Search This Blog

Friday, December 6, 2024

การเสด็จเยือนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ณ Eberswalde ประเทศเยอรมนี ในปี 1934 (The Visit of King Prajadhipok (Rama VII) to Eberswalde, Germany in 1934)

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 เพื่อนชาวเยอรมันของผมเชิญชวนให้ไปเยี่ยมชมเมืองเอเบอร์สวัลเด (Eberswalder) เป็นเมืองขนาดกลางในรัฐบรันเดินบวร์ค (Brandenburg) ขับรถจากกรุงเบอร์ลินออกไปทางประเทศโปรแลนด์ใช้เวลาเดินทางประมาณ 50 นาที ด้วยรถยนต์ ออกเดินทางจากบ้านประมาณ 11.00 น. อากาศวันนี้ค่อยข้างหนาว ใบไม้เปลี่ยนเป็นสีเหลืองสลับกับสีน้ำตาลและเขียงอ่อน ดุจประหนึ่งภาพวาดที่ธรรมชาติตั้งใจสรรสร้าง

คุณมาร์ติน เฮิก (Martin Hoeck) ประธานสภาเมืองเอเบอร์สวัลเด รอต้อนรับเราอยู่ที่ออฟฟิศส่วนตัว เมื่อเดินเข้ามาในออฟฟิศของเขา สิ่งที่ทำให้น่าประหลาดใจ คือ เขาได้จัดเรียงพระบรมฉายาลักษณ์หรือจะพูดภาษาทั่วไป คือ รูปภาพ ของพระบาทสมเด็จพระปกเหล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ภาพข่าว เอกสารทางประวัติศาสตร์ คลิปข่าวการพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพระราชดำเนินของในหลวงรัชกาลที่ 7 ในปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ.1934) หรือเมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว ผมได้ถ่ายภาพบางส่วนไว้ คุณมาร์ตินสนใจการเมืองไทยและค้นคว้าเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปกเหล้าเจ้าอยู่หัวในการเยือนประเทศเยอรมัน นั้นเป็นสิ่งที่น่าประทับใจในเพื่อนชาวเยอรมันคนนี้



ภาพหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ในเยอรมนีเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ในปี พ.ศ. 2477 

ภาพการเสด็จเยือนสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองเอเบอร์สวัลเด (Eberswalder) และเมืองใกล้เคียง จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ประจำเมืองเอเบอร์สวัลเด

การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้นนับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและเยอรมนีในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง การเยือนครั้งนี้มิได้เป็นเพียงแค่การเดินทางส่วนพระองค์ แต่ยังเป็นการเสริมสร้างมิตรภาพและความร่วมมือในระดับนานาชาติที่ยังคงถูกจดจำในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเยือนเมืองเอเบอร์สวัลเด (Eberswalder) และเมืองใกล้เคียง ซึ่งมีความสำคัญทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ

ผมแปลกใจพร้อมด้วยความอยากรู้อยากเห็น ได้ตั้งคำถามกับคุณมาร์ตินว่า สิ่งใดเป็นแรงบันดาลใจทำให้สนใจค้นคว้าเรื่องนี้

คุณมาร์ตอนตอบว่า "ผมได้พบภาพในอัลบัมภาพเก่า ๆ ที่เก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์ของเมือง ด้วยความที่ผมสนใจประเทศไทยอยู่ เมื่อเห็นภาพภพระมหากษัตริย์ของไทยเคยมาเยือนเมืองบ้านเกิด จึงอยากค้นคว้าและศึกษาความสำคัญของประวัติศาสตร์ช่วงนั้น"

การเสด็จเยือนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและเยอรมนี ซึ่งในช่วงเวลานั้นประเทศเยอรมนีที่มีบทบาทสำคัญในยุโรป พระองค์ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของเยอรมนี โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมและการพัฒนาสาธารณูปโภคอันล้ำสมัยในช่วงนั้น พื้นที่สำคัญที่พระองค์เสด็จเยือนในเมืองเอเบอร์สวัลเด และเยี่ยมชมลิฟต์ยกเรือนีเดอร์ไฟโนว (Schiffshebewerk Niederfinow) ซึ่งเป็นลิฟต์ยกเรือที่ทันสมัยที่สุดในโลกในยุคนั้น และถือเป็นสิ่งก่อสร้างเชิงวิศวกรรมที่ล้ำสมัย แสดงถึงความสนใจในเทคโนโลยีและการนำความรู้เหล่านี้กลับไปใช้พัฒนาประเทศไทย 

คุณมาร์ตินค้นคว้าและเขียนเป็นบทความลงในวารสารหรือรายงานประจำปีของเมืองเอเบอร์สวัลเด ผมได้รับมอบมาเป็นที่ระลึกหนึ่งเล่ม บทความนี้เขียนด้วยภาษาเยอรมัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายดายที่ผมจะเข้าใจได้ จึงขอใช้เทคโนโลยีการแปลเพื่อสรุปเป็นประเด็น ๆ สำคัญเอาไว้ รายงานนี้เรียกว่า Eberswalde Jahrbuch 2021 เมือง Eberswalde และสมาคม Verein für Heimatkunde zu Eberswalde e.V. อนุรักษ์และบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ไว้ เชื่อมโยงกับภาพถ่ายและเอกสารร่วมสมัย ทำให้เห็นถึงความสำคัญของเหตุการณ์นี้ในมุมมองของชุมชนท้องถิ่น

หน้าปกของรายงานประจำปีเมืองเอเบอร์สวัลเด ปี 2021 



บทความของคุณมาร์ติน เฮิก เขียนเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสถานที่ต่าง ๆ ของ
เมืองเอเบอร์สวัลเด ปี 1934

คุณมาร์ตินเขียนบทความว่าอย่างไรบ้าง

ด้วยพลังของเทคโนโลยีการแปลสามารถลลดทอนอุปสรรคของภาษาลงไปบ้าง ผมขอเรียบเรียงและสรุปประเด็นสำคัญ


จุดแรก สี่แยกทางประวัติศาสตร์ ณ เมืองเอเบอร์สวัลเด

คุณมาร์ตินพาผมแวะจอดรถใกล้ ๆ กับสี่แยกแห่งหนึ่งในเมืองเอเบอร์สวัลเด คุณมาร์ตินพาเดินไปชมจุดที่เคยเป็นจุดพักระหว่างเดินทางจากกรุงเบอร์ลินมายังเมืองเอเบอร์สวัลเด บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตเหล็กที่ใหญ่ที่สุดในโลกในยุคนั้น คาดว่าทั้ังสองพระองค์เสด็จมาเพื่อชมกิจการของโรงงานแห่งนี้
พวกเรายกภาพเมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้วขึ้นมาเทียบกับสภาพปัจจุบัน แน่นอนว่าสภาพนั้นไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เหลือเพียงเค้าลางที่ยังพอจดจำได้ว่าทั้งสองพระองค์เคยเสด็จมาตรงนี้ 


ภาพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

ภาพถ่ายที่บันทึกไว้ในช่วงเวลานั้นแสดงให้เห็นถึงการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากประชาชนในพื้นที่เมืองเอเบอร์สวัลเด (Eberswalde) และเมืองใกล้เคียง โดยมีประชาชนและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นเข้าร่วมในพิธีต้อนรับ พระองค์ทรงได้รับการยกย่องในฐานะพระมหากษัตริย์ที่ทรงเปิดรับวัฒนธรรมและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ 


จุดที่สอง การเยี่ยมชมลิฟต์ยกเรือ Schiffshebewerk Niederfinow

ต่อจากนั้น ทั้งสองพระองค์เสด็จไปทอดพระเนตรลิฟต์ยกเรือ Schiffshebewerk Niederfinow เป็นสิ่งประดิษฐ์แห่งสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทางวิศวกรรมเยอรมันที่ล้ำสมัยที่สุดในโลกในยุคนั้น นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่เยือนที่นี่

คุณมาร์ตินนำภาพของการเยือนครั้งนั้นมาเทียบกับสภาพปัจจุบัน เพื่อให้เห็นภาพที่เกิดขึ้นในตอนนั้น จนสามารถจิตนาการเห็นได้จริง


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ประทับเรือพระที่นั่งที่ประเทศเยอรมนีจัดถวายเพื่อเยี่ยมชมลิฟต์ยกเรือ Schiffshebewerk Niederfinow 


จุดที่สาม การเยือนพื้นที่ป่า Schorfheide

สำหรับจุดที่สาม พวกเราไม่ได้แวะชม เพียงแต่ขับรถผ่าน ได้เห็นสภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติ นึกไม่ออกเลยว่าเมื่อ 100 ปีที่แล้ว คงจะมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่านี้เป็นแน่ 

ผมจึงได้เพียงจิตนาการผ่านบทความของคุณมาร์ตินว่า หลังจากการเยี่ยมชม Schiffshebewerk Niederfinow พระองค์ได้เสด็จต่อไปยัง Schorfheide ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าที่มีชื่อเสียงในเยอรมนี สถานที่แห่งนี้เคยใช้เป็นแหล่งล่าสัตว์ของขุนนางและชนชั้นสูงของเยอรมนี ภายในพื้นที่ยังมีบ้านพักจักเฮ้าหรือบ้านพักต่างอากาศสไตล์เยอรมัน (Jagdhaus) ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมท้องถิ่น พระองค์ทรงใช้โอกาสนี้ในการพบปะบุคคลสำคัญของท้องถิ่น แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยและเยอรมนีในยุคนั้น

ความสัมพันธ์ไทย-เยอรมนีในบริบทประวัติศาสตร์ 

การเสด็จเยือนครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในยุคของการปฏิรูปและปรับตัวให้ทันสมัยและการเปลี่ยนผ่านระบบการปกครองของประเทศไทยจากระบบสมบูรณายาสิทธิราชเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศที่มีความก้าวหน้าเช่นเยอรมนีช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับประเทศไทยในการนำเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและความร่วมมือที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว แสดงถึงพระวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะนักการทูตที่ทรงเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พระองค์ทรงแสดงถึงความพร้อมในการเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ และแสดงถึงมิตรภาพระหว่างชนชาติไทยและเยอรมัน ในเวลาเดียวกัน การเยือนนี้ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีโลก โดยเฉพาะในยุคที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาสู่ความทันสมัย เรื่องราวทางประวัติศาสตร์นี้ ไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในหมู่คนไทยเท่าไรนัก ผมเองก็เพิ่งทราบและประทับใจกับคุณมาร์ตินที่ทุ่มเทค้นคว้าและเสียกำลังทรัพย์สินส่วนตัวเพื่อให้ได้ถึงข้อมูลสำคัญของประวัติศาสตร์พระมหากษัตริย์ไทย ด้วยเจตนาที่อยากจะแสดงเชิงประจักษ์ความสัมพันธ์ของประเทศไทยและประเทศเยอรมันที่มีมาอย่างยาวนาน

ผมจะขอสนับสนุนเพื่อนคนนี้ในการค้นคว้าให้เรื่องราวนี้ได้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น หวังว่าจะมีคนไทยมาเยือนเมืองเอเบอร์สวัลเดมากยิ่งขึ้นในอนาคต

ณัฐพล จารัตน์
กรุงเบอร์ลิน
6 ธันวาคม 2567

------

The blog post titled "The Visit of King Prajadhipok (Rama VII) to Eberswalde, Germany in 1934" recounts the author's visit to the city of Eberswalde on October 24, 2024. The author was invited by Martin Hoeck, the chairman of the Eberswalde City Council. During the visit, the author explored an exhibition featuring royal photographs, historical documents, and news clips related to the historic visit of King Prajadhipok (Rama VII) to Germany in 1934.

Martin Hoeck conducted extensive research on this royal visit and published an article in the Eberswalder Jahrbuch 2021, a yearly publication that highlights Eberswalde's local history. The article emphasizes the diplomatic relationship between Thailand and Germany, as well as King Prajadhipok's interest in Germany's technological and cultural advancements during his reign.

ブログ記事「ラーマ7世(プラチャディポック王)の1934年ドイツ・エーベルスヴァルデ訪問」は、著者が2024年10月24日にエーベルスヴァルデ市を訪れた際の経験を語っています。著者は、エーベルスヴァルデ市議会の議長であるマーティン・ヘック氏の招待を受けました。訪問中、著者は1934年にラーマ7世がドイツを訪問した際の歴史的な出来事を記録した写真、歴史的な文書、ニュース映像などを展示した特別展を見学しました。

マーティン・ヘック氏は、この王室訪問について詳細に研究を行い、エーベルスヴァルダーイヤーブック2021(Eberswalder Jahrbuch 2021)というエーベルスヴァルデの歴史を紹介する年次出版物に記事を掲載しました。この研究は、タイとドイツの外交関係、そしてラーマ7世が統治中に示したドイツの技術と文化に対する関心を強調しています。

Der Blogbeitrag mit dem Titel "Der Besuch von König Prajadhipok (Rama VII) in Eberswalde, Deutschland im Jahr 1934" beschreibt die Erfahrungen des Autors bei einem Besuch in der Stadt Eberswalde am 24. Oktober 2024. Der Autor war auf Einladung von Martin Hoeck, dem Vorsitzenden des Eberswalder Stadtrats, dort. Während des Besuchs erkundete der Autor eine Ausstellung mit königlichen Fotografien, historischen Dokumenten und Nachrichtenclips, die mit dem historischen Besuch von König Prajadhipok (Rama VII) in Deutschland im Jahr 1934 zusammenhängen.

Martin Hoeck hat umfangreiche Forschungen zu diesem königlichen Besuch durchgeführt und einen Artikel im Eberswalder Jahrbuch 2021 veröffentlicht, einer jährlichen Publikation, die die lokale Geschichte von Eberswalde beleuchtet. Der Artikel hebt die diplomatischen Beziehungen zwischen Thailand und Deutschland sowie das Interesse von König Prajadhipok an den technologischen und kulturellen Fortschritten Deutschlands während seiner Regierungszeit hervor.


Monday, December 2, 2024

Sharing insights about The Monarchy and Buddhism with the Thai community in Germany.

I had the opportunity to share insights about 'The Monarchy and Buddhism' with the Thai community in Germany during a special occasion celebrating Thailand’s National Day 2024 on November 30, at the Royal Thai Embassy in Berlin.

Throughout Thailand’s history, the monarchy has played a pivotal role in preserving and promoting Buddhism. Thai kings have upheld the titles of 'Buddhamamaka' (a devout supporter of the Triple Gem), 'Dhammaraja' (a ruler guided by righteousness), and 'Dharmanu Sasaka' (a teacher of Dharma to the people). These roles reflect the unwavering royal commitment to safeguarding and propagating Buddhism for the enduring benefit of the nation.

During the lecture, I also highlighted the 'International Tipitaka Project (Sajjhaya Edition),' a collaboration between the Ministry of Foreign Affairs and the International Tipitaka Foundation. This project, initiated to commemorate His Majesty the King's 72nd birthday anniversary, aims to distribute the Tipitaka globally, linking Thai heritage to the world. This initiative aligns seamlessly with the United Nations’ Sustainable Development Goal (SDG) 16: Peace, Justice, and Strong Institutions. By promoting the Tipitaka internationally, it fosters cross-cultural understanding, justice, and global peace.

At the event’s opening, I was inspired by the keynote speaker who shared a royal message from His Majesty the King. In essence, His Majesty expressed love, care, and pride for Thai people worldwide, emphasizing, 'Wherever Thai people may live, as long as they uphold their Thai identity with determination and pride, they can thrive anywhere.'

Hearing this reinforced my gratitude toward the Royal Thai Embassy in Berlin for this meaningful opportunity. I was especially proud to learn that many attendees said it was their first time hearing these stories and that they plan to pass them on. This small mission feels truly accomplished.

Lastly, I extend my heartfelt thanks to the Peace Studies program at Mahachulalongkornrajavidyalaya University (MCU) for equipping me with the knowledge and methodologies that have become the foundation for sharing and creating value for communities continuously.

May the merits from this lecture bring success and happiness to all my kind-hearted friends. 🙏


ผมได้มีโอกาสถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับ "พระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนา" ให้แก่ชุมชนคนไทยในเยอรมนี ในโอกาสพิเศษเนื่องในวันชาติ ๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ตลอดประวัติศาสตร์ชาติไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็น "พุทธมามกะ" (ผู้ประกาศตนเลื่อมใสในพระรัตนตรัย) ทรงเป็น "ธรรมราชา" (ผู้ปกครองโดยธรรม) และทรงเป็น "ธรรมานุศาสก์" (ผู้สอนธรรมะแก่ประชาชน) ซึ่งสะท้อนถึงพระราชปณิธานอันแน่วแน่ในการปกป้องและเผยแผ่พุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป ระหว่างการบรรยายนี้ ผมยังได้แบ่งปันเรื่องราว "โครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัฌชายะ" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและมูลนิธิพระไตรปิฎกสากลในการส่งมอบพระไตรปิฎกไปทั่วโลก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีมหามงคล ๗๒ พรรษา และเชื่อมโยงความเป็นไทยกับชุมชนโลก เรื่องที่ผมบรรยายนี้ ถ้าจะโยงให้ทันสมัย สามารถเชื่อมโยง SDGs ขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 16 สันติภาพ ความยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง (Peace, Justice, and Strong Institutions) ซึ่งการเผยแผ่พระไตรปิฎกในระดับสากลสะท้อนถึงการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม ความยุติธรรม และความสงบสุขในระดับนานาชาติอย่างแท้จริง ใน่ช่วงการเปิดพิธี ผมได้รับฟังประธานนำกระแสพระราชดำรัสที่ฝากถึงพี่น้องคนไทย พอจะสรุปได้ว่า "(ในหลวง) ทรงมีความรัก ความคิดถึง และความภูมิใจในพี่น้องคนไทย ไม่ว่าคนไทยจะอยู่ที่ไหน ถ้ารักษาความเป็นไทยด้วยความตั้งใจและความภูมิใจ ก็สามารถดำรงอยู่ได้อย่างดีในทุกที่" เมื่อฟังประธานกล่าวเปิดงานแล้ว ผมรู้สึกขอบคุณสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ที่ให้โอกาสนี้ และยิ่งภูมิใจเมื่อทราบว่าหลายท่านที่ร่วมฟังกล่าวว่านี่เป็นครั้งแรกที่ได้ยินเรื่องราวเหล่านี้ และจะนำไปถ่ายทอดต่อ ผมถือว่าภารกิจเล็ก ๆ นี้สำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี สุดท้าย ผมขอขอบคุณหลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มหาจุฬาฯ) ที่มอบความรู้และวิธีการศึกษาซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญให้ผมได้นำมาถ่ายทอดและสร้างประโยชน์สู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ขอให้กุศลจากการบรรยายในครั้งนี้ จงส่งผลสำเร็จและความสุขแก่กัลยาณมิตรทุกท่านครับ 🙏

Ich hatte die Gelegenheit, Einblicke in das Thema 'Die Monarchie und der Buddhismus' mit der thailändischen Gemeinschaft in Deutschland zu teilen, anlässlich des thailändischen Nationalfeiertags 2024, am 30. November, in der Königlich Thailändischen Botschaft in Berlin.

Im Laufe der thailändischen Geschichte hat die Monarchie eine zentrale Rolle bei der Bewahrung und Förderung des Buddhismus gespielt. Thailändische Könige haben die Titel 'Buddhamamaka' (ein gläubiger Unterstützer der Dreifachen Juwelen), 'Dhammaraja' (ein Herrscher, der von Rechtschaffenheit geleitet wird) und 'Dharmanu Sasaka' (ein Lehrer des Dharma für das Volk) getragen. Diese Rollen spiegeln das unerschütterliche Engagement der Krone wider, den Buddhismus zu schützen und zu verbreiten, um dem Volk dauerhaft zu dienen.

Während meines Vortrags habe ich auch das 'Internationale Tipitaka-Projekt (Sajjhaya-Edition)' hervorgehoben, eine Zusammenarbeit zwischen dem thailändischen Außenministerium und der International Tipitaka Foundation. Dieses Projekt, das anlässlich des 72. Geburtstagsjubiläums Seiner Majestät des Königs ins Leben gerufen wurde, zielt darauf ab, das Tipitaka weltweit zu verbreiten und das thailändische Erbe mit der Welt zu verbinden. Diese Initiative stimmt perfekt mit dem Ziel für nachhaltige Entwicklung der Vereinten Nationen (SDG) 16 – Frieden, Gerechtigkeit und starke Institutionen – überein. Durch die internationale Förderung des Tipitaka werden interkulturelles Verständnis, Gerechtigkeit und globaler Frieden gefördert.

Bei der Veranstaltungseröffnung war ich von der Rede des Hauptredners inspiriert, der eine königliche Botschaft Seiner Majestät des Königs teilte. Sinngemäß betonte Seine Majestät: 'Wo auch immer Thailänder leben, solange sie ihre thailändische Identität mit Entschlossenheit und Stolz bewahren, können sie überall gedeihen.'

Dies bestärkte meine Dankbarkeit gegenüber der Königlich Thailändischen Botschaft in Berlin für diese bedeutungsvolle Gelegenheit. Ich war besonders stolz zu hören, dass viele Teilnehmer sagten, es sei das erste Mal gewesen, dass sie diese Geschichten hörten, und dass sie sie weitergeben wollen. Diese kleine Mission fühlt sich wirklich erfüllt an.

Abschließend möchte ich dem Friedensstudienprogramm der Mahachulalongkornrajavidyalaya Universität (MCU) meinen herzlichen Dank aussprechen, das mich mit dem Wissen und den Methoden ausgestattet hat, die die Grundlage für kontinuierliches Teilen und Schaffen von Werten für Gemeinschaften geworden sind.

Möge das Verdienst aus diesem Vortrag allen meinen wohlgesinnten Freunden Erfolg und Glück bringen. 🙏


私は、2024年のタイ国民の日を記念して、ドイツのタイコミュニティと「君主制と仏教」についての見識を共有する機会を得ました。11月30日にベルリンの王立タイ大使館で開催されました。

タイの歴史を通じて、君主制は仏教の保存と促進において中心的な役割を果たしてきました。タイの国王は「仏教徒」(三宝に帰依する者)、「法王」(正義による統治者)、および「法の教師」(人民に法を教える者)という称号を保持しています。これらの役割は、仏教を保護し、広めるという揺るぎない王室の使命を反映しています。

講義の中で、私は「国際ティピタカプロジェクト(サッチャヤ版)」についても紹介しました。これはタイ外務省と国際ティピタカ財団との協力によるもので、国王の72歳の誕生日を記念して開始されました。このプロジェクトは、タイの遺産を世界と結びつけるために、ティピタカを世界中に広めることを目指しています。この取り組みは、国連の持続可能な開発目標(SDG)16:平和、正義、強力な制度と完全に一致しています。ティピタカを国際的に普及させることは、文化間の理解、公正、そして世界的な平和を促進することを反映しています。

イベントの冒頭、私は基調講演者が国王の王室メッセージを共有するのを聞いて感動しました。簡潔に述べると、国王は『タイ人がどこにいても、タイのアイデンティティを決意と誇りを持って保持している限り、どこでも成功できる』と強調されました。

これを聞いて、ベルリンの王立タイ大使館に対する感謝の気持ちがさらに深まりました。この機会を与えてくださり、参加者の多くがこの話を初めて聞いたと述べ、それを他の人々に伝えたいと言ってくれたことに、特に誇りを感じています。この小さな使命が本当に達成されたと感じています。

最後に、私が学び、コミュニティに継続的に価値を提供する基盤となった知識と方法を提供してくれたマハーチュラロンコーンラジャヴィディヤ大学(MCU)の平和学プログラムに心から感謝します。

この講義からの功徳が、すべての親しい友人に成功と幸福をもたらしますように。


ຂ້ອຍໄດ້ມີໂອກາດແບ່ງປັນເລື່ອງລາວກ່ຽວກັບ "ພະມະກະສັດກັບພຣະພຸດທະສາສະໜາ" ສູ່ຊຸມຊົນຄົນໄທໃນປະເທດເຢຍລະມັນ ໃນໂອກາດພິເສດເນື່ອງໃນວັນຊາດປະຈຳປີ 2024 ເມື່ອວັນທີ 30 ພະຈິກ ທີ່ສະຖານທູດໄທ ປະຈຳເມືອງເບີລິນ.

ຕະຫຼອດປະຫວັດສາດຂອງປະເທດໄທ, ພະມະກະສັດໄທໄດ້ມີບົດບາດສຳຄັນໃນການຄົງຮັກສາ ແລະສົ່ງເສີມພຣະພຸດທະສາສະໜາ. ພຣະມະກະສັດໄທໄດ້ສືບຖືບົດບາດເປັນ "ພຸດທະມາມະກະ" (ຜູ້ປະກາດຕົນຖືສັດທາໃນພຣະຣັດນະໄຕ), "ທຳມະຣາຊາ" (ຜູ້ປົກຄອງດ້ວຍຄວາມຊອບທຳ), ແລະ "ທຳມະນຸສາສະກະ" (ຜູ້ເຜີຍແຜ່ທຳມະຊາດໃຫ້ປະຊາຊົນ). ບົດບາດເຫຼົ່ານີ້ສະທ້ອນໃຫ້ເຫັນຄວາມມຸ່ງມັ່ນຂອງພຣະມະກະສັດໃນການປົກປ້ອງ ແລະສົ່ງເສີມພຣະພຸດທະສາສະໜາໃຫ້ມັ່ນຄົງສືບໄປ.

ໃນເວລາບັນຍາຍ, ຂ້ອຍໄດ້ແບ່ງປັນເລື່ອງກ່ຽວກັບ "ໂຄງການເຜີຍແຜ່ພຣະໄຕປິຎົກສາກົນ ສະບັບສັຌຊາຍະ," ຊຶ່ງເປັນຄວາມຮ່ວມມືລະຫວ່າງກະຊວງຕ່າງປະເທດ ແລະມູນນິທິພຣະໄຕປິຎົກສາກົນ ທີ່ມຸ່ງສົ່ງມອບພຣະໄຕປິຎົກໄປສູ່ຊຸມຊົນໂລກ, ພ້ອມສະເພາະໃນໂອກາດສຸດພິເສດດັ່ງເວົ້າ. ຄວາມພະຍາຍາມນີ້ຍັງມີຄວາມສອດຄ້ອງກັບຄວາມມຸ່ງຫມາຍທີ່ 16 ຂອງສະຫະປະຊາຊາດ ຄື ສັນຕິພາບ, ຄວາມຍຸດຕິທຳ, ແລະສະຖາບັນທີ່ເຂັ້ມແຂງ.

ໃນຂະຫຍະຂອງພິທີເປີດງານ, ຂ້ອຍໄດ້ຟັງຂໍ້ຄວາມທີ່ປະທານໄດ້ນຳຂອງພຣະມະກະສັດສົ່ງຝາກເຖິງພີ່ນ້ອງຄົນໄທເພື່ອເພີ່ມກຳລັງໃຈ, ຊຶ່ງຂ້ອຍສະຫມຸດໃຫ້ວ່າ 'ບ່ອນໃດທີ່ຄົນໄທຢູ່, ຄົນໄທທີ່ຮັກຄວາມເປັນໄທຂອງຕົນ ແລະຮັກຄວາມດີງາມຂອງຊາດຊົນ ຈະດຳລົງຢູ່ທຸກສະຖານທີ່ໄດ້

Sunday, December 1, 2024

ผมเป็น "มัคนายก" จำเป็น

ผมนำอาราธนาศีลและอาราธนาพระปริตรในพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญอุทิศถวายพระราชกุศลในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และ ทำบุญอุทิศถวายพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมถึง วันชาติไทย ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 มัคนายกได้ทำหน้าที่สำคัญในการ อาราธนาศีล และ อาราธนาพระปริตร แทนข้าราชการและชุมชนคนไทยในประเทศเยอรมนี ถวายแด่คณะสงฆ์ เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลและความสงบสุขแก่ผู้ร่วมพิธี

ความสำคัญของการอาราธนาศีลและพระปริตร

พิธีนี้ไม่เพียงเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีและการสืบทอดพระพุทธศาสนาในต่างแดน แต่ยังช่วยเสริม สิริมงคล และ ความสงบสุข ทั้งในระดับบุคคลและชุมชน

การอาราธนาศีล เป็นการเชิญพระสงฆ์ให้ศีลแก่ผู้ร่วมพิธี เพื่อเตือนสติและสร้างความตั้งมั่นในการรักษาศีล โดยเฉพาะ ศีล 5 ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญในการดำเนินชีวิตอย่างสงบสุขและมีคุณธรรม อานิสงส์ของการรับศีล

1. ชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์

2. สร้างเกราะคุ้มครองจากการทำความผิด

3. เป็นรากฐานของบุญกุศล

4. ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในสังคม


ส่วนการอาราธนาพระปริตร เป็นการเชิญพระสงฆ์สวดบทพระปริตร เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและเสริมสร้างสิริมงคล อานิสงส์ของบทพระปริตร

1. คุ้มครองป้องกันภัยจากโรคและอันตราย

2. สร้างสมาธิและพลังบวก

3. ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและกาย

4. เพิ่มพูนสิริมงคลแก่ชีวิต

การนำหลักพระพุทธศาสนามาสร้างความสามัคคีในชุมชนคนไทยในเยอรมนี และช่วยย้ำเตือนถึงรากเหง้าของวัฒนธรรมและจิตวิญญาณไทย แม้จะอยู่ห่างไกลจากบ้านเกิด


พิธีนี้ไม่เพียงสร้างความสุขและสิริมงคลให้แก่ผู้ร่วมงาน แต่ยังช่วยเสริมสร้างพลังใจและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในชุมชนไทยในกรุงเบอร์ลิน ขออนุโมทนาบุญแด่ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในพิธีสำคัญนี้ ขอให้ผลบุญนำพาความเจริญรุ่งเรืองและความสงบสุขมาสู่ชีวิตของทุกท่าน 🙏

#อาราธนาศีล #อาราธนาพระปริตร #เจริญพระพุทธมนต์ #ทำบุญอุทิศพระราชกุศล # #พระบรมราชสมภพ #ชุมชนคนไทยในเยอรมนี #พระพุทธศาสนาในต่างแดน #สิริมงคล