Search This Blog

Showing posts with label อาเซียน. Show all posts
Showing posts with label อาเซียน. Show all posts

Sunday, August 22, 2021

“ภาษาอังกฤษ” ในบริบทอาเซียนตามมาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียน

รูปภาพจาก ASEAN-info.com, https://www.asean-info.com/asean_charter_content/asean_charter_chapter_10.html

 

“ภาษาอังกฤษ” ในบริบทอาเซียนตามมาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียน

นับตั้งแต่อาเซียน (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการตามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ภายใต้ชื่อ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ Association of South East Asian Nations (ASEAN) ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ มีพัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม เติบโตตามลำดับ จนกระทั่งก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เมื่อปี 2558 ซึ่งประกอบด้วย 3 ประชาคมหลัก ได้แก่ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง (APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ซึ่งการเติบโตท่ามกลางความท้าทายของกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาเซียนย่างเดินตามคำขวัญแห่งภูมิภาค “One Vision, One Identity, One Community” เพื่อให้อาเซียนเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวกันแม้เวลาผ่านล่วงเลยมาถึงปัจจุบัน การพัฒนาและความร่วมมือร่วมใจของชาติสมาชิก ยังดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยยึดมั่นหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก (Non-Interference) และวิถีแห่งอาเซียน (ASEAN Way) ซึ่งในที่นี่จะไม่กล่าวถึงที่ไปที่มาของอาเซียน เพราะอาเซียนกลายเป็นเรื่องสามัญที่ประชาชนชาวอาเซียนทั้งหมดรับทราบดีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ประเด็นน่าสนใจอย่างหนึ่งที่ไม่ค่อยหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังมากนัก แต่นักวิชาการและผู้สนใจด้านอาเซียนผลิตผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องมากมาย ประเด็นที่ว่านั้นเกี่ยวข้องกับ “ภาษาอังกฤษ” ในฐานะภาษาของอาเซียน 

อาจไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด ถ้าจะกล่าวว่า ภาษาอังกฤษถูกนำมาใช้ในการประชุมร่วมกับชาติก่อตั้งอาเซียนตั้งแต่ครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นการประชุมระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยไม่มีประเทศใดปฏิเสธการใช้ภาษาอังกฤษ ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีคำถามเกิดขึ้นสักครั้งเดียวเลยว่า จะใช้ภาษาอะไรในการประชุมระหว่างประเทศสมาชิก หากพิจารณาจากเนื้อหาของปฏิญญากรุงเทพ แม้จะไม่พบถ้อยคำใด ๆ ระบุว่าภาษาของเซียน คือ ภาษาอังกฤษ แต่ภาษาอังกฤษถูกนำมาใช้เป็นภาษากลางของปฏิญญา นั่นเป็นเพราะว่า นานาชาติยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล สามารถสื่อสารกันทั่วโลกหรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่าเป็นภาษากลางของโลกก็ไม่ผิด ดังนั้น อาเซียนจึงตกลงใช้ภาษาอังกฤษระหว่างการประชุมทั้งหมดโดยไม่มีชาติสมาชิกใดคัดค้าน อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่างก็เป็นประเทศพันธมิตรกับชาติตะวันตก โดยเฉพาะมหามิตรอย่างสหรัฐอเมริกา และเหตุผลเบื้องลึกของการก่อตั้งอาเซียนประการหนึ่งคือ การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ที่แผ่อิทธิพลเข้ามาสู่ภูมิภาคในช่วงเวลา การสื่อสาร ด้วยภาษาอังกฤษ จึงกลายเป็นดุจเครื่องมือเชิงสัญลักษณ์เพื่อการยอมรับวัฒนธรรมทางภาษาของชาติตะวันตก ต่อมาเมื่อมีสมาชิกเพิ่มขึ้นและมีความหลายหลากทางภาษามากขึ้น และเพื่อสร้างความชัดเจนและยกระดับความเป็นสากลแห่งภูมิภาค จึงได้บัญญัติให้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาเพื่อการทำงานของอาเซียน ดังปรากฏในมาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียน ว่า “ASEAN Charter Article 34 Working Language of ASEAN shall be English”

 

"English Language" in the ASEAN Context According to Article 34 of the ASEAN Charter

Since ASEAN (the Association of Southeast Asian Nations) was officially established by the Bangkok Declaration on 8 August 1967, its membership has expanded to include 10 countries. Over the decades, ASEAN has achieved significant political, economic, cultural, and social progress, culminating in the formation of the ASEAN Community in 2015. The community comprises three pillars: the ASEAN Political-Security Community (APSC), the ASEAN Economic Community (AEC), and the ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC). Despite rapid global changes, ASEAN has adhered to its motto, "One Vision, One Identity, One Community", fostering unity among its members. This growth has been steady, guided by principles such as non-interference in domestic affairs and the ASEAN Way of consensus-building.

While ASEAN’s history and development are well-known among its citizens, one aspect that receives less attention but holds significant importance is the role of the English language within ASEAN.


The Adoption of English in ASEAN

It is unsurprising that English has been used as the working language for ASEAN since its inception. From the first meetings among the founding member states, whether in bilateral or multilateral contexts, English was employed without objection. Remarkably, there was never any question about which language should be used for communication among member states.

Although the Bangkok Declaration does not explicitly state that English is the official language of ASEAN, the document itself was written in English. This reflects the global acceptance of English as a universal medium of communication, often referred to as the "world’s lingua franca." Thus, ASEAN naturally adopted English for all its meetings and official communication without resistance from any member state.

The founding members—Indonesia, Malaysia, the Philippines, Singapore, and Thailand—were all aligned with Western nations, particularly the United States. One of the underlying motivations for ASEAN’s establishment was to counter the spread of communism in the region. In this context, English served not only as a practical tool for communication but also as a symbolic acceptance of Western cultural and linguistic norms.

The Institutionalisation of English in ASEAN

As ASEAN expanded and its linguistic diversity increased, the need for a clear and universally accepted working language became apparent. To reinforce this and elevate ASEAN's global profile, the ASEAN Charter explicitly designates English as the organisation’s working language. Article 34 of the Charter states:
“ASEAN Charter Article 34: The working language of ASEAN shall be English.”

This codification underscores English's role in unifying ASEAN’s diverse membership and facilitating its operations on the global stage.

รูปภาพจาก U.S. MISSION TO ASEAN, https://asean.usmission.gov/on-the-asean-ministerial-meeting/

 

ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ภาษาราชการของอาเซียน

ในช่วงแรกของการประชุมของ 5 ประเทศผู้ก่อตั้ง แม้ไม่ได้บัญญัติในปฏิญญากรุงเทพให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางสำหรับการประชุมอาเซียน แต่ประเทศสมาชิกก็ใช้ภาษาอังกฤษในการประชุมพบปะกัน
โดยไม่ต้องมีการบังคับ เป็นการรับรู้โดยอัตโนมัติ จากนั้นมาการประชุมทุกระดับของอาเซียน จึงถือว่าตกลงใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักจนเกิดความเข้าใจว่าภาษาอังกฤษ คือ ภาษาราชการของอาเซียนไปโดยปริยาย ปัจจุบัน อาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ตามลำดับ ได้แก่ สมาชิกผู้ก่อตั้งลำดับที่ 1 - 5 ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เข้าร่วมเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 สมาชิกลำดับที่ 6 บรูไนดารุสซาลาม เข้าร่วมเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527 สมาชิกลำดับที่ 7 เวียดนาม เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 สมาชิกลำดับที่ 8 และ 9  ได้แก่ ลาว และเมียนมาร์ เข้าร่วมพร้อมกันเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และสมาชิกลำดับที่ 10 กัมพูชา เข้าร่วมเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 เมื่อสมาชิกหลากหลายมากขึ้น จึงมีสมาชิก ขอหารือเพื่อกำหนดให้มีภาษาราชการของอาเซียนที่มิใช่ภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียว สมาชิกต่างต้องการให้ภาษาราชการของตนหรือภาษาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญกว่าชาติสมาชิกอื่นใช้เป็นภาษาราชการอาเซียน หรือใช้ภาษาสากลอื่นเพิ่มขึ้น ซึ่งสมาชิกแต่ละประเทศต่างมีเหตุผลเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ รวมถึงความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ทางภาษาของตนเอง ดังรายละเอียดนี้

 

ภาษาราชการของประเทศสมาชิกอาเซียน

ประเทศ

ภาษาราชการ

ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ

อาณานิคม

กัมพูชา

ภาษาเขมร

ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ

ฝรั่งเศส

ไทย

ภาษาไทย

ภาษาอังกฤษ

-

บรูไนดารุสซาลาม

ภาษามาเลย์

ภาษาอังกฤษ

ภาษาจีน

อังกฤษ

เมียนมาร์

ภาษาเมียนมาร์

ภาษาอังกฤษ

อังกฤษ

ฟิลิปปินส์

ภาษาตากาล็อก

ภาษาอังกฤษ

-

สเปน

สหรัฐอเมริกา

มาเลเซีย

ภาษามาเลย์

ภาษาอังกฤษ

ภาษาจีน

อังกฤษ

อินโดนีเซีย

ภาษาอินโดนีเซีย

ภาษาอังกฤษ

ภาษาชวา

เนเธอร์แลนด์

สิงคโปร์

ภาษาอังกฤษ

ภาษามาเลย์

ภาษาจีน

ภาษาทมิฬ

-

อังกฤษ

เวียดนาม

ภาษาเวียดนาม

ภาษาอังกฤษ

ภาษาฝรั่งเศส

ภาษาจีน

ฝรั่งเศส

ลาว

ภาษาลาว

ภาษาอังกฤษ

ภาษาฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส

 

10 ประเทศอาเซียนตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันก็จริง แต่หลายประเทศยังคงยึดติดและเกิดการแบ่งกลุ่มย่อยกันเอง เพื่อสร้างกลุ่มอำนาจต่อรอง เพื่อให้ภาษาของตนหรือใช้ความมีส่วนร่วมเดียวกันของประเทศตนเองได้ใช้ภาษาเดียวกัน เช่น มาเลเซียเสนอให้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการของอาเซียน เนื่องจากภาษามาเลย์มีจำนวนผู้พูดมากที่สุดอาเซียน แต่อินโดนีเซียคัดค้าน เพราะอินโดนีเซียพอ้างว่าภาษาอินโดนีเซีย ไม่เหมือนภาษามาเลย์แบบมาเลเซีย จนเกิดเป็นความขัดแย้งในช่วงหนึ่ง ส่วนเวียดนาม กัมพูชา และเวียดนาม เสนอให้ใช้ภาษาฝรั่งเศส เพราะด้วยทั้ง 3 ประเทศเคยเป็นกลุ่มประเทศอินโดจีนภายใต้ฝรั่งเศส ส่วนสิงคโปร์เสนอให้ใช้ภาษาจีน เพราะหลายประเทศในอาเซียนมีคนเชื้อสายจีน ส่วนกลุ่มสมาชิกที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน ก็เห็นควรว่าต้องใช้ภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียวเป็นภาษาราชการของอาเซียน

 

เมื่อเกิดประเด็นเกี่ยวกับภาษาราชการของอาเซียนขึ้น กลุ่มประเทศที่พูดภาษามาเลย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม รวมถึงบางส่วนของฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ จึงตกลงร่วมกันว่าจะใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อลดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ส่วนสมาชิกประเทศอื่น ๆ ที่เสนอให้ใช้ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน
หรือแม้แต่ประเทศไทยก็เคยเสนอให้ภาษาไทย ต้องล้มเลิกไปเพราะสมาชิกเห็นว่า การพูดภาษาต่างประเทศอื่นที่ไม่คุ้นเคยตั้งแต่วัยเรียนจะทำให้อาเซียนก้าวไปข้างหน้าไม่ทันโลก เช่น หากเลือกภาษาจีน บางประเทศที่คุ้นเคยกับภาษาจีนก็จะได้เปรียบกว่าประเทศอื่น เพื่อลดช่องว่างทั้งหมด ในท้ายที่สุดจึงลงความเห็นเลือกภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ กระนั้นก็ยังมีข้อหารือเพิ่มเติมขึ้นอีก คือ ภาษาอังกฤษไม่ควรกำหนดให้เป็นภาษาราชการของอาเซียน ด้วยเหตุผลว่า ระดับความรู้ด้านภาษาอังกฤษของสมาชิกแต่ละประเทศไม่เท่าเทียมกัน เช่น สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม และฟิลิปปินส์ สามารถสื่อสารและเข้าใจภาษาอังกฤษเทียบเท่าภาษาแม่ ซึ่งเป็นทักษะภาษาอังกฤษที่สูงกว่าการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ในขณะที่อีกหลายประเทศ ภาษาอังกฤษเพิ่งเริ่มต้นเรียนในระดับมัธยมศึกษา และเป็นการเรียนเพื่อการประกอบอาชีพ ความรู้ทางภาษาอังกฤษจึงจำกัดเฉพาะด้าน ยกตัวอย่างเช่น วิศวกรเข้าใจเฉพาะศัพท์ที่เกี่ยวข้องด้านวิศวกรรม นักบัญชีทราบเฉพาะศัพท์บัญชี เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถเทียบกับความเข้าใจของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ประกอบกับอาเซียนมีแนวคิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในหลายสาขาอาชีพ ซึ่งความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ต้องการอยู่ในระดับเพื่อการทำงานเฉพาะด้านเท่านั้น สมาชิกส่วนใหญ่จึงตกลงกันว่า ให้เปลี่ยนจากคำว่า ภาษาราชการของอาเซียน (
ASEAN Official Language) ให้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อการทำงานของอาเซียน (Working Language of ASEAN) เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและสอดคล้องกับบริบทของแต่ละประเทศในอาเซียน จึงได้บัญญัติความสำคัญของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาเพื่อการทำงานของชาวอาเซียนไว้ใน มาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียนนั่นเอง

ในเจตนารมณ์ตามมาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียน นอกจากจะหาข้อยุติและสร้างสมานฉันท์ด้านนโยบายภาษาได้แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือ ความสันติและลดความขัดแย้งเชิงวัฒนธรรมทางภาษา หากไม่สามารถหาข้อยุติได้ ยิ่งจะทำให้อาเซียนขาดสันติและเอกภาพ เพียงแค่ต้องการให้ภาษาตนเองเป็นภาษาราชการสำคัญกว่าของภาษาสมาชิกอื่น มาตรา 34 นี้จะเป็นเสมือนข้อบัญญัติเพื่อความเสมอภาค ความเท่าเทียม และลดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมได้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน

 

ภาษาอังกฤษของอาเซียนเพื่อการทำงาน คือ “Englishes”

เมื่อภาษาอังกฤษถูกกำหนดให้เป็นภาษาเพื่อการทำงานของอาเซียน ด้วยบริบทของประเทศและวัฒนธรรมที่แตกต่าง จึงเกิดการผสมผสานระหว่างการใช้ภาษาแม่ของตนเองกับภาษาอังกฤษ อิทธิพลของภาษาแม่จึงปนเปในการใช้ภาษาอังกฤษระหว่างอาเซียนด้วยกัน เกิดสไตล์ภาษาอังกฤษเฉพาะตน เช่น ภาษาอังกฤษแบบไทย ถูกเรียกว่า Thailish ภาษาอังกฤษแบบสิงคโปร์ ถูกเรียกว่า Singlish หรือภาษาอังกฤษแบบมาเลเซีย ถูกเรียกว่า Manglish เป็นต้น การผสมผสานของภาษาอังกฤษที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมภาษาแม่ จึงถูกเรียกว่า ASEAN Englishes หรือบางท่านเรียกว่า  ASEANlish จนกล่าวกันว่าภาษาอังกฤษตามมาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียน มีความน่าจะเป็น Englishes  อย่างไรก็ตาม ภาษาอังกฤษแบบ Englishes ของอาเซียนเป็นการใช้ภาษาในระดับการสื่อสารเพื่อการทำงานเท่านั้น แต่ในภาษาเขียนยังต้องเป็นภาษาอังกฤษมาตรฐานสากล

 การใช้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาเพื่อการทำงานของอาเซียน ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยมีสมาชิกประเทศใดกล่าวติติงการใช้คำ (Word Usage) สำเนียง (Accent) หรือแม้แต่ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ (Grammar Error) ว่าใครใช้ถูกใช้ผิดในระหว่างการประชุม สมาชิกทุกประเทศให้เกียรติและเชื่อมั่นในระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้แทนการประชุม หากการประชุมหารือหรือต้องบรรลุข้อตกลงที่มีผลผูกพันทางทางกฎหมาย ผู้แทนจะใช้ล่ามแปลภาษาตามหลักการระหว่างประเทศอาเซียนใช้ประโยชน์จากมาตรา 34 พัฒนาและสร้างนโยบายการเรียนรู้ภาษาอังกฤษกับประชาชนของตน แต่อาเซียนยังขาดการสร้างหลักสูตรหรือเนื้อหาภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจบริบทของประเทศสมาชิกอาเซียน การใช้แบบเรียนภาษาอังกฤษก็ยังใช้แตกต่างกัน จึงยังขาดจุดร่วมเดียวกัน จึงได้มีการเสนอให้มีเนื้อหาภาษาอังกฤษแบบอาเซียนร่วมกัน อาเซียนจึงต้องผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริง เพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน และจะเกิดผลประโยชน์ต่อภาพรวมของอาเซียน ซึ่งยังต้องรอคอยว่าจะสามารถขึ้นจริงได้หรือไม่ในอนาคตอันใกล้นี้

ขอบคุณทุกท่านครับ

ณัฐพล จารัตน์

X @Nathjarat

-----------------------------------------

 

 

 

Wednesday, December 9, 2020

เมื่อภาษาอังกฤษกลายเป็นเพียงทักษะสามัญ ไม่ใช่ความสามารถพิเศษอีกต่อไปใน ASEAN

เมื่อภาษาอังกฤษกลายเป็นเพียงทักษะสามัญ ไม่ใช่ความสามารถพิเศษอีกต่อไปใน ASEAN


การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN community) อย่างเป็นทางการของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มนับถอยหลังไปเหลืออีกไม่ถึง 1 ปี ความเปลี่ยนแปลงต่าง ในภูมิภาคคงไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลับ หรือจะทำให้เกิดความวุ่นวายจากกฎระเบียบที่เราต้องใช้ร่วมกับกับชาติอาเซียนอื่น ๆ อันที่จริงความเป็นอาเซียน หรือความร่วมมือต่าง ๆ ของอาเซียนได้เริ่มมานานแล้วตั้งแต่มีการเปิดการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เมื่อวันที่ 28 มกราคม 1992  เป็นต้นมาและพัฒนามาเป็นประชาคนอาเซียน สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนอยากเล่าให้ผู้อ่านได้รับทราบ เป็นเรื่องของ “ภาษาอังกฤษ” อันเป็นภาษาราชการอาเซียน ตามที่บัญญัติใน กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ข้อ 34 ว่า “The Working language of ASEAN shall be English” ซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่า “ภาษาอังกฤษ” ย่อมมีบทบาทในทุกมิติในอาเซียน อย่างไรก็ตาม “ภาษาอังกฤษของเราพร้อมแล้วหรือยัง” สำหรับอนาคตในอาเซียน นี่เป็นคำถามที่ชวนให้คิดและพิจารณา



ผมมีความคิดเห็นว่า การศึกษาภาษาอังกฤษหรือการแตกตื่นการเรียนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ณ ขณะนี้ เหมือนการแตกตื่นการเรียนภาษาอังกฤษของคนสิงคโปร์ ราวปี 1967 ซึ่งในยุคนั้นคนสิงคโปร์ที่พูดภาษาอังกฤษได้มีน้อยมาก รุ่นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายสมัยนั้นพูดภาษาจีนและมาเลย์ ส่วนลูกหลานเพิ่งจะเริ่มส่งเรียนภาษาอังกฤษทั้งในโรงเรียนและในโบสถ์ ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลส่งเสริมให้ทุกคนเรียนภาษาอังกฤษด้วยการเปิดหลักสูตรต่าง ๆ เรียนเป็นภาษาอังกฤษ  การที่สิงคโปร์กำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารพื้นฐานของประเทศ มีเหตุผลว่าเพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำเอนเอียงให้ความสำคัญแก่ชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่ง กล่าวคือ หากจะกำหนดภาษาจีนให้ทุกเชื้อชาติเรียนทั้งหมด ย่อมทำให้ชาวมาเลย์ ชาวอินเดีย ชาวทมิฬ ที่เป็นพลเมืองส่วนหนึ่งของประเทศไม่พอใจ หรือแม้จะให้ภาษาจีนบังคับให้ทุกคนเรียน จะดูเป็นการให้ความสำคัญแก่คนจีนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางที่จะลดแรงกระทบทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมของคนสิงคโปร์ได้ และทำให้พลเมืองไม่ต้องเสียเวลาไปเรียนทุกภาษาของทุกเชื้อชาติในสิงคโปร์ แม้จะมีการกล่าวว่า สิงคโปร์เป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน คนจึงพูดภาษาอังกฤษได้ ซึ่งความเป็นจริงแล้วในยุคอาณานิคม ชาวสิงคโปร์ไม่โดนถูกบังคับให้เรียนภาษาอังกฤษ ในทางกลับกันชาวสิงคโปร์เรียนภาษาอังกฤษ เพราะมองเห็นแล้วว่า หากพูดภาษาอังกฤษได้ย่อมหางานทำได้ ค้าขายกับต่างประเทศได้ สามารถศึกษาหาความรู้ได้อย่างกว้างขวาง ยกระดับฐานะทางสังคมได้ และไม่ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างเชื้อชาติ  นับจากปี 1967 ที่เด็กตัวเล็ก ๆ ชาวสิงคโปร์เริ่มเรียนภาษาอังกฤษ จนกระทั้งปัจจุบันนับเป็นเวลาเกือบ 50 ปี เด็กเหล่านั้นกลายเป็นผู้ใหญ่ที่พูดภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี และแน่นอนว่าชาวสิงคโปร์ที่เกิดในยุคหลังย่อมมีทักษะภาษาอังกฤษดีมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน หรืออาจเทียบได้กับประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (mother tongue)

          สำหรับประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ อย่างเช่นประเทศไทย ปัจจุบันทุกคนกำลังเร่งเรียนภาษาอังกฤษกันอย่างจ้าละหวั่น ในอดีตคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ ดูเหมือนจะได้รับการยกย่องจากสังคม การพูดภาษาอังกฤษดูเหมือนจะกระจุกเพียงในเมืองหลวงและเมืองท่องเที่ยวเท่านั้น เช่น พัทยา ภูเก็ต เป็นต้น อีกทั้งการพูดภาษาอังกฤษได้นั้นเป็นดุจความสามรถพิเศษที่ยากจะมีใครทำได้  แต่นับจากนี้ไปผลจากโลกาภิวัตน์และการเกิดประชาคมอาเซียนกำลังทลายความคิดแบบมายาคติเหล่านั้น และกำลังจะทำให้ความสามรถในการพูดภาษาอังกฤษเป็นเพียงทักษะสามัญที่พลเมืองอาเซียนต้องทำได้ไม่แตกต่างกันอีกต่อไป แม้ว่าทักษะการพูดภาษาอังกฤษจะไม่สามารถพัฒนาให้เก่งอย่างก้าวกระโดดในทันทีทันใด แต่เชื่อได้เลยว่า ต่อไปหากใครยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ย่อมกลายเป็นเกาะดำอย่างแน่นอน

โดย ณัฐพล จารัตน์ 

เขียนไว้เมื่อ 21 ธันวาคม 2557 

Monday, January 5, 2015

#อาเซียน : "สีของเนคไทบ่งความเป็นผู้นำในสากลของอาเซียน"

 

 

ที่มาของภาพ Burma and the politics of ASEAN slogans,

https://www.dvb.no/analysis/burma-and-the-politics-of-asean-slogans/31953

 สิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อย่างเป็นทางการ ภายใต้คำขวัญร่วมกันที่ว่า "One Vision, One Identity, One Community"  (หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม) อันทำให้ความเป็นพรมแดนของชาติกว้างขึ้นเป็นพรมแดนแห่งภูมิภาคเข้ามาแทนที่ ความมีอัตลักษณ์ประจำชาติที่หลากหลายและเกิดจากการผสมผสานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เกิดวัฒนธรรมร่วมกันจนไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าใครเป็นเจ้าของวัฒนธรรมนั้น ๆ ในอาเซียนได้ เช่น การไหว้ ไม่ใช่เป็นเพียงวัฒนธรรมไทยเท่านั้น ยังมีในวัฒนธรรมลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ด้วยเช่นกัน เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนความเป็นตัวตนของแต่ละชาติต้องคงอยู่อย่างแน่นอน แต่ชาวอาเซียนก็ถูกจับจ้องกับความเป็นสากลในโลกเหมือนกัน การเต่งกายด้วยสูทหรือชุดสากลของผู้นำสามารถจะบอกเชิงสัญลักษณ์ให้เห็นความเป็นรู้ที่เป็นสากลของอาเซียนได้เช่นกัน แม้ว่าวัฒนธรรมของอาเซียนไม่ใช่วัฒนธรรมการสวมใส่สูทและผูกเนคไท แต่ชาวอาเซียนไม่สามารถปฏิเสธความเป็นสากลของเรื่องนี้ได้เช่นกัน วันนี้ผู้เขียนจึงขอแนะนำและชวนให้ผู้อ่านได้เห็นว่า สีของเนคไทนั้น สามารถบอกอะไรเชิงสัญลักษณ์ในการแต่งกายสากลของผู้นำอาเซียน ซึ่งต่อไปชาวอาเซียนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เองคงต้องตระหนักกันมากยิ่งขึ้น สีของเนคไทแต่ละสีบ่งบอกความหมายอย่างไรในเวทีโลกและความเป็นสากลเมื่อผูกเนคไท มีอยู่ด้วยกัน ๔ สี ดังนี้

เนคไทสีแดง (red tie) หมายถึง พละกำลังและความเป็นมหาอำนาจที่เหนือกว่าผู้อื่น  ในเวทีระดับโลกทางด้านการเมือง หากสังเกตให้ดีพบว่า ผู้นำประเทศที่คิดตนเองเป็นประเทศที่เป็นมหาอำนาจหรือโดดเด่นกว่าใครในโลก มักจะผูกเนคไทสีแดงเข้มในการประชุมระดับโลก บางครั้งจะพบว่า ผู้นำแต่ละชาติผูกเนคไทสีแดงกันหลายท่าน เช่นการประชุมอาเซียนที่มีจีนและญี่ปุ่นเข้าร่วมด้วย ผู้นำจีนและญี่ปุ่นมักผูกเนคไทสีแดง ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีอิทธิพลในอาเซียนนั่นเอง บางท่านจะผูกเนคไทสีแดงอ่อนหรือโทนสว่าง ก็มีความหมายว่า เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่ม จะเข้ากับฝ่ายใดก็ได้ หากเป็นโทนที่ออกเหมือนสีชมพูจะหมายถึง พร้อมที่จะประสานกับทุกฝ่ายหรือจะเข้ากับทั้งสองฝ่ายไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายไดได้เพียงฝ่ายเดียว

 

ที่มาของภาพ Obama, Hu to talk economy, North Korea, http://edition.cnn.com/2009/POLITICS/11/16/obama.china/index.html?_s

 

เนคไทสีม่วง (purple tie) หมายถึง ความจงรักภัคดี ความซื่อสัตย์และความมั่งคง ในการประชุมทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การประชุมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Forum) ผู้นำของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมประชุมมักจะผูกเนคไทสีม่วง เพื่อแสดงว่าให้เห็นว่า การมาประชุมนี้มาด้วยความจริงใจและพร้อมจะก้าวสู่ความมั่งคั่งไปพร้อมกัน โทนของสีม่วงบอกถึงระดับความจริงใจ สีเข้มหมายถึงความหนักแน่นและตัดสินใจในบางอย่างมาแล้วและจะไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนสีอ่อนบอกถึงความพร้อมในการเจรจาและรับฟังในการตัดสินใจของที่ประชุม ส่วนสีที่โทนสว่างบอกเป็นนัยยะเป็นประเทศที่กำลังเฉิดฉายน่าลงทุนหรือเศรษฐกิจดี นอกจากนั้น เนคไทสีม่วงยังแสดงถึงความรู้สึกที่มั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองมีแผงความลึกลับซับซ้อนไว้ของผู้นำด้วย

เนคไทสีดำ (black tie) หมายถึง ความเป็นทางการอย่างยิ่ง จนทำให้การสวมใส่เนทไทสีดำถูกมองว่าเป็นคนที่หยิ่งและไม่สนใจผู้อื่น ในระดับผู้นำหากเป็นการเจรจาเรื่องที่น่าวิตก เช่น ปัญหาข้อพิพาทดินแดนระหว่างประเทศ การสงคราม ผู้นำบางฝ่ายที่มีความแข็งกร้าวจะผูกเนคไทสีดำเข้ม และโดยมากจะต้องแต่งสูทดำด้วย เนคไทดำยังแสดงถึงความมีอาวุโส เด็ดขาด เป็นผู้รอบรู้และชอบความเป็นทางการ หากต้องการแสดงความเป็นทางการแต่ไม่อยากแสดงความหยิ่ง ผู้นำจะเลือกผูกไทสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและสวมสูทสีน้ำตาลหรือเทาแทน ทำให้ดูโมเดิลทันสมัย แสดงความเป็นผู้ดีมีรสนิยมและให้ความรู้สึกไม่กระด้างกระเดื่อง แต่ผู้นำอาเซียนจะใส่สีเทาหรือน้ำตาลไม่บ่อยนัก

เนคไทสีฟ้า (blue tie) หมายถึง ความเป็นกลาง ไม่สามารถที่จะคาดเดาได้ว่าผู้นำจะตัดสินใจ จะทำอะไร เพราะสีฟ้าเป็นสีของท้องทะเล ท้องฟ้าที่มีความกว้างใหญ่ มองไม่เห็นจุดสิ้นสุดได้ด้วยตาเปล่า หาไม่ทราบว่าในสถานการณ์ใดควรผูกเนคไทสีอะไร สีฟ้าหรือโทนสีฟ้า ไม่ว่าจะสีอ่อนหรือสีเข้มน่าจะเป็นตัวเลือกที่เป็นกลางที่สุดในเวทีอาเซียนและสากล แต่ไม่แนะนำให้ใส่สีฟ้าทุกงาน เพราะจะทำให้ถูกมองว่าไม่จริงใจ ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง และไม่มีอำนาจในบทบาทที่กำลังเป็นอยู่ ส่วนการไม่ผูกเนคไทในการประชุมระดับผู้นำนั้น แสดงว่าเป็นการพบปะหารือกันอย่างไรเป็นทางการ ซึ่งแสดงถึงความเป็นมิตรที่ใกล้ชิดกันมาก หรือแสดงถึงความเป็นพรรคพวกเดียวกัน เมื่อเข้าประชุมผู้นำก็ย่อมจะเข้าข้างกันเสมอ

นอกจากนี้ยังมี เนคไทสีเหลือง (yellow tie) และเนคไทสีเขียว (green tie) ก็สามารถใส่ได้เช่นกัน แต่มักจะไม่ค่อยเห็นมากนักในระดับผู้นำ สีเหลืองแสดงถึงความเป็นจริยธรรม ผูกยึดโยงไปทางศาสนา ส่วนสีเขียวแสดงถึงความโดดเดี่ยว

เมื่ออาเซียนรวมตัวกันขึ้น ความเป็นสากลที่ตามมาย่อมทำให้อาเซียนต้องเรียนรู้และให้เกียรติในสัญลักษณ์สากลของโลก สีเนคไทคงเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกได้ถึงความรู้เรื่องความเป็นสากลในเวทีระดับโลกที่อาเซียนต้องการสื่อให้ทั่วโลกเห็น มีผู้กล่าวว่าอาเซียนต้องเป็น Be Local Go Global การที่จะเป็น Be Local นั่นอาจหมายถึง ถ้าภายในประเทศ เช่น การผูกเนคไทสีต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งมาความเชื่อโยงกับเรื่อง

ฉโหลกสี การเลือกใส่สีตามวันเกิดหรือตามฤกษ์ ซึ่งสามารถทำได้ตามความคิดความเชื่อของเราในระดับ Local แต่ในขณะเดียวกัน หากต้องทำหน้าที่นำหรือตัวแทนของประเทศหรือต้องการแสดงความเป็นสากล ผู้สวมใส่ต้องเลือกสิ่งที่เป็นสากล เพราะคนที่มองอยู่นั้น ไม่ใช้ในระดับ Local  แต่คือ Global ที่จ้องมอง ASEAN ในความสาตาที่เป็นสากล  สำหรับสูทและเสื้อเชิ้ตที่ใช้กับเนคไทที่ต่าง ๆ นั้น ควรเป็นสูทสีดำและเสื้อเชิ้ตสีขาวก็เพียงพอ

 

ณัฐพล จารัตน์ 

เรียบเรียง


อ้างอิงข้อมูล

BBC. What the  colour of ties says about you. Retrieved from

[http://www.bbc.com/capital/story/20140827-the-psychology-of-tie-colours]

Jess Cartner-Morley. Purple tie – politicians of all stripes share sartorial middle ground.

Retrieved from [http://www.theguardian.com/politics/2012/oct/02/purple-tie-ed-

miliband-labour-speech]

Robert Roy Britt. Red vs. Blue: Why Necktie Colors Matter. Retrieved from   

[http://www.livescience.com/3281-red-blue-necktie-colors-matter.html]

The Journal. Things got pretty awkward for Barack Obama and Vladimir Putin in China today.

Retrieved from [http://www.thejournal.ie/barack-obama-vladimi-putin-1775294-

Nov2014/]