2-3 วันก่อน เพื่อนชาวญี่ปุ่นส่งลิ้งก์นี้ [https://thailand-navi.com/thai-personality] เป็นบทความภาษาญี่ปุ่นชื่อบทความ 知られざるタイ人の性格や特徴7選 (7 นิสัยและเอกลักษณ์ของคนไทยที่คุณยังไม่รู้)
ผู้เขียนบทความนี้ ผมก็ไม่ทราบว่าเขียนจากมุมมองของชาวญี่ปุ่นเองหรือเป็นคนไทยเขียน เป็นบทความที่น่าสนใจสำหรับการมองแนวคิดเชิงความแตกต่างทางวัฒธรรมธรรม การบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น หรือการบริหารธุรกิจแบบญี่ปุ่น เพื่อความเข้าใจระหว่างกันของคนไทยกับญี่ปุ่น ขออนุญาตแปลและเรียบเรียงเสริมเป็นภาษาไทย
มุมมองทั้งหมด 7 ข้อ ตามบทความนี้ เริ่มกันนะครับ
มุมมองที่ 1 คนไทยอยู่บนหลักการ "ไม่เป็นไร" (อาจหมายความว่า "คนไทยอะไร ๆ ก็ไม่เป็นไร")
ผู้เขียนบรรยายว่า
คำว่า "ไม่เป็นไร" ของคนไทยนั้น อาจมีหลายความหมาย เช่นหมายถึง ไม่เป็นไร
ไม่แคร์ เดี๋ยวมันก็ผ่านไปได้ ไม่ต้องคิดมาก ให้อภัยเถอะ
หรือแม่แต่เป็นการแสเงความขอบคุณหรือแสดงความยินดี ก็ได้ในบางกรณี
จะได้ยินคนไทยพูดบอกมาก ๆ ในแต่ละวันในหลายบริบทของการสนทนา
แต่สิ่งสำคัญหคือความหมายลึก ๆ ของ "ไม่เป็นไร" แสดงถึง
นิสัยใจคอและลักษณะนิสัยของคนไทยที่มีรากฐานจากการรักสงบ รักสันติ
และให้อภัย
สำหรับคนญี่ปุ่น "ไม่เป็นไร" ดูจะเป็นเรื่องที่ "ไม่ไม่เป็นไร" ภาษาญี่ปุ่นน่าจะใกล้เคียงกับคำว่า 大丈夫 (ไดโจบุ : Daijobu) การพูดไม่เป็นไรเป็นการปัดความรับผิดชอบหรือแสดงออกถึงการไม่รู้สำนึกของการกระทำที่ผิดพลาด ไม่ใช่ทุกเรื่องที่จะให้อภัย คนญี่ปุ่นอาจไม่เข้าใจได้ว่า คนไทยจะให้อภัยหรือแล้วต่อกันง่าย ๆ เพียงคำว่า "ไม่เป็นไร" เท่านั้นหรอ
ในมุมมองของผมเอง รากฐานสำคัญของ "ไม่เป็นไร" ได้รับอิทธิพลจากหลักธรรมของศาสนาพุทธ หลักการให้อภัย การไม่คิดพยาบาท เลิกแล้วต่อกันไม่เป็นกรรมเวรต่อกัน หรืออีกนัยคือ การอโหสกรรม โดยการใช้คำลำลองจาก "อโหสิกรรม" แทนด้วย "ไม่เป็นไร" เมื่อให้อภัยก็จะได้บุญกุศล
ไม่ทราบว่าพี่ ๆ คิดเห็นอย่างไรบ้างครับ
มุมมองที่ 2 คนไทยชอบพูดเรื่องส่วนตัว
ทำความเข้าใจคำว่า
"เรื่องส่วนตัว" ในมุมของคนญี่ปุ่นจะหมายถึง เช่น พอตัวเองรู้สึกอ้วน
พอเจอเพื่อนที่ทำงานก็จะบอกว่า ตัวเองอ้วนขึ้น
หรือแต่งหน้าไม่สวยก็จะบอกว่าวันนี้แต่งหน้าไม่สวย วันนี้ไม่อาบน้ำ
วันนี้ไม่ได้ทานข้าวเช้า เป็นต้น
คนไทยเองเจอหน้ากันก็จะพูดแบบไม่ได้คิดว่ามันเป็นเรื่องที่ต้องเป็นความลับหรือเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่อยากให้ใครรู้
เทียบกับคนญี่ปุ่น ถ้าเราไปบอกว่า ไม่ได้เจอกันนานเลยเธอดูอ้วนจัง
เธอหนักเท่าไร คนญี่ปุ่นที่ถูกถามคงแสดงความไม่พอใจ
เพราะมันเป็นเรื่องส่วนตัว หรืออาจมองได้ว่าเป็นการบูลลี่ด้วยวาจาก็ได้
ในข้อด้วยย่อมมีข้อดี แม้ว่าเรื่องส่วนตัวในมุมมองของคนญี่ปุ่นดูเป็นเรื่องต้องระมัดระมัง แต่การพูดเรื่องส่วนตัวเชิงบวก เช่น เธอสวยจังเลย เสื้อเธอสวยจังซื้อที่ไหน นาฬิกาไฮโซจังเลย สำหรับหลาย ๆ คนดีใจที่ได้รับการพูดเชิงชมเชย
ฉะนั้น คนญี่ปุ่นจึงไม่สามารถตัดสินได้ว่า การพูดเรื่องส่วนตัวของคนไทยเป็นเรื่องที่ผิดวิสัย แต่การที่คนญี่ปุ่นมาอยู่ไทยแล้วไม่พูดเรื่องส่วนตัวนี่แหละเป็นเรื่องแปลก เป็นเรื่องของความแตกต่างทางวัฒนธรรมของไทยกับญี่ปุ่น ที่จะต้องใช้หลักการบริหารข้ามวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นมาช่วยอธิบาย
มุมมองที่ 3 คนไทยมีปฏิกิริยาเกินจริงในโรงภาพยนตร์
ในมุมมองนี้ เมื่อนานมาแล้ว ผมได้ดูหนังเรื่อง สตรีเหล็ก ที่เข้าฉายที่ญี่ปุ่น ทั้ง ๆ ที่มีฉากตลกหรือฉากที่ดูตกใจ คนญี่ปุ่นในโรงหนังนั่งนิ่ง จะหัวเราะเบา ๆ มีผมที่หัวเราะจนเพื่อนญี่ปุ่นที่ไปด้วยกันสะกิดให้หัวเราะเบา ๆ ในญี่ปุ่น เป็นเรื่องปกติที่จะเงียบที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่โรงภาพยนตร์ของไทยแตกต่างออกไป เมื่อมีฉากตลกก็จะมีเสียงหัวเราะหรือเสียงตบมือดังขึ้นแบบไม่ต้องแคร์สื่อ ก็เพราะมันเป็นหนังตลกถูกไหม ถ้าจะให้กลั้นหัวเราะจะไปเสียเงินดูทำไม เราไปดูก็เพราะอยากหัวเราะ ดูเพื่อความบันเทิง ไม่ดูเพื่อเก็บกดความรู้สึก พี่ ๆ ไม่ต้องคิดเลยว่าถ้าคนญี่ปุ่นดูหนังเศร้า หรือหนังผีน่ากลัว ๆ คงจะนิ่ง ๆ แต่สำหรับคนไทย ดูหนังสือเศร้าเราก็ร้องไห้เปิดเผย จะหรี๊ดตอนผีกระโดดออกมา เราก็กรี๊ดดังลั่นไม่มีใครจะสนใจ ลักษณะของคนญี่ปุ่นจะเก็บความรู้สึก รักษาอารมณ์ไม่แสดงออกชัดเจน หลายครั้งที่คนต่างชาติไม่อาจเข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงของคนญี่ปุ่นได้
มุมมองที่ 4 ผุ้ชายไทยใจดีแต่ชอบนอกใจ
สาว
ๆ ชาวญี่ปุ่นมองว่า ผู้ชายไทยนิสัยดี
มีความเป็นสุภาพบุรุษทั้งคำพูดและการกระทำที่เปิดเผยชัดเจน
แต่ขึ้นชื่อเรื่องการนอกใจเป็นที่หนึ่ง เช่น ผู้ชายไทยช่วยถูกของให้ผู้หญิง
ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นไม่ทำ ผู้ชายไทยมักเป็นผู้จ่ายมากกว่าจะแชร์
ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นไม่ทำ ผู้ชายไทยพูดจาอ่อนหวาน ชมฝ่ายหญิงเสมอ
ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นไม่ทำ เรื่องสำคัญที่สาวญี่ปุ่นชอบชายไทย คือ
ผู้ชายไทยช่วยทำงานบ้าน ช่วยเลี้ยงลูก ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ช่วย
มุมมองที่ 5 สาวไทยมีนิสัยห่วงไยแต่ขี้หึง
ความห่วงไยกับขี้หึงเป็นเรื่องที่เข้าใจและแยกไม่ได้
ตอนไหนห่วงไย ตอนไหนหึง
แม้กระทั้งตอนโกรธยังไม่เข้าใจว่าโกรธแบบนี้คือโกรธแบบห่วงไย
หรือแบบหึงหวง
อย่างไรก็ตามไม่ว่าสาวไทยหรือสาวญี่ปุ่นก็เป็นเรื่องที่เข้าได้ยาก
ถามว่าทำไมทำอย่างนั้น คนไทยจะตอบว่า "จะได้ทำบุญ" "คนนั้นน่าสงสาร" หรือ
"จะได้ช่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ บรรเทาความทุกข์อยากให้คนอื่น"
ซึ่งที่ญี่ปุ่นการจะบริจาคให้ใคร จะคิดแล้วคิดอีก จนไม่ยอมควักกันง่าย ๆ
มุมมองที่ 6 คนไทยชอบช่วยเหลือผู้อื่นและชอบบริจาค
การชอบช่วยเหลือผู้อื่นนอกจากจะแสดงถึงนิสัยส่วนบุคคลแล้ว
ยังยึดโยงกับศาสนาพุทธที่สอนให้ช่วยเหลือผู้อื่น
สอนให้สละทรัพย์หรือเสียสละเพื่อคนที่ลำบากกว่าตนเอง คนไทยชอบไปวัด
จะเห็นภาพการบริจาคเงินมากบ้างน้อยบางแล้วแต่บุคคล แต่ที่น่าแปลกใจคือ
แม้ตนเองจะมีเงินไม่มากหรือจำเป็นที่ยังต้องใช้เงิน
คนไทยก็กล้าจะบริจาคเงินจำนวนหนึ่งได้โดยไม่คิดว่าตนเองจะลำบาก
มุมมองที่ 7 คนไทยขอบโซเซียล
สิ่งที่น่าแปลกใจมาก
คือ คนไทยโพสทุกอย่าง โพสรู้ตัวเอง กินอะไร ทำอะไร ไปที่ไหน ไปกับใคร
ส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่มีรูปตนเองมากกว่ารู้ที่จะอยากให้เห็นสถานที่ เช่น
ไปเที่ยวทะเลที่มีชายหาดสวยงาม แต่จะได้เห็นรูปคนโพสบังวิวทะเล
จนไม่รู้ว่าทะเลสวยหาดสวยเป็นอย่างไร รูปที่มีคนอื่น ๆ
ติดไปด้วยก็จะไม่มีการเบลอภาพ และไม่ขออนุญาตคนอื่นที่มีภาพติดไปด้วย
รูปภาพเด็กหรือแม้แต่รู้อุบัติเหตุคนไทยก็จะลงโดยไม่ปิดบังทั้ง ๆ
ที่มันเป็นภาพส่วนบุคคลหรือไม่ใช้ภาพที่ตนเองมีความเกี่ยวข้อง
ทั้งหมดเป็นมุมมองเล็ก ๆ ที่มาจากบทความจากเว็บ [https://thailand-navi.com/thai-personality] ซึ่งผมขออนุญาตย้ำว่าไม่ได้แปลตรง ๆ ทุกตัวอักษรแต่ได้เพิ่มติดความเห็นส่วนตัวเรียบเรียงเสริมด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นมุมมองของบทความนี้ที่มีต่อสังคมไทย ซึ่งเป็นเพียงมุมมองเท่านั้น ที่แต่ละท่านมีประสงการณ์ต่างกัน ไม่ได้มุ่งสร้างความขัดแย้งทางวัฒนธรรมแต่ประการใด หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้สนใจ หากผิดพลาดประการใด ยินดีให้ผู้รู้ชี้แนะให้เหมาะสมครับ
ขอบคุณครับ
ありがとうございます。
twitter @NathJarat
No comments:
Post a Comment