Search This Blog

Saturday, January 28, 2023

ถึงเวลาบรรจุ "การสร้างสันติภาพ" ลงในพจนานุกรมไทยบ้างหรือยัง (บทความลงในไลน์ทูเดย์) : Is it time to include "Peacebuilding" in the Thai dictionary?

เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ช่วงเดือนกันยายน 2561 ถือเป็นเดือนแห่งวันสันติภาพสากล บรรดานักสันติภาพ นักสันติศึกษา และนักกิจกรรมสันติวิธีทั่วทุกมุมโลกร่วมรณรงค์แคมเปญให้บรรจุคำว่า "Peacebuilding" ลงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับสำคัญ ๆ ของโลกอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม

“Peacebuilding” แปลว่า “การสร้างสันติภาพ” เกิดจากคำ 2 คำ คือ Peace (สันติภาพ) + Building (การสร้าง) กล่าวกันว่า ในทศวรรษที่ 70 ศาสตราจารย์โยฮัน กัลตุง (Prof.Johan Gultung)  นักวิชาการด้านสันติศึกษา ชาวนอร์เวย์ เป็นผู้ที่ได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นบิดาแห่งสันติศึกษา (the Father of Peace Studies) และเป็นผู้ริเริ่มใช้คำนี้อย่างเป็นทางการคนแรก ๆ ของโลก เพื่อใช้อธิบายปรากฎการณ์เชิงวิชาการ ด้านสันติภาพและสันติศึกษาเผยแพร่จนเป็นสากล ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี เป็นเครื่องพิสูจน์ให้โลก ได้เห็นแล้วว่า “Peacebuilding” ที่โลกกำลังโหยหาในปัจจุบัน จำเป็นและถึงเวลาที่ต้องบรรจุลงในพจนานุกรม เพื่อให้โลกเกิดความตระหนักรู้ถึงความคำสัญและส่งเสริมการสร้างสันติภาพให้เห็นภาพชัดเจน 

หลายท่านที่ไม่ใช่นักสันติภาพ นักสันติศึกษา หรือนักกิจกรรมด้านสันติวิธี อาจไม่เข้าใจและฉงนสงสัยว่า การบรรจุเพียงแค่คำ ๆ หนึ่งลงในพจนานุกรมนั้น จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคมอย่างไร คำ ๆ นี้สำคัญได้อย่างไร และเพียงแค่คำ ๆ นี้คำเดียวจะสร้างสันติภาพขึ้นมาได้อย่างไร

พจนานุกรม (Dictionary) คือ หนังสือหรือเอกสารรวบรวมคำศัพท์และความหมายของภาษาใดภาษาหนึ่ง สามารถบอกชนิดของคำ ประเภทของคำ ที่มาของคำ ความทันสมัยหรือล้าสมัยของคำ เพื่อให้คนที่สื่อสารในภาษานั้น ๆ เข้าใจความหมายตรงกัน เป็นมาตรฐานเดียวกัน ยกตัวอย่าง ภาษาไทย เราจะอ้างถึงถึงพจนานุกรมภาษาไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ถือเป็นพจนานุกรมอ้างอิงและเป็นมาตรฐาน สำหรับการเขียนหนังสือทางราชการของประเทศ ก่อนบรรจุคำต่าง ๆ ลงไป แต่ละคำและแต่ละความหมายจะได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจากปรมาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ นักภาษาศาสตร์ภาษาไทย และภาษาอื่นที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบัน พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เป็นฉบับล่าสุด  โดยลงเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2556 เป็นต้นมา

พจนานุกรมไทยฉบับปัจจุบัน เผยแพร่ทั้งในฉบับรูปเล่มและออนไลน์ เนื่องจากฉบับรูปเล่มค่อนข้างใหญ่และหนา การใช้แบบออนไลน์จึงสะดวกและเข้าถึงได้ตลอดเวลา ท่านสามารถเข้าใช้งานได้จากลิ้งค์นี้ https://dictionary.orst.go.th/

ผมลองค้นหาคำว่า "การสร้างสันติภาพ" ปรากฎว่าไม่พบข้อมูล จากนั้น ผมลองแยกเป็น 2 คำ คือ "การสร้าง" ปรากฎว่าไม่พบข้อมูลเช่นกัน แต่คำว่า "สันติภาพ" ปรากฎความหมายว่า "ความสงบ” 

จึงเห็นได้ว่า "การสร้างสันติภาพ" ยังไม่ปรากฎเป็นคำ ๆ เดียวหรือมีความหมายเจาะจงในพจนานุกรมไทย 

จากที่เล่ามา ท่านสังเกตุไหมว่า ในประเทศตะวันตกภาคประชาชนสามารถทำกิจกรรม เพื่อเสนอให้คำที่พวกเขาเห็นว่ามีความจำเป็น มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม จึงรวมตัวกันนำเสนอต่อพจนานุกรมภาษาอังกฤษของ Oxford และ Cambridge หรือแม้แต่พจนานุกรมภาษาอังกฤษอเมริกันของ Webster ให้พิจารณาบรรจุ Peacebuilding ลงในพจนานุกรม ซึ่งเหล่าพจนานุกรมกำลังได้รับการพิจารณาอย่างเป็นขั้นเป็นต้น ถ้าคำนี้สามารถบรรจุในพจนานุกรมขึ้นมาได้ จะเกิดประโยชน์อะไรต่อสังคม อธิบายได้ 3 ข้อ ดังนี้

เห็นพลังอำนาจการเคลื่อนไหวภาคประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงและควบคุมทางสังคม

เป็นการยกย่องและให้เกียรติต่อนักวิชาการสันติศึกษาที่มีบทบาทต่อการสร้างสันติภาพจากทุกมุมโลก โดยเฉพาะเป็นเกียรติให้ศาสตราจารย์โยฮัน กัลตง 

แสดงความหมายเป็นกลาง เป็นมาตรฐาน แต่สามารถนำไปประยุกต์ นิยาม หรือตีความในมุมมองอื่น ๆ 

สำหรับในช่วงเวลาที่กำลังรณรงค์แคมเปญนั้น ผมเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมรณรงค์กับแคมเปญนี้จากประเทศไทย   ด้วยการส่งข้อความติด #peacebuilding ลงในสื่อสังคมออนไลน์จำนวนมาก  จนได้รับข้อความขอบคุณ ทางทวิตเตอร์จากศาตราจารย์โยฮัน กัลตุง จึงรู้สึกปราบปลื้มใจที่ได้รับข้อความ จากบุคคลสำคัญและเป็นถึงบิดาแห่งสันติศึกษาที่นักสันติศึกษาทั่วโลกสรรเสริญมากที่สุด 

ในประเทศไทย ผมยังไม่เคยเห็นปรากฎการณ์ของภาคประชาชนรณรงค์ให้บรรจุคำ ๆ ใดที่มีผลต่อสังคมลงในพจนานุกรมไทย ถ้าท่านเริ่มต้นบรรจุคำว่า "การสร้างสันติภาพ" ได้ ก็น่าจะเป็นนิมิตหมายอันดีของสังคมไทย และอาจเป็นการกำหนดนิยามของความสงบสุขของประเทศที่พวกท่านกำลังจะสร้างขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ถึงเวลาแล้วที่พวกท่านจะต้องหาบรรจุ “การสร้างสันติภาพ” ที่เหมาะสมกับสังคมของไทยลงในพจนานุกรมไทยบ้างแล้วหรือยัง

อ้างอิงและที่มาของภาพประกอบ

Conciliation Resources. “Help get peacebuilding in the dictionary”. เข้าถึงได้จาก https://www.c-r.org/news-and-insight/help-get-peacebuilding-dictionary

SGCG. “This peace day, Will you put in a good word for us?”. เข้าถึงได้จาก https://www.sfcg.org/put-in-a-good-word-peacebuilding/

ราชบัณฑิตยสภา. “พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ออนไลน์”. เข้าถึงได้จาก https://dictionary.orst.go.th/index.php

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554”. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/พจนานุกรม_ฉบับราชบัณฑิตยสถาน_พ.ศ._2554

Johan Gultung. “Conflicts≠Violence”. เข้าถึงได้จาก https://twitter.com/johangaltung

หมายเหตุ: บทความนี้ลงในไลน์ทูเดย์ สามารถเข้าถึงลิ้งก์ได้ที่ >>>> https://today.line.me/th/v2/article/YaV23Va 












ภาษาอังกฤษ (English)

3-4 years ago, in September 2018, the month marked the International Day of Peace. Peace advocates, peace studies scholars, and nonviolent activists around the world campaigned to formally and concretely include the term "Peacebuilding" in major English dictionaries.

"Peacebuilding" means "the building of peace," derived from two words: Peace + Building. It is said that in the 1970s, Professor Johan Galtung, a Norwegian scholar often regarded as the Father of Peace Studies, was one of the first to use the term officially. He used it to explain academic phenomena in peace and peace studies, spreading its usage globally. Over more than 50 years, the term "Peacebuilding" has proven to be vital for the world's current needs, making it essential to include in dictionaries to raise awareness and promote clearer understanding and advocacy for peacebuilding.

Those who are not peace activists, peace scholars, or nonviolent advocates may question how including a single term in a dictionary can bring about social change. Why is this word important, and how can it contribute to building peace?

A dictionary is a compilation of words and their meanings, serving as a standard reference for people communicating in a specific language. For example, in Thai, the Royal Institute's Dictionary is the official reference for government documents. Words undergo careful consideration by language experts before inclusion. The most recent edition of the Thai Dictionary was published in 2013, both in print and online.

When I searched for the term "การสร้างสันติภาพ" ("Peacebuilding") in the Thai dictionary, I found no results. Searching for "การสร้าง" ("Building") also yielded no results, while "สันติภาพ" ("Peace") was defined as "calmness." This indicates that the concept of "Peacebuilding" as a single term with a clear definition does not yet exist in Thai dictionaries.

In Western countries, citizens can advocate for including words they deem impactful and socially transformative in dictionaries like Oxford, Cambridge, and Webster's. If "Peacebuilding" is successfully added to dictionaries, it could benefit society in three ways:

  1. Demonstrating the power of grassroots movements in driving social change.
  2. Honoring peace scholars, especially Professor Johan Galtung, for their global contributions to peacebuilding.
  3. Providing a neutral, standardized definition that can be adapted or interpreted from different perspectives.

During the campaign, I participated by posting messages with the hashtag #peacebuilding on social media. I was thrilled to receive a thank-you message on Twitter from Professor Johan Galtung, a globally revered figure in peace studies.

In Thailand, I have not seen grassroots campaigns advocating for the inclusion of socially impactful words in the Thai dictionary. If you initiate the inclusion of "Peacebuilding," it could be a meaningful step for Thai society, symbolizing the nation’s commitment to defining and achieving peace in a tangible way. Isn't it time for "Peacebuilding" to be formally included in the Thai dictionary?


ภาษาเยอรมัน (German)

Vor 3-4 Jahren, im September 2018, markierte dieser Monat den Internationalen Tag des Friedens. Friedensbefürworter, Friedensforscher und Gewaltfrei-Aktivisten aus der ganzen Welt setzten sich dafür ein, den Begriff „Peacebuilding“ offiziell und konkret in wichtige englische Wörterbücher aufzunehmen.

„Peacebuilding“ bedeutet „Friedensaufbau“ und leitet sich aus zwei Wörtern ab: Peace (Frieden) + Building (Aufbau). Es wird gesagt, dass in den 1970er Jahren Professor Johan Galtung, ein norwegischer Wissenschaftler und der Vater der Friedensforschung, einer der ersten war, der diesen Begriff offiziell verwendete. Er nutzte ihn, um akademische Phänomene im Bereich Frieden und Friedensforschung zu beschreiben und dessen Verwendung weltweit zu verbreiten. Über mehr als 50 Jahre hinweg hat sich „Peacebuilding“ als wesentlicher Begriff für die Bedürfnisse der heutigen Welt erwiesen, weshalb er in Wörterbücher aufgenommen werden sollte, um das Bewusstsein zu schärfen und das Verständnis und die Förderung des Friedensaufbaus zu erleichtern.

Menschen, die keine Friedensaktivisten, Friedensforscher oder Verfechter der Gewaltfreiheit sind, fragen sich vielleicht, wie die Aufnahme eines einzigen Begriffs in ein Wörterbuch gesellschaftliche Veränderungen bewirken kann. Warum ist dieses Wort so wichtig und wie kann es den Frieden fördern?

Ein Wörterbuch ist eine Sammlung von Wörtern und deren Bedeutungen, die als Standardreferenz für Menschen dienen, die in einer bestimmten Sprache kommunizieren. Zum Beispiel ist in Thailand das Wörterbuch des Königlichen Instituts die offizielle Referenz für Regierungsdokumente. Wörter werden vor ihrer Aufnahme sorgfältig von Sprachexperten geprüft. Die neueste Ausgabe des thailändischen Wörterbuchs wurde 2013 veröffentlicht, sowohl in gedruckter als auch in digitaler Form.

Als ich den Begriff „การสร้างสันติภาพ“ („Friedensaufbau“) im thailändischen Wörterbuch suchte, fand ich keine Ergebnisse. Auch die Suche nach „การสร้าง“ („Aufbau“) ergab keine Ergebnisse, während „สันติภาพ“ („Frieden“) als „Ruhe“ definiert wurde. Dies zeigt, dass das Konzept des „Friedensaufbaus“ als einzelner Begriff mit einer klaren Definition noch nicht in thailändischen Wörterbüchern existiert.

In westlichen Ländern können Bürger dafür plädieren, Wörter, die sie für wirkungsvoll und gesellschaftlich transformierend halten, in Wörterbücher wie Oxford, Cambridge und Webster’s aufzunehmen. Sollte „Peacebuilding“ erfolgreich in Wörterbücher aufgenommen werden, könnte dies der Gesellschaft in drei Punkten zugutekommen:

  1. Demonstration der Macht von Basisbewegungen bei der Gestaltung sozialer Veränderungen.
  2. Würdigung von Friedensforschern, insbesondere Professor Johan Galtung, für ihre globalen Beiträge zum Friedensaufbau.
  3. Bereitstellung einer neutralen, standardisierten Definition, die aus verschiedenen Perspektiven angepasst oder interpretiert werden kann.

Während der Kampagne habe ich mich beteiligt, indem ich Nachrichten mit dem Hashtag #peacebuilding in sozialen Medien gepostet habe. Ich war begeistert, eine Dankesnachricht auf Twitter von Professor Johan Galtung, einer weltweit angesehenen Persönlichkeit der Friedensforschung, zu erhalten.

In Thailand habe ich keine Basisbewegungen gesehen, die sich dafür einsetzen, gesellschaftlich relevante Begriffe in das thailändische Wörterbuch aufzunehmen. Wenn Sie mit der Aufnahme von „Friedensaufbau“ beginnen, könnte dies ein bedeutender Schritt für die thailändische Gesellschaft sein und die Bereitschaft der Nation symbolisieren, Frieden konkret zu definieren und zu fördern. Ist es nicht an der Zeit, „Friedensaufbau“ offiziell in das thailändische Wörterbuch aufzunehmen?


ภาษาญี่ปุ่น (Japanese)

3~4年前の2018年9月は、国際平和デーの月として注目されました。世界中の平和活動家、平和学者、非暴力活動家たちは、主要な英語辞書に「Peacebuilding(平和構築)」という言葉を正式かつ具体的に収録するキャンペーンを展開しました。

「Peacebuilding」は「平和を構築する」という意味で、「Peace(平和)」と「Building(構築)」の2つの言葉から成り立っています。1970年代、ノルウェーの平和学者であるヨハン・ガルトゥング教授は、「平和学の父」として知られ、この言葉を初めて公式に使用した人物の1人とされています。彼は、この言葉を学問的な平和現象や平和学を説明するために使用し、その普及を世界的に広めました。この50年以上の間に、「Peacebuilding」という概念が今日の世界でいかに必要不可欠であるかが証明され、辞書に収録することで、この言葉の重要性を認識し、平和構築を明確に促進するための一助となるべきだと考えられています。

平和活動家でも平和学者でも非暴力活動家でもない人々にとっては、たった一つの言葉を辞書に追加するだけで、社会にどのような変化をもたらすのか疑問に思うかもしれません。この言葉はなぜ重要なのでしょうか。そして、どのように平和構築につながるのでしょうか。

辞書とは、言語の単語とその意味を集めたものであり、同じ言語を使用する人々が共通の理解を持つための標準的な参考資料です。例えば、タイでは、国立タイ語辞書が公的文書において公式な基準として使用されています。辞書に収録される言葉は、言語学の専門家による慎重な審査を経て決定されます。タイ語辞書の最新の版は2013年に発行され、印刷版とオンライン版の両方で提供されています。

私はタイ語辞書で「การสร้างสันติภาพ(平和構築)」という言葉を検索しましたが、結果は見つかりませんでした。「การสร้าง(構築)」という言葉を検索しても結果はありませんでしたが、「สันติภาพ(平和)」は「平穏」と定義されていました。つまり、「平和構築」という単語は、タイ語辞書にはまだ単一の明確な定義として存在していないことが分かります。

西洋諸国では、市民が自分たちが社会的に重要だと考える言葉を辞書に収録するよう提案することが可能です。例えば、オックスフォード、ケンブリッジ、ウェブスターなどの英語辞書です。「Peacebuilding」が辞書に収録されれば、次の3つの点で社会に利益をもたらすでしょう。

  1. 市民運動が社会変革を推進し、影響を与える力を示す。
  2. 平和学者、特にヨハン・ガルトゥング教授のような平和構築に貢献した人々を称える。
  3. 中立的で標準化された定義を提供し、それを他の視点から応用したり解釈したりすることが可能になる。

このキャンペーンの期間中、私は「#peacebuilding」のハッシュタグを用いてソーシャルメディアでメッセージを投稿し、この運動に参加しました。そして、ヨハン・ガルトゥング教授本人から感謝のメッセージを受け取ったとき、大変光栄に感じました。

タイでは、社会的に影響力のある言葉を辞書に追加するよう求める市民運動を目にしたことはありません。「平和構築」という言葉の収録を始めることは、タイ社会にとって重要な一歩となり、国の平和に対する具体的なコミットメントを象徴するものとなるでしょう。「平和構築」をタイ語辞書に正式に収録する時が来ているのではないでしょうか?

Friday, January 27, 2023

ขนมโตเกียวมาจากไหน (บทความไลน์ทูเดย์)

ขณะกำลังขึ้นบันไดเลื่อนของสถานีรถไฟฟ้าอนุสาวรีย์ ผมมองลงมาริมถนนเห็นรถเข็นขายขนมโตเกียวเจ้าหนึ่ง

เป็นพ่อค้ากำลังหยิบขนมโตเกียวใส่ถุงกระดาษสีน้ำตาลให้กับลูกค้า ซึ่งดูแล้วก็น่าจะเป็นคนทำงานออฟฟิศแถวนั้น

เท่าที่มองเห็นเดาได้ว่าน่าจะเป็นขนมโตเกียวไส้ไข่กับไส้กรอก มีลูกค้าต่อคิวกัน 2-3 คน สำหรับคนทำงานออฟฟิศ

ขนมโตเกียวก็เป็นเสมือนอาหารฟาสต์ฟูดยามเช้าหรือของกินเล่น กินร่วมกับกาแฟ พอระงับความหิวในยามเร่งรีบหรือ

เป็นของว่าง

ผมใช้เวลาระหว่างนั่งรถไฟฟ้านึกถึงเรื่องที่มาของขนมโตเกียว ซึ่งเป็นขนมที่ผมเองก็ไม่เคยเห็น แม้จะเคยเรียนที่ญี่ปุ่น ทำให้เกิดคำถามในใจว่า ขนมโตเกียวมาจากไหน ใครเป็นคนคิดประดิษฐ์ขึ้นเป็นคนแรก

ในความเห็นส่วนตัว มีข้อสันนิษฐานถึงต้นแบบของขนมโตเกียว 2 ข้อ คือ

ข้อแรก ขนมโตเกียวอาจดัดแปลงมาจากขนมโดรายากิ (Dorayaki) เป็นแป้งแพนเค้กสองชิ้นประกบกัน สอดใส่ถั่วแดงกวนหวาน ๆ ตรงกลาง

ข้อที่ 2 ขนมโตเกียวอาจดัดแปลงจากมาขนมเครปญี่ปุ่น (Japanese Crepe) เป็นแป้งแพนเค้กแผ่นหนา แผ่บนกระทะร้อนแบนเรียบ สอดไส้ได้หลายแบบ เค็มบ้างหวานบ้าง หรือก็ใส่ไอศกรีม แล้วม้วนเป็นแท่งหรือพับคล้ายสามเหลี่ยม

ช่วงเวลาที่ขนมโตเกียวเกิดขึ้นในเมืองไทย สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นช่วง พ.ศ. 2507 - 2510

ในข้อแรก ขนมโตเกียวน่าจะมีต้นแบบมาจากขนมโดรายากิ เพราะราว ๆ พ.ศ. 2507 ห้างญี่ปุ่นชื่อ

ไทยไดมารุ (Thai Daimaru) เปิดสาขาที่กรุงเทพฯ บนถนนราชดำริ (ตรงบริเวณห้างบิ๊กซีในปัจจุบัน)

เป็นที่ที่ขนมโดรายากิขาย ครั้งแรกในเมืองไทยและเป็นที่รู้จักในหมู่คนที่ชื่นชอบญี่ปุ่น ประกอบกับช่วงนั้น

การ์ตูนเรื่องโดราเอม่อน (Doraemon) เจ้าหุ่นยนต์แมวจากอนาคตที่ชอบกินขนมโดรายากิได้เริ่มฉาย

เด็ก ๆ ก็เริ่มรู้จักว่าโดราเอม่อนชอบกินขนมโดรายากิ ยิ่งทำให้ขนมโดรายากิเป็นขนมที่น่ากินมากยิ่งขึ้น 

พ่อค้าแม่ขายในยุคนั้นจึงเริ่มดัดแปลงจากขนมโดรายากิ พัฒนาออกมาเป็นขนมโตเกียว กรรมวิธีการใช้แป้งกับไส้

คงไม่แตกต่างกัน แต่สูตรและรูปลักษณ์ของขนมแปลกตาจากขนมโดรายากิ ที่ทำเป็นแผ่นแป้งแพนเค้กสองชิ้นสอด

ไส้ถั่วแดงกวนประกบกันกลายเป็นแผ่นแป้งขนาดเล็กม้วนเป็นแท่งสอดไส้ครีม ไส้ไข่ ไส้หมูสับหรือฮอทดอก

และในช่วงนั้นว่ากันว่า ถ้าอยากจะกินขนมโตเกียวต้องไปแถวหน้าประตูโรงเรียน จะมีพ่อค้าแม่ขายเข็นรถทำ

ขนมโตเกียวมาขายรอเด็ก ๆ ก่อนกลับบ้าน 

ในข้อสันนิษฐานที่ 2 ขนมโตเกียวน่าจะมาจากขนมเครปญี่ปุ่น น่าจะปรากฎขึ้นในช่วง พ.ศ.2509 - 2510 เมื่อคนไทยเริ่มเดินทางไปทำงานที่ญี่ปุ่น เป็นช่วงเริ่มต้นของยุคเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ขนมเครปเริ่มเข้ามาในญี่ปุ่น เรียกว่าเป็นอาหารริมทางแบบขนมยุคแรก ๆ  (Street food) ขายแถวฮาราจูกุกับชินจูกุ ย่านใจกลางกรุงโตเกียว ต้นกำเนิดของเครปญี่ปุ่นมาจากทางฝรั่งเศส ดัดแปลงจนมาเป็นขนมเครปญี่ปุ่น เมื่อคนไทยที่ไปทำงานเริ่มเห็นว่าขนมเครปญี่ปุ่นได้รับความนิยมและแปลกใหม่ จึงนำเข้ามาที่เมืองไทย โดยดัดแปลงทั้งขนาด รูปลักษณ์ และสอดไส้ให้เหมาะสมกับตลาดเมืองไทย อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฎข้อมูลว่าขนมเครปญี่ปุ่นขายครั้งแรกในเมืองไทยที่ใดและเมื่อไร ในเวลาต่อมากลับพบเห็นว่าขนมเครปไทยที่คล้ายขนมเครปญี่ปุ่น ทั้งรูปทรง ขนาด และมีไส้หลายชนิด แต่ต่างตรงที่แผ่นแป้งจะบางกรอบ ซึ่งไม่เหมือนขนมโตเกียวที่แป้งจะหนานุ่ม

ผมเชื่อในข้อสันนิษฐานแรก ซึ่งดูจะเป็นเรื่องเล่า (Storytelling) ที่ค่อยข้างเป็นไปได้มากกว่าขนมโดรายากิกับขนมโตเกียว มีความคล้ายคลึงกันมากกว่าขนมเครปญี่ปุ่น ถึงแม้ว่ายังข้อสันนิษฐาน แต่ทั้งขนมทั้งสองก็เป็นขนมประเภทอาหารริมทางเหมือนกัน มีถิ่นกำเนิดจากญี่ปุ่นเหมือนกัน และมีช่วงเริ่มต้นไม่ห่างกัน

*ทำไมต้องตั้งชื่อว่าขนมโตเกียว ไม่ตั้งชื่อเป็นขนมญี่ปุ่น 

ตามความหมายในพจนานุกรม “ขนม” หมายถึง อาหารที่ไม่ใช้กับข้าว มักมีรสหวาน ทำจากแป้ง ใส่น้ำตาล

และมีสีสัน ถ้าพิจารณาขนมโตเกียว ซึ่งเป็นขนมที่ทำจากแป้ง ไม่ใช่กับข้าว และสอดไส้หวาน

จึงเป็นที่แน่นอนว่าต้องเรียก

“ขนม” 

ส่วนคำว่า “โตเกียว” เป็นชื่อสถานที่ คือ เมืองหลวงของญี่ปุ่น ในยุคนั้นการเดินทางไปญี่ปุ่นทางเครื่องบินจะลงที่โตเกียว ทุกคนในยุคนั้นรู้จักเพียงโตเกียว ชื่อเมืองอื่น ๆ ยังไม่เป็นที่รู้จัก แม้ว่าห้างไดมารู (Daimaru)

ที่มาเปิดสาขาที่กรุงเทพฯ จากเป็นห้างมาจากเมืองเกียวโต ซึ่งอยู่ในแถบบคันไซ เป็นคนละที่กับโตเกียวก็ตาม

ก็คงยังไม่มีใครรู้จักเท่ากับโตเกียวก็อาจเป็นได้

ในทางภาษาศาสตร์โดยเฉพาะลักษณะการเรียกชื่อเฉพาะของภาษาไทย มีคำต้นบอกประเภทของสิ่งของ อาหารหรือคน และมีคำท้ายเป็นสิ่งบ่งถึงต้นกำเนิด สถานที่และที่มา

คำต้น คือ ขนม ส่วนคำท้าย คือ โตเกียว เท่ากับว่า ขนม + โตเกียว = ขนมโตเกียว หมายถึง อาหารประเภทขนมทำจากแป้ง สอดไส้หวาน และมีถิ่นกำเนิดจากเมืองโตเกียว 

ทำไมถึงไม่ตั้งชื่อว่า “ขนมญี่ปุ่น” เพราะว่า ถ้าใช้คำว่า “ญี่ปุ่น” คงให้ความหมาย 2 ลักษณะ คือ

ลักษณะแรกต้องเป็นขนมญี่ปุ่นแท้ ๆ ที่เรียกว่า “วากาชิ” (Wakashi) กับลักษณะที่ 2 ถ้าใช้ “ญี่ปุ่น” เป็นคำเรียกแทนขนมที่กินความหมายกว้างเกินไป ซึ่งถ้าเรียกอย่างนั้นจะหมายถึงขนมทุกแบบ ขนมทุกประเภท จะกลายเป็นขนมญี่ปุ่นไปหมด

นอกจากนี้จะชวนผู้อ่านคิดเรื่องเชิงนวัตกรรม ที่พ่อค้าแม่ขายคนไทยดัดแปลงขนมต้นแบบกลายเป็นขนมโตเกียว

ผมขอใช้คำว่า การลากเข้าเป็นของแบบไทย (Thailandization)  หมายความว่า เรานำสิ่งของที่ได้รับความนิยมม

ในวัฒนธรรมหรือสังคมหนึ่ง ลากหรือปรับเปลี่ยนเข้าเป็นสิ่งของที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมหรือสังคมไทย

อาจปรับเปลี่ยนชื่อเดิมให้เป็นชื่อแบบไทยอีกก็ได้ นั่นหมายความว่าพ่อค้าแม่ขายคนไทยยุคนั้นมีหัวของการเป็น

นักนวัตกร ดัดแปลงและเพิ่มมูลค่า จนปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักขนมโตเกียว

เพียงแค่เรื่องหาที่มีของขนมโตเกียว สามารถมองได้หลายมุมหลายทัศนะ ถ้าเป็นนักภาษาศาสตร์ จะมองเชิงสังคม (Sociolinguistics)  นักการตลาดจะมองการเล่าเรื่อง (Storytelling) หรือเชฟทำขนม (พาติเช่) จะมองเรื่องรสชาติ สีสัน ส่วนผสมและกรรมวิธี ดังนั้น การหาที่ไปที่มาของขนมโตเกียวก็เช่นเดียวกัน แต่ละท่านคงมีมุมมองส่วนตัว 

ผมมัวแต่คิดเรื่องขนมโตเกียวเสียเพลิน จนนั่งเลยสถานีรถไฟฟ้าที่ต้องลง คงต้องนั่งย้อนกลับไป 

ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผม หากท่านผู้อ่านมีความเห็นอย่างไร หรือมีข้อสันนิษฐานที่ฟังดูแล้วน่าสนใจ เขียนมาแลกเปลี่ยนกันได้ 


อ่านเพิ่มเติม

*Longan Team. Khanom Tokyo. เข้าถึงได้จาก htttps://www.facebook.com/Longan.Team.CM/photos/a.1656429677902411/2832340703644630/?type=3

*Gurunavi. Japanese Crepes: Sweet and Savory Snacks to Eat On the Go. เข้าถึงได้จาก https://gurunavi.com/en/japanfoodie/2018/05/japanese-crepes.html 

*Pornchai Sereemongkonpol.  Discover the hidden stories behind your favourite Thai dishes. เขาถึงได้จาก https://www.bangkokpost.com/life/social-and-lifestyle/961797/tasty-trivia


อ่านต่อได้ที่นี่ >>> ขนมโตเกียวมาจากไหน
 

อาหารวันตรุษจีน 2566



Thursday, January 26, 2023

Thailand Research Expo & Symposium 2023 : ขอเรียนเชิญนักวิจัย นักวิชาการ บัณฑิตศึกษา นิสิต-นักศึกษา ส่งบทความผลงานวิจัยเข้าร่วมกิจกรรม

 

ได้รับอีเมลจาก วช. จึงได้ส่งมาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน เป็นงานวิจัยระดับชาติประจำปี นักวิจัยมามายมายทั่วประเทศ รายละเอียด ดังนี้ (คัดมาจากอีเมลที่ วช. ส่งมา) 

Thailand Research Expo & Symposium 2023

ในภาคบรรยาย (Oral Presentation) และภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)

 

http://www.researchexpo.nrct.go.th/main.php?filename=index_symposuim

 

Thailand Research Expo & Symposium 2023

ภาคบรรยาย (Oral Presentation) และภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)

 

ใน 6 กลุ่มเรื่อง ประกอบด้วย

1. การวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข

2. การวิจัยด้านสังคมและความมั่นคง

3. การวิจัยด้านการศึกษา

4. การวิจัยศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

5. การวิจัยด้านการเกษตร พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร

6. การวิจัยด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจเริ่มต้น

 

ผู้ผ่านการพิจารณาฯ จะได้เข้าร่วมการนำเสนอผลงานบทความวิจัย

ในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)"

จัดในระหว่างวันที่ 711 สิงหาคม 2566

ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

 

สามารถนำส่งบทความผลงานวิจัยฯ เข้ารับการพิจารณาได้ตั้งแต่บัดนี้ – 15 มีนาคม 2566

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.researchexpo.nrct.go.th/main.php?filename=index_symposuim

โทรศัพท์ 02-561-2445 ต่อ 517,515

Email: symposium@nrct.go.th

Tuesday, January 24, 2023

รับสมัครแรงงานไทยไปทำงานญี่ปุ่น ความร่วมมือระหว่างแรงงานไทยกับแรงงานญี่ปุ่น : กระทรวงแรงงานรับสมัคร! ชายไทยฝึกงานญี่ปุ่น อยู่ครบเทอมรับกว่า 1.5 แสนบาท

 โครงการนี้ไม่ใช้โครงการใหม่แต่อย่างใด มีการเปิดรับสมัครทุกปี ผมเคยเห็นแรงงานไทยหลาย ๆ ท่านทำงานที่นั่น เคยได้มีโอกาสเป็นล่ามช่วยเก็บข้อมูลงานวิจัย แต่ละคนท่านเป็นคนขยันมาก ได้เรียนรู้ระบบการทำงานช่าง อุปนิสัยคนญี่ปุ่น วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นระดับช่างฝีมือ นอกจากนั้นยังต้องเรียนภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย เป็นอันว่าต้องขยัน อดทน และไม่ย่อท้อต่อการทำงานและการเรียน ถามว่าคุ้มค่าหรือไม่ ในมุมของแต่ละจังหวะชีวิตของแต่ละคนต่างกัน ผมคิดว่าผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้ ต่างกลับมาด้วยรอยยิ้มและมีทุนการดำเนินชีวิตการงานเมื่อมาถึงประเทศไทย ท่านใดสนใจลองดู รายละเอียดการสมัครโครงการระหว่างรัฐบาลไทยและญี่ปุ่น ด้านแรงงานระหว่างประเทศนี้ ดังภาพนะครับ







ศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บของกระทรวงแรงงาน 

https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/overseas_th/ec18bfb49889a7bb1aac928c2ec7e865.pdf


Sunday, January 22, 2023

ประชาสัมพันธ์ หลักสูตรพุทธกสิกรรมโคกหนองนาเพื่อการพัฒนาสันติภาพชุมชนอย่างยั่งยืน รุ่น 1

 ผมได้รับข้อมูลจาก Facebook ของพระอาจารย์อดิศักดิ์ เคยเรียนปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา รุ่นที่ 2 ณ มหาจุฬา ด้วยกัน ตอนนี้กำลังเปิดรับสมัคร หลักสูตรพุทธกสิกรรมโคกหนองนาเพื่อการพัฒนาสันติภาพชุมชนอย่างยั่งยืน 

ปัจจุบัน บางท่านโดยเฉพาะคนในต่างจังหวัดหลีกหนีการกสิกรรม ในทางกลับกันคนในเมือง โดยเฉพาะคนมีความพร้อมกำลังให้ความสนใจและลงมือทำจริงจัง 

ผมนำข้อความเปิดรับสมัครที่ท่านโพสไว้ มาประชาสัมพันธ์ต่อ บอกบุญกันต่อ ดังข้อความข้างล่าง หรือจะเข้าไปใน Facebook ของท่านดังลิ้งก์ด้านล่างเช่นกัน

ขออนุโมทนาล่วงหน้าแด่ทุกท่าน

 -----

#รับสมัครรุ่น ๑ ฟรี จำกัด ๕๐ ท่านเท่านั้น
.
หลักสูตรพุทธกสิกรรมโคกหนองนาเพื่อการพัฒนาสันติภาพชุมชนอย่างยั่งยืน รุ่น ๑
.
.
หลักสูตรนี้ เกิดจากงานวิจัยภายใต้แนวคิด “สันติภาพลงดิน สันติภาพกินได้” เป็นการยกระดับโคกหนองนาสู่การพัฒนาสันติภาพชุมชนอย่างยั่งยืน
.
นับเป็นความโชคดีของชาวโคกหนองนาที่จะได้รับการศึกษาและปฏิบัติร่วมกับคนทำจริง เพื่อยกระดับการพัฒนาพื้นที่ตนเองอย่างเป็นระบบภายใต้การฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ ที่สำคัญเป็นหลักสูตรที่เกิดจากการศึกษาวิจัยของคณาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา นำโดย พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์, ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาซึ่งท่านพร้อมแล้วที่จะส่งมอบหลักสูตรที่ดีที่สุดตอบโจทย์ความสุขได้ตลอดทั้งชีวิต โดยไม่ต้องแสวงหาความสุขที่อื่นไกลอีกต่อไป เพราะหลักสูตรนี้จะนำท่านเจริญสุขได้บนพื้นที่ของตนเอง
.
รุ่น ๑ รับจำกัด ๕๐ ท่านเท่านั้น คัดเลือกพิเศษสำหรับท่านพร้อมทำจริงเท่านั้น
.
พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์, ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา กล่าวว่า หลักสูตรสันติศึกษา มจร
ส่งมอบสันตินวัตกรรมสู่ชุมชน
พิสูจน์สันติภาพลงดิน สันติภาพกินได้
.
สันติภาพตามกรอบของหลักสูตรสันติศึกษา มจร ประกอบด้วย ๔ ภาพ คือ สันติภาพเชิงกายภาพ สันติภาพเชิงพฤติภาพในชุมชนและสังคม สันติภาพเชิงจิตภาพ และสันติภาพเชิงปัญญาภาพ
.
ในทุกๆ ภาพ หลักสูตรได้กำหนดรายวิชาให้นิสิตนำสันติธรรมไปทำ หนึ่งในสันตินวัตกรรมที่หลักสูตรพานิสิตลงพื้นที่ไปทำในรายวิชาภาวะผู้กับทักษะการเสริมสร้างชุมชนและสังคมสันติสุข คือ พุทธกสิกรรมโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล
.
๑๐ มีนาคม ๒๕๖๖ จะครบรอบ ๒ ปี ของการพัฒนาโครงการฯ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการส่งมอบคุณค่าของพื้นที่ที่ผ่านการพัฒนาไปสู่การจัดหลักสูตรพุทธกสิกรรมโคกหนองนาเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้พื้นที่พุทธกสิกรรมโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ
.
๑๑ - ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๖ หลักสูตรฯ ได้จัดเตรียมงบประมาณราว ๓๕๐,๐๐๐ บาท สำหรับการพัฒนาและฝึกอบรม รวมถึงการเตรียมการเพื่อต้อนรับผู้ที่สนใจ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ผ่านการคัดเลือก ทั้งนี้ มั่นใจว่าผู้เข้ารับการพัฒนาจักได้รูปแบบโคกหนองนาของตนเอง เครือข่ายพันธุ์พืช พันธุ์ปลา เมล็ดพันธ์ และรับการปรึกษาตลอดโครงการฯ
.
ดังนั้น ท่านที่สนใจสมัครรีบตัดสินใจด่วนที่สุด สมัครแล้วรอประกาศรายชื่อผู้สมัคร และผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรมรุ่น ๑ ต่อไป
สมัครที่นี่
 
ข้อมูลจาก #Facebook ของ ท่านพระอาจารย์อดิศักดิ์   

 

Thursday, January 19, 2023

หนังสือหลักภาษาไทย-ญี่ปุ่น เขียนด้วย ศาสตรจารย์โทมิต้า ฉบับปี 2500

 ถ่ายมาจากหนังสือหลักภาษา #ไทยญี่ปุ่น เล่มเก่าแก่ในยุคการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นสมัยแรก ๆ ที่มีประวัติบันทึกชัดเจน เขียนด้วย ศ.โทมีต้า พิมพ์เมื่อปี 2500 มีคนอยากขอซื้อต่อหนังสือเล่มนี้ในราคาสูง ดีใจแต่ขอเก็บไว้ ก่อน





โดย ดร.ณัฐพล จารัตน์ Twitter @nattjarath