Search This Blog

Sunday, January 31, 2021

ปิดตำนานห้างโตคิว : เมื่อสินค้าญี่ปุ่นใหม่ใช่หนึ่งในใจคุณ

เมื่อสินค้าญี่ปุ่นใหม่ใช่หนึ่งในใจคุณ
คนรักญี่ปุ่นต้องสะเทือนใจ ห้างญี่ปุ่น #โตคิว ถึงคิวลาจาก จบฉาก 35 ปีแห่งตำนาน
ห้างดังของญี่ปุ่นค่อย ๆ ทยอยปิดตัวลงหลายแห่งตั้งแต่ก่อน #covid19 ระบาดเสียอีก


ปัจจัยคือ
1. ลูกค้าปรับพฤติกรรมซื้อขายออนไลน์มากขึ้น
2. ลูกค้าสั่งของจากญี่ปุ่นได้ออนไลน์
3. ความนิยมสินค้าญี่ปุ่นเสื่อมความนิยมลง จนลูกค้าไม่รู้สึก wow ต่อ #MakeinJapan หรือ #JapaneseBrand
4. ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายไม่ใช่วัยที่จะเดินห้างญี่ปุ่น เพื่อซื้อของญี่ปุ่น
5. ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีทางเลือกบริโภคสินค้า #KoreanBrand #ChineseBrand
6. บริษัทญี่ปุ่นปรัเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจไปหาธุรกิจและตลาดใหม่ที่สร้างกำไรได้
สิ่งที่ต้องเรียนรู้จากการปิดกิจการสำหรับธุรกิจห้างญี่ปุ่น
 
ขอให้น้ำหนักไปที่ความนิยมญี่ปุ่นในหมู่กลุ่มคนวัยหนุ่มสาวปัจจุบันจืดจาง
เพราะวัยผู้บริโภคสินค้าญี่ปุ่น คือ คนเกิดระหว่างปี พ.ศ. 2520 - 2540
ทุกคนเติบโตด้วยสินค้าญี่ปุ่นรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็น #โตโยตา #ฮอนด้า #นิสสัน #อายิโนะโมะโตะ #ซากุระ รวมไปถึง #การ์ตูนญี่ปุ่น อย่าง #ดรากอนบอล #โดราเอมอน และอื่น ๆ
คนรุ่นนี้เลยวัยบริโภคสินค้าในห้างโตคิวก็น่าจะไม่ผิด ฐานลูกค้าก็หมดไป
จนมาถึงวันนี้ ห้างญี่ปุ่นในไทยเหลือเพียงคือสยามทาคาชิมายะ #iConSiam
ต้องคอยติดตามว่าสินค้าญี่ปุ่นจะปรับตัวได้อย่างไรต่อไปในไทย
ครับ #ท่านประธาน รักญี่ปุ่น
ให้กำลังใจ #bkktokyu ได้ที่นี้ครับ

Monday, December 28, 2020

เปิดหมวก ขอทาน หรือทุนการศึกษา : วัฒนธรรมบนมุมมองของสังคมไทย

ชายสูงวัยเปิดเพลงเสียงแคนอิสาน พร้อมชักหุ่นให้เต้นราวกบกำลังเป่าแคนอย่างมีชีวิตชีวา ดูสมจริงมาก 
ที่พื้นหน้าหุ่นที่กำลังแสดง มีหมวกสีดำหงายอยู่ เป็นสัญลักษณ์ว่า ขอให้ผู้ชมที่พอใจการแสดงช่วยใส่เงินตามแต่ใจชอบให้ด้วย 

ผมยืนดูการแสดงนี้นานหลายนาที สังเกตคนที่มุงดู มีคนพาเด็กถ่ายรูปคู่กับหุ่น บางคนยืนถ่ายรูป หรือไม่ก็อัดคลิป บางคนก็เดินผ่านไปเฉย ๆ บางคนก็เดินผ่านแต่ทิ้งเงินลงในหมวก 

สิ่งที่เรากำลังดูนี่ จะเรียกว่าขอทานก็ไม่ใช่ จะเรียกการแสดงเชิงวัฒนธรรม แล้วได้รับค่าจ้าง 

งานที่ผมแวะไปคือ อยุธยามรดกโลก หรืองานกาชาดประจำปีของอยุธยา 

ภาพที่เห็นนี้ยังคู่กับสังคมไทยอีกนานเเสนนาน 

ประเด็น คือ ผมอยากยกระดับกลุ่มนี้ ให้มี แบรนด์ ทำมาเก็ตติ้ง โดยรัฐน่าจะต้องมีคล้าย ๆ อัยการที่เป็นโจทษ์ให้ผู้เสียหาย 

เราก็ควรมีมาเก็ตติ้งของจังหวัดนั้น ๆ ที่สามารถทำการตลาดให้พื้นที่นั้น ๆ แข่งกัน หรือทำให้การแสดงแบบนี้มีเฉพาะพื้นที่ 

ตอนนี้จดไว้เท่านี้ไว้มาเขียนรายละเอียดอีกที 

Wednesday, December 9, 2020

เมื่อภาษาอังกฤษกลายเป็นเพียงทักษะสามัญ ไม่ใช่ความสามารถพิเศษอีกต่อไปใน ASEAN

เมื่อภาษาอังกฤษกลายเป็นเพียงทักษะสามัญ ไม่ใช่ความสามารถพิเศษอีกต่อไปใน ASEAN


การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN community) อย่างเป็นทางการของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มนับถอยหลังไปเหลืออีกไม่ถึง 1 ปี ความเปลี่ยนแปลงต่าง ในภูมิภาคคงไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลับ หรือจะทำให้เกิดความวุ่นวายจากกฎระเบียบที่เราต้องใช้ร่วมกับกับชาติอาเซียนอื่น ๆ อันที่จริงความเป็นอาเซียน หรือความร่วมมือต่าง ๆ ของอาเซียนได้เริ่มมานานแล้วตั้งแต่มีการเปิดการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เมื่อวันที่ 28 มกราคม 1992  เป็นต้นมาและพัฒนามาเป็นประชาคนอาเซียน สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนอยากเล่าให้ผู้อ่านได้รับทราบ เป็นเรื่องของ “ภาษาอังกฤษ” อันเป็นภาษาราชการอาเซียน ตามที่บัญญัติใน กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ข้อ 34 ว่า “The Working language of ASEAN shall be English” ซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่า “ภาษาอังกฤษ” ย่อมมีบทบาทในทุกมิติในอาเซียน อย่างไรก็ตาม “ภาษาอังกฤษของเราพร้อมแล้วหรือยัง” สำหรับอนาคตในอาเซียน นี่เป็นคำถามที่ชวนให้คิดและพิจารณา



ผมมีความคิดเห็นว่า การศึกษาภาษาอังกฤษหรือการแตกตื่นการเรียนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ณ ขณะนี้ เหมือนการแตกตื่นการเรียนภาษาอังกฤษของคนสิงคโปร์ ราวปี 1967 ซึ่งในยุคนั้นคนสิงคโปร์ที่พูดภาษาอังกฤษได้มีน้อยมาก รุ่นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายสมัยนั้นพูดภาษาจีนและมาเลย์ ส่วนลูกหลานเพิ่งจะเริ่มส่งเรียนภาษาอังกฤษทั้งในโรงเรียนและในโบสถ์ ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลส่งเสริมให้ทุกคนเรียนภาษาอังกฤษด้วยการเปิดหลักสูตรต่าง ๆ เรียนเป็นภาษาอังกฤษ  การที่สิงคโปร์กำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารพื้นฐานของประเทศ มีเหตุผลว่าเพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำเอนเอียงให้ความสำคัญแก่ชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่ง กล่าวคือ หากจะกำหนดภาษาจีนให้ทุกเชื้อชาติเรียนทั้งหมด ย่อมทำให้ชาวมาเลย์ ชาวอินเดีย ชาวทมิฬ ที่เป็นพลเมืองส่วนหนึ่งของประเทศไม่พอใจ หรือแม้จะให้ภาษาจีนบังคับให้ทุกคนเรียน จะดูเป็นการให้ความสำคัญแก่คนจีนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางที่จะลดแรงกระทบทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมของคนสิงคโปร์ได้ และทำให้พลเมืองไม่ต้องเสียเวลาไปเรียนทุกภาษาของทุกเชื้อชาติในสิงคโปร์ แม้จะมีการกล่าวว่า สิงคโปร์เป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน คนจึงพูดภาษาอังกฤษได้ ซึ่งความเป็นจริงแล้วในยุคอาณานิคม ชาวสิงคโปร์ไม่โดนถูกบังคับให้เรียนภาษาอังกฤษ ในทางกลับกันชาวสิงคโปร์เรียนภาษาอังกฤษ เพราะมองเห็นแล้วว่า หากพูดภาษาอังกฤษได้ย่อมหางานทำได้ ค้าขายกับต่างประเทศได้ สามารถศึกษาหาความรู้ได้อย่างกว้างขวาง ยกระดับฐานะทางสังคมได้ และไม่ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างเชื้อชาติ  นับจากปี 1967 ที่เด็กตัวเล็ก ๆ ชาวสิงคโปร์เริ่มเรียนภาษาอังกฤษ จนกระทั้งปัจจุบันนับเป็นเวลาเกือบ 50 ปี เด็กเหล่านั้นกลายเป็นผู้ใหญ่ที่พูดภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี และแน่นอนว่าชาวสิงคโปร์ที่เกิดในยุคหลังย่อมมีทักษะภาษาอังกฤษดีมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน หรืออาจเทียบได้กับประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (mother tongue)

          สำหรับประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ อย่างเช่นประเทศไทย ปัจจุบันทุกคนกำลังเร่งเรียนภาษาอังกฤษกันอย่างจ้าละหวั่น ในอดีตคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ ดูเหมือนจะได้รับการยกย่องจากสังคม การพูดภาษาอังกฤษดูเหมือนจะกระจุกเพียงในเมืองหลวงและเมืองท่องเที่ยวเท่านั้น เช่น พัทยา ภูเก็ต เป็นต้น อีกทั้งการพูดภาษาอังกฤษได้นั้นเป็นดุจความสามรถพิเศษที่ยากจะมีใครทำได้  แต่นับจากนี้ไปผลจากโลกาภิวัตน์และการเกิดประชาคมอาเซียนกำลังทลายความคิดแบบมายาคติเหล่านั้น และกำลังจะทำให้ความสามรถในการพูดภาษาอังกฤษเป็นเพียงทักษะสามัญที่พลเมืองอาเซียนต้องทำได้ไม่แตกต่างกันอีกต่อไป แม้ว่าทักษะการพูดภาษาอังกฤษจะไม่สามารถพัฒนาให้เก่งอย่างก้าวกระโดดในทันทีทันใด แต่เชื่อได้เลยว่า ต่อไปหากใครยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ย่อมกลายเป็นเกาะดำอย่างแน่นอน

โดย ณัฐพล จารัตน์ 

เขียนไว้เมื่อ 21 ธันวาคม 2557