Search This Blog

Saturday, April 10, 2021

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๗ การโฆษณาและการเชิญชวน)

 ส่วนที่ ๗ การโฆษณาและการเชิญชวน 

 ข้อ ๑๔ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่อวดอ้างการที่ตนเป็นผู้ประนี ประนอม หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น 



คำอธิบาย 

 การอวดอ้างความเป็นผู้ประนีประนอมต่อบุคคลภายนอกหรือสังคม เป็นกรณีที่จะกระทำไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นการอวดอ้างเพื่อแสวงหาประโยชน์ใด ๆ หรือไม่ก็ตาม เนื่องจากบุคคลภายนอกหรือสังคมอาจเข้าใจได้ว่าการกระทำ ของผู้ที่อวดอ้างนั้น มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวพันกับศาลยุติธรรมด้วย และยิ่ง หากเป็นการอวดอ้างเพื่อทำให้ตนเองได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นข้อที่ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบ หรือทำให้ตนเองได้รับการปฏิบัติที่ พิเศษที่ปกติจะไม่ได้รับหากไม่มีการอวดอ้างดังกล่าวแล้ว ยิ่งทำให้เกิดความ เสื่อมเสียแก่การเป็นผู้ประนีประนอมและศาลยุติธรรม นอกจากนี้ผู้ประนี ประนอมจะต้องระมัดระวังไม่ให้บุคคลอื่นนำสถานภาพความเป็นผู้ประนี ประนอมของตนไปใช้อวดอ้าง ไม่ว่าในทางใด ๆ ด้วย หากผู้ประนีประนอม รู้ว่ามีบุคคลใดที่กระทำการในลักษณะดังกล่าว ผู้ประนีประนอมต้องตักเตือน หรือแจ้งให้บุคคลนั้นยุติการกระทำที่เป็นการอวดอ้างเสีย

ข้อ ๑๕ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่โฆษณาหรือเชิญชวนเพื่อให้ตน ได้เป็นผู้ประนีประนอม และไม่พึงรับรองว่าคู่ความจะตกลงกันได้หรือจะ เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งแก่คู่ความ 

คำอธิบาย 

 ผู้ประนีประนอมต้องไม่เผยแพร่ต่อสาธารณชน เชิญชวน หรือกระทำ การใด ๆ เพื่อให้ตนเองได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประนีประนอม การทำข้อตกลง ประนีประนอมยอมความถือเป็นความสมัครใจและความยินยอมของคู่ความ ผู้ประนีประนอมไม่สามารถให้คำรับรองใด ๆ แก่คู่ความ ไม่ว่าจะเป็นการให้ คำมั่นหรือรับประกันว่าคู่ความจะตกลงกันได้หรือให้สัญญาว่าจะเกิดผล อย่างใดอย่างหนึ่งที่สมประโยชน์แก่คู่ความ การกระทำในลักษณะดังกล่าวจึง เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของผู้ประนีประนอม และอาจทำให้คู่ความเกิดความ เข้าใจผิด


ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๖ ค่าตอบแทน)

 ส่วนที่ ๖ ค่าตอบแทน 

 ข้อ ๑๒ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่เรียก รับ หรือยอมจะรับ ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่เป็นกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดให้กระทำได้



คำอธิบาย 

 การที่คู่ความยินยอมเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยของศาล เป็นเพราะเชื่อมั่น ว่าการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจะดำเนินไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นกลาง ผู้ประนีประนอมจึงต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการบั่นทอนความเชื่อมั่น ดังกล่าว หากผู้ประนีประนอมเรียกผลประโยชน์ใด ๆ จากคู่ความฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดหรือจากบุคคลใดเพื่อตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือแม้แต่ เพียงรับหรือยอมจะรับผลประโยชน์ใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว ไม่ว่าจะ เป็นการเรียก รับ หรือยอมจะรับค่าตอบแทนหากไกล่เกลี่ยสำเร็จ หรือการ เรียก รับ หรือยอมจะรับประโยชน์ใด ๆ โดยอาศัยการเป็นผู้ประนีประนอม ย่อมก่อให้เกิดความระแวงสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นกลาง ดังนั้น จึงห้ามมิให้ผู้ประนีประนอมเรียก รับ หรือยอมจะรับค่าตอบแทนหรือ ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่เป็นกรณีที่มี กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดวางไว้ให้กระทำได้เท่านั้น เช่น ระเบียบ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๔๔ และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้น


ข้อ ๑๓ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่ให้ หรือตกลงว่าจะให้ค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้แนะนำ หรือผู้ส่งข้อพิพาทให้ตนดำเนินการไกล่เกลี่ย 

คำอธิบาย 

 การปฏิบัติหน้าที่ผู้ประนีประนอมถือเป็นการทำประโยชน์ให้แก่สังคม และอำนวยความยุติธรรมแก่คู่ความโดยการยุติข้อพิพาทด้วยความพอใจของ ทุกฝ่าย การให้ผู้ประนีประนอมไกล่เกลี่ยคดีใดคดีหนึ่งเป็นเพราะได้รับ มอบหมาย โดยพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และทักษะของผู้ประนี ประนอมเกี่ยวกับคดีนั้น มิใช่เกิดจากการให้หรือรับว่าจะให้ค่าตอบแทน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใด แก่ตัวแทน นายหน้า หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพื่อให้ส่งข้อพิพาทมาให้ตนหรือพวกของตนไกล่เกลี่ย 

ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๕ ความรู้ความสามารถ)

 ส่วนที่ ๕ ความรู้ความสามารถ 

 ข้อ ๑๑ ผู้ประนีประนอมพึงทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเฉพาะเรื่องที่ตน มีคุณสมบัติและทักษะเพียงพอที่จะช่วยให้กระบวนการไกล่เกลี่ยดำเนินไปได้



คำอธิบาย 

 ข้อพิพาทบางเรื่อง เช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับงานออกแบบ ก่อสร้าง วิศวกรรม สถาปัตยกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา การลงทุนระหว่างประเทศ หรือข้อพิพาทในคดีครอบครัว อาจมีประเด็นที่ยุ่งยากหรือสลับซับซ้อน จำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะเป็นพิเศษจึงจะสามารถไกล่เกลี่ยได้ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงไม่ควรรับไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรื่องใด ๆ หากเห็นว่าตนไม่มี คุณสมบัติหรือทักษะที่จำเป็นสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรื่องนั้น เพราะ อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือส่งผลเสียต่อคู่ความที่เกี่ยวข้องได้ใน กรณีดังกล่าวผู้ประนีประนอมควรแจ้งผู้รับผิดชอบราชการศาล หรือองค์คณะ ผู้พิพากษาทราบ 


ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf