Search This Blog

Monday, April 29, 2024

Volksbühne Berlin: หน้าต่างสู่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

วันนี้อากาศกำลังสบาย ไม่ร้อนมาก อุณหภูมิ 25 องศา ตั้งใจไปเดินเล่นใกล้ ๆ ร้านแว่น ic!Berlin บริเวณใกล้ ๆ กันนั้นเป็นทีตั้ง Volksbühne Berlin โรงละครที่มีชื่อเสียงทางประวัติศาสตร์ของเบอร์ลิน เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ทางวัฒนธรรมและการเมืองที่ซับซ้อนของเยอรมนี ก่อตั้งในปี 1890 ใช้เป็นเวทีสำหรับการแสดงที่หลากหลาย ทั้งละคร การเต้นรำดนตรี และศิลปะการแสดงอื่นๆ ที่สะท้อนถึงเสียงของประชาชนและสื่อสารความคิดทางสังคมและการเมือง ดังจะเห็นได้จากชื่อ Volksbühne แปลว่า People's Theatre


ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20  Volksbühne เป็นหนึ่งในศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่มีอิทธิพล โดยมีการแสดงที่ท้าทายและสะท้อนถึงความเป็นจริงทางสังคม หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองและการแบ่งแยกของเยอรมนี ที่นี่กลายเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีหรือเยอรมันตะวันออก (GDR) และเป็นเวทีสำหรับการแสดงที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง

หลังจากการรวมเยอรมนีในปี 1990 Volksbühne ยังคงเป็นสถานที่ที่สำคัญสำหรับการแสดงที่มีความหมายทางวัฒนธรรมและทางการเมือง ในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง โรงละครนี้ยังคงเป็นเวทีสำหรับศิลปินและผู้สร้างสรรค์ที่ต้องการสื่อสารความคิดและความรู้สึกของพวกเขาผ่านงานศิลปะ

ที่นี่ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่สำหรับการแสดงที่ยอดเยี่ยม แต่ยังเป็นห้องปฏิบัติการทางความคิดที่ผู้คนสามารถสำรวจและทดลองกับแนวคิดใหม่ ๆ ในขณะที่ยังคงเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ที่ร่ำรวยของคนเยอรมัน อันเป็นสถานที่ที่วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์มาบรรจบกัน สร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครสำหรับผู้ชมและศิลปิน


ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและความท้าทายทางสังคม Volksbühne Berlin ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไปได้ทางวัฒนธรรมและเป็นพื้นที่สำหรับการสำรวจและการแสดงออกที่ไม่มีขอบเขต มันเป็นสถานที่ที่เราสามารถเรียนรู้จากอดีตและสร้างอนาคตที่เราต้องการเห็น

ในบริเวรนั้น มีจตุรัสชื่อ Rosa-Luxemburg-Platz เป็นสถานที่สาธารณะที่มีรูปทรงสามเหลี่ยมอยู่ในย่าน Scheunenviertel ประวัติศาสตร์ในเขต Mitte ของเบอร์ลิน สร้างขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และได้รับการตั้งชื่อใหม่หลายครั้งตามประวัติศาสตร์ของเยอรมนี ได้แก่ Babelsberger Platz, Bülowplatz, และ Horst-Wessel-Platz

ในช่วงหลังการครอบครองของโซเวียต ที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของเบอร์ลินตะวันออกที่ควบคุมโดยระบอบคอมมิวนิสต์ ได้รับการตั้งชื่อใหม่เป็น Liebknechtplatz และต่อมาเปลี่ยนเป็น Luxemburgplatz ก่อนที่จะได้รับชื่อ Rosa-Luxemburg-Platz โดยรัฐบาลเยอรมันตะวันออกในปี 1969

Rosa-Luxemburg-Platz โดดเด่นด้วยการมี Volksbühne Berlin และ Karl-Liebknecht-Haus อยู่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของพรรคซ้ายเยอรมัน หรือก่อนหน้านี้คือพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี (KPD) ถือเป็นศูนย์กลางของคอมมิวนิสต์เยอรมัน และเป็นสถานที่ของการชุมนุมมวลชนครั้งสุดท้ายในเบอร์ลินต่อต้านพรรคนาซีในวันที่ 25 มกราคม 1933 ซึ่งเป็น  5 วันสุดท้ายก่อนที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์จะได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนี


Rosa Luxemburg: ผู้หญิงที่ไม่ยอมจำนนต่ออำนาจ

Rosa Luxemburg เป็นชื่อนักต่อสู้คนหนึ่ง เป็นหนึ่งในนักปฏิวัติที่มีอิทธิพลที่สุดในยุคของเธอ และเป็นตัวอย่างของความกล้าหาญและความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมและเสรีภาพ ในฐานะนักเขียน นักวิชาการ และนักกิจกรรมทางการเมือง เธอได้สร้างผลงานที่มีอิทธิพลมากมาย รวมถึง “การสะสมทุน” และ “การปฏิวัติรัสเซีย” ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ทั้งระบบทุนนิยมและการปฏิวัติโบลเชวิก


Luxemburg ถูกจดจำในฐานะผู้นำของ Spartakusbund และเป็นผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน (KPD) การต่อสู้ของเธอเพื่อสังคมนิยมที่ปราศจากการกดขี่และการแสวงหาอำนาจทำให้เธอเป็นศัตรูกับทั้งรัฐบาลเยอรมันและพรรคสังคมนิยมที่เป็นทางการ การเสียชีวิตของเธอในปี 1919 หลังจากการปราบปรามการก่อการร้ายของ Spartakusbund ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่น่าเศร้าที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองเยอรมัน

Rosa Luxemburg ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและนักคิดทั่วโลก ความมุ่งมั่นของเธอในการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมและความเป็นธรรมไม่เคยลดลาง และคำพูดของเธอยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น

Rosa-Luxemburg-Platz ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในเบอร์ลิน แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อสันติภาพและความเท่าเทียมทางสังคม ตั้งชื่อตาม Rosa Luxemburg นักปฏิวัติสังคมนิยมที่มีชื่อเสียง สถานที่นี้เป็นตัวแทนของความหวังและความมุ่งมั่นในการสร้างโลกที่ปราศจากการกดขี่และสงคราม

Rosa Luxemburg เองก็เป็นผู้สนับสนุนการสันติภาพอย่างแข็งขัน โดยเธอได้เขียนและพูดต่อต้านสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและการทหารนิยม การต่อสู้ของเธอเพื่อสันติภาพและความเท่าเทียมได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับการเคลื่อนไหวสันติภาพทั่วโลก

Rosa-Luxemburg-Platz จึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการสะท้อนถึงความสำคัญของการสันติศึกษา การเรียนรู้และการสื่อสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของการต่อสู้เพื่อสันติภาพ การเข้าใจและการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการสร้างสันติภาพผ่านการศึกษาและการเจรจา สถานที่นี้ยังเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการสร้างความเข้าใจระหว่างกลุ่มคนที่แตกต่างกัน และเป็นสัญลักษณ์ของความหวังในการสร้างโลกที่ปราศจากความรุนแรงและการกดขี่

การเรียนรู้เกี่ยวกับ Rosa Luxemburg และการต่อสู้ของเธอ รวมถึงการเข้าใจบทบาทของ Rosa-Luxemburg-Platz ในประวัติศาสตร์ สามารถช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติตามหลักสันติศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับการสร้างสันติภาพในอนาคต

สิ่งหนึ่งที่จะเห็นได้จากภายนอกหน้าสถานที่นี้ คือ ประติมากรรม Räuberrad เป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของ Volksbühne Berlin เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากโลหะและถูกสร้างขึ้นโดย Bert Neumann ผู้ออกแบบเวทีในปี 1990 และถูกสร้างขึ้นจริงโดย Rainer Haußmann ศิลปินชาวสวิสในปี 1994 รูปปั้นโลหะนี้มีความสูงประมาณสี่เมตรและมีความเกี่ยวข้องกับ Gaunerzinken ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ลับของโจร


Räuberrad ถูกตั้งขึ้นครั้งแรกเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงละคร “Die Räuber” ของ Friedrich Schiller ซึ่งกำกับโดย Frank Castorf ผู้อำนวยการโรงละคร Volksbühne ในขณะนั้น และได้รับการตั้งขึ้นบนพื้นที่สีเขียวด้านหน้าของโรงละคร หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลเบอร์ลินได้ซื้อรูปปั้นนี้ในราคาประมาณ 11,000 ยูโรและได้ตัดสินใจที่จะเก็บไว้ที่นั่นอย่างถาวร

ในปี 2017 มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับการถอด Räuberrad ออกจากสถานที่เดิมเมื่อ Frank Castorf ออกจากตำแหน่งและ Chris Dercon เข้ามาแทนที่ มีการประกาศว่า Rainer Haußmann ผู้สร้างรูปปั้นจะทำการถอดรูปปั้นออกเมื่อ Castorf ออกจากตำแหน่ง และรูปปั้นนี้ได้ถูกนำไปยัง Avignon ในฝรั่งเศส ซึ่ง Castorf ได้กำกับการแสดงในช่วงฤดูร้อนของปีนั้น

หลังจากนั้น Räuberrad ได้รับการซ่อมแซมอย่างครบถ้วนโดยการดูแลของการบริหารวัฒนธรรมของเบอร์ลิน ด้วยค่าใช้จ่ายประมาณ 25,000 ยูโร และได้รับการปรับปรุงให้มีความมั่นคงมากขึ้น รวมถึงการเชื่อม “เท้า” ใหม่ และในเดือนกันยายน 2018 รูปปั้นนี้ได้ถูกนำกลับมาตั้งที่ Rosa-Luxemburg-Platz อีกครั้ง

 

ณัฐพล จารัตน์

กรุงเบอร์ลิน

28.04.2567

Sunday, April 28, 2024

Arminiusmarkthalle: ตำนานแห่ง Moabit ตลาดเยอรมัน

ย้อนเวลากลับไปสู่ปี 1891  ใจกลางกรุงเบอร์ลิน ย่าน Moabit กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว  ท่ามกลางความคึกคัก  Arminiusmarkthalle หรือที่รู้จักกันในชื่อ Moabiter Markthalle  ถือกำเนิดขึ้น  กลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่ทันสมัย  ตอบสนองความต้องการของผู้คนในท้องถิ่น

สถาปัตยกรรมอันงดงาม  ผลงานการออกแบบโดย Hermann Blankenstein สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านตลาด  โดดเด่นด้วยซุ้มประตูที่ประณีต  ลวดลายดอกไม้บนเสาเหล็กหล่อ  ระเบียงหน้าต่างแบบมหาวิหาร   สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองในยุคนั้น


มากกว่าแค่ตลาด:  Arminiusmarkthalle ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ซื้อของ  แต่ยังเป็นจุดรวมของชุมชน  ผู้คนต่างมาพบปะสังสรรค์  แลกเปลี่ยนเรื่องราว  และสัมผัสบรรยากาศอันมีชีวิตชีวา

ผ่านร้อนผ่านหนาว:  ตลาดแห่งนี้เผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย  รอดพ้นจากสงครามโลกครั้งที่สอง  ได้รับการบูรณะใหม่ในทศวรรษ 1950  กลายเป็นสัญลักษณ์อันทรงคุณค่าของ Moabit

ปัจจุบัน:  Arminiusmarkthalle ยังคงเป็นสถานที่ที่เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์  ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก  ที่นี่มีทั้งสินค้าสด  อาหารสำเร็จรูป  สินค้าเบเกอรี่  ดอกไม้  งานฝีมือ  และร้านอาหารหลากหลายประเภท  พร้อมกิจกรรมพิเศษต่างๆ ตลอดทั้งปี

Arminiusmarkthalle   มากกว่าแค่ตลาด   คือตำนานที่ยังคงมีชีวิตชีวา  รอให้คุณมาสัมผัสด้วยตัวเอง!

#Arminiusmarkthalle #MoabiterMarkthalle #ตลาดเบอร์ลิน #ช้อปปิ้ง #อาหาร #กิจกรรม



การเดินทางและข้อมูลเพิ่มเติม ศึกษาได้จากตรงนี้


Thursday, April 18, 2024

ความแค้นของโป๊ป: ปรากฏการณ์ “Rache des Papstes” บนหอคอยเบอร์ลิน "หอคอยรูปหน่อไม้ฝรั่ง"


ในวันท้องฟ้าแจ่มใสของกรุงเบอร์ลิน มองจากหน้าต่างเครื่องบินสามารถเห็นหอกระจายภาพเบอร์ลิน (Berlin Fernsehturm) อย่างชัดเจน อาจเป็นสิ่งแรกที่มองเห็นจากเครื่องบินบ่งชี้ว่าถึงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนี บางท่านอาจเรียกเล่น ๆ ว่า หอคอยเบอร์ลิน (Berlin tower) คนไทยหลายท่านก็บอกว่าเหมือนไม้เสียบลูกชิ้น หอคอยสูงเด่นเป็นสง่าด้วยความสูง 368 เมตร ตั้งอยู่ใกล้ Alexander Platz กรุงเบอร์ลิน สร้างเสร็จเมื่อ 3 ตุลาคม 1969 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีหรือเยอรมันตะวันออก เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์และเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรื่อง


“Rache des Papstes” เป็นภาษาเยอรมัน ในภาษาอังกฤษใช้ว่า “The Pope’s Revenge” แปลตรงตัวว่า ความแค้นของสันตะปาปา หรือ ความโกรธของสันตปาปา (โป๊ป) (แปลตรงตัว) 

เรื่องมีอยู่ว่า ท่านผู้นำวอลเตอร์ อุลบริชท์ (Walter Ulbricht) ของเยอรมันตะวันออกอยากจะโชว์ให้โลกได้เห็นความเจริญและความก้าวหน้าของเยอรมันตะวันออกที่ปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ จึงคิดสร้าง Berlin Fernsehturm ขึ้นมา แน่นอนว่าการสร้างหอคอยสูงในสมัยนั้น ต้องใช้งบประมาณมหาศาล ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมและฟิสิกส์ขั้นเทพ ยิ่งแสดงให้เห็นว่าเยอรมันตะวันออกนั้นมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ สังคมมีความเท่าเทียมและความเจริญรุ่งเรื่องทางเศรษฐกิจ และเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ ต้องการลดบทบาทของศาสนาต่อประชาชน เมื่อสร้างเสร็จจึงโด่งดังเสริมความนิยมในระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ และทำให้ประชาชนเห็นว่าประเทศจะเจริญได้ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถสร้างความเท่าเทียมทางเศรฐกิจและสังคมไม่ใช่ด้วยศาสนา 


แต่แล้ว เกิดปรากฏการณ์ที่ไม่คาดคิดบนโดมหอคอยนี้ที่ทำจากสแตนเลส เมื่อแสงอาทิตย์ส่องถูกพื้นผิวโดม แสงจะสะท้อนกลับเป็นรูปกากบาทประหนึ่งไม้กางเขน ซึ่งไม่ได้เกิดด้วยความตั้งใจจากการออกแบบ 

ในขณะที่รัฐบาลเยอรมันตะวันออกพยายามสร้างสังคมที่ไม่มีศาสนา แต่การสะท้อนแสงที่ไม่คาดคิดนี้กลับกลายเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายตรงกันข้าม ทำให้ผู้นำของเยอรมันตะวันออกรู้สึกโกรธและอับอายอย่างมาก 


จากนั้นพยายามใช้วิธีต่าง ๆ เพื่อกำจัดการสะท้อนแสงนี้ แต่ไม่สำเร็จ รวมถึงการพยายามเปลี่ยนชื่อหอคอยเป็น “Telespargel” ซึ่ง “Tele” เป็นตัวย่อของคำว่า “Television” และ “Spargel” หมายถึง หน่อไม้ฝรั่ง ในภาษาเยอรมัน เพื่อลดความสนใจจากการสะท้อนแสง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ (คนเยอรมันมองว่าหอคอยนี้เหมือนหน่อไม้ฝรั่ง)

Pope หรือพระสันตะปาปา ในที่นี้อาจแสดงถึงตัวแทนของศาสนาคริสต์ที่เป็นที่นับถือในเยอรมันตะวันออก ราวจะบอกว่า ยิ่งกำจัด ยิ่งกีดกันศาสนามากเท่าไร ศาสนาก็ไม่ได้ไปไหน ศาสนาสร้างสรรพสิ่ง และสถิตในทุกหนแห่ง

ปรากฏการณ์นี้ถูกมองเป็นเรื่องตลกและเยาะเย้ยรัฐบาลในยุคนั้น และกลายเกล็ดเรื่องเล่ากันต่อ ๆ มาเมื่อกล่าวถึงเยอรมันตะวันออก


ณัฐพล จารัตน์
17.04.2567
Steglitz, Berlin


"50 Jahre Berliner Fernsehturm | Euromaxx"