Search This Blog

Showing posts with label ไทยญี่ปุ่น. Show all posts
Showing posts with label ไทยญี่ปุ่น. Show all posts

Friday, September 3, 2021

#บทความวิชาการ : การปรับตัวในการทำงานของผู้นำต่างวัฒนธรรม ตามแนวการศึกษาของ Hofstede Model:กรณีศึกษา ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในธุรกิจ SMEs ประเภทชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย*WORKING ADAPTABILITIES OF CROSS CULTURAL LEADERS ACCORDANCEWITH HOFSTEDE MODEL: CASE OF JAPANESE MANAGERS INAUTO PARTS SMES INDUSTRIES IN THAILAND

เขียนโดย: ณัฐพล จารัตน์ และ  ดร.ศรัณย์ ธิติลักษณ์
(นำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 3 ประจ าปีการศึกษา 2557 เรื่อง “นวัตกรรมสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย360 องศา” วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2558 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ ห้อง15 – 201 ห้องเธียเตอร์ อาคารมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี โดย วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม)
บทคัดย่อ

    การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรม ตามแนวการศึกษาของ Hofstede Model ของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในธุรกิจ SMEs ประเภทชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยจากมิติวัฒนธรรมประจำชาติ (national cultural dimensions) ที่มีผลต่อการปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในธุรกิจ SMEs ประเภทชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย ทำการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพโดยรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน คือ ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในธุรกิจ SMEs ประเภทชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล คือ นำข้อมูลมาจำแนกหมวดหมู่ ถอดรหัส ตีความและวิเคราะห์ตามกรอบทฤษฎีมิติทางวัฒนธรรมประจำชาติของ Hofstede (Hofstede’s dimensions of national culture) ทั้ง 6 มิติ ได้แก่ 1) มิติด้านระยะห่างระหว่างอำนาจ (PDI) 2) มิติด้านความเป็นปัจเจกนิยม (IDV) 3) มิติด้านบุคลิกความเป็นเพศชาย (MAS) 4) มิติด้านการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนในอนาคต (UAI) 5) มิติด้านความเป็นสังคมแบบปฏิบัตินิยม (PRA) และ 6) มิติด้านการผ่อนผันของสังคม (IND)  
    ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นต้องปรับตัวตามปัจจัยจากมิติวัฒนธรรมประจำชาติด้วยการยึดหยุ่นระดับความคิดและความรู้สึกในมิติวัฒนธรรมประจำชาติของญี่ปุ่น และผสานมิติวัฒนธรรมประจำชาติของไทยเข้าไป 2) ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นต้องเข้าใจบริบทของวัฒนธรรมประจำชาติของไทยและไม่ใช้วัฒนธรรมประจำชาติของญี่ปุ่นเป็นบรรทัดฐานในการทำงานหรือสร้างกฎระเบียบควบคุมทั้งหมด
    ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) ควรศึกษาการปรับตัวของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในธุรกิจ SMEs ประเภทอื่น เพื่อเปรียบเทียบมิติวัฒนธรรมประจำชาติที่มีวัฒนธรรมที่ต่างกัน 2) การศึกษาเชิงสังคมศาสตร์มีข้อจำกัดด้านเวลา “ค่านิยม” ของมิติวัฒนธรรมประจำชาติเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา ควรศึกษาความเปลี่ยนแปลงของค่านิยมทางวัฒนธรรมประจำชาติที่เปลี่ยนตามระยะเวลา

คำสำคัญ : การปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรม, วัฒนธรรมประจำชาติ, ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น, ผู้นำต่างวัฒนธรรม 


บทนำ 
    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่นมีมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่สมัยอยุธยา จนก้าวเข้าสู่ยุคการทูตสมัยใหม่ เมื่อมีการลงนามใน “หนังสือปฏิญญาว่าด้วยทางพระราชไมตรีและการค้าขายระหว่างสยามและญี่ปุ่น” วันที่ 26 กันยายนพ.ศ.2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิแห่งญี่ปุ่น ให้สยามดำเนินนโยบายกับญี่ปุ่นเทียบเท่ากับประเทศตะวันตก เนื่องจากเล็งเห็นว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศไม่กี่แห่งมีความเจริญรุ่งเรื่องเทียบเท่ากับชาติมหาอำนาจตะวันตก ทั้งที่เพิ่งมีการปฏิรูปประเทศ จึงควรมีที่ปรึกษาเป็นญี่ปุ่นควบคู่กับตะวันตกเพื่อการพัฒนาสยามให้รุ่งเรื่องต่อไป จวบจนถึง พ.ศ. 2549-2550 ไทยและญี่ปุ่นได้จัดงานเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 120 ปี อีกทั้งได้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ยิ่งแสดงให้เห็นว่าไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์และเป็นมหามิตรระหว่างกันอย่างแนบแน่น (สรารัศมิ์ ภัทรหิรัญย์คุณ, 2555; ศิริเพ็ญ วรปัสสุ: 2553) จากผลดังกล่าว ปัจจุบันการลงทุนจากญี่ปุ่น คิดเป็นมูลค่าร้อยละ 43.2 ของการลงทุนต่างประเทศทั้งหมดในไทย และมีการจ้างงานพนักงานคนไทยจำนวนเกือบ 6 แสนคน ในจำนวนทั้งหมดเป็นการจ้างงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของญี่ปุ่นที่กำลังทยอยย้ายฐานการผลิตเข้ามายังไทยอย่างต่อเนื่องทุกปี (สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, ม.ป.ป.)  
    ลักษณะของกลุ่ม SMEs ประเภทชิ้นส่วนยานยนต์ที่ย้ายฐานการผลิตมายังไทย มีขนาดเล็ก พนักงานไม่เกิน 100 คน ทุนเริ่มต้นไม่เกิน 50 ล้านเยน และผู้บริหารเป็นชาวญี่ปุ่น ที่ตั้งบริษัทกระจายตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงเขตนิคมอุสาหกรรมต่างๆ ทั่วประเทศ (สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2558) หลายบริษัทเหล่านี้ยังเป็นมือใหม่และมีประสบการณ์น้อยในการขยายกิจการสู่ต่างประเทศ หลายรายเป็นการย้ายฐานการผลิตครั้งแรก ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นจึงไม่มีประสบการณ์ตรงกับการทำงานนอกประเทศและต่างวัฒนธรรม บริษัทขนาดเล็กไม่มีการถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ภายในที่เข้มแข็ง หากเปรียบเทียบกับบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นขนาดใหญ่ในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่สามาถนำมาเปรียบเทียบได้ เพราะบรรษัทเหล่านั้นมีประสบการณ์ มีฐานการผลิตกระจายทั่วโลก และมีการจ้างพนักงานชาวต่างชาติในพื้นที่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีศูนย์พัฒนาบุคลากรเป็นการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันมาอย่างยาวนาน (ทิม คีรี และสุนันทา เสียงไทย, 2552; สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2555)
    ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น คือ ผู้นำองค์กรและบุคคลที่เป็นกลไกลสำคัญในการนำพาองค์กรธุรกิจในไทยไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลว การศึกษาความเป็นผู้นำต่อความสำเร็จขององค์กรจึงเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างยิ่ง เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการการบริหาร การสร้างปัจจัยแห่งความสำเร็จ การสร้างแรงจูงใจต่อการทำงานตามเป้าหมาย ซึ่งผู้นำที่นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้นั้นต้องมีคุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ประกอบไปด้วยลักษณะทางบุคลิกภาพ สังคมและทางกายภาพที่แสดงให้เห็นความเป็นผู้นำที่แตกต่างจากคนที่ไม่ใช่ผู้นำ (สุพรรษา ติสิงห์, 2556; ปริญญา บรรจงมณี และ พลวัฒ ประพัฒน์ทอง, 2556; Kagawa, 1997; Hishida, 1987)
นอกจากความเป็นผู้นำของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นต่อความสำเร็จขององค์กรที่ดำเนินธุรกิจในไทย อีกปัจจัยหนึ่ง คือ การปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมที่กำลังกล่าวถึง คือ วัฒนธรรมประจำชาติ (national culture) ที่มีผลต่อการปรับตัวในการทำงานของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในไทย การเปลี่ยนจากสภาพแวดล้อมการทำงานของวัฒนธรรมประจำชาติญี่ปุ่น มาทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของวัฒนธรรมประจำชาติไทย เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในไทย (Keeley, 2001) จากการศึกษาของ Hofstede (1985, 2011) ชี้ให้เห็นว่า วัฒนธรรมประจำชาติ เป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศมีค่านิยมทางสังคมต่างกัน มีแนวคิดและการดำเนินชีวิตต่างกัน การจะดำเนินธุรกิจในประเทศที่มีวัฒนธรรมประจำชาติแตกต่างกัน ต้องเข้าใจและปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของวัฒนธรรมนั้น และต่อมา Hofstede (1985, 2011) ได้สร้างทฤษฎีมิติทางวัฒนธรรมประจำชาติ (Hofstede’s dimensions of national culture theory) แบ่งมิติวัฒนธรรมประจำชาติเป็น 6 มิติ ได้แก่ 1) มิติด้านระยะห่างระหว่างอำนาจ (PDI) 2) มิติด้านความเป็นปัจเจกนิยม (IDV) 3) มิติด้านบุคลิกความเป็นเพศชาย (MAS) 4) มิติด้านการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนในอนาคต (UAI) 5) มิติด้านความเป็นสังคมแบบปฏิบัตินิยม (PRA) และ 6) มิติด้านการผ่อนผันของสังคม (IND) ซึ่งผลการศึกษาของ Hofstede ได้รับการยอมรับและอ้างอิงอย่างแพร่หลายในการศึกษาด้านการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (เพ็ชรี รูปะวิเชตร์, 2551; Pitison, 2009)
    แม้ว่ามีการศึกษาเกี่วกับการศึกษานี้เป็นจำนวนมากทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองในหลายแง่มุมจากนักวิชาการหลายสาขา เกิดประเด็นข้อถกเถียงมากมายเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาในประเด็นเชิงสังคม ย่อมมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามพลวัตรของสังคมโลกที่เปลี่ยนไป จากประสบการณ์การทำงานด้านธุรกิจและการศึกษาเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่นมาเป็นเวลาหลายปี ผู้ศึกษาเล็งเห็นว่า ผลการการศึกษาเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์และเกิดการเรียนรู้เพื่อการปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในองค์กรขนาดเล็กแบบ SMEs ที่ยังขาดประสบการณ์ และเป็นการย่นระยะเวลาการเรียนรู้อธิบายความแตกต่างของมิติวัฒนธรรมประจำชาติระหว่างไทยและญี่ปุ่น

วัตถุประสงค์การวิจัย
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรม ตามแนวการศึกษาของ Hofstede Model ของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในธุรกิจ SMEs ประเภทชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยจากมิติวัฒนธรรมประจำชาติ (national cultural dimensions) ที่มีผลต่อการปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในธุรกิจ SMEs ประเภทชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย

วิธีดำเนินการวิจัย 
    การศึกษานี้เน้นศึกษาปรากฏการณ์และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของผู้ให้ข้อมูลหลักหรือผู้บริหารชาวญี่ปุ่น เพื่อศึกษาและอธิบายปัจจัยทางมิติวัฒนธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อการปรับตัวมรการทำงานข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในธุรกิจ SMEs ประเภทชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย นำมาเปรียบเทียบและอธิบายด้วยทฤษฎีมิติวัฒนธรรมประจำชาติตามแนวการศึกษาของ Hofstede Model ทั้ง 6 มิติ เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ด้วยเอกสารอ้างอิงทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ โดยมีระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาเก็บข้อมูลภาคสนามในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม 2558

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    จำนวนประชากรของการศึกษาครั้งนี้จำกัดอยู่ที่ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในธุรกิจ SMEs ประเภทชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย มีจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 10 ท่าน (จำนวนนี้มาจากการติดต่อขอเข้าเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 22 ท่าน ได้รับการตอบรับ จำนวน 10 ท่าน และปฏิเสธการให้ข้อมูลจำนวน 12 ท่าน) ประกอบด้วยผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้ข้อมูลหลัก มีเพศชาย จำนวน 8 ท่าน เพศหญิง จำนวน 2 ท่าน อายุเฉลี่ย 32.1 ปี จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 3 ท่าน และระดับปริญญาตรี จำนวน 7 ท่าน พำนักในเมืองไทยต่อเนื่องเฉลี่ย 1.3 ปี มีประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 10 ปี แต่งงานและอาศัยกับครอบครัวในไทย จำนวน 5 ท่าน และโสด จำนวน 5 ท่าน มี จำนวน 3 ท่านที่มีประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศ คือ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียตนาม และประเทศตุรกี รวมระยะเวลาเฉลี่ย 2 ปี และจำนวนพนักงานคนไทยในองค์กรเฉลี่ย 34.1 คน

ระเบียบวิธีการศึกษา
การศึกษาเป็นแบบการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์รายบุคคล โดยแบบสัมภาษณ์สร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดมิติวัฒนธรรมประจำชาติของ Hofstede ทั้ง 6 มิติ (Hofstede’s dimensions of national culture theory) คำถามเป็นแบบปลายเปิดมีความยึดหยุ่นและต่อเนื่องกันในรายละเอียด ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นสามารถตอบคำถามตามสบายไม่มีข้อจำกัดในประเด็นการปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรมประจำชาติ แบ่งประเด็นคำถาม 7 ประเด็น คือ 
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้บริหารชาวญี่ปุ่นและบริษัท (Key Informant Background)
การปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรมในมิติด้านระยะห่างระหว่างอำนาจ (PDI Adaptability)
การปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรมในมิติด้านความเป็นปัจเจกนิยม (IDV Adaptability)
การปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรมในมิติด้านบุคลิกความเป็นเพศชาย (MAS Adaptability) 
การปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรมในมิติด้านการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนในอนาคต (UAI Adaptability) 
การปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรมในมิติด้านความเป็นสังคมแบบปฏิบัตินิยม (PRA Adaptability) 
การปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรมในมิติด้านการผ่อนผันของสังคม (IND Adaptability)  
เมื่อได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกที่ได้รับมาจากประชากรเป้าหมาย จำนวน 10 ท่าน แยกประเด็นและตีความ
จากบทสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลจากมิติวัฒนธรรมประจำชาติกับการปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษากลางในการสัมภาษณ์เชิงลึก จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์และตีความเชิงภาษาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อแปลความหมายที่อาจซ่อนความซับซ้อนของความหมายที่แท้จริงเชิงภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่น และนำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายผลตามกรอบแนวคิด

สรุปผลการศึกษา 
ผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษานำการศึกษาของ Hofstede Model มาเป็นกรอบการอภิปราย ซึ่งจากผลการศึกษาส่วนใหญ่มีความสอดคล้องตามทฤษฎี และมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกส่วนหนึ่งที่ไม่สอดคล้องไปตามทฤษฎี สาเหตุที่ทำให้ผลไม่สอดคล้องตามทฤษฎีทั้งหมดเกิดจาก ความไม่เข้าใจภูมิหลังทางวัฒนธรรมของไทย และการยึดติดกับภาพลักษณ์และวัฒนธรรมองค์กรแบบญี่ปุ่นมากเกินไป จึงเกิดปัญหาในการปรับตัวในการทำงานข้ามมิติวัฒนธรรมประจำชาติ ดังจะได้อภิปรายลงรายละเอียด ในแต่ละมิติดังนี้ 
มิติด้านระยะห่างระหว่างอำนาจ (PDI:) จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น เห็นว่า ตนเองมีความ
เหนือกว่าลูกน้อง สาเหตุที่เหนือกว่าเพราะหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างตนเองกับลูกน้องมีความไม่เท่าเทียมและต่างกัน แม้ว่าในบริษัทมีขนาดเล็กและพยายามสร้างความสนิทสนมกันระหว่างผู้บริหารและลูกน้องก็ตาม ซึ่งสอดคล้องตาม Hofstede (1985, 1991, 2011) ที่กล่าวว่า ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระยะห่างระหว่างอำนาจสูง ผู้บริหารเป็นศูนย์กลาง ไม่ต้องการให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือออกความคิดเห็น ต้องการให้ลูกน้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามเท่านั้น จึงสรุปได้ว่า ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรมประจำชาติสอดคล้องตามทฤษฎีที่มีระยะห่างระหว่างอำนาจสูงหรือมีความเป็นลำดับชั้นสูงระหว่างตนเองกับลูกน้อง (ทิม คีรี และสุนันทา เสียงไทย, 2552; Kato, 2014)

มิติด้านความเป็นปัจเจกนิยม (IDV)จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น เห็นว่า เมื่ออยู่ในบริษัท ตนเอง
ต้องการทำงานด้วยทีมงาน (team work) ลูกน้องพอในการทำงานที่มีลักษณะแบบกลุ่มนิยม (collectivism) ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ การออกเสียงหรือแสดงความคิดเห็นจะต้องเป็นผลที่ได้มาจากกลุ่ม และให้คุณค่าความสำเร็จของงานกับกลุ่มหรือทีมเท่ากัน ถึงแม้ว่าจะเกิดความล้มเหลวที่มาจากการกระทำต้องคนเพียงคนเดียวในกลุ่ม ทุกคนในกลุ่มต้องแสดงรับผิดชอบเท่ากัน ซึ่งมีความสอดคล้องตาม Hofstede (1985, 1991, 2011) กล่าวว่า ทั้งไทยและญี่ปุ่นอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลต่ำ พอใจกับกรอบสังคมที่ตึงแน่น ต้องการพวกพ้อง มีความคาดหวังว่าบุคคลในกลุ่มจะมีความภักดีและคอยดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน Onishi และ Mondejar (2011) เพิ่มเติมว่า สังคมแบบกลุ่มปกครองเหมือนพ่อดูแลลูก มีหัวหน้ากลุ่มคอยดูและสมาชิกของกลุ่ม แสดงความช่วยเหลือในเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน ผู้ที่ทำตัวต่างจะไม่ได้รับการยอมรับในกลุ่ม สรุปได้ว่า ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นมีการปรับตัวในการทำงานข้ามวัฒนธรรมประจำชาติสอดคล้อยกับทฤษฎี มีความเป็นกลุ่มนิยมสูง

มิติด้านบุคลิกความเป็นเพศชาย (MAS) จากการสัมภาษณ์พบว่า ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นมีความยืดหยุ่นใน
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับลูกน้อง แต่ไม่สามารถยอมรับพฤติกรรมการทำงานแบบทีเล็กทีจริงของไม่เอาใจใส่การทำงานของลูกน้อง ตนเองต้องกดดัด ดุดัน และบีบบังคับให้ลูกน้องทำงาน จึงได้ผลงานเร็ว ตรงเวลาและมีความผิดพลาดน้อย ตนเองทราบดีว่าลูกน้องคนไทยไม่พอใจและต้องการให้ตนเองลดความเข้มงวดและดุดันลง ตามการศึกษาของ Hofstede (2011) และ Kato (2014) กล่าวสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นว่า สังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมอุดมคติแบบบุคลิกเพศชาย ต้องการเป็น The Best ที่มาจากการทำงานหนัก ต่อสู้แข่งขัน มีความภูมิใจและหยิ่งในตนเองสูง ความอ่อนแอคืออุปสรรค เน้นความสำเร็จเชิงวัตถุมากกว่า ส่วนสังคมไทยเป็นสังคมที่มีบุคลิกแบบเพศหญิง เน้นความสุขทางจิตใจ อารมณ์และคุณภาพชีวิต ไม่ชอบการต่อสู้แข่งขันที่ดุดัน และมีความอ่อนน้อมถ่อมตน สรุปได้ว่า ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นไม่ปรับตัวตามวัฒนธรรมประจำชาติไทยที่มีความเป็นสังคมแบบบุคลิกผู้หญิง 

มิติด้านการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนในอนาคต (UAI) ผลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น พบว่า 
ในการทำงานด้านยานยนต์ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับหลายบริษัท ต้องมีแผนการทำงานที่ชัดเจน รวมถึงต้องสร้างแผนสำรองเตรียมพร้อมตลอดเวลา ด้วยความไม่แน่นอนจากความวุ่นวายทางการเมืองของไทย ปัญหาค่าเงินเยนในญี่ปุ่น การรวมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมถึงภัยธรรมชาติต่าง ๆ อยากที่จะคาดเดาผลกระทบต่อการผลิต ตนเองต้องออกกฎระเบียบ ข้อแนะนำต่าง ๆ เพื่อให้ลูกน้องได้ปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกันในยามจำเป็น และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายหนัก และลูกน้องมีความไม่มั่นใจกับสิ่งต่าง ๆ ที่คาดการณ์ไม่ได้ในอนาคตเช่นเดียวกัน ปริญญา บรรจงมณี และ พลวัฒ ประพัฒน์ทอง (2556) กล่าวว่า ความไม่มีเสถียรภาพของประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงภาวการณ์ขาดความเชื่อมั่นของคนไทยในสังคม จำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศ ในมุมมองของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นสอดคล้อยกับ Hofstede (2011) ว่า ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นเรียกว่าเป็น Strong Uncertainty Avoidance หรือเป็นสังคมที่มีการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนในอนาคตสูง ด้วยความไม่แน่นอนของสังคมทำให้ผู้คนมีความเครียดและความกังวลใจสูง ต้องการแบบแผนและความชัดเจนเพื่อที่จะปฏิบัติตามได้ การลาออกจากกงานถือว่าเป็นความไม่แน่นอน เพื่อเลี่ยงความไม่แน่นอนที่จะหางานไม่ได้ จึงทนทำงานต่อไปถึงแม้จะไม่ชอบก็ตาม จึงสรุปได้ว่า ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นสามารถปรับตัวได้สอดคล้องกับทฤษฎี เพื่อสร้างความมั่นใจและหลีกเหลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่ยากจะคาดเดาได้  

มิติด้านความเป็นสังคมแบบปฏิบัตินิยม (PRA) จากผลการสัมภาษณ์ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น พบว่า ตนเอง
เป็นคนที่เน้นผลลัพธ์ของงานที่เกิดจากการลองผิดลองถูกมากกว่าการนั่งเรียนเชิงทฤษฎี การศึกษาระดับสูงไม่สามารถระบุความสามารถในการปฏิบัติงานจริงเสมอไป ศักยภาพสามารถสร้างได้ด้วยการปฏิบัติ ไม่เชื่อว่าความก้าวหน้าในการทำงานเกิดจากโชคชะตา หรือต้องไปทำบุญแบบลูกน้องคนไทย แต่ตนเองให้ความเคารพในความเชื่อของคนไทย ตนเองมองว่าการกระทำของตนเองในวันนี้จะส่งผลดีต่อตนเองในอนาคต และต้องมองข้ามอดีตที่ผ่านแล้วไม่สามารถแกไขได้อีก Beer (2012) เสริมว่า ญี่ปุ่นเป็นสังคมที่เน้นและคุณค่าของการมองอนาคตมากกว่าอดีต ผลจากอดีตสามารถเปลี่ยนได้ด้วยปัจจุบันที่ส่งผลถึงอนาคต นอกจากนี้ Hofstede (2011) กล่าวไว้สอดคล้อยกับผลการสัมภาษณ์ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นว่า ไทยเป็นสังคมที่เน้นผลของการกระทำจากอดีต ยึดถือตามบรรทัดฐานหรือกฎเกณฑ์ (normatism) มีการผูกความคิดและโยงเข้ากับศาสนา ความเชื่อเป็นสิ่งที่ต้องเคารพบูชา ส่วนสังคมญี่ปุ่นเน้นการให้คุณค่าอนาคตและความก้าวหน้าของตนเองมาจากการทำงาน และหวังผลระยะยาวในอนาคต อุปสรรคบางอย่างสามารถปรับเปลี่ยนได้ จึงสรุปได้ว่า ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นยังเน้นวัฒนธรรมแบบปฏิบัตินิยม ไม่ปรับตัวตามสังคมแบบกฎเกณฑ์นิยมเช่นไทย

มิติด้านการผ่อนผันของสังคม (IND)  
จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น พบว่า ตนเองในฐานะผู้บริหารก็ไม่มีความอิสระที่จะดำเนินนโยบายใน
การทำงานได้โดยตรง เพราะมีกฎระเบียบจากบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นบังคับอีกทอดหนึ่ง (Thome and McAuley, 1992) กฎเกณฑ์หรือระเบียบในการทำงานบางครั้งสามารถยึดหยุ่นได้ แต่กฎเกณฑ์ทางสังคมกดทับความต้องการและความต้องปรารถนาส่วนตนไม่ให้พูดหรือแสดงออกมาได้อย่างอิสระ เช่น ตนเองไม่ต้องการที่จะเข้มงวดต่อลูกน้องมากนัก เนื่องจากบริษัทมีขนาดเล็กมาก มีพนักงานไม่กี่คน จึงเกิดความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน แต่ด้วยกฎเกณฑ์ทางสังคมจึงไม่สามารถที่จะเป็นเพื่อนกันได้ ยังต้องเป็นเจ้านายลูกน้องตลอดไป ซึ่งสอดคล้องกับ Hofstede (2011) ที่กล่าวว่า ไทยและญี่ปุ่นมีความใกล้เคียงกันมากในมิตินี้ ผู้คนในสังคมถูกควบคุมและจำกัดความปรารถนาและความแรงบันดาลใจภายในของตนเองสูง Pascale and Athos (1981) ยังเพิ่มเติมว่า การทำตัวอิสระตามใจตนเองของคนญี่ปุ่น หมายถึงความไม่นับถือคนอื่นและเป็นคนเห็นแก่ตัว สรุปได้ว่า ในมิตินี้ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นไม่ได้ปรับตัวหรือได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมมิตินี้ และผลการสัมภาษณ์สอดคล้องกับทฤษฎี

ข้อเสนอเสนอแนะในการวิจัย
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) ควรศึกษาการปรับตัวของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในธุรกิจ SMEs ประเภทอื่น เพื่อเปรียบเทียบมิติวัฒนธรรมประจำชาติที่มีวัฒนธรรมที่ต่างกัน 2) การศึกษาเชิงสังคมศาสตร์มีข้อจำกัดด้านเวลา “ค่านิยม” ของมิติวัฒนธรรมประจำชาติเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา ควรศึกษาความเปลี่ยนแปลงของค่านิยมทางวัฒนธรรมประจำชาติที่เปลี่ยนตามระยะเวลา

กิตติกรรมประกาศ
    การศึกษาครั้งนี้สำเร็จลงได้ด้วยดี ด้วยความอุปการะจากหลายบุคคล ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง แด่ Professor Geert Hofstede ที่ได้อนุญาตอย่างเป็นทางการในการอ้างอิงทฤษฎีโดยไม่คิดมูลค่า และมอบหมายให้ Mr Loes Cornelissen (Geert Hofstede’s Rights Manager) เป็นผู้ช่วยตอบคำถามและนำแนะเกี่ยวกับทฤษฎีทุกประการ นอกจากนั้นขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาที่เข้มงวดและทุ่มเทในการให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี รวมถึงผู้ให้สัมภาษณ์ทุกท่านที่สละเวลาให้ข้อมูลอย่างจริงจัง สุดท้ายครอบคุณเพื่อนร่วมรุ่น M.A. 17 และครอบครัวที่สนับสนุนในความสำเร็จนี้ 

เอกสารอ้างอิง 
ศิริเพ็ญ วรปัสสุ. “ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่นสมัยอยุธยา – รัตนโกสินทร์ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จาก
หลักฐานทางโบราณคดี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาโบราณคดีสมัย
ประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.
สรารัศมิ์ ภัทรหิรัณย์คุณ. การเปิดเสรีการค้าภายใต้ JTEPA. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: 
http://www.dft.go.th/Portals/0/ContentManagement/Document_Mod784/3%20%20คุณสรารัศมิ์%20JTEPA%20AJCEP%20GSP%20อยุธยา202555%202@25560115-2214326288.pdf, 14 เมษายน 2558.
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย. สุนทรพจน์เปิดการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายญี่ปุ่น
ศึกษาในประเทศไทย ครั้งที่ 1.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.th.emb-japan.go.jp/th/jt120/jsn.htm, 
13 เมษายน 2558.
สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. “รายงานวิจัย เรื่อง การศึกษาสถานภาพ และแนวโน้มการย้าย
ฐานธุรกิจของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นมาประเทศไทย.” กรุงเทพมหานคร: สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม, 2555.
 สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. สรุปสถานการณ์อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของ SMEs ไทย. 
[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.sme.go.th/th/images/data/SR/download/2015/บทความ/สรุป
สถานการณ์อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของ%20SMEs%20ไทย.pdf, 13 เมษายน 2558.
ปริญญา บรรจงมณี และ พลวัฒ ประพัฒน์ทอง. “อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่มีผลกระทบต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารธุรกิจ
นำเที่ยวชาวไทยและชาวญี่ปุ่นต่อความสำเร็จในการประกอบการในประเทศไทย.” วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 7 (มิถุนายน-พฤศจิกายน 2556): 79-92.
Beer, Lawrence A. Essential Concepts of Cross-Cultural Management: Building on What We All Share. 1st ed. New 
York: Business Expert Express, 2012. 
Thome, K. and McAuley, I. Crusaders of the Rising Sun: A Study of Japanese Managers in Asia. Singapore: 
Longman, 1992.
Kato, Masako. ホフステードモデルによる日本文化レポート. [online] Retrieved form: 
http://itim.jp/lp/japan_culture_report, 14 April 2015.
Onishi, J. and Mondejar, R. (2011). Japanese and Thai Differences in Conflict Management: Implications for 
adatations in Human Resource Management. Journal of Comparative Asian Development, v.10, no.1, 2011 
June, p.1(32)
ทิม คีรี และสุนันทา เสียงไทย. (2552). วัฒนธรรมและการบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น การทำงานกับญี่ปุ่นใน
ประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 
Pasclae, R. T. and Athos A. G. (1981). The Art of Japanese Management: Applications for American Executives. 
New York: Simon and Schuster.
Hishida, T. (1987). 日本的経営と国際化. The Japanese journal of administrative science 2(October 1987), 99-106.
Kagawa, , H. (1997). The Inscrutable Japanese. Tokyo: Kodansha International.
Keeley, T. (2001). International Human Resource Management in Japanese Firms: Their Greatest Challenge. 
Houndmills: Palgrave.  
Hofstede, G. (2011). Dimensionalizing Cultures: The Hofstede Model in Context. Psychology and Culture. 2(January 2011): 1-14.
Hofstede, G. (1991). Cultures and Organizations: Software of the Mind. London: McGraw-Hill. 
Hofstede, G. (1985). “The interaction between 

  



Sunday, January 31, 2021

ปิดตำนานห้างโตคิว : เมื่อสินค้าญี่ปุ่นใหม่ใช่หนึ่งในใจคุณ

เมื่อสินค้าญี่ปุ่นใหม่ใช่หนึ่งในใจคุณ
คนรักญี่ปุ่นต้องสะเทือนใจ ห้างญี่ปุ่น #โตคิว ถึงคิวลาจาก จบฉาก 35 ปีแห่งตำนาน
ห้างดังของญี่ปุ่นค่อย ๆ ทยอยปิดตัวลงหลายแห่งตั้งแต่ก่อน #covid19 ระบาดเสียอีก


ปัจจัยคือ
1. ลูกค้าปรับพฤติกรรมซื้อขายออนไลน์มากขึ้น
2. ลูกค้าสั่งของจากญี่ปุ่นได้ออนไลน์
3. ความนิยมสินค้าญี่ปุ่นเสื่อมความนิยมลง จนลูกค้าไม่รู้สึก wow ต่อ #MakeinJapan หรือ #JapaneseBrand
4. ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายไม่ใช่วัยที่จะเดินห้างญี่ปุ่น เพื่อซื้อของญี่ปุ่น
5. ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีทางเลือกบริโภคสินค้า #KoreanBrand #ChineseBrand
6. บริษัทญี่ปุ่นปรัเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจไปหาธุรกิจและตลาดใหม่ที่สร้างกำไรได้
สิ่งที่ต้องเรียนรู้จากการปิดกิจการสำหรับธุรกิจห้างญี่ปุ่น
 
ขอให้น้ำหนักไปที่ความนิยมญี่ปุ่นในหมู่กลุ่มคนวัยหนุ่มสาวปัจจุบันจืดจาง
เพราะวัยผู้บริโภคสินค้าญี่ปุ่น คือ คนเกิดระหว่างปี พ.ศ. 2520 - 2540
ทุกคนเติบโตด้วยสินค้าญี่ปุ่นรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็น #โตโยตา #ฮอนด้า #นิสสัน #อายิโนะโมะโตะ #ซากุระ รวมไปถึง #การ์ตูนญี่ปุ่น อย่าง #ดรากอนบอล #โดราเอมอน และอื่น ๆ
คนรุ่นนี้เลยวัยบริโภคสินค้าในห้างโตคิวก็น่าจะไม่ผิด ฐานลูกค้าก็หมดไป
จนมาถึงวันนี้ ห้างญี่ปุ่นในไทยเหลือเพียงคือสยามทาคาชิมายะ #iConSiam
ต้องคอยติดตามว่าสินค้าญี่ปุ่นจะปรับตัวได้อย่างไรต่อไปในไทย
ครับ #ท่านประธาน รักญี่ปุ่น
ให้กำลังใจ #bkktokyu ได้ที่นี้ครับ

Wednesday, August 31, 2011

#บทความนักศึกษา : “แฟชั่นโลลิต้าในกลุ่มวัยรุ่นญี่ปุ่น”

**บทความนี้เป็นการฝึกหัดเขียนสำหรับการเรียนการสอนวิชาภาษาญี่ปุ่นการจัดการ สาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น คณะบริหารธุริจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น อาจมีข้อความส่วนหนึ่งส่วนใดดัดแปลงจากระบบอินเตอร์เน็ต โดยไม่มีเจตนาคัดลอกเพื่อการพาณิชย์***


มุตตา เกษตรสุวรรณ รหัสนักศึกษา 52132310-5 sec.จันทร์เช้า

นักศึกษาผู้เขียน 

เมื่อกล่าวถึง โลลิต้าก็จะต้องอ้างอิงถึงนวนิยายที่มีชื่อเสียงของวลาดิมีร์ นาโบคอฟ (Vladimir Nabokov) และแฟชั่นโลลิต้าที่วัยรุ่นสวมใส่กันบ่อยครั้ง แม้ว่าจะไม่รู้แน่ชัดว่า โลลิต้า มีจุดเริ่มต้นอย่างไร โลลิต้าที่รู้จักกันทุกวันนี้ ส่วนใหญ่แล้วเริ่มต้นในช่วงปลายยุค 1970s กับการก่อตั้งแบรนด์ชื่อดังอย่าง Pink House and Milk ขายเสื้อผ้าซึ่งจะเหมาะกับมาตรฐานของชุดโลลิต้าทุกวันนี้ และที่ตามมาติดๆ คือ Baby, The Stars Shine Bright และ Metamorphose temps de fille ต่อมาในช่วงยุค 1990s แฟชั่นโลลิต้าเริ่มถูกนำมาใช้โดยวง Malice Mizer และ Visual Kei อื่นๆ ทำให้เป็นที่นิยม วงเหล่านี้สวมเสื้อผ้าที่ประณีตสวยงาม ซึ่งแฟนๆ ของพวกเขาเริ่มนำมาเป็นสไตล์การแต่งตัวของตัวเอง ในไม่ช้าก็เริ่มแพร่เข้าสู่เขตคันไซ (Kansai) จนในที่สุดก็เข้ามาโตเกียว (Tokyo) ที่ซึ่งทำให้เป็นที่นิยมของวัยรุ่นญี่ปุ่นไปทั่ว เมื่อวงเหล่านี้เริ่มสวมใส่เสื้อผ้าสไตล์โลลิต้า ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และแม้ทุกวันนี้ โลลิต้าสไตล์อเมริกันส่วนใหญ่จะบอกว่าพวกเขาได้แบบอย่างมาจากวง Visual Kei ของญี่ปุ่นที่ชื่นชอบ ความนิยมของแฟชั่นโลลิต้าเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้แม้กระทั่งในห้างสรรพสินค้า


รูปแบบแฟชั่นโลลิต้า

Sweet Lolita 

ใช้สีและการตกแต่งแบบน่ารัก หวานใส ชุดจะตกแต่งด้วยลูกไม้ จีบระบาย และโบว์ต่างๆ เครื่องประดับผม รวมไปถึงที่คาดผมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแต่งตัวสไตล์นี้ 

 


Pink Lolita 

สามารถ พบเห็นได้ทั่วไปชุดจะเน้นไปที่สีชมพูและสีขาวของลูกไม้หรือสุ่มพองๆ เครื่องประดับ 

 


Princess Lolita 

เป็น การแต่งโลลิต้าที่เน้นความหรูหราเหมือนเจ้าหญิง หรือการใช้ผ้าลายดอกเล็กๆในการตัดเย็บ ถุงมือผ้าเนื้อดียาวถึงข้อศอก การแต่งตัวให้ดูหรูและเรียบร้อยก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำสำหรับการแต่งโลลิต้าส ไตล์นี้ จุดเด่นของเสื้อผ้าสไตล์นี้นอกจากเรื่องลายผ้าแล้ว ยังมีเรื่องความยาวของกระโปรงอีกด้วย กระโปรงจะยาวเลยเข่า หรือพอดิบพอดีเข่าเกือบทั้งนั้น ทรงผม ถ้าไม่ปล่อยตรงก็จะม้วนเป็นมวยเก็บเรียบร้อยและสวยงาม บางครั้งอาจจะมีเทียร่า หรือมงกุฏเล็กๆประดับผมบ้าง ส่วนเครื่องประดับที่เด่นชัดมากมากก็จะเป็นโชคเกอร์ที่ทำจากโบว์กำมะหยี่ เส้นเล็ก ห้อยด้วยจี้สไตล์หลุยส์ หรือสร้อยไข่มุกสีขาวหรือชมพู

  


White Lolita 

เป็น การแต่งโลลิต้าที่ใช้สีขาวทั้งหมดตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า สไตล์นี้แม้จะดูเหมือนไม่มีอะไรแต่เอาเข้าจริง การแต่งสีขาวทั้งชุดเป็นอะไรที่ค่อน ข้างจะยากเหมือนกัน เพราะสีขาวเองก็มีหลายแบบ เช่นขาวออฟไวท์, ขาวครีม เป็นต้น 

     

 Black Lolita  

ใช้สีดำในการแต่งทั้งหมด หรือ จุดเด่นของชุดคือสีดำ อาจจะมีสีขาวแซมบ้าง อาทิ ชายกระโปรง หรือเสื้อเชิ้ต 

 

 Gothic Lolita 

โก ธิคโลลิต้า หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า โกธโลลิ นั้นเป็นสไตล์ที่มีความคล้ายคลึงกับโกธิคเป็นอย่างมาก แต่เกิดจากการนำจุดเด่นของสไตล์โกธิคมาผสมกับจุดเด่นของสไตล์ของโลลิต้า จึงออกมาเป็นโกธิคโลลิต้า 

สำหรับ สีสันของสไตล์นี้ จะมีได้หลากหลาย อาทิ สีดำ, ขาว, แดง, ม่วงเข้ม ฯลฯ ที่ไม่ใช่สีหวานๆเหมือนสวีท โลลิต้า ส่วนการแต่งหน้านั้นขึ้นอยู่กับว่าอยากจะแต่งให้ออกมาเป็นแนวโลลิต้า คือดูเป็นสาวน้อยน่ารัก หรืออยากจะแต่งออกไปทางโกธิค คือดูดุดันสวยสง่า ก็ตามแต่บุคลิกของคนนั้น


Japanese Traditional Lolita  

เกิดจากการผสมระหว่างแฟชั่นแบบญี่ปุ่นแท้ดั้งเดิม กับสไตล์โลลิต้า สังเกตได้ง่ายๆเลยก็คือ ท่อนบน หรือ เสื้อ นั้น จะเป็นสไตล์ญี่ปุ่น เช่นพวกยูกาตะ, ใช้ผ้าญี่ปุ่นหรือลวดลายเหมือนญี่ปุ่น, มีสายเหมือนโอบิมาผูกเอว แต่ท่อนล่าง หรือ กระโปรงจะเป็นสไตล์โลลิต้า รวมไปถึงการตัดเย็บ, ตกแต่ง, ของประดับ ก็จะเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างวัฒนธรรมญี่ปุ่น และ สไตล์ของตะวันตก

  


 Punk Lolita 

สไตล์นี้ค่อนข้างจะ เน้นไปที่ลายสก๊อต, รูปแบบเสื้อผ้าที่แหวกแนว, สีทุกสีตัดกับสีดำ และเติมความหวานของโลลิต้าไปอีกนิดหน่อยด้วยลูกไม้หรือโบว์เล็กบ้างใหญ่บ้าง ตามแต่สไตล์ ส่วนจากเดิมที่โลลิต้าสไตล์จะใส่ถุงน่อง ไม่ก็ถุงเท้ายาวมีลูกไม้ประดับ ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นถุงเท้ายาวหลากสี หรือสีสลับเพื่อเพิ่มความเป็นพังค์

 


Maid Lolita 

การนำชุดของสาวใช้แบบตะวันตกมาดัดแปลง เสริม เติม แต่ง ให้มีความเป็นโลลิต้ามากขึ้น ชุดสาวใช้ หรือ เมด ธรรมดาอาจจะเป็นแค่เสื้อแขนตุ๊กตา ชุดเอี๊ยมหรือโปรงสีดำ/น้ำเงิน กับผ้ากันเปื้อนขอบเป็นลูกไม้เท่านั้น แต่ว่า ถ้าคุณเปลี่ยนจากเสื้อเชิ้ตสีขาวกับกระโปรงสีพื้นๆธรรมดา เป็นชุดลายดอกไม้เล็กๆ, ใส่สุ่มเพิ่มในกระโปรง, เสื้อมีการตกแต่งเป็นผูกโบว์ระบายลูกไม้น่ารักเพิ่มลงไป หรือ ผ้ากันเปื้อนที่มีการติดโบว์, ลูกไม้, ลูกปัด, หรือพิมพ์ลายการ์ตูนน่ารักๆลงไป ก็จะทำให้ชุดเมดธรรมดา ดูโลลิต้าได้มากขึ้นอีก

     


บทสรุป

แนวโน้มการขยายตัวของแฟชั่นในญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่โลลิต้ายังเป็นเพียงวัฒนธรรมย่อยๆ และเป็นแฟชั่นแบบชายขอบ แฟชั่นโลลิต้าก็ยังเป็นตลาดแบบ mass และสามารถพบเห็นบางส่วนบนถนนของเมืองโตเกียวและโอซาก้า บนจอทีวี ในการ์ตูนมังงะ) และเกมคอมพิวเตอร์ ส่วนประเทศอื่นๆ นอกญี่ปุ่น แฟชั่นโลลิต้ายังคงเป็นแฟชั่นชายขอบที่ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางนัก ทั้ง ๆ ที่โลลิต้าได้เริ่มเผยแพร่ไปยังประเทศอื่นๆ อย่างช้า ๆ เราสามารถเห็นการแต่งคอสเพลย์และปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นอื่นๆ สไตล์โกธิคโลลิต้าบนเวทีคอนเสิร์ตและงานอนิเมะได้ทั้งในแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา น ถึงแม้ว่าแบรนด์ของญี่ปุ่นที่สามารถสั่งซื้อได้โดยตรงจากต่างประเทศจะมีจำนวนมากขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตามมีสาวกจำนวนมากที่มาเติมช่องว่างที่เหลืออยู่ นิตยสารโกธิคโลลิต้าสามารถหาซื้อได้ทางอินเตอร์เน็ต และร้านหนังสือญี่ปุ่นที่วางจำหน่ายอนิเมและมังงะ สาวกโลลิต้ามักจะเย็บชุดโลลิต้าด้วยตัวเอง บางครั้งก็อาจจะซื้อสำเร็จรูป สำหรับความยากง่ายในการหาซื้อจากประเทศญี่ปุ่น สิ่งเหล่านี้แตกต่างจากแฟชั่นตะวันตกส่วนใหญ่ แฟชั่นโลลิต้ามักจะถูกตั้งความคาดหวังไว้สูงกว่านั้น เสื้อผ้าที่มีคุณภาพสูง ไม่ใช้ลูกไม้ราคาถูก และไม่ใช่ดีไซน์คอสเพลย์ สาวกโลลิต้าจำนวนมากซื้อชุดโลลิต้า accessories และตุ๊กตาผ่านมาทางออนไลน์จากแบรนด์ญี่ปุ่น เช่น Baby, The Stars Shine Bright หรือทาง ebay หรือ Lolita fellow อื่น ๆ

บรรณานุกรม

http://en.wikipedia.org/wiki/Lolita_fashion

http://lolitafashions.blogspot.com/2011/05/oji-lolita-boystyle-and-wa-lolita.html 

http://blckheartsuicide.blogspot.com/   

http://www.ioffer.com/i/Japan-Alice-wonderland-Cosplay-Blue-Lolita-Maid-Costume-170081127 

http://www.khanpak.com 

http://my.dek-d.com/aedom/blog/?blog_id=10128133

http://my.dek-d.com/aedom/blog/?blog_id=1012813  

http://www.animegalleries.net/img/168426

http://www.cosplayying.com/en/chobits-cosplay-costume-chii-pink-lolita-dress-2.html 

http://www.barbecuee.com/index.php?main_page=product_info&products_id=75

http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1951188 

http://www.yourfashion.com.au/altfashiontag/lolita/page/2/ 

http://tanit-isis-stock.deviantart.com/art/Tanit-Isis-White-Lolita-I-179328161

http://www.d-looks.com/showblog.php?Bid=2729

http://th.asiaonline.com/article?article=Lolita_fashion 

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=moon-of-july&month=16-06-2010&group=4&gblog=8