Search This Blog

Showing posts with label กรุงเบอร์ลิน. Show all posts
Showing posts with label กรุงเบอร์ลิน. Show all posts

Friday, January 3, 2025

สตรีทฟูดเยอรมัน Zur Bratpfanne ไส้กรอกเยอรมัน ชื่อดังของย่านสเต็กลิสซ์ (Stieglitz) กรุงเบอร์ลิน

เมื่อนึกถึงเยอรมัน หลายคนรวมถึงผมด้วยมักนึกถึงเบียร์เยอรมัน ขาหมูเยอรมัน และไส้กรอกเยอรมัน ผุดขึ้นมาในหัวเหมือนนัดหมาย ในย่านที่ผมอาศัยอยู่เรียกว่าย่านสเต็กลิสซ์ (Stieglitz) อยู่ทางตอนใต้ของกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ย่านนี้มีความสำคัญกับคนไทยในเยอรมนีอย่างยิ่ง เหตุเพราะสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ตั้งอยู่ในเขตนี้ ถนนสายเศรษฐกิจของย่านสเต๊กลสซ์ ชื่อ ถนน Schlossstrasse (ชะลอสชะตราสเซอร์) แปลอย่างไทยหมายถึงถนนปราสาท เป็นศูนย์กลางของย่าน ประกอบด้วยสถานีรถไฟใต้ดินสาย U9 (U-Bahn) 2 สถานี ศาลาว่าการเขต ห้างร้าน โรงแรม และโรงละคร ตลอดสองข้างทางของถนนสายนี้เรียงรายไปด้วยร้านค้า ร้านอาหารเยอรมันร อิตาลี ไทย เวียตนาม ญี่ปุ่น จีน รวมถึงร้านขนม คาเฟ่อร่อย ๆ สายคอนเท้นต์เยอรมันมาแวะเวียนกันมาก

สถานีรถไฟใต้ดินสาย U9 ลงสถานนี Schloss Strasse หรือจะไปสุดสายลงสถานี Rathaus Steglitz ไม่ห่างกันนัก ระหว่างสถานนี Schloss Strasse กับ สถานี Rathaus Steglitz มีร้านสตรีทฟูดเยอรมัน Zur Bratpfanne (ชื่อร้านแปลว่า กระทะทอด) เป็นร้านขายไส้กรอกและอาหารจานด่วนที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่มากของเบอร์ลิน ก่อตั้งขึ้นในปี 1949 อายุอานามกว่า 76 ปีเข้าไปแล้ว โดย คุณ Günter Mosgraber เป็นผู้ก่อตั้งและยังคงดำเนินกิจการมาถึงปัจจุบันภายใต้การบริหารของครอบครัว Mosgraber 


☝ รูปของคุณ Günter Mosgraber ในช่วงแรกของการตั้งร้าน (ปี 1951)
(
Günter Mosgraber, Willkommen Zur Bratpfanne!)

ผมกับแฟนมักแวะเวียนมาอุดหนุนบ่อยครั้ง แต่ไม่ได้ถึงขั้นจะเรียกว่าลูกค้าประจำ (Stammkunde) ในเดือนหนึ่งจะเเวะเวียนมาสักครั้ง ร้านมีชื่อเสียงและออกสื่อเยอรมัน ลองดูจากคลิปทาง YouTube 


เพื่อจะเพิ่มรสชาติของทุกเมนูจะขอเล่าเรื่องราวของร้าน Bratpfanne สู่กันฟัง (Storytelling) นะครับ
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 1949 หลักจากจบสงครามโลกครั้งที่สองเพียง 4 ปี ร้าน Zur Bratpfanne ได้เริ่มต้นขึ้น โดยคุณ Günter Mosgraber เริ่มขายไส้กรอกด้วยเตาเคลื่อน (อาจคล้าย ๆ รถเข็นขายลูกชิ้นในเมืองไทย) ที่หน้าโรงภาพยนต์ Titania ถนน Schloss Strasse ของย่านสเต๊กลิสซ์นี่เอง ในช่วงเวลานั้น ประเทศเยอรมนีกำลังฟื้นตัวและฟื้นฟูจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวเบอร์ลินยังอยู่ในสภาพยากลำบาก คุณ Günter Mosgraber คิดว่าการขายไส้จะช่วยสร้างอาชีพและไส้กรอกเป็นของที่ลงทุนไม่สูงมาก สามารถเก็บได้นาน รับประทานสะดวก และราคาเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจของกรุงเบอร์ลินที่บอบช้ำจากสงคราม ในช่วงนั้นการขายไส้กรอกบนถนนเป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นฟูและความหวังใหม่ และเป็นภาพที่มองเห็นได้ทุกหัวมุมถนนของกรุงเบอร์ลิน อย่างไรก็ตามในช่วงแรกนี้ร้านยังเป็นแบบเคลื่อนที่ยังไม่ได้เป็นร้านตั้งถาวร
☝ รูปนี้เป็นโรงภาพยนต์ Titania Palast ในปัจจุบัน 
(ผมถ่ายรูปเองเมื่อ 29 ธันวาคม 2567 ช่วงประมาณ 5 โมงเย็น)

อีก 2 ปีต่อมา ในปี 1951 คุณ Günter Mosgraber ตั้งเป็นร้านขายไส้กรอกขึ้น โดยไม่ต้องย้ายไปย้ายมาหรือยืนขายหน้าโรงภาพยนต์ โดยได้รับอนุญาตให้ตั้งร้านเล็ก ๆ ที่มุมถนน Schloßstraße และ Kieler Straße ซึ่งเป็นที่ตั้ง ณ จุดปัจจุบันด้วย ร้านประกอบด้วยโต๊ะพับและหลังคาผ้าใบ ซึ่งต้องถอดเก็บทุกคืน จากนั้นชื่อเสียงของร้านเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในย่านสเต๊กลิสซ์

คุณ Günter Mosgraber ทำงานอย่างขยันขันแข็งนานนับทศวรรษกระทั่ง นำไปสู่ความสำเร็จก้าวสำคัญ คือ การสร้างร้านถาวร ในช่วงทศวรรษ 1960 โดยได้รับอนุญาตให้สามารถสร้างร้านถาวรที่มุมถนน Schloßstraße และ Kieler Straße ร้านใหม่จึงมีโครงสร้างที่มั่นคงและอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากขึ้น ทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้นและรองรับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น 



☝ รูปอธิบายเกี่ยวกับร้าน Bratpfanne ติดอยู่ข้างร้าน


☝ รูปของร้าน Bratpfanne ตั้งถาวรที่มุมถนน Schloßstraße และ Kieler Straße (ปี 1970)
(Günter Mosgraber, Willkommen Zur Bratpfanne!)

ต่อจากนั้น ช่วยทศวรรษ 1980-1990 เมื่อร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้นและสะสมทุนได้เพียงพอ จึงขยายและปรับปรุงร้านเรื่อยมา จากร้านไม้เล็ก ๆ กลายเป็นร้านที่มีโครงสร้างโลหะและอุปกรณ์การทำอาหารที่ทันสมัย ช่วยให้ร้านไส้กรอกดังแหน่งนี้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นและรักษามาตรฐานคุณภาพสูงสุด อันเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของธุรกิจร้านไส้กรอกเยอรมัน Zur Bratfanne 
แม้คุณ Günter Mosgraber ได้จากไปแล้ว แต่ความสำเร็จจากการก่อตั้งร้านยังสืบทอดต่อมายังทายาทรุ่นที่ 2 

ในปี 1990 คุณ Matthias Mosgraber บุตรชายของคุณ Günter Mosgraber ได้เข้ารับช่วงกิจการของครอบครัว เขายังคงรักษาปรัชญาของบิดาในการให้บริการสินค้าที่มีคุณภาพสูง บริการที่เป็นมิตร และความสะอาดที่ยอดเยี่ยม ภายใต้การนำของเขา ร้านได้ขยายไปยังสองสาขาและมีพนักงานมากกว่า 20 คน
 
☝คุณ Matthias Mosgraber ทายาทรุ่นที่ 2 
(ดูคลิปรายการข่าวของ ARD เยอรมันได้จากตรนี้ 

ในปี 2009 ร้านไส้กรอก Zur Bratpfanne จัดฉลองครบรอบ 60 ปีการก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2009  ในโอกาสนี้ ร้านได้จัดโปรโมชั่นพิเศษ โดยขายไส้กรอกและมันฝรั่งทอดในราคาลดพิเศษเพื่อขอบคุณลูกค้าที่สนับสนุนตลอดหลายปีที่ผ่านมา 

☝รูปเมนูไส้กรอกและมันฝรั่งทอดของร้าน Zur Brapfanne ในปัจจุบัน (ถ่ายไว้เมื่อกรกฎาคม 2567)

ต่อมาเมื่อปี 2011 ทางร้ายได้ปรับปรุงร้านใหม่ ณ มุมถนน Schloßstraße และ Kieler Straße ได้รับการสร้างใหม่ทั้งหมด โดยมีการออกแบบพื้นที่และแสงสว่างที่ทันสมัย และใช้อุปกรณ์และวัสดุที่เป็นมาตรฐานใหม่ การปรับปรุงนี้ไม่เพียงแต่รักษาคุณภาพของอาหาร แต่ยังเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และเมื่อปี 2014 ขยายสาขาไปยังย่านไลเทอร์เฟลเดอร์ (Lichterfelde) อีกด้วย (เป็นย่านติดกับย้านสเต๊กลิสซ์) ได้รับการตอบรับจากลูกค้าทั้งขาประจำและทั่วไปเป็นอย่างมาก

ในปี 2019 ร้านไส้กรอก Zur Bratpfanne ฉลองครบรอบ 70 ปีการดำเนินกิจการ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2019 ร้านนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของเบอร์ลิน บางสื่อยกให้เห็นสตรีทฟูตของกรุงเบอร์ลิน เป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมสตรีทฟูดของกรุงเบอร์ลิน และเป็นหนึ่งของร้านที่ต้องแวะเยี่ยมชิมของกรุงเบอรืลิน ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษ ร้าน Zur Bratpfanne ยังคงรักษาคุณภาพและสูตรลับของไส้กรอกและซอสที่ทำให้ลูกค้าหลงใหล 

ปัจจุบัน ร้านไส้กรอก Zur Bratpfanne ยังดำเนินกิจการแบบครอบครัว Mosgraber กำลังส่งต่อกิจการถึงทายาทรุ่นที่ 3 สืบสอดวัฒนธรรมการกินของกรุงเบอร์ลินอย่างต่อเนื่อง คงรสชาติและคุณภาพเดิมตั้งแต่ก่อตั้งเพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด

อะไรเป็นหลักสำคัญในการดำเนินกิจการของร้านไส้กรอก Zur Bratpfanne ซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของธุรกิจครอบครัวที่สามารถรักษาคุณภาพและความนิยมได้ตลอดหลายทศวรรษ ด้วยความมุ่งมั่นในการให้บริการที่ดีที่สุดและการรักษาสูตรลับของอาหาร ทำให้ร้านนี้ยังคงเป็นที่รักของชาวเบอร์ลินและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก สิ่งนั้น คือ ปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่คุณ Günter Mosgraber ผู้ก่อตั้ง ใช้สอนและมองถึงคุณค่าของแนวคิดการบริหารร้าน 

ปรัชญาการดำเนินธุรกิจของร้านไส้กรอก Zur Bratpfanne สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการให้บริการที่มีคุณภาพสูงสุดแก่ลูกค้า โดยมีหลักการ 10 ข้อ ดังนี้ครับ


☝รูปจากเว็บของร้าน "ปรัชญาการดำเนินธุรกิจ 10 ข้อ"

Unsere 10 Gebote (ปรัชญาดำเนินธุกริจ 10 ข้อ ของเรา)

  1. Das Wichtigste sind Sie. (สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณ)
    • Wir wissen sehr genau, dass wir darauf angewiesen sind, dass Sie, unsere Kunden, unsere Spezialitäten kaufen, es Ihnen schmeckt, es Ihnen bei uns gefällt, dass Sie wieder kommen. Dafür tun wir alles. Jeden Tag. 
    • (เรารู้ดีว่าเราขึ้นอยู่กับคุณ ลูกค้าของเรา ที่จะซื้อสินค้าพิเศษของเรา เราต้องการให้คุณชื่นชอบรสชาติของอาหาร และรู้สึกประทับใจกับเรา จนอยากกลับมาอีกครั้ง เพื่อสิ่งนี้ เราทำทุกอย่างทุกวัน)
    • ผมวิเคราะห์ว่าว่า เน้นการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรก สื่อถึงการใส่ใจในความพึงพอใจของลูกค้าและการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน
  1. Das Beste ist uns gerade gut genug. (สิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้นที่เพียงพอสำหรับเรา)
    • Unser Qualitätsanspruch ist extrem hoch. Wir machen die besten Currywürste der Stadt, haben den besten Service und die saubersten Imbissstände. Das prüfen wir regelmäßig intern und lassen uns regelmäßig extern prüfen. 
    • (เรามีมาตรฐานคุณภาพที่สูงมาก เราผลิตไส้กรอกแกงกะหรี่ที่ดีที่สุดในเมือง มีบริการที่ยอดเยี่ยม และมีร้านที่สะอาดที่สุด เราตรวจสอบมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งภายในและจากภายนอก)
    • ผมวิเคราะห์ว่าว่า แสดงถึงความมุ่งมั่นในการรักษาคุณภาพในทุกด้าน ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์จนถึงบริการ
  1. Wir nehmen nur beste Zutaten. (เราใช้เฉพาะวัตถุดิบที่ดีที่สุดเท่านั้น)
    • Bei der Auswahl des Fleisches in unserer Metzgerei, des Öls, der Kartoffeln, des Gemüses (und aller anderen Zutaten) sind wir schlicht und ergreifend kompromisslos.
    • (ในการเลือกเนื้อสัตว์ น้ำมัน มันฝรั่ง ผัก และวัตถุดิบอื่น ๆ เราไม่มีการประนีประนอมเลยแม้แต่น้อย)
    • ผมวิเคราะห์ว่า แสดงถึงความใส่ใจในกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ โดยไม่ลดทอนคุณภาพ

  1. Wir haben die besten Leute. (เรามีบุคลากรที่ดีที่สุด)
    • Der direkte Kontakt zu Ihnen geht über unsere Mitarbeiter am Stand. Aber auch hinter den Kulissen arbeitet eine Vielzahl von Kollegen daran, unseren Qualitätsanspruch zu erfüllen.
      Wir haben ausgewählte, motivierte, regelmäßig geschulte, gut gelaunte, professionelle Mitarbeiter.
    • (การติดต่อกับคุณโดยตรงมาจากพนักงานของเราที่ร้าน และเบื้องหลังก็ยังมีทีมงานจำนวนมากที่ทำงานเพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพ เรามีบุคลากรที่ได้รับการคัดเลือก มีแรงจูงใจ ได้รับการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ มีทัศนคติที่ดี และมีความเป็นมืออาชีพ)
    • ผมวิเคราะห์ว่า แสดงถึงความสำคัญของทรัพยากรบุคคลในการสร้างคุณภาพและประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า
  1. Sauber muss es sein. (ต้องสะอาด)
    • Ein ausgefeiltes System stellt sicher, dass in der Produktion und in den Ständen höchste Hygiene- und Sauberkeitsstandards eingehalten werden.
    • (ระบบที่พัฒนาอย่างดีช่วยให้มั่นใจว่าในกระบวนการผลิตและในร้านค้าจะรักษามาตรฐานสุขอนามัยและความสะอาดสูงสุด)
    • ผมวิเคราะห์ว่า ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยและความสะอาด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า

  1. Frisch muss es sein. (ต้องสดใหม่)
    • Die Würste und der Ketchup werden jeden Tag frisch produziert. Unsere Stände werden täglich mehrmals mit frischer Ware beliefert. Unsere hochwertigen Frittier- und Bratfette werden jeden Tag erneuert.
    • (ไส้กรอกและซอสมะเขือเทศของเราผลิตสดใหม่ทุกวัน ร้านของเราจะได้รับสินค้าสดใหม่ส่งมาหลายครั้งต่อวัน และน้ำมันทอดและย่างคุณภาพสูงของเราจะถูกเปลี่ยนใหม่ทุกวัน)
    • ผมวิเคราะห์ว่า เน้นความสดใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในกระบวนการผลิต
  1. Wir machen möglichst alles selber. (เราพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเอง)
    • Unsere Würste werden nach hauseigenen Vorgaben hergestellt, unser Ketchup nach eigener Rezeptur selbst gemacht, die Curry-Mischung ist ein wohlbehütetes Familiengeheimnis.
    • (ไส้กรอกของเราผลิตตามสูตรของเราเอง ซอสมะเขือเทศก็ทำเอง และสูตรผสมเครื่องแกงกะหรี่เป็นความลับของครอบครัว)
    • ผมวิเคราะห์ว่า ชูความเป็นเอกลักษณ์และการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด
  1. Wir haben große Portionen. (เรามีปริมาณที่คุ้มค่า)
    • Nouvelle-Cuisine-Häppchen sind nicht unsere Welt. Bei uns gibt es ordentlich was auf den Teller für’s Geld.
    • (อาหารปริมาณเล็ก ๆ ไม่ใช่แนวทางของเรา ที่นี่คุณจะได้รับอาหารจานใหญ่ที่คุ้มค่ากับเงินที่จ่าย)
    • ผมวิเคราะห์ว่า ตอกย้ำความคุ้มค่าในปริมาณและราคา

  1. Wir machen gute Preise. (เราตั้งราคาที่เหมาะสม)
    • Qualität hat ihren Preis, das ist klar. Aber wir wollen moderate Preise anbieten, um möglichst allen den Genuss unserer Spezialitäten zu ermöglichen.
    • (คุณภาพมีราคา แต่เราต้องการเสนอราคาที่เหมาะสม เพื่อให้ทุกคนสามารถเพลิดเพลินกับสินค้าพิเศษของเราได้)
    • ผมวิเคราะห์ว่า แสดงถึงความสมดุลระหว่างคุณภาพและความเข้าถึงได้
  1. Wir sind modern, ohne der Zeit hinterher zu laufen. (เราทันสมัยโดยไม่ตามกระแส)
    • In punkto Produktions- und Arbeitsabläufe, Qualitätsmanagement, Logistik und Mitarbeiter sind wir ein sehr modernes Unternehmen. Aber was die Rezeptur unserer Würste, unseres Ketchups und unserer Gewürzmischungen angeht, ist die Zeit für uns stehen geblieben. Seit über 70 Jahren produzieren wir sie unverändert.
    • (ในด้านกระบวนการผลิต การจัดการคุณภาพ โลจิสติกส์ และพนักงาน เราเป็นบริษัทที่ทันสมัย แต่สำหรับสูตรของไส้กรอก ซอสมะเขือเทศ และเครื่องเทศของเรา เรายังคงรักษาแบบดั้งเดิมมานานกว่า 70 ปี)
    • ผมวิเคราะห์ว่า เป็นการผสมผสานระหว่างความทันสมัยในด้านการจัดการ และการรักษาความดั้งเดิมในสูตรอาหาร

ปรัชญาเหล่านี้แสดงถึงความมุ่งมั่นของร้านไส้กรอก Zur Bratpfanne ในการให้บริการที่มีคุณภาพสูงสุดแก่ลูกค้า โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพ วัตถุดิบ ความสะอาด และการบริการที่เป็นเลิศ แน่นอนว่านี่เป็นแนวความคิดเชิงปรัชญาการดำเนินธุรกิจแบบครอบครัวของคนเยอรมัน ซึ่งวงวิชาการด้านการบริการธุรกิจแบบเยอรมันน่าจะศึกษาและวิจัยในเชิงลึกกันได้อีก

คราวนี้มาถึงเรื่องสำคัญและเป็นหัวใจหลักของความอร่อย มาดูกันที่เมนูอาหารและเครื่องดื่ม ภาพนี้ผมถ่ายไว้เมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หวังว่าราคาคงจะยังไม่เปลี่ยนแปลง เมนูแต่ละอย่างมีอะไรบ้าง ลองดูกันครับ

อาหารในเมนู (Speisen)

1. Currywurst ohne Darm (ไส้กรอกแกงกะหรี่แบบไม่มีไส้) ราคา  €2.90 

    • ไส้กรอกที่ไม่มีไส้ห่อ เสิร์ฟพร้อมซอสมะเขือเทศและผงกะหรี่
2. Currywurst mit Darm (ไส้กรอกแกงกะหรี่แบบมีไส้) ราคา €2.90
    • ไส้กรอกที่มีไส้ห่อ เสิร์ฟในรูปแบบคลาสสิก
3. Boulette (บูเลตต์ หรือมีทบอลเยอรมัน) ราคา €2.90
    • มีทบอลปรุงรส เสิร์ฟเป็นของว่างหรืออาหารหลัก
4. Rostbratwurst mit Brötchen (ไส้กรอกย่างถ่านพร้อมขนมปัง) ราคา €3.20
    • ไส้กรอกย่าง เสิร์ฟคู่กับขนมปัง

5. Hamburger (แฮมเบอร์เกอร์ธรรมดา) ราคา €3.50

    • แฮมเบอร์เกอร์แบบธรรมดา

6. Cheeseburger (ชีสเบอร์เกอร์) ราคา €3.40

    • แฮมเบอร์เกอร์เพิ่มชีส

7. Chili-Cheeseburger (ชิลลี่ชีสเบอร์เกอร์) ราคา €3.60 (แบบปกติ), €4.20 (เพิ่มเนื้อ)

    • แฮมเบอร์เกอร์พร้อมชีสและฮาลาเปโญ

8. Pommes frites (มันฝรั่งทอด) ราคา €2.60 (K: เล็ก), €3.50 (M: กลาง), €5.20 (L: ใหญ่)

    • มันฝรั่งทอดสดใหม่

9. Ketchup/Salatmayonnaise (ซอสมะเขือเทศ/มายองเนส) ราคา €0.40

    • ซอสที่เลือกเพิ่มสำหรับอาหาร

10. Kartoffelsalat/Nudelsalat (สลัดมันฝรั่ง/สลัดพาสต้า) ราคา €2.20

    • สลัดเยอรมันเสิร์ฟเย็น

11. Zwiebeln (roh, mariniert) (หัวหอมสด/ดอง) ราคา €0.40

    • เพิ่มหัวหอมสำหรับเมนู

12. Brötchen (ขนมปัง) ราคา €0.30

    • ขนมปังเสิร์ฟคู่กับเมนูอื่น

สำหรับเครื่องดื่ม (Getränke)

1. CocaCola/CocaCola Zero 

ราคา €1.80 (0.33L)
2. Fanta/Sprite ราคา €1.80 (0.33L)
3. Multivitamin (น้ำผลไม้รวม) ราคา €1.60 (0.33L)
4. Mineralwasser (น้ำแร่) ราคา €1.60 (0.25L)
5. Kaffee klein (กาแฟเล็ก) ราคา €1.50 (0.2L)
6. Kaffee groß (กาแฟใหญ่) ราคา €1.80 (0.3L)

คราวนี้ พนักงานของร้านไม่ค่อยพูดภาษาอังกฤษ ต้องสั่งเป็นภาษาเยอรัมน ผมจำลองบทสนทนาแนะนำสำหรับการสั่งที่ร้าน 

พนักงาน: Guten Tag! Was möchten Sie bestellen? 
(สวัสดีครับ คุณต้องการสั่งอะไรดีครับ)

ลูกค้า: Hallo! Ich hätte gern eine Currywurst ohne Darm mit Pommes klein und eine CocaCola, bitte.
(สวัสดีครับ ผมขอไส้กรอกแกงกะหรี่แบบไม่มีไส้ พร้อมมันฝรั่งทอดขนาดเล็ก และโคล่าหนึ่งขวดครับ)

พนักงาน: Möchten Sie Ketchup oder Mayo dazu?
(คุณต้องการซอสมะเขือเทศหรือมายองเนสเพิ่มไหม)

ลูกค้า: Ja, bitte mit Ketchup.
(ขอซอสมะเขือเทศด้วยครับ)

พนักงาน: Alles klar. Das macht zusammen €5,30.
(โอเคครับ ทั้งหมดราคา €5.30)

ลูกค้า: Vielen Dank!
(ขอบคุณครับ)

ตัวอย่างต่อมาลองดูครับ

ลูกค้า: Hallo! Ich hätte gern eine Currywurst, bitte.

(สวัสดีครับ ฉันขอไส้กรอกแกงกะหรี่หนึ่งที่ครับ)

พนักงาน: Möchten Sie die Currywurst 'ohne' oder 'mit' Darm?
(คุณต้องการไส้กรอกแกงกะหรี่แบบไม่มีไส้หรือมีไส้ดีครับ)

ลูกค้า: Ich nehme die 'ohne' bitte.
(ฉันขอแบบไม่มีไส้)

พนักงาน: Und dazu Pommes? Oder nur die Currywurst?
(ต้องการมันฝรั่งทอดเพิ่มไหมครับ หรือแค่ไส้กรอกแกงกะหรี่เฉย ๆ)

ลูกค้า: Ja, bitte mit Pommes. Und mit Ketchup und Mayo.
(เอามันฝรั่งทอดด้วย พร้อมซอสมะเขือเทศและมายองเนสครับ)

พนักงาน: Sehr gut. Die Currywurst mit Pommes ist eine unserer Spezialitäten. Möchten Sie etwas zu trinken?
(เยี่ยมเลย ไส้กรอกแกงกะหรี่กับมันฝรั่งทอดเป็นเมนูพิเศษของเรา คุณต้องการเครื่องดื่มไหมครับ)

ลูกค้า: Ja, bitte eine Cola.
(ขอเป็นโคล่าหนึ่งแก้วครับ)

พนักงาน: Alles klar. Das macht zusammen 8,50 Euro.
(ทั้งหมด 8.50 ยูโรครับ)

ลูกค้า: Danke! Gibt es hier eine besondere Empfehlung?
(ขอบคุณครับ มีเมนูแนะนำพิเศษอะไรอีกไหมครับ)

พนักงาน: Ja, die Rostbratwurst ist auch sehr beliebt, vor allem mit Brötchen. Und wenn Sie etwas Klassisches wollen, probieren Sie unseren Hamburger.
(มีครับ ไส้กรอกย่างถ่านเสิร์ฟพร้อมขนมปังเป็นที่นิยมมาก หรือถ้าคุณอยากลองอะไรที่คลาสสิก ขอแนะนำแฮมเบอร์เกอร์ของเราครับ)

ลูกค้า: Das klingt gut. Vielleicht probiere ich es nächstes Mal.
(ฟังดูน่าสนใจ บางทีครั้งหน้าฉันอาจลองสั่งครับ)

พนักงาน: Super! Viel Spaß mit Ihrer Currywurst und einen schönen Tag noch!
(เยี่ยมเลยครับ ขอให้สนุกกับไส้กรอกแกงกะหรี่ของคุณ และขอให้มีวันที่ดีนะครับ)

ลูกค้า: Danke, Ihnen auch!
(ขอบคุณ เช่นกันครับ)


☝โลโกของร้าน

โลโก้ของร้าน Zur Bratpfanne สะท้อนถึงเอกลักษณ์และคุณลักษณะของร้าน ผมลองวิเคราะห์เล่น ๆ เป็นความเห็นส่วนตัวล้วน ๆ ไม่ได้อ้างอิงใด ๆ ครับ

  1. ตัวอักษร Gothic (ตัวอักษรแบบเยอรมันดั้งเดิม) ดูที่รูปฟอนต์ (font) ตัวอักษรในโลโก้มีการใช้ฟอนต์แบบ Gothic ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเยอรมัน สื่อถึงความเป็นดั้งเดิมและความคลาสสิกของร้านที่ดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี 1949

  2. สีแดงเข้มของพื้นหลังสื่อถึงพลัง ความเข้มข้น และความกระตือรือร้น ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของร้านในการให้บริการและผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด

  3. ตัวการ์ตูนไส้กรอกมีท่าทางร่าเริงถือแก้ว สื่อถึงความสนุกสนานและเป็นกันเองของร้าน 

  4. แตงกวาดองที่มีบุคลิกขี้โมโห การ์ตูนแตงกวาดองที่ดูขี้โมโหอาจเพิ่มความขบขัน และสื่อถึงส่วนประกอบอาหารที่เข้ากันได้ดีกับไส้กรอก ลักษณะของไส้กรอกกับแตงกว่าดองเป็นแท่งเหมือนกัน แต่อร่อยไม่เหมือนกัน

  5. ข้อความ “Seit 1949” (ตั้งแต่ปี 1949) แสดงถึงปีที่ร้านเริ่มก่อตั้ง

มาถึงช่วงท้ายนี้ ถ้าได้มาถึงเบอร์ลินต้องลองมาชิมครับ ตั้ง Google maps มาได้


ณัฐพล จารัตน์

เบอร์ลิน

วันนี้หิมะหายเกลี้ยง




Monday, September 9, 2024

Zu Verschenken : หยิบได้ตามสบายเพื่อต่อชีวิตให้สิ่งของที่คุณรักในกรุงเบอร์ลิน

วันที่ 9 กันยายน 2567 ฝนแรกในวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง

อากาศและลมที่พัดแรงนำความเย็นเข้ามาแทนที่ความร้อนของฤดูร้อนในกรุงเบอร์ลินที่เพิ่งผ่านไป เมื่อความเย็นปะทะความร้อน เช้านี้จึงเกิดฝนตกตั้งแต่ช่วงตี 5 เสียงฝนและลดพัดกันสาด ปลุกให้ผมลืมตาตื่น และเจ้าลาเต้ที่นอนข้าง ๆ ก็พลอยตื่นตามด้วย

มองไปที่ระเบียง เห็นความมืดคลื้มและใบไม้พัดไหวด้วยแรงลม ผมคิดในใจว่า "เวลาของหน้าร้อนผ่านไปเสียแล้ว หน้าร้อนในเยอรมันปีนี้ ร้อนหนังเหมือนความร้อนในกรุงเทพฯ เสียจริง" 

ผมหยิบมือถือดูรูปถ่ายของช่วงหน้าร้อน มีภาพแสดงถึงวัฒนธรรมหรือพฤติกรรมของชาวกรุงเบอร์ลิน จึงอยากจะนำมาเขียนไว้

ภาพที่ผมถ่ายจำนวนหนึ่งเป็นภาพเรียกว่า Zu Verschenken เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า เพื่อบริจาค เพื่อให้ฟรี 

สิ่งที่ผมสังเกตุเห็นในช่วงหน้าร้อน ชาวเบอร์ลินจะนำสิ่งของที่ไม่ใช้เวลา วางไว้หน้าบ้าน หน้าอาพาร์ทเมนต์ (WG) หน้าที่พัดอาศัย หรือตามสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ที่มีผู้ค้นเดินผ่าน สิ่งของเหล่านั้นมีตั้งแต่ของกระจุกกระจิกกระทั้งเบ้อเริ่มเทิ้ม มีทั้งเป็นของใช้ เช่น จานชาม แก้ว ถ้วยกาแฟ เครื่องเคลือบสวย ของเล่นเด็ก ของที่ให้ความรู้มีจำพวกหนังสือทั้งภาษาเยอรมันและภาษาอังกฤษ แม้กระทั้งขนม ผลไม้ ชากาแฟ ก็พบเห็นได้เช่นกัน

ภาพนี้เป็นกล่อง zu verschenken วางให้หยิบได้ตามสบาย วางไว้ไม่ห่างจากที่พักของผม เลยไปสัก 3 บล็อค ในกล่องเป็นของที่เกี่ยวข้องกับเด็ก มีสมุดนิทาน ของเล่นสำหรับเด็กผู้ชายไม่เกิน 5 ขวบ สิ่งของเรียงอย่างเป็นระเบียบ หยิบจับสะวดก และยังดูเป็นของใหม่ แถวนั้นมีเด็กเล็กมากทีเดียว เพราะได้ยินเสียงเด็ก ๆ ร้องทุกครั้งที่เดินผ่าน 


ที่ถนน Zimmermannstrasse ไม่ห่างจากบ้านนัก กล่อง zu verschenken วางอยู่ ผมเข้าไปหยิบดู เห็นเป็นหนังสือท่องเที่ยวต่างประเทศ ขาเดินไปเห็นหลายเล่ม พอขาเดินกลับมาเหลือเพิ่ง 2 เล่ม ถนนเส้นนี้เป็นทางผ่านที่ผู้คนย่านนี้เดินไปสถานนีรถไฟ U9 Schloßstraße เพื่อเข้าเมือง 

กล่องนี้เช่นกันเป็นหนังสือมือสองที่ยังดูดีมาก เสียดายผมอ่านภาษาเยอรมันไม่ได้ ไม่เช่นนั้นคงหยิบกลับมาสักเล่ม ในกล่องเป็นหนังสือนวนิยาย

 
Zu Verschenken เป็นวัฒนธรรมหรือไม่ 

ในมุมมองของผมแล้ว จะนำยามเป็นวัฒนธรรมย่อมไม่เสียดาย จากคำบอกเล่าของคนเยอรมันที่ผมได้พูดคุยด้วยเวลาได้เดินกับลาเต้ ว่ากันว่า วัฒนธรรม Zu Verschenken เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศเยอรมันยังถูกแบ่งเป็นเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตก (East and West Germany) โดยเฉพาะด้านเยอรมันตะวันออก มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (Deutsche Demokratische Republik หรือ German Democratic Republic) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ในช่วงปี 1949 ถึงปี 1990 โดยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเยอรมันที่ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต กล่าวกันว่าประชาชนจะซื้อหาสิ่งของต่าง ๆ ไม่ง่ายดายนัก อาจเป็นด้วยสภาพเศรษฐกิจหรือระบบการปกครอง ประชาชนเริ่มแบ่งปันสิ่งของเหลือใช่ที่ตนมีอยู่แก่ผู้อื่นที่จะได้รับประโยชน์ นำไปใช้ต่อ โดยการวางสิ่งของไว้หน้าบ้าน เมื่อผู้คนผ่านไปมาจะหยิบไป จากนั้นจึงเป็นพฤติกรรมที่แพร่หลายมากขึ้น

เมื่อเยอรมันรวมชาติ วันที่กำแพงเบอร์ลินถล่มลง ประชาชนทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกเดินทางไปมาหาสู่และโยกย้ายชีวิตได้อย่างอิสระ ไม่มีกำแพงขวางกั้น ประชาชนฝั่งตะวันออกนำพฤติกรรมแบ่งปันสิ่งของใช้เช่นเดิม จึงเกิดเป็นพฤติกรรมต่องเนื่อง กระทำตามกันมาถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องจะมีที่มาจริงตามที่เขาเล่ามานั้นหรือไม่ ผมไม่อาจรับรองได้ และยังไม่เคยค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมแต่อย่างใด

ลองดูกล่องนี้ เป็นวีดีโอของภาพยนต์การ์ตูน วางให้หยิบกลับไป อยู่ถัดจากบ้านของผม สิ่งหนึ่งในเบอร์ลินที่สัมผัสได้ คือ ชาวเบอร์ลินยังใช้เทคโนโลยีอนาล็อค ซึ่งมีความคล้ายสังคมญี่ปุ่น เขาพยายามใช้สิ่งของต่าง ๆ อย่างคุ่มค่าและรักษาของให้ใช้ได้นานที่สุด หรือบางท่านกล่าวว่า ชาวเยอรมันหรืออาจจะรวมชาวญี่ปุ่น เป็นสังคมอนุรักษ์นิยมสูง ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงช้า แม้ประเทศจะผลิตเทคโนโลยีระดับก้าวหน้าได้ก็จริง แต่ผลิตเชิงพาณิชน์ ไม่เน้นใช้ภายในประเทศ จึงไม่แปลกใจที่จะมีคนหยิบม้วนวิดีโอเหล่านี้กลับไปดูต่อ หรืออาจจะเก็บสะสมก็ไม่ทราบได้

กล่องนี้เคยมีพวกถ้วยกาแฟและเครื่องแก้วสวย ๆ และดูมีราคาแพง พอเดินกลับมาจะหยิบสักใบก็ช้าไม่ทันกินแล้ว ของหายหมดในไม่กี่ชั่วโมง อาจเป็นเพราะวางใกล้ร้านอาหารไทยข้ามหอมบนถนน Ahornstrasse คนเห็นง่ายและหยิบกลับได้ทันที


ส่วนภาพนี้ มีคนนำผลไม้ น่าจะเป็นลูกพลัมป่า (ที่เกิดในเมืองเบอร์ลิน) ที่นี่เรียกว่า Mirabellen สำหรับของกิน ผลไม้ ขนมปัง เชื่อไหมว่ามีคนหยิบกลับไปจริง ๆ ไม่มีใครจะคิดว่าจะเกิดอะไรไม่ดีหากกินหรือรับประทานเข้าไป ความมั่นใจและความซื่อสัตย์ต่อกันในชุมชนของชาวเบอร์ลินค่อยข้างสูง (หากไม่นับรวมกลุ่มผู้อพยพตามย่านอื่นที่อาจน่ากังวลใจบ้าง) 

ข้างถุงเขียนภาษาเยอรมันว่า können mitgenommen werden แปลว่า สามารถหยิบไปได้ 
ผมเห็นเด็ก ๆ มาหยิบรับประทานกัน สำหรับผลไม้เขาจะล้างทำความสะอาดแล้วนำมาวางไว้ เขาทานกันได้ทันทีโดยไม่คิดว่าจะมีเชื้อโรคตามพื้นดินหรือตามฝุ่นที่ปลิวมา (แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกที่จะทำเช่นนั้น)


Zu Verschenken กับความยั่งยืนด้วย 3Rs (Reuse, Reduce & Recycle)


ยุคนี้ เราพูดถึงความยั่งยืน ไม่ว่านิยามของความยั่งยืนนั้นจะมาจาก SDGs หรือนโยบายใด ๆ ก็ตาม การนำของที่ไม่ใช้เวลา แบ่งปันหรือบริจาคให้แก่บุคคลาอื่นได้ใช้ประโยชน์เป็นการยืดอายุของสิ่งของที่เรารัก ของที่เราเหลือใช้และยังเป็นประโยชน์ เปลี่ยนมือไปยังคนอื่นที่จะได้ใช้ประโยชน์ ลดการผลิตซ้ำ และยังเป็นการใช้ของอย่างคุ้มค่ามากที่สุดเท่าที่ทำได้ จนกว่าของชิ้นนั้นจะใช้ประโยชน์ตามหน้าที่ของมัน เมื่อกลายเป็นขยะก็ยังนำไปหมุนเวียนต่อได้

ผมขอเรียกว่า 3Rs มาจากคำว่า 

Reuse คือ การนำสิ่งของ Zu Verschenken วางไว้ตามหน้าที่พักอาศัย ให้ผู้ต้องการใช้ประโยชน์นำกลับไปใช้ตามอัธยาศัย

Reduce คือ การชะลอการผลิตหรือชะลอการจะซื้อของใหม่ สามารถใช้ของ Zu Verschenken ทดแทนไปก่อนได้

Recycle คือ การหมุนเวียนสิ่งของ Zu Verschenken ในสภาพแวดแล้ม เพื่อไม่นำวัสดุหรือวัตถุดิบใหม่ผลิตเกิดความจำเป็น


ในเมืองไทยมีการส่งมอบของใช้มือถือสองเช่นกัน แต่ไม่ถึงขั้นเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมหรือพฤติกรรมที่ทำเป็นเรื่องปกตินัก ข้อสังเกตุที่ต่างกัน คนเยอรมันจะหยิบเท่าที่ตนเองจำเป็นและมีประโยชน์ต่อตัวเองเท่านั้น ไม่หยิบเผื่อทั้งต่อตนเองหรือผู้อื่น ผมก็ไม่กล้ากล่ามว่า คนไทยเราจะหยิบมากเกินจำเป็น หรือบางท่านก็มองว่าการนำของบริจาคคนอื่นมาใช้เป็นเรื่องน่าอับอาย การที่เราไม่หยิบหรือรู้สึกอับอายน่าจะเป็นพฤติกรรมที่ต่างกับคนที่เยอรมัน ซึ่งต้องเข้าใจบริบทที่ต่างกันของวัฒนธรรมของกันและกันด้วย

อีกมุมหนึ่ง ผมเกริ่นไปนิดหน่อยด้วยคำว่า ผู้อพยพ ข้างต้น ในกรุงเบอร์ลินหรือตามเมืองต่าง ๆ ของเยอรมัน มีผู้อพยพหรือภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม หรือเหตุผลทางการเมือง เข้ามาอาศัยในสถานะผู้ลี้ภัยจำนวนมาก เช่น ชาวซีเรีย ชาวอัฟกัน ชาวอิร่าน หรือชาวตุรกี เป็นต้น สิ่งของ Zu Verschenken กลายเป็นของล้ำค่าที่ต่างจ้องจะหยิบคว้าไว้ อาจใช้ส่วนตัวหรือเพื่อนำไปขายเป็นของมือสองเพื่อรายได้ แต่แน่นอนว่า ความเข้าใจหรือความเข้าถึงความหมายของ zu Verschenken ตะหนักแตกต่างกัน จนหลายครั้งสิ่งของเหล่านี้ถูกทำให้กลายเป็นขยะอย่างน่าเสียดาย 


Zu schenken นับเป็นสิ่งดีงามและมีคุณค่าทางพฤติกรรมสังคมที่ผมชื่นชอบและอยากให้มีเช่นนี้ต่อไป สังคมที่สามารถแบ่งปันกันและเอื้ออาทรต่อกันเช่นนี้


Berlin’s Culture of “Zu Verschenken”

Berlin, the vibrant capital of Germany, is known for its rich history, diverse culture, and innovative spirit. One unique aspect of Berlin’s culture is the practice of “Zu Verschenken,” which translates to “to give away for free.” This tradition reflects the city’s values of sustainability, community, and resourcefulness.

The Concept of “Zu Verschenken”
“Zu Verschenken” is a common sight in Berlin, where residents place items they no longer need on the streets with a sign indicating that they are free for the taking. This practice is not only a way to declutter homes but also a means to promote recycling and reduce waste. Items can range from furniture and clothing to books and household goods.

Historical Background
The tradition of giving away items for free has deep roots in Berlin’s history. During the post-war period, resources were scarce, and people had to rely on each other for support. This spirit of sharing and community has persisted over the decades, evolving into the modern practice of “Zu Verschenken.”

The Role of Community
In Berlin, “Zu Verschenken” is more than just a way to get rid of unwanted items; it is a community-building activity. Neighbors often come together to organize “giveaway days” where they collectively place items outside for others to take. This fosters a sense of camaraderie and mutual support among residents.

Environmental Impact
The environmental benefits of “Zu Verschenken” are significant. By giving items a second life, Berliners help reduce the amount of waste that ends up in landfills. This practice aligns with the city’s commitment to sustainability and environmental consciousness.

Personal Stories
Many Berliners have heartwarming stories about their experiences with “Zu Verschenken.” For example, a family might find a much-needed piece of furniture, or a student might discover a stack of books that enrich their studies. These personal anecdotes highlight the positive impact of this practice on individuals and the community as a whole.

Conclusion
Berlin’s culture of “Zu Verschenken” is a testament to the city’s innovative and community-oriented spirit. It is a practice that not only benefits individuals but also contributes to a more sustainable and connected society. As Berlin continues to grow and evolve, the tradition of “Zu Verschenken” will undoubtedly remain a cherished aspect of its cultural landscape.

ณัฐพล จารัตน์
วันแรกของฤดูใบไม้ร่วงของกรุงเบอร์ลิน
@nattjarat