Search This Blog

Showing posts with label บริหารธุรกิจญี่ปุ่น. Show all posts
Showing posts with label บริหารธุรกิจญี่ปุ่น. Show all posts

Wednesday, January 1, 2025

ซอฟต์พาวเวอร์ขนมโตเกียว: การเดินทางข้ามวัฒนธรรมบนแผ่นแป้งจากญี่ปุ่นสู่ความไทย

ไม่นานมานี้ เพื่อนส่งบทความที่ผมเคยเขียนใน Line Today เกี่ยวกับที่มาของขนมโตเกียวด้วยแนวคิดทางภาษาศาสตร์ว่าด้วยการลากเข้าความ (อ่านได้จากลิ้ก์นี้ "ขนมโตเกียว" ใครว่าเป็นขนมญี่ปุ่น ? ในมุมการลากเข้าเป็นไทย-ณัฐพล จารัตน์ | LINE TODAY SHOWCASE | LINE TODAY) บางท่านอาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยตามมุมมองของผม นั่นเป็นเพียงมุมมองหนึ่งด้วยการสันนิษฐานส่วนตัว อย่างไรก็ตาม ความจริงที่หักล้างไม่ได้เลยนั้น คือ ขนมโตเกียวไม่ใช่ขนมดังเดิมของไทยและไม่มีขายในกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นแน่แท้

ก่อนผมจากเดินทางมากรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ผมถ่ายภาพขนมโตเกียวที่ซื้อจากตลาดนัดซอยแถวบ้าน เพียงไว้เพื่อเป็นภาพสำหรับโชว์ชาวเยอรมันเกี่ยวกับขนมต่าง ๆ ของไทย วันผมนำมาลงไว้ใน blog และเขียนเนื้อหาเพิ่มจากเดิมที่เคยลงใน Line Today

ภาพคุ้นตาของรถเข็นขายขนมโตเกียวริมถนน เป็นภาพที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันของคนไทยมาอย่างยาวนาน เสียงกระทะเหล็กกระทบกับตะหลิว แป้งที่ถูกละเลงลงบนกระทะร้อน ๆ และกลิ่นหอมของไส้ต่าง ๆ เป็นสัญญาณบอกว่าขนมโตเกียวพร้อมเสิร์ฟแล้ว ภาพเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางย้อนเวลา เพื่อค้นหาที่มาของขนมที่ชื่อเหมือนเมืองหลวงของญี่ปุ่น แต่กลับไม่มีขายที่โตเกียว

ภาพของขนมโตเกียวของป้าตลาดนัดซอยแอนแนกซ์ เขตสายไหม กรุงเทพฯ

คราวที่แล้วผมเสนอไว้สองทฤษฎีกับการเดินทางข้ามวัฒนธรรมของขนมโตเกียว ผมเสนอว่าต้นกำเนิดของขนมโตเกียวเชื่อมโยงกับขนมญี่ปุ่นยอดนิยม 

  1. อิทธิพลจากโดรายากิ: โดรายากิ ขนมแป้งแพนเค้กสองแผ่นประกบไส้ถั่วแดงกวน เป็นขนมที่คุ้นเคยจากตัวการ์ตูนโดราเอมอน การเข้ามาของห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่น "ไทยไดมารู" ในปี พ.ศ. 2507 พร้อมกับการนำเข้าโดรายากิ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ขนมโตเกียว พ่อค้าแม่ขายอาจนำโดรายากิมาดัดแปลง โดยเปลี่ยนรูปแบบจากแป้งสองแผ่นประกบกัน เป็นแป้งแผ่นเดียวม้วนห่อไส้ต่างๆ เพื่อความสะดวกในการรับประทาน

  2. แรงบันดาลใจจากเครปญี่ปุ่น: ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ประเทศญี่ปุ่นกำลังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู และเครปญี่ปุ่นกลายเป็นอาหารริมทางยอดนิยมในย่านฮาราจูกุและชินจูกุ การเดินทางไปทำงานหรือท่องเที่ยวในญี่ปุ่นของคนไทยในยุคนั้น อาจนำมาสู่การนำเอาแนวคิดของเครปมาประยุกต์ใช้ โดยปรับเปลี่ยนลักษณะแป้งให้หนานุ่มขึ้น และเพิ่มไส้รสชาติแบบไทย ๆ

แล้วขนมโตเกียวเดินทางสู่ประเทศไทยเป็นขนมชื่อ "โตเกียว" ในกรุงเทพมหานครได้อย่างไร จากแนวคิดทั้งสองข้างต้นเป็นช่วงเวลาที่ขนมโตเกียวเริ่มปรากฏในประเทศไทย สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. 2510 เป็นช่วงเวลาที่สอดคล้องกับการเข้ามาของวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านห้างไทยไดมารู ถือเป็นห้างสัญชาติญี่ปุ่นแห่งแรกในประเทศไทย สินค้าและขนมของญี่ปุ่นเริ่มเป็นที่รับรู้ในสังคมกรุงเทพตั้งแต่นั้นมาก

การตั้งชื่อ "ขนมโตเกียว" แทนที่จะเป็น "ขนมญี่ปุ่น" อาจมีเหตุผลดังนี้ ซึ่งผมเคยเขียนในบทความคราวที่แล้วเช่นกัน กล่าวคือ

  • การรับรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นในยุคนั้น โตเกียวเป็นเมืองที่คนไทยรู้จักมากที่สุดในญี่ปุ่น เปรียบเสมือนเป็นภาพแทนของประเทศญี่ปุ่น การใช้ชื่อ "โตเกียว" จึงเป็นการสื่อถึงความเป็นญี่ปุ่นที่เข้าใจง่าย
  • การสร้างความแตกต่างด้วยการใช้ชื่อเฉพาะ "โตเกียว" ช่วยสร้างความแตกต่างจากขนมญี่ปุ่นอื่น ๆ และสร้างเอกลักษณ์ให้กับขนมชนิดนี้
  • หลักการตั้งชื่อในภาษาไทย มักใช้คำบ่งประเภท (ขนม) ตามด้วยคำบ่งสถานที่ (โตเกียว) เป็นรูปแบบที่พบได้ทั่วไปในภาษาไทย เช่นเดียวกับการตั้งชื่ออาหารอื่น ๆ ที่บ่งบอกถึงต้นกำเนิด

ในมุมมองของผมคิดว่า ขนมโตเกียวเป็นมากกว่าขนม คือ เป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรม กล่าวคือ ขนมโตเกียวไม่ใช่แค่ขนม แต่เป็นตัวอย่างของการผสมผสานทางวัฒนธรรม (Cultural Hybridization) ที่เกิดขึ้นจากการรับเอาอิทธิพลจากวัฒนธรรมหนึ่ง มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของอีกวัฒนธรรมหนึ่ง การดัดแปลงขนมญี่ปุ่นให้กลายเป็นขนมโตเกียว แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญาของคนไทย ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการและรสนิยมของคนในสังคม ถ้าพูดแบบสัมยนี้ตามศาสตร์ทางการจัดการนวัตกรรมจะต้องใช้คำว่า นวัตกรรมแบบต่อยอด (Incremental Innovation)

มีคนอยากให้ผมฟังธงว่าใครเป็นคนแรกที่ตั้งชื่อว่าขนมโตเกียว ใครเป็นคนต้นคิดสูตรขนมโตเกียว ขนมโตเกียวขายที่ไหนเป็นแห่งแรก ผมยังคงมีหลักฐานทางเอกสารไม่เพียงพอ ต้นกำเนิดที่แท้จริงของขนมโตเกียวจะยังคงเป็นปริศนา ชวนให้ค้นหาและเป็นเรื่องราวเล่าเพิ่มรสชาติของขนมโตเกียว แต่เรื่องราวของขนมชนิดนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการเดินทางของวัฒนธรรม การปรับตัว และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ขนมโตเกียวจึงไม่ใช่แค่ขนมในตลาดนัดธรรมดา ๆ แต่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาหารของไทย

ภาพของขนมโตเกียวของป้าตลาดนัดซอยแอนแนกซ์ เขตสายไหม กรุงเทพฯ

ในยุคนี้ เพื่อให้ทันตามสมัยนิยมและสนองต่อนโยบายของรัฐบาล ผมอยากชวนวิเคราะห์ว่าขนมโตเกียวเป็น Soft Power ของขนมไทยนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ด้วยการพิจารณาจากหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิยามของ Soft Power และลักษณะเฉพาะของขนมโตเกียว

Soft Power คืออะไรนั้น ต่างคนต่างตีความ นักวิชาการสายรัฐศาสตร์ตีความเป็นเชิงรัฐศาสตร์ คนทางแฟชั่นตีความตามศาสตร์ของกระแสแฟชั่น แต่ไม่ว่านักวิชาการหรือผู้รู้ทั้งแนวสนับสนุนรัฐบาลหรือต่อต้านรัฐบาลจะตีความกันอย่างไร ขอพักไว้ก่อน ในความเห็นส่วนตัว Soft Power คือ ความสามารถในการโน้มน้าวใจหรือดึงดูดใจผู้อื่นให้คล้อยตาม โดยไม่ใช้อำนาจบังคับหรือการใช้กำลัง (Hard Power) แต่ใช้วัฒนธรรม ค่านิยม และนโยบายต่างประเทศที่น่าดึงดูดใจ เป็นเครื่องมือ ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ภาพยนตร์ เพลง อาหาร แฟชั่น หรือแม้แต่วิถีชีวิต ขนมโตเกียวมีคุณสมบัติของ Soft Power อย่างไร ผมคิดว่า

  • ความเป็นสากล (Universality) แม้จะมีชื่อ "โตเกียว" และมีต้นแบบจากขนมญี่ปุ่นบางส่วน แต่ขนมโตเกียวได้ถูกปรับปรุงและพัฒนาให้เข้ากับรสนิยมของคนไทย จนกลายเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รสชาติที่หลากหลาย ทั้งคาวและหวาน ทำให้เข้าถึงคนได้ง่าย ไม่จำกัดเชื้อชาติหรือวัฒนธรรม
  • ความเข้าถึงง่าย (Accessibility) ขนมโตเกียวมีราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด รถเข็นข้างทาง หรือแม้แต่ในห้างสรรพสินค้า ทำให้เข้าถึงผู้คนได้ทุกระดับ
  • ความน่าสนใจ (Appeal) รูปลักษณ์ที่น่ารับประทาน กลิ่นหอม และรสชาติที่อร่อย ทำให้ขนมโตเกียวเป็นที่ดึงดูดใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและวัยรุ่น
  • การเล่าเรื่อง (Storytelling) เรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของขนมโตเกียว แม้จะไม่แน่ชัด แต่ก็เป็นที่สนใจและถูกพูดถึง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และสร้างความผูกพันกับขนมชนิดนี้
  • การปรับตัว (Adaptability) ขนมโตเกียวมีการปรับตัวอยู่เสมอ มีการพัฒนาไส้ใหม่ ๆ ให้เข้ากับยุคสมัย และความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ขนมชนิดนี้ยังคงได้รับความนิยม

แล้วขนมโตเกียวในฐานะ Soft Power เป็นอย่างไร จากคุณสมบัติและอัตลักษณ์ข้างต้น ขนมโตเกียวมีศักยภาพในการเป็น Soft Power ได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในบริบทของอาหารและวัฒนธรรมอาหารของไทย บางรู้ท่านหนึ่งแนะนำให้ผมเพิ่มคำว่า "ร่วมสมัย" ผมก็มีความเห็นไม่คัดค้าน ขนมโตเกียวจะเป็น Soft Power ได้ด้วย

  • การเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารไทย แม้จะมีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่น แต่ขนมโตเกียวในรูปแบบปัจจุบันถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหารริมทางของไทย การเผยแพร่ขนมโตเกียวไปยังต่างประเทศ อาจช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารไทยในวงกว้างมากขึ้น
  • การสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ ให้อาหารเป็นสื่อกลางที่ดีในการสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนขนมโตเกียวและเรื่องราวเกี่ยวกับขนมชนิดนี้ อาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในด้านอื่น ๆ
  • การส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกขนมโตเกียวเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทย นักท่องเที่ยวที่ได้ลิ้มลองขนมโตเกียว อาจเกิดความสนใจในวัฒนธรรมไทยมากขึ้น และอยากกลับมาท่องเที่ยวอีก

หากพิจารณาขนมโตเกียวในบริบทของนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ผมคิดว่ารัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศ ด้วยการบรรจุขนมโตเกียวเข้าในแผนการประชาสัมพันธ์เป็นขนมไทยร่วมสมัย แม้จะมีชื่อที่สื่อถึงญี่ปุ่น แต่ด้วยวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับบริบทไทย ทำให้ขนมชนิดนี้มีศักยภาพที่จะเป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์พาวเวอร์ไทยได้ หากได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างเหมาะสม

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายโดยใช้ขนมโตเกียว ผมเสนอว่า เราต้องดำเนินการ

  1. การสร้างเรื่องราว (Storytelling) และอัตลักษณ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับขนมโตเกียว เช่น การเล่าถึงวิวัฒนาการจากขนมญี่ปุ่นสู่ขนมไทย การปรับปรุงรสชาติและไส้ให้ถูกปากคนไทย หรือการเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย จะช่วยเพิ่มมูลค่าและสร้างความน่าสนใจให้กับขนมชนิดนี้ รวมถึงการสร้างแบรนด์หรือสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นไทยในขนมโตเกียว

  2. การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน ด้วยการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของขนมโตเกียว ทั้งในด้านวัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต และบรรจุภัณฑ์ จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

  3. การส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การจัดงานเทศกาลขนมโตเกียว การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่าง ๆ หรือการร่วมมือกับภาคการท่องเที่ยว จะช่วยเพิ่มการรับรู้และความนิยมของขนมโตเกียว โดยการจัดร่วมกับขนมไทยอื่น ๆ ในคราวเดียวกัน แยกเป็นขนมไทยร่วมสมัย

  4. การสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การพัฒนาทักษะ และการสร้างเครือข่าย จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจ

  5. การเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมอื่น ๆ ด้วยการนำขนมโตเกียวไปผสมผสานกับวัฒนธรรมอื่น ๆ เช่น การนำเสนอขนมโตเกียวในงานเทศกาลวัฒนธรรม หรือการสร้างสรรค์ไส้ขนมโตเกียวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอาหารต่างชาติ จะช่วยเพิ่มความหลากหลายและสร้างความน่าสนใจ

ภาพของขนมโตเกียวของป้าตลาดนัดซอยแอนแนกซ์ เขตสายไหม กรุงเทพฯ


ผมลองคิดเล่นด้วยการประเมินศักยภาพของขนมโตเกียวในฐานะซอฟต์พาวเวอร์ ด้วยวิธี SWOT อย่างง่าย ๆ ธรรมดา ๆ พื้น ๆ ไม่เจาะลึก พบว่า
  • จุดแข็ง คือ ขนมโตเกียวเป็นที่รู้จักและนิยมในประเทศไทย มีราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย และมีรสชาติที่หลากหลาย
  • จุดอ่อน คือ การรับรู้ในระดับสากลยังจำกัด และยังขาดการส่งเสริมและการตลาดอย่างเป็นระบบ
  • โอกาส คือ กระแสความนิยมในอาหารริมทางและวัฒนธรรมอาหาร รวมถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นโอกาสที่ดีในการผลักดันขนมโตเกียว
  • อุปสรรค คือ การแข่งขันกับขนมและอาหารอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงความท้าทายในการรักษาคุณภาพและมาตรฐาน

อย่างที่กล่าวนั้น รัฐบาลสามารถใช้ขนมโตเกียวเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ได้ โดยมุ่งเน้นการสร้างเรื่องราว การพัฒนาคุณภาพ การส่งเสริมการตลาด และการสนับสนุนผู้ประกอบการ การทำเช่นนี้จะช่วยยกระดับขนมโตเกียวให้เป็นที่รู้จักและนิยมในระดับสากล และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย

คราวนี้ ผมมองขนมโตเกียวในฐานะตัวอย่างของ "Thailandization" หมายถึง การทำให้เป็นไทย (หรืออีกคำคือก "Thaification") กล่าวอย่างง่าย คือ ทำให้ของขนมญี่ปุ่นเป็นขนมไทย ขนมโตเกียวแสดงให้เห็นถึงกระบวนการ Thailandization อย่างชัดเจนในหลายด้าน

  1. การรับอิทธิพลจากญี่ปุ่นและแรงบันดาลใจจากขนมญี่ปุ่น เช่น โดรายากิ หรือเครปญี่ปุ่น ซึ่งเป็นขนมที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลาที่ขนมโตเกียวเริ่มปรากฏในประเทศไทย

  2. การปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์และรสชาติได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์จากขนมต้นแบบอย่างชัดเจน เช่น จากโดรายากิที่เป็นแป้งสองแผ่นประกบกัน ก็กลายเป็นแป้งแผ่นเดียวม้วนห่อไส้ต่างๆ นอกจากนี้ รสชาติของขนมโตเกียวก็ได้รับการปรับให้เข้ากับรสนิยมของคนไทย โดยมีไส้ที่หลากหลาย ทั้งคาวและหวาน เช่น ไส้ครีม ไส้ไข่ ไส้กรอก ไส้หมูสับ หรือไส้สังขยา ซึ่งเป็นรสชาติที่คนไทยคุ้นเคย

  3. การตั้งชื่อ "ขนมโตเกียว" เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการ Thailandisation แม้ว่าขนมชนิดนี้จะไม่มีขายในโตเกียวหรือญี่ปุ่น แต่ชื่อนี้กลับสื่อถึงความเป็นญี่ปุ่นในความรับรู้ของคนไทยในยุคนั้น ซึ่งอาจเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ชาญฉลาดในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

  4. การผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยจนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหารริมทางของไทย โดยมักพบเห็นได้ตามรถเข็นข้างทาง หน้าโรงเรียน หรือตลาดนัด ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่คุ้นเคยของคนไทย

  5. การสร้างความหมายใหม่ในบริบทของสังคมไทย โดยไม่ได้เป็นเพียงแค่ขนมญี่ปุ่น แต่กลายเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นที่นิยมในหมู่คนไทยทุกเพศทุกวัย และเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำในวัยเด็กของใครหลาย ๆ คน

ผมสรุปว่าขนมโตเกียวเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของกระบวนการ Thailandisation ที่ประสบความสำเร็จ โดยได้นำเอาแรงบันดาลใจจากขนมญี่ปุ่นมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และผสมผสานให้เข้ากับบริบทของสังคมไทย จนกลายเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นที่นิยม และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหารไทย การวิเคราะห์ผ่านมุมมองของ Thailandisation ช่วยให้เราเข้าใจถึงที่มาและวิวัฒนาการของขนมโตเกียวได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น และเป็นขนมไทยที่เหมาะแก่การสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ในระดับนโยบายเพื่อให้เป็นซอฟต์พาวเวอร์ขนมไทยได้อีกชิ้นหนึ่ง

ณัฐพล จารัตน์

กรุงเบอร์ลิน

อากาศเช้านี้ 3 องศา พยากรณ์อากาศคาดว่าหิมะจะตกครั้งแรกของปีนี้ 

Sunday, December 29, 2024

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่นและการบริหารธุรกิจญี่ปุ่น: แนวคิด Hirozukuri (Human Resource Development and Business Management in Japan: The Hirozukuri Philosophy)

Hirozukuri: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแบบฉบับญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development - HRD) และการบริหารธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ หนึ่งในแนวคิดสำคัญที่ญี่ปุ่นใช้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรและสังคมคือ "Hirozukuri" หรือการสร้างคน แนวคิดนี้ไม่ได้เน้นเพียงการพัฒนาทักษะการทำงานของพนักงาน แต่ยังรวมถึงการเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นทีม การปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กร และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลในที่ทำงาน

ภาพนี้ถ่ายที่เมืองโอซากา

Hitozukuri: ความหมายเชิงปรัชญาของการสร้างคน

คำว่า Hitozukuri เป็นรากฐานสำคัญของแนวคิด Hirozukuri ซึ่งสะท้อนถึงการพัฒนาคนในมุมมองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ คำนี้ประกอบด้วย "hito" ที่แปลว่า "คน" และ "zukuri" ที่แปลว่า "สร้าง ผลิต หรือทำ" แต่ในเชิงปรัชญามีความหมายลึกซึ้งกว่านั้น

  1. hito (คน):

    • มนุษย์ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ประกอบด้วยสองมิติหลัก:

      • ด้านที่มองเห็น: เช่น มารยาท พฤติกรรม ทักษะการทำงาน (Hard Skills) หรือสิ่งที่สามารถแสดงออกได้ทันที

      • ด้านที่มองไม่เห็น: เช่น นิสัย ความขยัน จริยธรรม (Soft Skills) หรือส่วนลึกที่สะท้อนถึงตัวตนและจิตวิญญาณ

    • ในเชิงเปรียบเทียบตามทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Theory) ด้านที่มองเห็นคือส่วนที่อยู่เหนือผิวน้ำ ขณะที่ด้านที่มองไม่เห็นคือส่วนลึกที่ซ่อนอยู่ใต้น้ำ

  2. zukuri (สร้าง):

    • นอกจากความหมายทั่วไปว่า "ผลิต" หรือ "ทำ" คำนี้ยังสื่อถึงกระบวนการฝึกฝน บ่มเพาะ และอบรม ซึ่งต้องใช้ทั้งความตั้งใจและความอดทนในการพัฒนาคน

สมการของ Hitozukuri: Body + Soul = hito

ในมุมมองของญี่ปุ่น การสร้าง "hito" หรือคนที่สมบูรณ์ต้องอาศัยทั้งการพัฒนาร่างกาย (Body) และจิตใจ (Soul) ผ่านกระบวนการอบรมและฝึกฝน Hard Skills และ Soft Skills ไปพร้อมกัน แนวคิดนี้แตกต่างจากโลกตะวันตกซึ่งมักเน้นเหตุผล กฎหมาย และวิทยาศาสตร์ ในขณะที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับศาสนา ความเชื่อ และจริยธรรมเป็นฐาน

หลักการสำคัญของ Hirozukuri

  1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อความยั่งยืน

    • ในระบบการทำงานของญี่ปุ่น การพัฒนาคนถือเป็นหัวใจสำคัญ เพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นรากฐานของความสำเร็จในทุกองค์กร แนวคิด Hirozukuri มุ่งเน้นการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะพนักงานอย่างต่อเนื่อง โดยไม่เพียงแต่ในเชิงทักษะวิชาชีพ แต่ยังรวมถึงการพัฒนาด้านจิตใจและคุณธรรม

    • ตัวอย่างเช่น บริษัทใหญ่ในญี่ปุ่นมักจัดโปรแกรมฝึกอบรมให้พนักงานได้พัฒนาทักษะในสายงานของตนและมีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่นอกเหนือจากงานประจำ

  2. การทำงานเป็นทีมและความกลมกลืน

    • วัฒนธรรมองค์กรในญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับ "Wa" หรือความกลมกลืนในที่ทำงาน การสร้างทีมที่เข้มแข็งและการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นจุดเด่นของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแบบ Hirozukuri

    • ในการประชุมหรือการตัดสินใจ การฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมืออย่างแท้จริง

  3. การปลูกฝังจริยธรรมและวัฒนธรรมองค์กร

    • นอกเหนือจากทักษะในการทำงาน แนวคิด Hirozukuri ยังเน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม พนักงานทุกคนได้รับการสนับสนุนให้ปฏิบัติตนอย่างมีศักดิ์ศรีและเคารพผู้อื่น

    • วัฒนธรรมองค์กรในญี่ปุ่นส่งเสริมให้พนักงานมีความซื่อสัตย์และมุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อประโยชน์สูงสุดของทั้งองค์กรและสังคม

  4. การเรียนรู้ตลอดชีวิต

    • แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เป็นอีกหนึ่งแกนหลักของ Hirozukuri พนักงานได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ทั้งในด้านทักษะวิชาชีพและการพัฒนาบุคลิกภาพ

    • หลายบริษัทในญี่ปุ่นมีการจัดอบรมหรือการฝึกอบรมระยะยาวที่ช่วยให้พนักงานสามารถเติบโตในสายงานและเพิ่มพูนความรู้ใหม่ ๆ

การบริหารธุรกิจญี่ปุ่น: แนวคิดที่ส่งเสริม Hirozukuri

  1. Kaizen (การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง)

    • Kaizen หมายถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในทุกระดับขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับล่างหรือผู้บริหารระดับสูง ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนา

    • Kaizen เชื่อมโยงกับ Hirozukuri ในแง่ที่ว่าการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

  2. Nemawashi (การปรึกษาหารือก่อนตัดสินใจ)

    • Nemawashi เป็นกระบวนการที่เน้นการหารือและสร้างความเข้าใจระหว่างทีมงานก่อนที่จะตัดสินใจในเรื่องสำคัญ การบริหารที่ดีต้องคำนึงถึงความเห็นของทุกฝ่าย ซึ่งช่วยส่งเสริมความสามัคคีและลดความขัดแย้งในองค์กร

  3. Just-in-Time (ระบบผลิตแบบทันเวลา)

    • ระบบ Just-in-Time มุ่งเน้นการลดของเสียและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต แม้แนวคิดนี้จะเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานให้มีความเชี่ยวชาญในการทำงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาที่จำกัด

  4. Ringi (การอนุมัติแบบเป็นขั้นตอน)

    • Ringi คือระบบการตัดสินใจที่ให้พนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นและอนุมัติเป็นลำดับขั้นตอน ความร่วมมือนี้ช่วยสร้างความโปร่งใสและความไว้วางใจในองค์กร

ตัวอย่างการนำ Hirozukuri ไปใช้ในองค์กรญี่ปุ่น

  1. โตโยต้า (Toyota)

    • โตโยต้ามีชื่อเสียงในเรื่องของระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ (Toyota Production System - TPS) และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เน้นการฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะของพนักงานเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

  2. โซนี่ (Sony)

    • บริษัทโซนี่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านโครงการฝึกอบรมและการสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Hirozukuri

  3. มิตซูบิชิ (Mitsubishi)

    • มิตซูบิชิมุ่งเน้นการสร้างทีมที่เข้มแข็งผ่านการพัฒนาบุคลากรและการส่งเสริมความกลมกลืนในองค์กร พนักงานได้รับการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง

Hitozukuri และ Hirozukuri เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาทักษะ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร และการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร องค์กรที่นำแนวคิดนี้ไปใช้จะไม่เพียงแต่ได้พนักงานที่มีประสิทธิภาพ แต่ยังสร้างวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและยั่งยืนอีกด้วย

🎎🎎🎎🎎🎎🎎🎎🎎🎎🎎👺👺👺👺🗾🗾🗾🗾🗾🗾🗾🏯🏯🏯🏣🏣🏣👹👹👹

Hirozukuri: A Unique Approach to Human Resource Development

Japan is renowned for its exceptional approach to human resource development (HRD) and efficient business management. One of the most significant concepts that underpin the success of Japanese organizations and society is "Hirozukuri", which translates to "building people." This philosophy goes beyond the mere development of employees' work skills. It includes fostering team spirit, cultivating organizational culture, and nurturing strong interpersonal relationships within the workplace.

Hitozukuri: The Philosophical Meaning of Building People

Hitozukuri, a foundational concept within Hirozukuri, reflects the holistic development of individuals in both physical and spiritual dimensions. The term combines "hito" (person) and "zukuri" (to create, produce, or build). However, its philosophical implications run deeper than the literal translation.

  1. Hito (Person):

    • In Japanese culture, a person is perceived as comprising two primary dimensions:

      • Visible aspects: These include etiquette, behavior, and job-related skills (Hard Skills) that are immediately apparent.

      • Invisible aspects: These encompass character traits, diligence, ethics, and morality (Soft Skills) or the deeper qualities of one’s soul.

    • Analogous to the iceberg theory, the visible dimension represents the portion above the surface, while the invisible dimension symbolizes the submerged, foundational part of the iceberg.

  2. Zukuri (To Create):

    • While generally meaning "to produce" or "to build," in the context of Hitozukuri, zukuri also conveys cultivating, nurturing, and training, requiring dedication and persistence in developing people.

The Hitozukuri Equation: Body + Soul = Hito

From a Japanese perspective, building a complete individual requires the development of both the body (physical skills) and the soul (spiritual attributes). This integrated approach emphasizes fostering both Hard Skills and Soft Skills simultaneously. Unlike Western frameworks that often prioritize logic, laws, and science, the Japanese approach is deeply rooted in religion, beliefs, and ethics.

Core Principles of Hirozukuri

  1. Sustainable Human Resource Development

    • In Japanese workplaces, developing people is a cornerstone of organizational success. Hirozukuri emphasizes continuous training and skill enhancement for employees, focusing not only on professional competencies but also on moral and ethical growth.

    • For example, major Japanese corporations often provide long-term training programs for employees to enhance their professional skills and explore new areas beyond their immediate job roles.

  2. Teamwork and Harmony

    • Japanese organizational culture prioritizes "Wa" or harmony within the workplace. Building strong teams and promoting collaborative efforts are central to Hirozukuri’s approach to human resource development.

    • Meetings and decision-making processes emphasize listening to all viewpoints to foster mutual understanding and cooperation.

  3. Ethics and Organizational Culture

    • Beyond work-related skills, Hirozukuri focuses on instilling virtues, ethics, and social responsibility. Employees are encouraged to act with dignity and respect for others.

    • Japanese organizations nurture integrity and a commitment to excellence, benefiting both the organization and society as a whole.

  4. Lifelong Learning

    • Lifelong learning is another fundamental aspect of Hirozukuri. Employees are continually encouraged to improve themselves in both professional and personal domains.

    • Many Japanese companies organize long-term training programs that enable employees to grow within their careers while acquiring new knowledge and perspectives.

Japanese Business Management: Concepts Supporting Hirozukuri

  1. Kaizen (Continuous Improvement)

    • Kaizen emphasizes continuous improvement at all levels of an organization. Everyone, from entry-level employees to top executives, contributes to this ongoing development process.

    • Kaizen aligns with Hirozukuri in that continuous human development facilitates efficient organizational improvement.

  2. Nemawashi (Pre-Decision Consultation)

    • Nemawashi involves extensive discussions and consensus-building before making significant decisions. Effective management ensures that all voices are heard, promoting unity and reducing conflicts within the organization.

  3. Just-in-Time (JIT) Production System

    • The JIT system focuses on minimizing waste and maximizing efficiency in production processes. This highlights the importance of training and developing employees to master their roles, ensuring they perform effectively within tight time constraints.

  4. Ringi (Step-by-Step Approval System)

    • Ringi is a decision-making system that encourages employees at all levels to participate in proposing ideas and approvals in a step-by-step manner. This collaboration fosters transparency and trust within the organization.

Examples of Hirozukuri in Japanese Organizations

  1. Toyota

    • Renowned for its Toyota Production System (TPS), Toyota emphasizes employee training and skill development, enabling staff to adapt quickly to changing demands.

  2. Sony

    • Sony promotes lifelong learning through various training programs and encourages employees to foster creativity and innovation, aligning closely with Hirozukuri principles.

  3. Mitsubishi

    • Mitsubishi focuses on building cohesive teams by developing employees and fostering harmony within the organization. Employees are actively involved in decision-making and continuous process improvement.

Incorporating Hirozukuri into Global Organizations

While Hirozukuri is deeply rooted in Japanese culture, its principles can be adapted by global organizations by focusing on:

  • Comprehensive Training Programs: Offering opportunities for employees to learn new skills beyond their immediate job responsibilities.

  • Fostering Organizational Harmony: Encouraging teamwork and collaboration to strengthen relationships within teams.

  • Promoting Lifelong Learning: Providing avenues for employees to continuously develop themselves professionally and personally.

🎎🎎🎎🎎🎎🎎🎎🎎🎎🎎👺👺👺👺🗾🗾🗾🗾🗾🗾🗾🏯🏯🏯🏣🏣🏣👹👹👹

Hirozukuri: Ein einzigartiger Ansatz zur Entwicklung menschlicher Ressourcen

Japan ist bekannt für seinen herausragenden Ansatz zur Entwicklung menschlicher Ressourcen (HRD) und effizientes Unternehmensmanagement. Eines der wichtigsten Konzepte, das den Erfolg japanischer Organisationen und der Gesellschaft untermauert, ist "Hirozukuri", was übersetzt "Menschenaufbau" bedeutet. Diese Philosophie geht über die bloße Entwicklung von Arbeitsfähigkeiten der Mitarbeiter hinaus. Sie umfasst die Förderung des Teamgeistes, die Pflege der Unternehmenskultur und die Schaffung starker zwischenmenschlicher Beziehungen am Arbeitsplatz.

Hitozukuri: Die philosophische Bedeutung des Menschenaufbaus

Hitozukuri, ein grundlegendes Konzept innerhalb von Hirozukuri, spiegelt die ganzheitliche Entwicklung von Individuen in körperlichen und spirituellen Dimensionen wider. Der Begriff kombiniert "hito" (Person) und "zukuri" (erstellen, produzieren oder bauen). Seine philosophischen Implikationen reichen jedoch über die wörtliche Übersetzung hinaus.

  1. Hito (Person):

    • In der japanischen Kultur wird eine Person als eine Einheit aus zwei primären Dimensionen wahrgenommen:

      • Sichtbare Aspekte: Dazu gehören Etikette, Verhalten und arbeitsbezogene Fähigkeiten (Hard Skills), die sofort erkennbar sind.

      • Unsichtbare Aspekte: Dazu gehören Charaktereigenschaften, Fleiß, Ethik und Moral (Soft Skills) oder die tieferen Qualitäten der Seele.

    • Im Vergleich zur Eisberg-Theorie repräsentiert die sichtbare Dimension den Teil über der Oberfläche, während die unsichtbare Dimension den verborgenen, grundlegenden Teil des Eisbergs symbolisiert.

  2. Zukuri (Erstellen):

    • Während es allgemein "produzieren" oder "bauen" bedeutet, vermittelt zukuri im Kontext von Hitozukuri auch Kultivieren, Pflegen und Trainieren, was Hingabe und Ausdauer bei der Entwicklung von Menschen erfordert.

Die Hitozukuri-Gleichung: Körper + Seele = Hito

Aus japanischer Sicht erfordert der Aufbau eines vollständigen Individuums die Entwicklung von Körper (körperliche Fähigkeiten) und Seele (spirituelle Attribute). Dieser integrierte Ansatz betont, sowohl Hard Skills als auch Soft Skills gleichzeitig zu fördern. Im Gegensatz zu westlichen Rahmen, die oft Logik, Gesetze und Wissenschaft priorisieren, ist der japanische Ansatz tief in Religion, Glauben und Ethik verwurzelt.

🎎🎎🎎🎎🎎🎎🎎🎎🎎🎎👺👺👺👺🗾🗾🗾🗾🗾🗾🗾🏯🏯🏯🏣🏣🏣👹👹👹

Wednesday, April 26, 2023

知られざるタイ人の性格や特徴7選 : 7 นิสัยและเอกลักษณ์ของคนไทยที่คุณยังไม่รู้

2-3 วันก่อน เพื่อนชาวญี่ปุ่นส่งลิ้งก์นี้ [https://thailand-navi.com/thai-personality] เป็นบทความภาษาญี่ปุ่นชื่อบทความ 知られざるタイ人の性格や特徴7選 (7 นิสัยและเอกลักษณ์ของคนไทยที่คุณยังไม่รู้)

ผู้เขียนบทความนี้ ผมก็ไม่ทราบว่าเขียนจากมุมมองของชาวญี่ปุ่นเองหรือเป็นคนไทยเขียน เป็นบทความที่น่าสนใจสำหรับการมองแนวคิดเชิงความแตกต่างทางวัฒธรรมธรรม การบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น หรือการบริหารธุรกิจแบบญี่ปุ่น เพื่อความเข้าใจระหว่างกันของคนไทยกับญี่ปุ่น ขออนุญาตแปลและเรียบเรียงเสริมเป็นภาษาไทย

มุมมองทั้งหมด 7 ข้อ ตามบทความนี้ เริ่มกันนะครับ


มุมมองที่ 1 คนไทยอยู่บนหลักการ "ไม่เป็นไร" (อาจหมายความว่า "คนไทยอะไร ๆ ก็ไม่เป็นไร")
ผู้เขียนบรรยายว่า คำว่า "ไม่เป็นไร" ของคนไทยนั้น อาจมีหลายความหมาย เช่นหมายถึง ไม่เป็นไร ไม่แคร์ เดี๋ยวมันก็ผ่านไปได้ ไม่ต้องคิดมาก ให้อภัยเถอะ หรือแม่แต่เป็นการแสเงความขอบคุณหรือแสดงความยินดี ก็ได้ในบางกรณี จะได้ยินคนไทยพูดบอกมาก ๆ ในแต่ละวันในหลายบริบทของการสนทนา แต่สิ่งสำคัญหคือความหมายลึก ๆ ของ "ไม่เป็นไร" แสดงถึง นิสัยใจคอและลักษณะนิสัยของคนไทยที่มีรากฐานจากการรักสงบ รักสันติ และให้อภัย

สำหรับคนญี่ปุ่น "ไม่เป็นไร" ดูจะเป็นเรื่องที่ "ไม่ไม่เป็นไร" ภาษาญี่ปุ่นน่าจะใกล้เคียงกับคำว่า 大丈夫 (ไดโจบุ : Daijobu) การพูดไม่เป็นไรเป็นการปัดความรับผิดชอบหรือแสดงออกถึงการไม่รู้สำนึกของการกระทำที่ผิดพลาด ไม่ใช่ทุกเรื่องที่จะให้อภัย คนญี่ปุ่นอาจไม่เข้าใจได้ว่า คนไทยจะให้อภัยหรือแล้วต่อกันง่าย ๆ เพียงคำว่า "ไม่เป็นไร" เท่านั้นหรอ

ในมุมมองของผมเอง รากฐานสำคัญของ "ไม่เป็นไร" ได้รับอิทธิพลจากหลักธรรมของศาสนาพุทธ หลักการให้อภัย การไม่คิดพยาบาท เลิกแล้วต่อกันไม่เป็นกรรมเวรต่อกัน หรืออีกนัยคือ การอโหสกรรม โดยการใช้คำลำลองจาก "อโหสิกรรม" แทนด้วย "ไม่เป็นไร"  เมื่อให้อภัยก็จะได้บุญกุศล

ไม่ทราบว่าพี่ ๆ คิดเห็นอย่างไรบ้างครับ

มุมมองที่ 2 คนไทยชอบพูดเรื่องส่วนตัว 
ทำความเข้าใจคำว่า "เรื่องส่วนตัว" ในมุมของคนญี่ปุ่นจะหมายถึง เช่น พอตัวเองรู้สึกอ้วน พอเจอเพื่อนที่ทำงานก็จะบอกว่า ตัวเองอ้วนขึ้น หรือแต่งหน้าไม่สวยก็จะบอกว่าวันนี้แต่งหน้าไม่สวย วันนี้ไม่อาบน้ำ วันนี้ไม่ได้ทานข้าวเช้า เป็นต้น คนไทยเองเจอหน้ากันก็จะพูดแบบไม่ได้คิดว่ามันเป็นเรื่องที่ต้องเป็นความลับหรือเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่อยากให้ใครรู้ เทียบกับคนญี่ปุ่น ถ้าเราไปบอกว่า ไม่ได้เจอกันนานเลยเธอดูอ้วนจัง เธอหนักเท่าไร คนญี่ปุ่นที่ถูกถามคงแสดงความไม่พอใจ เพราะมันเป็นเรื่องส่วนตัว หรืออาจมองได้ว่าเป็นการบูลลี่ด้วยวาจาก็ได้

ในข้อด้วยย่อมมีข้อดี แม้ว่าเรื่องส่วนตัวในมุมมองของคนญี่ปุ่นดูเป็นเรื่องต้องระมัดระมัง แต่การพูดเรื่องส่วนตัวเชิงบวก เช่น เธอสวยจังเลย เสื้อเธอสวยจังซื้อที่ไหน นาฬิกาไฮโซจังเลย สำหรับหลาย ๆ คนดีใจที่ได้รับการพูดเชิงชมเชย

ฉะนั้น คนญี่ปุ่นจึงไม่สามารถตัดสินได้ว่า การพูดเรื่องส่วนตัวของคนไทยเป็นเรื่องที่ผิดวิสัย แต่การที่คนญี่ปุ่นมาอยู่ไทยแล้วไม่พูดเรื่องส่วนตัวนี่แหละเป็นเรื่องแปลก เป็นเรื่องของความแตกต่างทางวัฒนธรรมของไทยกับญี่ปุ่น ที่จะต้องใช้หลักการบริหารข้ามวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นมาช่วยอธิบาย

มุมมองที่ 3 คนไทยมีปฏิกิริยาเกินจริงในโรงภาพยนตร์

ในมุมมองนี้ เมื่อนานมาแล้ว ผมได้ดูหนังเรื่อง สตรีเหล็ก ที่เข้าฉายที่ญี่ปุ่น ทั้ง ๆ ที่มีฉากตลกหรือฉากที่ดูตกใจ คนญี่ปุ่นในโรงหนังนั่งนิ่ง จะหัวเราะเบา ๆ มีผมที่หัวเราะจนเพื่อนญี่ปุ่นที่ไปด้วยกันสะกิดให้หัวเราะเบา ๆ ในญี่ปุ่น เป็นเรื่องปกติที่จะเงียบที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่โรงภาพยนตร์ของไทยแตกต่างออกไป เมื่อมีฉากตลกก็จะมีเสียงหัวเราะหรือเสียงตบมือดังขึ้นแบบไม่ต้องแคร์สื่อ ก็เพราะมันเป็นหนังตลกถูกไหม ถ้าจะให้กลั้นหัวเราะจะไปเสียเงินดูทำไม เราไปดูก็เพราะอยากหัวเราะ ดูเพื่อความบันเทิง ไม่ดูเพื่อเก็บกดความรู้สึก พี่ ๆ ไม่ต้องคิดเลยว่าถ้าคนญี่ปุ่นดูหนังเศร้า หรือหนังผีน่ากลัว ๆ คงจะนิ่ง ๆ แต่สำหรับคนไทย ดูหนังสือเศร้าเราก็ร้องไห้เปิดเผย จะหรี๊ดตอนผีกระโดดออกมา เราก็กรี๊ดดังลั่นไม่มีใครจะสนใจ ลักษณะของคนญี่ปุ่นจะเก็บความรู้สึก รักษาอารมณ์ไม่แสดงออกชัดเจน หลายครั้งที่คนต่างชาติไม่อาจเข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงของคนญี่ปุ่นได้

มุมมองที่ 4 ผุ้ชายไทยใจดีแต่ชอบนอกใจ
สาว ๆ ชาวญี่ปุ่นมองว่า ผู้ชายไทยนิสัยดี มีความเป็นสุภาพบุรุษทั้งคำพูดและการกระทำที่เปิดเผยชัดเจน แต่ขึ้นชื่อเรื่องการนอกใจเป็นที่หนึ่ง เช่น ผู้ชายไทยช่วยถูกของให้ผู้หญิง ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นไม่ทำ ผู้ชายไทยมักเป็นผู้จ่ายมากกว่าจะแชร์ ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นไม่ทำ ผู้ชายไทยพูดจาอ่อนหวาน ชมฝ่ายหญิงเสมอ ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นไม่ทำ เรื่องสำคัญที่สาวญี่ปุ่นชอบชายไทย คือ ผู้ชายไทยช่วยทำงานบ้าน ช่วยเลี้ยงลูก ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ช่วย


มุมมองที่ 5 สาวไทยมีนิสัยห่วงไยแต่ขี้หึง
ความห่วงไยกับขี้หึงเป็นเรื่องที่เข้าใจและแยกไม่ได้ ตอนไหนห่วงไย ตอนไหนหึง แม้กระทั้งตอนโกรธยังไม่เข้าใจว่าโกรธแบบนี้คือโกรธแบบห่วงไย หรือแบบหึงหวง 
อย่างไรก็ตามไม่ว่าสาวไทยหรือสาวญี่ปุ่นก็เป็นเรื่องที่เข้าได้ยาก ถามว่าทำไมทำอย่างนั้น คนไทยจะตอบว่า "จะได้ทำบุญ" "คนนั้นน่าสงสาร" หรือ "จะได้ช่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ บรรเทาความทุกข์อยากให้คนอื่น" ซึ่งที่ญี่ปุ่นการจะบริจาคให้ใคร จะคิดแล้วคิดอีก จนไม่ยอมควักกันง่าย ๆ

มุมมองที่ 6 คนไทยชอบช่วยเหลือผู้อื่นและชอบบริจาค
การชอบช่วยเหลือผู้อื่นนอกจากจะแสดงถึงนิสัยส่วนบุคคลแล้ว ยังยึดโยงกับศาสนาพุทธที่สอนให้ช่วยเหลือผู้อื่น สอนให้สละทรัพย์หรือเสียสละเพื่อคนที่ลำบากกว่าตนเอง คนไทยชอบไปวัด จะเห็นภาพการบริจาคเงินมากบ้างน้อยบางแล้วแต่บุคคล แต่ที่น่าแปลกใจคือ แม้ตนเองจะมีเงินไม่มากหรือจำเป็นที่ยังต้องใช้เงิน คนไทยก็กล้าจะบริจาคเงินจำนวนหนึ่งได้โดยไม่คิดว่าตนเองจะลำบาก

มุมมองที่ 7 คนไทยขอบโซเซียล
สิ่งที่น่าแปลกใจมาก คือ คนไทยโพสทุกอย่าง โพสรู้ตัวเอง กินอะไร ทำอะไร ไปที่ไหน ไปกับใคร ส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่มีรูปตนเองมากกว่ารู้ที่จะอยากให้เห็นสถานที่ เช่น ไปเที่ยวทะเลที่มีชายหาดสวยงาม แต่จะได้เห็นรูปคนโพสบังวิวทะเล จนไม่รู้ว่าทะเลสวยหาดสวยเป็นอย่างไร รูปที่มีคนอื่น ๆ ติดไปด้วยก็จะไม่มีการเบลอภาพ และไม่ขออนุญาตคนอื่นที่มีภาพติดไปด้วย รูปภาพเด็กหรือแม้แต่รู้อุบัติเหตุคนไทยก็จะลงโดยไม่ปิดบังทั้ง ๆ ที่มันเป็นภาพส่วนบุคคลหรือไม่ใช้ภาพที่ตนเองมีความเกี่ยวข้อง

ทั้งหมดเป็นมุมมองเล็ก ๆ ที่มาจากบทความจากเว็บ [https://thailand-navi.com/thai-personality] ซึ่งผมขออนุญาตย้ำว่าไม่ได้แปลตรง ๆ ทุกตัวอักษรแต่ได้เพิ่มติดความเห็นส่วนตัวเรียบเรียงเสริมด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นมุมมองของบทความนี้ที่มีต่อสังคมไทย ซึ่งเป็นเพียงมุมมองเท่านั้น ที่แต่ละท่านมีประสงการณ์ต่างกัน ไม่ได้มุ่งสร้างความขัดแย้งทางวัฒนธรรมแต่ประการใด หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้สนใจ หากผิดพลาดประการใด ยินดีให้ผู้รู้ชี้แนะให้เหมาะสมครับ

ขอบคุณครับ
ありがとうございます。

twitter @NathJarat


Saturday, March 9, 2013

#งานวิจัยนักศึกษา (งานกลุ่ม) : สำรวจการใช้ภาษาญี่ปุ่นในสถานประกอบการของนักศึกษารุ่นที่ 2 คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2555

***งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกลุ่ม เพื่อการฝึกหัดการทำวิจัยเบื้องต้น ข้อมูลบางประการอาจยังไม่สามารถนำมาอ้างอิงเชิงวิชาการได้***

 -----------------------------------------------------------

ชื่อเรื่อง: การสำรวจการใช้ภาษาญี่ปุ่นในสถานประกอบการของนักศึกษารุ่นที่ 2 คณะ บริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น

ผู้วิจัย: นางสาว ศศิธารา  สีอุ่น และคณะ

สถานศึกษา: คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 

ปีที่ทำวิจัยสำเร็จ: 2556

อาจารย์ประจำวิชา: อาจารย์ณัฐพล จารัตน์

 บทคัดย่อ

โครงงานวิจัย “สำรวจการใช้ภาษาญี่ปุ่นในสถานประกอบการของนักศึกษารุ่นที่ 2 คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น” จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจการใช้ทักษะความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาที่ได้สั่งสมและเรียนรู้จากสถานศึกษา และนำไปใช้ในสถานประกอบการจริง โดยมุ่งหลักของการใช้ภาษาญี่ปุ่น สอดคล้องตามเป้าหมายหลักของสถาบันเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่น “สร้างนักคิด ผลิตนักปฏิบัติ”

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษารุ่นที่ 2 คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำนวน 100 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ  สาขาบริหารธุรกิจ  สถาบันเทคโนโลยีไทย ญี่ปุ่น มีศักยภาพในการใช้ภาษาญี่ปุ่นในสถานประกอบการได้ดี

2. นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ  สาขาบริหารธุรกิจ  สถาบันเทคโนโลยีไทย ญี่ปุ่น มีศักยภาพในการทำงานที่ดี มีคุณภาพ

 -----------------------------------------------------------