Search This Blog

Sunday, August 22, 2021

“ภาษาอังกฤษ” ในบริบทอาเซียนตามมาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียน

รูปภาพจาก ASEAN-info.com, https://www.asean-info.com/asean_charter_content/asean_charter_chapter_10.html

 

“ภาษาอังกฤษ” ในบริบทอาเซียนตามมาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียน

นับตั้งแต่อาเซียน (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการตามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ภายใต้ชื่อ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ Association of South East Asian Nations (ASEAN) ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ มีพัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม เติบโตตามลำดับ จนกระทั่งก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เมื่อปี 2558 ซึ่งประกอบด้วย 3 ประชาคมหลัก ได้แก่ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง (APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ซึ่งการเติบโตท่ามกลางความท้าทายของกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาเซียนย่างเดินตามคำขวัญแห่งภูมิภาค “One Vision, One Identity, One Community” เพื่อให้อาเซียนเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวกันแม้เวลาผ่านล่วงเลยมาถึงปัจจุบัน การพัฒนาและความร่วมมือร่วมใจของชาติสมาชิก ยังดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยยึดมั่นหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก (Non-Interference) และวิถีแห่งอาเซียน (ASEAN Way) ซึ่งในที่นี่จะไม่กล่าวถึงที่ไปที่มาของอาเซียน เพราะอาเซียนกลายเป็นเรื่องสามัญที่ประชาชนชาวอาเซียนทั้งหมดรับทราบดีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ประเด็นน่าสนใจอย่างหนึ่งที่ไม่ค่อยหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังมากนัก แต่นักวิชาการและผู้สนใจด้านอาเซียนผลิตผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องมากมาย ประเด็นที่ว่านั้นเกี่ยวข้องกับ “ภาษาอังกฤษ” ในฐานะภาษาของอาเซียน 

อาจไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด ถ้าจะกล่าวว่า ภาษาอังกฤษถูกนำมาใช้ในการประชุมร่วมกับชาติก่อตั้งอาเซียนตั้งแต่ครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นการประชุมระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยไม่มีประเทศใดปฏิเสธการใช้ภาษาอังกฤษ ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีคำถามเกิดขึ้นสักครั้งเดียวเลยว่า จะใช้ภาษาอะไรในการประชุมระหว่างประเทศสมาชิก หากพิจารณาจากเนื้อหาของปฏิญญากรุงเทพ แม้จะไม่พบถ้อยคำใด ๆ ระบุว่าภาษาของเซียน คือ ภาษาอังกฤษ แต่ภาษาอังกฤษถูกนำมาใช้เป็นภาษากลางของปฏิญญา นั่นเป็นเพราะว่า นานาชาติยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล สามารถสื่อสารกันทั่วโลกหรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่าเป็นภาษากลางของโลกก็ไม่ผิด ดังนั้น อาเซียนจึงตกลงใช้ภาษาอังกฤษระหว่างการประชุมทั้งหมดโดยไม่มีชาติสมาชิกใดคัดค้าน อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่างก็เป็นประเทศพันธมิตรกับชาติตะวันตก โดยเฉพาะมหามิตรอย่างสหรัฐอเมริกา และเหตุผลเบื้องลึกของการก่อตั้งอาเซียนประการหนึ่งคือ การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ที่แผ่อิทธิพลเข้ามาสู่ภูมิภาคในช่วงเวลา การสื่อสาร ด้วยภาษาอังกฤษ จึงกลายเป็นดุจเครื่องมือเชิงสัญลักษณ์เพื่อการยอมรับวัฒนธรรมทางภาษาของชาติตะวันตก ต่อมาเมื่อมีสมาชิกเพิ่มขึ้นและมีความหลายหลากทางภาษามากขึ้น และเพื่อสร้างความชัดเจนและยกระดับความเป็นสากลแห่งภูมิภาค จึงได้บัญญัติให้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาเพื่อการทำงานของอาเซียน ดังปรากฏในมาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียน ว่า “ASEAN Charter Article 34 Working Language of ASEAN shall be English”

 

"English Language" in the ASEAN Context According to Article 34 of the ASEAN Charter

Since ASEAN (the Association of Southeast Asian Nations) was officially established by the Bangkok Declaration on 8 August 1967, its membership has expanded to include 10 countries. Over the decades, ASEAN has achieved significant political, economic, cultural, and social progress, culminating in the formation of the ASEAN Community in 2015. The community comprises three pillars: the ASEAN Political-Security Community (APSC), the ASEAN Economic Community (AEC), and the ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC). Despite rapid global changes, ASEAN has adhered to its motto, "One Vision, One Identity, One Community", fostering unity among its members. This growth has been steady, guided by principles such as non-interference in domestic affairs and the ASEAN Way of consensus-building.

While ASEAN’s history and development are well-known among its citizens, one aspect that receives less attention but holds significant importance is the role of the English language within ASEAN.


The Adoption of English in ASEAN

It is unsurprising that English has been used as the working language for ASEAN since its inception. From the first meetings among the founding member states, whether in bilateral or multilateral contexts, English was employed without objection. Remarkably, there was never any question about which language should be used for communication among member states.

Although the Bangkok Declaration does not explicitly state that English is the official language of ASEAN, the document itself was written in English. This reflects the global acceptance of English as a universal medium of communication, often referred to as the "world’s lingua franca." Thus, ASEAN naturally adopted English for all its meetings and official communication without resistance from any member state.

The founding members—Indonesia, Malaysia, the Philippines, Singapore, and Thailand—were all aligned with Western nations, particularly the United States. One of the underlying motivations for ASEAN’s establishment was to counter the spread of communism in the region. In this context, English served not only as a practical tool for communication but also as a symbolic acceptance of Western cultural and linguistic norms.

The Institutionalisation of English in ASEAN

As ASEAN expanded and its linguistic diversity increased, the need for a clear and universally accepted working language became apparent. To reinforce this and elevate ASEAN's global profile, the ASEAN Charter explicitly designates English as the organisation’s working language. Article 34 of the Charter states:
“ASEAN Charter Article 34: The working language of ASEAN shall be English.”

This codification underscores English's role in unifying ASEAN’s diverse membership and facilitating its operations on the global stage.

รูปภาพจาก U.S. MISSION TO ASEAN, https://asean.usmission.gov/on-the-asean-ministerial-meeting/

 

ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ภาษาราชการของอาเซียน

ในช่วงแรกของการประชุมของ 5 ประเทศผู้ก่อตั้ง แม้ไม่ได้บัญญัติในปฏิญญากรุงเทพให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางสำหรับการประชุมอาเซียน แต่ประเทศสมาชิกก็ใช้ภาษาอังกฤษในการประชุมพบปะกัน
โดยไม่ต้องมีการบังคับ เป็นการรับรู้โดยอัตโนมัติ จากนั้นมาการประชุมทุกระดับของอาเซียน จึงถือว่าตกลงใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักจนเกิดความเข้าใจว่าภาษาอังกฤษ คือ ภาษาราชการของอาเซียนไปโดยปริยาย ปัจจุบัน อาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ตามลำดับ ได้แก่ สมาชิกผู้ก่อตั้งลำดับที่ 1 - 5 ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เข้าร่วมเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 สมาชิกลำดับที่ 6 บรูไนดารุสซาลาม เข้าร่วมเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527 สมาชิกลำดับที่ 7 เวียดนาม เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 สมาชิกลำดับที่ 8 และ 9  ได้แก่ ลาว และเมียนมาร์ เข้าร่วมพร้อมกันเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และสมาชิกลำดับที่ 10 กัมพูชา เข้าร่วมเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 เมื่อสมาชิกหลากหลายมากขึ้น จึงมีสมาชิก ขอหารือเพื่อกำหนดให้มีภาษาราชการของอาเซียนที่มิใช่ภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียว สมาชิกต่างต้องการให้ภาษาราชการของตนหรือภาษาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญกว่าชาติสมาชิกอื่นใช้เป็นภาษาราชการอาเซียน หรือใช้ภาษาสากลอื่นเพิ่มขึ้น ซึ่งสมาชิกแต่ละประเทศต่างมีเหตุผลเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ รวมถึงความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ทางภาษาของตนเอง ดังรายละเอียดนี้

 

ภาษาราชการของประเทศสมาชิกอาเซียน

ประเทศ

ภาษาราชการ

ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ

อาณานิคม

กัมพูชา

ภาษาเขมร

ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ

ฝรั่งเศส

ไทย

ภาษาไทย

ภาษาอังกฤษ

-

บรูไนดารุสซาลาม

ภาษามาเลย์

ภาษาอังกฤษ

ภาษาจีน

อังกฤษ

เมียนมาร์

ภาษาเมียนมาร์

ภาษาอังกฤษ

อังกฤษ

ฟิลิปปินส์

ภาษาตากาล็อก

ภาษาอังกฤษ

-

สเปน

สหรัฐอเมริกา

มาเลเซีย

ภาษามาเลย์

ภาษาอังกฤษ

ภาษาจีน

อังกฤษ

อินโดนีเซีย

ภาษาอินโดนีเซีย

ภาษาอังกฤษ

ภาษาชวา

เนเธอร์แลนด์

สิงคโปร์

ภาษาอังกฤษ

ภาษามาเลย์

ภาษาจีน

ภาษาทมิฬ

-

อังกฤษ

เวียดนาม

ภาษาเวียดนาม

ภาษาอังกฤษ

ภาษาฝรั่งเศส

ภาษาจีน

ฝรั่งเศส

ลาว

ภาษาลาว

ภาษาอังกฤษ

ภาษาฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส

 

10 ประเทศอาเซียนตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันก็จริง แต่หลายประเทศยังคงยึดติดและเกิดการแบ่งกลุ่มย่อยกันเอง เพื่อสร้างกลุ่มอำนาจต่อรอง เพื่อให้ภาษาของตนหรือใช้ความมีส่วนร่วมเดียวกันของประเทศตนเองได้ใช้ภาษาเดียวกัน เช่น มาเลเซียเสนอให้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการของอาเซียน เนื่องจากภาษามาเลย์มีจำนวนผู้พูดมากที่สุดอาเซียน แต่อินโดนีเซียคัดค้าน เพราะอินโดนีเซียพอ้างว่าภาษาอินโดนีเซีย ไม่เหมือนภาษามาเลย์แบบมาเลเซีย จนเกิดเป็นความขัดแย้งในช่วงหนึ่ง ส่วนเวียดนาม กัมพูชา และเวียดนาม เสนอให้ใช้ภาษาฝรั่งเศส เพราะด้วยทั้ง 3 ประเทศเคยเป็นกลุ่มประเทศอินโดจีนภายใต้ฝรั่งเศส ส่วนสิงคโปร์เสนอให้ใช้ภาษาจีน เพราะหลายประเทศในอาเซียนมีคนเชื้อสายจีน ส่วนกลุ่มสมาชิกที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน ก็เห็นควรว่าต้องใช้ภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียวเป็นภาษาราชการของอาเซียน

 

เมื่อเกิดประเด็นเกี่ยวกับภาษาราชการของอาเซียนขึ้น กลุ่มประเทศที่พูดภาษามาเลย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม รวมถึงบางส่วนของฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ จึงตกลงร่วมกันว่าจะใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อลดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ส่วนสมาชิกประเทศอื่น ๆ ที่เสนอให้ใช้ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน
หรือแม้แต่ประเทศไทยก็เคยเสนอให้ภาษาไทย ต้องล้มเลิกไปเพราะสมาชิกเห็นว่า การพูดภาษาต่างประเทศอื่นที่ไม่คุ้นเคยตั้งแต่วัยเรียนจะทำให้อาเซียนก้าวไปข้างหน้าไม่ทันโลก เช่น หากเลือกภาษาจีน บางประเทศที่คุ้นเคยกับภาษาจีนก็จะได้เปรียบกว่าประเทศอื่น เพื่อลดช่องว่างทั้งหมด ในท้ายที่สุดจึงลงความเห็นเลือกภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ กระนั้นก็ยังมีข้อหารือเพิ่มเติมขึ้นอีก คือ ภาษาอังกฤษไม่ควรกำหนดให้เป็นภาษาราชการของอาเซียน ด้วยเหตุผลว่า ระดับความรู้ด้านภาษาอังกฤษของสมาชิกแต่ละประเทศไม่เท่าเทียมกัน เช่น สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม และฟิลิปปินส์ สามารถสื่อสารและเข้าใจภาษาอังกฤษเทียบเท่าภาษาแม่ ซึ่งเป็นทักษะภาษาอังกฤษที่สูงกว่าการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ในขณะที่อีกหลายประเทศ ภาษาอังกฤษเพิ่งเริ่มต้นเรียนในระดับมัธยมศึกษา และเป็นการเรียนเพื่อการประกอบอาชีพ ความรู้ทางภาษาอังกฤษจึงจำกัดเฉพาะด้าน ยกตัวอย่างเช่น วิศวกรเข้าใจเฉพาะศัพท์ที่เกี่ยวข้องด้านวิศวกรรม นักบัญชีทราบเฉพาะศัพท์บัญชี เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถเทียบกับความเข้าใจของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ประกอบกับอาเซียนมีแนวคิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในหลายสาขาอาชีพ ซึ่งความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ต้องการอยู่ในระดับเพื่อการทำงานเฉพาะด้านเท่านั้น สมาชิกส่วนใหญ่จึงตกลงกันว่า ให้เปลี่ยนจากคำว่า ภาษาราชการของอาเซียน (
ASEAN Official Language) ให้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อการทำงานของอาเซียน (Working Language of ASEAN) เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและสอดคล้องกับบริบทของแต่ละประเทศในอาเซียน จึงได้บัญญัติความสำคัญของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาเพื่อการทำงานของชาวอาเซียนไว้ใน มาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียนนั่นเอง

ในเจตนารมณ์ตามมาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียน นอกจากจะหาข้อยุติและสร้างสมานฉันท์ด้านนโยบายภาษาได้แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือ ความสันติและลดความขัดแย้งเชิงวัฒนธรรมทางภาษา หากไม่สามารถหาข้อยุติได้ ยิ่งจะทำให้อาเซียนขาดสันติและเอกภาพ เพียงแค่ต้องการให้ภาษาตนเองเป็นภาษาราชการสำคัญกว่าของภาษาสมาชิกอื่น มาตรา 34 นี้จะเป็นเสมือนข้อบัญญัติเพื่อความเสมอภาค ความเท่าเทียม และลดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมได้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน

 

ภาษาอังกฤษของอาเซียนเพื่อการทำงาน คือ “Englishes”

เมื่อภาษาอังกฤษถูกกำหนดให้เป็นภาษาเพื่อการทำงานของอาเซียน ด้วยบริบทของประเทศและวัฒนธรรมที่แตกต่าง จึงเกิดการผสมผสานระหว่างการใช้ภาษาแม่ของตนเองกับภาษาอังกฤษ อิทธิพลของภาษาแม่จึงปนเปในการใช้ภาษาอังกฤษระหว่างอาเซียนด้วยกัน เกิดสไตล์ภาษาอังกฤษเฉพาะตน เช่น ภาษาอังกฤษแบบไทย ถูกเรียกว่า Thailish ภาษาอังกฤษแบบสิงคโปร์ ถูกเรียกว่า Singlish หรือภาษาอังกฤษแบบมาเลเซีย ถูกเรียกว่า Manglish เป็นต้น การผสมผสานของภาษาอังกฤษที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมภาษาแม่ จึงถูกเรียกว่า ASEAN Englishes หรือบางท่านเรียกว่า  ASEANlish จนกล่าวกันว่าภาษาอังกฤษตามมาตรา 34 แห่งกฎบัตรอาเซียน มีความน่าจะเป็น Englishes  อย่างไรก็ตาม ภาษาอังกฤษแบบ Englishes ของอาเซียนเป็นการใช้ภาษาในระดับการสื่อสารเพื่อการทำงานเท่านั้น แต่ในภาษาเขียนยังต้องเป็นภาษาอังกฤษมาตรฐานสากล

 การใช้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาเพื่อการทำงานของอาเซียน ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยมีสมาชิกประเทศใดกล่าวติติงการใช้คำ (Word Usage) สำเนียง (Accent) หรือแม้แต่ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ (Grammar Error) ว่าใครใช้ถูกใช้ผิดในระหว่างการประชุม สมาชิกทุกประเทศให้เกียรติและเชื่อมั่นในระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้แทนการประชุม หากการประชุมหารือหรือต้องบรรลุข้อตกลงที่มีผลผูกพันทางทางกฎหมาย ผู้แทนจะใช้ล่ามแปลภาษาตามหลักการระหว่างประเทศอาเซียนใช้ประโยชน์จากมาตรา 34 พัฒนาและสร้างนโยบายการเรียนรู้ภาษาอังกฤษกับประชาชนของตน แต่อาเซียนยังขาดการสร้างหลักสูตรหรือเนื้อหาภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจบริบทของประเทศสมาชิกอาเซียน การใช้แบบเรียนภาษาอังกฤษก็ยังใช้แตกต่างกัน จึงยังขาดจุดร่วมเดียวกัน จึงได้มีการเสนอให้มีเนื้อหาภาษาอังกฤษแบบอาเซียนร่วมกัน อาเซียนจึงต้องผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริง เพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน และจะเกิดผลประโยชน์ต่อภาพรวมของอาเซียน ซึ่งยังต้องรอคอยว่าจะสามารถขึ้นจริงได้หรือไม่ในอนาคตอันใกล้นี้

ขอบคุณทุกท่านครับ

ณัฐพล จารัตน์

X @Nathjarat

-----------------------------------------

 

 

 

Tuesday, August 17, 2021

#ประเด็นสันติภาพ : สหรัฐถอดทหารออกจากอัฟกานิสถาน




ผมคงพูดสั้น ๆ ว่า ในความเห็นส่วนตัวค่อยข้างเห็นด้วยกับการตัดสินใจของสหรัฐ การที่สหรัฐทุ่มงบประมาณทั้งทรัพยากรทหาร งบการทหาร อาวุธ และการฝึกฝนเทคโนดลยีทางทหารให้กับทหารอัฟกานิสถามมา 20 ปี ผลผลิตที่ลงทุนไปนั้น เหตุใดอัฟกานิสถามจึงไม่สามารถต่อยอดหรือลุกขึ้นมาสู้อย่างสมศักดิ์ศรีและป้องกันอย่างเต็มที่ ตามกำลังและความสามารถที่ฝึกฝนมาจากสหรัฐ 

ตรงนี้จึงเป็นความล้มเหลวของรัฐบาลอัฟกานิสถานและทหารอัฟกานิสถานก็ไม่สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้ ทั้ง ๆ ที่ระหว่าง 20 ปี ควรจะต้องพัฒนาอะไรได้มาบ้าง 

ท่านประธาน โดย ณัฐพล จารัตน์

Saturday, August 14, 2021

#ประเด็นสังคม : ว่าแล้ว #ให้รักพิพากษา ต้องเป็นประเด็น เมื่อ #ละครไทย ต้องแตะเรื่องจริงที่อิงเรื่องแต่ง

 ซี่รี่ส์ช่อง 3 #ให้รักพิพากษา สำหรับคอละคร คงนั่นจ้องพระเอกหน้าใส วัยกำลังน่าขบ อย่างน้อง #กองทัพ ส่วนหนุ่มแฟนละครก็คนจ้องตาไม่กระพริบกับบทบาทของน้องเอลล่า ที่ยังคงคาเร็กเตอร์ สวยใจ เฮฮา ตัดสินใจง่าย  และเอาแต่อารมณ์ของตนเป็นใหญ่ (อันนี้ความรู้สึกส่วนตัวแต่บทบาทของตัวละคร ไม่ได้มุ่งกล่าวที่ผู้แสดง) 

แต่สำหรับนักกฎหมายหรือคนในแวดวงกฎหมาย คงต้องประสานเสียงกันร้อง #อั้ยยะ ละครทางกฎหมายแต่ฉไนถึงไม่อิงความจริงบ้าง ทั้ง ๆ ที่ ละครควรสร้างความตระหนักรู้ต่อสังคมด้วย ไม่ใช้เพื่อการพักผ่อนหรือเพียงคิดว่า "มันแค่ละคร" 

ผมไม่ค่อยได้ติดตามละครไทยนัก ส่วนมากจะฟังจากแม่บ้านที่มาทำงานบ้านทุกเช้า แม่บ้านชอบดูละครต่าง ๆ พอเช้า ๆ จะก็ชอบเม้ามอยหนังละครให้ฟัง จะว่าไปแกคงได้เป็นแม่บ้านการละคร ดูทุกเรื่องที่พระอกหล่อ โดยเฉพาะในชีรี่ย์เกาหลี แม่บ้านผมอ่านหนังสือไม่ออกนะ เขียนก็ไม่ได้ เวลาดูซีรี่ส์หรือละครเกาหลีก็ฟังภาษาเกาหลี และเดาว่าเขาพูดอะไรจากภาพในละคร 



ประเด็นที่ละครไทยต้องนำไปปรับหรือเปลี่ยน คือ ต้องคำว่าละครที่สร้างความบันทึกควรและต้องสร้างสรรผลงานเพื่อสังคมบ้าง ไม่ใช้ผลิดเพื่อดูสนองอารมณ์ร่วมแล้วก็ผ่านไป ยิ่งละครไทยมีไม่กี่อารมณ์ แย่งผุ้ชาย แย่งผู้หญิง เมียน้อยเมียหลวง แย่งสมบัตร เป็นต้น ยังไม่ค่อยเห็นหนังหรือละครที่จะมุ่งให้ความรู้ที่ถูกต้องขณะดูละครไปด้วย 

จากเว็บเพจของสำนักงานอิศรา กลุ่มท่านอัยการคงแสดงความไม่พึงพอใจกับการสื่อสารของละครต่อสังคม ที่มุ่งให้ความบันเทิงเพียงด้านเดียว ขาดการให้ความรู้ที่เหมาะสม 

ต้องรอดูว่าทางช่อง 3 จะออกมาปรับเปลี่ยนเรื่องนี้ได้อย่างไร 
น่าจะเป็นกรณีและเกิดบันทรรดฐานต่อไปของการสร้างละครที่พยายามอิงกับสังคมแท้จริงของไทย 

.....................................................

ท่านประธาน โดย ณัฐพลจารัตน์

Wednesday, August 11, 2021

#มีกะตังค์ : ความเหนือกว่าความสบายใจ "บัตรทองอเมริกัน เอ็กซ์เพรส The American Express Gold Card"

 

บัตรอเมริกัน เอ็กซ์เพรส หรือคนถือบัตรมักจะเรียกว่า Amex เป็นที่คุ้นหูและคุ้ยเคยมานาน แต่ก็ยังไม่ได้คิดจำเป็นต้องสมัครสักที ตั้งแต่ทำงานอยู่ภาคเอกชนที่พอจะมีสิทธิ์เอื้อมถึงบัตร Platinum แต่เสียดายที่ไม่ได้คิดสมัครไว้เลย เพราะดูแล้วไม่คุ้มกับค่าธรรมเนียมหรือค่าสมาชิกบัตร #MemberFee ปีละเกือบ 30,000 บาท 

เมื่อต้นปีเพื่อนกลุ่มที่ใช้ Amex มาชวนสมัครบัตร Gold Card ของ Amex อีกครั้ง จึงสมัครและได้รับการอนุมัติไม่ยากเลย มีคนจำนวนมากแม้จะมีคุณสมบัตรเบื้องต้นผ่าน เช่น รายได้เฉลี่ยต่อปีต้องประมาณ 500,000 บาทขึ้นไป และต้องมีประวัติการเงินที่น่าพิจารณา แต่กระนั้นก็ยังสมัครไม่ผ่าน ด้วยเหตุผลอันได้ คงจะตอบแทบผู้อนุมัติไม่ได้ ทาง American Express คงมีเหตุผลตามนดยบายและความเสี่ยงที่ตั้งไว้ 

ตอนที่ผมสมัครไม่ได้คิดถึงเรื่องโปรโมชั่นหรืออภิสิทธิ์ใด ๆ ที่จะได้รับทันทีที่บัตรได้รับอนุมัติและทำการ activate บัตร เพียงแต่ต้องการ "ความรู้สึกที่เหนือกว่าความสบายใจ" 

ผมดูแล้วบัตรเครดิตต่าง ๆ มีโปรโมชั่นที่ดีกว่าบัตรทอง อเมริกัน เอ็กเพรส หลายบัตร แต่สิ่งที่บัตรอื่น ๆ ให้ไม่ได้ คือ #ความเหนือกว่าความสบายใจ 

เมื่อลองเเวะเข้าดูใน Facebook ของบัตรอเมริกัน เอ็กเพรส 👉 https://www.facebook.com/AmericanExpressThailand/

ช่วงนี้มีโปรโมชั่น ปรากฎล่าสุดเป็นโพสเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมานี้เอง 

*************************************************


*************************************************

ถ้าอ่านรายละเอียดแล้วพิจารณาในโปรโมชั่น เทียบกับบัตรอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น VISA, Master Card, JCB หรือ UnionPay มีบัตรหลายประเภทที่คู่คี่สูสี ก็แล้วแต่ว่าใครจะสะดวกหรือพอใจเป็นเจ้าของบัตรไหน

ผมเองก็ถือบัตรเครดิตหลายประเภท แต่เมื่อเทียบกับความเหนือกว่าความสะบายใจ คงต้อง แนะนำว่า รีบสมัครบัตรทอง อเมริกัน เอ็กซ์เพรส ดีกว่า ผมคงอธิบายความรู้สึกไม่ได้ เพียงแต่อยากจะแนะนำ แต่บอกได้ว่า คุณจะเกิดความรู้สึกสบายใจและภูมิใจ ที่ถือบัตร American Express (อาจจะพูดโอเว่อร์ไป ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละท่าน) 

หลายท่านบ่นว่าหาที่ใช้บัตรยากมาก ผมแนะนำว่า อย่าพึงคิดอย่างนั้น ถ้าท่านมีบัตรทองอเมริกัน เอ็กเพรส เมื่อไร ท่านะจะรู้แหล่งการใช้งาน หรือไม่แน่ใจว่าจะใช้งานได้ที่ไหน เพียงโทรหา Call Center จะได้รับการประสานงานและให้ข้อมูลการใช้บัตรที่ดีเยี่ยม ที่หา Call Center ไหนเปรียบเทียบได้ 

วันนี้โพสไม่มีเป้าหมายให้ความรู้อะไร และคงไม่ได้เรียกว่าเป็นการคอมเม้นต์ เพราะรายละเอียด ก็ไม่ได้ให้อะไรไว้ เพียงแต่อยากบอกว่า ถ้าอยากได้ความรู้สึกของ #ความเหนือกว่าความสบายใจ ก็ต้องสมัคร 
หรือจะลองเข้าไปศึกษารายละเอียด จากเว็บต่าง ๆ ที่ให้ข้อมูลรายละเอียดดีกว่าที่ผมโพส ซึ่งจะได้ลงลิ้งค์ไว้ให้ข้างล่าง 

บัตรทองอเมริกัน เอ็กซ์เพรส (American Express Gold Card)-อเมริกัน เอ็กซ์เพรส (AMES) เขียนโดย Checkaka.com 👉 https://www.checkraka.com/creditcard/บัตรทองอเมริกัน-เอ็กซ์เพรส-American-Express-Gold-Card-อเมริกัน-เอ็กซ์เพรส-AMEX-1441167


บัตรทอง อเมริกัน เอ็กซ์เพรส เขียนโดย อเมริกัน เอ็กซ์เพรส 👉 https://www.americanexpress.com/th/th/charge-cards/american-express-gold-card/index.html

แค่ 2 เว็บนี้ก็ได้ข้อมูลเพียงพอ 

แค่นีก็ #มีกะตังค์ แล้ว

ท่านประธาน
เขียน


Tuesday, August 3, 2021

#COVID19 : [新型コロナウイルス] タイ存在日本人の為

新型コロナウイルスの感染状況が激しさを増す中、メドパーク病院は在タイ日本国大使館とタイ保健省との協力の下、タイ在住日本人の皆様(60歳以上の方、タイ政府が指定する7つの基礎疾患を有する方、12週以上の妊婦が対象)に対して、8月2日(月)から8月7日(土)までの毎日8:00から19:00の時間帯でワクチン接種の機会を提供いたします。当病院においては、登録と同時に接種希望日時を選択し、接種日時を確定することができます。接種を希望される方は、以下の日本語登録リンクよりご登録をお願いいたします。
 
https://medpark.hospital/Covid19VaccineJapanese
 
ご質問がある際は、以下の連絡先までご連絡ください。
Covid Vaccine Center(受付時間: 8:00 - 20:00)
電話番号:
02-0903170
02-0903172
02-0903173
 
上記の時間外のお問い合わせについては以下の連絡先までご連絡ください。
電話番号: 02-0233333
メールアドレス: inquiry@medparkhospital.com