Search This Blog

Saturday, April 10, 2021

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๓ ความขัดแย้งในผลประโยชน์)

 ส่วนที่ ๓ ความขัดแย้งในผลประโยชน์ 

 ข้อ ๘ ไม่ว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยจะดำเนินไปแล้วเพียงใด ผู้ประนีประนอมจักต้องเปิดเผยความขัดแย้งในผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือที่อาจเกิดขึ้นตามที่ตนทราบทั้งหมด ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และคู่ความทราบ 

 ความขัดแย้งในผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึง 

 (๑) การกระทำหรือความสัมพันธ์ที่อาจก่อให้ผู้ประนีประนอมเกิดอคติ 

(๒) การที่ผู้ประนีประนอมมีผลประโยชน์ไม่ว่าโดยตรงหรือ โดยอ้อมในเรื่องที่เกี่ยวกับข้อพิพาทซึ่งตนดำเนินการไกล่เกลี่ย

(๓) การที่ผู้ประนีประนอมมีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางการเงิน ธุรกิจ วิชาชีพ ครอบครัว หรือทางสังคม กับคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง 



คำอธิบาย 

 กรณีที่ผลประโยชน์ซึ่งผู้ประนีประนอมมีอยู่เป็นการส่วนตัว อาจขัดแย้ง กับผลประโยชน์ของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย ทำให้ผู้ประนี ประนอมเกิดอคติในทางที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่คู่ความ และทำให้คู่ความ เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อศาลยุติธรรมไปด้วย ดังนั้น หากผู้ประนีประนอมมี ความขัดแย้งในผลประโยชน์ใด ๆ ที่อาจทำให้ผู้ประนีประนอมเกิดอคติมี ผลประโยชน์ได้เสียไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม หรือมีความสัมพันธ์ ทางการเงิน ธุรกิจ วิชาชีพ ครอบครัว หรือทางสังคมกับคู่ความมาก่อน เช่น เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ ที่ปรึกษาบริษัทของคู่ความ หรือเป็นลูกหนี้เงินกู้ของ คู่ความ ผู้ประนีประนอมจักต้องเปิดเผยความขัดแย้งในผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดขึ้นดังกล่าว ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และ คู่ความทราบ ทั้งนี้ เพื่อคู่ความจะได้มีโอกาสคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่และ กันข้อครหาที่อาจเกิดขึ้น แต่หากคู่ความทราบข้อมูลดังกล่าวแล้วไม่ติดใจ คัดค้าน ผู้ประนีประนอมย่อมสามารถทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยต่อไปได้ 


ข้อ ๙ ผู้ประนีประนอมไม่พึงรับทำการงานใด ๆ ให้แก่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งที่ตนไกล่เกลี่ย ไม่ว่าการไกล่เกลี่ยนั้นจะสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ เว้นแต่คู่ความทุกฝ่ายจะให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร 

ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ผู้ประนีประนอมทำการงานใด ๆ ในระหว่างที่กระบวนการไกล่เกลี่ยยังไม่สิ้นสุด ผู้ประนีประนอมจักต้อง เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และคู่ความทราบ

คำอธิบาย 

 การรับทำการงานให้แก่คู่ความเป็นอีกกรณีหนึ่งที่อาจทำให้คู่ความ อีกฝ่ายหรือบุคคลภายนอกระแวงสงสัยในความสุจริตและความเป็นกลางของ ผู้ประนีประนอม ไม่ว่าการงานที่รับทำนั้นจะเป็นอาชีพที่ผู้ประนีประนอมทำ เป็นปกติอยู่แล้ว หรือเป็นการรับทำการงานภายหลังการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง หรือไม่ก็ตาม เนื่องจากคู่ความหรือบุคคลภายนอกอาจเข้าใจว่าเป็นผล ประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ประนีประนอม อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ให้ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้ผู้ประนีประนอมจึงไม่ ควรรับทำการงานใด ๆ ให้แก่คู่ความ เว้นแต่คู่ความทุกฝ่ายจะให้ความยินยอม เป็นลายลักษณ์อักษร และหากคู่ความให้ผู้ประนีประนอมทำการงานใด ๆ ในระหว่างที่กระบวนการไกล่เกลี่ยยังไม่สิ้นสุด ผู้ประนีประนอมจะต้องเปิดเผย ข้อเท็จจริงดังกล่าว ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และ คู่ความทราบ เพื่อให้มีการคัดค้าน หรือยืนยันการทำหน้าที่ หรือถอนตัวจาก การเป็นผู้ประนีประนอม

ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๒ ความเป็นกลาง)

 ส่วนที่ ๒ ความเป็นกลาง 

 ข้อ ๕ ผู้ประนีประนอมจักต้องวางตนเป็นกลางในการไกล่เกลี่ย ทั้งจักต้องไม่ทำให้คู่ความสงสัยว่าฝักใฝ่ช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง 



คำอธิบาย 

ศาลยุติธรรมเป็นสถาบันหลักในการอำนวยความยุติธรรมแก่คู่ความ ทุกฝ่ายด้วยความเป็นกลางและเสมอภาค ซึ่งการทำหน้าที่ผู้ประนีประนอม ในศาล ถือเป็นส่วนหนึ่งของการอำนวยความยุติธรรมให้แก่คู่ความด้วย ดังนั้น การดำเนินการไกล่เกลี่ยของผู้ประนีประนอม จึงต้องยึดหลักความเป็นกลาง อย่างเคร่งครัด กล่าวคือ ผู้ประนีประนอมจะต้องไม่พูดหรือแสดงออกใน ลักษณะที่เป็นการเข้าข้างคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และต้องปฏิบัติต่อคู่ความ ทุกฝ่ายเสมอเหมือนกัน ทั้งนี้จะต้องมิให้คู่ความรู้สึกว่าตนได้รับการปฏิบัติ ที่ด้อยกว่าผู้อื่น และเชื่อถือได้สนิทใจว่าผู้ประนีประนอมให้ความเป็นธรรมอย่าง เท่าเทียมกัน โดยปราศจากอคติใด ๆ ทั้งปวง 

 ข้อ ๖ ผู้ประนีประนอมจักต้องไม่ยินยอมให้บุคคลภายนอกใช้ อิทธิพลใด ๆ อันอาจทำให้ผู้ประนีประนอมเสียความเป็นกลาง 

คำอธิบาย 

 ผู้ประนีประนอมต้องรักษาไว้ซึ่งความเป็นกลางของตน โดยไม่ยินยอม ให้บุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในครอบครัว มิตรสหาย หรือเหตุอื่นใด มาแทรกแซง กดดัน หรือใช้อิทธิพลใด ๆ อันอาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของตนขาดความเป็นธรรม หรือเสียความเป็นกลาง


ข้อ ๗ ผู้ประนีประนอมจักต้องเปิดเผยข้อเท็จจริง อันอาจเป็นเหตุ ให้คู่ความมีความสงสัยตามสมควรในความเป็นกลางของตน ให้ผู้รับผิดชอบ ราชการศาล องค์คณะผู้พิพากษา และคู่ความทราบ 

คำอธิบาย 

 การรักษาความเป็นกลางนั้นรวมถึงการทำให้คู่ความและบุคคลที่ เกี่ยวข้องไม่เกิดความระแวงสงสัยในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย ดังนั้น ผู้ประนี ประนอมจึงต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงใด ๆ ที่อาจทำให้คู่ความมีความสงสัยตาม สมควรในความเป็นกลางของตน ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล องค์คณะ ผู้พิพากษา และคู่ความทราบ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ที่ตนเกี่ยวข้องกับ คู่ความ ความมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับคดีหรือความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคู่ความ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เช่น เป็นญาตินายจ้าง ลูกจ้าง หุ้นส่วน ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ หรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางการสมรส เป็นต้น เพื่อให้มีการ คัดค้านหรือยืนยันการทำหน้าที่ หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ประนีประนอม แต่ หากคู่ความทราบข้อมูลดังกล่าวแล้วไม่ติดใจคัดค้าน ผู้ประนีประนอมนั้นย่อม สามารถทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยต่อไปได้ 

ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf

ประมวลจริยธรรมผู้ประนีประนอม หมวดที่ ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ (ส่วนที่ ๑ การให้คู่ความตัดสินใจด้วยตนเอง)

 ส่วนที่ ๑ การให้คู่ความตัดสินใจด้วยตนเอง 

 ข้อ ๒ ในการระงับข้อพิพาทผู้ประนีประนอมจักต้องให้คู่ความ ตัดสินใจด้วยตนเอง บนพื้นฐานของข้อมูลที่เพียงพอ 


คำอธิบาย 

 การระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของ คู่ความเป็นสำคัญ ดังนั้น ผู้ประนีประนอมจึงต้องสนับสนุนให้คู่ความตัดสินใจ ด้วยตนเอง โดยมีความรู้และความเข้าใจในผลกระทบ ทางได้ทางเสียบนพื้นฐาน ของข้อมูลที่เพียงพอ และไม่ใช้อิทธิพลใด ๆ เช่น ให้คำมั่นสัญญา บังคับ ปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรบอก หรือกระทำโดยมิชอบประการใด ๆ เพื่อจูงใจให้ คู่ความยอมรับแนวทางการระงับข้อพิพาทตามความเห็นของตน โดยฝ่าฝืน ต่อความสมัครใจและความพึงพอใจของคู่ความอย่างแท้จริง 


 ข้อ ๓ ผู้ประนีประนอมจักต้องละเว้นไม่ออกคำสั่งหรือชี้ขาดใด ๆ ที่ เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทและทางเลือกในการตกลงระงับข้อพิพาท ตลอดจน ต้องไม่บังคับหรือใช้อิทธิพลใด ๆ เพื่อให้คู่ความต้องจำยอมเข้าร่วมใน การไกล่เกลี่ยหรือตัดสินใจในกระบวนการไกล่เกลี่ย โดยฝ่าฝืนต่อความ สมัครใจและเสรีภาพของคู่ความ


คำอธิบาย 

 บทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของการเป็นผู้ประนีประนอม คือ การ ช่วยเหลือคู่ความให้เจรจาเพื่อหาข้อยุติสำหรับข้อพิพาท โดยไม่มีอำนาจหน้าที่ ใด ๆ ที่จะตัดสินหรือชี้ขาดข้อพิพาท หรือออกคำสั่งกำหนดให้คู่ความ ต้องทำการอย่างหนึ่งอย่างใด นอกเหนือไปจากการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ย ดังนั้น การจะใช้ทางเลือกใดในการระงับข้อพิพาท จึงต้องขึ้นอยู่กับความ พึงพอใจและความสมัครใจของคู่ความ หากคู่ความเห็นว่ากระบวนการไกล่เกลี่ย ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนอีกต่อไป คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ศาลพิจารณา พิพากษาคดีต่อไปได้


ข้อ ๔ ผู้ประนีประนอมพึงช่วยเหลือสนับสนุนการเจรจาระหว่าง คู่ความเพื่อหาแนวทางในการระงับข้อพิพาท โดยไม่ออกความเห็นใด ๆ อัน เป็นการชี้ขาด เว้นแต่คู่ความจะได้ตกลงกันให้ผู้ประนีประนอมออกความเห็น เช่นว่านั้น 

คำอธิบาย 

 ผู้ประนีประนอมสามารถช่วยเหลือและสนับสนุนคู่ความในการ พิจารณาแนวทางการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เสนอในระหว่างการไกล่เกลี่ย ตลอดจนข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทาง เพื่อให้คู่ความสามารถบรรลุข้อตกลง ร่วมกันได้แต่ผู้ประนีประนอมจะต้องไม่ออกความเห็นในลักษณะที่เป็นการ ชี้ขาด หรือกำหนดให้คู่ความต้องเลือกระงับข้อพิพาทในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง เพราะคู่ความควรได้เลือกแนวทางระงับข้อพิพาทด้วยความสมัครใจของตน อย่างไรก็ตาม บางกรณีคู่ความอาจต้องการความเห็นของคนกลางที่ไม่มีส่วน ได้เสียเกี่ยวกับเรื่องที่พิพาทว่าแนวทางในการระงับข้อพิพาทใด เป็นแนวทาง ที่เหมาะสมและเป็นธรรม หากคู่ความขอให้ผู้ประนีประนอมออกความเห็นใน ลักษณะดังกล่าว ผู้ประนีประนอมย่อมกระทำเช่นนั้นได


ที่มา https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/20180925e5f0a22d198117cfd0dff6676df50240202651.pdf