Search This Blog

Showing posts with label ประตูบรันเดนบูร์ก. Show all posts
Showing posts with label ประตูบรันเดนบูร์ก. Show all posts

Tuesday, February 27, 2024

เดินถ่ายภาพที่ "ประตูบรันเดนบูร์ก" สัญลักษณ์แห่งชัยชนะและความเจริญรุ่งเรืองของเยอรมนี

 


มาอยู่เบอร์ลินจะเกือยปีแล้ว ยังไม่เคยเขียนเกี่ยวกับ "ประตูบรันเดินบูร์ก" (Brandenburg Gate) สักที เมื่อวานมาเดินแถวนี้พอดี ถือโอกาสเล่าถึงสถานที่แห่งนี้คร่าว ๆ ครับผม

"ประตูบรันเดินบูร์ก" (Brandenburg Gate) ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การเมือง อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ การรวมชาติ สันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นหนึ่งเดียวของเยอรมนี

ประตูบรันเดินบวร์กเริ่มก่อสร้างขึ้นในปี 1788 และเสร็จสิ้นปี 1791 (ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1) สร้างโดยกษัตริย์ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 แห่งปรัสเซีย เป็นการจำลองประตูชัยในกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ประตูแห่งนี้เคยเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะของปรัสเซีย และจักรวรรดิเยอรมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ต่อมาประตูบรันเดินบวร์คก็ได้รับการบูรณะจนเสร็จสิ้นดังในปัจจุบัน (ลิ้งก์ภาพประกอบ https://www.deutsche-digitale-bibliothek.de/item/V5SET6LSCSZUZRIDH5I5DAUJWTKB2SGD)

ประตูบรันเดินบวร์กเป็นสถานที่จัดงานสำคัญ ๆ ของเยอรมนี เช่น งานฉลองวันชาติเยอรมัน และงานเฉลิมฉลองปีใหม่ ยังปรากฏในภาพยนตร์ ละคร และงานศิลปะมากมาย



ประตูบรันเดินบวร์กตั้งอยู่บนถนนอุนเทอร์ เดน ลินเดน (Unter den Linden) ซึ่งเคยเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเยอรมนีตะวันตกและตะวันออกด้วยกำแพงเบอร์ลิน ต่อมาการพังทลายของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 (พ.ศ.2532) ทำให้ประตูบรันเดินบวร์กกลายเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพและเสรีภาพ ยังเป็นสถานที่รำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากการแบ่งแยกเยอรมนี

เมื่อปีที่แล้ว กลุ่ม The Last Generation นักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศได้พ่นสีส้มและเหลืองบนเสาประตูบรันเดนบูร์ก แสดงการต่อต้านรัฐบาลเชิงสัญลักษณ์ เพื่อผลักดันข้อเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลภายในปี 2023 (พ.ศ. 2573) ผลของการกระทำดังกล่าวกลับได้รับเสียงประณามและมีผู้ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก รวมถึงกลุ่มคนที่ต่อต้านรัฐบาลก็ไม่เห็นด้วยกับการกระทำนี้ครับ (ลิ้งก์ข่าวประกอบ https://www.posttoday.com/international-news/699607)

ปัจจุบัน ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว บางท่านถึงกับพูดว่าถ้ามาไม่ถึง "ประตูบรันเดินบูร์ก" ก็เหมือนยังมาไม่ถึงเบอร์ลิน หรือบางท่านก็บอกว่าเหมือนมาไม่ถึงหัวใจเชิงสัญลักษณ์ของเยอรมนีครับผม
 


อ่อ ลืมพูดถึง รูปปั้นเทพีที่อยู่บนประตูบรันเดินบูร์ก คือ เทพีวิคตอเรีย (Victoria) เทพีแห่งชัยชนะตามตำนานเทพปกรณัมโรมัน  เป็นรูปปั้นทองสัมฤทธิ์ ยืนอยู่บนรถม้าศึก 4 ล้อ (The Quadriga) เทพีสวมชุดยาว มือขวาชูพวงหรีด มือซ้ายถือคทา ม้าทั้ง 4 กำลังวิ่งทะยานไปข้างหน้า เป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ ความสำเร็จ และความรุ่งเรือง สื่อถึงความปรารถนาของชาวเยอรมันที่จะมีชัยชนะ และความเจริญรุ่งเรืองครับ ในยุคหนึ่งจักรพรรดินโปเลียนของจักรวรรดิฝรั่งเศส ทรงเคยยึดไปไว้ที่กรุงปารีสหลังจากเอาชนะปรัสเซียในปี 1806 (พ.ศ.2349 หรือสมัยรัชกาลที่ 1 เช่นกันครับ) 10 ปีต่อมา ปรัสเซียได้นำรูปปั้นวิคตอเรียกลับมาประดับบนประตูบรันเดินบูร์กอีกครั้ง จึงสื่อถึงชัยชนะของปรัสเซียเหนือฝรั่งเศสในสงครามนโปเลียน ช่วยให้ปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจในยุโรป 

อ่อ ลืมพูดถึง รูปปั้นเทพีที่อยู่บนประตูบรันเดินบูร์ก คือ เทพีวิคตอเรีย (Victoria) เทพีแห่งชัยชนะตามตำนานเทพปกรณัมโรมัน  เป็นรูปปั้นทองสัมฤทธิ์ ยืนอยู่บนรถม้าศึก 4 ล้อ (The Quadriga) เทพีสวมชุดยาว มือขวาชูพวงหรีด มือซ้ายถือคทา ม้าทั้ง 4 กำลังวิ่งทะยานไปข้างหน้า เป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ ความสำเร็จ และความรุ่งเรือง สื่อถึงความปรารถนาของชาวเยอรมันที่จะมีชัยชนะ และความเจริญรุ่งเรืองครับ ในยุคหนึ่งจักรพรรดินโปเลียนของจักรวรรดิฝรั่งเศส ทรงเคยยึดไปไว้ที่กรุงปารีสหลังจากเอาชนะปรัสเซียในปี 1806 (พ.ศ.2349 หรือสมัยรัชกาลที่ 1 เช่นกันครับ) 10 ปีต่อมา ปรัสเซียได้นำรูปปั้นวิคตอเรียกลับมาประดับบนประตูบรันเดินบูร์กอีกครั้ง จึงสื่อถึงชัยชนะของปรัสเซียเหนือฝรั่งเศสในสงครามนโปเลียน ช่วยให้ปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจในยุโรป 



คนเบอร์ลินจึงมองรูปปั้นวิคตอเรียเป็นสัญลักษณ์ของความภาคภูมิใจ และความกล้าหาญ อย่างไรก็ดี ในเชิงสัญลักษณ์ของสันติภาพนั้น เริ่มเปลี่ยนไปหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 รูปปั้นเทพีวิคตอเรีย กลายเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพและความหวัง มากกว่าจะมองว่าเป็นชัยชนะเหนือการสงคราม ดังนั้น
คนเบอร์ลินหรือคนเยอรมันจึงใคร่ครวญและมองเป็นเครื่องเตือนใจว่า เยอรมันผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากมาได้ และกำลังมุ่งสู่อนาคตที่ดีกว่าครับผม(ลิ้งก์ข้อมูลประกอบ https://www.berlin.de/sehenswuerdigkeiten/3560266-3558930-brandenburger-tor.html)


เขียนโดย 

ณัฐพล จารัตน์ 

กรุงเบอร์ลิน

27.02.2567

@NattJarat