Search This Blog

Showing posts with label zu verschenken. Show all posts
Showing posts with label zu verschenken. Show all posts

Monday, September 9, 2024

Zu Verschenken : หยิบได้ตามสบายเพื่อต่อชีวิตให้สิ่งของที่คุณรักในกรุงเบอร์ลิน

วันที่ 9 กันยายน 2567 ฝนแรกในวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง

อากาศและลมที่พัดแรงนำความเย็นเข้ามาแทนที่ความร้อนของฤดูร้อนในกรุงเบอร์ลินที่เพิ่งผ่านไป เมื่อความเย็นปะทะความร้อน เช้านี้จึงเกิดฝนตกตั้งแต่ช่วงตี 5 เสียงฝนและลดพัดกันสาด ปลุกให้ผมลืมตาตื่น และเจ้าลาเต้ที่นอนข้าง ๆ ก็พลอยตื่นตามด้วย

มองไปที่ระเบียง เห็นความมืดคลื้มและใบไม้พัดไหวด้วยแรงลม ผมคิดในใจว่า "เวลาของหน้าร้อนผ่านไปเสียแล้ว หน้าร้อนในเยอรมันปีนี้ ร้อนหนังเหมือนความร้อนในกรุงเทพฯ เสียจริง" 

ผมหยิบมือถือดูรูปถ่ายของช่วงหน้าร้อน มีภาพแสดงถึงวัฒนธรรมหรือพฤติกรรมของชาวกรุงเบอร์ลิน จึงอยากจะนำมาเขียนไว้

ภาพที่ผมถ่ายจำนวนหนึ่งเป็นภาพเรียกว่า Zu Verschenken เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า เพื่อบริจาค เพื่อให้ฟรี 

สิ่งที่ผมสังเกตุเห็นในช่วงหน้าร้อน ชาวเบอร์ลินจะนำสิ่งของที่ไม่ใช้เวลา วางไว้หน้าบ้าน หน้าอาพาร์ทเมนต์ (WG) หน้าที่พัดอาศัย หรือตามสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ที่มีผู้ค้นเดินผ่าน สิ่งของเหล่านั้นมีตั้งแต่ของกระจุกกระจิกกระทั้งเบ้อเริ่มเทิ้ม มีทั้งเป็นของใช้ เช่น จานชาม แก้ว ถ้วยกาแฟ เครื่องเคลือบสวย ของเล่นเด็ก ของที่ให้ความรู้มีจำพวกหนังสือทั้งภาษาเยอรมันและภาษาอังกฤษ แม้กระทั้งขนม ผลไม้ ชากาแฟ ก็พบเห็นได้เช่นกัน

ภาพนี้เป็นกล่อง zu verschenken วางให้หยิบได้ตามสบาย วางไว้ไม่ห่างจากที่พักของผม เลยไปสัก 3 บล็อค ในกล่องเป็นของที่เกี่ยวข้องกับเด็ก มีสมุดนิทาน ของเล่นสำหรับเด็กผู้ชายไม่เกิน 5 ขวบ สิ่งของเรียงอย่างเป็นระเบียบ หยิบจับสะวดก และยังดูเป็นของใหม่ แถวนั้นมีเด็กเล็กมากทีเดียว เพราะได้ยินเสียงเด็ก ๆ ร้องทุกครั้งที่เดินผ่าน 


ที่ถนน Zimmermannstrasse ไม่ห่างจากบ้านนัก กล่อง zu verschenken วางอยู่ ผมเข้าไปหยิบดู เห็นเป็นหนังสือท่องเที่ยวต่างประเทศ ขาเดินไปเห็นหลายเล่ม พอขาเดินกลับมาเหลือเพิ่ง 2 เล่ม ถนนเส้นนี้เป็นทางผ่านที่ผู้คนย่านนี้เดินไปสถานนีรถไฟ U9 Schloßstraße เพื่อเข้าเมือง 

กล่องนี้เช่นกันเป็นหนังสือมือสองที่ยังดูดีมาก เสียดายผมอ่านภาษาเยอรมันไม่ได้ ไม่เช่นนั้นคงหยิบกลับมาสักเล่ม ในกล่องเป็นหนังสือนวนิยาย

 
Zu Verschenken เป็นวัฒนธรรมหรือไม่ 

ในมุมมองของผมแล้ว จะนำยามเป็นวัฒนธรรมย่อมไม่เสียดาย จากคำบอกเล่าของคนเยอรมันที่ผมได้พูดคุยด้วยเวลาได้เดินกับลาเต้ ว่ากันว่า วัฒนธรรม Zu Verschenken เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศเยอรมันยังถูกแบ่งเป็นเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตก (East and West Germany) โดยเฉพาะด้านเยอรมันตะวันออก มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (Deutsche Demokratische Republik หรือ German Democratic Republic) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ในช่วงปี 1949 ถึงปี 1990 โดยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเยอรมันที่ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต กล่าวกันว่าประชาชนจะซื้อหาสิ่งของต่าง ๆ ไม่ง่ายดายนัก อาจเป็นด้วยสภาพเศรษฐกิจหรือระบบการปกครอง ประชาชนเริ่มแบ่งปันสิ่งของเหลือใช่ที่ตนมีอยู่แก่ผู้อื่นที่จะได้รับประโยชน์ นำไปใช้ต่อ โดยการวางสิ่งของไว้หน้าบ้าน เมื่อผู้คนผ่านไปมาจะหยิบไป จากนั้นจึงเป็นพฤติกรรมที่แพร่หลายมากขึ้น

เมื่อเยอรมันรวมชาติ วันที่กำแพงเบอร์ลินถล่มลง ประชาชนทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกเดินทางไปมาหาสู่และโยกย้ายชีวิตได้อย่างอิสระ ไม่มีกำแพงขวางกั้น ประชาชนฝั่งตะวันออกนำพฤติกรรมแบ่งปันสิ่งของใช้เช่นเดิม จึงเกิดเป็นพฤติกรรมต่องเนื่อง กระทำตามกันมาถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องจะมีที่มาจริงตามที่เขาเล่ามานั้นหรือไม่ ผมไม่อาจรับรองได้ และยังไม่เคยค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมแต่อย่างใด

ลองดูกล่องนี้ เป็นวีดีโอของภาพยนต์การ์ตูน วางให้หยิบกลับไป อยู่ถัดจากบ้านของผม สิ่งหนึ่งในเบอร์ลินที่สัมผัสได้ คือ ชาวเบอร์ลินยังใช้เทคโนโลยีอนาล็อค ซึ่งมีความคล้ายสังคมญี่ปุ่น เขาพยายามใช้สิ่งของต่าง ๆ อย่างคุ่มค่าและรักษาของให้ใช้ได้นานที่สุด หรือบางท่านกล่าวว่า ชาวเยอรมันหรืออาจจะรวมชาวญี่ปุ่น เป็นสังคมอนุรักษ์นิยมสูง ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงช้า แม้ประเทศจะผลิตเทคโนโลยีระดับก้าวหน้าได้ก็จริง แต่ผลิตเชิงพาณิชน์ ไม่เน้นใช้ภายในประเทศ จึงไม่แปลกใจที่จะมีคนหยิบม้วนวิดีโอเหล่านี้กลับไปดูต่อ หรืออาจจะเก็บสะสมก็ไม่ทราบได้

กล่องนี้เคยมีพวกถ้วยกาแฟและเครื่องแก้วสวย ๆ และดูมีราคาแพง พอเดินกลับมาจะหยิบสักใบก็ช้าไม่ทันกินแล้ว ของหายหมดในไม่กี่ชั่วโมง อาจเป็นเพราะวางใกล้ร้านอาหารไทยข้ามหอมบนถนน Ahornstrasse คนเห็นง่ายและหยิบกลับได้ทันที


ส่วนภาพนี้ มีคนนำผลไม้ น่าจะเป็นลูกพลัมป่า (ที่เกิดในเมืองเบอร์ลิน) ที่นี่เรียกว่า Mirabellen สำหรับของกิน ผลไม้ ขนมปัง เชื่อไหมว่ามีคนหยิบกลับไปจริง ๆ ไม่มีใครจะคิดว่าจะเกิดอะไรไม่ดีหากกินหรือรับประทานเข้าไป ความมั่นใจและความซื่อสัตย์ต่อกันในชุมชนของชาวเบอร์ลินค่อยข้างสูง (หากไม่นับรวมกลุ่มผู้อพยพตามย่านอื่นที่อาจน่ากังวลใจบ้าง) 

ข้างถุงเขียนภาษาเยอรมันว่า können mitgenommen werden แปลว่า สามารถหยิบไปได้ 
ผมเห็นเด็ก ๆ มาหยิบรับประทานกัน สำหรับผลไม้เขาจะล้างทำความสะอาดแล้วนำมาวางไว้ เขาทานกันได้ทันทีโดยไม่คิดว่าจะมีเชื้อโรคตามพื้นดินหรือตามฝุ่นที่ปลิวมา (แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกที่จะทำเช่นนั้น)


Zu Verschenken กับความยั่งยืนด้วย 3Rs (Reuse, Reduce & Recycle)


ยุคนี้ เราพูดถึงความยั่งยืน ไม่ว่านิยามของความยั่งยืนนั้นจะมาจาก SDGs หรือนโยบายใด ๆ ก็ตาม การนำของที่ไม่ใช้เวลา แบ่งปันหรือบริจาคให้แก่บุคคลาอื่นได้ใช้ประโยชน์เป็นการยืดอายุของสิ่งของที่เรารัก ของที่เราเหลือใช้และยังเป็นประโยชน์ เปลี่ยนมือไปยังคนอื่นที่จะได้ใช้ประโยชน์ ลดการผลิตซ้ำ และยังเป็นการใช้ของอย่างคุ้มค่ามากที่สุดเท่าที่ทำได้ จนกว่าของชิ้นนั้นจะใช้ประโยชน์ตามหน้าที่ของมัน เมื่อกลายเป็นขยะก็ยังนำไปหมุนเวียนต่อได้

ผมขอเรียกว่า 3Rs มาจากคำว่า 

Reuse คือ การนำสิ่งของ Zu Verschenken วางไว้ตามหน้าที่พักอาศัย ให้ผู้ต้องการใช้ประโยชน์นำกลับไปใช้ตามอัธยาศัย

Reduce คือ การชะลอการผลิตหรือชะลอการจะซื้อของใหม่ สามารถใช้ของ Zu Verschenken ทดแทนไปก่อนได้

Recycle คือ การหมุนเวียนสิ่งของ Zu Verschenken ในสภาพแวดแล้ม เพื่อไม่นำวัสดุหรือวัตถุดิบใหม่ผลิตเกิดความจำเป็น


ในเมืองไทยมีการส่งมอบของใช้มือถือสองเช่นกัน แต่ไม่ถึงขั้นเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมหรือพฤติกรรมที่ทำเป็นเรื่องปกตินัก ข้อสังเกตุที่ต่างกัน คนเยอรมันจะหยิบเท่าที่ตนเองจำเป็นและมีประโยชน์ต่อตัวเองเท่านั้น ไม่หยิบเผื่อทั้งต่อตนเองหรือผู้อื่น ผมก็ไม่กล้ากล่ามว่า คนไทยเราจะหยิบมากเกินจำเป็น หรือบางท่านก็มองว่าการนำของบริจาคคนอื่นมาใช้เป็นเรื่องน่าอับอาย การที่เราไม่หยิบหรือรู้สึกอับอายน่าจะเป็นพฤติกรรมที่ต่างกับคนที่เยอรมัน ซึ่งต้องเข้าใจบริบทที่ต่างกันของวัฒนธรรมของกันและกันด้วย

อีกมุมหนึ่ง ผมเกริ่นไปนิดหน่อยด้วยคำว่า ผู้อพยพ ข้างต้น ในกรุงเบอร์ลินหรือตามเมืองต่าง ๆ ของเยอรมัน มีผู้อพยพหรือภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม หรือเหตุผลทางการเมือง เข้ามาอาศัยในสถานะผู้ลี้ภัยจำนวนมาก เช่น ชาวซีเรีย ชาวอัฟกัน ชาวอิร่าน หรือชาวตุรกี เป็นต้น สิ่งของ Zu Verschenken กลายเป็นของล้ำค่าที่ต่างจ้องจะหยิบคว้าไว้ อาจใช้ส่วนตัวหรือเพื่อนำไปขายเป็นของมือสองเพื่อรายได้ แต่แน่นอนว่า ความเข้าใจหรือความเข้าถึงความหมายของ zu Verschenken ตะหนักแตกต่างกัน จนหลายครั้งสิ่งของเหล่านี้ถูกทำให้กลายเป็นขยะอย่างน่าเสียดาย 


Zu schenken นับเป็นสิ่งดีงามและมีคุณค่าทางพฤติกรรมสังคมที่ผมชื่นชอบและอยากให้มีเช่นนี้ต่อไป สังคมที่สามารถแบ่งปันกันและเอื้ออาทรต่อกันเช่นนี้


Berlin’s Culture of “Zu Verschenken”

Berlin, the vibrant capital of Germany, is known for its rich history, diverse culture, and innovative spirit. One unique aspect of Berlin’s culture is the practice of “Zu Verschenken,” which translates to “to give away for free.” This tradition reflects the city’s values of sustainability, community, and resourcefulness.

The Concept of “Zu Verschenken”
“Zu Verschenken” is a common sight in Berlin, where residents place items they no longer need on the streets with a sign indicating that they are free for the taking. This practice is not only a way to declutter homes but also a means to promote recycling and reduce waste. Items can range from furniture and clothing to books and household goods.

Historical Background
The tradition of giving away items for free has deep roots in Berlin’s history. During the post-war period, resources were scarce, and people had to rely on each other for support. This spirit of sharing and community has persisted over the decades, evolving into the modern practice of “Zu Verschenken.”

The Role of Community
In Berlin, “Zu Verschenken” is more than just a way to get rid of unwanted items; it is a community-building activity. Neighbors often come together to organize “giveaway days” where they collectively place items outside for others to take. This fosters a sense of camaraderie and mutual support among residents.

Environmental Impact
The environmental benefits of “Zu Verschenken” are significant. By giving items a second life, Berliners help reduce the amount of waste that ends up in landfills. This practice aligns with the city’s commitment to sustainability and environmental consciousness.

Personal Stories
Many Berliners have heartwarming stories about their experiences with “Zu Verschenken.” For example, a family might find a much-needed piece of furniture, or a student might discover a stack of books that enrich their studies. These personal anecdotes highlight the positive impact of this practice on individuals and the community as a whole.

Conclusion
Berlin’s culture of “Zu Verschenken” is a testament to the city’s innovative and community-oriented spirit. It is a practice that not only benefits individuals but also contributes to a more sustainable and connected society. As Berlin continues to grow and evolve, the tradition of “Zu Verschenken” will undoubtedly remain a cherished aspect of its cultural landscape.

ณัฐพล จารัตน์
วันแรกของฤดูใบไม้ร่วงของกรุงเบอร์ลิน
@nattjarat