Search This Blog

Saturday, April 10, 2021

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๖ ค่าตอบแทน)

 ส่วนที่ ๖ ค่าตอบแทน 

 ข้อ ๑๒ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่เรียก รับ หรือยอมจะรับ ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่เป็นกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดให้กระทำได้



คำอธิบาย 

 การที่คู่ความยินยอมเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยของศาล เป็นเพราะเชื่อมั่น ว่าการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจะดำเนินไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นกลาง ผู้ประนีประนอมจึงต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการบั่นทอนความเชื่อมั่น ดังกล่าว หากผู้ประนีประนอมเรียกผลประโยชน์ใด ๆ จากคู่ความฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดหรือจากบุคคลใดเพื่อตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือแม้แต่ เพียงรับหรือยอมจะรับผลประโยชน์ใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว ไม่ว่าจะ เป็นการเรียก รับ หรือยอมจะรับค่าตอบแทนหากไกล่เกลี่ยสำเร็จ หรือการ เรียก รับ หรือยอมจะรับประโยชน์ใด ๆ โดยอาศัยการเป็นผู้ประนีประนอม ย่อมก่อให้เกิดความระแวงสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นกลาง ดังนั้น จึงห้ามมิให้ผู้ประนีประนอมเรียก รับ หรือยอมจะรับค่าตอบแทนหรือ ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่เป็นกรณีที่มี กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดวางไว้ให้กระทำได้เท่านั้น เช่น ระเบียบ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๔๔ และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้น


ข้อ ๑๓ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่ให้ หรือตกลงว่าจะให้ค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้แนะนำ หรือผู้ส่งข้อพิพาทให้ตนดำเนินการไกล่เกลี่ย 

คำอธิบาย 

 การปฏิบัติหน้าที่ผู้ประนีประนอมถือเป็นการทำประโยชน์ให้แก่สังคม และอำนวยความยุติธรรมแก่คู่ความโดยการยุติข้อพิพาทด้วยความพอใจของ ทุกฝ่าย การให้ผู้ประนีประนอมไกล่เกลี่ยคดีใดคดีหนึ่งเป็นเพราะได้รับ มอบหมาย โดยพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และทักษะของผู้ประนี ประนอมเกี่ยวกับคดีนั้น มิใช่เกิดจากการให้หรือรับว่าจะให้ค่าตอบแทน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใด แก่ตัวแทน นายหน้า หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพื่อให้ส่งข้อพิพาทมาให้ตนหรือพวกของตนไกล่เกลี่ย 

ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๕ ความรู้ความสามารถ)

 ส่วนที่ ๕ ความรู้ความสามารถ 

 ข้อ ๑๑ ผู้ประนีประนอมพึงทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเฉพาะเรื่องที่ตน มีคุณสมบัติและทักษะเพียงพอที่จะช่วยให้กระบวนการไกล่เกลี่ยดำเนินไปได้



คำอธิบาย 

 ข้อพิพาทบางเรื่อง เช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับงานออกแบบ ก่อสร้าง วิศวกรรม สถาปัตยกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา การลงทุนระหว่างประเทศ หรือข้อพิพาทในคดีครอบครัว อาจมีประเด็นที่ยุ่งยากหรือสลับซับซ้อน จำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะเป็นพิเศษจึงจะสามารถไกล่เกลี่ยได้ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงไม่ควรรับไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรื่องใด ๆ หากเห็นว่าตนไม่มี คุณสมบัติหรือทักษะที่จำเป็นสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรื่องนั้น เพราะ อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือส่งผลเสียต่อคู่ความที่เกี่ยวข้องได้ใน กรณีดังกล่าวผู้ประนีประนอมควรแจ้งผู้รับผิดชอบราชการศาล หรือองค์คณะ ผู้พิพากษาทราบ 


ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๔ การรักษาความลับ)

 ส่วนที่ ๔ การรักษาความลับ 

 ข้อ ๑๐ ผู้ประนีประนอมจักต้องเก็บรักษาบรรดาข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการไกล่เกลี่ย หรือที่ตนได้รู้เห็นมา อันเนื่องจากการทำหน้าที่ผู้ประนีประนอมไว้เป็นความลับ เว้นแต่คู่ความจะ ตกลงกันเป็นอย่างอื่น เป็นกรณีที่ต้องเปิดเผยตามที่กฎหมายกำหนด หรือ เพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินการหรือบังคับตามสัญญาประนีประนอม ยอมความ



คำอธิบาย 

 กระบวนการไกล่เกลี่ยมีการดำเนินการที่เป็นความลับ เนื่องจาก ประสงค์ให้คู่ความสามารถพูดคุยและเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาท ได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งเสนอเงื่อนไขหรือทางออกสำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องระแวงว่าข้อมูลที่เปิดเผยไปนั้นจะส่งผลเสียต่อรูปคดีหรือชื่อเสียง ผลประโยชน์ได้เสียของตนไม่ว่าในทางใด ๆ ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้อง รักษาข้อมูลที่ได้รับจากคู่ความไว้เป็นความลับอย่างเคร่งครัด ไม่แพร่งพราย ให้บุคคลภายนอกทราบ เว้นแต่คู่ความตกลงกันให้เปิดเผยได้เช่น คู่ความอาจ ยินยอมให้ศาลนำข้อมูลหรือภาพเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยที่ทำขึ้นไปใช้เพื่อ ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แก่การศึกษาอบรม หรือเป็นกรณีที่กฎหมาย บังคับให้เปิดเผยข้อมูลนั้น ซึ่งทำให้ต้องเปิดเผยข้อมูลตามหน้าที่ที่กฎหมาย กำหนด หรือเป็นการเปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ของการดำเนินการ หรือบังคับ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เช่น เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการตีความว่า ข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นมีความหมายอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อ ให้การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นสอดคล้องกับความ ประสงค์ของคู่ความ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ประนีประนอมอาจสื่อสารสาระสำคัญของข้อมูลที่ เห็นว่าจำเป็นและสำคัญที่จะช่วยให้คู่ความสามารถเจรจาตกลงกันได้ให้ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบ เว้นแต่เป็นข้อมูลที่คู่ความได้ระบุว่าเป็นข้อมูลที่ เปิดเผยให้เฉพาะผู้ประนีประนอมทราบเท่านั้น

ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf