Search This Blog

Monday, January 22, 2024

การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของ ดร. ฟรังค์ - วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และภริยา ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๖ มกราคม ๒๕๖๗

การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของ ดร. ฟรังค์ - วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และภริยา ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๖ มกราคม ๒๕๖๗

ดร. ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และภริยา มีกำหนดเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๖ มกราคม ๒๕๖๗ ตามคำเชิญของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและกิจการสังคมสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและภูมิอากาศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และคณะผู้แทนภาคธุรกิจเยอรมนีร่วมอยู่ในคณะด้วย โดยในระหว่างการเยือนประเทศไทยครั้งนี้ ประธานาธิบดีฯ มีกำหนดพบหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยคณะผู้แทนภาคธุรกิจฝ่ายเยอรมนีจะเข้าร่วมรับฟังนโยบายส่งเสริมการลงทุนและโอกาสทำธุรกิจในประเทศไทย พร้อมกันนี้ จะมีการแถลงข่าวร่วมโดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีฯ และภริยาพร้อมด้วยคณะผู้แทนเยอรมัน ณ ทำเนียบรัฐบาล
ในโอกาสการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี พระราชทานวโรกาสให้ประธานาธิบดีฯ พร้อมด้วยภริยา เข้าเฝ้า ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต นอกจากนี้ ประธานาธิบดีฯ และคณะ จะเยี่ยมชมโรงงานเมอร์เซเดซ-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) ณ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นฐานการผลิตรถยนต์และยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ดีและความพร้อมด้านแรงงานมีฝีมือ รวมทั้งการเชื่อมโยงกับภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ประเทศไทยจึงมีศักยภาพเป็นฐานการผลิตรถยนต์และยานยนต์ไฟฟ้า ในโอกาสเดียวกันนี้ ประธานาธิบดีฯ และคณะจะเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำไฮบริดที่เขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งดำเนินการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยโรงงานดังกล่าวมีศักยภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบไฮบริดจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำที่ใหญ่อันดับต้นของโลก ซึ่งช่วยส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของไทยภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเยี่ยมชมโครงการผลิตข้าวที่ยั่งยืนแบบครบวงจร (Inclusive Sustainable Rice Landscape Project) ณ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี และเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม นอกจากนี้ ประธานาธิบดีฯ และคณะผู้แทนเยอรมันจะเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยด้วย
การเยือนครั้งนี้นับเป็นการเดินทางเยือนประเทศไทยครั้งแรก นับตั้งแต่ ดร. ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเมื่อปี ๒๕๖๕ ทั้งนี้ เคยมีการเยือนประเทศไทยในระดับประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเมื่อปี ๒๕๔๕ ที่สำคัญเป็นการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของผู้นำรัฐจากต่างประเทศเป็นครั้งแรกของรัฐบาลชุดปัจจุบัน การเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีฯ ในครั้งนี้เป็นโอกาสของฝ่ายไทยและเยอรมนีในการเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรทั้งในด้านการเมือง การขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนทั้งสองฝ่าย รวมทั้งต่อยอดความร่วมมือในมิติสำคัญต่าง ๆ บนพื้นฐานของค่านิยมและผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนความร่วมมือเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ของโลกทั้งในระดับทวิภาคีและภูมิภาค เพื่อนำไปสู่การยกระดับความสัมพันธ์สู่ความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) ต่อไป

The Official Visit to the Kingdom of Thailand Of H.E. Dr. Frank-Walter Steinmeier, President of the Federal Republic of Germany and Spouse Between 24 - 26 January 2024
H.E. Dr. Frank-Walter Steinmeier, President of the Federal Republic of Germany and his spouse, will pay an official visit to the Kingdom of Thailand between 24 and 26 January 2024 upon the invitation of H.E. Mr. Srettha Thavisin, Prime Minister of the Kingdom of Thailand. The President will be accompanied by the Federal Minister of Labour and Social Affairs, Federal Deputy Minister for Foreign Affairs, and the Federal Deputy Minister for Economic Affairs and Climate Action, and German business delegation. During the visit, the German President will have a bilateral meeting with the Prime Minister and other relevant ministers. There will be a Joint Press Conference and a luncheon hosted by the Prime Minister in honour of the German President, his spouse, and the German delegation at the Government House.
On the occasion of this official visit, His Majesty King Maha Vajiralongkorn and Her Majesty Queen Sutthida will graciously grant the President and his spouse a Royal Audience at Amphorn Sathan Residential Hall in Dusit Palace. During the visit, the President will visit the Mercedes-Benz Manufacturing (Thailand) in Samut Prakan province which is a regional manufacturing base for automobiles and electric vehicles (EV) with high-tech infrastructure and skilled workers. Furthermore, the President will visit the Hydro-Floating Solar Hybrid Project at Sirindhorn Dam in Ubon Ratchathani, a world leading solar-wind hybrid power plant operated by the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT). Through such high renewable energy production, Thailand is set to achieve its Carbon Neutrality Goal by 2050. In Ubon Ratchathani province, the President and his delegation will visit the Inclusive Sustainable Rice Landspace Project in Amphoe Trakan Phuet Phon and Pha Taem National Park in Amphoe Khong Chiam, while in Bangkok, the President and delegation will visit the Museum of Contemporary Art (MOCA).
This official visit is President Steinmeier’s first visit to Thailand since taking his office in 2022 and Thailand’s first official visit by Head of a foreign Government under the current Thai administration. The last German Presidential visit to Thailand was in 2002 by H.E. Mr. Johannes Rau, the former President of the Federal Republic of Germany. The German President’s upcoming visit will provide a great opportunity for Thailand and Germany to further strengthen their partnership in politics as well as trade and investment between their business sectors. Additionally, it will open new avenues to advance cooperation in areas of mutual interests, based on shared values and principles, including cooperation in response to the global challenges in both bilateral and regional platforms. The expansive cooperation in strategic areas as well as strong people-to-people ties will pave the way for both countries to elevate “Thai-German Strategic Partnership” relations in the future.



หมายเหตุ ข้อมูลและข้อความแชร์มาจากแฟนเพจของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน 

Thursday, January 18, 2024

ข่าวการเดินทางเยือนราชอาณาจักรไทยหรือประเทศไทย ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ภริยา และคณะ ระหว่างวันที่ 24 – 26 มกราคม 2567 ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี

ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ภริยา และคณะ ซึ่งมีกำหนดเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 24 – 26 มกราคม 2567 ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี นับเป็นการเยือนของบุคคลสำคัญระดับผู้นำประเทศของเยอรมนีในรอบทศวรรษ


จากการติดตามข่าวสาร ทราบว่าเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 นายแอ็นสท์ ว็อล์ฟกัง ไรเชิล (H.E.Mr.Ernst Wolfgang Reichel) เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ประจำประเทศไทย เข้าพบ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อเตรียมการเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ นับจากวันนั้นทั้งสองประเทศดำเนินการให้เกิดกำหนดการต่าง ๆ [1]

เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 สำนักงานบริหารกลางของประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Bundespräsidialamt) เผยแพร่ข่าวการเยือนประเทศไทยในเว็บไซต์ทางการของสำนักงานฯ ให้ประชาชนชาวเยอรมนีทราบอย่างเปิดเผย โดยรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ดังนี้

 


ประธานาธิบดีเยอรมนีจะเดินทางเยือนไทยและเวียดนามอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 22 - 27 ม.ค. 67

สำหรับการเยือนประเทศไทย มีกำหนดระยะเวลา 2 วัน ด้วยวัตถุประสงค์ขยายความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ คณะร่วมเดินทางจากฝ่ายเยอรมนีเป็นคณะผู้แทนภาคธุรกิจและสื่อมวลชนของเยอรมนี

กำหนดการของวันแรกของการเยือนประเทศไทย ประธานาธิบดีเยอรมนีจะเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี มีกำหนดการพบปะกับนายกรัฐมนตรีเพื่อประชุมร่วมกับคณะผู้แทนภาคธุรกิจของเยอรมนี และจะเดินทางเข้าเยี่ยมชมโรงงานเมอร์เซเดส - เบนซ์ จังหวัดสมุทรปราการ และมีกำหนดเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยกรุงเทพ (MOCA) นอกจากนั้นมีกำหนดการพูดคุยกับนักการเมืองฝ่ายค้านอีกด้วย

กำหนดการของวันที่สองของการเยือนประเทศไทย ประธานาธิบดีเยอรมนีจะเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อเยี่ยมชมโครงการนำร่องการเพราะปลูกข้าวอย่างยั่งยืนและการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ และเดินทางไปเขื่อนสิรินธรเพื่อเยี่ยมชมระบบโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ ต่อจากนั้นจะเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติผาแต้ม [2]

กำหนดการคร่าว ๆ ได้เผยแพร่และสื่อสารมวลชนภายในประเทศไทยจึงเริ่มเสนอข่าวในสื่อต่าง ๆ สร้างความอยากรู้อยากทราบและความตื่นเต้นที่จะได้ต้นอรับแขกบ้านแขกและผู้เป็นมิตรสำคัญจากภาคพื้นยุโรป มีความสัมพันธ์กับประเทศไทยมาอย่างยาวนานมาถึง 160 ปี [3]

ต่อมา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567  สำนักงานบริหารกลางของประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Bundespräsidialamt) เผยแพร่กำหนดการอย่างกว้างต่อประชาชนชาวเยอรมนีในเว็บไซต์ของสำนักงานฯ มีรายละเอียด ดังนี้ [4]

กำหนดการ

วันพฤหัสบดีที่ 25 ม.ค. 2024

ช่วงเช้า

เดินตลาดน้อย ย่านเจริญกรุงเดินผ่านย่านประวัติศาสตร์ของกรุงเทพฯ

10.00 น.

ไปทำเนียบรัฐบาล และเดินตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ พร้อมนายกรัฐมนตรี ลงนามลงในสมุดเยี่ยม และสนทนากับนายกรัฐมนตรี พร้อมหารือร่วมกับคณะผู้แทนภาคธุรกิจ

11.30 น.

ประชุมร่วมกับสื่อมวลชน และรับประทานอาการกลางวัน รับรองโดยนายกรัฐมนตรี

ช่วงบ่าย

เดินทางไปจังหวัดสมุทรปราการ เข้าเยี่ยมชมโรงงานเมอร์เซเดส-เบนซ์ ต่อจากนั้น เดินทางกลับโรงแรมที่พัก และมีกำหนดการพบหัวหน้าพรรคก้าวไกลเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประเด็นการเมือง

ช่วงค่ำ

เข้าเผ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ณ พระราชวังดุสิต

20.00 น.

เดินทางไปเยี่ยมชมนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย (MOCA BANGKOK) และต่อด้วยงานต้อนรับโดยเอกอัครราชทูตเยอรมนี กรุงเทพฯ

วันศุกร์ที่ 26 ม.ค. 2024

ช่วงเช้า

เดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี โดยเครื่องบิน

12.15 น.

เยี่ยมชมฟาร์มต้นแบบเพื่อการปลูกข้าวและการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน และพูดคุยกับตัวแทนชุมชนท้องถิ่น

ช่วงบ่าย

เยี่ยมชมศูนย์ควบคุมและระบบโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด ณ เขื่อนสิรินธร ต่อจากนั้น เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติผาแต้ม

ช่วงค่ำ

เดินทางกลับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

วันเสาร์ที่ 27 ม.ค. 2024

ช่วงเช้า

เดินทางถึงกรุงเบอร์ลิน

กำหนดการต่าง ๆ เผยแพร่เป็นสาธารณะต่อประชาชน สามารถเข้าถึงได้บนระบบอินเตอร์เน็ตหรือเพียง google อย่างไรก็ตามกำหนดการเป็นกำหนดการกว้างซึ่งเป็นตามนโยบาย Open Government Germany ที่ข้อมูลของภาครัฐต้องเปิดเผยให้ทราบทั่วไป

การเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์การเมืองโลกที่กำลังเข้มข้น เช่น ประธานาธิบดีไต้หวันคนใหม่เพิ่งได้รับเลือกตั้ง สงครามอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส วิกฤตการณ์ทะเลแดง เป็นต้น

มีผู้สงสัยอีกประการในกำหนดการ เหตุใดต้องเดินทางไปเยี่ยมชมเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ความเห็นของผมส่วนตัวคิดว่า ในเขื่อนสิรินธรมีโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด (Hydro-floating Solar Hybrid) ใหญ่ที่สุดในโลกลอยเหนือเขื่อน เป็นโครงการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกิจการคู่ค้ากับบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทเยอรมนีและมีประวัติเข้ามาดำเนินกิจการในประเทศยาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 [5]

ผมคิดว่าเยอรมนีกำลังดำเนินการกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรสำคัญในอาเซียน ซึ่งทุกประเทศเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาในอีกทางหนึ่งด้วย ส่วนการเดินทางไปดูเขื่อน ท่านเองคงอยากจะเห็นการสร้างพลังานทดแทนและเป็นกิจการที่ร่วมมือกับบริษัทของเยอรมนี ที่จะสามารถแสดงศักยภาพทางเทคโนโลยีแก่เยอรมันและประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง

ขอให้ความสัมพันธ์ของประเทศไทยและเยอรมนีเกิดผลประโยชน์สูงสุดและยั่งยืนต่อโลกใบนี้

อ้างอิงข้อมูล

[1] ข่าวทำเนียบรัฐบาล. เข้าถึง https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/76082#:~:text=Mr.Ernst%20Wolfgang%20Reichel)%20%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%95,2567%20%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89

 [2] Bundespräsidialamt.เข้าถึงhttps://www.bundespraesident.de/SharedDocs/Pressemitteilungen/DE/2024/01/240102-Vietnam-Thailand.html#:~:text=Bundespr%C3%A4sident%20Frank%2DWalter%20Steinmeier%20und,offiziellen%20Besuch%20ins%20K%C3%B6nigreich%20Thailand

[3] The Embassy of Germany, Bangkok เข้าถึง https://bangkok.diplo.de/th-de/themen/160-j-diplo-beziehungen/2511562

[4] Bundespräsidialamt.เข้าถึง https://www.bundespraesident.de/SharedDocs/Berichte/DE/Frank-Walter-Steinmeier/2024/01/240125-26_Offizieller-Besuch-Thailand.html

[5] https://www.bgrimmpower.com/th/investor-relations/newsroom/news-clippings/2358500/%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7

Wednesday, January 10, 2024

Hitozukuri ในมุมมองหนึ่งของผม 人づくり, ひとづくり, 人造り, 人作り の違い

ผมได้รับโจทย์ให้อธิบายนัยของคำว่า Hitozukuri ในทัศนะส่วนบุคคล จึงพยายามลองอธิบายตามที่อยากจะอธิบายคร่าว ๆ  

คำนี้ประกอบด้วย hito แปลว่า คน และ zukuri แปลว่า สร้าง ผลิต ทำ

ในการจะดำเนินชีวิต ดำเนินธุรกิจ หรือจะทำอะไรก็ตามของญี่ปุ่นจะหา Philosophy ขึ้นมาเป็น “แก่น” ทำให้เกิดการตีความในมุมของแต่ละแห่งต่างกันหรือจะนิยามให้ต่างกัน แต่จะอยู่ภายใต้ “แก่น” ที่ให้ความหมายว่า “การสร้างคน” 

เนื่องจากสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่นเป็นชินโต นับถือบรรพบุรุษ นับถือพุทธ และธรรมชาติ ทำให้คำว่า hito ซึ่งคนจะประกอบด้วย 2 ด้าน คือ 

1.ด้านที่มองเห็น เช่น มารยาท การพูดคุย พฤติกรรม (ในทาง HR คือ ทักษะ Skills หรืออีกนัยหนึ่งจะเรียกว่า การพัฒนาทางด้านร่างกาย หรือพูดภาษาทันสมัยหน่อย คือ Hard power) ถ้าเทียบกับทฤษฎี iceberg จะเป็นส่วนที่ไม่จมน้ำ 

2.ด้านที่มองไม่เห็น เช่น นิสัยใจคอ ความดี ความเลว ความขยัน ความขี้เกียจ จริยธรรม (ในทาง HR คือ สมรรถนะ Competencies หรืออีกนัยหนึ่งจะเรียกว่า การพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ หรือ Soft power) หรือก็คือส่วนที่จมน้ำในทฤษฎี iceberg 

ส่วนคำว่า zukuri ถ้าไม่คิดมากมีความหมายทั่ว ๆ ไปว่า “ทำ สร้าง ผลิต” แต่ในความหมายทาง Philosophy ใกล้เคียงกับคำว่า ฝึกฝน อบรม บ่มเพาะ (cultivate)

ฉะนั้นคำว่า hito จะสร้างขึ้นมาได้จึงต้องสร้างด้วยการอบรมและพัฒนาฝึกฝนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ตั้งเป็นสมการ น่าจะเขียนได้ว่า Skills  + Competencies = hito หรือจะเป็น Body + Soul = hito หรือ Hard + Soft = hito 

ข้อแตกต่าง ในมุมของตะวันออก hito จะอยู่บนพื้นฐานของศาสนา ความคิด ความเชื่อ ความกตัญญู ความดี ความชั่ว จริยธรรม ส่วนในมุมของตะวันตกเน้นหลักเหตุผล กฎหมาย วิทยาศาสตร์ ปฏิเสธความเชื่อที่อธิบายไม่ได้

ขอย้ำว่าเป็นทัศนะส่วนบุคคล อาจไม่โดนใจท่านอื่น หวังว่าจะได้รับคำชี้แนะและเปลี่ยนจากผู้รู้อีกเพื่อเพิ่มพูนความรู้ระหว่างกันครับ

ดร.ณัฐพล จารัตน์

กรุงเบอร์ลิน 10 มกราคม 2567

อุณหภูมิ - 7 องศา


---

อื่น ๆ เพิ่มเติม

人づくり, ひとづくり, 人造り, 人作り の違い

1. 人づくり (ひとづくり)

  • ความหมาย: การพัฒนาศักยภาพของบุคคล มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมทักษะ ความรู้ และคุณธรรม

  • ตัวอย่าง:

  • การศึกษา

  • การฝึกอบรม

  • การพัฒนาองค์กร

  • เน้น: การพัฒนาบุคคลแบบองค์รวม

2. ひとづくり (ひとづくり)

  • ความหมาย: คล้ายกับ "人づくり" แต่เน้นไปที่การพัฒนาบุคคลในฐานะสมาชิกของสังคม

  • ตัวอย่าง:

  • การศึกษาสำหรับพลเมือง

  • กิจกรรมอาสาสมัคร

  • การพัฒนาชุมชน

  • เน้น: การพัฒนาบุคคลให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

3. 人造り (ひとづくり)

  • ความหมาย: การสร้างมนุษย์โดยเทียม หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสร้างสิ่งมีชีวิตที่เหมือนมนุษย์

  • ตัวอย่าง:

  • โคลนนิ่ง

  • ปัญญาประดิษฐ์

  • หุ่นยนต์

  • เน้น: การสร้างมนุษย์โดยเทคโนโลยี

4. 人作り (ひとづくり)

  • ความหมาย: การสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า หมายถึง การใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างผลงานที่มีประโยชน์ต่อสังคม

  • ตัวอย่าง:

  • งานศิลปะ

  • งานวิทยาศาสตร์

  • เทคโนโลยี

  • เน้น: การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

สรุป:

  • 人づくり และ ひとづくり คล้ายกัน แต่ ひとづくり เน้นการพัฒนาบุคคลในฐานะสมาชิกของสังคม

  • 人造り หมายถึง การสร้างมนุษย์โดยเทียม

  • 人作り หมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า


ตารางเปรียบเทียบ:

คำ

ความหมาย

เน้น

人づくり

การพัฒนาศักยภาพของบุคคล

การพัฒนาบุคคลแบบองค์รวม

ひとづくり

การพัฒนาบุคคลในฐานะสมาชิกของสังคม

การพัฒนาบุคคลให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

人造り

การสร้างมนุษย์โดยเทียม

การสร้างมนุษย์โดยเทคโนโลยี

人作り

การสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า

การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อสังคม