Search This Blog

Friday, February 5, 2021

#นักภาษาศาสตร์ : 生教材 (นามะเคียวไซ) "การเปลี่ยนห้างเป็นสื่อการสอนของจริง"

 เมื่อสินค้าญี่ปุ่นไม่ใช่หนึ่งในใจคุณ ต้องแก้ไขโดย 生教材 (นามะเคียวไซ) คือ การเปลี่ยนห้างเป็นสื่อการสอนของจริง 


พอข่าว #โตคิว พับธุรกิจกลับแดนซากุระ ไม่ทันข้ามคืน #ดองกิ ก็เข้ามาแทน 

ผมย้ำเช่นเดิมว่า สินค้าญี่ปุ่นใช่ popular อีกแล้ว เพราะอะไรนั้น เพราะ นวัตกรรมแบบญี่ปุ่นมั่นคง มั่งคง ยั่งยืน แต่ชักช้า ย้ำคิดย้ำทำ และทนทานเกินไป แถมการออกแบบยังคิดในมุมอินเตอร์เนชันเนลสไตล์ญี่ปุ่น ไม่ใช่สากลโลก ซึ่งวันหลักจะได้ขยายความต่อไป 

ดองกิ ที่จะเข้ามา อ่านตามข่าวของ #Positioning ในน้าฟีดสื่ออนไลน์ 

(ดูรายละเอียดเสริมที่นี่ https://positioningmag.com/1317279

ห้างเจ้าใหม่ไฉไลกว่าเดิมแน่นอน แต่ก็ไม่ใช่จะมีสินค้าญี่ปุ่น ภายในก็คงไม่ต่างจากห้างทั่วไป มีเจ้าประจำกับจองที่ สินค้าญี่ปุ่นก็เป็นร้านของดองกิคล้าย ๆ ของญี่ปุ่น 


แล้วใครจะเป็นลูกค้าของดองดิ แน่นอน คือ คนที่เคยไปญี่ปุ่น และชื่นชอบร้านที่มีของเยอะ ๆ หลายชั้น ทางเดินแคบ ๆ คนเบียบเสียดกันยังกะรังมด ได้บรรยายกาศญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่ดองกิสาขาชิบูยา (ดูรายละเอียดเสริมที่นี่ https://komachijp.com/tokyo/18179)

บรรยายกาศแบบนั้นนประเทศแบบนี้ ประเทศไทย ไม่มีโอกาสเป็นไปได้เลย ลองดูสิ คนบ่นกันแน่น 

แล้วจะพรีเซนต์ จะสื่อถึงความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างไร (ไม่ใช่ขายความเป็นญี่ปุ่น) การสร้างความรับรู้ให้ได้ว่า ห้างนี้ คือ ญี่ปุ่น จะต้องใช้สัญลักษณ์แบบญี่ปุ่น ป้ายประกาศ ต้องทำให้ห้างญี่ปุ่นเป็น 生教材 อ่านว่า นามะเคียวไซ หรือภาษาไทยเรียกว่า สื่อการสอนจากของจริง (ผมเรียกของผมเองนะ ไม่ตามตัวอักษร) 

เสียงประกาศ ก็คงต้องมีภาษาญี่ปุ่น

การให้บริการที่ไปห้างอื่นเเล้วสัมผัสไม่ได้ 

ห้องน้ำหลากหลายแบบในสไตล์ญี่ปุ่น 

ทางเดินเข้าห้องน้ำ 

ป้ายบอกทาง 

ป้ายเตืยน

บ้านแนะนำ 

หรือแม้แต่กระทั่งการจัดทางเดิน การวางสินค้า ที่จะต้องแฝงหลักการตลาดปรัชญาญี่ปุ่น ที่คนชาติอื่นเข้าไม่ถึงความรู้สึกนั้นจริง ๆ 

ซึ่งพูดมาก็รู้สึกจะพูดเกินไป แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบญี่ปุ่น ก็จะเข้าทำนอง คนจะรัก (ญี่ปุ่น) อยู่เฉย ๆ  เขาก็รัก (ญี่ปุ่น) 

ดองกิต้องสร้างฐานคนรุ่นใหม่ กระตุ้นให้เกิดความต่างจากห้างไทย ส่งที่ต้องสื่อให้เห็นคือการบริการสไตล์ญี่ปุ่นและการทำให้ห้างกลายเป็นสื่ออย่างที่ผมเกริ่นไปงง ๆ ข้างต้น 

ถ้าอยากได้ที่ปรึกษา ก็ติดต่อผมมา จะเล่าให้ฟังครับ #ท่านประธาน


***ขออนุญาตใส่ลิ้งค์เสริมของทั้งสองท่านและขอขอบคุณสำหรับการเชื่อมโยงลิ้งค์ครับ


Monday, February 1, 2021

เมื่อสินค้าญี่ปุ่นไม่ใช่หนึ่งในใจคุณ ต้องแก้ไขโดย 生教材 (นามะเคียวไซ)

เมื่อสินค้าญี่ปุ่นไม่ใช่หนึ่งในใจคุณ ต้องแก้ไขโดย 生教材 (นามะเคียวไซ) คือ การเปลี่ยนห้างเป็นสื่อการสอนของจริง
พอข่าว #โตคิว พับธุรกิจกลับแดนซากุระ ไม่ทันข้ามคืน #ดองกิ ก็เข้ามาแทน

ผมย้ำเช่นเดิมว่า สินค้าญี่ปุ่นใช่ popular อีกแล้ว เพราะอะไรนั้น เพราะ นวัตกรรมแบบญี่ปุ่นมั่นคง มั่งคง ยั่งยืน แต่ชักช้า ย้ำคิดย้ำทำ และทนทานเกินไป แถมการออกแบบยังคิดในมุมอินเตอร์เนชันเนลสไตล์ญี่ปุ่น ไม่ใช่สากลโลก ซึ่งวันหลักจะได้ขยายความต่อไป
ดองกิ ที่จะเข้ามา อ่านตามข่าวของ #Positioning ในน้าฟีดสื่ออนไลน์
(ดูรายละเอียดเสริมที่นี่ https://positioningmag.com/1317279)
ห้างเจ้าใหม่ไฉไลกว่าเดิมแน่นอน แต่ก็ไม่ใช่จะมีสินค้าญี่ปุ่น ภายในก็คงไม่ต่างจากห้างทั่วไป มีเจ้าประจำกับจองที่ สินค้าญี่ปุ่นก็เป็นร้านของดองกิคล้าย ๆ ของญี่ปุ่น
แล้วใครจะเป็นลูกค้าของดองดิ แน่นอน คือ คนที่เคยไปญี่ปุ่น และชื่นชอบร้านที่มีของเยอะ ๆ หลายชั้น ทางเดินแคบ ๆ คนเบียบเสียดกันยังกะรังมด ได้บรรยายกาศญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่ดองกิสาขาชิบูยา (ดูรายละเอียดเสริมที่นี่ https://komachijp.com/tokyo/18179)
บรรยายกาศแบบนั้นนประเทศแบบนี้ ประเทศไทย ไม่มีโอกาสเป็นไปได้เลย ลองดูสิ คนบ่นกันแน่น
แล้วจะพรีเซนต์ จะสื่อถึงความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างไร (ไม่ใช่ขายความเป็นญี่ปุ่น) การสร้างความรับรู้ให้ได้ว่า ห้างนี้ คือ ญี่ปุ่น จะต้องใช้สัญลักษณ์แบบญี่ปุ่น ป้ายประกาศ ต้องทำให้ห้างญี่ปุ่นเป็น 生教材 อ่านว่า นามะเคียวไซ หรือภาษาไทยเรียกว่า สื่อการสอนจากของจริง (ผมเรียกของผมเองนะ ไม่ตามตัวอักษร)
เสียงประกาศ ก็คงต้องมีภาษาญี่ปุ่น
การให้บริการที่ไปห้างอื่นเเล้วสัมผัสไม่ได้
ห้องน้ำหลากหลายแบบในสไตล์ญี่ปุ่น
ทางเดินเข้าห้องน้ำ
ป้ายบอกทาง
ป้ายเตืยน
บ้ายแนะนำ
หรือแม้แต่กระทั่งการจัดทางเดิน การวางสินค้า ที่จะต้องแฝงหลักการตลาดปรัชญาญี่ปุ่น ที่คนชาติอื่นเข้าไม่ถึงความรู้สึกนั้นจริง ๆ จะประสบความสำเร็จเเค่ไหน ถ้าลูกค้าทุกคนที่เข้าห้าง จำคำญี่ปุ่นได้แค่ 1 คำต่อครั้งที่มาเยือน ไม่จำเป็นจะต้องจำได้ตลอด แต่ลูกค้าที่มาห้างได้มี engage กับภาษาญี่ปุ่น ได้รับรู้เรื่องเล่าทางภาษาผ่านวิธี 生教材
ถ้าจะสุด ๆ ไปเลย ก็คงใครใช้ภาษาญี่ปุ่นได้ในการซื้อของ (คนไทยหรือต่างชาติที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น) รับไปเลยบัตรกำนัน ส่วนสด หรือของที่ละลึก อะไรก็ว่าไป เดี๋ยวลูกค้าจะ うれしい อุเรชี คือดีใจสุด ๆ
ซึ่งพูดมาก็รู้สึกจะพูดเกินไป แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบญี่ปุ่น ก็จะเข้าทำนอง คนจะรัก (ญี่ปุ่น) อยู่เฉย ๆ เขาก็รัก (ญี่ปุ่น)
ดองกิต้องสร้างฐานคนรุ่นใหม่ กระตุ้นให้เกิดความต่างจากห้างไทย ส่งที่ต้องสื่อให้เห็นคือการบริการสไตล์ญี่ปุ่นและการทำให้ห้างกลายเป็นสื่ออย่างที่ผมเกริ่นไปงง ๆ ข้างต้น
ถ้าอยากได้ที่ปรึกษา ก็ติดต่อผมมา จะเล่าให้ฟังครับ #ท่านประธาน

จะอ่านตาม #Blocdit ก็ตรงนี้ https://www.blockdit.com/articles/6017c17af35a0c0becc86893
***ขออนุญาตใส่ลิ้งค์เสริมของทั้งสองท่านและขอขอบคุณสำหรับการเชื่อมโยงลิ้งค์ครับ

Sunday, January 31, 2021

ปิดตำนานห้างโตคิว : เมื่อสินค้าญี่ปุ่นใหม่ใช่หนึ่งในใจคุณ

เมื่อสินค้าญี่ปุ่นใหม่ใช่หนึ่งในใจคุณ
คนรักญี่ปุ่นต้องสะเทือนใจ ห้างญี่ปุ่น #โตคิว ถึงคิวลาจาก จบฉาก 35 ปีแห่งตำนาน
ห้างดังของญี่ปุ่นค่อย ๆ ทยอยปิดตัวลงหลายแห่งตั้งแต่ก่อน #covid19 ระบาดเสียอีก


ปัจจัยคือ
1. ลูกค้าปรับพฤติกรรมซื้อขายออนไลน์มากขึ้น
2. ลูกค้าสั่งของจากญี่ปุ่นได้ออนไลน์
3. ความนิยมสินค้าญี่ปุ่นเสื่อมความนิยมลง จนลูกค้าไม่รู้สึก wow ต่อ #MakeinJapan หรือ #JapaneseBrand
4. ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายไม่ใช่วัยที่จะเดินห้างญี่ปุ่น เพื่อซื้อของญี่ปุ่น
5. ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีทางเลือกบริโภคสินค้า #KoreanBrand #ChineseBrand
6. บริษัทญี่ปุ่นปรัเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจไปหาธุรกิจและตลาดใหม่ที่สร้างกำไรได้
สิ่งที่ต้องเรียนรู้จากการปิดกิจการสำหรับธุรกิจห้างญี่ปุ่น
 
ขอให้น้ำหนักไปที่ความนิยมญี่ปุ่นในหมู่กลุ่มคนวัยหนุ่มสาวปัจจุบันจืดจาง
เพราะวัยผู้บริโภคสินค้าญี่ปุ่น คือ คนเกิดระหว่างปี พ.ศ. 2520 - 2540
ทุกคนเติบโตด้วยสินค้าญี่ปุ่นรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็น #โตโยตา #ฮอนด้า #นิสสัน #อายิโนะโมะโตะ #ซากุระ รวมไปถึง #การ์ตูนญี่ปุ่น อย่าง #ดรากอนบอล #โดราเอมอน และอื่น ๆ
คนรุ่นนี้เลยวัยบริโภคสินค้าในห้างโตคิวก็น่าจะไม่ผิด ฐานลูกค้าก็หมดไป
จนมาถึงวันนี้ ห้างญี่ปุ่นในไทยเหลือเพียงคือสยามทาคาชิมายะ #iConSiam
ต้องคอยติดตามว่าสินค้าญี่ปุ่นจะปรับตัวได้อย่างไรต่อไปในไทย
ครับ #ท่านประธาน รักญี่ปุ่น
ให้กำลังใจ #bkktokyu ได้ที่นี้ครับ