(ภาพนี้ถ่ายโดย ณัฐพล จารัตน์ ด้วย Samsung S22 Ultra เมื่อ 4 ก.พ. 67 ณ กรุงเบอร์ลิน)
03.02.2567 เดินไปชมภาพกราฟฟิตี้ที่ดังมากในเบอร์ลินภาพหนึ่ง เป็นภาพเพื่อรำลึกถึง "คาร์โล จูเลียนี" (Carlo Giuliani) วาดไว้ตรงฝนังกำแพงด้านนอกของอาคาร NY Deutsch Schule ใกล้กับ Marielle-Franco-Platz เขตคร็อยทซ์แบร์ค (Kreuzberg) ของกรุงเบอร์ลิน เขตนี้ถือเป็นต้นกำเนิดของกราฟฟิตี้ที่ใช้ต่อต้านรัฐในยุค 1980 แถวเป็นสวรรค์ของคนรักกราฟฟิตี้ทั่วโลกจะมาชมกัน สายศิลปินแนวต้านรัฐบอกว่าถ้ามาเบอร์ลินแล้วไม่ได้พ่นกราฟฟิตี้ไม่ได้ถ่ายภาพกับกราฟฟิตี้เหมือนมาไม่ถึงเบอร์ลิน..ว่าซ่านน
"คาร์โล จูเลียนี" (Carlo Giuliani) เป็นผู้ประท้วงต่อต้าน globalisation ชาวอิตาลี ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างการจลาจลต่อต้านโลกาภิวัตน์นอกการประชุมสุดยอด G8 เมื่อ 20 กรกฎาคม 2001 (2544) ที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี การเสียชีวิตของคุณคาร์โล สร้างแรงเคลื่อนไหวและเป็นฉนวนในการต่อต้าน globalisation ของผู้รณรงค์ต่อต้านทั่วโลก
กราฟฟิตี้ “กราฟฟิตี้เป็นวัฒนธรรมนอกกระแสที่เปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของความเป็นขบถ ราวกับว่ามันก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซ่าน เป็นสุข เวลาที่ศิลปินกราฟฟิตี้ได้ท้าทายต่ออำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐที่พยายามกีดกันและกำจัดกราฟฟิตี้ให้หมดไป” (https://shortrecap.co/culture/กราฟฟิตี้-graffiti/)
ดร.ณัฐพล จารัตน์
กรุงเบอร์ลิน
03.02.2567
No comments:
Post a Comment