Search This Blog

Showing posts with label ผู้ประนีประนอม. Show all posts
Showing posts with label ผู้ประนีประนอม. Show all posts

Thursday, June 9, 2022

Getting to Know the "Mediator": A Peacebuilder for the Next Generation: 「調停者」:若い世代が憧れる平和への道 (รู้จัก “ผู้ไกล่เกลี่ย” นักสร้างสันติที่คนรุ่นใหม่ใฝ่ฝัน)

When disputes or conflicts arise between two people or opposing parties, many think of going to court or filing a police report. However, are you aware that without proper dispute management, even minor disputes can escalate into serious conflicts, causing both physical and emotional harm? How can we prevent disputes from occurring, or if they do occur, how can we manage them to prevent violence and significant damage? Who will manage the resolution of those disputes while maintaining satisfaction and healing the feelings of the disputing parties peacefully?

A “mediator” is an expert or professional in managing conflicts or disputes. In organizational management, they are called conflict managers, while mediators who work regularly in court are called conciliators. This may sound unfamiliar to many because the field of conflict management is still limited to those interested in peace studies, dispute resolution, and mediation. Those who study and become mediators are mostly pacifists, human rights activists, conciliators, and peace activists.

A mediator is a neutral third party who facilitates, assists, suggests solutions, and finds mutually satisfactory and consensual agreements between the disputing parties. They use peaceful dialogue and discussion to discover the true needs of the parties. The mediator does not make decisions for the parties, does not take sides, and cannot determine who is right or wrong.

In the past, becoming a mediator was not widely accessible. It was mostly limited to mediators affiliated with various courts. Mediators working in courts are called conciliators and have specific qualifications, such as being a Thai national, at least 30 years old, holding at least a bachelor's degree, having at least 5 years of work experience, being willing to volunteer, not being bankrupt, and not having any immoral or unethical behavior as defined by law. These basic qualifications determine the necessary experience and maturity suitable for a mediator, building trust and credibility with the disputing parties. Those who take on this role are often retirees, business owners, or individuals with a strong sense of volunteerism who have life experience and problem-solving skills applicable to mediation. Each year, courts recruit external individuals (non-court personnel) for fixed-term appointments. Therefore, becoming a court-appointed mediator requires careful consideration.

In addition to court conciliators, there are other dispute resolvers who are not permanently stationed at courts but are appointed by the government to mediate disputes. Currently, more young people with relevant qualifications are interested in training and registration as mediators with the People's Mediation Centers. These are ordinary citizens who volunteer to mediate disputes within their communities without resorting to formal court proceedings. They can facilitate settlement agreements between disputing parties, which can be legally binding.

People's Mediation Center mediators are ordinary citizens who must complete a mediation training course under the Mediation Act B.E. 2562 (2019) of the Rights and Liberties Protection Department, Ministry of Justice. After completing the course, they can register as mediators, with basic qualifications including being at least 30 years old, having no prior convictions for serious crimes resulting in imprisonment, not being bankrupt, and no educational requirement (unlike court conciliators who require at least a bachelor's degree).

Mediators have the duty and authority to establish guidelines and facilitate mediation for disputing parties who voluntarily participate, provide assistance, facilitate, and suggest ways for parties to resolve disputes peacefully, conducting mediation fairly. If mediation is successful, they are responsible for creating a dispute resolution agreement based on the outcome of the mediation, which is based on the satisfaction of both parties.

Important knowledge for those wishing to register as mediators includes:

  • Knowledge and understanding of the Mediation Act B.E. 2562 (2019)
  • Regulations of the Rights and Liberties Protection Department regarding mediation by People's Mediation Centers
  • Concepts and theories of conflict and dispute resolution
  • Mediation skills training
  • Laws related to mediation and dispute resolution
  • Ethics of mediators

When ordinary citizens act as mediators, they can resolve disputes and conflicts, benefiting those in distress by providing easier, more convenient, and faster access to alternative dispute resolution. Using mediation to settle disputes is based on the consent of both parties. If People's Mediation Center mediators are successful, the number of cases going to court can be reduced, mitigating conflict, promoting social harmony, and building a peaceful society. Furthermore, those who voluntarily participate in mediation with a mediator do not incur any costs.

What interests the younger generation is the opportunity to use modern communication and negotiation skills, dialogue processes, and peaceful communication principles to resolve real-world conflicts, moving beyond the previous limitation to older individuals. This can also develop into a new profession. In other countries, private mediation services exist and charge substantial fees. If mediation develops further in Thailand, a professional mediator career path may emerge in the future.

บทความนี้ลงใน LINE Today Showcase อ่านได้จาก https://today.line.me/th/v2/article/LXOzlOV

เมื่อเกิดข้อพิพาทหรือมีข้อขัดแย้งขึ้นระหว่างคนสองคนหรือคู่ขัดแย้ง หลายคนนึงถึงการเดินทางไปฟ้องร้องในศาล หรือไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ ท่านทราบหรือไม่ว่า

หากปราศจากการจัดการข้อพิพาทที่ดีแล้ว การพิพาทเพียงเรื่องเล็กน้อยจะพัฒนากลายเป็นความขัดแย้งระดับรุนแรง เกิดความเสียหายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เราจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดข้อพิพาทหรือถ้าเกิดข้อพิพาทแล้ว จะต้องบริหารจัดการอย่างไร มิให้เกิดความรุนแรงและเสียหายใหญ่หลวง ใครจะเป็นผู้จัดการระงับข้อพิพาทนั้นด้วยการรักษาความพึงพอใจและเยียวยาความรู้สึกของคู่พิพาทให้จบลงด้วยสันติ

“ผู้ไกล่เกลี่ย” คือ ผู้เชี่ยวชาญหรือมืออาชีพในการจัดการความขัดแย้งหรือข้อพิพาท ในการบริหารองค์กรเรียกว่า นักจัดการความขัดแย้ง ส่วนผู้ไกล่เกลี่ยที่ทำหน้าที่ประจำในศาลเรียกว่า ผู้ประนีประนอม สำหรับหลายท่านอาจฟังดูไม่คุ้นหู เพราะศาสตร์การจัดการความขัดแย้งยังจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้สนใจด้านสันติศึกษา การระงับข้อพิพาท และการเจรจาไกล่เกลี่ยเท่านั้น กลุ่มผู้ศึกษาและก้าวมาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ส่วนใหญ่เป็น กลุ่มนักสันติวิธี นักสิทธมนุษยชน ผู้ประนีประนอม และนักกิจกรรมด้านสันติภาพ 

ผู้ไกล่เกลี่ย เป็นคนกลางที่ช่วยอำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ เสนอแนวทาง และหาทางออกที่ทั้งคู่พิพาทพึงพอใจและมีข้อตกลงร่วมกันอย่างสมานฉันท์ อาศัยกระบวนการพูดคุยและสานเสวนาด้วยสันติวิธี ค้นหาความต้องการที่แท้จริงของคู่พิพาท โดยคนกลางไม่เป็นผู้ตัดสินใจแทนและไม่เอียงเอนสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเด็ดขาด และไม่สามารถชี้ผิดชี้ถูกหรือตัดสินว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด

ในอดีต การเป็นผู้ไกล่เกลี่ยไม่ได้เปิดกว้าง และไม่ใช่เรื่องปกติที่ใครก็สามารถเข้าถึงถึง ส่วนใหญ่จำกัดเฉพาะการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยสังกัดตามศาลต่าง ๆ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยในศาลจะเรียกว่า ผู้ประนีประนอม ซึ่งมีคุณสมบัติกำหนดหลายข้อ เช่น ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี มีความพร้อมที่จะอาสาในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมเสื่อมเสียหรือพกพร่องในศีลธรรมอันดีตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น คุณสมบัติเบื้องต้นเป็นตัวกำหนดคุณวุฒิและวัยวุฒิ เหมาะสมต่อการเป็นผู้ไกล่เกลี่ย สร้างความภูมิฐานและให้ความน่าเชื่อถือต่อคู่พิพาท ผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ส่วนใหญ่จึงเป็นผู้เกษียณอายุ เจ้าของกิจการ ผู้มีธุรกิจส่วนตัว และมีจิตอาสา อีกทั้งยังเป็นผู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตและเผชิญการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ สามารถประยุกต์และเป็นประโยชน์ต่อการไกล่เกลี่ย ในแต่ละปีศาลจะเปิดรับสมัครบุคคลภายนอก ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ไม่ใช่บุคลากรของศาลเพื่อเข้ารับการแต่งตั้งเป็นวาระตามที่ศาลกำหนด ดังนั้นการจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยประจำศาลจึงมีเงื่อนไขที่ผู้ต้องการทำหน้าที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน

นอกจากผู้ประนีประนอมประจำศาล ยังมีผู้ทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทอีกแบบหนึ่งที่ไม่ต้องทำหน้าที่ประจำศาล แต่ได้รับการแต่งตั้งจากราชการให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้เช่นกัน ในปัจจุบันพบว่า คนรุ่นใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติสนใจเข้าฝึกอบรมและขอขึ้นทะเบียนมากยิ่งขึ้น คือ ผู้ไกล่เกลี่ยของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ซึ่งประชาชนหรือคนทั่วไปอาสาเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางระงับข้อพิพาทในชุมชนของตนเอง โดยไม่ต้องไปตกลงแบบขึ้นโรงขึ้นศาล สามารถตกลงทำสัญญาประนีประนอมระหว่างคู่พิพาท และใช้เป็นหลักฐานบังคับตามกฎหมายได้

ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน เป็นบุคคลทั่วไปที่ต้องผ่านหลักสูตรอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตามพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เมื่อผ่านหลักสูตรแล้ว สามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ย โดยต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ อายุไม่ตำกว่า 30 ปี ไม่เคยต้องคดีร้ายแรงและถูกตัดสินจำคุก ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย และไม่จำกัดระดับการศึกษา ซึ่งจะต่างจากผู้ประนีประนอมประจำศาลจะกำหนดขั้นต่ำที่ปริญญาตรี

ผู้ไกล่เกลี่ยมีหน้าที่และอำนาจ ในการกำหนดแนวทางและจัดให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคู่พิพาทที่สมัครใจเข้ารับการไกล่เกลี่ย ให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก และเสนอแนะคู่พิพาทในการแสวงหาแนวทางยุติข้อพิพาทโดยสันติวิธี โดยดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วยเป็นธรรม หากไกล่เกลี่ยสำเร็จมีหน้าที่จัดทำข้อตกลงระงับข้อพิพาทตามผลของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งเกิดขึ้นจากความพึงพอใจของคู่พิพาท

ความรู้สำคัญสำหรับผู้ประสงค์ขึ้นทะเบียนไกล่เกลี่ย เช่น 

ความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562

ระเบียบกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน

แนวคิดและทฤษฎีความขัดแย้งและการระงับข้อพิพาท

การฝึกทักษะการเป็นผู้ไกล่เกลี่ย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาท

จริยธรรมของผู้ไกล่เกลี่ย

เมื่อประชาชนทั่วไปเป็นผู้ไกล่เกลี่ยสามารถระงับและช่วยยุติข้อพิพาทหรือความขัดแย้ง ประโยชน์จึงเกิดขึ้นต่อคู่ขัดแย้งที่กำลังเดือดร้อนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางเลือกได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น ใช้การไกล่เกลี่ยยุติหรือระงับข้อพิพาทดังกล่าวโดยความยินยอมของคู่กรณี หากผู้ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนไกล่เกลี่ยได้ มีผลให้ปริมาณคดีที่ต้องฟ้องร้องต่อศาลลดลง ลดปัญหาความขัดแย้งเกิดความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม และเสริมสร้างสังคมสันติ ยิ่งไปกว่านั้น

ผู้สมัครใจเข้ารับการไกล่เกลี่ยโดยผู้ไกล่เกลี่ยจะไม่เสียค่าใช้จ่าย

สิ่งที่คนรุ่นใหม่สนใจ คือ การได้ใช้ทักษะการสื่อสารและการเจรจาสมัยใหม่ การใช้กระบวนการสานเสวนา และการใช้หลักสันติเสวนา ประยุกต์ใช้แก้ข้อขัดแย้งได้จริง จากเมื่อก่อนที่จำกัดเพียงผู้มีอาวุโส และสามารถพัฒนาเป็นอาชีพใหม่ได้ ในต่างประเทศ เอกชนสามารถเปิดรับการไกล่เกลี่ยและเก็บค่าบริการ มีอัตราค่อยข้างสูง ในประเทศไทยหากมีการไกล่เกลี่ยพัฒนาการมากยิ่งขึ้นอาจมีวิชาชีพนักไกล่เกลี่ยก็เป็นได้ในอนาคต

I apologize for the previous error. I am still under development and learning to use all my tools effectively.

Here is the Japanese translation of the provided text. I have aimed for a natural and accurate translation, using appropriate honorifics where necessary:

Japanese Translation:

人と人との間、あるいは対立する当事者間で紛争や対立が生じた場合、多くの人は裁判所への訴訟や警察への届け出を考えます。しかし、適切な紛争管理がなければ、些細な紛争でも深刻な対立に発展し、身体的にも精神的にも害を及ぼす可能性があることをご存知でしょうか?紛争が起こらないようにするには、また、万が一起こってしまった場合には、暴力や大きな損害を防ぐためにはどのように管理すればよいのでしょうか?当事者双方の満足を維持し、平和的に紛争を終結させるためには、誰が紛争の解決を管理するのでしょうか?

「調停人」とは、紛争や対立を管理する専門家またはプロフェッショナルのことです。組織運営においては紛争管理者と呼ばれ、裁判所で常勤する調停人は調停委員と呼ばれます。紛争管理学は平和学、紛争解決、調停に関心のある人々に限られているため、多くの人には馴染みがないかもしれません。調停を学び、調停人となる人々は、主に平和主義者、人権活動家、調停委員、平和活動家です。

調停人は、中立的な第三者として、当事者間の合意形成を促進し、支援し、解決策を提案し、双方にとって満足のいく合意を見つけ出します。平和的な対話と議論を通じて、当事者の真のニーズを探ります。調停人は当事者に代わって決定を下すことはなく、どちらかの味方をすることもなく、どちらが正しくてどちらが間違っているかを判断することもできません。

かつて、調停人になることは広く開放されていませんでした。ほとんどの場合、様々な裁判所に所属する調停人に限られていました。裁判所で働く調停人は調停委員と呼ばれ、タイ国籍であること、30歳以上であること、学士号以上を有すること、5年以上の実務経験を有すること、ボランティア精神があること、破産していないこと、法律で定められた非道徳的または非倫理的な行為がないことなど、特定の資格要件があります。これらの基本的な資格要件は、調停人に必要な経験と成熟度を決定し、当事者との信頼関係を構築します。この役割を担うのは、多くの場合、定年退職者、事業主、ボランティア精神旺盛な個人であり、人生経験や問題解決能力を調停に活かせる人々です。毎年、裁判所は外部の人材(裁判所職員以外)を任期付きで募集しています。そのため、裁判所が任命する調停人になるには、慎重な検討が必要です。

裁判所の調停委員に加えて、裁判所に常駐していなくても、政府から任命されて紛争調停を行う人々もいます。現在、関連する資格を持つ若い世代が、市民調停センターの調停人としての研修や登録に関心を持つようになっています。彼らは、正式な裁判手続きに頼ることなく、地域社会で紛争を調停するボランティアの一般市民です。彼らは当事者間の和解契約を促進することができ、それは法的に拘束力を持つ可能性があります。

市民調停センターの調停人は、法務省権利自由擁護局の2562年仏暦調停法(2019年)に基づき、調停研修コースを修了する必要があります。コース修了後、調停人として登録することができ、基本的な資格要件は、30歳以上であること、懲役刑につながる重大な犯罪の前科がないこと、破産していないこと、学歴不問であること(学士号以上を必要とする裁判所の調停委員とは異なります)などです。

調停人は、自主的に調停に参加する当事者のために、ガイドラインを設定し、調停を促進し、支援を提供し、促進し、当事者が平和的に紛争を解決する方法を提案し、公正に調停を行う義務と権限を有します。調停が成功した場合、当事者双方の満足に基づいた調停結果に基づいて、紛争解決合意書を作成する責任があります。

調停人登録を希望する人が知っておくべき重要な知識は以下のとおりです。

  • 2562年仏暦調停法(2019年)の知識と理解
  • 市民調停センターによる調停に関する権利自由擁護局の規則
  • 紛争と紛争解決の概念と理論
  • 調停スキルの研修
  • 調停と紛争解決に関連する法律
  • 調停人の倫理

一般市民が調停人として活動することで、紛争や対立を解決することができ、苦境に立たされている人々が、より簡単、便利、迅速に代替的紛争解決にアクセスできるようになるというメリットがあります。調停による紛争解決は、当事者双方の合意に基づいています。市民調停センターの調停が成功すれば、裁判に持ち込まれる事件数を減らし、対立を緩和し、社会の調和を促進し、平和な社会を構築することができます。さらに、調停人に自主的に参加する人は費用を負担することはありません。

若い世代が関心を持っているのは、従来の年配者に限定されていた状況から脱却し、現代的なコミュニケーションと交渉スキル、対話プロセス、平和的なコミュニケーションの原則を応用して、現実世界の紛争を解決する機会を得られることです。これはまた、新しい職業として発展する可能性もあります。海外では、民間の調停サービスが存在し、高額な料金を請求しています。タイで調停がさらに発展すれば、将来、プロの調停人という職業が生まれるかもしれません。

You're right to ask for the German translation! My apologies for the oversight. Here's the complete German translation of the text:

German Translation:

Wenn Streitigkeiten oder Konflikte zwischen zwei Personen oder gegnerischen Parteien entstehen, denken viele daran, vor Gericht zu gehen oder eine Anzeige bei der Polizei zu erstatten. Sind Sie sich jedoch bewusst, dass ohne ein angemessenes Konfliktmanagement selbst geringfügige Streitigkeiten zu schweren Konflikten eskalieren und sowohl physischen als auch psychischen Schaden verursachen können? Wie können wir verhindern, dass Streitigkeiten überhaupt entstehen, oder, falls sie doch entstehen, wie können wir sie so handhaben, dass Gewalt und erheblicher Schaden vermieden werden? Wer wird die Beilegung dieser Streitigkeiten so managen, dass die Zufriedenheit gewahrt bleibt und die Gefühle der Streitparteien friedlich geheilt werden?

Ein „Mediator“ ist ein Experte oder Fachmann für die Bewältigung von Konflikten oder Streitigkeiten. Im Organisationsmanagement werden sie Konfliktmanager genannt, während Mediatoren, die regelmäßig vor Gericht arbeiten, Schlichter genannt werden. Dies mag vielen unbekannt vorkommen, da das Feld des Konfliktmanagements noch auf diejenigen beschränkt ist, die sich für Friedensforschung, Streitbeilegung und Mediation interessieren. Diejenigen, die Mediation studieren und Mediatoren werden, sind meist Pazifisten, Menschenrechtsaktivisten, Schlichter und Friedensaktivisten.

Ein Mediator ist eine neutrale dritte Partei, die die Einigung zwischen den Streitparteien erleichtert, unterstützt, Lösungen vorschlägt und für beide Seiten zufriedenstellende und einvernehmliche Vereinbarungen findet. Sie nutzen friedliche Dialoge und Diskussionen, um die wahren Bedürfnisse der Parteien zu ermitteln. Der Mediator trifft keine Entscheidungen für die Parteien, ergreift keine Partei und kann nicht bestimmen, wer Recht oder Unrecht hat.

In der Vergangenheit war der Zugang zum Beruf des Mediators nicht weit verbreitet. Er war meist auf Mediatoren beschränkt, die verschiedenen Gerichten angehörten. Mediatoren, die vor Gericht arbeiten, werden Schlichter genannt und haben bestimmte Qualifikationen, wie z. B. thailändische Staatsbürgerschaft, ein Mindestalter von 30 Jahren, mindestens einen Bachelor-Abschluss, mindestens 5 Jahre Berufserfahrung, die Bereitschaft zur Freiwilligenarbeit, keine Insolvenz und kein unmoralisches oder unethisches Verhalten im Sinne des Gesetzes. Diese grundlegenden Qualifikationen bestimmen die notwendige Erfahrung und Reife, die für einen Mediator geeignet sind, und bauen Vertrauen und Glaubwürdigkeit bei den Streitparteien auf. Diejenigen, die diese Rolle übernehmen, sind oft Rentner, Geschäftsinhaber oder Personen mit einem ausgeprägten Sinn für Freiwilligenarbeit, die über Lebenserfahrung und Problemlösungsfähigkeiten verfügen, die für die Mediation relevant sind. Jedes Jahr rekrutieren die Gerichte externe Personen (Nicht-Gerichtsmitarbeiter) für befristete Ernennungen. Daher erfordert die Ernennung zum gerichtlich bestellten Mediator eine sorgfältige Überlegung.

Neben den Gerichtsschlichtern gibt es auch andere Streitschlichter, die nicht dauerhaft an Gerichten stationiert sind, sondern von der Regierung ernannt werden, um Streitigkeiten zu schlichten. Derzeit interessieren sich mehr junge Menschen mit entsprechenden Qualifikationen für die Ausbildung und Registrierung als Mediatoren bei den Volksmediationszentren. Dies sind normale Bürger, die sich freiwillig melden, um Streitigkeiten in ihren Gemeinden zu schlichten, ohne auf formelle Gerichtsverfahren zurückzugreifen. Sie können Einigungen zwischen den Streitparteien vermitteln, die rechtsverbindlich sein können.

Mediatoren der Volksmediationszentren sind normale Bürger, die einen Mediationsausbildungskurs gemäß dem Mediationsgesetz B.E. 2562 (2019) der Abteilung für Rechte- und Freiheitsschutz des Justizministeriums absolvieren müssen. Nach Abschluss des Kurses können sie sich als Mediatoren registrieren lassen. Die grundlegenden Qualifikationen umfassen ein Mindestalter von 30 Jahren, keine Vorstrafen wegen schwerer Verbrechen, die zu einer Haftstrafe geführt haben, keine Insolvenz und keine Bildungsvoraussetzung (im Gegensatz zu Gerichtsschlichtern, die mindestens einen Bachelor-Abschluss benötigen).

Mediatoren haben die Pflicht und die Befugnis, Richtlinien festzulegen und die Mediation für Streitparteien zu erleichtern, die freiwillig teilnehmen, Unterstützung zu leisten, zu vermitteln und Wege vorzuschlagen, wie Parteien Streitigkeiten friedlich beilegen können, wobei die Mediation fair durchgeführt wird. Wenn die Mediation erfolgreich ist, sind sie für die Erstellung einer Streitbeilegungsvereinbarung auf der Grundlage des Ergebnisses der Mediation verantwortlich, die auf der Zufriedenheit beider Parteien beruht.

Wichtige Kenntnisse für diejenigen, die sich als Mediatoren registrieren lassen möchten, sind:

  • Kenntnisse und Verständnis des Mediationsgesetzes B.E. 2562 (2019)
  • Verordnungen der Abteilung für Rechte- und Freiheitsschutz bezüglich der Mediation durch Volksmediationszentren
  • Konzepte und Theorien der Konflikt- und Streitbeilegung
  • Mediationsausbildung
  • Gesetze im Zusammenhang mit Mediation und Streitbeilegung
  • Ethik der Mediatoren

Wenn normale Bürger als Mediatoren tätig sind, können sie Streitigkeiten und Konflikte lösen und so Menschen in Not helfen, indem sie ihnen einen einfacheren, bequemeren und schnelleren Zugang zu alternativen Streitbeilegungsverfahren ermöglichen. Die Nutzung der Mediation zur Beilegung von Streitigkeiten beruht auf der Zustimmung beider Parteien. Wenn die Mediatoren der Volksmediationszentren erfolgreich sind, kann die Anzahl der Fälle, die vor Gericht gehen, reduziert werden, wodurch Konflikte gemildert, der soziale Zusammenhalt gefördert und eine friedliche Gesellschaft aufgebaut werden kann. Darüber hinaus entstehen denjenigen, die freiwillig an einer Mediation mit einem Mediator teilnehmen, keine Kosten.

Was die jüngere Generation interessiert, ist die Möglichkeit, moderne Kommunikations- und Verhandlungsfähigkeiten, Dialogprozesse und friedliche Kommunikationsprinzipien anzuwenden, um reale Konflikte zu lösen und sich von der bisherigen Beschränkung auf ältere Personen zu lösen. Dies kann sich auch zu einem neuen Beruf entwickeln. In anderen Ländern gibt es private Mediationsdienste, die hohe Gebühren verlangen. Wenn sich die Mediation in Thailand weiterentwickelt, könnte in Zukunft ein Berufsbild des professionellen Mediators entstehen.

I have tried to make this translation as accurate and natural as possible. Please let me know if you have any further questions.

ที่มาของภาพและข้อมูลเพิ่มเติม

Legal Studies. “Being a Mediator: Helping People Resolve Disputes Without Coming to Blows” เข้าถึงได้จาก  https://www.legalstudies.com/being-a-mediator-helping-people-resolve-disputes-without-coming-to-blows/

พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 เข้าถึงได้จาก https://www.ocpb.go.th/download/article/article_20190524081102.pdf

ไทยแลนด์พลัสทีวี. “กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ ภาคประชาชน “เร่งสร้างสังคมสมานฉันท์ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ ปี 2565 ให้ประชาชน”. เข้าถึงได้จาก https://www.thailandplus.tv/archives/452728 


Saturday, April 10, 2021

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๓ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว (ส่วนที่ ๒ การปฏิบัติตนต่อผู้บังคับบัญชาและผู้พิพากษา)

ส่วนที่ ๒ การปฏิบัติตนต่อผู้บังคับบัญชาและผู้พิพากษา

ข้อ ๓๕ ผู้ประนีประนอมพึงให้เกียรติและนับถือ ตลอดจนปฏิบัติตาม คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้พิพากษาและผู้รับผิดชอบราชการศาล ที่ตนสังกัดอยู่



คำอธิบาย 

 ผู้รับผิดชอบราชการศาลที่ผู้ประนีประนอมสังกัดอยู่ ถือเป็นผู้บังคับ บัญชาของผู้ประนีประนอม ส่วนผู้พิพากษาเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ดังนั้น ผู้ประนีประนอมพึงให้เกียรตินับถือ และ เชื่อฟัง ทั้งต้องปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้พิพากษาและ ผู้รับผิดชอบราชการศาลนั้นด้วย หากมีข้อสงสัยในคำสั่งอย่างไร ก็ควร สอบถามหรือปรึกษาผู้ออกคำสั่งให้ได้ความเสียก่อน เพราะอาจเกิดจาก ความเข้าใจผิดก็ได้

ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๓ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว (ส่วนที่ ๑ การดำรงตน)

หมวดที่ ๓ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว 

ส่วนที่ ๑ การดำรงตน 

 ข้อ ๑๖ ผู้ประนีประนอมจักต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย อยู่ใน กรอบศีลธรรมและจริยธรรม ทั้งพึงวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของ บุคคลทั่วไป 



คำอธิบาย 

 ผู้ประนีประนอมต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย อยู่ในกรอบ ศีลธรรม ไม่หมกมุ่นมัวเมาอยู่กับอบายมุข วางตนให้สมฐานะ รักษาชื่อเสียง และเกียรติศักดิ์แห่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไป 

 ข้อ ๑๗ ผู้ประนีประนอมจักต้องปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วย กฎหมายของผู้รับผิดชอบราชการศาล และองค์คณะผู้พิพากษา 

คำอธิบาย 

 ผู้ประนีประนอมทำงานในระบบของศาลยุติธรรม โดยมีผู้รับผิดชอบ ราชการศาลแต่ละศาลเป็นผู้บริหารและผู้บังคับบัญชา นอกจากนั้น คดีความ ที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย อาจมีผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะรับผิดชอบ สำนวนคดีมีหน้าที่ดูแลการพิจารณาพิพากษาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการไกล่เกลี่ยนั้นเป็นการดำเนินการส่วนหนึ่งของ การพิจารณาพิพากษาคดีจึงอยู่ในความรับผิดชอบและการดูแลขององค์คณะ ผู้พิพากษาด้วย ดังนั้น เมื่อผู้รับผิดชอบราชการศาลหรือองค์คณะผู้พิพากษามีคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายให้ผู้ประนีประนอมทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติหน้าที่ผู้ประนีประนอมต้องปฏิบัติตามคำสั่งนั้น

ข้อ ๑๘ ผู้ประนีประนอมจักต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้รับผิดชอบ ราชการศาลหรือองค์คณะผู้พิพากษามอบหมายโดยเคร่งครัด มีความ อุตสาหะ อุทิศเวลาของตนให้แก่การปฏิบัติหน้าที่ จะละทิ้งหรือทอดทิ้ง หน้าที่มิได้

คำอธิบาย 

การไกล่เกลี่ยเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องใช้ความอุตสาหะในการ ทำความเข้าใจข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อพิพาทและคู่ความที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อพิพาทบางเรื่องยากแก่การทำความเข้าใจ หรือบางเรื่อง คู่ความมีความไม่เข้าใจกันจนทำให้การเจรจาไม่อาจทำได้โดยง่าย การที่จะ ไกล่เกลี่ยให้ประสบผลสำเร็จ จึงจำเป็นต้องใช้ความอุตสาหะของผู้ประนี ประนอมในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้การ ไกล่เกลี่ยยังอาจต้องใช้เวลากว่าจะทำให้คู่ความเข้าใจปัญหาและความ ต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง ตลอดจนการหาข้อตกลงหรือเงื่อนไขที่ทุกฝ่าย พึงพอใจ เนื่องจากต้องให้เวลาคู่ความในการพิจารณาไตร่ตรองหรือให้คู่ความ คลายความรู้สึกที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันจนสามารถรอมชอมกันได้ผู้ประนี ประนอมจึงต้องอุทิศตน แม้จะต้องใช้เวลาและนัดไกล่เกลี่ยหลายครั้งก็ตาม

ข้อ ๑๙ ผู้ประนีประนอมจักต้องศึกษาและเตรียมการปฏิบัติหน้าที่ ในคดีของตนไว้ให้พร้อมก่อนดำเนินการไกล่เกลี่ย 

คำอธิบาย 

ผู้ประนีประนอมต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องที่พิพาทและ เตรียมการปฏิบัติหน้าที่ในคดีของตนไว้ให้พร้อมก่อนดำเนินการไกล่เกลี่ยโดยรวบรวมข้อมูล ทำความเข้าใจเนื้อหาของคดีเพื่อให้สามารถดำเนินการ ไกล่เกลี่ยได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม การศึกษาข้อมูลของคดีถือเป็นการ เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ที่จำเป็น เนื่องจากบางคดีอาจจะมี ปัญหาที่สลับซับซ้อน และอาจมีประเด็นปัญหาหลายเรื่องที่ผู้ประนีประนอม ไม่มีข้อมูลหรือความเข้าใจเพียงพอ ผู้ประนีประนอมต้องแสวงหาข้อมูลที่ จำเป็นเพื่อที่จะทำให้ผู้ประนีประนอมเข้าใจประเด็นปัญหาที่คู่ความอาจยก ขึ้นในระหว่างการไกล่เกลี่ย การที่ผู้ประนีประนอมขาดความพร้อมจนทำให้ ไม่เข้าใจประเด็นปัญหา อาจมีผลให้คู่ความหรือทนายความขาดความเชื่อถือได้

ข้อ ๒๐ ผู้ประนีประนอมจักต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และด้วยความระมัดระวัง 

คำอธิบาย 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้คำนิยามคำว่า “ซื่อสัตย์” ไว้ว่า : “ประพฤติตรง และจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง และ ไม่หลอกลวง” และให้คำนิยามคำว่า “สุจริต” ว่า : “ความประพฤติชอบ” 

ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณลักษณะสำคัญที่สุดข้อหนึ่งที่ผู้ประนีประนอม ต้องยึดถือและปฏิบัติซึ่งความซื่อสัตย์สุจริตนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้น มีสัจจะทั้งกาย วาจา ใจ ใจยึดมั่นจะทำแต่สิ่งที่ชอบ ไม่ประสงค์ในสิ่งซึ่ง ไม่พึงมีพึงได้ความซื่อสัตย์สุจริตถือเป็นคุณธรรมที่สำคัญของศาลยุติธรรมที่ บุคลากรทุกคนจำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การปฏิบัติหน้าที่ของ ผู้ประนีประนอมที่ปราศจากความซื่อสัตย์สุจริต ย่อมส่งผลกระทบต่อเกียรติภูมิ ของศาลยุติธรรมอย่างร้ายแรง 

ผู้ประนีประนอมต้องตระหนักว่าการปฏิบัติหน้าที่ของตนมีความสำคัญ ในการอำนวยความยุติธรรมและช่วยเหลือประชาชนที่มีความทุกข์ความ เดือดร้อนจากอรรถคดีต่าง ๆ ผลกระทบของคดีความและข้อตกลงในการ ประนีประนอมยอมความย่อมส่งผลโดยตรงต่อคู่ความ ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยด้วยความระมัดระวัง เพื่อช่วยให้คู่ความบรรลุ ข้อตกลงที่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างแท้จริงและไม่ทำให้เกิดปัญหาอื่น

ข้อ ๒๑ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้รับผิดชอบ ราชการศาล หรือองค์คณะผู้พิพากษา การรายงานโดยปกปิดข้อความที่ ควรต้องบอกถือว่าเป็นรายงานเท็จด้วย 

คำอธิบาย 

ผู้ประนีประนอมปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับศาลและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ พิจารณาคดีดังนั้น การรายงานหรือให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้รับผิดชอบราชการศาล หรือองค์คณะผู้พิพากษา จึงต้องไม่เป็นเท็จและถูกต้องตรงความเป็นจริง เพราะจากการรายงานหรือให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนนั้น ย่อมเกิด ความเสียหายแก่ราชการและประชาชนที่มีอรรถคดีได้การรายงานเท็จ ในกรณีนี้รวมถึงการให้ข้อมูลที่นอกเหนือไปจากคดีความโดยตรงด้วย เช่น การให้ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีเกี่ยวกับผู้ประนีประนอมคนอื่นหรือบุคลากร ในศาล ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน หรือการให้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการปฏิบัติ หน้าที่ของข้าราชการศาล ความประพฤติตลอดจนการมีส่วนได้ส่วนเสียในคดี ของผู้ประนีประนอมคนอื่น ทั้งนี้การปกปิดข้อมูลใดที่ควรบอกอาจถือว่า เป็นการรายงานเท็จด้วยก็ได้หากผลของการปกปิดนั้นทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง สำคัญผิดเกี่ยวกับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเหล่านั้น

ข้อ ๒๒ ผู้ประนีประนอมจักต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็น ผู้ประพฤติชั่ว ไม่ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมา จนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอื่นใดซึ่งความประพฤติหรือการกระทำดังกล่าวอาจทำให้ เสื่อมเสียแก่ศาลยุติธรรม

คำอธิบาย 

การกระทำและความประพฤติของผู้ประนีประนอมไม่ว่าจะในเวลา ราชการหรือนอกเวลาราชการ ล้วนเป็นข้อสำคัญ ยิ่งประพฤติตนดีก็ยิ่ง ได้รับความนับถือมากขึ้น แต่หากประพฤติไม่ดีย่อมได้รับคำติฉินนินทา ขาด ความนับถือ และกระทบต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ ศาลยุติธรรม ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้องประพฤติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย และทำนองคลองธรรม ไม่ประพฤติชั่ว และไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข เช่น เป็น คนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้เล่นการ พนัน กระทำความผิดทางอาญา คบหาสมาคมกับผู้ประพฤติผิดกฎหมาย หรือผู้มีความประพฤติในทางเสื่อมเสีย เป็นต้น

ข้อ ๒๓ ผู้ประนีประนอมจักต้องอยู่ในมารยาทอันดีงาม และใช้กิริยา วาจาสุภาพ แก่คู่ความทุกฝ่าย ขณะดำเนินการไกล่เกลี่ย 

คำอธิบาย 

ผู้ประนีประนอมต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยด้วยมารยาทอันดีงาม ใช้ วาจาสุภาพ ไม่ข่มขู่ หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือ สร้างความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน การใช้วาจาสุภาพนี้รวมถึงการใช้ถ้อยคำที่ เหมาะสมโดยไม่กระทบกระเทียบเปรียบเปรย รวมตลอดทั้งน้ำเสียงและ กิริยาท่าทางด้วย 

ข้อ ๒๔ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่กระทำการใด ๆ อันอาจเป็นเหตุ ให้การพิจารณาพิพากษาคดีขาดความเป็นอิสระหรือความยุติธรรม 

คำอธิบาย 

การทำหน้าที่ของผู้ประนีประนอมถือเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาคดี ผู้ประนีประนอมจึงต้องไม่กระทำการใด ๆ อันจะเป็นการกระทบกระเทือน ต่อการพิจารณาพิพากษาคดีในประการที่อาจทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลขาดความเป็นอิสระหรือเสียความยุติธรรม เช่น ไม่ใช้อิทธิพลก้าวก่าย สร้างความเกรงใจ จูงใจให้ความเห็น รวมทั้งต้องไม่ใช้โอกาสที่ตนปฏิบัติ หน้าที่ผู้ประนีประนอมในการแทรกแซงหรือโน้มน้าวการพิจารณาพิพากษาคดี ที่ตนหรือบุคคลที่ตนรู้จักเป็นคู่ความ มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ อยู่ด้วย

ข้อ ๒๕ ผู้ประนีประนอมจักต้องละเว้นการกล่าวถึงคดีที่อาจกระทบ กระเทือนต่อบุคคลใด และไม่วิจารณ์หรือให้ความเห็นแก่บุคคลภายนอก เกี่ยวกับคดีที่อยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ย หรือจะเข้าสู่การพิจารณาคดี 

คำอธิบาย 

การที่ผู้ประนีประนอมวิจารณ์หรือให้ความเห็นเกี่ยวกับคดีอาจทำให้ บุคคลภายนอกเข้าใจไปได้ว่าคำวิจารณ์หรือความเห็นดังกล่าว เป็นความเห็น ของศาลหรือองค์คณะผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ทั้งยังอาจทำให้ บุคคลภายนอกล่วงรู้ถึงข้อเท็จจริงในคดีหรือข้อมูลในการไกล่เกลี่ยที่เป็น ความลับ นอกจากนี้ยังอาจทำให้บุคคลภายนอกที่รับฟังข้อวิจารณ์หรือความเห็น ดังกล่าว เกิดความระแวงสงสัยในความเป็นกลางของผู้ประนีประนอมด้วย ผู้ประนีประนอมจึงต้องระมัดระวังไม่วิจารณ์หรือให้ความเห็นใด ๆ เว้นแต่ เป็นการแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ทางวิชาการในการศึกษาและพัฒนา องค์ความรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย อย่างไรก็ตาม การแสดงความคิดเห็นเพื่อ ประโยชน์ทางวิชาการดังกล่าว ควรละเว้นการกล่าวถึงตัวบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อมิให้เกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้น 

 นอกจากนี้แม้ในกรณีที่ยังไม่เป็นคดีความ แต่อาจจะเป็นคดีขึ้นได้ ก็ไม่พึงวิจารณ์หรือให้ความเห็นเช่นกัน เพราะการวิจารณ์หรือให้ความเห็น ดังกล่าว อาจทำให้ผู้รับฟังเข้าใจผิดว่าเป็นผลของคดีที่จะเกิดขึ้น หากมีการ นำกรณีนั้นไปฟ้องต่อศาล ทั้งยังอาจทำให้เกิดความระแวงสงสัยในความเป็นกลาง ได้เช่นเดียวกัน

ข้อ ๒๖ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่ให้ข่าว อภิปราย หรือแสดงความ คิดเห็นใด ๆ ต่อสาธารณชน อันอาจกระทบกระเทือนต่อศาลยุติธรรมหรือ ฝ่ายอื่น

คำอธิบาย 

 การให้ข่าว อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณชน โดยปกติ สามารถกระทำได้ในขอบเขตของกฎหมาย แต่ทั้งนี้ต้องระมัดระวังมิให้ กระทบกระเทือนหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาลยุติธรรม บุคคลหรือ หน่วยงานใด เช่น หากเป็นการบรรยาย สอน หรืออบรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ การไกล่เกลี่ยตามโครงการของสำนักงานศาลยุติธรรมย่อมสามารถกระทำได้ เพราะมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ แต่หากพาดพิงไปถึงประเด็น ทางการเมืองในทำนองเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่ง หรือกระทบกระเทียบเปรียบเปรยหน่วยงานฝ่ายอื่นใน ทางเสียหายย่อมกระทำมิได้ทั้งนี้การไม่ให้ข่าว อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็น ใด ๆ ต่อสาธารณชนนั้น รวมถึงการแจกจ่าย เผยแพร่ แถลง ชี้แจงข่าว และ การให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน ตลอดจนพูดออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ด้วย 

 อนึ่ง คำว่า“สื่อมวลชน”หมายความว่า หนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์สำนักข่าวสาร หรือสื่ออื่น ๆ ที่ไปถึงมวลชนด้วย ดังนั้น การให้ข่าวสารรวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อันอาจกระทบกระเทือนต่อศาลยุติธรรม การพิจารณาพิพากษาคดีหรือฝ่ายอื่น จึงไม่อาจกระทำได้เช่นกัน

ข้อ ๒๗ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบหรือ ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ความเป็นผู้ประนีประนอมของตนแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ 

คำอธิบาย 

การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้เสื่อมเสียความ ยุติธรรม และทำให้บุคคลทั่วไปไม่เชื่อถือศรัทธาในตัวผู้ประนีประนอม ซึ่ง นอกจากผู้ประนีประนอมต้องไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบแล้ว ยังต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น และระมัดระวังมิให้ ผู้อื่นอ้างชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่ของตนเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ไม่ว่าจะ เป็นในทางคดีหรือในทางอื่นใดด้วย

ข้อ ๒๘ ผู้ประนีประนอมและคู่สมรสจักต้องไม่รับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ จากคู่ความหรือจากบุคคลอื่นใด อันเกี่ยวเนื่องกับการ ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประนีประนอม และจักต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัว ปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย 

คำอธิบาย 

ผู้ประนีประนอมและคู่สมรสต้องไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากคู่ความหรือบุคคลอื่น อันเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการไกล่เกลี่ย ของผู้ประนีประนอม และต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัวปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย 

ข้อ ๒๙ ผู้ประนีประนอมพึงมีความสุภาพเรียบร้อย แต่งกายสุภาพ และถูกต้องตามกาลเทศะ มีอัธยาศัยอันดีงามแก่บุคคลทั่วไป 

คำอธิบาย 

ผู้ประนีประนอมควรมีความสุภาพเรียบร้อย แต่งกายสุภาพ ถูกต้อง ตามกาลเทศะ ให้ความเคารพต่อสถานที่ราชการ เช่น มาปฏิบัติหน้าที่ต้อง แต่งกายเรียบร้อย ไม่สวมรองเท้าแตะ และควรมีอัธยาศัยไมตรีต่อบุคคล ทั่วไป พึงแสดงความมีน้ำใจ อ่อนโยนต่อบุคคลอื่น

ข้อ ๓๐ ผู้ประนีประนอมพึงศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ และพึงเสริมสร้างทักษะในการปฏิบัติงาน ด้วยการนำความรู้ในด้านต่าง ๆ มาพัฒนาตนเอง เพื่อให้การปฏิบัติงาน เป็นไปโดยถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 

คำอธิบาย 

การที่ผู้ประนีประนอมหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ย่อม เป็นการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความรู้ทันต่อเหตุการณ์ ทั้งเป็นประโยชน์ต่อ การปฏิบัติหน้าที่ เพราะสามารถนำความรู้ที่ได้เช่น เทคนิค วิธีการไกล่เกลี่ย แต่ละรูปแบบมาใช้กับข้อพิพาทแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม ทำให้การ ไกล่เกลี่ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถระงับข้อพิพาทได้ด้วยความ พอใจของทุกฝ่าย

ข้อ ๓๑ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ แตกความสามัคคีระหว่างผู้ร่วมงาน และพึงส่งเสริมความสามัคคีใน หมู่คณะ 

คำอธิบาย 

การกระทำอันเป็นเหตุให้แตกความสามัคคีเช่น ยุยง ให้ร้าย แบ่งพรรค แบ่งพวก ทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ การทำงานร่วมกันไม่เป็นไป ด้วยความเรียบร้อย ขาดความร่วมมือร่วมใจในการประสานงาน และขาด ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วย ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้องไม่กระทำ การใดๆ อันเป็นเหตุให้แตกความสามัคคีระหว่างผู้ร่วมงาน พึงส่งเสริมความ สามัคคีปรองดอง สร้างบรรยากาศที่ดีโดยต่างฝ่ายต่างต้องเคารพและ ปรารถนาดีต่อกัน ยึดมั่นในความเที่ยงธรรม และบำเพ็ญตนอยู่ในกรอบของ กฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรมแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด

ข้อ ๓๒ ผู้ประนีประนอมจักต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการ ปฏิบัติหน้าที่ และมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ๆ 

คำอธิบาย 

ผู้ประนีประนอมพึงแสดงความมีน้ำใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ไม่ข่มผู้อื่นในทีว่าตนเหนือกว่า และต้องระมัดระวังในการใช้คำพูดหรือการ แสดงออกด้วยกริยาท่าทาง เพราะบางคำพูดหรือการแสดงกริยาที่ไม่สุภาพ เรียบร้อย อาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจไปได้ว่าถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม 

ข้อ ๓๓ ผู้ประนีประนอมพึงละเว้นการคบหาสมาคมกับคู่ความหรือ บุคคลซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับคดีความ หรือผู้ซึ่งมีความประพฤติใน ทางเสื่อมเสีย อันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือของบุคคลทั่วไป 

คำอธิบาย 

การที่ผู้ประนีประนอมจะเข้าไปคบหาสมาคมหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรม ใด ๆ กับคู่ความ หรือบุคคลซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับคดีในศาลที่ตน ปฏิบัติหน้าที่ หรือผู้ซึ่งมีความประพฤติในทางเสื่อมเสีย ย่อมส่งผลกระทบต่อ การปฏิบัติหน้าที่ และเสื่อมเสียต่อความเชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไปที่มีต่อ ศาลยุติธรรม เนื่องจากผู้ประนีประนอมต้องปฏิบัติหน้าที่ในศาลยุติธรรมและ เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงควรละเว้นการคบหา สมาคมกับบุคคลดังกล่าว

ข้อ ๓๔ ผู้ประนีประนอมไม่พึงขอรับเงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใด จากหน่วยงานหรือบุคคลภายนอก ในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือน ต่อศาลยุติธรรม เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการตามระเบียบ คำสั่ง หรือมติ ว่าด้วยการนั้น

คำอธิบาย 

การขอหรือรับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก นอกจากจะเป็น เรื่องที่ไม่เหมาะสมแล้ว ยังจะต้องระมัดระวังในเรื่องชื่อเสียงของศาลด้วย เพราะผู้ให้ก็อาจจะให้ด้วยความเกรงใจ สุดท้ายจะนำมาสู่ความเสื่อมเสียแก่ ศาลยุติธรรมมากกว่าความดียิ่งกว่านั้นก็จะกระทบกระเทือนความรู้สึกของ บุคลากรของหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ เพราะหน่วยงานต้นสังกัดของตน ต้องมอบงบประมาณให้แก่ศาลยุติธรรม ทั้งที่งบประมาณเหล่านั้นควรนำ ไปใช้ในหน่วยงานของตนยิ่งกว่า และหากหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณมี คดีความมาสู่ศาลด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้กระทบกระเทือนถึงความเชื่อมั่นศรัทธา ของบุคคลทั่วไป เพราะศาลนอกจากต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระแล้ว จะต้อง แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าได้ปฏิบัติเช่นนั้นอย่าง เคร่งครัดด้วย

ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๗ การโฆษณาและการเชิญชวน)

 ส่วนที่ ๗ การโฆษณาและการเชิญชวน 

 ข้อ ๑๔ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่อวดอ้างการที่ตนเป็นผู้ประนี ประนอม หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น 



คำอธิบาย 

 การอวดอ้างความเป็นผู้ประนีประนอมต่อบุคคลภายนอกหรือสังคม เป็นกรณีที่จะกระทำไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นการอวดอ้างเพื่อแสวงหาประโยชน์ใด ๆ หรือไม่ก็ตาม เนื่องจากบุคคลภายนอกหรือสังคมอาจเข้าใจได้ว่าการกระทำ ของผู้ที่อวดอ้างนั้น มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวพันกับศาลยุติธรรมด้วย และยิ่ง หากเป็นการอวดอ้างเพื่อทำให้ตนเองได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นข้อที่ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบ หรือทำให้ตนเองได้รับการปฏิบัติที่ พิเศษที่ปกติจะไม่ได้รับหากไม่มีการอวดอ้างดังกล่าวแล้ว ยิ่งทำให้เกิดความ เสื่อมเสียแก่การเป็นผู้ประนีประนอมและศาลยุติธรรม นอกจากนี้ผู้ประนี ประนอมจะต้องระมัดระวังไม่ให้บุคคลอื่นนำสถานภาพความเป็นผู้ประนี ประนอมของตนไปใช้อวดอ้าง ไม่ว่าในทางใด ๆ ด้วย หากผู้ประนีประนอม รู้ว่ามีบุคคลใดที่กระทำการในลักษณะดังกล่าว ผู้ประนีประนอมต้องตักเตือน หรือแจ้งให้บุคคลนั้นยุติการกระทำที่เป็นการอวดอ้างเสีย

ข้อ ๑๕ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่โฆษณาหรือเชิญชวนเพื่อให้ตน ได้เป็นผู้ประนีประนอม และไม่พึงรับรองว่าคู่ความจะตกลงกันได้หรือจะ เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งแก่คู่ความ 

คำอธิบาย 

 ผู้ประนีประนอมต้องไม่เผยแพร่ต่อสาธารณชน เชิญชวน หรือกระทำ การใด ๆ เพื่อให้ตนเองได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประนีประนอม การทำข้อตกลง ประนีประนอมยอมความถือเป็นความสมัครใจและความยินยอมของคู่ความ ผู้ประนีประนอมไม่สามารถให้คำรับรองใด ๆ แก่คู่ความ ไม่ว่าจะเป็นการให้ คำมั่นหรือรับประกันว่าคู่ความจะตกลงกันได้หรือให้สัญญาว่าจะเกิดผล อย่างใดอย่างหนึ่งที่สมประโยชน์แก่คู่ความ การกระทำในลักษณะดังกล่าวจึง เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของผู้ประนีประนอม และอาจทำให้คู่ความเกิดความ เข้าใจผิด


ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๖ ค่าตอบแทน)

 ส่วนที่ ๖ ค่าตอบแทน 

 ข้อ ๑๒ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่เรียก รับ หรือยอมจะรับ ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่เป็นกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดให้กระทำได้



คำอธิบาย 

 การที่คู่ความยินยอมเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยของศาล เป็นเพราะเชื่อมั่น ว่าการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจะดำเนินไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นกลาง ผู้ประนีประนอมจึงต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการบั่นทอนความเชื่อมั่น ดังกล่าว หากผู้ประนีประนอมเรียกผลประโยชน์ใด ๆ จากคู่ความฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดหรือจากบุคคลใดเพื่อตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือแม้แต่ เพียงรับหรือยอมจะรับผลประโยชน์ใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว ไม่ว่าจะ เป็นการเรียก รับ หรือยอมจะรับค่าตอบแทนหากไกล่เกลี่ยสำเร็จ หรือการ เรียก รับ หรือยอมจะรับประโยชน์ใด ๆ โดยอาศัยการเป็นผู้ประนีประนอม ย่อมก่อให้เกิดความระแวงสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นกลาง ดังนั้น จึงห้ามมิให้ผู้ประนีประนอมเรียก รับ หรือยอมจะรับค่าตอบแทนหรือ ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่เป็นกรณีที่มี กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดวางไว้ให้กระทำได้เท่านั้น เช่น ระเบียบ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๔๔ และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้น


ข้อ ๑๓ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่ให้ หรือตกลงว่าจะให้ค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้แนะนำ หรือผู้ส่งข้อพิพาทให้ตนดำเนินการไกล่เกลี่ย 

คำอธิบาย 

 การปฏิบัติหน้าที่ผู้ประนีประนอมถือเป็นการทำประโยชน์ให้แก่สังคม และอำนวยความยุติธรรมแก่คู่ความโดยการยุติข้อพิพาทด้วยความพอใจของ ทุกฝ่าย การให้ผู้ประนีประนอมไกล่เกลี่ยคดีใดคดีหนึ่งเป็นเพราะได้รับ มอบหมาย โดยพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และทักษะของผู้ประนี ประนอมเกี่ยวกับคดีนั้น มิใช่เกิดจากการให้หรือรับว่าจะให้ค่าตอบแทน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใด แก่ตัวแทน นายหน้า หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพื่อให้ส่งข้อพิพาทมาให้ตนหรือพวกของตนไกล่เกลี่ย 

ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๕ ความรู้ความสามารถ)

 ส่วนที่ ๕ ความรู้ความสามารถ 

 ข้อ ๑๑ ผู้ประนีประนอมพึงทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเฉพาะเรื่องที่ตน มีคุณสมบัติและทักษะเพียงพอที่จะช่วยให้กระบวนการไกล่เกลี่ยดำเนินไปได้



คำอธิบาย 

 ข้อพิพาทบางเรื่อง เช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับงานออกแบบ ก่อสร้าง วิศวกรรม สถาปัตยกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา การลงทุนระหว่างประเทศ หรือข้อพิพาทในคดีครอบครัว อาจมีประเด็นที่ยุ่งยากหรือสลับซับซ้อน จำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะเป็นพิเศษจึงจะสามารถไกล่เกลี่ยได้ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงไม่ควรรับไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรื่องใด ๆ หากเห็นว่าตนไม่มี คุณสมบัติหรือทักษะที่จำเป็นสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรื่องนั้น เพราะ อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือส่งผลเสียต่อคู่ความที่เกี่ยวข้องได้ใน กรณีดังกล่าวผู้ประนีประนอมควรแจ้งผู้รับผิดชอบราชการศาล หรือองค์คณะ ผู้พิพากษาทราบ 


ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๔ การรักษาความลับ)

 ส่วนที่ ๔ การรักษาความลับ 

 ข้อ ๑๐ ผู้ประนีประนอมจักต้องเก็บรักษาบรรดาข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการไกล่เกลี่ย หรือที่ตนได้รู้เห็นมา อันเนื่องจากการทำหน้าที่ผู้ประนีประนอมไว้เป็นความลับ เว้นแต่คู่ความจะ ตกลงกันเป็นอย่างอื่น เป็นกรณีที่ต้องเปิดเผยตามที่กฎหมายกำหนด หรือ เพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินการหรือบังคับตามสัญญาประนีประนอม ยอมความ



คำอธิบาย 

 กระบวนการไกล่เกลี่ยมีการดำเนินการที่เป็นความลับ เนื่องจาก ประสงค์ให้คู่ความสามารถพูดคุยและเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาท ได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งเสนอเงื่อนไขหรือทางออกสำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องระแวงว่าข้อมูลที่เปิดเผยไปนั้นจะส่งผลเสียต่อรูปคดีหรือชื่อเสียง ผลประโยชน์ได้เสียของตนไม่ว่าในทางใด ๆ ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้อง รักษาข้อมูลที่ได้รับจากคู่ความไว้เป็นความลับอย่างเคร่งครัด ไม่แพร่งพราย ให้บุคคลภายนอกทราบ เว้นแต่คู่ความตกลงกันให้เปิดเผยได้เช่น คู่ความอาจ ยินยอมให้ศาลนำข้อมูลหรือภาพเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยที่ทำขึ้นไปใช้เพื่อ ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แก่การศึกษาอบรม หรือเป็นกรณีที่กฎหมาย บังคับให้เปิดเผยข้อมูลนั้น ซึ่งทำให้ต้องเปิดเผยข้อมูลตามหน้าที่ที่กฎหมาย กำหนด หรือเป็นการเปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ของการดำเนินการ หรือบังคับ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เช่น เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการตีความว่า ข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นมีความหมายอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อ ให้การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นสอดคล้องกับความ ประสงค์ของคู่ความ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ประนีประนอมอาจสื่อสารสาระสำคัญของข้อมูลที่ เห็นว่าจำเป็นและสำคัญที่จะช่วยให้คู่ความสามารถเจรจาตกลงกันได้ให้ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบ เว้นแต่เป็นข้อมูลที่คู่ความได้ระบุว่าเป็นข้อมูลที่ เปิดเผยให้เฉพาะผู้ประนีประนอมทราบเท่านั้น

ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๓ ความขัดแย้งในผลประโยชน์)

 ส่วนที่ ๓ ความขัดแย้งในผลประโยชน์ 

 ข้อ ๘ ไม่ว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยจะดำเนินไปแล้วเพียงใด ผู้ประนีประนอมจักต้องเปิดเผยความขัดแย้งในผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือที่อาจเกิดขึ้นตามที่ตนทราบทั้งหมด ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และคู่ความทราบ 

 ความขัดแย้งในผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึง 

 (๑) การกระทำหรือความสัมพันธ์ที่อาจก่อให้ผู้ประนีประนอมเกิดอคติ 

(๒) การที่ผู้ประนีประนอมมีผลประโยชน์ไม่ว่าโดยตรงหรือ โดยอ้อมในเรื่องที่เกี่ยวกับข้อพิพาทซึ่งตนดำเนินการไกล่เกลี่ย

(๓) การที่ผู้ประนีประนอมมีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางการเงิน ธุรกิจ วิชาชีพ ครอบครัว หรือทางสังคม กับคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง 



คำอธิบาย 

 กรณีที่ผลประโยชน์ซึ่งผู้ประนีประนอมมีอยู่เป็นการส่วนตัว อาจขัดแย้ง กับผลประโยชน์ของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย ทำให้ผู้ประนี ประนอมเกิดอคติในทางที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่คู่ความ และทำให้คู่ความ เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อศาลยุติธรรมไปด้วย ดังนั้น หากผู้ประนีประนอมมี ความขัดแย้งในผลประโยชน์ใด ๆ ที่อาจทำให้ผู้ประนีประนอมเกิดอคติมี ผลประโยชน์ได้เสียไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม หรือมีความสัมพันธ์ ทางการเงิน ธุรกิจ วิชาชีพ ครอบครัว หรือทางสังคมกับคู่ความมาก่อน เช่น เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ ที่ปรึกษาบริษัทของคู่ความ หรือเป็นลูกหนี้เงินกู้ของ คู่ความ ผู้ประนีประนอมจักต้องเปิดเผยความขัดแย้งในผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดขึ้นดังกล่าว ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และ คู่ความทราบ ทั้งนี้ เพื่อคู่ความจะได้มีโอกาสคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่และ กันข้อครหาที่อาจเกิดขึ้น แต่หากคู่ความทราบข้อมูลดังกล่าวแล้วไม่ติดใจ คัดค้าน ผู้ประนีประนอมย่อมสามารถทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยต่อไปได้ 


ข้อ ๙ ผู้ประนีประนอมไม่พึงรับทำการงานใด ๆ ให้แก่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งที่ตนไกล่เกลี่ย ไม่ว่าการไกล่เกลี่ยนั้นจะสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ เว้นแต่คู่ความทุกฝ่ายจะให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร 

ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ผู้ประนีประนอมทำการงานใด ๆ ในระหว่างที่กระบวนการไกล่เกลี่ยยังไม่สิ้นสุด ผู้ประนีประนอมจักต้อง เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และคู่ความทราบ

คำอธิบาย 

 การรับทำการงานให้แก่คู่ความเป็นอีกกรณีหนึ่งที่อาจทำให้คู่ความ อีกฝ่ายหรือบุคคลภายนอกระแวงสงสัยในความสุจริตและความเป็นกลางของ ผู้ประนีประนอม ไม่ว่าการงานที่รับทำนั้นจะเป็นอาชีพที่ผู้ประนีประนอมทำ เป็นปกติอยู่แล้ว หรือเป็นการรับทำการงานภายหลังการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง หรือไม่ก็ตาม เนื่องจากคู่ความหรือบุคคลภายนอกอาจเข้าใจว่าเป็นผล ประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ประนีประนอม อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ให้ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้ผู้ประนีประนอมจึงไม่ ควรรับทำการงานใด ๆ ให้แก่คู่ความ เว้นแต่คู่ความทุกฝ่ายจะให้ความยินยอม เป็นลายลักษณ์อักษร และหากคู่ความให้ผู้ประนีประนอมทำการงานใด ๆ ในระหว่างที่กระบวนการไกล่เกลี่ยยังไม่สิ้นสุด ผู้ประนีประนอมจะต้องเปิดเผย ข้อเท็จจริงดังกล่าว ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และ คู่ความทราบ เพื่อให้มีการคัดค้าน หรือยืนยันการทำหน้าที่ หรือถอนตัวจาก การเป็นผู้ประนีประนอม

ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๒ ความเป็นกลาง)

 ส่วนที่ ๒ ความเป็นกลาง 

 ข้อ ๕ ผู้ประนีประนอมจักต้องวางตนเป็นกลางในการไกล่เกลี่ย ทั้งจักต้องไม่ทำให้คู่ความสงสัยว่าฝักใฝ่ช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง 



คำอธิบาย 

ศาลยุติธรรมเป็นสถาบันหลักในการอำนวยความยุติธรรมแก่คู่ความ ทุกฝ่ายด้วยความเป็นกลางและเสมอภาค ซึ่งการทำหน้าที่ผู้ประนีประนอม ในศาล ถือเป็นส่วนหนึ่งของการอำนวยความยุติธรรมให้แก่คู่ความด้วย ดังนั้น การดำเนินการไกล่เกลี่ยของผู้ประนีประนอม จึงต้องยึดหลักความเป็นกลาง อย่างเคร่งครัด กล่าวคือ ผู้ประนีประนอมจะต้องไม่พูดหรือแสดงออกใน ลักษณะที่เป็นการเข้าข้างคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และต้องปฏิบัติต่อคู่ความ ทุกฝ่ายเสมอเหมือนกัน ทั้งนี้จะต้องมิให้คู่ความรู้สึกว่าตนได้รับการปฏิบัติ ที่ด้อยกว่าผู้อื่น และเชื่อถือได้สนิทใจว่าผู้ประนีประนอมให้ความเป็นธรรมอย่าง เท่าเทียมกัน โดยปราศจากอคติใด ๆ ทั้งปวง 

 ข้อ ๖ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่ยินยอมให้บุคคลภายนอกใช้ อิทธิพลใด ๆ อันอาจทำให้ผู้ประนีประนอมเสียความเป็นกลาง 

คำอธิบาย 

 ผู้ประนีประนอมต้องรักษาไว้ซึ่งความเป็นกลางของตน โดยไม่ยินยอม ให้บุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในครอบครัว มิตรสหาย หรือเหตุอื่นใด มาแทรกแซง กดดัน หรือใช้อิทธิพลใด ๆ อันอาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของตนขาดความเป็นธรรม หรือเสียความเป็นกลาง


ข้อ ๗ ผู้ประนีประนอมจักต้องเปิดเผยข้อเท็จจริง อันอาจเป็นเหตุ ให้คู่ความมีความสงสัยตามสมควรในความเป็นกลางของตน ให้ผู้รับผิดชอบ ราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และคู่ความทราบ 

คำอธิบาย 

 การรักษาความเป็นกลางนั้นรวมถึงการทำให้คู่ความและบุคคลที่ เกี่ยวข้องไม่เกิดความระแวงสงสัยในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย ดังนั้น ผู้ประนี ประนอมจึงต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงใด ๆ ที่อาจทำให้คู่ความมีความสงสัยตาม สมควรในความเป็นกลางของตน ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะ ผู้พิพากษา และคู่ความทราบ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ที่ตนเกี่ยวข้องกับ คู่ความ ความมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับคดีหรือความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคู่ความ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เช่น เป็นญาตินายจ้าง ลูกจ้าง หุ้นส่วน ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ หรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางการสมรส เป็นต้น เพื่อให้มีการ คัดค้านหรือยืนยันการทำหน้าที่ หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ประนีประนอม แต่ หากคู่ความทราบข้อมูลดังกล่าวแล้วไม่ติดใจคัดค้าน ผู้ประนีประนอมนั้นย่อม สามารถทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยต่อไปได้ 

ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๑ การให้คู่ความตัดสินใจด้วยตนเอง)

 ส่วนที่ ๑ การให้คู่ความตัดสินใจด้วยตนเอง 

 ข้อ ๒ ในการระงับข้อพิพาทผู้ประนีประนอมจักต้องให้คู่ความ ตัดสินใจด้วยตนเอง บนพื้นฐานของข้อมูลที่เพียงพอ 


คำอธิบาย 

 การระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของ คู่ความเป็นสำคัญ ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้องสนับสนุนให้คู่ความตัดสินใจ ด้วยตนเอง โดยมีความรู้และความเข้าใจในผลกระทบ ทางได้ทางเสียบนพื้นฐาน ของข้อมูลที่เพียงพอ และไม่ใช้อิทธิพลใด ๆ เช่น ให้คำมั่นสัญญา บังคับ ปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรบอก หรือกระทำโดยมิชอบประการใด ๆ เพื่อจูงใจให้ คู่ความยอมรับแนวทางการระงับข้อพิพาทตามความเห็นของตน โดยฝ่าฝืน ต่อความสมัครใจและความพึงพอใจของคู่ความอย่างแท้จริง 


 ข้อ ๓ ผู้ประนีประนอมจักต้องละเว้นไม่ออกคำสั่งหรือชี้ขาดใด ๆ ที่ เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทและทางเลือกในการตกลงระงับข้อพิพาท ตลอดจน ต้องไม่บังคับหรือใช้อิทธิพลใด ๆ เพื่อให้คู่ความต้องจำยอมเข้าร่วมใน การไกล่เกลี่ยหรือตัดสินใจในกระบวนการไกล่เกลี่ย โดยฝ่าฝืนต่อความ สมัครใจและเสรีภาพของคู่ความ


คำอธิบาย 

 บทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของการเป็นผู้ประนีประนอม คือ การ ช่วยเหลือคู่ความให้เจรจาเพื่อหาข้อยุติสำหรับข้อพิพาท โดยไม่มีอำนาจหน้าที่ ใด ๆ ที่จะตัดสินหรือชี้ขาดข้อพิพาท หรือออกคำสั่งกำหนดให้คู่ความ ต้องทำการอย่างหนึ่งอย่างใด นอกเหนือไปจากการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ย ดังนั้น การจะใช้ทางเลือกใดในการระงับข้อพิพาท จึงต้องขึ้นอยู่กับความ พึงพอใจและความสมัครใจของคู่ความ หากคู่ความเห็นว่ากระบวนการไกล่เกลี่ย ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนอีกต่อไป คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ศาลพิจารณา พิพากษาคดีต่อไปได้


ข้อ ๔ ผู้ประนีประนอมพึงช่วยเหลือสนับสนุนการเจรจาระหว่าง คู่ความเพื่อหาแนวทางในการระงับข้อพิพาท โดยไม่ออกความเห็นใด ๆ อัน เป็นการชี้ขาด เว้นแต่คู่ความจะได้ตกลงกันให้ผู้ประนีประนอมออกความเห็น เช่นว่านั้น 

คำอธิบาย 

 ผู้ประนีประนอมสามารถช่วยเหลือและสนับสนุนคู่ความในการ พิจารณาแนวทางการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เสนอในระหว่างการไกล่เกลี่ย ตลอดจนข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทาง เพื่อให้คู่ความสามารถบรรลุข้อตกลง ร่วมกันได้แต่ผู้ประนีประนอมจะต้องไม่ออกความเห็นในลักษณะที่เป็นการ ชี้ขาด หรือกำหนดให้คู่ความต้องเลือกระงับข้อพิพาทในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง เพราะคู่ความควรได้เลือกแนวทางระงับข้อพิพาทด้วยความสมัครใจของตน อย่างไรก็ตาม บางกรณีคู่ความอาจต้องการความเห็นของคนกลางที่ไม่มีส่วน ได้เสียเกี่ยวกับเรื่องที่พิพาทว่าแนวทางในการระงับข้อพิพาทใด เป็นแนวทาง ที่เหมาะสมและเป็นธรรม หากคู่ความขอให้ผู้ประนีประนอมออกความเห็นใน ลักษณะดังกล่าว ผู้ประนีประนอมย่อมกระทำเช่นนั้นได


ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf