Search This Blog

Showing posts with label เวียดนาม. Show all posts
Showing posts with label เวียดนาม. Show all posts

Saturday, June 11, 2022

“โฮจิมิน” ผู้นำโลกตะวันออกและภูมิปัญญาตะวันตก

 

  1. บทนำ

ประเทศเวียดนามที่เจริญรุดหน้าในปัจจุบันท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจของโลกยุคใหม่ที่วุ่นวายนั้น เมื่อมองย้อนกลับไปใน พ.ศ.2518 ประเทศเวียดนามเพิ่งจะเสร็จจากสงครามภายในประเทศ และเพิ่งฟื้นฟูประเทศยังไม่ถึง 50 ปี แต่ประเทศกลับมาเสถียรภาพในการพัฒนาตามนโยบายการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง เหตุผลใหญ่เหตุผลหนึ่งที่เป็นแรงผลักดันประเทศเวียดนามให้ก้าวหน้ามาอย่างก้าวกระโดดอย่างในปัจจุบันนี้ “โฮจิมิน” ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศเวียดนาม ผู้นำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากฝรั่งเศส และบทบาททางการเมืองที่ท่านได้ต่อสู้นำให้ประเทศเวียตนามได้รับเอกราช จนกลายเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญที่สุดที่ชาวเวียดนามยกย่องสูงสุด

“โฮจิมิน” ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนา ระหว่าง พ.ศ. 2488 – พ.ศ. 2498 และต่อมาดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ระหว่าง พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2512  ท่านเกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 ที่หมู่บ้านเฮาตู จังหวัดเหงะอาน อินโดจีนของฝรั่งเศส [1] ท่านเสียชีวิต เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512  ในวัย 79 ปี กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ท่านเสียชีวิตก่อนที่จะได้เห็นประเทศรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งท่านสังกัดพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam) ท่านสมรสกับนางคู่ถัง ตรุด มินห์

ท่านโฮจิมินห์ (Hồ Chí Minh) มาจากอักษรจีนคือ 胡志明  มีความหมายว่า “แสงสว่างที่นำทาง” เป็นนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งในภายหลังได้กลายมาเป็นนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (Democratic Republic of Vietnam) หรือประเทศเวียดนามเหนือ หลังจากสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม ที่เมืองไซ่ง่อน สถานที่ที่เป็ยเมืองหลวงเก่าของเวียดนามใต้ ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นท่านโฮจิมินห์ซิตี (Ho Chi Minh City) เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านโฮจิมินห์ ชาวเวียดนามถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการประกาศอิสรภาพของเวียดนาม 


2. วัตถุประสงค์ 

2.1 เพื่อศึกษาชีวะประวัติและแนวคิดของท่านโฮจิมิน

2.2 เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเชิงลักษณะภาวะผู้นำของท่านโฮจิมิน ตามทฤษฎีผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)


3.ประโยชน์ที่จะได้รับ

จากาการศึกษา สรุปได้ว่า 

3.1 ทราบประวัติบุคคลสำคัญทางการเมืองของอาเซียน

3.2 ทราบลักษณะการมีภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลงในการตัดสินใจ

3.3ทราบมุมมองทางทฤษฏีที่นำมาวิเคราห์ในเชิงผู้นำเชิงการเปลี่ยน (Transformational Leadership)


4.วิธีการศึกษา

วิธีการศึกษาใช้วิธีการวิเคราะห์ จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา (Documentary Analysis) ซึ่งเป็นเอกสารและข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าจากหนังสือ สื่อเอกสารอิเล็กทรอนิค โดยเน้นการใช้สารานุกรมเสรีวีกีพีเดียเป็นเอกสารปฐมภูมิ ส่วนเอกสารอ้างอิงที่อ้างในวีกีพีเดียนำมาเป็นข้อมูลเอกสารทุติยภูมิในการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตต่อ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ 


5.ผลการศึกษา

ท่านโฮจิมิน เมื่อนำทฤษฏีว่าด้วย ภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลง จะเห็นได้ว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการที่ผู้นำพยายามเปลี่ยนแปลงผู้ตามให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ  เกิดความไว้วางใจ  เกิดความจงรักภักดีและเชื่อถือในตัวผู้นำเกิดความคล้อยตาม  พยายามแก้ปัญหาในการปฏิบัติ  เกิดความมั่นใจในตนเอง  มีความรับผิดชอบและยอมอุทิศตน  การที่ผู้นำประพฤติตัวเป็นแบบอย่างหรือเป็นโมเดลสำหรับผู้ตาม ผู้นำจะเป็นที่ยกย่อง เคารพนับถือ ศรัทธา ไว้วางใจและทำให้ผู้ตามเกิดความภาคภูมิใจเมื่อได้ร่วมงานกัน ตามแนวความคิดของ เบิร์น (Bern) ได้ให้ความหมายของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไว้ว่า คือ กระบวนการซึ่งทั้งผู้นำและผู้ตามต่างยกระดับที่สูงขึ้นทั้งแรงจูงใจและจริยธรรมซึ่งกันและกันโดยผู้นำจะค้นหา เพื่อยก ระดับความสำนึกของผู้ตามให้ไปสู่อุดมการณ์ที่สูงส่ง

1. ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน( Transactional Leadership) เป็นปฏิสัมพันธ์ที่ผู้นำติดต่อกับผู้ตามเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

2.  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ผู้นำและผู้ตามมีปฏิสัมพันธ์กันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพทั้งสองฝ่าย ยกระดับความต้องการขอผู้ตามให้สูงขึ้นตามลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์และทำให้ผู้ตามเกิดจิตสำนึกของอุดมการณ์ยึดถือค่านิยมเชิงจริยธรรม เช่น อิสรภาพ  ความยุติธรรม ความเสมอภาค  สันติภาพ และสิทธิมนุษยชน

3.  ภาวะผู้นำแบบจริยธรรม(Moral Leadership) ผู้นำการเปลี่ยนแปลจะเปลี่ยนเป็นผู้นำแบบจริยธรรมอย่างแท้จริงเมื่อได้ยกระดับความประพฤติและความปรารถนาเชิงจริยธรรมของผู้นำและผู้ตามให้สูงขึ้น 

เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า ภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลงของท่านโฮจิมิน ตามที่เสนอมมานั้น น่าจะมีความเหมาะสมที่สุดในการอธิบายภาวะผู้นำของท่านโฮจิมินที่ได้เรียนรู้ และจะได้นำมาปรับใช้ต่อไปในการดำเนินชีวิต

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจมากคือ ภาวะผู้นำของผู้นำตะวันออก มักจะเชื่อมโยงความคิดความเชื่อทางศานา ประเพณีและวัฒนธรรมตามแต่ละท้องถิ่นเข้ามาด้วย ท่านโฮจิมินก็เช่นกันมีความนับถือในลัทธิขงจื้อตามแบบจีน ยึดมั่นในศรัทธา ความจริงใจ ไม่เอารัดเอาเปลี่ยน ช่วยเหลือและอุปถัมภ์ผู้อื่นที่ได้รับความยากลำบาก ซึ่งต่างจากโลกตะวันตกที่ ผู้นำต้องเพิ่งตนเอง เชื่อมั่นในตนเองเป็นหลักก่อน



6. ประวัติ  

ท่านท่านโฮจิมินห์  (Hồ Chí Minh)  เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 ที่หมู่บ้านหว่างจู่ จังหวัดเหงะอาน ตอนบนของเวียดนาม ในวัยเด็กท่านมีชื่อว่า เหงียน ซินห์ ซัง (Nguyễn Sinh Cung) เป็นบุตรคนที่ 3 และบุตรชายคนรองของนายเหงียน ซินห์ ซ็อก ( Nguyễn Sinh Sắc) ซึ่งบิดาของท่านเป็นปัญญาชนชาวเวียดนาม ซึ่งเวียดนามขณะนั้นตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศส ดังนั้นทั้งท่านท่านโฮจิมินห์และบิดาต่างตกเสมือนอยู่ใน 2 วัฒนธรรม ทั้งวัฒนธรรมตะวันตกของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ปกครอง และวัฒนธรรมตะวันออกแบบจีนและลัทธิขงจื๊ออันเป็นวัฒนธรรมของเวียดนาม 

ด้วยวัยเพียงไม่กี่ขวบ ท่านโฮจิมินห์ได้ย้ายตามบิดาไปเว้ ซึ่งไปสอบจอหงวน แต่ต่อมาท่านโฮจิมินห์ได้อาศัยอยู่กับมารดาตามลำพังเพียง 2 คน เพราะบิดาเมื่อสอบจอหงวนได้ ได้ย้ายไปรับราชการที่ต่างเมือง ขณะที่มารดากำลังตั้งครรภ์ ต่อมาก็ได้คลอดลูกคนเล็กออกมา ท่านท่านโฮจิมินห์ในวัย 11 ขวบต้องเลี้ยงน้องเอง เนื่องจากมารดาได้เสียชีวิตไปในขณะคลอด และไม่นานน้องคนเล็กก็เสียชีวิต เมื่อโตขึ้น ท่านท่านโฮจิมินห์ได้สัมผัสกับการเมืองเป็นครั้งแรกจากการที่เป็นล่ามภาษาฝรั่งเศสให้กับชาวนา ถูกเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสกดขี่  ในช่วงนี้ ท่านท่านโฮจิมินห์ได้กล่าวว่า ตนได้เห็นการกดขี่และความอยุติธรรมรวมถึงการได้เห็นชาวนาถูกยิงตายต่อหน้าต่อตา 

ต่อมาท่านท่านโฮจิมินห์รู้ตัวว่าตนเองต้องได้รับการศึกษาที่มากขึ้นและออกไปท่องโลกกว้างเพื่อเปิดโลกทัศน์ของตน ในปี พ.ศ. 2454 จึงได้ย้ายจากเวียดนามไปเป็นพ่อครัวในประเทศฝรั่งเศส ด้วยการสมัครเป็นลูกเรือบนเรือเดินสมุทร ที่ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมของเวียดนามในขณะนั้น และได้ศึกษาเรียนต่อที่นั่น ท่านท่านโฮจิมินห์ ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า เหงียน อ้าย กว๊อก ซึ่งแปลว่า "เหงียนผู้รักชาติ" ท่านท่านโฮจิมินห์ได้ติดต่อกับชาวเวียดนามในฝรั่งเศส เพื่อรวมตัวกันเรียกร้องอิสรภาพจากชาติมหาอำนาจตะวันตกหลายชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ในฐานะโฆษกของกลุ่ม แต่ทว่าก็ได้รับการรังเกียจและถูกกีดกันออกมา เมื่อท่านท่านโฮจิมินห์พยายามจะยื่นหนังสือต่อ ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodro Wilson) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ขณะเดินทางมายังฝรั่งเศส เพื่อลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย [2] (Treaty of Versailles) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ต่อมาท่านโฮจิมินห์ก็ได้ย้ายจากฝรั่งเศสไปสหรัฐอเมริกาและอังกฤษตามลำดับ หลังจากนั้นก็ได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเมื่อรัฐบาลก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็คเริ่มการปราบปรามคอมมิวนิสต์นั้นท่านโฮจิมินห์ได้หลบหนีจากจีนมายังจังหวัดนครพนม ของประเทศไทย โดยได้บวชเป็นพระภิกษุทำการสอนลัทธิคอมมิวนิสต์ให้ชาวไทย โดยใช้ชื่อว่า "ลุงโฮ" (Uncle Ho)

โดยช่วงแรกที่หลบหนีในประเทศไทยนั้นเริ่มจากขึ้นเรือที่ท่าน้ำเอสบี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงแรมแม่น้ำ) ไปยังจังหวัดพิจิตร จากนั้นได้เดินทางไปต่อยังจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย โดยใช้ชื่อว่า "เฒ่าจิ๋น" รวมเวลาพำนักอยู่ในประเทศไทยทั้งสิ้น 7 ปี ในระยะนี้ท่านโฮจิมินห์ต้องเดินทางไปหลบซ่อนในหลายประเทศ ใช้ชื่อปลอมหลายชื่อ ซึ่งครั้งหนึ่งท่านโฮจิมินห์ได้ถูกตำรวจฮ่องกงจับโดยไม่มีความผิด ได้ถูกขังคุกนานเป็นระยะเวลานาน 1 ปีเต็ม

ในช่วงนี้ท่านโฮจิมินห์สภาพร่างกายย่ำแย่มาก เป็นโรคขาดสารอาหาร แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือให้พ้นออกมาจากเพื่อนเก่าในสมาคมชาวเวียดนามในฝรั่งเศส รวมถึงเชื่อว่ามี โจว เอินไหล นายกรัฐมนตรีของจีน

ซึ่งเป็นสหายที่ดีต่อท่านโฮจิมินห์ร่วมด้วย ท่านโฮจิมินห์เดินทางกลับมาเวียดนามอีกครั้งในปี พ.ศ. 2484 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสในขณะนั้นถูกกองทัพนาซีบุกยึด และกลายสภาพเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดให้แก่ฝ่ายอักษะจึงรับนโยบายในการปกครองเวียดนามจากนาซีเป็นหลัก ท่านโฮจิมินห์จึงสบโอกาสรวบรวมชาวเวียดนามส่วนใหญ่แล้วตั้งเป็นฝ่ายเวียดมินห์ เตรียมแผนที่จะประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสให้ประชาชนชาวเวียดนาม ซึ่งชาวเวียดนามในขณะนั้นยังไม่มีการศึกษา และส่วนใหญ่อดอยากยากจน ท่านโฮจิมินห์ได้เข้าถึงตัวชาวบ้านระดับล่าง ด้วยการทำตัวกลมกลืนผูกมิตรไปกับชาวบ้านได้พูดคุยและทำความเข้าใจกันอย่างง่าย ๆ และเพิ่มจำนวนสมาชิกขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยการบอกแบบปากต่อปากซึ่งหนึ่งในสมาชิกคนสำคัญ ก็คือ หวอ เงวียน ซ้าป ซึ่งต่อมาเป็นนายพลและสหายคนสำคัญของท่านโฮจิมินห์ อีกทั้งทั้งคู่ยังเป็นคู่เขยของกันและกัน เนื่องจากภรรยาของทั้งคู่นั้นเป็นพี่น้องกัน และในช่วงนี้เองที่ชื่อ "ท่านโฮจิมินห์" ได้ถูกใช้ออกมาเป็นครั้งแรก3

และในช่วงปลายของสงคราม ท่านโฮจิมินห์ได้ยังติดต่อกับสำนักงานบริการด้านยุทธศาสตร์ (OSS) ของสหรัฐอเมริกาเพื่อร่วมมือกันต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นด้วย นับเป็นการร่วมมือกันของทั้ง 2 ฝ่าย เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวแม้จะเป็นช่วงสั้น ๆ ก็ตาม

ในที่สุด ท่านโฮจิมินห์ประกาศจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam)หลังจากจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย (Emperor Bao Dai) จักรพรรดิเวียดนามพระองค์สุดท้ายประกาศสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2497 เวียดนามก็ได้ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในยุทธการที่เดียนเบียนฟู

จากนั้น ท่านโฮจิมินห์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามเป็นคนแรกด้วยการประกาศแถลงการณ์ที่จตุรัสบาดิงห์ ซึ่งเริ่มต้นด้วยประโยคแบบเดียวกับประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา และท่านโฮจิมินห์ปฏิเสธที่จะพำนักในจวนข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศส ซึ่งโอ่โถง แต่ขออาศัยอยู่ในบ้านพักหลังเล็ก ๆ เท่านั้น

ด้านชีวิตครอบครัว ท่านโฮจิมินห์ สมรส 2 ครั้ง ครั้งแรกกับหญิงชาวจีนที่ประเทศจีน ขณะที่ปฏิบัติภารกิจอยู่ในประเทศจีนในวัยหนุ่ม แต่ต่อมาภรรยาได้เสียชีวิต และอีกครั้งกับถัง ตรุด มินห์ หญิงชาวเวียดนาม และเป็นสมาชิกคนสำคัญคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

ในปี พ.ศ. 2502 สงครามเวียดนามได้อุบัติขึ้น สหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรอื่น ๆ ก็ได้เข้าร่วมสงครามด้วย แต่ผลสุดท้ายเวียดนามเหนือเป็นฝ่ายชนะในปี พ.ศ. 2518 ท่านโฮจิมินห์ในขณะนั้นอยู่ในวัยชราแล้ว ได้ประกาศว่า ตนลดบทบาททางการเมืองลงมา แม้จะได้รับการนับถืออย่างสูงสุดอยู่ก็ตาม

และก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ท่านโฮจิมินห์มิได้อยู่ถึงการชื่นชมชัยชนะในปี พ.ศ. 2518 ด้วยเหตุที่ว่าท่านโฮจิมินห์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ที่บ้านพักในกรุงฮานอย ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว อายุรวม 79 ปี ซึ่งปัจจุบันร่างของท่านโฮจิมินห์ได้ถูกบรรจุในโลงแก้ว เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เคารพ ที่จตุรัสบาดิงห




7. บรรณานุกรม 

[1] Wikipedia (ม.ป.ป.).French Indochina. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 

2556 จาก [http://en.wikipedia.org/wiki/French_Indochina]

[2] ____________. (ม.ป.ป.). Woodro Wilson. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 

2556 จาก  [http://de.wikipedia.org/wiki/Woodrow_Wilson]

[3] ____________. สนธิสัญญาแวร์ซาย. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 

2556 จาก [http://th.wikipedia.org/wiki/สนธิสัญญาแวร์ซาย]

About.com. (2007). About.com History Hochiminh. สืบค้นสืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 

2556 จาก [http://asianhistory.about.com/od/vietnam/p/Biography-of-Ho-Chi-Minh.htm]