ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ภริยา และคณะ ซึ่งมีกำหนดเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 24 – 26 มกราคม 2567 ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี นับเป็นการเยือนของบุคคลสำคัญระดับผู้นำประเทศของเยอรมนีในรอบทศวรรษ
จากการติดตามข่าวสาร ทราบว่าเมื่อวันที่
13 ธันวาคม 2566 นายแอ็นสท์ ว็อล์ฟกัง ไรเชิล (H.E.Mr.Ernst
Wolfgang Reichel) เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ประจำประเทศไทย
เข้าพบ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อเตรียมการเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ
นับจากวันนั้นทั้งสองประเทศดำเนินการให้เกิดกำหนดการต่าง ๆ [1]
เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 สำนักงานบริหารกลางของประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Bundespräsidialamt) เผยแพร่ข่าวการเยือนประเทศไทยในเว็บไซต์ทางการของสำนักงานฯ ให้ประชาชนชาวเยอรมนีทราบอย่างเปิดเผย โดยรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ดังนี้
“ประธานาธิบดีเยอรมนีจะเดินทางเยือนไทยและเวียดนามอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่
22 - 27 ม.ค. 67”
สำหรับการเยือนประเทศไทย มีกำหนดระยะเวลา 2 วัน ด้วยวัตถุประสงค์ขยายความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ คณะร่วมเดินทางจากฝ่ายเยอรมนีเป็นคณะผู้แทนภาคธุรกิจและสื่อมวลชนของเยอรมนี
กำหนดการของวันแรกของการเยือนประเทศไทย ประธานาธิบดีเยอรมนีจะเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี มีกำหนดการพบปะกับนายกรัฐมนตรีเพื่อประชุมร่วมกับคณะผู้แทนภาคธุรกิจของเยอรมนี และจะเดินทางเข้าเยี่ยมชมโรงงานเมอร์เซเดส - เบนซ์ จังหวัดสมุทรปราการ และมีกำหนดเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยกรุงเทพ (MOCA) นอกจากนั้นมีกำหนดการพูดคุยกับนักการเมืองฝ่ายค้านอีกด้วย
กำหนดการของวันที่สองของการเยือนประเทศไทย ประธานาธิบดีเยอรมนีจะเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อเยี่ยมชมโครงการนำร่องการเพราะปลูกข้าวอย่างยั่งยืนและการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ และเดินทางไปเขื่อนสิรินธรเพื่อเยี่ยมชมระบบโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ ต่อจากนั้นจะเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติผาแต้ม [2]
กำหนดการคร่าว ๆ ได้เผยแพร่และสื่อสารมวลชนภายในประเทศไทยจึงเริ่มเสนอข่าวในสื่อต่าง ๆ สร้างความอยากรู้อยากทราบและความตื่นเต้นที่จะได้ต้นอรับแขกบ้านแขกและผู้เป็นมิตรสำคัญจากภาคพื้นยุโรป มีความสัมพันธ์กับประเทศไทยมาอย่างยาวนานมาถึง 160 ปี [3]
ต่อมา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567 สำนักงานบริหารกลางของประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Bundespräsidialamt) เผยแพร่กำหนดการอย่างกว้างต่อประชาชนชาวเยอรมนีในเว็บไซต์ของสำนักงานฯ มีรายละเอียด ดังนี้ [4]
กำหนดการ
วันพฤหัสบดีที่ 25 ม.ค. 2024
ช่วงเช้า |
เดินตลาดน้อย ย่านเจริญกรุงเดินผ่านย่านประวัติศาสตร์ของกรุงเทพฯ |
10.00 น. |
ไปทำเนียบรัฐบาล
และเดินตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ พร้อมนายกรัฐมนตรี ลงนามลงในสมุดเยี่ยม และสนทนากับนายกรัฐมนตรี
พร้อมหารือร่วมกับคณะผู้แทนภาคธุรกิจ |
11.30 น. |
ประชุมร่วมกับสื่อมวลชน
และรับประทานอาการกลางวัน รับรองโดยนายกรัฐมนตรี |
ช่วงบ่าย |
เดินทางไปจังหวัดสมุทรปราการ
เข้าเยี่ยมชมโรงงานเมอร์เซเดส-เบนซ์ ต่อจากนั้น เดินทางกลับโรงแรมที่พัก และมีกำหนดการพบหัวหน้าพรรคก้าวไกลเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประเด็นการเมือง |
ช่วงค่ำ |
เข้าเผ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี
ณ พระราชวังดุสิต |
20.00 น. |
เดินทางไปเยี่ยมชมนิทรรศการ
ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย (MOCA BANGKOK) และต่อด้วยงานต้อนรับโดยเอกอัครราชทูตเยอรมนี
กรุงเทพฯ |
วันศุกร์ที่ 26 ม.ค. 2024
ช่วงเช้า |
เดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี
โดยเครื่องบิน |
12.15 น.
|
เยี่ยมชมฟาร์มต้นแบบเพื่อการปลูกข้าวและการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน
และพูดคุยกับตัวแทนชุมชนท้องถิ่น |
ช่วงบ่าย |
เยี่ยมชมศูนย์ควบคุมและระบบโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด
ณ เขื่อนสิรินธร ต่อจากนั้น เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติผาแต้ม |
ช่วงค่ำ |
เดินทางกลับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี |
วันเสาร์ที่ 27 ม.ค. 2024
ช่วงเช้า |
เดินทางถึงกรุงเบอร์ลิน |
กำหนดการต่าง ๆ เผยแพร่เป็นสาธารณะต่อประชาชน สามารถเข้าถึงได้บนระบบอินเตอร์เน็ตหรือเพียง google อย่างไรก็ตามกำหนดการเป็นกำหนดการกว้างซึ่งเป็นตามนโยบาย Open Government Germany ที่ข้อมูลของภาครัฐต้องเปิดเผยให้ทราบทั่วไป
การเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์การเมืองโลกที่กำลังเข้มข้น เช่น ประธานาธิบดีไต้หวันคนใหม่เพิ่งได้รับเลือกตั้ง สงครามอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส วิกฤตการณ์ทะเลแดง เป็นต้น
มีผู้สงสัยอีกประการในกำหนดการ เหตุใดต้องเดินทางไปเยี่ยมชมเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ความเห็นของผมส่วนตัวคิดว่า ในเขื่อนสิรินธรมีโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด (Hydro-floating Solar Hybrid) ใหญ่ที่สุดในโลกลอยเหนือเขื่อน เป็นโครงการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกิจการคู่ค้ากับบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทเยอรมนีและมีประวัติเข้ามาดำเนินกิจการในประเทศยาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 [5]
ผมคิดว่าเยอรมนีกำลังดำเนินการกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรสำคัญในอาเซียน ซึ่งทุกประเทศเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาในอีกทางหนึ่งด้วย ส่วนการเดินทางไปดูเขื่อน ท่านเองคงอยากจะเห็นการสร้างพลังานทดแทนและเป็นกิจการที่ร่วมมือกับบริษัทของเยอรมนี ที่จะสามารถแสดงศักยภาพทางเทคโนโลยีแก่เยอรมันและประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง
ขอให้ความสัมพันธ์ของประเทศไทยและเยอรมนีเกิดผลประโยชน์สูงสุดและยั่งยืนต่อโลกใบนี้
อ้างอิงข้อมูล
[2] Bundespräsidialamt.เข้าถึงhttps://www.bundespraesident.de/SharedDocs/Pressemitteilungen/DE/2024/01/240102-Vietnam-Thailand.html#:~:text=Bundespr%C3%A4sident%20Frank%2DWalter%20Steinmeier%20und,offiziellen%20Besuch%20ins%20K%C3%B6nigreich%20Thailand
[3] The Embassy of
Germany, Bangkok เข้าถึง https://bangkok.diplo.de/th-de/themen/160-j-diplo-beziehungen/2511562
[4] Bundespräsidialamt.เข้าถึง https://www.bundespraesident.de/SharedDocs/Berichte/DE/Frank-Walter-Steinmeier/2024/01/240125-26_Offizieller-Besuch-Thailand.html