสุดของยูเครนในฐานะรัฐที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับใคร และเป็นประชาธิปไตย เป็นการทำลายความสงบเรียบร้อยของเราในยุโรป เป็นการทดสอบกฎบัตรสหประชาชาติที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1945 (พ.ศ.2488) ยิ่งไปกว่านั้น เป็นการให้กำลังใจแก่ผู้นำเผด็จการทุกคนทั่วโลกให้ใช้กำลังเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้ง ซึ่งมีราคาที่ต้องจ่ายทางการเมืองและการเงินที่เราต้องจ่ายนั้นสูงกว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เราสนับสนุนยูเครนในปัจจุบันและในอนาคตหลายเท่า


What does all of this mean for us? What must it mean for NATO and for Europe? Two things are key in my view.


ทั้งหมดนี้มีความหมายอย่างไรสำหรับพวกเรา มีความหมายอย่างไรสำหรับนาโต้และยุโรป สองเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญในมุมมองของกระผม


First of all, the threat from Russia is real. That is why our deterrence and defence capabilities have to be credible and remain credible. At the same time, we don’t want a conflict between Russia and NATO. For that reason, all countries supporting Ukraine have been in agreement since the start of the war that we will not send our own troops to Ukraine.


ก่อนอื่น ภัยคุกคามจากรัสเซียนั้นมีจริง นั่นคือเหตุผลที่ความสามารถในการป้องปรามและการป้องกันของเราจะต้องมีความน่าเชื่อถือและยังคงความน่าเชื่อถือ ในเวลาเดียวกัน เราไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับนาโต้ ด้วยเหตุนี้ทุกประเทศที่สนับสนุนยูเครนจึงมีข้อตกลงร่วมกันตั้งแต่เริ่มสงครามว่าเราจะไม่ส่งกองกำลังของเราเองไปยังยูเครน




However, Putin and the military establishment in Moscow must be left in no doubt that we, the world’s strongest military alliance, are able to defend every square metre of our Allied territory. For that, it’s important that we further strengthen NATO’s European pillar, also in the sphere of deterrence.

อย่างไรก็ตาม ปูตินและหน่วยงานทางทหารในมอสโกจะต้องไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกเรา ซึ่งเป็นพันธมิตรทางทหารที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก จะสามารถปกป้องดินแดนพันธมิตรของพวกเราได้ทุกตารางเมตร ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องเสริมความแข็งแกร่งให้กับเสาหลักยุโรปของนาโต้ในด้านการป้องปรามด้วย

I’m probably not telling you anything new when I say: Germany will invest two percent of its GDP in defence this year and also in the coming years – in the 2020s, 2030s and beyond. We have to do more than ever before to ensure that our deterrence meets the demands of the modern world.

กระผมอาจจะไม่บอกคุณในเรื่องอะไรใหม่ หากจะพูดว่า เยอรมนีจะลงทุนร้อยละ 2 ของ GDP ในการป้องกันประเทศในปีนี้และในปีต่อ ๆ ไป กล่าวคือตั้งแต่ในปี 2020 2030 และปีต่อ ๆ ไป พวกเราต้องทำมากขึ้นกว่าเดิมอย่างที่เราไม่เคยทำมาก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าการป้องปรามของเรานั้นตอบสนองความต้องการของโลกสมัยใหม่

That is why we stated in the Federal Government’s first National Security Strategy our intention, among other things, to promote – and I quote: “the development and introduction of highly advanced capabilities, such as precision deep-strike weapons”. We are discussing that with France and the UK. This is in line with the efforts by Emmanuel Macron and myself to strengthen the European defence industry.

นั่นคือเหตุผลที่เราระบุไว้ในยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับแรกของรัฐบาลกลาง แสดงถึงความตั้งใจของเรา เหนือสิ่งอื่นใดที่จะส่งเสริม และกระผมขอยกคำพูดที่ว่า “การพัฒนาและจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น อาวุธโจมตีเป้าหมายระยะไกลแบบแม่นยำ” เรากำลังหารือเรื่องนี้กับฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ซึ่งสอดคล้องกับความพยายามของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงของฝรั่งเศสและตัวกระผมเองในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของยุโรป

For regardless of how Russia’s war in Ukraine ends, and regardless of the outcome of elections on either side of the Atlantic, one thing is crystal clear: we Europeans must do much more for our own security – now and in the future. Our readiness to do so is considerable.

ไม่ว่าสงครามของรัสเซียในยูเครนจะจบลงอย่างไร และไม่ว่าผลการเลือกตั้งทั้งสองฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติกจะเป็นอย่างไร สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ พวกเราชาวยุโรปจะต้องทำอะไรให้มากกว่านี้เพื่อความมั่นคงของเราเอง ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ความพร้อมของเราในการทำเช่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก

That is what I told President Biden during my visit to Washington last week. Our efforts during the last 24 months have underscored that. And Joe Biden and I were also in complete agreement that our transatlantic alliance will remain valuable and strong – on both sides of the Atlantic. Because we are united by shared values and beliefs: freedom, democracy, the strength of the law and respect for the dignity of every individual. For that I’m deeply grateful to the President and to all our North American friends in the audience today. Thank you for being such strong allies and friends!

นั่นคือสิ่งที่กระผมบอกกับประธานาธิบดีไบเดนระหว่างเยือนกรุงวอชิงตันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ความพยายามของเราในช่วง 24 เดือนที่ผ่านมาได้ตอกย้ำสิ่งนั้น และประธานาธิบดีโจ ไบเดนและกระผมก็เห็นพ้องต้องกันว่าพันธมิตรข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของเราจะยังคงมีคุณค่าและแข็งแกร่ง ทั้งสองด้านของมหาสมุทรแอตแลนติก เพราะเรารวมเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกัน ได้แก่ เสรีภาพ ประชาธิปไตย ความเข้มแข็งของกฎหมาย และการเคารพในศักดิ์ศรีของทุกคน สำหรับสิ่งนั้น กระผมรู้สึกขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อประธานาธิบดีและเพื่อนชาวอเมริกาเหนือของเราทุกคนที่มาร่วมฟังในวันนี้ ขอบคุณที่เป็นพันธมิตรและเพื่อนที่แข็งแกร่ง

Let me also state clearly that any relativisation of NATO’s mutual defence guarantee will only benefit those who, just like Putin, want to weaken us.

กระผมขอกล่าวอย่างชัดเจนอีกว่าการลดทอนการรับประกันการป้องกันร่วมกันของนาโต้ ย่อมส่งผลดีต่อผู้ที่ต้องการทำให้เราอ่อนแอ อย่างเช่น ปูติน


My second point concerns our support for Ukraine. The European Union and its member states have made available just under 90 billion euro for this purpose so far. On top of that will come the additional 50 billion euro in financial assistance alone that we’ve just agreed on for the coming years. In the European Union, we have taken in more than four million Ukrainian refugees – one million of them here in Germany. All of this was and still is the right thing to do.

ประเด็นที่สองของกระผมเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนยูเครน จนถึงขณะนี้สหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกได้จัดสรรเงินไว้ต่ำกว่า 9 หมื่นล้านยูโรเพื่อจุดประสงค์นี้ ยิ่งไปกว่านั้น ความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมอีก 5 หมื่นล้านยูโรเพียงเท่านั้นที่เราเพิ่งตกลงกันไว้ในปีต่อ ๆ ไป ในสหภาพยุโรป เราได้รับผู้ลี้ภัยชาวยูเครนมากกว่า 4 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้มีหนึ่งล้านคนอยู่ที่นี่ในเยอรมนี ทั้งหมดนี้เคยเป็นและยังคงเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่จะต้องทำ

Only yesterday, President Zelensky and I signed an agreement in which we make durable security pledges to Ukraine. This shows that our support is broad-based and comprehensive. Above all, however, it is long-term. Already, the military support provided and planned by Germany amounts to more than 28 billion euro. For this year, we have almost doubled our military assistance, to more than seven billion euro. Then there are pledges of six billion for the next few years.

เมื่อวานนี้นี้เอง ประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครนและกระผมได้ลงนามในข้อตกลงซึ่งเราให้คำมั่นสัญญาด้านความมั่นคงที่คงทนต่อยูเครน นี่แสดงให้เห็นว่าการสนับสนุนนั้นครอบคลุมทุกด้านและทุกแง่มุม เหนือสิ่งอื่นใด มันเป็นระยะยาว การสนับสนุนทางทหารที่เยอรมนีจัดเตรียมและวางแผนไว้มีมูลค่ามากกว่า 28,000 ล้านยูโร สำหรับปีนี้ เราได้เพิ่มความช่วยเหลือทางทหารสูงเกือบสองเท่า ซึ่งมมูลค่ามากกว่า 7 หมื่นล้านยูโร จากนั้น ยังให้คำมั่นสัญญาจะช่วยเหลืออีก 6 หมื่นล้านในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

I very much wish – and this is something I and some of my European colleagues are lobbying very urgently for in this forum too – that similar decisions would be taken in all European capital cities. I know it is not easy. It’s not easy here in Germany either. Just like in other countries, there are critical voices here as well, asking “Shouldn’t we be using the money for other things?”. And Moscow is fanning the flames of such doubts – with targeted disinformation campaigns, and with propaganda on social media.

กระผมปรารถนาอย่างยิ่ง คือสิ่งที่กระผมและเพื่อนร่วมงานชาวยุโรปกำลังวิ่งเต้นอย่างเร่งด่วนสำหรับในฟอรัมนี้เช่นกัน ซึ่งอยากให้มีการตัดสินใจที่คล้ายกันในทุกเมืองหลวงของยุโรป กระผมรู้ว่ามันไม่ง่ายเลย และก็ไม่ใช่เรื่องง่ายในเยอรมนีเช่นกัน เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน โดยเกิดคำถามอย่างสงสัยว่า “เงินก้อนนี้ควรนำไปใช้อย่างอื่นที่มีประโยชน์มากกว่านี้” ซึ่งทางมอสโกกำลังกระพือความสงสัยดังกล่าว เพื่อบิดเบือนข้อมูลและการโฆษณาชวนเชื่อบนโซเชียลมีเดีย

It is true that this war at the heart of Europe is making huge demands of us as well. Yes, the money we spend now and in the future to ensure our security is then lacking elsewhere. We are noticing that, However, I would also say this: without security, all else is nothing. Only if we all provide the necessary finance, in the long term and in a spirit of solidarity, will our defence industry reliably increase production. And thereby also contribute to our own security.

เป็นเรื่องจริงที่สงครามเกิดขึ้น ณ ใจกลางยุโรปครั้งนี้ กำลังสร้างข้อเรียกร้องมากมายมหาศาลจากเราเช่นกัน ใช่แล้ว มันคือเงินที่เราทุ่มเททั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อความมั่นคงของเรา กลับกลายเป็นจุดอ่อนของในด้านอื่นเราตระหนักถึงสถานการณ์นี้ดี ผมไม่อาจเน้นย้ำได้มากเกินไป ทุกสิ่งทุกอย่างจะล้มเหลวหากขาดความมั่นคง เราทุกคนจะต้องร่วมมือกันสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่องและยึดมั่นในอุดมการณ์แห่งความสามัคคี เพื่อให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของเราเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตได้อย่างมั่นคง ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงของเราเองด้วย

Since the start of the war, the United States has provided Ukraine with something over 20 billion dollars a year in military assistance – with a gross domestic product of 28 trillion dollars. A similar effort must surely be the least that can be expected from every European country. After all, we are talking about the biggest threat to security on our continent, about a war here in Europe – albeit one with global repercussions. Only if we are credible in this regard will Putin understand that there will be no peace dictated by Moscow, because we will not allow it.

นับตั้งแต่เริ่มสงคราม สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนปีละกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นเพียง 0.07% ของ GDP ที่ 28 ล้านล้านดอลลาร์ ความพยายามที่คล้ายกันจะต้องเป็นความพยายามน้อยที่สุดที่สามารถคาดหวังได้จากทุกประเทศในยุโรป ท้ายที่สุดแล้ว เรากำลังพูดถึงภัยคุกคามที่ใหญ่หลวงต่อความมั่นคงในทวีปของเรา เกี่ยวกับสงครามในยุโรป ถึงแม้ว่าสงครามครั้งนี้จะมีผลกระทบต่อทั่วโลก แต่หากเราแสดงความน่าเชื่อถือในเรื่องนี้ ปูตินจะเข้าใจว่าจะไม่มีสันติภาพที่กรุงมอสโกกำหนดได้ เพราะเราจะไม่ยอมให้มันเกิดขึ้น

And that brings me, Christoph Heusgen, to the silver lining you mentioned in your opening speech yesterday. That silver lining does exist, and it is brighter than one might think from watching the news or reading the papers. We stand more united than ever. Sweden and Finland have decided to join NATO. We have adopted new defence plans in NATO. In Germany, we have enshrined in our constitution a special fund of 100 billion euro for the Bundeswehr. Some 80 percent of this has now been committed. Defence Minister Pistorius and I have decided to station a German combat brigade permanently on NATO’s eastern flank, in Lithuania. The NATO summit in Washington in July will show how much Europe is now contributing to the security of the Euro-Atlantic area. That is good news as we mark 75 years of the Alliance.

และนี่นำพาผม คริสทอฟ โฮอุสกีน มาสู่จุดสว่างที่คุณเอ่ยถึงในสุนทรพจน์เปิดงานเมื่อวาน จุดสว่างนั้นมีอยู่จริง และมันส่องแสงเจิดจ้ากว่าที่ใครหลายคนคิดเมื่อเผชิญหน้ากับข่าวสารหรือบทความ เราสามัคคีกันมากกว่าที่เคย สวีเดนและฟินแลนด์ตัดสินใจเข้าร่วมนาโต้ เราปรับแผนป้องกันในนาโต้ใหม่ เราได้นำแผนการป้องกันใหม่มาใช้ในนาโต้ ในเยอรมนี เราได้ตั้งกองทุนพิเศษมูลค่า 100 พันล้านยูโรสำหรับกองทัพแห่งสหพันธ์ฯ ระบุในรัฐธรรมนูญของเรา ในขณะนี้ผ่านแล้วประมาณร้อยละ 80 ซึ่งนายพิโตริอุส รมต.กห.เยอรมนี และกระผมได้ตัดสินใจที่จะตั้งกองประจำการกองพลรบเยอรมันถาวรบนปีกตะวันออกของนาโต้ในลิทัวเนีย ซึ่งการประชุมสุดยอดของนาโต้ที่กรุงวอชิงตันในเดือนกรกฎาคมจะแสดงให้เห็นว่ายุโรปมีส่วนช่วยในการรักษาความมั่นคงของพื้นที่ยูโร-แอตแลนติกมากเพียงใด นั่นเป็นข่าวดี ในขณะที่เรากำลังเฉลิมฉลองครบรอบ 75 ปีของพันธมิตร

Russia, by contrast, has not attained a single one of its goals in this war. Putin wanted to take Kyiv in two weeks. Two years on, Ukraine has liberated over half of the territory occupied by Russia. Russia has lost control over the western Black Sea. This is thanks first and foremost to the Ukrainian armed forces. I have the utmost respect for their courage and their hard-fought successes! However, support from all of us has played a part. And that should be an incentive for us now, not to ease up. But rather to continue resolutely on this path. Germany is precisely that: resolute. And at the same time grateful for our united stance, today and in the future. Thank you.

ในทางตรงกันข้าม รัสเซียไม่บรรลุเป้าหมายใดเลยในสงครามครั้งนี้ ปูตินต้องการยึดเคียฟภายในสองสัปดาห์ เมื่อสองปีผ่านไป ยูเครนได้ปลดปล่อยดินแดนมากกว่าครึ่งหนึ่งที่รัสเซียยึดครอง รัสเซียสูญเสียการควบคุมเหนือทะเลดำตะวันตกแล้ว ในลำดับแรกนี้ขอขอบคุณกองทัพยูเครน กระผมเคารพความกล้าหาญและความสำเร็จที่ต่อสู้มาอย่างยาวนานของพวกเขา อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนจากพวกเราทุกคนก็มีส่วนร่วม และนั่นควรเป็นแรงจูงใจสำหรับเราในตอนนี้ ไม่ใช่เพื่อให้สบายใจขึ้น แต่ขอยืนหยัดบนเส้นทางนี้ต่อไป 
เยอรมนีมีจุดยืนที่เด็ดเดี่ยวแน่วแน่ และรู้สึกขอบคุณสำหรับจุดยืนอันเป็นหนึ่งเดียวของพวกเรา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ขอบคุณครับ

----------------------------------------------------