Wednesday, April 14, 2021
Saturday, April 10, 2021
ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๓ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว (ส่วนที่ ๒ การปฏิบัติตนต่อผู้บังคับบัญชาและผู้พิพากษา)
ส่วนที่ ๒ การปฏิบัติตนต่อผู้บังคับบัญชาและผู้พิพากษา
ข้อ ๓๕ ผู้ประนีประนอมพึงให้เกียรติและนับถือ ตลอดจนปฏิบัติตาม คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้พิพากษาและผู้รับผิดชอบราชการศาล ที่ตนสังกัดอยู่
คำอธิบาย
ผู้รับผิดชอบราชการศาลที่ผู้ประนีประนอมสังกัดอยู่ ถือเป็นผู้บังคับ บัญชาของผู้ประนีประนอม ส่วนผู้พิพากษาเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ดังนั้น ผู้ประนีประนอมพึงให้เกียรตินับถือ และ เชื่อฟัง ทั้งต้องปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้พิพากษาและ ผู้รับผิดชอบราชการศาลนั้นด้วย หากมีข้อสงสัยในคำสั่งอย่างไร ก็ควร สอบถามหรือปรึกษาผู้ออกคำสั่งให้ได้ความเสียก่อน เพราะอาจเกิดจาก ความเข้าใจผิดก็ได้
ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf
ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๓ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว (ส่วนที่ ๑ การดำรงตน)
หมวดที่ ๓ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว
ส่วนที่ ๑ การดำรงตน
ข้อ ๑๖ ผู้ประนีประนอมจักต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย อยู่ใน กรอบศีลธรรมและจริยธรรม ทั้งพึงวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของ บุคคลทั่วไป
คำอธิบาย
ผู้ประนีประนอมต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย อยู่ในกรอบ ศีลธรรม ไม่หมกมุ่นมัวเมาอยู่กับอบายมุข วางตนให้สมฐานะ รักษาชื่อเสียง และเกียรติศักดิ์แห่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไป
ข้อ ๑๗ ผู้ประนีประนอมจักต้องปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วย กฎหมายของผู้รับผิดชอบราชการศาล และองค์คณะผู้พิพากษา
คำอธิบาย
ผู้ประนีประนอมทำงานในระบบของศาลยุติธรรม โดยมีผู้รับผิดชอบ ราชการศาลแต่ละศาลเป็นผู้บริหารและผู้บังคับบัญชา นอกจากนั้น คดีความ ที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย อาจมีผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะรับผิดชอบ สำนวนคดีมีหน้าที่ดูแลการพิจารณาพิพากษาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการไกล่เกลี่ยนั้นเป็นการดำเนินการส่วนหนึ่งของ การพิจารณาพิพากษาคดีจึงอยู่ในความรับผิดชอบและการดูแลขององค์คณะ ผู้พิพากษาด้วย ดังนั้น เมื่อผู้รับผิดชอบราชการศาลหรือองค์คณะผู้พิพากษามีคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายให้ผู้ประนีประนอมทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติหน้าที่ผู้ประนีประนอมต้องปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ข้อ ๑๘ ผู้ประนีประนอมจักต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้รับผิดชอบ ราชการศาลหรือองค์คณะผู้พิพากษามอบหมายโดยเคร่งครัด มีความ อุตสาหะ อุทิศเวลาของตนให้แก่การปฏิบัติหน้าที่ จะละทิ้งหรือทอดทิ้ง หน้าที่มิได้
คำอธิบาย
การไกล่เกลี่ยเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องใช้ความอุตสาหะในการ ทำความเข้าใจข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อพิพาทและคู่ความที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อพิพาทบางเรื่องยากแก่การทำความเข้าใจ หรือบางเรื่อง คู่ความมีความไม่เข้าใจกันจนทำให้การเจรจาไม่อาจทำได้โดยง่าย การที่จะ ไกล่เกลี่ยให้ประสบผลสำเร็จ จึงจำเป็นต้องใช้ความอุตสาหะของผู้ประนี ประนอมในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้การ ไกล่เกลี่ยยังอาจต้องใช้เวลากว่าจะทำให้คู่ความเข้าใจปัญหาและความ ต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง ตลอดจนการหาข้อตกลงหรือเงื่อนไขที่ทุกฝ่าย พึงพอใจ เนื่องจากต้องให้เวลาคู่ความในการพิจารณาไตร่ตรองหรือให้คู่ความ คลายความรู้สึกที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันจนสามารถรอมชอมกันได้ผู้ประนี ประนอมจึงต้องอุทิศตน แม้จะต้องใช้เวลาและนัดไกล่เกลี่ยหลายครั้งก็ตาม
ข้อ ๑๙ ผู้ประนีประนอมจักต้องศึกษาและเตรียมการปฏิบัติหน้าที่ ในคดีของตนไว้ให้พร้อมก่อนดำเนินการไกล่เกลี่ย
คำอธิบาย
ผู้ประนีประนอมต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องที่พิพาทและ เตรียมการปฏิบัติหน้าที่ในคดีของตนไว้ให้พร้อมก่อนดำเนินการไกล่เกลี่ยโดยรวบรวมข้อมูล ทำความเข้าใจเนื้อหาของคดีเพื่อให้สามารถดำเนินการ ไกล่เกลี่ยได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม การศึกษาข้อมูลของคดีถือเป็นการ เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ที่จำเป็น เนื่องจากบางคดีอาจจะมี ปัญหาที่สลับซับซ้อน และอาจมีประเด็นปัญหาหลายเรื่องที่ผู้ประนีประนอม ไม่มีข้อมูลหรือความเข้าใจเพียงพอ ผู้ประนีประนอมต้องแสวงหาข้อมูลที่ จำเป็นเพื่อที่จะทำให้ผู้ประนีประนอมเข้าใจประเด็นปัญหาที่คู่ความอาจยก ขึ้นในระหว่างการไกล่เกลี่ย การที่ผู้ประนีประนอมขาดความพร้อมจนทำให้ ไม่เข้าใจประเด็นปัญหา อาจมีผลให้คู่ความหรือทนายความขาดความเชื่อถือได้
ข้อ ๒๐ ผู้ประนีประนอมจักต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และด้วยความระมัดระวัง
คำอธิบาย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้คำนิยามคำว่า “ซื่อสัตย์” ไว้ว่า : “ประพฤติตรง และจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง และ ไม่หลอกลวง” และให้คำนิยามคำว่า “สุจริต” ว่า : “ความประพฤติชอบ”
ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณลักษณะสำคัญที่สุดข้อหนึ่งที่ผู้ประนีประนอม ต้องยึดถือและปฏิบัติซึ่งความซื่อสัตย์สุจริตนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้น มีสัจจะทั้งกาย วาจา ใจ ใจยึดมั่นจะทำแต่สิ่งที่ชอบ ไม่ประสงค์ในสิ่งซึ่ง ไม่พึงมีพึงได้ความซื่อสัตย์สุจริตถือเป็นคุณธรรมที่สำคัญของศาลยุติธรรมที่ บุคลากรทุกคนจำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การปฏิบัติหน้าที่ของ ผู้ประนีประนอมที่ปราศจากความซื่อสัตย์สุจริต ย่อมส่งผลกระทบต่อเกียรติภูมิ ของศาลยุติธรรมอย่างร้ายแรง
ผู้ประนีประนอมต้องตระหนักว่าการปฏิบัติหน้าที่ของตนมีความสำคัญ ในการอำนวยความยุติธรรมและช่วยเหลือประชาชนที่มีความทุกข์ความ เดือดร้อนจากอรรถคดีต่าง ๆ ผลกระทบของคดีความและข้อตกลงในการ ประนีประนอมยอมความย่อมส่งผลโดยตรงต่อคู่ความ ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยด้วยความระมัดระวัง เพื่อช่วยให้คู่ความบรรลุ ข้อตกลงที่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างแท้จริงและไม่ทำให้เกิดปัญหาอื่น
ข้อ ๒๑ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้รับผิดชอบ ราชการศาล หรือองค์คณะผู้พิพากษา การรายงานโดยปกปิดข้อความที่ ควรต้องบอกถือว่าเป็นรายงานเท็จด้วย
คำอธิบาย
ผู้ประนีประนอมปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับศาลและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ พิจารณาคดีดังนั้น การรายงานหรือให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้รับผิดชอบราชการศาล หรือองค์คณะผู้พิพากษา จึงต้องไม่เป็นเท็จและถูกต้องตรงความเป็นจริง เพราะจากการรายงานหรือให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนนั้น ย่อมเกิด ความเสียหายแก่ราชการและประชาชนที่มีอรรถคดีได้การรายงานเท็จ ในกรณีนี้รวมถึงการให้ข้อมูลที่นอกเหนือไปจากคดีความโดยตรงด้วย เช่น การให้ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีเกี่ยวกับผู้ประนีประนอมคนอื่นหรือบุคลากร ในศาล ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน หรือการให้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการปฏิบัติ หน้าที่ของข้าราชการศาล ความประพฤติตลอดจนการมีส่วนได้ส่วนเสียในคดี ของผู้ประนีประนอมคนอื่น ทั้งนี้การปกปิดข้อมูลใดที่ควรบอกอาจถือว่า เป็นการรายงานเท็จด้วยก็ได้หากผลของการปกปิดนั้นทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง สำคัญผิดเกี่ยวกับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเหล่านั้น
ข้อ ๒๒ ผู้ประนีประนอมจักต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็น ผู้ประพฤติชั่ว ไม่ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมา จนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอื่นใดซึ่งความประพฤติหรือการกระทำดังกล่าวอาจทำให้ เสื่อมเสียแก่ศาลยุติธรรม
คำอธิบาย
การกระทำและความประพฤติของผู้ประนีประนอมไม่ว่าจะในเวลา ราชการหรือนอกเวลาราชการ ล้วนเป็นข้อสำคัญ ยิ่งประพฤติตนดีก็ยิ่ง ได้รับความนับถือมากขึ้น แต่หากประพฤติไม่ดีย่อมได้รับคำติฉินนินทา ขาด ความนับถือ และกระทบต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ ศาลยุติธรรม ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้องประพฤติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย และทำนองคลองธรรม ไม่ประพฤติชั่ว และไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข เช่น เป็น คนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้เล่นการ พนัน กระทำความผิดทางอาญา คบหาสมาคมกับผู้ประพฤติผิดกฎหมาย หรือผู้มีความประพฤติในทางเสื่อมเสีย เป็นต้น
ข้อ ๒๓ ผู้ประนีประนอมจักต้องอยู่ในมารยาทอันดีงาม และใช้กิริยา วาจาสุภาพ แก่คู่ความทุกฝ่าย ขณะดำเนินการไกล่เกลี่ย
คำอธิบาย
ผู้ประนีประนอมต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยด้วยมารยาทอันดีงาม ใช้ วาจาสุภาพ ไม่ข่มขู่ หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือ สร้างความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน การใช้วาจาสุภาพนี้รวมถึงการใช้ถ้อยคำที่ เหมาะสมโดยไม่กระทบกระเทียบเปรียบเปรย รวมตลอดทั้งน้ำเสียงและ กิริยาท่าทางด้วย
ข้อ ๒๔ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่กระทำการใด ๆ อันอาจเป็นเหตุ ให้การพิจารณาพิพากษาคดีขาดความเป็นอิสระหรือความยุติธรรม
คำอธิบาย
การทำหน้าที่ของผู้ประนีประนอมถือเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาคดี ผู้ประนีประนอมจึงต้องไม่กระทำการใด ๆ อันจะเป็นการกระทบกระเทือน ต่อการพิจารณาพิพากษาคดีในประการที่อาจทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลขาดความเป็นอิสระหรือเสียความยุติธรรม เช่น ไม่ใช้อิทธิพลก้าวก่าย สร้างความเกรงใจ จูงใจให้ความเห็น รวมทั้งต้องไม่ใช้โอกาสที่ตนปฏิบัติ หน้าที่ผู้ประนีประนอมในการแทรกแซงหรือโน้มน้าวการพิจารณาพิพากษาคดี ที่ตนหรือบุคคลที่ตนรู้จักเป็นคู่ความ มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ อยู่ด้วย
ข้อ ๒๕ ผู้ประนีประนอมจักต้องละเว้นการกล่าวถึงคดีที่อาจกระทบ กระเทือนต่อบุคคลใด และไม่วิจารณ์หรือให้ความเห็นแก่บุคคลภายนอก เกี่ยวกับคดีที่อยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ย หรือจะเข้าสู่การพิจารณาคดี
คำอธิบาย
การที่ผู้ประนีประนอมวิจารณ์หรือให้ความเห็นเกี่ยวกับคดีอาจทำให้ บุคคลภายนอกเข้าใจไปได้ว่าคำวิจารณ์หรือความเห็นดังกล่าว เป็นความเห็น ของศาลหรือองค์คณะผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ทั้งยังอาจทำให้ บุคคลภายนอกล่วงรู้ถึงข้อเท็จจริงในคดีหรือข้อมูลในการไกล่เกลี่ยที่เป็น ความลับ นอกจากนี้ยังอาจทำให้บุคคลภายนอกที่รับฟังข้อวิจารณ์หรือความเห็น ดังกล่าว เกิดความระแวงสงสัยในความเป็นกลางของผู้ประนีประนอมด้วย ผู้ประนีประนอมจึงต้องระมัดระวังไม่วิจารณ์หรือให้ความเห็นใด ๆ เว้นแต่ เป็นการแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ทางวิชาการในการศึกษาและพัฒนา องค์ความรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย อย่างไรก็ตาม การแสดงความคิดเห็นเพื่อ ประโยชน์ทางวิชาการดังกล่าว ควรละเว้นการกล่าวถึงตัวบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อมิให้เกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้น
นอกจากนี้แม้ในกรณีที่ยังไม่เป็นคดีความ แต่อาจจะเป็นคดีขึ้นได้ ก็ไม่พึงวิจารณ์หรือให้ความเห็นเช่นกัน เพราะการวิจารณ์หรือให้ความเห็น ดังกล่าว อาจทำให้ผู้รับฟังเข้าใจผิดว่าเป็นผลของคดีที่จะเกิดขึ้น หากมีการ นำกรณีนั้นไปฟ้องต่อศาล ทั้งยังอาจทำให้เกิดความระแวงสงสัยในความเป็นกลาง ได้เช่นเดียวกัน
ข้อ ๒๖ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่ให้ข่าว อภิปราย หรือแสดงความ คิดเห็นใด ๆ ต่อสาธารณชน อันอาจกระทบกระเทือนต่อศาลยุติธรรมหรือ ฝ่ายอื่น
คำอธิบาย
การให้ข่าว อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณชน โดยปกติ สามารถกระทำได้ในขอบเขตของกฎหมาย แต่ทั้งนี้ต้องระมัดระวังมิให้ กระทบกระเทือนหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาลยุติธรรม บุคคลหรือ หน่วยงานใด เช่น หากเป็นการบรรยาย สอน หรืออบรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ การไกล่เกลี่ยตามโครงการของสำนักงานศาลยุติธรรมย่อมสามารถกระทำได้ เพราะมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ แต่หากพาดพิงไปถึงประเด็น ทางการเมืองในทำนองเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่ง หรือกระทบกระเทียบเปรียบเปรยหน่วยงานฝ่ายอื่นใน ทางเสียหายย่อมกระทำมิได้ทั้งนี้การไม่ให้ข่าว อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็น ใด ๆ ต่อสาธารณชนนั้น รวมถึงการแจกจ่าย เผยแพร่ แถลง ชี้แจงข่าว และ การให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน ตลอดจนพูดออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ด้วย
อนึ่ง คำว่า“สื่อมวลชน”หมายความว่า หนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์สำนักข่าวสาร หรือสื่ออื่น ๆ ที่ไปถึงมวลชนด้วย ดังนั้น การให้ข่าวสารรวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อันอาจกระทบกระเทือนต่อศาลยุติธรรม การพิจารณาพิพากษาคดีหรือฝ่ายอื่น จึงไม่อาจกระทำได้เช่นกัน
ข้อ ๒๗ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบหรือ ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ความเป็นผู้ประนีประนอมของตนแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ
คำอธิบาย
การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้เสื่อมเสียความ ยุติธรรม และทำให้บุคคลทั่วไปไม่เชื่อถือศรัทธาในตัวผู้ประนีประนอม ซึ่ง นอกจากผู้ประนีประนอมต้องไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบแล้ว ยังต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น และระมัดระวังมิให้ ผู้อื่นอ้างชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่ของตนเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ไม่ว่าจะ เป็นในทางคดีหรือในทางอื่นใดด้วย
ข้อ ๒๘ ผู้ประนีประนอมและคู่สมรสจักต้องไม่รับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ จากคู่ความหรือจากบุคคลอื่นใด อันเกี่ยวเนื่องกับการ ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประนีประนอม และจักต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัว ปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย
คำอธิบาย
ผู้ประนีประนอมและคู่สมรสต้องไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากคู่ความหรือบุคคลอื่น อันเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการไกล่เกลี่ย ของผู้ประนีประนอม และต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัวปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย
ข้อ ๒๙ ผู้ประนีประนอมพึงมีความสุภาพเรียบร้อย แต่งกายสุภาพ และถูกต้องตามกาลเทศะ มีอัธยาศัยอันดีงามแก่บุคคลทั่วไป
คำอธิบาย
ผู้ประนีประนอมควรมีความสุภาพเรียบร้อย แต่งกายสุภาพ ถูกต้อง ตามกาลเทศะ ให้ความเคารพต่อสถานที่ราชการ เช่น มาปฏิบัติหน้าที่ต้อง แต่งกายเรียบร้อย ไม่สวมรองเท้าแตะ และควรมีอัธยาศัยไมตรีต่อบุคคล ทั่วไป พึงแสดงความมีน้ำใจ อ่อนโยนต่อบุคคลอื่น
ข้อ ๓๐ ผู้ประนีประนอมพึงศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ และพึงเสริมสร้างทักษะในการปฏิบัติงาน ด้วยการนำความรู้ในด้านต่าง ๆ มาพัฒนาตนเอง เพื่อให้การปฏิบัติงาน เป็นไปโดยถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
คำอธิบาย
การที่ผู้ประนีประนอมหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ย่อม เป็นการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความรู้ทันต่อเหตุการณ์ ทั้งเป็นประโยชน์ต่อ การปฏิบัติหน้าที่ เพราะสามารถนำความรู้ที่ได้เช่น เทคนิค วิธีการไกล่เกลี่ย แต่ละรูปแบบมาใช้กับข้อพิพาทแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม ทำให้การ ไกล่เกลี่ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถระงับข้อพิพาทได้ด้วยความ พอใจของทุกฝ่าย
ข้อ ๓๑ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ แตกความสามัคคีระหว่างผู้ร่วมงาน และพึงส่งเสริมความสามัคคีใน หมู่คณะ
คำอธิบาย
การกระทำอันเป็นเหตุให้แตกความสามัคคีเช่น ยุยง ให้ร้าย แบ่งพรรค แบ่งพวก ทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ การทำงานร่วมกันไม่เป็นไป ด้วยความเรียบร้อย ขาดความร่วมมือร่วมใจในการประสานงาน และขาด ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วย ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้องไม่กระทำ การใดๆ อันเป็นเหตุให้แตกความสามัคคีระหว่างผู้ร่วมงาน พึงส่งเสริมความ สามัคคีปรองดอง สร้างบรรยากาศที่ดีโดยต่างฝ่ายต่างต้องเคารพและ ปรารถนาดีต่อกัน ยึดมั่นในความเที่ยงธรรม และบำเพ็ญตนอยู่ในกรอบของ กฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรมแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด
ข้อ ๓๒ ผู้ประนีประนอมจักต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการ ปฏิบัติหน้าที่ และมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ๆ
คำอธิบาย
ผู้ประนีประนอมพึงแสดงความมีน้ำใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ไม่ข่มผู้อื่นในทีว่าตนเหนือกว่า และต้องระมัดระวังในการใช้คำพูดหรือการ แสดงออกด้วยกริยาท่าทาง เพราะบางคำพูดหรือการแสดงกริยาที่ไม่สุภาพ เรียบร้อย อาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจไปได้ว่าถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม
ข้อ ๓๓ ผู้ประนีประนอมพึงละเว้นการคบหาสมาคมกับคู่ความหรือ บุคคลซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับคดีความ หรือผู้ซึ่งมีความประพฤติใน ทางเสื่อมเสีย อันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือของบุคคลทั่วไป
คำอธิบาย
การที่ผู้ประนีประนอมจะเข้าไปคบหาสมาคมหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรม ใด ๆ กับคู่ความ หรือบุคคลซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับคดีในศาลที่ตน ปฏิบัติหน้าที่ หรือผู้ซึ่งมีความประพฤติในทางเสื่อมเสีย ย่อมส่งผลกระทบต่อ การปฏิบัติหน้าที่ และเสื่อมเสียต่อความเชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไปที่มีต่อ ศาลยุติธรรม เนื่องจากผู้ประนีประนอมต้องปฏิบัติหน้าที่ในศาลยุติธรรมและ เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงควรละเว้นการคบหา สมาคมกับบุคคลดังกล่าว
ข้อ ๓๔ ผู้ประนีประนอมไม่พึงขอรับเงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใด จากหน่วยงานหรือบุคคลภายนอก ในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือน ต่อศาลยุติธรรม เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการตามระเบียบ คำสั่ง หรือมติ ว่าด้วยการนั้น
คำอธิบาย
การขอหรือรับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก นอกจากจะเป็น เรื่องที่ไม่เหมาะสมแล้ว ยังจะต้องระมัดระวังในเรื่องชื่อเสียงของศาลด้วย เพราะผู้ให้ก็อาจจะให้ด้วยความเกรงใจ สุดท้ายจะนำมาสู่ความเสื่อมเสียแก่ ศาลยุติธรรมมากกว่าความดียิ่งกว่านั้นก็จะกระทบกระเทือนความรู้สึกของ บุคลากรของหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ เพราะหน่วยงานต้นสังกัดของตน ต้องมอบงบประมาณให้แก่ศาลยุติธรรม ทั้งที่งบประมาณเหล่านั้นควรนำ ไปใช้ในหน่วยงานของตนยิ่งกว่า และหากหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณมี คดีความมาสู่ศาลด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้กระทบกระเทือนถึงความเชื่อมั่นศรัทธา ของบุคคลทั่วไป เพราะศาลนอกจากต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระแล้ว จะต้อง แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าได้ปฏิบัติเช่นนั้นอย่าง เคร่งครัดด้วย
ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf
ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๗ การโฆษณาและการเชิญชวน)
ส่วนที่ ๗ การโฆษณาและการเชิญชวน
ข้อ ๑๔ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่อวดอ้างการที่ตนเป็นผู้ประนี ประนอม หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น
คำอธิบาย
การอวดอ้างความเป็นผู้ประนีประนอมต่อบุคคลภายนอกหรือสังคม เป็นกรณีที่จะกระทำไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นการอวดอ้างเพื่อแสวงหาประโยชน์ใด ๆ หรือไม่ก็ตาม เนื่องจากบุคคลภายนอกหรือสังคมอาจเข้าใจได้ว่าการกระทำ ของผู้ที่อวดอ้างนั้น มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวพันกับศาลยุติธรรมด้วย และยิ่ง หากเป็นการอวดอ้างเพื่อทำให้ตนเองได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นข้อที่ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบ หรือทำให้ตนเองได้รับการปฏิบัติที่ พิเศษที่ปกติจะไม่ได้รับหากไม่มีการอวดอ้างดังกล่าวแล้ว ยิ่งทำให้เกิดความ เสื่อมเสียแก่การเป็นผู้ประนีประนอมและศาลยุติธรรม นอกจากนี้ผู้ประนี ประนอมจะต้องระมัดระวังไม่ให้บุคคลอื่นนำสถานภาพความเป็นผู้ประนี ประนอมของตนไปใช้อวดอ้าง ไม่ว่าในทางใด ๆ ด้วย หากผู้ประนีประนอม รู้ว่ามีบุคคลใดที่กระทำการในลักษณะดังกล่าว ผู้ประนีประนอมต้องตักเตือน หรือแจ้งให้บุคคลนั้นยุติการกระทำที่เป็นการอวดอ้างเสีย
ข้อ ๑๕ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่โฆษณาหรือเชิญชวนเพื่อให้ตน ได้เป็นผู้ประนีประนอม และไม่พึงรับรองว่าคู่ความจะตกลงกันได้หรือจะ เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งแก่คู่ความ
คำอธิบาย
ผู้ประนีประนอมต้องไม่เผยแพร่ต่อสาธารณชน เชิญชวน หรือกระทำ การใด ๆ เพื่อให้ตนเองได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประนีประนอม การทำข้อตกลง ประนีประนอมยอมความถือเป็นความสมัครใจและความยินยอมของคู่ความ ผู้ประนีประนอมไม่สามารถให้คำรับรองใด ๆ แก่คู่ความ ไม่ว่าจะเป็นการให้ คำมั่นหรือรับประกันว่าคู่ความจะตกลงกันได้หรือให้สัญญาว่าจะเกิดผล อย่างใดอย่างหนึ่งที่สมประโยชน์แก่คู่ความ การกระทำในลักษณะดังกล่าวจึง เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของผู้ประนีประนอม และอาจทำให้คู่ความเกิดความ เข้าใจผิด
ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf
ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๖ ค่าตอบแทน)
ส่วนที่ ๖ ค่าตอบแทน
ข้อ ๑๒ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่เรียก รับ หรือยอมจะรับ ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่เป็นกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดให้กระทำได้
คำอธิบาย
การที่คู่ความยินยอมเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยของศาล เป็นเพราะเชื่อมั่น ว่าการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจะดำเนินไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นกลาง ผู้ประนีประนอมจึงต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการบั่นทอนความเชื่อมั่น ดังกล่าว หากผู้ประนีประนอมเรียกผลประโยชน์ใด ๆ จากคู่ความฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดหรือจากบุคคลใดเพื่อตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือแม้แต่ เพียงรับหรือยอมจะรับผลประโยชน์ใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว ไม่ว่าจะ เป็นการเรียก รับ หรือยอมจะรับค่าตอบแทนหากไกล่เกลี่ยสำเร็จ หรือการ เรียก รับ หรือยอมจะรับประโยชน์ใด ๆ โดยอาศัยการเป็นผู้ประนีประนอม ย่อมก่อให้เกิดความระแวงสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นกลาง ดังนั้น จึงห้ามมิให้ผู้ประนีประนอมเรียก รับ หรือยอมจะรับค่าตอบแทนหรือ ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่เป็นกรณีที่มี กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดวางไว้ให้กระทำได้เท่านั้น เช่น ระเบียบ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๔๔ และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้น
ข้อ ๑๓ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่ให้ หรือตกลงว่าจะให้ค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้แนะนำ หรือผู้ส่งข้อพิพาทให้ตนดำเนินการไกล่เกลี่ย
คำอธิบาย
การปฏิบัติหน้าที่ผู้ประนีประนอมถือเป็นการทำประโยชน์ให้แก่สังคม และอำนวยความยุติธรรมแก่คู่ความโดยการยุติข้อพิพาทด้วยความพอใจของ ทุกฝ่าย การให้ผู้ประนีประนอมไกล่เกลี่ยคดีใดคดีหนึ่งเป็นเพราะได้รับ มอบหมาย โดยพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และทักษะของผู้ประนี ประนอมเกี่ยวกับคดีนั้น มิใช่เกิดจากการให้หรือรับว่าจะให้ค่าตอบแทน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใด แก่ตัวแทน นายหน้า หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพื่อให้ส่งข้อพิพาทมาให้ตนหรือพวกของตนไกล่เกลี่ย
ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf
ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๕ ความรู้ความสามารถ)
ส่วนที่ ๕ ความรู้ความสามารถ
ข้อ ๑๑ ผู้ประนีประนอมพึงทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเฉพาะเรื่องที่ตน มีคุณสมบัติและทักษะเพียงพอที่จะช่วยให้กระบวนการไกล่เกลี่ยดำเนินไปได้
คำอธิบาย
ข้อพิพาทบางเรื่อง เช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับงานออกแบบ ก่อสร้าง วิศวกรรม สถาปัตยกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา การลงทุนระหว่างประเทศ หรือข้อพิพาทในคดีครอบครัว อาจมีประเด็นที่ยุ่งยากหรือสลับซับซ้อน จำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะเป็นพิเศษจึงจะสามารถไกล่เกลี่ยได้ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงไม่ควรรับไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรื่องใด ๆ หากเห็นว่าตนไม่มี คุณสมบัติหรือทักษะที่จำเป็นสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรื่องนั้น เพราะ อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือส่งผลเสียต่อคู่ความที่เกี่ยวข้องได้ใน กรณีดังกล่าวผู้ประนีประนอมควรแจ้งผู้รับผิดชอบราชการศาล หรือองค์คณะ ผู้พิพากษาทราบ
ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf
ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๔ การรักษาความลับ)
ส่วนที่ ๔ การรักษาความลับ
ข้อ ๑๐ ผู้ประนีประนอมจักต้องเก็บรักษาบรรดาข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการไกล่เกลี่ย หรือที่ตนได้รู้เห็นมา อันเนื่องจากการทำหน้าที่ผู้ประนีประนอมไว้เป็นความลับ เว้นแต่คู่ความจะ ตกลงกันเป็นอย่างอื่น เป็นกรณีที่ต้องเปิดเผยตามที่กฎหมายกำหนด หรือ เพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินการหรือบังคับตามสัญญาประนีประนอม ยอมความ
คำอธิบาย
กระบวนการไกล่เกลี่ยมีการดำเนินการที่เป็นความลับ เนื่องจาก ประสงค์ให้คู่ความสามารถพูดคุยและเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาท ได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งเสนอเงื่อนไขหรือทางออกสำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องระแวงว่าข้อมูลที่เปิดเผยไปนั้นจะส่งผลเสียต่อรูปคดีหรือชื่อเสียง ผลประโยชน์ได้เสียของตนไม่ว่าในทางใด ๆ ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้อง รักษาข้อมูลที่ได้รับจากคู่ความไว้เป็นความลับอย่างเคร่งครัด ไม่แพร่งพราย ให้บุคคลภายนอกทราบ เว้นแต่คู่ความตกลงกันให้เปิดเผยได้เช่น คู่ความอาจ ยินยอมให้ศาลนำข้อมูลหรือภาพเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยที่ทำขึ้นไปใช้เพื่อ ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แก่การศึกษาอบรม หรือเป็นกรณีที่กฎหมาย บังคับให้เปิดเผยข้อมูลนั้น ซึ่งทำให้ต้องเปิดเผยข้อมูลตามหน้าที่ที่กฎหมาย กำหนด หรือเป็นการเปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ของการดำเนินการ หรือบังคับ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เช่น เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการตีความว่า ข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นมีความหมายอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อ ให้การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นสอดคล้องกับความ ประสงค์ของคู่ความ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ประนีประนอมอาจสื่อสารสาระสำคัญของข้อมูลที่ เห็นว่าจำเป็นและสำคัญที่จะช่วยให้คู่ความสามารถเจรจาตกลงกันได้ให้ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบ เว้นแต่เป็นข้อมูลที่คู่ความได้ระบุว่าเป็นข้อมูลที่ เปิดเผยให้เฉพาะผู้ประนีประนอมทราบเท่านั้น
ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf
ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๓ ความขัดแย้งในผลประโยชน์)
ส่วนที่ ๓ ความขัดแย้งในผลประโยชน์
ข้อ ๘ ไม่ว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยจะดำเนินไปแล้วเพียงใด ผู้ประนีประนอมจักต้องเปิดเผยความขัดแย้งในผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือที่อาจเกิดขึ้นตามที่ตนทราบทั้งหมด ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และคู่ความทราบ
ความขัดแย้งในผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึง
(๑) การกระทำหรือความสัมพันธ์ที่อาจก่อให้ผู้ประนีประนอมเกิดอคติ
(๒) การที่ผู้ประนีประนอมมีผลประโยชน์ไม่ว่าโดยตรงหรือ โดยอ้อมในเรื่องที่เกี่ยวกับข้อพิพาทซึ่งตนดำเนินการไกล่เกลี่ย
(๓) การที่ผู้ประนีประนอมมีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางการเงิน ธุรกิจ วิชาชีพ ครอบครัว หรือทางสังคม กับคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง
คำอธิบาย
กรณีที่ผลประโยชน์ซึ่งผู้ประนีประนอมมีอยู่เป็นการส่วนตัว อาจขัดแย้ง กับผลประโยชน์ของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย ทำให้ผู้ประนี ประนอมเกิดอคติในทางที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่คู่ความ และทำให้คู่ความ เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อศาลยุติธรรมไปด้วย ดังนั้น หากผู้ประนีประนอมมี ความขัดแย้งในผลประโยชน์ใด ๆ ที่อาจทำให้ผู้ประนีประนอมเกิดอคติมี ผลประโยชน์ได้เสียไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม หรือมีความสัมพันธ์ ทางการเงิน ธุรกิจ วิชาชีพ ครอบครัว หรือทางสังคมกับคู่ความมาก่อน เช่น เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ ที่ปรึกษาบริษัทของคู่ความ หรือเป็นลูกหนี้เงินกู้ของ คู่ความ ผู้ประนีประนอมจักต้องเปิดเผยความขัดแย้งในผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดขึ้นดังกล่าว ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และ คู่ความทราบ ทั้งนี้ เพื่อคู่ความจะได้มีโอกาสคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่และ กันข้อครหาที่อาจเกิดขึ้น แต่หากคู่ความทราบข้อมูลดังกล่าวแล้วไม่ติดใจ คัดค้าน ผู้ประนีประนอมย่อมสามารถทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยต่อไปได้
ข้อ ๙ ผู้ประนีประนอมไม่พึงรับทำการงานใด ๆ ให้แก่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งที่ตนไกล่เกลี่ย ไม่ว่าการไกล่เกลี่ยนั้นจะสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ เว้นแต่คู่ความทุกฝ่ายจะให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ผู้ประนีประนอมทำการงานใด ๆ ในระหว่างที่กระบวนการไกล่เกลี่ยยังไม่สิ้นสุด ผู้ประนีประนอมจักต้อง เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และคู่ความทราบ
คำอธิบาย
การรับทำการงานให้แก่คู่ความเป็นอีกกรณีหนึ่งที่อาจทำให้คู่ความ อีกฝ่ายหรือบุคคลภายนอกระแวงสงสัยในความสุจริตและความเป็นกลางของ ผู้ประนีประนอม ไม่ว่าการงานที่รับทำนั้นจะเป็นอาชีพที่ผู้ประนีประนอมทำ เป็นปกติอยู่แล้ว หรือเป็นการรับทำการงานภายหลังการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง หรือไม่ก็ตาม เนื่องจากคู่ความหรือบุคคลภายนอกอาจเข้าใจว่าเป็นผล ประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ประนีประนอม อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ให้ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้ผู้ประนีประนอมจึงไม่ ควรรับทำการงานใด ๆ ให้แก่คู่ความ เว้นแต่คู่ความทุกฝ่ายจะให้ความยินยอม เป็นลายลักษณ์อักษร และหากคู่ความให้ผู้ประนีประนอมทำการงานใด ๆ ในระหว่างที่กระบวนการไกล่เกลี่ยยังไม่สิ้นสุด ผู้ประนีประนอมจะต้องเปิดเผย ข้อเท็จจริงดังกล่าว ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และ คู่ความทราบ เพื่อให้มีการคัดค้าน หรือยืนยันการทำหน้าที่ หรือถอนตัวจาก การเป็นผู้ประนีประนอม
ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf
ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๒ ความเป็นกลาง)
ส่วนที่ ๒ ความเป็นกลาง
ข้อ ๕ ผู้ประนีประนอมจักต้องวางตนเป็นกลางในการไกล่เกลี่ย ทั้งจักต้องไม่ทำให้คู่ความสงสัยว่าฝักใฝ่ช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
คำอธิบาย
ศาลยุติธรรมเป็นสถาบันหลักในการอำนวยความยุติธรรมแก่คู่ความ ทุกฝ่ายด้วยความเป็นกลางและเสมอภาค ซึ่งการทำหน้าที่ผู้ประนีประนอม ในศาล ถือเป็นส่วนหนึ่งของการอำนวยความยุติธรรมให้แก่คู่ความด้วย ดังนั้น การดำเนินการไกล่เกลี่ยของผู้ประนีประนอม จึงต้องยึดหลักความเป็นกลาง อย่างเคร่งครัด กล่าวคือ ผู้ประนีประนอมจะต้องไม่พูดหรือแสดงออกใน ลักษณะที่เป็นการเข้าข้างคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และต้องปฏิบัติต่อคู่ความ ทุกฝ่ายเสมอเหมือนกัน ทั้งนี้จะต้องมิให้คู่ความรู้สึกว่าตนได้รับการปฏิบัติ ที่ด้อยกว่าผู้อื่น และเชื่อถือได้สนิทใจว่าผู้ประนีประนอมให้ความเป็นธรรมอย่าง เท่าเทียมกัน โดยปราศจากอคติใด ๆ ทั้งปวง
ข้อ ๖ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่ยินยอมให้บุคคลภายนอกใช้ อิทธิพลใด ๆ อันอาจทำให้ผู้ประนีประนอมเสียความเป็นกลาง
คำอธิบาย
ผู้ประนีประนอมต้องรักษาไว้ซึ่งความเป็นกลางของตน โดยไม่ยินยอม ให้บุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในครอบครัว มิตรสหาย หรือเหตุอื่นใด มาแทรกแซง กดดัน หรือใช้อิทธิพลใด ๆ อันอาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของตนขาดความเป็นธรรม หรือเสียความเป็นกลาง
ข้อ ๗ ผู้ประนีประนอมจักต้องเปิดเผยข้อเท็จจริง อันอาจเป็นเหตุ ให้คู่ความมีความสงสัยตามสมควรในความเป็นกลางของตน ให้ผู้รับผิดชอบ ราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และคู่ความทราบ
คำอธิบาย
การรักษาความเป็นกลางนั้นรวมถึงการทำให้คู่ความและบุคคลที่ เกี่ยวข้องไม่เกิดความระแวงสงสัยในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย ดังนั้น ผู้ประนี ประนอมจึงต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงใด ๆ ที่อาจทำให้คู่ความมีความสงสัยตาม สมควรในความเป็นกลางของตน ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะ ผู้พิพากษา และคู่ความทราบ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ที่ตนเกี่ยวข้องกับ คู่ความ ความมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับคดีหรือความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคู่ความ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เช่น เป็นญาตินายจ้าง ลูกจ้าง หุ้นส่วน ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ หรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางการสมรส เป็นต้น เพื่อให้มีการ คัดค้านหรือยืนยันการทำหน้าที่ หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ประนีประนอม แต่ หากคู่ความทราบข้อมูลดังกล่าวแล้วไม่ติดใจคัดค้าน ผู้ประนีประนอมนั้นย่อม สามารถทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยต่อไปได้
ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf
ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๑ การให้คู่ความตัดสินใจด้วยตนเอง)
ส่วนที่ ๑ การให้คู่ความตัดสินใจด้วยตนเอง
ข้อ ๒ ในการระงับข้อพิพาทผู้ประนีประนอมจักต้องให้คู่ความ ตัดสินใจด้วยตนเอง บนพื้นฐานของข้อมูลที่เพียงพอ
คำอธิบาย
การระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของ คู่ความเป็นสำคัญ ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้องสนับสนุนให้คู่ความตัดสินใจ ด้วยตนเอง โดยมีความรู้และความเข้าใจในผลกระทบ ทางได้ทางเสียบนพื้นฐาน ของข้อมูลที่เพียงพอ และไม่ใช้อิทธิพลใด ๆ เช่น ให้คำมั่นสัญญา บังคับ ปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรบอก หรือกระทำโดยมิชอบประการใด ๆ เพื่อจูงใจให้ คู่ความยอมรับแนวทางการระงับข้อพิพาทตามความเห็นของตน โดยฝ่าฝืน ต่อความสมัครใจและความพึงพอใจของคู่ความอย่างแท้จริง
ข้อ ๓ ผู้ประนีประนอมจักต้องละเว้นไม่ออกคำสั่งหรือชี้ขาดใด ๆ ที่ เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทและทางเลือกในการตกลงระงับข้อพิพาท ตลอดจน ต้องไม่บังคับหรือใช้อิทธิพลใด ๆ เพื่อให้คู่ความต้องจำยอมเข้าร่วมใน การไกล่เกลี่ยหรือตัดสินใจในกระบวนการไกล่เกลี่ย โดยฝ่าฝืนต่อความ สมัครใจและเสรีภาพของคู่ความ
คำอธิบาย
บทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของการเป็นผู้ประนีประนอม คือ การ ช่วยเหลือคู่ความให้เจรจาเพื่อหาข้อยุติสำหรับข้อพิพาท โดยไม่มีอำนาจหน้าที่ ใด ๆ ที่จะตัดสินหรือชี้ขาดข้อพิพาท หรือออกคำสั่งกำหนดให้คู่ความ ต้องทำการอย่างหนึ่งอย่างใด นอกเหนือไปจากการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ย ดังนั้น การจะใช้ทางเลือกใดในการระงับข้อพิพาท จึงต้องขึ้นอยู่กับความ พึงพอใจและความสมัครใจของคู่ความ หากคู่ความเห็นว่ากระบวนการไกล่เกลี่ย ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนอีกต่อไป คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ศาลพิจารณา พิพากษาคดีต่อไปได้
ข้อ ๔ ผู้ประนีประนอมพึงช่วยเหลือสนับสนุนการเจรจาระหว่าง คู่ความเพื่อหาแนวทางในการระงับข้อพิพาท โดยไม่ออกความเห็นใด ๆ อัน เป็นการชี้ขาด เว้นแต่คู่ความจะได้ตกลงกันให้ผู้ประนีประนอมออกความเห็น เช่นว่านั้น
คำอธิบาย
ผู้ประนีประนอมสามารถช่วยเหลือและสนับสนุนคู่ความในการ พิจารณาแนวทางการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เสนอในระหว่างการไกล่เกลี่ย ตลอดจนข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทาง เพื่อให้คู่ความสามารถบรรลุข้อตกลง ร่วมกันได้แต่ผู้ประนีประนอมจะต้องไม่ออกความเห็นในลักษณะที่เป็นการ ชี้ขาด หรือกำหนดให้คู่ความต้องเลือกระงับข้อพิพาทในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง เพราะคู่ความควรได้เลือกแนวทางระงับข้อพิพาทด้วยความสมัครใจของตน อย่างไรก็ตาม บางกรณีคู่ความอาจต้องการความเห็นของคนกลางที่ไม่มีส่วน ได้เสียเกี่ยวกับเรื่องที่พิพาทว่าแนวทางในการระงับข้อพิพาทใด เป็นแนวทาง ที่เหมาะสมและเป็นธรรม หากคู่ความขอให้ผู้ประนีประนอมออกความเห็นใน ลักษณะดังกล่าว ผู้ประนีประนอมย่อมกระทำเช่นนั้นได
ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf
ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ 1 อุดมการณ์ของผู้ประนีประนอม ข้อ 1 (Thailand's Code of Ethics for Mediators, Part 1: Core Principles of Mediators, Clause 1) ep.1
ผู้ประนีประนอมเป็นให้ประสบการณ์ต่อผมอย่างยิ่ง ระหว่างช่วงปี 2563 - 2566 ณ ศาลแรงงานภาค 1 (สระบุรี) เอกสารชิ้นแรกที่ผมได้รับจากศาล คือ ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม นับเป็นการเริ่มต้นปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ ผมพยาบามอ่านและศึกษาเพิ่มเติม สิ่งใดไม่เข้าใจจะถามผู้รู้เพื่อความกระจ่าง
สิ่งที่ผมสนใจอีกประการ คือ ต้องการศึกษาความหมายและคำศัพท์ในประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอมเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเยอรมัน เพราะมีเพื่อนฝูงหลายท่านสนใจอย่างรู้ว่าผู้ประนีประนอมทำอะไรบ้าง
ผมมีเวลาพอสมควรแก่การแปลภาษา กรอบกับเครื่องมือการแปลมีความฉลาดมากยิ่งขึ้น จึงทุ่นเวลาการแปลไปมาก
หวังว่าจะมีประโยชน์ โดยเฉพาะเป็นการศึกษาส่วนตัว อย่างไรก็ตาม คำแปลทั้งหมดเป็นการแปลสำหรับใช้ทำความเข้าใจส่วนตัวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงเชิงวิชาการหรือใด ๆ ได้
The role of "Mediator" at the Labor Court Region 1 (Saraburi) between 2020 - 2023 gave me a lot of experience. The first document I received from the court was the Code of Ethics for Mediators, which was the beginning of my official duties. I tried to read and study more about it. If I didn't understand anything, I would ask the experts for clarification. Another thing that interests me is to study the meaning and terminology of the Mediator Code of Ethics in English, Japanese, and German, because there are many friends who are interested in knowing what the mediator does. I have enough time to translate the languages. The translation framework and tools are smarter, so it saves a lot of time for translation. I hope it's useful, especially for personal study. However, all translations are for personal understanding only. They cannot be used as academic references or anything.
2020年から2023年まで労働裁判所第1地域(サラブリー)で「調停人」として務めたことで、多くの経験を積むことができました。裁判所から最初に受け取った文書は調停人倫理規定で、これが私の正式な職務の始まりでした。私はそれについてもっと読んで勉強しようとしました。理解できないことがあれば、専門家に説明を求めました。私が興味を持っているもう1つのことは、英語、日本語、ドイツ語で調停人倫理規定の意味と用語を勉強することです。調停人が何をするのかを知りたいと思っている友人がたくさんいるからです。言語を翻訳する時間は十分にあります。翻訳フレームワークとツールはよりスマートなので、翻訳にかかる時間を大幅に節約できます。特に個人的な勉強に役立つことを願っています。ただし、すべての翻訳は個人的な理解のみを目的としています。学術的な参考資料などとして使用することはできません。
Die Rolle des „Mediators“ am Arbeitsgericht Region 1 (Saraburi) zwischen 2020 und 2023 hat mir viel Erfahrung gebracht. Das erste Dokument, das ich vom Gericht erhielt, war der Ethikkodex für Mediatoren, der den Beginn meiner offiziellen Aufgaben markierte. Ich versuchte, mehr darüber zu lesen und zu studieren. Wenn ich etwas nicht verstand, bat ich die Experten um Klärung. Eine andere Sache, die mich interessiert, ist das Studium der Bedeutung und Terminologie des Ethikkodex für Mediatoren auf Englisch, Japanisch und Deutsch, weil es viele Freunde gibt, die wissen möchten, was der Mediator tut. Ich habe genug Zeit, die Sprachen zu übersetzen. Das Übersetzungsframework und die Übersetzungstools sind intelligenter, sodass viel Zeit für die Übersetzung gespart wird. Ich hoffe, es ist nützlich, insbesondere für das persönliche Studium. Alle Übersetzungen dienen jedoch nur dem persönlichen Verständnis. Sie können nicht als akademische Referenzen oder Ähnliches verwendet werden.
ข้อ 1 หน้าที่สำคัญของผู้ประนีประนอม คือ ช่วยเหลือ สนับสนุน การเจรจาระหว่างคู่ความให้บรรลุถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อนำไป สู่การระงับข้อพิพาท โดยจักต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นกลาง ปราศจากอคติ ประพฤติตนถูกต้องตามกฎหมายและทำนอง คลองธรรม อยู่ในกรอบศีลธรรมและจริยธรรม มีความรู้และความเข้าใจใน ปรัชญาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างถ่องแท้ และมีความพร้อมที่จะเสียสละ เพื่อส่วนรวมเป็นสำคัญ ทั้งจักต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน ด้วยว่าตนปฏิบัติเช่นนี้อย่างเคร่งครัดครบถ้วน
English translation:
Code of Ethics for Mediators, Part 1: Core Principles of Mediators, Clause 1
Clause 1 The primary duty of a mediator is to assist and support negotiations between parties to reach a resolution to their problem, leading to the settlement of the dispute. In performing these duties, the mediator must act with honesty, integrity, impartiality, and without bias. They must conduct themselves in accordance with the law and proper conduct, within the bounds of morality and ethics. They must possess a thorough knowledge and understanding of the philosophy of dispute mediation and be willing to sacrifice for the common good. Furthermore, they must demonstrate to the public that they adhere to these principles strictly and completely.
Japanese translation:
調停者倫理綱領 第1章 調停者の理念 第1条
第1条 調停者の重要な職務は、当事者間の交渉を支援し、問題解決のための道筋に到達させ、紛争の解決に導くことです。その職務を遂行するにあたっては、誠実、公正、中立、偏見のない態度で行動しなければなりません。また、法律および正義に則り、道徳と倫理の範囲内で行動しなければなりません。紛争調停の理念を十分に理解し、公益のために犠牲を払う覚悟を持たなければなりません。さらに、公衆に対し、自身がこれらの原則を厳格かつ完全に遵守していることを明確に示さなければなりません。
German translation:
Ethikkodex für Mediatoren, Teil 1: Grundprinzipien für Mediatoren, Klausel 1
Artikel 1. Die Hauptaufgabe eines Mediators besteht darin, die Verhandlungen zwischen den Parteien zu unterstützen und zu fördern, um eine Lösung des Problems zu erreichen, die zur Beilegung des Streits führt. Bei der Ausübung dieser Aufgaben muss der Mediator ehrlich, integer, unparteiisch und unvoreingenommen handeln. Er muss sich im Einklang mit dem Gesetz und den guten Sitten, innerhalb der Grenzen von Moral und Ethik verhalten. Er muss über ein fundiertes Wissen und Verständnis der Philosophie der Streitbeilegung durch Mediation verfügen und bereit sein, sich für das Gemeinwohl zu opfern. Darüber hinaus muss er der Öffentlichkeit nachweisen, dass er diese Grundsätze strikt und vollständig einhält.
คำอธิบาย
การไกล่เกลี่ยเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกที่จะทำให้ข้อพิพาท ระงับลงด้วยความพึงพอใจของคู่ความ และเป็นการลดปริมาณคดีที่จะ เข้าสู่การพิจารณาของศาล ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้องตระหนักถึงบทบาท และหน้าที่ของตนว่าเป็นผู้สนับสนุน อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ และส่งเสริม ให้คู่ความสามารถตกลงกันได้ ทั้งนี้จะต้องระวังไม่ทำตนเป็นตัวแทนของ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลาง ปราศจากอคติอยู่ในศีลธรรม อันดียึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม กระทำในสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรม ปฏิบัติ หน้าที่อย่างมีจิตสำนึก ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสมอภาค และเสียสละ เพื่อส่วนรวมอย่างเต็มกำลังความสามารถ มีความรอบคอบ รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้และเข้าใจในระบบงานไกล่เกลี่ย โดยคำนึงถึงประโยชน์ของ ราชการและคู่ความเป็นสำคัญ มุ่งถึงประโยชน์และวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำให้ คู่ความตกลงกันได้เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ประชาชน ทั้งจะต้องแสดงให้ปรากฏด้วยว่าตนไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับคดีความเรื่องนั้น ๆ ไม่ว่าใน ทางใดทางหนึ่ง
Explanation (of the duties of a mediator):
Mediation is an alternative dispute resolution method that allows disputes to be resolved to the satisfaction of both parties, thereby reducing the volume of cases that proceed to court. Therefore, mediators must be aware of their role and duties as supporters, facilitators, assistants, and promoters, enabling the parties to reach an agreement. In doing so, they must be careful not to act as a representative of any one party and must maintain neutrality, remain impartial, and adhere to good morals, upholding virtue and ethics. They must act correctly and justly, performing their duties conscientiously, with honesty, integrity, equality, and selflessness, dedicating their full ability to the common good. They must be thorough, prompt, transparent, accountable, and understand the mediation system, considering the interests of the government and the parties involved as paramount. They should focus on benefits and various methods that will enable the parties to reach an agreement, so as to gain public trust and confidence. Furthermore, they must clearly demonstrate that they have no vested interests in the case in any way.
Japanese Translation:
解説 調停は、当事者双方が満足のいく形で紛争を解決するための代替的な紛争解決手段であり、裁判所の審理に入る事件数を減らすことにもつながります。したがって、調停者は、自らの役割と職務が、当事者間の合意を支援し、促進し、援助し、助長することであることを認識しなければなりません。その際、いずれかの当事者の代理人とならないように注意し、中立性を維持し、偏見を持たず、善良な道徳を守り、徳と倫理を遵守しなければなりません。正しく公正な行為を行い、良心に従って職務を遂行し、誠実、公平、そして最大限の能力で公益のために尽力しなければなりません。慎重、迅速、透明性、検証可能性を持ち、調停制度を理解し、行政と当事者の利益を重視しなければなりません。当事者間の合意を成立させるための利益と様々な方法に焦点を当て、国民の信頼と信用を得ることを目指さなければなりません。さらに、いかなる形であれ、当該事件に関していかなる利害関係も有していないことを明確に示さなければなりません。
German Translation:
Erläuterung Die Mediation ist eine alternative Streitbeilegungsmethode, die es ermöglicht, Streitigkeiten zur Zufriedenheit beider Parteien beizulegen und somit die Anzahl der Fälle zu reduzieren, die vor Gericht verhandelt werden. Daher müssen Mediatoren sich ihrer Rolle und ihrer Aufgaben bewusst sein, die darin bestehen, die Parteien zu unterstützen, zu begleiten, ihnen zu helfen und sie zu fördern, damit sie eine Einigung erzielen können. Dabei müssen sie darauf achten, nicht als Vertreter einer der Parteien aufzutreten und ihre Neutralität und Unparteilichkeit zu wahren, sich an gute Sitten halten sowie Tugend und Ethik wahren. Sie müssen korrekt und fair handeln, ihre Aufgaben gewissenhaft, ehrlich, integer, gleichberechtigt und selbstlos zum Wohle der Allgemeinheit nach besten Kräften erfüllen. Sie müssen sorgfältig, zügig, transparent und nachvollziehbar handeln, das Mediationssystem verstehen und dabei die Interessen des Staates und der Parteien gleichermaßen berücksichtigen. Sie müssen sich auf die Vorteile und verschiedenen Methoden konzentrieren, die es den Parteien ermöglichen, eine Einigung zu erzielen, um das Vertrauen und den Glauben der Öffentlichkeit zu gewinnen. Darüber hinaus müssen sie deutlich darlegen, dass sie keinerlei Interessenkonflikte in Bezug auf den jeweiligen Fall haben, in keiner Weise.
ผมทำรายการคำศัพท์สำคัญไว้ น่าจะต้องจำ
ภาษาไทย | ภาษาญี่ปุ่น (ฮิรางานะ) | ภาษาเยอรมัน |
คำอธิบาย | かいせつ (Kaisetsu) | Erläuterung |
การไกล่เกลี่ย | ちょうてい (Chōtei) | Mediation |
การระงับข้อพิพาททางเลือก | だいたい-てきふんそうかいけつ (Daitai-teki funsō kaiketsu) | alternative Streitbeilegung |
คู่ความ | とうじしゃ (Tōjisha) | Parteien |
พึงพอใจ | まんぞく (Manzoku) | Zufriedenheit |
ลดปริมาณคดี | じけんすうをへらす (Jiken-sū o herasu) | Anzahl der Fälle reduzieren |
การพิจารณาของศาล | さいばんしょのしんり (Saibansho no shinri) | Gerichtsverhandlung/Prüfung durch das Gericht |
ผู้ประนีประนอม | ちょうていしゃ (Chōteisha) | Mediator |
บทบาทและหน้าที่ | やくわりとしょくむ (Yakuwari to shokumu) | Rolle und Aufgaben |
สนับสนุน | しえん (Shien) | unterstützen |
อำนวยความสะดวก | そくしんする (Sokushin suru) | begleiten/erleichtern |
ช่วยเหลือ | えんじょ (Enjo) | helfen/unterstützen |
ส่งเสริม | じょちょうする (Jochō suru) | fördern |
ตกลงกันได้ | ごういできる (Gōi dekiru) | eine Einigung erzielen |
ตัวแทน | だいりにん (Dairinin) | Vertreter |
ความเป็นกลาง | ちゅうりつせい (Chūritsu-sei) | Neutralität |
ปราศจากอคติ | へんけんをもたず (Hengen o motazu) | unparteiisch/ohne Vorurteile |
ศีลธรรมอันดี | ぜんりょうなどうとく (Zenryō na dōtoku) | gute Sitten |
คุณธรรมและจริยธรรม | とくとりんり (Toku to rinri) | Tugend und Ethik/Moral und Ethik |
ถูกต้องเป็นธรรม | ただしくこうせいな (Tadashiku kōsei na) | korrekt und fair/recht und gerecht |
จิตสำนึก | りょうしんにしたがって (Ryōshin ni shitagatte) | gewissenhaft |
ซื่อสัตย์สุจริต | せいじつ (Seijitsu) | Ehrlichkeit und Integrität |
เสมอภาค | こうへい (Kōhei) | Gleichberechtigung/Gleichheit |
เสียสละเพื่อส่วนรวม | こうえきのためにじんりょくする (Kōeki no tame ni jinryoku suru) | sich für das Gemeinwohl opfern/sich für das Gemeinwohl einsetzen |
รอบคอบ | しんちょう (Shinchō) | sorgfältig |
รวดเร็ว | じんそく (Jinsoku) | zügig |
โปร่งใส | とうめいせい (Tōmei-sei) | transparent |
ตรวจสอบได้ | けんしょうかのうせい (Kenshō kanō-sei) | nachvollziehbar/überprüfbar |
ระบบงานไกล่เกลี่ย | ちょうていせいど (Chōtei seidō) | Mediationssystem |
ประโยชน์ของราชการ | ぎょうせいのりえき (Gyōsei no rieki) | Interessen des Staates/öffentlichen Dienstes |
เชื่อถือศรัทธา | しんらいとしんよう (Shinrai to shin'yō) | Vertrauen und Glauben |
ผลประโยชน์เกี่ยวข้อง | りがいかんけい (Rigai kankei) | Interessenkonflikte |
หน้าที่สำคัญ | じゅうようなしょくむ (Jūyō na shokumu) | Hauptaufgabe |
อุดมการณ์ | うどくかん (Udokukan) | Ideal/Prinzip |
ผมนำข้อความจากสำนักระงับข้อพิพาท https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ครับ
ณัฐพล จารัตน์
กรุงเบอร์ลิน
อดีตผู้ประนีประนอม ประจำศาลแรงงานภาค ๑