Search This Blog

Monday, December 2, 2024

Sharing insights about The Monarchy and Buddhism with the Thai community in Germany.

I had the opportunity to share insights about 'The Monarchy and Buddhism' with the Thai community in Germany during a special occasion celebrating Thailand’s National Day 2024 on November 30, at the Royal Thai Embassy in Berlin.

Throughout Thailand’s history, the monarchy has played a pivotal role in preserving and promoting Buddhism. Thai kings have upheld the titles of 'Buddhamamaka' (a devout supporter of the Triple Gem), 'Dhammaraja' (a ruler guided by righteousness), and 'Dharmanu Sasaka' (a teacher of Dharma to the people). These roles reflect the unwavering royal commitment to safeguarding and propagating Buddhism for the enduring benefit of the nation.

During the lecture, I also highlighted the 'International Tipitaka Project (Sajjhaya Edition),' a collaboration between the Ministry of Foreign Affairs and the International Tipitaka Foundation. This project, initiated to commemorate His Majesty the King's 72nd birthday anniversary, aims to distribute the Tipitaka globally, linking Thai heritage to the world. This initiative aligns seamlessly with the United Nations’ Sustainable Development Goal (SDG) 16: Peace, Justice, and Strong Institutions. By promoting the Tipitaka internationally, it fosters cross-cultural understanding, justice, and global peace.

At the event’s opening, I was inspired by the keynote speaker who shared a royal message from His Majesty the King. In essence, His Majesty expressed love, care, and pride for Thai people worldwide, emphasizing, 'Wherever Thai people may live, as long as they uphold their Thai identity with determination and pride, they can thrive anywhere.'

Hearing this reinforced my gratitude toward the Royal Thai Embassy in Berlin for this meaningful opportunity. I was especially proud to learn that many attendees said it was their first time hearing these stories and that they plan to pass them on. This small mission feels truly accomplished.

Lastly, I extend my heartfelt thanks to the Peace Studies program at Mahachulalongkornrajavidyalaya University (MCU) for equipping me with the knowledge and methodologies that have become the foundation for sharing and creating value for communities continuously.

May the merits from this lecture bring success and happiness to all my kind-hearted friends. 🙏


ผมได้มีโอกาสถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับ "พระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนา" ให้แก่ชุมชนคนไทยในเยอรมนี ในโอกาสพิเศษเนื่องในวันชาติ ๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ตลอดประวัติศาสตร์ชาติไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็น "พุทธมามกะ" (ผู้ประกาศตนเลื่อมใสในพระรัตนตรัย) ทรงเป็น "ธรรมราชา" (ผู้ปกครองโดยธรรม) และทรงเป็น "ธรรมานุศาสก์" (ผู้สอนธรรมะแก่ประชาชน) ซึ่งสะท้อนถึงพระราชปณิธานอันแน่วแน่ในการปกป้องและเผยแผ่พุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป ระหว่างการบรรยายนี้ ผมยังได้แบ่งปันเรื่องราว "โครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัฌชายะ" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและมูลนิธิพระไตรปิฎกสากลในการส่งมอบพระไตรปิฎกไปทั่วโลก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีมหามงคล ๗๒ พรรษา และเชื่อมโยงความเป็นไทยกับชุมชนโลก เรื่องที่ผมบรรยายนี้ ถ้าจะโยงให้ทันสมัย สามารถเชื่อมโยง SDGs ขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 16 สันติภาพ ความยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง (Peace, Justice, and Strong Institutions) ซึ่งการเผยแผ่พระไตรปิฎกในระดับสากลสะท้อนถึงการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม ความยุติธรรม และความสงบสุขในระดับนานาชาติอย่างแท้จริง ใน่ช่วงการเปิดพิธี ผมได้รับฟังประธานนำกระแสพระราชดำรัสที่ฝากถึงพี่น้องคนไทย พอจะสรุปได้ว่า "(ในหลวง) ทรงมีความรัก ความคิดถึง และความภูมิใจในพี่น้องคนไทย ไม่ว่าคนไทยจะอยู่ที่ไหน ถ้ารักษาความเป็นไทยด้วยความตั้งใจและความภูมิใจ ก็สามารถดำรงอยู่ได้อย่างดีในทุกที่" เมื่อฟังประธานกล่าวเปิดงานแล้ว ผมรู้สึกขอบคุณสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ที่ให้โอกาสนี้ และยิ่งภูมิใจเมื่อทราบว่าหลายท่านที่ร่วมฟังกล่าวว่านี่เป็นครั้งแรกที่ได้ยินเรื่องราวเหล่านี้ และจะนำไปถ่ายทอดต่อ ผมถือว่าภารกิจเล็ก ๆ นี้สำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี สุดท้าย ผมขอขอบคุณหลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มหาจุฬาฯ) ที่มอบความรู้และวิธีการศึกษาซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญให้ผมได้นำมาถ่ายทอดและสร้างประโยชน์สู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ขอให้กุศลจากการบรรยายในครั้งนี้ จงส่งผลสำเร็จและความสุขแก่กัลยาณมิตรทุกท่านครับ 🙏

Ich hatte die Gelegenheit, Einblicke in das Thema 'Die Monarchie und der Buddhismus' mit der thailändischen Gemeinschaft in Deutschland zu teilen, anlässlich des thailändischen Nationalfeiertags 2024, am 30. November, in der Königlich Thailändischen Botschaft in Berlin.

Im Laufe der thailändischen Geschichte hat die Monarchie eine zentrale Rolle bei der Bewahrung und Förderung des Buddhismus gespielt. Thailändische Könige haben die Titel 'Buddhamamaka' (ein gläubiger Unterstützer der Dreifachen Juwelen), 'Dhammaraja' (ein Herrscher, der von Rechtschaffenheit geleitet wird) und 'Dharmanu Sasaka' (ein Lehrer des Dharma für das Volk) getragen. Diese Rollen spiegeln das unerschütterliche Engagement der Krone wider, den Buddhismus zu schützen und zu verbreiten, um dem Volk dauerhaft zu dienen.

Während meines Vortrags habe ich auch das 'Internationale Tipitaka-Projekt (Sajjhaya-Edition)' hervorgehoben, eine Zusammenarbeit zwischen dem thailändischen Außenministerium und der International Tipitaka Foundation. Dieses Projekt, das anlässlich des 72. Geburtstagsjubiläums Seiner Majestät des Königs ins Leben gerufen wurde, zielt darauf ab, das Tipitaka weltweit zu verbreiten und das thailändische Erbe mit der Welt zu verbinden. Diese Initiative stimmt perfekt mit dem Ziel für nachhaltige Entwicklung der Vereinten Nationen (SDG) 16 – Frieden, Gerechtigkeit und starke Institutionen – überein. Durch die internationale Förderung des Tipitaka werden interkulturelles Verständnis, Gerechtigkeit und globaler Frieden gefördert.

Bei der Veranstaltungseröffnung war ich von der Rede des Hauptredners inspiriert, der eine königliche Botschaft Seiner Majestät des Königs teilte. Sinngemäß betonte Seine Majestät: 'Wo auch immer Thailänder leben, solange sie ihre thailändische Identität mit Entschlossenheit und Stolz bewahren, können sie überall gedeihen.'

Dies bestärkte meine Dankbarkeit gegenüber der Königlich Thailändischen Botschaft in Berlin für diese bedeutungsvolle Gelegenheit. Ich war besonders stolz zu hören, dass viele Teilnehmer sagten, es sei das erste Mal gewesen, dass sie diese Geschichten hörten, und dass sie sie weitergeben wollen. Diese kleine Mission fühlt sich wirklich erfüllt an.

Abschließend möchte ich dem Friedensstudienprogramm der Mahachulalongkornrajavidyalaya Universität (MCU) meinen herzlichen Dank aussprechen, das mich mit dem Wissen und den Methoden ausgestattet hat, die die Grundlage für kontinuierliches Teilen und Schaffen von Werten für Gemeinschaften geworden sind.

Möge das Verdienst aus diesem Vortrag allen meinen wohlgesinnten Freunden Erfolg und Glück bringen. 🙏


私は、2024年のタイ国民の日を記念して、ドイツのタイコミュニティと「君主制と仏教」についての見識を共有する機会を得ました。11月30日にベルリンの王立タイ大使館で開催されました。

タイの歴史を通じて、君主制は仏教の保存と促進において中心的な役割を果たしてきました。タイの国王は「仏教徒」(三宝に帰依する者)、「法王」(正義による統治者)、および「法の教師」(人民に法を教える者)という称号を保持しています。これらの役割は、仏教を保護し、広めるという揺るぎない王室の使命を反映しています。

講義の中で、私は「国際ティピタカプロジェクト(サッチャヤ版)」についても紹介しました。これはタイ外務省と国際ティピタカ財団との協力によるもので、国王の72歳の誕生日を記念して開始されました。このプロジェクトは、タイの遺産を世界と結びつけるために、ティピタカを世界中に広めることを目指しています。この取り組みは、国連の持続可能な開発目標(SDG)16:平和、正義、強力な制度と完全に一致しています。ティピタカを国際的に普及させることは、文化間の理解、公正、そして世界的な平和を促進することを反映しています。

イベントの冒頭、私は基調講演者が国王の王室メッセージを共有するのを聞いて感動しました。簡潔に述べると、国王は『タイ人がどこにいても、タイのアイデンティティを決意と誇りを持って保持している限り、どこでも成功できる』と強調されました。

これを聞いて、ベルリンの王立タイ大使館に対する感謝の気持ちがさらに深まりました。この機会を与えてくださり、参加者の多くがこの話を初めて聞いたと述べ、それを他の人々に伝えたいと言ってくれたことに、特に誇りを感じています。この小さな使命が本当に達成されたと感じています。

最後に、私が学び、コミュニティに継続的に価値を提供する基盤となった知識と方法を提供してくれたマハーチュラロンコーンラジャヴィディヤ大学(MCU)の平和学プログラムに心から感謝します。

この講義からの功徳が、すべての親しい友人に成功と幸福をもたらしますように。


ຂ້ອຍໄດ້ມີໂອກາດແບ່ງປັນເລື່ອງລາວກ່ຽວກັບ "ພະມະກະສັດກັບພຣະພຸດທະສາສະໜາ" ສູ່ຊຸມຊົນຄົນໄທໃນປະເທດເຢຍລະມັນ ໃນໂອກາດພິເສດເນື່ອງໃນວັນຊາດປະຈຳປີ 2024 ເມື່ອວັນທີ 30 ພະຈິກ ທີ່ສະຖານທູດໄທ ປະຈຳເມືອງເບີລິນ.

ຕະຫຼອດປະຫວັດສາດຂອງປະເທດໄທ, ພະມະກະສັດໄທໄດ້ມີບົດບາດສຳຄັນໃນການຄົງຮັກສາ ແລະສົ່ງເສີມພຣະພຸດທະສາສະໜາ. ພຣະມະກະສັດໄທໄດ້ສືບຖືບົດບາດເປັນ "ພຸດທະມາມະກະ" (ຜູ້ປະກາດຕົນຖືສັດທາໃນພຣະຣັດນະໄຕ), "ທຳມະຣາຊາ" (ຜູ້ປົກຄອງດ້ວຍຄວາມຊອບທຳ), ແລະ "ທຳມະນຸສາສະກະ" (ຜູ້ເຜີຍແຜ່ທຳມະຊາດໃຫ້ປະຊາຊົນ). ບົດບາດເຫຼົ່ານີ້ສະທ້ອນໃຫ້ເຫັນຄວາມມຸ່ງມັ່ນຂອງພຣະມະກະສັດໃນການປົກປ້ອງ ແລະສົ່ງເສີມພຣະພຸດທະສາສະໜາໃຫ້ມັ່ນຄົງສືບໄປ.

ໃນເວລາບັນຍາຍ, ຂ້ອຍໄດ້ແບ່ງປັນເລື່ອງກ່ຽວກັບ "ໂຄງການເຜີຍແຜ່ພຣະໄຕປິຎົກສາກົນ ສະບັບສັຌຊາຍະ," ຊຶ່ງເປັນຄວາມຮ່ວມມືລະຫວ່າງກະຊວງຕ່າງປະເທດ ແລະມູນນິທິພຣະໄຕປິຎົກສາກົນ ທີ່ມຸ່ງສົ່ງມອບພຣະໄຕປິຎົກໄປສູ່ຊຸມຊົນໂລກ, ພ້ອມສະເພາະໃນໂອກາດສຸດພິເສດດັ່ງເວົ້າ. ຄວາມພະຍາຍາມນີ້ຍັງມີຄວາມສອດຄ້ອງກັບຄວາມມຸ່ງຫມາຍທີ່ 16 ຂອງສະຫະປະຊາຊາດ ຄື ສັນຕິພາບ, ຄວາມຍຸດຕິທຳ, ແລະສະຖາບັນທີ່ເຂັ້ມແຂງ.

ໃນຂະຫຍະຂອງພິທີເປີດງານ, ຂ້ອຍໄດ້ຟັງຂໍ້ຄວາມທີ່ປະທານໄດ້ນຳຂອງພຣະມະກະສັດສົ່ງຝາກເຖິງພີ່ນ້ອງຄົນໄທເພື່ອເພີ່ມກຳລັງໃຈ, ຊຶ່ງຂ້ອຍສະຫມຸດໃຫ້ວ່າ 'ບ່ອນໃດທີ່ຄົນໄທຢູ່, ຄົນໄທທີ່ຮັກຄວາມເປັນໄທຂອງຕົນ ແລະຮັກຄວາມດີງາມຂອງຊາດຊົນ ຈະດຳລົງຢູ່ທຸກສະຖານທີ່ໄດ້

Sunday, December 1, 2024

ผมเป็น "มัคนายก" จำเป็น

ผมนำอาราธนาศีลและอาราธนาพระปริตรในพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญอุทิศถวายพระราชกุศลในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และ ทำบุญอุทิศถวายพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมถึง วันชาติไทย ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 มัคนายกได้ทำหน้าที่สำคัญในการ อาราธนาศีล และ อาราธนาพระปริตร แทนข้าราชการและชุมชนคนไทยในประเทศเยอรมนี ถวายแด่คณะสงฆ์ เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลและความสงบสุขแก่ผู้ร่วมพิธี

ความสำคัญของการอาราธนาศีลและพระปริตร

พิธีนี้ไม่เพียงเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีและการสืบทอดพระพุทธศาสนาในต่างแดน แต่ยังช่วยเสริม สิริมงคล และ ความสงบสุข ทั้งในระดับบุคคลและชุมชน

การอาราธนาศีล เป็นการเชิญพระสงฆ์ให้ศีลแก่ผู้ร่วมพิธี เพื่อเตือนสติและสร้างความตั้งมั่นในการรักษาศีล โดยเฉพาะ ศีล 5 ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญในการดำเนินชีวิตอย่างสงบสุขและมีคุณธรรม อานิสงส์ของการรับศีล

1. ชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์

2. สร้างเกราะคุ้มครองจากการทำความผิด

3. เป็นรากฐานของบุญกุศล

4. ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในสังคม


ส่วนการอาราธนาพระปริตร เป็นการเชิญพระสงฆ์สวดบทพระปริตร เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและเสริมสร้างสิริมงคล อานิสงส์ของบทพระปริตร

1. คุ้มครองป้องกันภัยจากโรคและอันตราย

2. สร้างสมาธิและพลังบวก

3. ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและกาย

4. เพิ่มพูนสิริมงคลแก่ชีวิต

การนำหลักพระพุทธศาสนามาสร้างความสามัคคีในชุมชนคนไทยในเยอรมนี และช่วยย้ำเตือนถึงรากเหง้าของวัฒนธรรมและจิตวิญญาณไทย แม้จะอยู่ห่างไกลจากบ้านเกิด


พิธีนี้ไม่เพียงสร้างความสุขและสิริมงคลให้แก่ผู้ร่วมงาน แต่ยังช่วยเสริมสร้างพลังใจและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในชุมชนไทยในกรุงเบอร์ลิน ขออนุโมทนาบุญแด่ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในพิธีสำคัญนี้ ขอให้ผลบุญนำพาความเจริญรุ่งเรืองและความสงบสุขมาสู่ชีวิตของทุกท่าน 🙏

#อาราธนาศีล #อาราธนาพระปริตร #เจริญพระพุทธมนต์ #ทำบุญอุทิศพระราชกุศล # #พระบรมราชสมภพ #ชุมชนคนไทยในเยอรมนี #พระพุทธศาสนาในต่างแดน #สิริมงคล

Saturday, November 2, 2024

“การจัดการความเครียด” สำหรับนักเรียนไทยในเยอรมนี (Stress Management for Thai students in Germany)

สวัสดีจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีครับ! เมื่อช่วงสายของวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสบรรยายและแบ่งปันประสบการณ์ในหัวข้อ “การจัดการความเครียด” ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักเรียนไทยในเยอรมนี งานนี้จัดขึ้นใน งานประชุมสามัญประจำปี 2567 ของสมาคมนักเรียนไทยในเยอรมนีฯ ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ในการบรรยายครั้งนี้ ผมได้ออกแบบเนื้อหาโดยใช้กระบวนการจาก Peace Studies และประสบการณ์การทำงานเป็นผู้ประนีประนอมประจำศาล เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความท้าทายที่นักเรียนไทยในเยอรมนีต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การปรับตัวในชีวิตประจำวัน การหางาน และการใช้ชีวิตในสังคมที่มีวัฒนธรรมและบริบททางสังคมต่างจากประเทศไทย การจัดการความเครียดและการรักษาสมดุลทางอารมณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ผมจึงแนะนำ 10 เทคนิคในการจัดการความเครียด อาทิ การฝึกลมหายใจ การเขียนบันทึกประจำวัน และการดูแลลำไส้ของตนเองด้วยการเลือกรับประทานอาหาร หวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนไทยปรับตัวได้อย่างราบรื่นและใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล ในโอกาสนี้ ผมขอขอบคุณท่านนายกสมาคมฯ และพี่ ๆ จากสถานทูตที่ให้เกียรติและมอบหมายภารกิจสำคัญนี้ให้ผม ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์อนาคตที่ดียิ่งขึ้นสำหรับนักเรียนไทยในเยอรมนี 💪😊 สำหรับนักศึกษาไทยหรือผู้ที่สนใจการศึกษาในเยอรมนี สามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมดี ๆ ของสมาคมฯ ได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/de.tsvd แล้วมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่แข็งแกร่งนี้ไปด้วยกันครับ! Auf wiedersehen แล้วพบกันใหม่ครับ! 



Hello from Berlin, Germany! On the morning of Saturday, November 2, I had the opportunity to give a talk and share my experiences on the topic of “Stress Management”—an essential and valuable subject for Thai students in Germany. This session was part of the 2024 Annual General Meeting of the Thai Students’ Association in Germany held at the Royal Thai Embassy in Berlin. In preparing this talk, I designed the content using approaches from Peace Studies and my experiences as a court mediator to address the unique challenges that Thai students in Germany often face. These include adapting to academic life, adjusting to daily routines, job hunting, and navigating life in a culture and social environment vastly different from Thailand. Effective stress management and emotional balance are key, so I introduced 10 techniques for managing stress, such as breathing exercises, keeping a daily journal, and caring for one’s gut health through mindful food choices. I hope these techniques will help Thai students smoothly adapt and find balance in their lives here. I would like to extend my heartfelt thanks to the TSVD president and the team at the embassy for entrusting me with this important role, and I’m grateful to have contributed to creating a brighter future for Thai students in Germany 💪😊 For Thai students and anyone interested in studying in Germany, you can follow the Thai Students’ Association in Germany for valuable news and events on Facebook: https://www.facebook.com/de.tsvd. Join us in building a strong and supportive community here! Auf wiedersehen, and see you again soon!

こんにちは、ドイツのベルリンからご挨拶です!😊 先週の土曜日、11月2日の朝、「ストレス管理」に関するトークをする機会がありました。このテーマは、ドイツで生活するタイの学生にとってとても大事で役立つものです。このトークは、タイ学生協会 ドイツ支部 (TSVD) の2024年年次総会の一環として、タイ大使館で行われました。 このセッションでは、平和学 (Peace Studies) の考え方と、私が裁判所の調停人として得た経験を活かし、ドイツで生活するタイの学生が直面する様々な課題に応えられるようにしました。勉強や日常生活への適応、就職活動、異文化での生活など、タイとは違う環境での挑戦がたくさんありますよね。ストレスを上手に管理し、感情のバランスを保つことがとても重要です。そこで、ストレス対策の10のテクニックを紹介しました。例えば、呼吸法の練習や日記をつけること、食生活に気を配って腸内環境を整えることなどです。少しでも皆さんの生活がスムーズに、そしてバランスの取れたものになると嬉しいです。 最後に、協会の会長さんと素晴らしい大使館のチームの皆さんに、この機会をいただいたことに感謝しています。タイの学生がドイツでより良い未来を築くお手伝いができて、とても光栄です💪😊 ドイツでの留学に興味がある方は、タイ学生協会 ドイツ支部のFacebookページ (https://www.facebook.com/de.tsvd) で活動情報やイベントをチェックしてください!みんなで一緒に素敵なコミュニティを築きましょう! それでは、またお会いしましょう!