รูปภาพจาก ASEAN-info.com,
https://www.asean-info.com/asean_charter_content/asean_charter_chapter_10.html
“ภาษาอังกฤษ” ในบริบทอาเซียนตามมาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียน
นับตั้งแต่อาเซียน (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการตามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ภายใต้ชื่อ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ Association of South East Asian Nations (ASEAN) ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ มีพัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม เติบโตตามลำดับ จนกระทั่งก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เมื่อปี 2558 ซึ่งประกอบด้วย 3 ประชาคมหลัก ได้แก่ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง (APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ซึ่งการเติบโตท่ามกลางความท้าทายของกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาเซียนย่างเดินตามคำขวัญแห่งภูมิภาค “One Vision, One Identity, One Community” เพื่อให้อาเซียนเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวกันแม้เวลาผ่านล่วงเลยมาถึงปัจจุบัน การพัฒนาและความร่วมมือร่วมใจของชาติสมาชิก ยังดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยยึดมั่นหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก (Non-Interference) และวิถีแห่งอาเซียน (ASEAN Way) ซึ่งในที่นี่จะไม่กล่าวถึงที่ไปที่มาของอาเซียน เพราะอาเซียนกลายเป็นเรื่องสามัญที่ประชาชนชาวอาเซียนทั้งหมดรับทราบดีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ประเด็นน่าสนใจอย่างหนึ่งที่ไม่ค่อยหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังมากนัก แต่นักวิชาการและผู้สนใจด้านอาเซียนผลิตผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องมากมาย ประเด็นที่ว่านั้นเกี่ยวข้องกับ “ภาษาอังกฤษ” ในฐานะภาษาของอาเซียน
"English Language" in the ASEAN Context According to Article 34 of the ASEAN Charter
Since ASEAN (the Association of Southeast Asian Nations) was officially established by the Bangkok Declaration on 8 August 1967, its membership has expanded to include 10 countries. Over the decades, ASEAN has achieved significant political, economic, cultural, and social progress, culminating in the formation of the ASEAN Community in 2015. The community comprises three pillars: the ASEAN Political-Security Community (APSC), the ASEAN Economic Community (AEC), and the ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC). Despite rapid global changes, ASEAN has adhered to its motto, "One Vision, One Identity, One Community", fostering unity among its members. This growth has been steady, guided by principles such as non-interference in domestic affairs and the ASEAN Way of consensus-building.
While ASEAN’s history and development are well-known among its citizens, one aspect that receives less attention but holds significant importance is the role of the English language within ASEAN.
The Adoption of English in ASEAN
It is unsurprising that English has been used as the working language for ASEAN since its inception. From the first meetings among the founding member states, whether in bilateral or multilateral contexts, English was employed without objection. Remarkably, there was never any question about which language should be used for communication among member states.
Although the Bangkok Declaration does not explicitly state that English is the official language of ASEAN, the document itself was written in English. This reflects the global acceptance of English as a universal medium of communication, often referred to as the "world’s lingua franca." Thus, ASEAN naturally adopted English for all its meetings and official communication without resistance from any member state.
The founding members—Indonesia, Malaysia, the Philippines, Singapore, and Thailand—were all aligned with Western nations, particularly the United States. One of the underlying motivations for ASEAN’s establishment was to counter the spread of communism in the region. In this context, English served not only as a practical tool for communication but also as a symbolic acceptance of Western cultural and linguistic norms.
The Institutionalisation of English in ASEAN
As ASEAN expanded and its linguistic diversity increased, the need for a clear and universally accepted working language became apparent. To reinforce this and elevate ASEAN's global profile, the ASEAN Charter explicitly designates English as the organisation’s working language. Article 34 of the Charter states:
“ASEAN Charter Article 34: The working language of ASEAN shall be English.”
This codification underscores English's role in unifying ASEAN’s diverse membership and facilitating its operations on the global stage.
รูปภาพจาก U.S. MISSION TO ASEAN, https://asean.usmission.gov/on-the-asean-ministerial-meeting/
ภาษาอังกฤษ
ไม่ใช่ภาษาราชการของอาเซียน
ภาษาราชการของประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเทศ |
ภาษาราชการ |
ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ |
อาณานิคม |
กัมพูชา |
ภาษาเขมร |
ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ |
ฝรั่งเศส |
ไทย |
ภาษาไทย |
ภาษาอังกฤษ |
- |
บรูไนดารุสซาลาม |
ภาษามาเลย์ |
ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน |
อังกฤษ |
เมียนมาร์ |
ภาษาเมียนมาร์ |
ภาษาอังกฤษ |
อังกฤษ |
ฟิลิปปินส์ |
ภาษาตากาล็อก ภาษาอังกฤษ |
- |
สเปน สหรัฐอเมริกา |
มาเลเซีย |
ภาษามาเลย์ |
ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน |
อังกฤษ |
อินโดนีเซีย |
ภาษาอินโดนีเซีย |
ภาษาอังกฤษ ภาษาชวา |
เนเธอร์แลนด์ |
สิงคโปร์ |
ภาษาอังกฤษ ภาษามาเลย์ ภาษาจีน ภาษาทมิฬ |
- |
อังกฤษ |
เวียดนาม |
ภาษาเวียดนาม |
ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน |
ฝรั่งเศส |
ลาว |
ภาษาลาว |
ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส |
ฝรั่งเศส |
10
ประเทศอาเซียนตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันก็จริง แต่หลายประเทศยังคงยึดติดและเกิดการแบ่งกลุ่มย่อยกันเอง
เพื่อสร้างกลุ่มอำนาจต่อรอง เพื่อให้ภาษาของตนหรือใช้ความมีส่วนร่วมเดียวกันของประเทศตนเองได้ใช้ภาษาเดียวกัน
เช่น มาเลเซียเสนอให้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการของอาเซียน เนื่องจากภาษามาเลย์มีจำนวนผู้พูดมากที่สุดอาเซียน
แต่อินโดนีเซียคัดค้าน เพราะอินโดนีเซียพอ้างว่าภาษาอินโดนีเซีย
ไม่เหมือนภาษามาเลย์แบบมาเลเซีย จนเกิดเป็นความขัดแย้งในช่วงหนึ่ง ส่วนเวียดนาม
กัมพูชา และเวียดนาม เสนอให้ใช้ภาษาฝรั่งเศส เพราะด้วยทั้ง 3 ประเทศเคยเป็นกลุ่มประเทศอินโดจีนภายใต้ฝรั่งเศส
ส่วนสิงคโปร์เสนอให้ใช้ภาษาจีน เพราะหลายประเทศในอาเซียนมีคนเชื้อสายจีน ส่วนกลุ่มสมาชิกที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน
ก็เห็นควรว่าต้องใช้ภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียวเป็นภาษาราชการของอาเซียน
เมื่อเกิดประเด็นเกี่ยวกับภาษาราชการของอาเซียนขึ้น
กลุ่มประเทศที่พูดภาษามาเลย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม
รวมถึงบางส่วนของฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ จึงตกลงร่วมกันว่าจะใช้ภาษาอังกฤษ
เพื่อลดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ส่วนสมาชิกประเทศอื่น ๆ ที่เสนอให้ใช้ภาษาฝรั่งเศส
ภาษาจีน
หรือแม้แต่ประเทศไทยก็เคยเสนอให้ภาษาไทย ต้องล้มเลิกไปเพราะสมาชิกเห็นว่า
การพูดภาษาต่างประเทศอื่นที่ไม่คุ้นเคยตั้งแต่วัยเรียนจะทำให้อาเซียนก้าวไปข้างหน้าไม่ทันโลก
เช่น หากเลือกภาษาจีน บางประเทศที่คุ้นเคยกับภาษาจีนก็จะได้เปรียบกว่าประเทศอื่น เพื่อลดช่องว่างทั้งหมด ในท้ายที่สุดจึงลงความเห็นเลือกภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ
กระนั้นก็ยังมีข้อหารือเพิ่มเติมขึ้นอีก คือ ภาษาอังกฤษไม่ควรกำหนดให้เป็นภาษาราชการของอาเซียน ด้วยเหตุผลว่า
ระดับความรู้ด้านภาษาอังกฤษของสมาชิกแต่ละประเทศไม่เท่าเทียมกัน เช่น สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม และฟิลิปปินส์
สามารถสื่อสารและเข้าใจภาษาอังกฤษเทียบเท่าภาษาแม่
ซึ่งเป็นทักษะภาษาอังกฤษที่สูงกว่าการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
ในขณะที่อีกหลายประเทศ ภาษาอังกฤษเพิ่งเริ่มต้นเรียนในระดับมัธยมศึกษา
และเป็นการเรียนเพื่อการประกอบอาชีพ ความรู้ทางภาษาอังกฤษจึงจำกัดเฉพาะด้าน ยกตัวอย่างเช่น
วิศวกรเข้าใจเฉพาะศัพท์ที่เกี่ยวข้องด้านวิศวกรรม นักบัญชีทราบเฉพาะศัพท์บัญชี
เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถเทียบกับความเข้าใจของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ประกอบกับอาเซียนมีแนวคิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในหลายสาขาอาชีพ
ซึ่งความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ต้องการอยู่ในระดับเพื่อการทำงานเฉพาะด้านเท่านั้น สมาชิกส่วนใหญ่จึงตกลงกันว่า
ให้เปลี่ยนจากคำว่า ภาษาราชการของอาเซียน (ASEAN Official Language)
ให้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อการทำงานของอาเซียน (Working Language of ASEAN) เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและสอดคล้องกับบริบทของแต่ละประเทศในอาเซียน จึงได้บัญญัติความสำคัญของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาเพื่อการทำงานของชาวอาเซียนไว้ใน
มาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียนนั่นเอง
ในเจตนารมณ์ตามมาตรา 34
แห่งกฎบัตรอาเซียน นอกจากจะหาข้อยุติและสร้างสมานฉันท์ด้านนโยบายภาษาได้แล้ว
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือ ความสันติและลดความขัดแย้งเชิงวัฒนธรรมทางภาษา
หากไม่สามารถหาข้อยุติได้ ยิ่งจะทำให้อาเซียนขาดสันติและเอกภาพ เพียงแค่ต้องการให้ภาษาตนเองเป็นภาษาราชการสำคัญกว่าของภาษาสมาชิกอื่น
มาตรา 34 นี้จะเป็นเสมือนข้อบัญญัติเพื่อความเสมอภาค ความเท่าเทียม
และลดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมได้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
ภาษาอังกฤษของอาเซียนเพื่อการทำงาน คือ “Englishes”
เมื่อภาษาอังกฤษถูกกำหนดให้เป็นภาษาเพื่อการทำงานของอาเซียน
ด้วยบริบทของประเทศและวัฒนธรรมที่แตกต่าง จึงเกิดการผสมผสานระหว่างการใช้ภาษาแม่ของตนเองกับภาษาอังกฤษ
อิทธิพลของภาษาแม่จึงปนเปในการใช้ภาษาอังกฤษระหว่างอาเซียนด้วยกัน
เกิดสไตล์ภาษาอังกฤษเฉพาะตน เช่น ภาษาอังกฤษแบบไทย ถูกเรียกว่า Thailish ภาษาอังกฤษแบบสิงคโปร์ ถูกเรียกว่า Singlish หรือภาษาอังกฤษแบบมาเลเซีย
ถูกเรียกว่า Manglish เป็นต้น การผสมผสานของภาษาอังกฤษที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมภาษาแม่
จึงถูกเรียกว่า ASEAN Englishes หรือบางท่านเรียกว่า ASEANlish จนกล่าวกันว่าภาษาอังกฤษตามมาตรา
34 แห่งกฎบัตรอาเซียน มีความน่าจะเป็น Englishes อย่างไรก็ตาม ภาษาอังกฤษแบบ Englishes
ของอาเซียนเป็นการใช้ภาษาในระดับการสื่อสารเพื่อการทำงานเท่านั้น
แต่ในภาษาเขียนยังต้องเป็นภาษาอังกฤษมาตรฐานสากล
ขอบคุณทุกท่านครับ
ณัฐพล จารัตน์
X @Nathjarat
-----------------------------------------