Search This Blog

Wednesday, October 13, 2021

วัฒนธรรมสงความกับวัฒนธรรมสันติ (戦争文化と平和文化)

ช่วงวันหยุดที่ผ่านมา อาจารย์ได้อ่านบทความภาษาญี่ปุ่น เขียนโดยโออิว่า โทชิยูกิ แสดงทัศนะส่วนตัวเกี่ยวกับ วัฒนธรรมสงความ บอกว่าเป็นวัฒนธรรมที่คิดแต่เรื่องของการต่อสู้ เพื่อใคร เพื่ออะไร เพื่อตนเองหรือไม่ หรือเพื่อครอบครัว หรืออาจเพื่อประเทศหรือไม่ก็ตาม แต่ไม่มีความคิดใดเลยที่สงครามว่าจะทำเพื่อโลกทั้งใบ

 

วัฒนธรรมสงความต้องมี "ศัตรู" หรือคู่แข่ง ซึ่งต่อสู้ด้วยความล้มเหลว ความเกรียดชังและความหวาดกลัวของคู่แข่ง

 

คู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่ายคิดเข้าข้างตนเองอยู่เสมอว่าตนเองถูกต้อง ตนเองคือความยุติธรรม ผู้ชนะย่อมพูดว่าเป็นเพราะพระเจ้าเข้าข้าง ส่วนผู้แพ้ก็จะบอกว่าเพราะพระเจ้าทอดทิ้ง ความคิดที่จะก่อสงครามอาจมาจากความคิดที่ว่า "ฆ่าเขาก่อนที่จะถูกฆ่า" คือ ต้นกำเนิดของวัฒนธรรมสงคราม

 

ในมุมของ วัฒนธรรมสันติ เมื่อเกิดความไม่ลงร่องลงรอยหรือความขัดแย้ง ให้พิจารณาวิธีแก้ไขปัญหาก่อน หาวิธีการที่ให้ทุกฝ่ายมีความสุขและเข้าใจกัน แม้ผลลัพธ์จะไม่เพิ่ง่ปราถนาไปทั้งหมด อาจได้มาเพียงครึ่งหนึ่งคือความสุข ส่วนอีกครึ่งหนึ่งคือความเศร้า หรือต้องต่อให้ถูกโจมตี ก็ต้องมั่นคงในหลักไม่ใช้้ความรุนแรงหรือยึดมั่นในหลักอหิงสาอย่างแรงกล้า

หรือจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า "ถ้าจะต้องฆ่าผู้อื่น ขอยอมตายเสียดีกว่า"

 

เรื่องไร้ความรุนแรงหรือหลักอหิงสา มีท่านผู้รู้และครูบาอาจารย์สอนมาก็มาก ท่านหนึ่งในจำนวนนั้นที่จะขอกล่าวถึง คือ พระเยซู ซึ่งพระองค์ได้สอนว่า "ขอให้รักศัตรู"


แม้พระองค์ถูกทรมานและถูกฆ่า เมื่อพระองค์กลายเป็นพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ก็ไม่ได้ฆ่าหรือทรมานคนที่ฆ่าพระองค์เลย

 

การรักษาสันติภาพให้ดำรงอยู่ได้ การไม่ใช้ความรุนแรงหรืออหิงสา อยู่ภายใต้แนวคิดที่ว่า ยอมตายดีกว่าจะต้องฆ่าผู้อื่น มนุษย์ต้องเปลี่ยนความตั้งใจได้

อหิงสา เป็นความคิดที่เชื่อมโยงกับความสันติ

 

ผู้เขียนยกตัวอย่างถึงการสู้ระบบระหว่างปาเลสไตส์์กับอิสราเอล ที่ต่างต่อสู้กันมายาวนาน ปาเรสไตย์บอกว่าตนเองมีสิทธิ์ใช้ระเบิด เพียงแค่บอกว่าจะใช้ระเบิด ความสันติก็ไม่มีทางเกิดขึ้นมาได้อย่างถาวร ถ้าคิดว่าความสันติเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ การต่อสู่แบบใด ๆ ก็ไม่มีทางเกิดขึ้น คนที่ทำสงครามกันต้องคิดถึงเรื่องความสูญเปล่าที่จะเกิดขึ้น

 


กรณีความต้องการน้ำมัน เป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดสงความ อเมริกาต้องการน้ำมันมหาศาล นอกจากจะใช้เชิงเศรษฐกิจแล้ว การมีน้ำมันจำนวนมากมายก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดสงครามได้เช่นกัน

 

ในอดีตเกิดสงครามเย็นระหว่างอเมริกากับสหภาพโซเวียต เหตุผลสำคัญคืออเมริกาต้องการเอาชนะในตอนนั้น เพื่อจะเป็นนายของโลก หรือการที่ต้องการเป็นนายของโลก ความต้องการเป็นเบอร์หนึ่งของโลกคือวัฒนธรรมสงครามที่เรากำลังพูดถึงอยู่

 

ความต้องการความคุมน้ำมันหรือทรัพยากรน้ำหรืออื่น ๆ เป็นสิ่งที่ต้องได้มาจากสงคราม จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ต้องอะไรก็ต้องต่อสู้กัน โลกจะฝากความหวังไว้ที่อเมริกาประเทศเดียวไม่ได้ ถ้าวันหนึ่งอเมริกาล้ม นั่นจะส่งผลต่อทุกประเทศไปด้วย โลกก็ถึงคราวอวสาน

 

วัฒนธรรมสงครามนั้น ไม่ได้เริ่มเกิดขึ้นในยุคสมัยนี้หรอก แต่มีมาตั้งแต่สมัยโรมันโบราณ หรือการล่าอณานิคมของสเปน หรือแม้แต่การเริ่มต้นของสหราชอาณาจักร จนกระทั้งมาถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามกลายเป็นวัฒนธรรมที่ต้องเกิดขึ้นจริงของมนุษยชาติ

 

 

มีความคิดของผู้เขียนต้องการบอกว่า ผู้นำโลกที่ต้องการให้โลกเกิดความสงบและมีสันตินั้น ไม่ใช่อเมริกา เพราะอเมริกาจ้องแต่ทำสงครามกับคนอื่น เพราะอเมริกามองว่าสงครามเป็นวัฒนธรรม ถ้าอเมริกาคิดอย่างนี้โลกก็ไม่มาถึงความสันติ อเมริกาก็คือผู้นำแห่งวัฒนธรรมสงคราม ดังนั้นโลกต้องการผู้นำแห่งวัฒนธรรมสันติภาพด้วยเช่นกัน แล้วประเทศใดในโลกจะได้รับตำแหน่งนี้ เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป


ณัฐพล จารัตน์

ผู้ประนีประนอม ศาลแรงงานภาค 1

 

ที่มา:  戦争文化と平和文化 (yokokai.com) สรุปความเมื่อ 13 ตุลาคม 2564


***บทความนี้ถอดความด้วยการสรุปคร่าว ๆ ไม่ใช่การแปลเนื้อความทั้งหมด***

Friday, September 10, 2021

มันก็น่าคิดนะ "การรั่วไหลของข้อมูลผ่านการใช้ฟรีอีเมล์"?!?



อีเมล์เป็นเครื่องสือสื่อสารทางอิเล็คทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในส่วนราชการและภาคเอกชน อีเมล์สามารถส่งข้อมูล (Data) ลักษณะข้อความ (Text) รูปภาพ (Picture) ไฟล์เอกสาร (File) ภาพเคลื่อนไหวสั้น ๆ (Clip) และยังสามารถเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) จึงสามารถรับและส่งข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและการเดินทาง สร้างประสิทธิผลสำหรับการต่อสื่อสารอันเป็นประโยชน์ต่อสนองนโยบาย Thailand 4.0 ในการนำเทคโนโลยีประยุกต์ใช้เพื่อการทำงานได้อย่างดีเยี่ยม

ปัจจุบันการให้บริการอีเมลมีทั้งระบบไม่เสียค่าบริการ (Free email) และเสียค่าบริการ (Paid email) ของผู้ให้บริการทั้งภายในและต่างประเทศ ผู้ใช้งานอีเมล์ส่วนใหญ่ลงทะเบียนใช้งานฟรีอีเมล์ของต่างประเทศ ฟรีอีเมลได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ได้แก่ Gmail Outlook iCloud และ Yahoo mail ก่อนการเริ่มใช้งานผู้ใช้บริการต้องสมัครใช้และกด “ยอมรับ” เงื่อนไขของผู้ให้บริการ ปัญหาที่พบคือ เวลาสมัครใช้งานผู้สมัครใช้ฟรีอีเมลแทบไม่อ่านเงื่อนใขของแต่ละฟรีอีเมลเลย อาจเป็นเพราะเงื่อนไขเขียนเป็นภาษาต่างประเทศ ส่วนที่เป็นภาษาไทยมีข้อความยืดยาว ไม่น่าชวนให้อ่าน จนอาจไม่สะดวกในการอ่านทำความเข้าใจเงื่อนไขได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน 

ผมก็พูดโดยรวมว่า ในระบบราชการหรือแม้แต่บริษัทเอกชนน้อยใหญ่มีระบบอีเมล์หรือระบบไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกส์ด้วยโดเมน (Domain) ของตนเอง เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัยและสามารถป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลภายใต้เงื่อนไขของการบริการที่ต่างกันไป ในส่วนบริษัทเอกชนมีกฎให้พนักงานใช้อีเมลของบริษัทชัดเจน ห้ามใช้อีเมลส่วนบุคคลในการทำงานเด็ดขาด อาจมียกเว้นบ้างพิจารณาเป็นเคส ๆ ส่วนในมุมของส่วนราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 เรื่อง  การพัฒนาระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ  ให้พิจารณาการพัฒนาระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ แล้วมีมติ ว่า  

1. รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเสี่ยงของข้อมูลของภาครัฐที่เกิดจากการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการโดยไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม (free-e-mail) ที่จัดทำขึ้นโดยบริษัทเอกชนของต่างประเทศ และความเห็นของ ก.พ.ร. เกี่ยวกับเรื่องนี้  

2. เห็นชอบประกาศนโยบายความมั่นคงปลอดภัยของข่าวสารภาคัฐ เพื่อกำหนดให้เรื่องการพัฒนาระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐนี้เป็นนโยบายที่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องถือปฏิบัติตามต่อไป  

ทั้งนี้  การพัฒนาระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐสำหรับใช้รับ-ส่งข้อมูลในระบบราชการ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลักต่อไปนี้ 

- ต้องพัฒนาระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐให้เป็นระบบที่อยู่ในประเทศไทย  และไม่ทดแทนระบบที่ส่วนราชการมีอยู่เดิม แต่จะเพิ่มความเข้มแข็งด้านความมั่นคงของระบบเดิมให้ดียิ่งขึ้น

- มอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่มีศักยภาพเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (สบทร.) รับไปดำเนินการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเรื่องนี้ต่อไป  รวมถึงภาระด้านงบประมาณที่ต้องใช้จ่าย 

- มอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณให้รองรับการใช้ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางของภาครัฐต่อไป
   
3. ให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐทั้งหมดยุติการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฟรีของเอกชนโดยเฉพาะของต่างประเทศภายในหนึ่งปี ทั้งนี้ ข้าราชการระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปต้องหันมาใช้ระบบของตนเอง หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐภายในสามเดือน 
            
4. มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นศูนย์กลางร่วมกับสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานกำกับดูแลการพัฒนาระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ และให้หน่วยงานภาครัฐที่มีความสามารถในการดำเนินการเป็นผู้รับงบประมาณไปศึกษาออกแบบและดำเนินการต่อไปตามความเหมาะสม  

เนื่องด้วยในปัจจุบันข้าราชการและพนักงานของรัฐจำนวนมาก ได้หันไปใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการโดยไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม (free-e-mail) ที่จัดทำขึ้นโดยบริษัทเอกชนของต่างประเทศ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขการใช้งานและการนำข้อมูลของผู้ใช้ไปทำประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ เช่น การทรงสิทธิ์ไว้ในการทำสำเนาเอกสารของผู้ใช้เพื่อความต่อเนื่องของบริการและทรงสิทธิ์ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ “ทำการอ่าน” จดหมายอิเล็กทรอนิกส์และเอกสารแนบของผู้ใช้ได้ 
            
การที่ข้าราชการไทยไปใช้บริการดังกล่าวโดยไม่ได้อ่านเงื่อนไขของการใช้บริการและยังไปประกาศ “ที่อยู่สำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์” (e-mail address) สำหรับติดต่อเป็นที่อยู่ของบริการของต่างประเทศมีผลทำให้เอกสารของราชการซึ่งข้าราชการและบุคลากรของรัฐจะต้องเก็บรักษาไว้ในที่ทำงานตัวเองถูกทำสำเนาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเอกชนในต่างประเทศ ซึ่งมีระบบสืบค้นและทำเหมือนข้อมูลเพื่อใช้ในกิจการของบริษัทโดยอาศัยเนื้อหาของผู้ใช้เป็นวัตถุดิบ  
            
เหตุการณ์เช่นนี้อาจเป็นผลเสียต่อราชการไทยในระยะยาว หากในอนาคตบริษัทเอกชนเหล่านั้นนำข้อมูลของไทยมาวิเคราะห์เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ รวมถึงการนำข้อมูลจราจรของการสื่อสารกันไปใช้ในด้านที่มิชอบ ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการสอดแนมเอกสารที่ทางราชการใช้ดำเนินงานภายในและยังอยู่ในฐานะปกปิดจนกว่าจะได้รับอนุมัติ ตลอดจนเอกสารที่ต้องปิดเป็นความลับ
ท่านพิจารณาตามผมนะครับว่า สิ่งที่ผมเขียนไปข้างต้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2550 ราชการหรือเอกชนตระหนักถึงความสำคัญ โดยเฉพาะภาครัฐคาดว่ามีหลายหน่วยงานใช้อีเมลองค์กรมากขึ้น จนกระทั่งมีมติล่าสุดที่เกี่ยวข้อง คำว่า “อีเมลของภาครัฐ” กลับมาอยู่ในสปอตไลท์อีกครั้ง เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้จัดทำระเบียบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ให้หน่วยงานรัฐต้องใช้ ‘อีเมล’ ในการสื่อสารเป็นหลัก มีผล 23 สิงหาคม 2564 (อ่านเพิ่มเติมจาก The Standards https://thestandard.co/cabinet-approves-the-preparation-of-electronic-documents/) 

สิ่งที่มีผู้สอบถามผมมาจากภาคเอกชน คือ 

“เฮ้ยพี่ เรื่องนี้ภาครัฐไม่ได้ใช้อีเมลมานานเเล้วหรอ” 
“อาจารย์ค่ะ คนที่ใช้มือถือทุกคนมีอีเมลนะ ก็ใช้กันอยู่แล้วใช่ไหม” 
“ทำไมเพิ่งจะมีเรื่องแบบนี้ในยุคที่โลกไปถึงดวงจันทร์ตั้งแต่ยังไม่มีอีเมล”

ผมคงไม่อาจก้าวล่างในความเห็นหรือกระบวนการทำงานของฝ่ายไหนได้ 

ผมเพียงอยากจะชวนขบคิดว่า ฟรีอีเมลที่เราใช้กันอยู่นั้น จะทำให้ข้อมูลเรารั่วไหลหรือไม่ มีการนำข้อมูลในการพูดคุยทางอีเมลไปแสวงหาผลทางธุรกิจหรือไม่ หรืออื่น ๆ 

จากปี 2550 จนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นราชการหรือเอกชนที่มิได้คาดคิดถึงเรื่องการรั่วไหลของข้อมูล ใช้ฟรีอีเมลในการทำงานไปมากขนาดไหนแล้ว น่าขบคิด

อย่างไรก็ตามการรั่วไหลที่กำลังพูดถึง จะต้องพัฒนาระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์กันใหญ่หลวง ซึ่งทุกหน่วยงานกำลังดำเนินอย่างพิถีพิถัน

นั่นจะทำให้ความมั่นคงทางข้อมูลจากการรับส่งอีเมลไม่ว่าของภาครัฐและเอกชน มีความปลอดภัยแบบประเทศไทยได้แน่นอน

ณัฐพล จารัตน์
ที่ปรึกษาอิสระ
nathjarath@outlook.com