Search This Blog

Saturday, April 10, 2021

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๓ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว (ส่วนที่ ๑ การดำรงตน)

หมวดที่ ๓ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว 

ส่วนที่ ๑ การดำรงตน 

 ข้อ ๑๖ ผู้ประนีประนอมจักต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย อยู่ใน กรอบศีลธรรมและจริยธรรม ทั้งพึงวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของ บุคคลทั่วไป 



คำอธิบาย 

 ผู้ประนีประนอมต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย อยู่ในกรอบ ศีลธรรม ไม่หมกมุ่นมัวเมาอยู่กับอบายมุข วางตนให้สมฐานะ รักษาชื่อเสียง และเกียรติศักดิ์แห่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไป 

 ข้อ ๑๗ ผู้ประนีประนอมจักต้องปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วย กฎหมายของผู้รับผิดชอบราชการศาล และองค์คณะผู้พิพากษา 

คำอธิบาย 

 ผู้ประนีประนอมทำงานในระบบของศาลยุติธรรม โดยมีผู้รับผิดชอบ ราชการศาลแต่ละศาลเป็นผู้บริหารและผู้บังคับบัญชา นอกจากนั้น คดีความ ที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย อาจมีผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะรับผิดชอบ สำนวนคดีมีหน้าที่ดูแลการพิจารณาพิพากษาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการไกล่เกลี่ยนั้นเป็นการดำเนินการส่วนหนึ่งของ การพิจารณาพิพากษาคดีจึงอยู่ในความรับผิดชอบและการดูแลขององค์คณะ ผู้พิพากษาด้วย ดังนั้น เมื่อผู้รับผิดชอบราชการศาลหรือองค์คณะผู้พิพากษามีคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายให้ผู้ประนีประนอมทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติหน้าที่ผู้ประนีประนอมต้องปฏิบัติตามคำสั่งนั้น

ข้อ ๑๘ ผู้ประนีประนอมจักต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้รับผิดชอบ ราชการศาลหรือองค์คณะผู้พิพากษามอบหมายโดยเคร่งครัด มีความ อุตสาหะ อุทิศเวลาของตนให้แก่การปฏิบัติหน้าที่ จะละทิ้งหรือทอดทิ้ง หน้าที่มิได้

คำอธิบาย 

การไกล่เกลี่ยเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องใช้ความอุตสาหะในการ ทำความเข้าใจข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อพิพาทและคู่ความที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อพิพาทบางเรื่องยากแก่การทำความเข้าใจ หรือบางเรื่อง คู่ความมีความไม่เข้าใจกันจนทำให้การเจรจาไม่อาจทำได้โดยง่าย การที่จะ ไกล่เกลี่ยให้ประสบผลสำเร็จ จึงจำเป็นต้องใช้ความอุตสาหะของผู้ประนี ประนอมในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้การ ไกล่เกลี่ยยังอาจต้องใช้เวลากว่าจะทำให้คู่ความเข้าใจปัญหาและความ ต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง ตลอดจนการหาข้อตกลงหรือเงื่อนไขที่ทุกฝ่าย พึงพอใจ เนื่องจากต้องให้เวลาคู่ความในการพิจารณาไตร่ตรองหรือให้คู่ความ คลายความรู้สึกที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันจนสามารถรอมชอมกันได้ผู้ประนี ประนอมจึงต้องอุทิศตน แม้จะต้องใช้เวลาและนัดไกล่เกลี่ยหลายครั้งก็ตาม

ข้อ ๑๙ ผู้ประนีประนอมจักต้องศึกษาและเตรียมการปฏิบัติหน้าที่ ในคดีของตนไว้ให้พร้อมก่อนดำเนินการไกล่เกลี่ย 

คำอธิบาย 

ผู้ประนีประนอมต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องที่พิพาทและ เตรียมการปฏิบัติหน้าที่ในคดีของตนไว้ให้พร้อมก่อนดำเนินการไกล่เกลี่ยโดยรวบรวมข้อมูล ทำความเข้าใจเนื้อหาของคดีเพื่อให้สามารถดำเนินการ ไกล่เกลี่ยได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม การศึกษาข้อมูลของคดีถือเป็นการ เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ที่จำเป็น เนื่องจากบางคดีอาจจะมี ปัญหาที่สลับซับซ้อน และอาจมีประเด็นปัญหาหลายเรื่องที่ผู้ประนีประนอม ไม่มีข้อมูลหรือความเข้าใจเพียงพอ ผู้ประนีประนอมต้องแสวงหาข้อมูลที่ จำเป็นเพื่อที่จะทำให้ผู้ประนีประนอมเข้าใจประเด็นปัญหาที่คู่ความอาจยก ขึ้นในระหว่างการไกล่เกลี่ย การที่ผู้ประนีประนอมขาดความพร้อมจนทำให้ ไม่เข้าใจประเด็นปัญหา อาจมีผลให้คู่ความหรือทนายความขาดความเชื่อถือได้

ข้อ ๒๐ ผู้ประนีประนอมจักต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และด้วยความระมัดระวัง 

คำอธิบาย 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้คำนิยามคำว่า “ซื่อสัตย์” ไว้ว่า : “ประพฤติตรง และจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง และ ไม่หลอกลวง” และให้คำนิยามคำว่า “สุจริต” ว่า : “ความประพฤติชอบ” 

ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณลักษณะสำคัญที่สุดข้อหนึ่งที่ผู้ประนีประนอม ต้องยึดถือและปฏิบัติซึ่งความซื่อสัตย์สุจริตนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้น มีสัจจะทั้งกาย วาจา ใจ ใจยึดมั่นจะทำแต่สิ่งที่ชอบ ไม่ประสงค์ในสิ่งซึ่ง ไม่พึงมีพึงได้ความซื่อสัตย์สุจริตถือเป็นคุณธรรมที่สำคัญของศาลยุติธรรมที่ บุคลากรทุกคนจำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การปฏิบัติหน้าที่ของ ผู้ประนีประนอมที่ปราศจากความซื่อสัตย์สุจริต ย่อมส่งผลกระทบต่อเกียรติภูมิ ของศาลยุติธรรมอย่างร้ายแรง 

ผู้ประนีประนอมต้องตระหนักว่าการปฏิบัติหน้าที่ของตนมีความสำคัญ ในการอำนวยความยุติธรรมและช่วยเหลือประชาชนที่มีความทุกข์ความ เดือดร้อนจากอรรถคดีต่าง ๆ ผลกระทบของคดีความและข้อตกลงในการ ประนีประนอมยอมความย่อมส่งผลโดยตรงต่อคู่ความ ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยด้วยความระมัดระวัง เพื่อช่วยให้คู่ความบรรลุ ข้อตกลงที่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างแท้จริงและไม่ทำให้เกิดปัญหาอื่น

ข้อ ๒๑ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้รับผิดชอบ ราชการศาล หรือองค์คณะผู้พิพากษา การรายงานโดยปกปิดข้อความที่ ควรต้องบอกถือว่าเป็นรายงานเท็จด้วย 

คำอธิบาย 

ผู้ประนีประนอมปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับศาลและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ พิจารณาคดีดังนั้น การรายงานหรือให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้รับผิดชอบราชการศาล หรือองค์คณะผู้พิพากษา จึงต้องไม่เป็นเท็จและถูกต้องตรงความเป็นจริง เพราะจากการรายงานหรือให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนนั้น ย่อมเกิด ความเสียหายแก่ราชการและประชาชนที่มีอรรถคดีได้การรายงานเท็จ ในกรณีนี้รวมถึงการให้ข้อมูลที่นอกเหนือไปจากคดีความโดยตรงด้วย เช่น การให้ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีเกี่ยวกับผู้ประนีประนอมคนอื่นหรือบุคลากร ในศาล ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน หรือการให้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการปฏิบัติ หน้าที่ของข้าราชการศาล ความประพฤติตลอดจนการมีส่วนได้ส่วนเสียในคดี ของผู้ประนีประนอมคนอื่น ทั้งนี้การปกปิดข้อมูลใดที่ควรบอกอาจถือว่า เป็นการรายงานเท็จด้วยก็ได้หากผลของการปกปิดนั้นทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง สำคัญผิดเกี่ยวกับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเหล่านั้น

ข้อ ๒๒ ผู้ประนีประนอมจักต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็น ผู้ประพฤติชั่ว ไม่ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมา จนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอื่นใดซึ่งความประพฤติหรือการกระทำดังกล่าวอาจทำให้ เสื่อมเสียแก่ศาลยุติธรรม

คำอธิบาย 

การกระทำและความประพฤติของผู้ประนีประนอมไม่ว่าจะในเวลา ราชการหรือนอกเวลาราชการ ล้วนเป็นข้อสำคัญ ยิ่งประพฤติตนดีก็ยิ่ง ได้รับความนับถือมากขึ้น แต่หากประพฤติไม่ดีย่อมได้รับคำติฉินนินทา ขาด ความนับถือ และกระทบต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ ศาลยุติธรรม ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้องประพฤติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย และทำนองคลองธรรม ไม่ประพฤติชั่ว และไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข เช่น เป็น คนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้เล่นการ พนัน กระทำความผิดทางอาญา คบหาสมาคมกับผู้ประพฤติผิดกฎหมาย หรือผู้มีความประพฤติในทางเสื่อมเสีย เป็นต้น

ข้อ ๒๓ ผู้ประนีประนอมจักต้องอยู่ในมารยาทอันดีงาม และใช้กิริยา วาจาสุภาพ แก่คู่ความทุกฝ่าย ขณะดำเนินการไกล่เกลี่ย 

คำอธิบาย 

ผู้ประนีประนอมต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยด้วยมารยาทอันดีงาม ใช้ วาจาสุภาพ ไม่ข่มขู่ หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือ สร้างความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน การใช้วาจาสุภาพนี้รวมถึงการใช้ถ้อยคำที่ เหมาะสมโดยไม่กระทบกระเทียบเปรียบเปรย รวมตลอดทั้งน้ำเสียงและ กิริยาท่าทางด้วย 

ข้อ ๒๔ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่กระทำการใด ๆ อันอาจเป็นเหตุ ให้การพิจารณาพิพากษาคดีขาดความเป็นอิสระหรือความยุติธรรม 

คำอธิบาย 

การทำหน้าที่ของผู้ประนีประนอมถือเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาคดี ผู้ประนีประนอมจึงต้องไม่กระทำการใด ๆ อันจะเป็นการกระทบกระเทือน ต่อการพิจารณาพิพากษาคดีในประการที่อาจทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลขาดความเป็นอิสระหรือเสียความยุติธรรม เช่น ไม่ใช้อิทธิพลก้าวก่าย สร้างความเกรงใจ จูงใจให้ความเห็น รวมทั้งต้องไม่ใช้โอกาสที่ตนปฏิบัติ หน้าที่ผู้ประนีประนอมในการแทรกแซงหรือโน้มน้าวการพิจารณาพิพากษาคดี ที่ตนหรือบุคคลที่ตนรู้จักเป็นคู่ความ มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ อยู่ด้วย

ข้อ ๒๕ ผู้ประนีประนอมจักต้องละเว้นการกล่าวถึงคดีที่อาจกระทบ กระเทือนต่อบุคคลใด และไม่วิจารณ์หรือให้ความเห็นแก่บุคคลภายนอก เกี่ยวกับคดีที่อยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ย หรือจะเข้าสู่การพิจารณาคดี 

คำอธิบาย 

การที่ผู้ประนีประนอมวิจารณ์หรือให้ความเห็นเกี่ยวกับคดีอาจทำให้ บุคคลภายนอกเข้าใจไปได้ว่าคำวิจารณ์หรือความเห็นดังกล่าว เป็นความเห็น ของศาลหรือองค์คณะผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ทั้งยังอาจทำให้ บุคคลภายนอกล่วงรู้ถึงข้อเท็จจริงในคดีหรือข้อมูลในการไกล่เกลี่ยที่เป็น ความลับ นอกจากนี้ยังอาจทำให้บุคคลภายนอกที่รับฟังข้อวิจารณ์หรือความเห็น ดังกล่าว เกิดความระแวงสงสัยในความเป็นกลางของผู้ประนีประนอมด้วย ผู้ประนีประนอมจึงต้องระมัดระวังไม่วิจารณ์หรือให้ความเห็นใด ๆ เว้นแต่ เป็นการแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ทางวิชาการในการศึกษาและพัฒนา องค์ความรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย อย่างไรก็ตาม การแสดงความคิดเห็นเพื่อ ประโยชน์ทางวิชาการดังกล่าว ควรละเว้นการกล่าวถึงตัวบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อมิให้เกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้น 

 นอกจากนี้แม้ในกรณีที่ยังไม่เป็นคดีความ แต่อาจจะเป็นคดีขึ้นได้ ก็ไม่พึงวิจารณ์หรือให้ความเห็นเช่นกัน เพราะการวิจารณ์หรือให้ความเห็น ดังกล่าว อาจทำให้ผู้รับฟังเข้าใจผิดว่าเป็นผลของคดีที่จะเกิดขึ้น หากมีการ นำกรณีนั้นไปฟ้องต่อศาล ทั้งยังอาจทำให้เกิดความระแวงสงสัยในความเป็นกลาง ได้เช่นเดียวกัน

ข้อ ๒๖ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่ให้ข่าว อภิปราย หรือแสดงความ คิดเห็นใด ๆ ต่อสาธารณชน อันอาจกระทบกระเทือนต่อศาลยุติธรรมหรือ ฝ่ายอื่น

คำอธิบาย 

 การให้ข่าว อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณชน โดยปกติ สามารถกระทำได้ในขอบเขตของกฎหมาย แต่ทั้งนี้ต้องระมัดระวังมิให้ กระทบกระเทือนหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาลยุติธรรม บุคคลหรือ หน่วยงานใด เช่น หากเป็นการบรรยาย สอน หรืออบรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ การไกล่เกลี่ยตามโครงการของสำนักงานศาลยุติธรรมย่อมสามารถกระทำได้ เพราะมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ แต่หากพาดพิงไปถึงประเด็น ทางการเมืองในทำนองเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่ง หรือกระทบกระเทียบเปรียบเปรยหน่วยงานฝ่ายอื่นใน ทางเสียหายย่อมกระทำมิได้ทั้งนี้การไม่ให้ข่าว อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็น ใด ๆ ต่อสาธารณชนนั้น รวมถึงการแจกจ่าย เผยแพร่ แถลง ชี้แจงข่าว และ การให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน ตลอดจนพูดออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ด้วย 

 อนึ่ง คำว่า“สื่อมวลชน”หมายความว่า หนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์สำนักข่าวสาร หรือสื่ออื่น ๆ ที่ไปถึงมวลชนด้วย ดังนั้น การให้ข่าวสารรวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อันอาจกระทบกระเทือนต่อศาลยุติธรรม การพิจารณาพิพากษาคดีหรือฝ่ายอื่น จึงไม่อาจกระทำได้เช่นกัน

ข้อ ๒๗ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบหรือ ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ความเป็นผู้ประนีประนอมของตนแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ 

คำอธิบาย 

การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้เสื่อมเสียความ ยุติธรรม และทำให้บุคคลทั่วไปไม่เชื่อถือศรัทธาในตัวผู้ประนีประนอม ซึ่ง นอกจากผู้ประนีประนอมต้องไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบแล้ว ยังต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น และระมัดระวังมิให้ ผู้อื่นอ้างชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่ของตนเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ไม่ว่าจะ เป็นในทางคดีหรือในทางอื่นใดด้วย

ข้อ ๒๘ ผู้ประนีประนอมและคู่สมรสจักต้องไม่รับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ จากคู่ความหรือจากบุคคลอื่นใด อันเกี่ยวเนื่องกับการ ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประนีประนอม และจักต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัว ปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย 

คำอธิบาย 

ผู้ประนีประนอมและคู่สมรสต้องไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากคู่ความหรือบุคคลอื่น อันเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการไกล่เกลี่ย ของผู้ประนีประนอม และต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัวปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย 

ข้อ ๒๙ ผู้ประนีประนอมพึงมีความสุภาพเรียบร้อย แต่งกายสุภาพ และถูกต้องตามกาลเทศะ มีอัธยาศัยอันดีงามแก่บุคคลทั่วไป 

คำอธิบาย 

ผู้ประนีประนอมควรมีความสุภาพเรียบร้อย แต่งกายสุภาพ ถูกต้อง ตามกาลเทศะ ให้ความเคารพต่อสถานที่ราชการ เช่น มาปฏิบัติหน้าที่ต้อง แต่งกายเรียบร้อย ไม่สวมรองเท้าแตะ และควรมีอัธยาศัยไมตรีต่อบุคคล ทั่วไป พึงแสดงความมีน้ำใจ อ่อนโยนต่อบุคคลอื่น

ข้อ ๓๐ ผู้ประนีประนอมพึงศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ และพึงเสริมสร้างทักษะในการปฏิบัติงาน ด้วยการนำความรู้ในด้านต่าง ๆ มาพัฒนาตนเอง เพื่อให้การปฏิบัติงาน เป็นไปโดยถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 

คำอธิบาย 

การที่ผู้ประนีประนอมหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ย่อม เป็นการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความรู้ทันต่อเหตุการณ์ ทั้งเป็นประโยชน์ต่อ การปฏิบัติหน้าที่ เพราะสามารถนำความรู้ที่ได้เช่น เทคนิค วิธีการไกล่เกลี่ย แต่ละรูปแบบมาใช้กับข้อพิพาทแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม ทำให้การ ไกล่เกลี่ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถระงับข้อพิพาทได้ด้วยความ พอใจของทุกฝ่าย

ข้อ ๓๑ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ แตกความสามัคคีระหว่างผู้ร่วมงาน และพึงส่งเสริมความสามัคคีใน หมู่คณะ 

คำอธิบาย 

การกระทำอันเป็นเหตุให้แตกความสามัคคีเช่น ยุยง ให้ร้าย แบ่งพรรค แบ่งพวก ทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ การทำงานร่วมกันไม่เป็นไป ด้วยความเรียบร้อย ขาดความร่วมมือร่วมใจในการประสานงาน และขาด ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วย ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้องไม่กระทำ การใดๆ อันเป็นเหตุให้แตกความสามัคคีระหว่างผู้ร่วมงาน พึงส่งเสริมความ สามัคคีปรองดอง สร้างบรรยากาศที่ดีโดยต่างฝ่ายต่างต้องเคารพและ ปรารถนาดีต่อกัน ยึดมั่นในความเที่ยงธรรม และบำเพ็ญตนอยู่ในกรอบของ กฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรมแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด

ข้อ ๓๒ ผู้ประนีประนอมจักต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการ ปฏิบัติหน้าที่ และมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ๆ 

คำอธิบาย 

ผู้ประนีประนอมพึงแสดงความมีน้ำใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ไม่ข่มผู้อื่นในทีว่าตนเหนือกว่า และต้องระมัดระวังในการใช้คำพูดหรือการ แสดงออกด้วยกริยาท่าทาง เพราะบางคำพูดหรือการแสดงกริยาที่ไม่สุภาพ เรียบร้อย อาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจไปได้ว่าถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม 

ข้อ ๓๓ ผู้ประนีประนอมพึงละเว้นการคบหาสมาคมกับคู่ความหรือ บุคคลซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับคดีความ หรือผู้ซึ่งมีความประพฤติใน ทางเสื่อมเสีย อันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือของบุคคลทั่วไป 

คำอธิบาย 

การที่ผู้ประนีประนอมจะเข้าไปคบหาสมาคมหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรม ใด ๆ กับคู่ความ หรือบุคคลซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับคดีในศาลที่ตน ปฏิบัติหน้าที่ หรือผู้ซึ่งมีความประพฤติในทางเสื่อมเสีย ย่อมส่งผลกระทบต่อ การปฏิบัติหน้าที่ และเสื่อมเสียต่อความเชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไปที่มีต่อ ศาลยุติธรรม เนื่องจากผู้ประนีประนอมต้องปฏิบัติหน้าที่ในศาลยุติธรรมและ เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงควรละเว้นการคบหา สมาคมกับบุคคลดังกล่าว

ข้อ ๓๔ ผู้ประนีประนอมไม่พึงขอรับเงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใด จากหน่วยงานหรือบุคคลภายนอก ในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือน ต่อศาลยุติธรรม เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการตามระเบียบ คำสั่ง หรือมติ ว่าด้วยการนั้น

คำอธิบาย 

การขอหรือรับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก นอกจากจะเป็น เรื่องที่ไม่เหมาะสมแล้ว ยังจะต้องระมัดระวังในเรื่องชื่อเสียงของศาลด้วย เพราะผู้ให้ก็อาจจะให้ด้วยความเกรงใจ สุดท้ายจะนำมาสู่ความเสื่อมเสียแก่ ศาลยุติธรรมมากกว่าความดียิ่งกว่านั้นก็จะกระทบกระเทือนความรู้สึกของ บุคลากรของหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ เพราะหน่วยงานต้นสังกัดของตน ต้องมอบงบประมาณให้แก่ศาลยุติธรรม ทั้งที่งบประมาณเหล่านั้นควรนำ ไปใช้ในหน่วยงานของตนยิ่งกว่า และหากหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณมี คดีความมาสู่ศาลด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้กระทบกระเทือนถึงความเชื่อมั่นศรัทธา ของบุคคลทั่วไป เพราะศาลนอกจากต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระแล้ว จะต้อง แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าได้ปฏิบัติเช่นนั้นอย่าง เคร่งครัดด้วย

ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๗ การโฆษณาและการเชิญชวน)

 ส่วนที่ ๗ การโฆษณาและการเชิญชวน 

 ข้อ ๑๔ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่อวดอ้างการที่ตนเป็นผู้ประนี ประนอม หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น 



คำอธิบาย 

 การอวดอ้างความเป็นผู้ประนีประนอมต่อบุคคลภายนอกหรือสังคม เป็นกรณีที่จะกระทำไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นการอวดอ้างเพื่อแสวงหาประโยชน์ใด ๆ หรือไม่ก็ตาม เนื่องจากบุคคลภายนอกหรือสังคมอาจเข้าใจได้ว่าการกระทำ ของผู้ที่อวดอ้างนั้น มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวพันกับศาลยุติธรรมด้วย และยิ่ง หากเป็นการอวดอ้างเพื่อทำให้ตนเองได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นข้อที่ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบ หรือทำให้ตนเองได้รับการปฏิบัติที่ พิเศษที่ปกติจะไม่ได้รับหากไม่มีการอวดอ้างดังกล่าวแล้ว ยิ่งทำให้เกิดความ เสื่อมเสียแก่การเป็นผู้ประนีประนอมและศาลยุติธรรม นอกจากนี้ผู้ประนี ประนอมจะต้องระมัดระวังไม่ให้บุคคลอื่นนำสถานภาพความเป็นผู้ประนี ประนอมของตนไปใช้อวดอ้าง ไม่ว่าในทางใด ๆ ด้วย หากผู้ประนีประนอม รู้ว่ามีบุคคลใดที่กระทำการในลักษณะดังกล่าว ผู้ประนีประนอมต้องตักเตือน หรือแจ้งให้บุคคลนั้นยุติการกระทำที่เป็นการอวดอ้างเสีย

ข้อ ๑๕ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่โฆษณาหรือเชิญชวนเพื่อให้ตน ได้เป็นผู้ประนีประนอม และไม่พึงรับรองว่าคู่ความจะตกลงกันได้หรือจะ เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งแก่คู่ความ 

คำอธิบาย 

 ผู้ประนีประนอมต้องไม่เผยแพร่ต่อสาธารณชน เชิญชวน หรือกระทำ การใด ๆ เพื่อให้ตนเองได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประนีประนอม การทำข้อตกลง ประนีประนอมยอมความถือเป็นความสมัครใจและความยินยอมของคู่ความ ผู้ประนีประนอมไม่สามารถให้คำรับรองใด ๆ แก่คู่ความ ไม่ว่าจะเป็นการให้ คำมั่นหรือรับประกันว่าคู่ความจะตกลงกันได้หรือให้สัญญาว่าจะเกิดผล อย่างใดอย่างหนึ่งที่สมประโยชน์แก่คู่ความ การกระทำในลักษณะดังกล่าวจึง เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของผู้ประนีประนอม และอาจทำให้คู่ความเกิดความ เข้าใจผิด


ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๖ ค่าตอบแทน)

 ส่วนที่ ๖ ค่าตอบแทน 

 ข้อ ๑๒ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่เรียก รับ หรือยอมจะรับ ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่เป็นกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดให้กระทำได้



คำอธิบาย 

 การที่คู่ความยินยอมเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยของศาล เป็นเพราะเชื่อมั่น ว่าการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจะดำเนินไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นกลาง ผู้ประนีประนอมจึงต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการบั่นทอนความเชื่อมั่น ดังกล่าว หากผู้ประนีประนอมเรียกผลประโยชน์ใด ๆ จากคู่ความฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดหรือจากบุคคลใดเพื่อตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือแม้แต่ เพียงรับหรือยอมจะรับผลประโยชน์ใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว ไม่ว่าจะ เป็นการเรียก รับ หรือยอมจะรับค่าตอบแทนหากไกล่เกลี่ยสำเร็จ หรือการ เรียก รับ หรือยอมจะรับประโยชน์ใด ๆ โดยอาศัยการเป็นผู้ประนีประนอม ย่อมก่อให้เกิดความระแวงสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นกลาง ดังนั้น จึงห้ามมิให้ผู้ประนีประนอมเรียก รับ หรือยอมจะรับค่าตอบแทนหรือ ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่เป็นกรณีที่มี กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดวางไว้ให้กระทำได้เท่านั้น เช่น ระเบียบ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๔๔ และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้น


ข้อ ๑๓ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่ให้ หรือตกลงว่าจะให้ค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้แนะนำ หรือผู้ส่งข้อพิพาทให้ตนดำเนินการไกล่เกลี่ย 

คำอธิบาย 

 การปฏิบัติหน้าที่ผู้ประนีประนอมถือเป็นการทำประโยชน์ให้แก่สังคม และอำนวยความยุติธรรมแก่คู่ความโดยการยุติข้อพิพาทด้วยความพอใจของ ทุกฝ่าย การให้ผู้ประนีประนอมไกล่เกลี่ยคดีใดคดีหนึ่งเป็นเพราะได้รับ มอบหมาย โดยพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และทักษะของผู้ประนี ประนอมเกี่ยวกับคดีนั้น มิใช่เกิดจากการให้หรือรับว่าจะให้ค่าตอบแทน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใด แก่ตัวแทน นายหน้า หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพื่อให้ส่งข้อพิพาทมาให้ตนหรือพวกของตนไกล่เกลี่ย 

ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf