Search This Blog

Monday, December 28, 2020

เปิดหมวก ขอทาน หรือทุนการศึกษา : วัฒนธรรมบนมุมมองของสังคมไทย

ชายสูงวัยเปิดเพลงเสียงแคนอิสาน พร้อมชักหุ่นให้เต้นราวกบกำลังเป่าแคนอย่างมีชีวิตชีวา ดูสมจริงมาก 
ที่พื้นหน้าหุ่นที่กำลังแสดง มีหมวกสีดำหงายอยู่ เป็นสัญลักษณ์ว่า ขอให้ผู้ชมที่พอใจการแสดงช่วยใส่เงินตามแต่ใจชอบให้ด้วย 

ผมยืนดูการแสดงนี้นานหลายนาที สังเกตคนที่มุงดู มีคนพาเด็กถ่ายรูปคู่กับหุ่น บางคนยืนถ่ายรูป หรือไม่ก็อัดคลิป บางคนก็เดินผ่านไปเฉย ๆ บางคนก็เดินผ่านแต่ทิ้งเงินลงในหมวก 

สิ่งที่เรากำลังดูนี่ จะเรียกว่าขอทานก็ไม่ใช่ จะเรียกการแสดงเชิงวัฒนธรรม แล้วได้รับค่าจ้าง 

งานที่ผมแวะไปคือ อยุธยามรดกโลก หรืองานกาชาดประจำปีของอยุธยา 

ภาพที่เห็นนี้ยังคู่กับสังคมไทยอีกนานเเสนนาน 

ประเด็น คือ ผมอยากยกระดับกลุ่มนี้ ให้มี แบรนด์ ทำมาเก็ตติ้ง โดยรัฐน่าจะต้องมีคล้าย ๆ อัยการที่เป็นโจทษ์ให้ผู้เสียหาย 

เราก็ควรมีมาเก็ตติ้งของจังหวัดนั้น ๆ ที่สามารถทำการตลาดให้พื้นที่นั้น ๆ แข่งกัน หรือทำให้การแสดงแบบนี้มีเฉพาะพื้นที่ 

ตอนนี้จดไว้เท่านี้ไว้มาเขียนรายละเอียดอีกที 

Wednesday, December 9, 2020

เมื่อภาษาอังกฤษกลายเป็นเพียงทักษะสามัญ ไม่ใช่ความสามารถพิเศษอีกต่อไปใน ASEAN

เมื่อภาษาอังกฤษกลายเป็นเพียงทักษะสามัญ ไม่ใช่ความสามารถพิเศษอีกต่อไปใน ASEAN


การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN community) อย่างเป็นทางการของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มนับถอยหลังไปเหลืออีกไม่ถึง 1 ปี ความเปลี่ยนแปลงต่าง ในภูมิภาคคงไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลับ หรือจะทำให้เกิดความวุ่นวายจากกฎระเบียบที่เราต้องใช้ร่วมกับกับชาติอาเซียนอื่น ๆ อันที่จริงความเป็นอาเซียน หรือความร่วมมือต่าง ๆ ของอาเซียนได้เริ่มมานานแล้วตั้งแต่มีการเปิดการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เมื่อวันที่ 28 มกราคม 1992  เป็นต้นมาและพัฒนามาเป็นประชาคนอาเซียน สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนอยากเล่าให้ผู้อ่านได้รับทราบ เป็นเรื่องของ “ภาษาอังกฤษ” อันเป็นภาษาราชการอาเซียน ตามที่บัญญัติใน กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ข้อ 34 ว่า “The Working language of ASEAN shall be English” ซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่า “ภาษาอังกฤษ” ย่อมมีบทบาทในทุกมิติในอาเซียน อย่างไรก็ตาม “ภาษาอังกฤษของเราพร้อมแล้วหรือยัง” สำหรับอนาคตในอาเซียน นี่เป็นคำถามที่ชวนให้คิดและพิจารณา



ผมมีความคิดเห็นว่า การศึกษาภาษาอังกฤษหรือการแตกตื่นการเรียนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ณ ขณะนี้ เหมือนการแตกตื่นการเรียนภาษาอังกฤษของคนสิงคโปร์ ราวปี 1967 ซึ่งในยุคนั้นคนสิงคโปร์ที่พูดภาษาอังกฤษได้มีน้อยมาก รุ่นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายสมัยนั้นพูดภาษาจีนและมาเลย์ ส่วนลูกหลานเพิ่งจะเริ่มส่งเรียนภาษาอังกฤษทั้งในโรงเรียนและในโบสถ์ ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลส่งเสริมให้ทุกคนเรียนภาษาอังกฤษด้วยการเปิดหลักสูตรต่าง ๆ เรียนเป็นภาษาอังกฤษ  การที่สิงคโปร์กำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารพื้นฐานของประเทศ มีเหตุผลว่าเพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำเอนเอียงให้ความสำคัญแก่ชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่ง กล่าวคือ หากจะกำหนดภาษาจีนให้ทุกเชื้อชาติเรียนทั้งหมด ย่อมทำให้ชาวมาเลย์ ชาวอินเดีย ชาวทมิฬ ที่เป็นพลเมืองส่วนหนึ่งของประเทศไม่พอใจ หรือแม้จะให้ภาษาจีนบังคับให้ทุกคนเรียน จะดูเป็นการให้ความสำคัญแก่คนจีนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางที่จะลดแรงกระทบทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมของคนสิงคโปร์ได้ และทำให้พลเมืองไม่ต้องเสียเวลาไปเรียนทุกภาษาของทุกเชื้อชาติในสิงคโปร์ แม้จะมีการกล่าวว่า สิงคโปร์เป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน คนจึงพูดภาษาอังกฤษได้ ซึ่งความเป็นจริงแล้วในยุคอาณานิคม ชาวสิงคโปร์ไม่โดนถูกบังคับให้เรียนภาษาอังกฤษ ในทางกลับกันชาวสิงคโปร์เรียนภาษาอังกฤษ เพราะมองเห็นแล้วว่า หากพูดภาษาอังกฤษได้ย่อมหางานทำได้ ค้าขายกับต่างประเทศได้ สามารถศึกษาหาความรู้ได้อย่างกว้างขวาง ยกระดับฐานะทางสังคมได้ และไม่ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างเชื้อชาติ  นับจากปี 1967 ที่เด็กตัวเล็ก ๆ ชาวสิงคโปร์เริ่มเรียนภาษาอังกฤษ จนกระทั้งปัจจุบันนับเป็นเวลาเกือบ 50 ปี เด็กเหล่านั้นกลายเป็นผู้ใหญ่ที่พูดภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี และแน่นอนว่าชาวสิงคโปร์ที่เกิดในยุคหลังย่อมมีทักษะภาษาอังกฤษดีมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน หรืออาจเทียบได้กับประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (mother tongue)

          สำหรับประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ อย่างเช่นประเทศไทย ปัจจุบันทุกคนกำลังเร่งเรียนภาษาอังกฤษกันอย่างจ้าละหวั่น ในอดีตคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ ดูเหมือนจะได้รับการยกย่องจากสังคม การพูดภาษาอังกฤษดูเหมือนจะกระจุกเพียงในเมืองหลวงและเมืองท่องเที่ยวเท่านั้น เช่น พัทยา ภูเก็ต เป็นต้น อีกทั้งการพูดภาษาอังกฤษได้นั้นเป็นดุจความสามรถพิเศษที่ยากจะมีใครทำได้  แต่นับจากนี้ไปผลจากโลกาภิวัตน์และการเกิดประชาคมอาเซียนกำลังทลายความคิดแบบมายาคติเหล่านั้น และกำลังจะทำให้ความสามรถในการพูดภาษาอังกฤษเป็นเพียงทักษะสามัญที่พลเมืองอาเซียนต้องทำได้ไม่แตกต่างกันอีกต่อไป แม้ว่าทักษะการพูดภาษาอังกฤษจะไม่สามารถพัฒนาให้เก่งอย่างก้าวกระโดดในทันทีทันใด แต่เชื่อได้เลยว่า ต่อไปหากใครยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ย่อมกลายเป็นเกาะดำอย่างแน่นอน

โดย ณัฐพล จารัตน์ 

เขียนไว้เมื่อ 21 ธันวาคม 2557 

Monday, December 7, 2020

Starbucks coffee : กลยุทธ์ภาพลักษณ์ที่มากกว่าการดื่มกาแฟ


ใช่แล้วครับ ถ้ามองเฉพาะคุณค่าทางโภชนาการหรืออรรถประโยชน์ของกาแฟทุกชนิด พื้นฐานที่เราทราบ คือ มีกาแฟฉันช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทของเราตื่นตัว ไม่ให้หลับหรือง่วงนอน กาแฟแค่ปกติหรือแสนแพง ก็คนมีหน้าที่ของมันเช่นนั้น

"กาแฟ" ว่ากันว่าเป็นเครื่องดื่มของชาวอาหรับ ในดินแดนของเอธิโอเปียในปัจจุบัน บริเวณนี้ในยุคโบราณมีเนินเขาชื่อ คัฟเฟ (ภาษาต้นทางไม่ทราบว่าเขียนอย่างไร) มีต้นที่เราเรียกว่าต้นกาแฟนี่เเหละ เติบโตอยู่ ชาวพื้นเมืองจะน้ำเมล็ดคัฟเฟ และบดเป็นฝงคัฟเฟ ชงดื่มเพื่อนบรรเทาความอยากอาการ ซึ่ง "คัฟเฟ" มีรากความหมายแปลว่า "ทำให้ไม่หิว" นั่นหมายความว่าท่านต้องดื่มแบบขมๆ ไม่เติมน้ำตาลหรือนมถึงจะไม่อยากอาหารนะครับ  

พอมาถึงตรงนี้พอจะเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์กาแฟลดน้ำหนักได้ไหมครับ ที่บอกว่าดื่มแล้ว ทำให้ความอยากอาหารลดลง นั่นแหละครับ "คัฟเฟ" ตามความหมายของตัวกาแฟดังเดิม 

กาแฟอย่าง Starbucks มีหน้าที่มากกว่าการลดความหิว แต่กลับทำให้ชวนเพิ่มความหิวและเพิ่มภาพลักษณ์ของผู้ดื่ม เพิ่มความดูสมัยใหม่ โก้เก๋ จนกาแฟไม่ได้ทำหน้าที่หลักตามหลักทางโภชนาการหรือตามรากความหมายเดิม 

ท่านเชื่อไหม แค่ท่านโพสรูปกำลังคุยธุรกิจกับลูกค้า ในร้าน Starbucks (สำเร็จหรือเปล่าไม่ทราบ) คนที่เห็นก็มองถึงว่า งานนี้ดูสำเร็จไปแล้ว เรื่องที่คุยคงดูไม่ใช่เรื่องของคนยุคเบบี้บูมเมอร์ คุยกันเป็นแน่แท้ 

จะว่าไปคราวหน้าผมมาเขียนอธิบายเชิงเศรษฐวัฒนธรรม (Economical culture) 

Sunday, December 6, 2020

วิทยานิพนธ์กับการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

วันนี้มีอาทิตย์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่งติดต่อมาพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นนี้ ท่านบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญ และน่าจะเป็นการป้องกันทั้งผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษา ในยุคดิจิตัลต่างคนต่างอ้างกันไปทั่ว อย่างไรก็ตามมาตรฐานการสร้างความน่าเชื่อมั่นในข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลเชิงคุณภาพ ต้องรัดกุมที่กระบวนการวิจัย สามารถตอบข้อสงสัยทักกระบวนการอย่างชัดเจนและเคลียร์ 

(ภาพมาจาก http://km.prd.go.th/พ-ร-บ-คุ้มครองข้อมูลส่วน/ , สืบค้นเมื่อ 9/12/2563)

.....
เมื่อไม่นานมานี้ ลูกศิษย์เก่าท่านหนึ่งที่ผมเคยสอนสมัยที่เขาเรียนปริญญาตรี ซึ่งตอนนี้เขาเพิ่งจบปริญญาโททางด้านสังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มาขอคำปรึกษา เนื่องจากเขากำลังจะถูกร้องเรียนจากผู้เข้าร่วมการวิจัย (ผู้ให้ข้อมูลหลักในวิทยานิพนธ์) สาเหตุเกิดจากเขาได้เปิดเผยชื่อนามสกุลจริง อาชีพ ตำแหน่งงาน และสถานที่ทำงานปัจจุบันของผู้เข้าร่วมการวิจัยโดยไม่มีวิธีการปกปิดข้อมูลใด ๆ ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ลูกศิษย์คนดังกล่าวทำการวิเคราะห์และตีความคำสัมภาษณ์แบบใส่สีตีไข่เกินเจตนารมณ์ของผู้เข้าร่วมงงานวิจัย จึงทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับความเสียหายและโกรธมาก

ผมถามเขาว่า “อาจารย์ที่ปรึกษา (วิทยานิพนธ์) ของคุณได้แนะนำให้ขออนุญาตสัมภาษณ์ตามแนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนทางสังคมศาสตร์และ เคยได้ยินเกี่ยวกับพ.ร.บ. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่กำลังจะบังคับใช้หรือไม่”

ลูกศิษย์ตอบว่า “ได้ทำหนังสือขออนุญาตสัมภาษณ์เก็บข้อมูล แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการทำวิจัยในคนเพราะคิดว่าไม่ใช่การวิจัยทางการแพทย์ ส่วนเรื่อง พ.ร.บ. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่เคยได้ยินมาก่อน”....

อ่านต่อที่ บทความ

.....
Zero to one 

https://lnkd.in/gmq6FyF