Search This Blog

Sunday, May 14, 2023

คาด..ญี่ปุ่นขนาดเศรษฐกิจอันดับที่ 4 ของโลกในปี 2028


IMF คาดการณ์ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับโลกในปี 2028 ปรากฏข้อมูลคาดการณ์ว่าประเทศที่เขตเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 คือสหรัฐอเมริกา ถัดมาคือประเทศจีน อินเดียญี่ปุ่นและเยอรมนี ตามลำดับ 1-5 อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า อินเดีย ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 3 ส่วนญี่ปุ่นตกลงไปเป็นอันดับที่ 4 นับจากนี้ไปอันดับของญี่ปุ่นน่าจะตกลง ตามลำดับไปเรื่อยๆ ซึ่งการตกลงไปเป็นลำดับนั้นไม่ได้หมายความว่าญี่ปุ่นจะ มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่แย่ลงแต่ เป็นภาวะ การเปลี่ยนผ่านไปยังกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ที่เติบโตขึ้น ตามลำดับ ขอบคุณข้อมูลจาก IMF

World's biggest economies in 2028, projected by IMF:

🇺🇸 United States: $32.3 trillion
🇨🇳 China: $27.4 trillion
🇮🇳 India: $5.5 trillion
🇯🇵 Japan: $5.3 trillion
🇩🇪 Germany: $5 trillion
🇬🇧 United Kingdom: $4.2 trillion
🇫🇷 France: $3.3 trillion
🇧🇷 Brazil: $2.7 trillion
🇨🇦 Canada: $2.6 trillion
🇮🇹 Italy: $2.4 trillion
🇷🇺 Russia: $2.2 trillion
🇰🇷 South Korea: $2.1 trillion
🇮🇩 Indonesia: $2 trillion
🇦🇺 Australia: $2 trillion
🇲🇽 Mexico: $2 trillion
🇪🇸 Spain: $1.7 trillion
🇹🇷 Turkey: $1.3 trillion
🇳🇱 Netherlands: $1.2 trillion
🇸🇦 Saudi Arabia: $1.2 trillion
🇨🇭 Switzerland: $1.1 trillion
🇵🇱 Poland: $1 trillion
🇹🇼 Taiwan: $0.99 trillion
🇳🇬 Nigeria: $0.9 trillion
🇹🇭 Thailand: $0.7 trillion
🇮🇪 Ireland: $0.7 trillion
🇧🇩 Bangladesh: $0.7 trillion
🇻🇳 Vietnam: $0.7 trillion
🇦🇷 Argentina: $0.7 trillion

ความเห็นส่วนตัวต่อข้อมูลนี้ เมื่อมองประเด็นการขึ้นเป็นเบอร์ต้น ๆ ของโลก มีผลให้การเรียนภาษาของประเทศนั้น ๆ เป็นที่สนใจ เช่น ญี่ปุ่นช่วงที่เศรษฐกิจขับเคลื่อนโลก มีจำนวนผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นทั่วโลกเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก เปิดหลักสูตรภาษาญี่ปุ่น ญี่ปุ่นศึกษา (Japanese studies) นั่นหมายความว่า การเรียนเรื่องราวของประเทศญี่ปุ่นเป็นที่น่าสนใจจริง ๆ ถึงได้เปิดสอนเป็นวิชาเฉพาะ 

สำหรับคนที่เรียนภาษาต่างประเทศในเมืองไทย ภาษาญี่ปุ่นยังได้รับความนิยมและมีงานรองรับมากกว่าภาษาจีน เกาหลี อย่างไรก็ตามทั้งสองภาษาได้รับความนิยมจาก soft power สิ่งที่น่าสนใจ คือ ญี่ปุ่นจะยังคงมัดใจและยังอยู่เป็นภาษาแนวหน้าในกลุ่มภาษาต่างประเทศที่ได้รับความนิยมในเมืองไทยได้อีกนานเท่าไร 

ณัฐพล จารัตน์
กรุงเทพมหานคร
14.05.2566

ข้อมูล

Monday, May 8, 2023

มุมของเอกสาราชการ เมื่อ กกต. เขียนจังหวัด "พระเยา" ที่ถูกต้อง คือ "พะเยา"


ตอนเช้าดูข่าวของคุณสรยุทธ เรื่องเล่าเช้านี้ เต็มไปด้วยข่าวสารเหตุการณ์เกี่ยวกับปัญหาการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้าของเมื่อวานนี้ (7 พฟษภาคม 2566) มีข่าวการเขียนชื่อจังหวัดผิดจากปกติของราชการ ทั้งที่หน่วยงานที่จัดทำเอกสารเป็นหน่วยงานราชการ ดูจากข่าวของสื่อเช่น เพจกรรมการข่าวของคุณสรยุทธ เช่น ดังเพจที่ปรากฎนี้
คำถามที่ต้องตระหนักทันที คือ "จังหวัดพระเยา" ความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่า ไม่มีในประเทศไทยแน่นอน ไม่เคยพอในเอกสารราชการหรือมีการเอ่ยถึงว่าเป็นชื่อของสถานทีใดในประวัติศาสตร์

ปัจจุบันชื่อที่่าจะถูกต้อง คือ "จังหวัดพะเยา" เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรมที่น่าสนใจแห่งหนึ่งในภาคเหนือของไทย   

เหตุใดถึงเปลี่ยนเป็น "จังหวัดพระเยา" ในเอกสารของ กกต. อาจเกิดจากการทำงานที่เร่งรีบ และแข่งกับเวลา ไม่ได้ตรวจสอบตัวสะกดที่สามารถอ้างอิงด้วยเอกสารทางราชการ เพียงแต่คิดว่าถูกต้องตามความเคยชิน คือ คำว่า "พระ" ที่แปลว่าพระสงฆ์สะกดถูกต้อง 

สิ่งที่ไม่น่าสนใจอีกประการ คือ ถ้า กตต. หรือาชการนั้นอยู่ในพื้นที่ (สมมติว่าเป็นพื้นที่จังหวัดพะเยา) คนในพื้นที่จะสะกดชื่อจังหวัดเป็น "พระเยา" ได้ขนาดนั้นเชียวหรือ

ที่มาของภาพ : https://www.ect.go.th/phayao/main.php?filename=index

สำรวจคร่าวในเว็บไซต์ของ กกต. จังหวัดพะเยา ไม่ปรากฎว่าจะสะกดเป็น "จังหวัดพระเยา" 
แม้ชื่อจะไม่ใช่สาระสำคัญตามที่เป็นข่าว แต่มีผลต่อความมั่นใจของประชาชนทั่วไปในการทำเอกสารราชการที่ไม่น่าจะผิดพลาดชัดเจน โดสยามารถแก้ไขได้ คำถามคือ ทำไมไม่ทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก 

ตัวอย่างข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ในมุมของภาวะผู้นำของหัวหน้าหน่วยงาน เราจะมองเรื่องของคววามรับผิดชอบ (responsibility) มันเรื่องนี้ตรง ๆ ที่ปฏิเสธไม่ได้เลย 

ส่วนตัวเชื่อว่าท่านคงไม่ได้ตั้งใจจะสะกดผิด แต่เจ้าหน้าที่น่าจะไม่ได้ตรวจสอบก่อน และหัวหน้าหน่วยก็ไม่ได้ตรวจสอบขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตามก็เกิดคำามอีกว่า นี่เป็นการทำงานโดยคณะกรรมการ น่าจะมีหลายบุคคลช่วยกันนตรวจสอบ เพื่อช่วยกันดูก่อนจะเผยแพร่หรือไม่ 

คำถามต่อมา เอกสาราชการแบบนี้ควรพิมพ์ผิดหรือไม่ แม้จะไม่ได้กระทบกับการเลือกตั้งอย่างรุนแรง 
ผมตอบส่วนตัวว่า มันไม่ควรผิดตั้งแต่แรก ไม่สามารถเข้าใจได้เลยว่าทำไม ตัวอักษรใหญ่ เห็นชัดเจน ไม่มีคำแวดล้อมอื่น ๆ ทำให้ตาลาย ทำไมถึงสะกดผิด 

พูดไปมันเหมือนพายเรือวนในอ่าง 

สรุปด้วยความเห็นส่วนตัว คือ ไม่ได้ตรวจเช็คก่อนนำไปติดเผยแพร่

การจะร้องเรียน ต้องทำเป็นหนังสือเข้าไปถึงหน่วยงายนะครับ จะใช้เพียงสิ่งที่ปรากฎในสื่อ ยังไม่สามารถนำไปสู่ระบบกรตรวจสอบตามขั้นตอนของราชการที่ต้องทำเป็นหนังสือ ระบุเหตุ ระบุผู้แจ้งเรื่อง ระบุสิ่งที่ต้องการให้ทำ 

หวังว่าการเลือกตั้งแต่สะท้อนความต้องการของประชาชนในประเทศอย่างแท้จริง ปราศจากการทุจริตที่หลายฝ่ายกังวล

วันนี้ร้อนมากจริง ๆ อีกวันหนึ่ง ข่าวของคุณสรยุทธบอกว่าจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ซึ่งกำลังรอให้มันตกหนัก ๆ สักหน่อยเถอะ ไม่งั้นจะเข้าไปเดินเซเว่นให้เย็น ๆ ข้างหลังบ้านที่ปั้ม ปตท. สักหน่อย 

ขอบคุณที่แวะมาอ่าน 
ดร.ณัฐพล จารัตน์
twitter @NathJarat



Sunday, April 30, 2023

การคิดคำนวณเงินเดือนของพนักงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

 ข้อหารือกฎหมายแรงงานนี้ ผมนำมาจากข้อหารือที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน หรือภาษาอังกฤษเรียก Department of Labour Protection and Welfare) กระทรวงแรงงานครับ


บริษัทเอกชนแห่งหนึงหารือเกี่ยวกับการคิดคำนวณเงินเดือนของพนักงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานของบริษัทตนเอง ประเด็นข้อหารือ คือ

1. กรณีพนักงานเริ่มทำงานในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมี 28 วัน หรือเดือนมีนาคมซึ่งมี 31 วัน ในการคำนวณจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน บริษัทฯ ใช้จำนวนวันตามปฏิทินทั้งหมดของเดือนนั้น ในการคคำนวณรายได้ต่อวันและคูณจำนวนวันที่ทำงานของเดือนนั้น เช่น

(1) พนักงานเริ่มงานในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ (มีจำนวนวัน 28 วัน) อัตราเงินเดือน เดือนละ 15,000 บาท ค่าจ้างต่อวันเป็น 15,000 หาร 28 เป็นเงินจ านวน 537.71 บาท ฉะนั้น เงินเดือน

ของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นเงิน ๕๓๕.๗๑ คูณ ๒๕ วัน เป็นเงินจ านวน ๑๓,๓๙๒.๘๖ บาท

(๒) หากพนักงานเริ่มงานในวันที่ ๔ มีนาคม ในการค านวณจ่ายเงินเดือน บริษัทฯ 

ใช้ ๑๕,๐๐๐ หาร ๓๑ วัน เป็นเงินจ านวน ๔๘๓.๘๗ บาทต่อวัน เงินเดือนของเดือนมีนาคม คิดเป็นเงิน 

๔๘๓.๑๗ บาท คูณ ๒๘ วัน เป็นเงินจ านวน ๑๓,๕๔๘.๓๖ บาท อยากทราบว่าวิธีคิดเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ 

อย่างไร