Search This Blog

Showing posts with label ผู้นำ. Show all posts
Showing posts with label ผู้นำ. Show all posts

Saturday, June 11, 2022

“โฮจิมิน” ผู้นำโลกตะวันออกและภูมิปัญญาตะวันตก

 

  1. บทนำ

ประเทศเวียดนามที่เจริญรุดหน้าในปัจจุบันท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจของโลกยุคใหม่ที่วุ่นวายนั้น เมื่อมองย้อนกลับไปใน พ.ศ.2518 ประเทศเวียดนามเพิ่งจะเสร็จจากสงครามภายในประเทศ และเพิ่งฟื้นฟูประเทศยังไม่ถึง 50 ปี แต่ประเทศกลับมาเสถียรภาพในการพัฒนาตามนโยบายการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง เหตุผลใหญ่เหตุผลหนึ่งที่เป็นแรงผลักดันประเทศเวียดนามให้ก้าวหน้ามาอย่างก้าวกระโดดอย่างในปัจจุบันนี้ “โฮจิมิน” ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศเวียดนาม ผู้นำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากฝรั่งเศส และบทบาททางการเมืองที่ท่านได้ต่อสู้นำให้ประเทศเวียตนามได้รับเอกราช จนกลายเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญที่สุดที่ชาวเวียดนามยกย่องสูงสุด

“โฮจิมิน” ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนา ระหว่าง พ.ศ. 2488 – พ.ศ. 2498 และต่อมาดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ระหว่าง พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2512  ท่านเกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 ที่หมู่บ้านเฮาตู จังหวัดเหงะอาน อินโดจีนของฝรั่งเศส [1] ท่านเสียชีวิต เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512  ในวัย 79 ปี กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ท่านเสียชีวิตก่อนที่จะได้เห็นประเทศรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งท่านสังกัดพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam) ท่านสมรสกับนางคู่ถัง ตรุด มินห์

ท่านโฮจิมินห์ (Hồ Chí Minh) มาจากอักษรจีนคือ 胡志明  มีความหมายว่า “แสงสว่างที่นำทาง” เป็นนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งในภายหลังได้กลายมาเป็นนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (Democratic Republic of Vietnam) หรือประเทศเวียดนามเหนือ หลังจากสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม ที่เมืองไซ่ง่อน สถานที่ที่เป็ยเมืองหลวงเก่าของเวียดนามใต้ ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นท่านโฮจิมินห์ซิตี (Ho Chi Minh City) เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านโฮจิมินห์ ชาวเวียดนามถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการประกาศอิสรภาพของเวียดนาม 


2. วัตถุประสงค์ 

2.1 เพื่อศึกษาชีวะประวัติและแนวคิดของท่านโฮจิมิน

2.2 เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเชิงลักษณะภาวะผู้นำของท่านโฮจิมิน ตามทฤษฎีผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)


3.ประโยชน์ที่จะได้รับ

จากาการศึกษา สรุปได้ว่า 

3.1 ทราบประวัติบุคคลสำคัญทางการเมืองของอาเซียน

3.2 ทราบลักษณะการมีภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลงในการตัดสินใจ

3.3ทราบมุมมองทางทฤษฏีที่นำมาวิเคราห์ในเชิงผู้นำเชิงการเปลี่ยน (Transformational Leadership)


4.วิธีการศึกษา

วิธีการศึกษาใช้วิธีการวิเคราะห์ จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา (Documentary Analysis) ซึ่งเป็นเอกสารและข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าจากหนังสือ สื่อเอกสารอิเล็กทรอนิค โดยเน้นการใช้สารานุกรมเสรีวีกีพีเดียเป็นเอกสารปฐมภูมิ ส่วนเอกสารอ้างอิงที่อ้างในวีกีพีเดียนำมาเป็นข้อมูลเอกสารทุติยภูมิในการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตต่อ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ 


5.ผลการศึกษา

ท่านโฮจิมิน เมื่อนำทฤษฏีว่าด้วย ภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลง จะเห็นได้ว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการที่ผู้นำพยายามเปลี่ยนแปลงผู้ตามให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ  เกิดความไว้วางใจ  เกิดความจงรักภักดีและเชื่อถือในตัวผู้นำเกิดความคล้อยตาม  พยายามแก้ปัญหาในการปฏิบัติ  เกิดความมั่นใจในตนเอง  มีความรับผิดชอบและยอมอุทิศตน  การที่ผู้นำประพฤติตัวเป็นแบบอย่างหรือเป็นโมเดลสำหรับผู้ตาม ผู้นำจะเป็นที่ยกย่อง เคารพนับถือ ศรัทธา ไว้วางใจและทำให้ผู้ตามเกิดความภาคภูมิใจเมื่อได้ร่วมงานกัน ตามแนวความคิดของ เบิร์น (Bern) ได้ให้ความหมายของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไว้ว่า คือ กระบวนการซึ่งทั้งผู้นำและผู้ตามต่างยกระดับที่สูงขึ้นทั้งแรงจูงใจและจริยธรรมซึ่งกันและกันโดยผู้นำจะค้นหา เพื่อยก ระดับความสำนึกของผู้ตามให้ไปสู่อุดมการณ์ที่สูงส่ง

1. ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน( Transactional Leadership) เป็นปฏิสัมพันธ์ที่ผู้นำติดต่อกับผู้ตามเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

2.  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ผู้นำและผู้ตามมีปฏิสัมพันธ์กันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพทั้งสองฝ่าย ยกระดับความต้องการขอผู้ตามให้สูงขึ้นตามลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์และทำให้ผู้ตามเกิดจิตสำนึกของอุดมการณ์ยึดถือค่านิยมเชิงจริยธรรม เช่น อิสรภาพ  ความยุติธรรม ความเสมอภาค  สันติภาพ และสิทธิมนุษยชน

3.  ภาวะผู้นำแบบจริยธรรม(Moral Leadership) ผู้นำการเปลี่ยนแปลจะเปลี่ยนเป็นผู้นำแบบจริยธรรมอย่างแท้จริงเมื่อได้ยกระดับความประพฤติและความปรารถนาเชิงจริยธรรมของผู้นำและผู้ตามให้สูงขึ้น 

เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า ภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลงของท่านโฮจิมิน ตามที่เสนอมมานั้น น่าจะมีความเหมาะสมที่สุดในการอธิบายภาวะผู้นำของท่านโฮจิมินที่ได้เรียนรู้ และจะได้นำมาปรับใช้ต่อไปในการดำเนินชีวิต

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจมากคือ ภาวะผู้นำของผู้นำตะวันออก มักจะเชื่อมโยงความคิดความเชื่อทางศานา ประเพณีและวัฒนธรรมตามแต่ละท้องถิ่นเข้ามาด้วย ท่านโฮจิมินก็เช่นกันมีความนับถือในลัทธิขงจื้อตามแบบจีน ยึดมั่นในศรัทธา ความจริงใจ ไม่เอารัดเอาเปลี่ยน ช่วยเหลือและอุปถัมภ์ผู้อื่นที่ได้รับความยากลำบาก ซึ่งต่างจากโลกตะวันตกที่ ผู้นำต้องเพิ่งตนเอง เชื่อมั่นในตนเองเป็นหลักก่อน



6. ประวัติ  

ท่านท่านโฮจิมินห์  (Hồ Chí Minh)  เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 ที่หมู่บ้านหว่างจู่ จังหวัดเหงะอาน ตอนบนของเวียดนาม ในวัยเด็กท่านมีชื่อว่า เหงียน ซินห์ ซัง (Nguyễn Sinh Cung) เป็นบุตรคนที่ 3 และบุตรชายคนรองของนายเหงียน ซินห์ ซ็อก ( Nguyễn Sinh Sắc) ซึ่งบิดาของท่านเป็นปัญญาชนชาวเวียดนาม ซึ่งเวียดนามขณะนั้นตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศส ดังนั้นทั้งท่านท่านโฮจิมินห์และบิดาต่างตกเสมือนอยู่ใน 2 วัฒนธรรม ทั้งวัฒนธรรมตะวันตกของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ปกครอง และวัฒนธรรมตะวันออกแบบจีนและลัทธิขงจื๊ออันเป็นวัฒนธรรมของเวียดนาม 

ด้วยวัยเพียงไม่กี่ขวบ ท่านโฮจิมินห์ได้ย้ายตามบิดาไปเว้ ซึ่งไปสอบจอหงวน แต่ต่อมาท่านโฮจิมินห์ได้อาศัยอยู่กับมารดาตามลำพังเพียง 2 คน เพราะบิดาเมื่อสอบจอหงวนได้ ได้ย้ายไปรับราชการที่ต่างเมือง ขณะที่มารดากำลังตั้งครรภ์ ต่อมาก็ได้คลอดลูกคนเล็กออกมา ท่านท่านโฮจิมินห์ในวัย 11 ขวบต้องเลี้ยงน้องเอง เนื่องจากมารดาได้เสียชีวิตไปในขณะคลอด และไม่นานน้องคนเล็กก็เสียชีวิต เมื่อโตขึ้น ท่านท่านโฮจิมินห์ได้สัมผัสกับการเมืองเป็นครั้งแรกจากการที่เป็นล่ามภาษาฝรั่งเศสให้กับชาวนา ถูกเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสกดขี่  ในช่วงนี้ ท่านท่านโฮจิมินห์ได้กล่าวว่า ตนได้เห็นการกดขี่และความอยุติธรรมรวมถึงการได้เห็นชาวนาถูกยิงตายต่อหน้าต่อตา 

ต่อมาท่านท่านโฮจิมินห์รู้ตัวว่าตนเองต้องได้รับการศึกษาที่มากขึ้นและออกไปท่องโลกกว้างเพื่อเปิดโลกทัศน์ของตน ในปี พ.ศ. 2454 จึงได้ย้ายจากเวียดนามไปเป็นพ่อครัวในประเทศฝรั่งเศส ด้วยการสมัครเป็นลูกเรือบนเรือเดินสมุทร ที่ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมของเวียดนามในขณะนั้น และได้ศึกษาเรียนต่อที่นั่น ท่านท่านโฮจิมินห์ ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า เหงียน อ้าย กว๊อก ซึ่งแปลว่า "เหงียนผู้รักชาติ" ท่านท่านโฮจิมินห์ได้ติดต่อกับชาวเวียดนามในฝรั่งเศส เพื่อรวมตัวกันเรียกร้องอิสรภาพจากชาติมหาอำนาจตะวันตกหลายชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ในฐานะโฆษกของกลุ่ม แต่ทว่าก็ได้รับการรังเกียจและถูกกีดกันออกมา เมื่อท่านท่านโฮจิมินห์พยายามจะยื่นหนังสือต่อ ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodro Wilson) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ขณะเดินทางมายังฝรั่งเศส เพื่อลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย [2] (Treaty of Versailles) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ต่อมาท่านโฮจิมินห์ก็ได้ย้ายจากฝรั่งเศสไปสหรัฐอเมริกาและอังกฤษตามลำดับ หลังจากนั้นก็ได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเมื่อรัฐบาลก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็คเริ่มการปราบปรามคอมมิวนิสต์นั้นท่านโฮจิมินห์ได้หลบหนีจากจีนมายังจังหวัดนครพนม ของประเทศไทย โดยได้บวชเป็นพระภิกษุทำการสอนลัทธิคอมมิวนิสต์ให้ชาวไทย โดยใช้ชื่อว่า "ลุงโฮ" (Uncle Ho)

โดยช่วงแรกที่หลบหนีในประเทศไทยนั้นเริ่มจากขึ้นเรือที่ท่าน้ำเอสบี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงแรมแม่น้ำ) ไปยังจังหวัดพิจิตร จากนั้นได้เดินทางไปต่อยังจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย โดยใช้ชื่อว่า "เฒ่าจิ๋น" รวมเวลาพำนักอยู่ในประเทศไทยทั้งสิ้น 7 ปี ในระยะนี้ท่านโฮจิมินห์ต้องเดินทางไปหลบซ่อนในหลายประเทศ ใช้ชื่อปลอมหลายชื่อ ซึ่งครั้งหนึ่งท่านโฮจิมินห์ได้ถูกตำรวจฮ่องกงจับโดยไม่มีความผิด ได้ถูกขังคุกนานเป็นระยะเวลานาน 1 ปีเต็ม

ในช่วงนี้ท่านโฮจิมินห์สภาพร่างกายย่ำแย่มาก เป็นโรคขาดสารอาหาร แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือให้พ้นออกมาจากเพื่อนเก่าในสมาคมชาวเวียดนามในฝรั่งเศส รวมถึงเชื่อว่ามี โจว เอินไหล นายกรัฐมนตรีของจีน

ซึ่งเป็นสหายที่ดีต่อท่านโฮจิมินห์ร่วมด้วย ท่านโฮจิมินห์เดินทางกลับมาเวียดนามอีกครั้งในปี พ.ศ. 2484 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสในขณะนั้นถูกกองทัพนาซีบุกยึด และกลายสภาพเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดให้แก่ฝ่ายอักษะจึงรับนโยบายในการปกครองเวียดนามจากนาซีเป็นหลัก ท่านโฮจิมินห์จึงสบโอกาสรวบรวมชาวเวียดนามส่วนใหญ่แล้วตั้งเป็นฝ่ายเวียดมินห์ เตรียมแผนที่จะประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสให้ประชาชนชาวเวียดนาม ซึ่งชาวเวียดนามในขณะนั้นยังไม่มีการศึกษา และส่วนใหญ่อดอยากยากจน ท่านโฮจิมินห์ได้เข้าถึงตัวชาวบ้านระดับล่าง ด้วยการทำตัวกลมกลืนผูกมิตรไปกับชาวบ้านได้พูดคุยและทำความเข้าใจกันอย่างง่าย ๆ และเพิ่มจำนวนสมาชิกขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยการบอกแบบปากต่อปากซึ่งหนึ่งในสมาชิกคนสำคัญ ก็คือ หวอ เงวียน ซ้าป ซึ่งต่อมาเป็นนายพลและสหายคนสำคัญของท่านโฮจิมินห์ อีกทั้งทั้งคู่ยังเป็นคู่เขยของกันและกัน เนื่องจากภรรยาของทั้งคู่นั้นเป็นพี่น้องกัน และในช่วงนี้เองที่ชื่อ "ท่านโฮจิมินห์" ได้ถูกใช้ออกมาเป็นครั้งแรก3

และในช่วงปลายของสงคราม ท่านโฮจิมินห์ได้ยังติดต่อกับสำนักงานบริการด้านยุทธศาสตร์ (OSS) ของสหรัฐอเมริกาเพื่อร่วมมือกันต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นด้วย นับเป็นการร่วมมือกันของทั้ง 2 ฝ่าย เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวแม้จะเป็นช่วงสั้น ๆ ก็ตาม

ในที่สุด ท่านโฮจิมินห์ประกาศจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam)หลังจากจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย (Emperor Bao Dai) จักรพรรดิเวียดนามพระองค์สุดท้ายประกาศสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2497 เวียดนามก็ได้ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในยุทธการที่เดียนเบียนฟู

จากนั้น ท่านโฮจิมินห์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามเป็นคนแรกด้วยการประกาศแถลงการณ์ที่จตุรัสบาดิงห์ ซึ่งเริ่มต้นด้วยประโยคแบบเดียวกับประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา และท่านโฮจิมินห์ปฏิเสธที่จะพำนักในจวนข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศส ซึ่งโอ่โถง แต่ขออาศัยอยู่ในบ้านพักหลังเล็ก ๆ เท่านั้น

ด้านชีวิตครอบครัว ท่านโฮจิมินห์ สมรส 2 ครั้ง ครั้งแรกกับหญิงชาวจีนที่ประเทศจีน ขณะที่ปฏิบัติภารกิจอยู่ในประเทศจีนในวัยหนุ่ม แต่ต่อมาภรรยาได้เสียชีวิต และอีกครั้งกับถัง ตรุด มินห์ หญิงชาวเวียดนาม และเป็นสมาชิกคนสำคัญคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

ในปี พ.ศ. 2502 สงครามเวียดนามได้อุบัติขึ้น สหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรอื่น ๆ ก็ได้เข้าร่วมสงครามด้วย แต่ผลสุดท้ายเวียดนามเหนือเป็นฝ่ายชนะในปี พ.ศ. 2518 ท่านโฮจิมินห์ในขณะนั้นอยู่ในวัยชราแล้ว ได้ประกาศว่า ตนลดบทบาททางการเมืองลงมา แม้จะได้รับการนับถืออย่างสูงสุดอยู่ก็ตาม

และก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ท่านโฮจิมินห์มิได้อยู่ถึงการชื่นชมชัยชนะในปี พ.ศ. 2518 ด้วยเหตุที่ว่าท่านโฮจิมินห์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ที่บ้านพักในกรุงฮานอย ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว อายุรวม 79 ปี ซึ่งปัจจุบันร่างของท่านโฮจิมินห์ได้ถูกบรรจุในโลงแก้ว เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เคารพ ที่จตุรัสบาดิงห




7. บรรณานุกรม 

[1] Wikipedia (ม.ป.ป.).French Indochina. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 

2556 จาก [http://en.wikipedia.org/wiki/French_Indochina]

[2] ____________. (ม.ป.ป.). Woodro Wilson. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 

2556 จาก  [http://de.wikipedia.org/wiki/Woodrow_Wilson]

[3] ____________. สนธิสัญญาแวร์ซาย. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 

2556 จาก [http://th.wikipedia.org/wiki/สนธิสัญญาแวร์ซาย]

About.com. (2007). About.com History Hochiminh. สืบค้นสืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 

2556 จาก [http://asianhistory.about.com/od/vietnam/p/Biography-of-Ho-Chi-Minh.htm]


Wednesday, January 8, 2020

หัวหน้าโกรธได้ แต่ผู้นำโกรธไม่ได้หรือ : ボスは怒られるけれど、リーダーは怒られない?

นี่เป็นคำถามที่หลายท่าน สงสัยมากว่า ความโกรธ อารมณ์โกรธ หรือการโมโห
これ問題「怒ること、怒る気持ち」について、疑問している人は多いそうです。
หัวหน้าสามารถแสดงอารมณ์โกรธได้ แต่ผู้นำไม่สามารถแสดงความโกรธได้ นั้นจริงหรือไม่ 
『ボスは怒る気持ちの表すことがでできるれど、リーダーはできないことは本当でしょう?』


ไม่ว่า ผู้นำ หรือ หัวหน้า ต่างเป็นมนุษย์ธรรมดาที่มีความโกรธ
อันเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ 
ボスでも、リーダーでも、一般人と皆さんよく知られて、怒ることは人間の基本感情と言われる。

หัวหน้า แสดงความโกรธได้ แสดงความไม่พึงพอใจได้ 
ボスはもちろん怒られる、不満できない気持ちは表すこともできる。

ผู้นำ แสดงความโกรธได้ แสดงความไม่พึงพอใจได้เช่นกัน 
リーダーももちろん怒られる、不満できない気持ちも表すこともできる。

แต่สิ่งที่ต่างกัน คือ การแสดงออกของอารมณ์โกรธ และการยับยั้งความโกรธ
でも、違いは怒る感情の表すことと、お怒ることを停止することができることだ。

โดยให้เหตุผลมาก่อนความโกรธ 
怒る前は、理由とサッキ考えよう。

ผู้นำ ต้องมีความเยือกเย็น สุขุม และนิ่งเมื่ออยู่ในสภาวะโกรธ
リーターは大人しやかだので、怒る際に、穏やかさと強さは、気づくところとなった。

โดยใช้หลักแห่งเหตุผลเข้ามาบรรเทา หรือไม่ตอบโต้ใด ๆ
理由を使用して、争わない。

ใช้ความนิ่งสยบความเคลื่อนไหวของความโกรธ
プレッシャーがあっても冷静である。

หัวหน้า อาจจะไม่สนใจที่จะระงับความโกรธ อาจแสดงออกทางสีหน้า
ボスは怒ることを止まることの気にしない。怒る顔色を出す。

จบ
終わり

#Leadership : เรียนเก่ง การศึกษาดีใช่ว่าจะเป็นผู้นำที่เก่ง


ความสามารถในการเรียน ในมุมมองของโลกตะวันออก ต้องเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราคิดว่า คนที่เรียนเก่งจะต้องเก่งไปทุกเรื่อง 

การเรียนได้เกรดเฉลี่ยสูง ได้รับรางวัลเรียน หรือจบการศึกษาได้รับเกียรตินิยม สามารถการันตีได้เชียวหรือในเชิงผู้นำ ว่ามีความเป็นผู้นำ

แน่นอนว่า การเรียนจนได้ผลการเรียนดี ย่อมมาจาก ผู้นั้นมีความขยัน อ่านหนังสือ ทำงานส่งมีคุณภาพ ส่งการบ้านตรงเวลา และมีความรับผิดชอบในการเรียนเป็นเยี่ยม ผู้นี้น่าจะเป็นผู้นำที่เก่ง
บางท่านเรียนปานกลาง ชอบทำกิจกรรมมากกว่าเรียน ทำงานและการบ้านส่งได้บ้างถึงจะไม่ดีนัก เลิกเรียนออกไปทำงานพิเศษหารายได้มาเป็นค่าเล่าเรียน หรือเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว โดนไม่รบกวนพ่อแม่ แสดงว่ามีความรับผิดชอบ คนอย่างนี้ก็น่าจะเป็นผู้นำที่ดีได้เช่นกัน

บางท่านไม่จบการศึกษาในระดับปริญญา แต่สามารถทำธุรกิจจนร่ำรวย มีลูกน้องที่ต้องดูแลนับร้อย อย่างนี้ก็เป็นผู้นำได้เช่นกัน

ระดับการศึกษา วุฒิการศึกษา เปรียบเสมือเสื้อผ้าที่ตกแต่งร่างกาย เมื่อเปลื้องผ้าออก ไม่ว่าเรียนเก่ง เรียนอ่อน การศึกษาดี หรือไม่มีการศึกษา ก็ล่อนจ้อนเหมือนกัน 
หัวหน้าชอบอวดใบประกาศณียบัตร ใบปริญญา หรือรางวัลมากมายให้คนอื่นได้เห็นกันทั่ว ด้วยความภูมิใจ 

ผู้นำ อาจมีการโอ้อวดสิ่งเหล่านี้บ้าง แต่เขาเลือกว่าเขาควรจะให้ใครดู และผู้นำจะทำให้ประจักษ์ ด้วยผลงานมากกว่าจะให้เพียงกระดาษที่บันทึกผลการเรียนเป็นตัวบอก

ผู้นำประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดความเก่งในการทำงานเพื่อประโยชน์ด้วยรวม
หัวหน้าแสดงความเก่งด้วยโอ้อวดผลการเรียนที่ดีเลิศเพื่อทำให้ตนเองดูมีราคามากกว่าคนอื่น

คงต้องแสดงให้เห็นว่าท่านต้องการแสดงบทบาทดเช่นไรในองค์กร

ขอบคุณที่แชร์ความคิดร่วมกันนะครับ
ณัฐพล จารัตน์


Monday, January 6, 2020

ความกล้าหาญกับผู้นำ

“ผู้นำ” ไม่เรียนไม่รู้

ผู้นำเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นที่มองเห็นได้ “Leader” can’t see by eyes but visible

Monday, January 5, 2015

#อาเซียน : "สีของเนคไทบ่งความเป็นผู้นำในสากลของอาเซียน"

 

 

ที่มาของภาพ Burma and the politics of ASEAN slogans,

https://www.dvb.no/analysis/burma-and-the-politics-of-asean-slogans/31953

 สิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อย่างเป็นทางการ ภายใต้คำขวัญร่วมกันที่ว่า "One Vision, One Identity, One Community"  (หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม) อันทำให้ความเป็นพรมแดนของชาติกว้างขึ้นเป็นพรมแดนแห่งภูมิภาคเข้ามาแทนที่ ความมีอัตลักษณ์ประจำชาติที่หลากหลายและเกิดจากการผสมผสานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เกิดวัฒนธรรมร่วมกันจนไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าใครเป็นเจ้าของวัฒนธรรมนั้น ๆ ในอาเซียนได้ เช่น การไหว้ ไม่ใช่เป็นเพียงวัฒนธรรมไทยเท่านั้น ยังมีในวัฒนธรรมลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ด้วยเช่นกัน เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนความเป็นตัวตนของแต่ละชาติต้องคงอยู่อย่างแน่นอน แต่ชาวอาเซียนก็ถูกจับจ้องกับความเป็นสากลในโลกเหมือนกัน การเต่งกายด้วยสูทหรือชุดสากลของผู้นำสามารถจะบอกเชิงสัญลักษณ์ให้เห็นความเป็นรู้ที่เป็นสากลของอาเซียนได้เช่นกัน แม้ว่าวัฒนธรรมของอาเซียนไม่ใช่วัฒนธรรมการสวมใส่สูทและผูกเนคไท แต่ชาวอาเซียนไม่สามารถปฏิเสธความเป็นสากลของเรื่องนี้ได้เช่นกัน วันนี้ผู้เขียนจึงขอแนะนำและชวนให้ผู้อ่านได้เห็นว่า สีของเนคไทนั้น สามารถบอกอะไรเชิงสัญลักษณ์ในการแต่งกายสากลของผู้นำอาเซียน ซึ่งต่อไปชาวอาเซียนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เองคงต้องตระหนักกันมากยิ่งขึ้น สีของเนคไทแต่ละสีบ่งบอกความหมายอย่างไรในเวทีโลกและความเป็นสากลเมื่อผูกเนคไท มีอยู่ด้วยกัน ๔ สี ดังนี้

เนคไทสีแดง (red tie) หมายถึง พละกำลังและความเป็นมหาอำนาจที่เหนือกว่าผู้อื่น  ในเวทีระดับโลกทางด้านการเมือง หากสังเกตให้ดีพบว่า ผู้นำประเทศที่คิดตนเองเป็นประเทศที่เป็นมหาอำนาจหรือโดดเด่นกว่าใครในโลก มักจะผูกเนคไทสีแดงเข้มในการประชุมระดับโลก บางครั้งจะพบว่า ผู้นำแต่ละชาติผูกเนคไทสีแดงกันหลายท่าน เช่นการประชุมอาเซียนที่มีจีนและญี่ปุ่นเข้าร่วมด้วย ผู้นำจีนและญี่ปุ่นมักผูกเนคไทสีแดง ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีอิทธิพลในอาเซียนนั่นเอง บางท่านจะผูกเนคไทสีแดงอ่อนหรือโทนสว่าง ก็มีความหมายว่า เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่ม จะเข้ากับฝ่ายใดก็ได้ หากเป็นโทนที่ออกเหมือนสีชมพูจะหมายถึง พร้อมที่จะประสานกับทุกฝ่ายหรือจะเข้ากับทั้งสองฝ่ายไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายไดได้เพียงฝ่ายเดียว

 

ที่มาของภาพ Obama, Hu to talk economy, North Korea, http://edition.cnn.com/2009/POLITICS/11/16/obama.china/index.html?_s

 

เนคไทสีม่วง (purple tie) หมายถึง ความจงรักภัคดี ความซื่อสัตย์และความมั่งคง ในการประชุมทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การประชุมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Forum) ผู้นำของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมประชุมมักจะผูกเนคไทสีม่วง เพื่อแสดงว่าให้เห็นว่า การมาประชุมนี้มาด้วยความจริงใจและพร้อมจะก้าวสู่ความมั่งคั่งไปพร้อมกัน โทนของสีม่วงบอกถึงระดับความจริงใจ สีเข้มหมายถึงความหนักแน่นและตัดสินใจในบางอย่างมาแล้วและจะไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนสีอ่อนบอกถึงความพร้อมในการเจรจาและรับฟังในการตัดสินใจของที่ประชุม ส่วนสีที่โทนสว่างบอกเป็นนัยยะเป็นประเทศที่กำลังเฉิดฉายน่าลงทุนหรือเศรษฐกิจดี นอกจากนั้น เนคไทสีม่วงยังแสดงถึงความรู้สึกที่มั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองมีแผงความลึกลับซับซ้อนไว้ของผู้นำด้วย

เนคไทสีดำ (black tie) หมายถึง ความเป็นทางการอย่างยิ่ง จนทำให้การสวมใส่เนทไทสีดำถูกมองว่าเป็นคนที่หยิ่งและไม่สนใจผู้อื่น ในระดับผู้นำหากเป็นการเจรจาเรื่องที่น่าวิตก เช่น ปัญหาข้อพิพาทดินแดนระหว่างประเทศ การสงคราม ผู้นำบางฝ่ายที่มีความแข็งกร้าวจะผูกเนคไทสีดำเข้ม และโดยมากจะต้องแต่งสูทดำด้วย เนคไทดำยังแสดงถึงความมีอาวุโส เด็ดขาด เป็นผู้รอบรู้และชอบความเป็นทางการ หากต้องการแสดงความเป็นทางการแต่ไม่อยากแสดงความหยิ่ง ผู้นำจะเลือกผูกไทสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและสวมสูทสีน้ำตาลหรือเทาแทน ทำให้ดูโมเดิลทันสมัย แสดงความเป็นผู้ดีมีรสนิยมและให้ความรู้สึกไม่กระด้างกระเดื่อง แต่ผู้นำอาเซียนจะใส่สีเทาหรือน้ำตาลไม่บ่อยนัก

เนคไทสีฟ้า (blue tie) หมายถึง ความเป็นกลาง ไม่สามารถที่จะคาดเดาได้ว่าผู้นำจะตัดสินใจ จะทำอะไร เพราะสีฟ้าเป็นสีของท้องทะเล ท้องฟ้าที่มีความกว้างใหญ่ มองไม่เห็นจุดสิ้นสุดได้ด้วยตาเปล่า หาไม่ทราบว่าในสถานการณ์ใดควรผูกเนคไทสีอะไร สีฟ้าหรือโทนสีฟ้า ไม่ว่าจะสีอ่อนหรือสีเข้มน่าจะเป็นตัวเลือกที่เป็นกลางที่สุดในเวทีอาเซียนและสากล แต่ไม่แนะนำให้ใส่สีฟ้าทุกงาน เพราะจะทำให้ถูกมองว่าไม่จริงใจ ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง และไม่มีอำนาจในบทบาทที่กำลังเป็นอยู่ ส่วนการไม่ผูกเนคไทในการประชุมระดับผู้นำนั้น แสดงว่าเป็นการพบปะหารือกันอย่างไรเป็นทางการ ซึ่งแสดงถึงความเป็นมิตรที่ใกล้ชิดกันมาก หรือแสดงถึงความเป็นพรรคพวกเดียวกัน เมื่อเข้าประชุมผู้นำก็ย่อมจะเข้าข้างกันเสมอ

นอกจากนี้ยังมี เนคไทสีเหลือง (yellow tie) และเนคไทสีเขียว (green tie) ก็สามารถใส่ได้เช่นกัน แต่มักจะไม่ค่อยเห็นมากนักในระดับผู้นำ สีเหลืองแสดงถึงความเป็นจริยธรรม ผูกยึดโยงไปทางศาสนา ส่วนสีเขียวแสดงถึงความโดดเดี่ยว

เมื่ออาเซียนรวมตัวกันขึ้น ความเป็นสากลที่ตามมาย่อมทำให้อาเซียนต้องเรียนรู้และให้เกียรติในสัญลักษณ์สากลของโลก สีเนคไทคงเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกได้ถึงความรู้เรื่องความเป็นสากลในเวทีระดับโลกที่อาเซียนต้องการสื่อให้ทั่วโลกเห็น มีผู้กล่าวว่าอาเซียนต้องเป็น Be Local Go Global การที่จะเป็น Be Local นั่นอาจหมายถึง ถ้าภายในประเทศ เช่น การผูกเนคไทสีต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งมาความเชื่อโยงกับเรื่อง

ฉโหลกสี การเลือกใส่สีตามวันเกิดหรือตามฤกษ์ ซึ่งสามารถทำได้ตามความคิดความเชื่อของเราในระดับ Local แต่ในขณะเดียวกัน หากต้องทำหน้าที่นำหรือตัวแทนของประเทศหรือต้องการแสดงความเป็นสากล ผู้สวมใส่ต้องเลือกสิ่งที่เป็นสากล เพราะคนที่มองอยู่นั้น ไม่ใช้ในระดับ Local  แต่คือ Global ที่จ้องมอง ASEAN ในความสาตาที่เป็นสากล  สำหรับสูทและเสื้อเชิ้ตที่ใช้กับเนคไทที่ต่าง ๆ นั้น ควรเป็นสูทสีดำและเสื้อเชิ้ตสีขาวก็เพียงพอ

 

ณัฐพล จารัตน์ 

เรียบเรียง


อ้างอิงข้อมูล

BBC. What the  colour of ties says about you. Retrieved from

[http://www.bbc.com/capital/story/20140827-the-psychology-of-tie-colours]

Jess Cartner-Morley. Purple tie – politicians of all stripes share sartorial middle ground.

Retrieved from [http://www.theguardian.com/politics/2012/oct/02/purple-tie-ed-

miliband-labour-speech]

Robert Roy Britt. Red vs. Blue: Why Necktie Colors Matter. Retrieved from   

[http://www.livescience.com/3281-red-blue-necktie-colors-matter.html]

The Journal. Things got pretty awkward for Barack Obama and Vladimir Putin in China today.

Retrieved from [http://www.thejournal.ie/barack-obama-vladimi-putin-1775294-

Nov2014/]