Search This Blog

Monday, January 5, 2015

#อาเซียน : "สีของเนคไทบ่งความเป็นผู้นำในสากลของอาเซียน"

 

 

ที่มาของภาพ Burma and the politics of ASEAN slogans,

https://www.dvb.no/analysis/burma-and-the-politics-of-asean-slogans/31953

 สิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อย่างเป็นทางการ ภายใต้คำขวัญร่วมกันที่ว่า "One Vision, One Identity, One Community"  (หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม) อันทำให้ความเป็นพรมแดนของชาติกว้างขึ้นเป็นพรมแดนแห่งภูมิภาคเข้ามาแทนที่ ความมีอัตลักษณ์ประจำชาติที่หลากหลายและเกิดจากการผสมผสานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เกิดวัฒนธรรมร่วมกันจนไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าใครเป็นเจ้าของวัฒนธรรมนั้น ๆ ในอาเซียนได้ เช่น การไหว้ ไม่ใช่เป็นเพียงวัฒนธรรมไทยเท่านั้น ยังมีในวัฒนธรรมลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ด้วยเช่นกัน เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนความเป็นตัวตนของแต่ละชาติต้องคงอยู่อย่างแน่นอน แต่ชาวอาเซียนก็ถูกจับจ้องกับความเป็นสากลในโลกเหมือนกัน การเต่งกายด้วยสูทหรือชุดสากลของผู้นำสามารถจะบอกเชิงสัญลักษณ์ให้เห็นความเป็นรู้ที่เป็นสากลของอาเซียนได้เช่นกัน แม้ว่าวัฒนธรรมของอาเซียนไม่ใช่วัฒนธรรมการสวมใส่สูทและผูกเนคไท แต่ชาวอาเซียนไม่สามารถปฏิเสธความเป็นสากลของเรื่องนี้ได้เช่นกัน วันนี้ผู้เขียนจึงขอแนะนำและชวนให้ผู้อ่านได้เห็นว่า สีของเนคไทนั้น สามารถบอกอะไรเชิงสัญลักษณ์ในการแต่งกายสากลของผู้นำอาเซียน ซึ่งต่อไปชาวอาเซียนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เองคงต้องตระหนักกันมากยิ่งขึ้น สีของเนคไทแต่ละสีบ่งบอกความหมายอย่างไรในเวทีโลกและความเป็นสากลเมื่อผูกเนคไท มีอยู่ด้วยกัน ๔ สี ดังนี้

เนคไทสีแดง (red tie) หมายถึง พละกำลังและความเป็นมหาอำนาจที่เหนือกว่าผู้อื่น  ในเวทีระดับโลกทางด้านการเมือง หากสังเกตให้ดีพบว่า ผู้นำประเทศที่คิดตนเองเป็นประเทศที่เป็นมหาอำนาจหรือโดดเด่นกว่าใครในโลก มักจะผูกเนคไทสีแดงเข้มในการประชุมระดับโลก บางครั้งจะพบว่า ผู้นำแต่ละชาติผูกเนคไทสีแดงกันหลายท่าน เช่นการประชุมอาเซียนที่มีจีนและญี่ปุ่นเข้าร่วมด้วย ผู้นำจีนและญี่ปุ่นมักผูกเนคไทสีแดง ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีอิทธิพลในอาเซียนนั่นเอง บางท่านจะผูกเนคไทสีแดงอ่อนหรือโทนสว่าง ก็มีความหมายว่า เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่ม จะเข้ากับฝ่ายใดก็ได้ หากเป็นโทนที่ออกเหมือนสีชมพูจะหมายถึง พร้อมที่จะประสานกับทุกฝ่ายหรือจะเข้ากับทั้งสองฝ่ายไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายไดได้เพียงฝ่ายเดียว

 

ที่มาของภาพ Obama, Hu to talk economy, North Korea, http://edition.cnn.com/2009/POLITICS/11/16/obama.china/index.html?_s

 

เนคไทสีม่วง (purple tie) หมายถึง ความจงรักภัคดี ความซื่อสัตย์และความมั่งคง ในการประชุมทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การประชุมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Forum) ผู้นำของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมประชุมมักจะผูกเนคไทสีม่วง เพื่อแสดงว่าให้เห็นว่า การมาประชุมนี้มาด้วยความจริงใจและพร้อมจะก้าวสู่ความมั่งคั่งไปพร้อมกัน โทนของสีม่วงบอกถึงระดับความจริงใจ สีเข้มหมายถึงความหนักแน่นและตัดสินใจในบางอย่างมาแล้วและจะไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนสีอ่อนบอกถึงความพร้อมในการเจรจาและรับฟังในการตัดสินใจของที่ประชุม ส่วนสีที่โทนสว่างบอกเป็นนัยยะเป็นประเทศที่กำลังเฉิดฉายน่าลงทุนหรือเศรษฐกิจดี นอกจากนั้น เนคไทสีม่วงยังแสดงถึงความรู้สึกที่มั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองมีแผงความลึกลับซับซ้อนไว้ของผู้นำด้วย

เนคไทสีดำ (black tie) หมายถึง ความเป็นทางการอย่างยิ่ง จนทำให้การสวมใส่เนทไทสีดำถูกมองว่าเป็นคนที่หยิ่งและไม่สนใจผู้อื่น ในระดับผู้นำหากเป็นการเจรจาเรื่องที่น่าวิตก เช่น ปัญหาข้อพิพาทดินแดนระหว่างประเทศ การสงคราม ผู้นำบางฝ่ายที่มีความแข็งกร้าวจะผูกเนคไทสีดำเข้ม และโดยมากจะต้องแต่งสูทดำด้วย เนคไทดำยังแสดงถึงความมีอาวุโส เด็ดขาด เป็นผู้รอบรู้และชอบความเป็นทางการ หากต้องการแสดงความเป็นทางการแต่ไม่อยากแสดงความหยิ่ง ผู้นำจะเลือกผูกไทสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและสวมสูทสีน้ำตาลหรือเทาแทน ทำให้ดูโมเดิลทันสมัย แสดงความเป็นผู้ดีมีรสนิยมและให้ความรู้สึกไม่กระด้างกระเดื่อง แต่ผู้นำอาเซียนจะใส่สีเทาหรือน้ำตาลไม่บ่อยนัก

เนคไทสีฟ้า (blue tie) หมายถึง ความเป็นกลาง ไม่สามารถที่จะคาดเดาได้ว่าผู้นำจะตัดสินใจ จะทำอะไร เพราะสีฟ้าเป็นสีของท้องทะเล ท้องฟ้าที่มีความกว้างใหญ่ มองไม่เห็นจุดสิ้นสุดได้ด้วยตาเปล่า หาไม่ทราบว่าในสถานการณ์ใดควรผูกเนคไทสีอะไร สีฟ้าหรือโทนสีฟ้า ไม่ว่าจะสีอ่อนหรือสีเข้มน่าจะเป็นตัวเลือกที่เป็นกลางที่สุดในเวทีอาเซียนและสากล แต่ไม่แนะนำให้ใส่สีฟ้าทุกงาน เพราะจะทำให้ถูกมองว่าไม่จริงใจ ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง และไม่มีอำนาจในบทบาทที่กำลังเป็นอยู่ ส่วนการไม่ผูกเนคไทในการประชุมระดับผู้นำนั้น แสดงว่าเป็นการพบปะหารือกันอย่างไรเป็นทางการ ซึ่งแสดงถึงความเป็นมิตรที่ใกล้ชิดกันมาก หรือแสดงถึงความเป็นพรรคพวกเดียวกัน เมื่อเข้าประชุมผู้นำก็ย่อมจะเข้าข้างกันเสมอ

นอกจากนี้ยังมี เนคไทสีเหลือง (yellow tie) และเนคไทสีเขียว (green tie) ก็สามารถใส่ได้เช่นกัน แต่มักจะไม่ค่อยเห็นมากนักในระดับผู้นำ สีเหลืองแสดงถึงความเป็นจริยธรรม ผูกยึดโยงไปทางศาสนา ส่วนสีเขียวแสดงถึงความโดดเดี่ยว

เมื่ออาเซียนรวมตัวกันขึ้น ความเป็นสากลที่ตามมาย่อมทำให้อาเซียนต้องเรียนรู้และให้เกียรติในสัญลักษณ์สากลของโลก สีเนคไทคงเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกได้ถึงความรู้เรื่องความเป็นสากลในเวทีระดับโลกที่อาเซียนต้องการสื่อให้ทั่วโลกเห็น มีผู้กล่าวว่าอาเซียนต้องเป็น Be Local Go Global การที่จะเป็น Be Local นั่นอาจหมายถึง ถ้าภายในประเทศ เช่น การผูกเนคไทสีต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งมาความเชื่อโยงกับเรื่อง

ฉโหลกสี การเลือกใส่สีตามวันเกิดหรือตามฤกษ์ ซึ่งสามารถทำได้ตามความคิดความเชื่อของเราในระดับ Local แต่ในขณะเดียวกัน หากต้องทำหน้าที่นำหรือตัวแทนของประเทศหรือต้องการแสดงความเป็นสากล ผู้สวมใส่ต้องเลือกสิ่งที่เป็นสากล เพราะคนที่มองอยู่นั้น ไม่ใช้ในระดับ Local  แต่คือ Global ที่จ้องมอง ASEAN ในความสาตาที่เป็นสากล  สำหรับสูทและเสื้อเชิ้ตที่ใช้กับเนคไทที่ต่าง ๆ นั้น ควรเป็นสูทสีดำและเสื้อเชิ้ตสีขาวก็เพียงพอ

 

ณัฐพล จารัตน์ 

เรียบเรียง


อ้างอิงข้อมูล

BBC. What the  colour of ties says about you. Retrieved from

[http://www.bbc.com/capital/story/20140827-the-psychology-of-tie-colours]

Jess Cartner-Morley. Purple tie – politicians of all stripes share sartorial middle ground.

Retrieved from [http://www.theguardian.com/politics/2012/oct/02/purple-tie-ed-

miliband-labour-speech]

Robert Roy Britt. Red vs. Blue: Why Necktie Colors Matter. Retrieved from   

[http://www.livescience.com/3281-red-blue-necktie-colors-matter.html]

The Journal. Things got pretty awkward for Barack Obama and Vladimir Putin in China today.

Retrieved from [http://www.thejournal.ie/barack-obama-vladimi-putin-1775294-

Nov2014/]

Friday, November 1, 2013

Cross cultural management by Dr. Tiwa Park & Natthaphon Jarat & Mayamoto Sozo at Thai-Nichi Institute of Technology (TNI)

BUS-363 Cross Cultural Management for International Business students, Faculty of Business Administration Thai-Nichi Institute of Technology (TNI) 


1 November 2013
Learning outcomes: 
The concept of culture and the role of norms, and values in determining culture. The relationship between culture, organization, and management The concept of culture at various levels; both national and organizational.

Objectives:
Understanding the link between culture and management Determining the effect of culture on the management of business Exploring ways in which cross-cultural effectiveness can be developed. 

 Contact: Natthaphon Jarat email: natthaphon@tni.ac.th

27 November 2013
This document provides an overview of Japanese culture from various perspectives:

1. It outlines the administrative map, population statistics, major religions, and education system of Japan. Shinto and Buddhist beliefs have deeply influenced Japanese spirituality. 

2. Japanese communication styles are characterized by group orientation, hierarchy, situational behavior, and high context. Indirect or ambiguous speech can cause misunderstandings with foreigners. 

3. Linguistic differences also contribute to communication gaps, such as unique meanings of words in Japanese English, loan words from other languages, and direct translations. Nonverbal cues like laughter and silence have different implications than in Western cultures. 



Myanmar Culture: BUS-363 Cross Culture Management 
Faculty of Business Administration Thai-Nichi Institute of Technology 
by Guest speaker Ms.Hseng

Monday, July 1, 2013

JPN407・408の学習で身みにつけてほしいこと

 

JPN407・408の学習で()につけてほしいこと

 

1. ナチュラルスピードに近い日本語の概要(がいよう)聞き取れるようになる。 →→ 授業(じゅぎょう)・会話マラソン。復習(ふくしゅう)

2. 自分が伝えたいことを日本語だけで表現(ひょうげん)できる(話せる/書ける)ようになる。 →→ 授業・会話マラソン

3. 日本の会社で働くときに必要(ひつよう)専門用語(せんもんようご)が読める(意味がわかる)ようになる。 →→ 予習(よしゅう)・授業・復習

     特に、漢字の練習を毎日して、一つでも多く覚える努力(どりょく)必要(ひつよう) →→ 漢字マラソン・復習

4. 毎時間の授業はもちろんのこと、日本のCM等の学習を(とお)して、自分の意見を自主的(じしゅてき)に伝えたり、他の人の意見に耳を(かたむ)けたりして、積極的(せっきょくてき)議論(ぎろん)参加(さんか)できるようにする。

5. 日本の文化(ぶんか)習慣(しゅうかん)/日本の企業文化/日本人の一般的(いっぱんてき)な考え方を理解(りかい)する。→→ 授業・読書(どくしょ)

6. ビジネスパースン(Business Person)としての資質(ししつ)人格(じんかく)知識(ちしき)誠意(せいい)(こう)動力(どうりょく)礼儀(れいぎ)作法(さほう)など)を身につける。

7.ビジネスティームの一員として、協調性(きょうちょうせい)指導力(しどうりょく)発揮(はっき)して、企画力(きかくりょく)実践力(じっせんりょく)を身につける。

  (1)4,5人のティームを作り課題(かだい)やレポート(など)(かん)する共同(きょうどう)作業(さぎょう)をする。

  (2)各ティームは会社名と部署(ぶしょ)名、それぞれの役職(やくしょく)()める。

 

社  名

 

 

 

 

 

部署名

 

 

 

 

 

 

業務(ぎょうむ)内容(ないよう)

 

 

 

 

 

 

 

 

(やく)  (しょく)

 

課  長

 

係  長

 

課  員

 

課  員

 

課  員

 

 

Ⅰ 「一流のビジネスパースンを目指して」の読解テスト

この指導は第1課から始まる「場面別会話」の学習の前に、「日本企業で活躍するために必要な語彙力・会話力を身につけるために何をしなければならないか」ということを理解させるための指導である。

 

 (1)内容の理解度を問う。(正誤問題)

 (2)語彙力を問う。(例:企業会計、経理、決算、四半期、学業成績、勤務成績、会議、指導・助言、改善、予習・復習、評価等などの読みかたと意味を書かせたり、会計・評価などの重要語を漢字で書かせる)

 (3)「ベストを尽くす」、「~しなければ、成功はありえない」などが使えるかどうかを問う。

 

Ⅱ 場面別会話「入社を希望する会社の面接」

  泰日工業大学から参りました○○○○と申します。経営学部ビジネス日本語学科で経営学と日本語を専攻しております。どうぞよろしくお願いいたします。」、「わが校は泰日経済技術振興協会が母体の大学で・・・」

   などの表現や大学の教育の特徴などを説明する内容。

(1)面接官との対話の中で、空欄に必要な言葉を入れることができるかどうかを問う。

(2)経済(界)、交流と発展に貢献できる、人材の育成などの語彙の発音・意味・漢字などを問う。

(3)「~の特徴(とくちょう)は何ですか」を使って文を作らせる。