Search This Blog

Wednesday, January 1, 2025

ซอฟต์พาวเวอร์ขนมโตเกียว: การเดินทางข้ามวัฒนธรรมบนแผ่นแป้งจากญี่ปุ่นสู่ความไทย

ไม่นานมานี้ เพื่อนส่งบทความที่ผมเคยเขียนใน Line Today เกี่ยวกับที่มาของขนมโตเกียวด้วยแนวคิดทางภาษาศาสตร์ว่าด้วยการลากเข้าความ (อ่านได้จากลิ้ก์นี้ "ขนมโตเกียว" ใครว่าเป็นขนมญี่ปุ่น ? ในมุมการลากเข้าเป็นไทย-ณัฐพล จารัตน์ | LINE TODAY SHOWCASE | LINE TODAY) บางท่านอาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยตามมุมมองของผม นั่นเป็นเพียงมุมมองหนึ่งด้วยการสันนิษฐานส่วนตัว อย่างไรก็ตาม ความจริงที่หักล้างไม่ได้เลยนั้น คือ ขนมโตเกียวไม่ใช่ขนมดังเดิมของไทยและไม่มีขายในกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นแน่แท้

ก่อนผมจากเดินทางมากรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ผมถ่ายภาพขนมโตเกียวที่ซื้อจากตลาดนัดซอยแถวบ้าน เพียงไว้เพื่อเป็นภาพสำหรับโชว์ชาวเยอรมันเกี่ยวกับขนมต่าง ๆ ของไทย วันผมนำมาลงไว้ใน blog และเขียนเนื้อหาเพิ่มจากเดิมที่เคยลงใน Line Today

ภาพคุ้นตาของรถเข็นขายขนมโตเกียวริมถนน เป็นภาพที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันของคนไทยมาอย่างยาวนาน เสียงกระทะเหล็กกระทบกับตะหลิว แป้งที่ถูกละเลงลงบนกระทะร้อน ๆ และกลิ่นหอมของไส้ต่าง ๆ เป็นสัญญาณบอกว่าขนมโตเกียวพร้อมเสิร์ฟแล้ว ภาพเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางย้อนเวลา เพื่อค้นหาที่มาของขนมที่ชื่อเหมือนเมืองหลวงของญี่ปุ่น แต่กลับไม่มีขายที่โตเกียว

ภาพของขนมโตเกียวของป้าตลาดนัดซอยแอนแนกซ์ เขตสายไหม กรุงเทพฯ

คราวที่แล้วผมเสนอไว้สองทฤษฎีกับการเดินทางข้ามวัฒนธรรมของขนมโตเกียว ผมเสนอว่าต้นกำเนิดของขนมโตเกียวเชื่อมโยงกับขนมญี่ปุ่นยอดนิยม 

  1. อิทธิพลจากโดรายากิ: โดรายากิ ขนมแป้งแพนเค้กสองแผ่นประกบไส้ถั่วแดงกวน เป็นขนมที่คุ้นเคยจากตัวการ์ตูนโดราเอมอน การเข้ามาของห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่น "ไทยไดมารู" ในปี พ.ศ. 2507 พร้อมกับการนำเข้าโดรายากิ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ขนมโตเกียว พ่อค้าแม่ขายอาจนำโดรายากิมาดัดแปลง โดยเปลี่ยนรูปแบบจากแป้งสองแผ่นประกบกัน เป็นแป้งแผ่นเดียวม้วนห่อไส้ต่างๆ เพื่อความสะดวกในการรับประทาน

  2. แรงบันดาลใจจากเครปญี่ปุ่น: ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ประเทศญี่ปุ่นกำลังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู และเครปญี่ปุ่นกลายเป็นอาหารริมทางยอดนิยมในย่านฮาราจูกุและชินจูกุ การเดินทางไปทำงานหรือท่องเที่ยวในญี่ปุ่นของคนไทยในยุคนั้น อาจนำมาสู่การนำเอาแนวคิดของเครปมาประยุกต์ใช้ โดยปรับเปลี่ยนลักษณะแป้งให้หนานุ่มขึ้น และเพิ่มไส้รสชาติแบบไทย ๆ

แล้วขนมโตเกียวเดินทางสู่ประเทศไทยเป็นขนมชื่อ "โตเกียว" ในกรุงเทพมหานครได้อย่างไร จากแนวคิดทั้งสองข้างต้นเป็นช่วงเวลาที่ขนมโตเกียวเริ่มปรากฏในประเทศไทย สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. 2510 เป็นช่วงเวลาที่สอดคล้องกับการเข้ามาของวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านห้างไทยไดมารู ถือเป็นห้างสัญชาติญี่ปุ่นแห่งแรกในประเทศไทย สินค้าและขนมของญี่ปุ่นเริ่มเป็นที่รับรู้ในสังคมกรุงเทพตั้งแต่นั้นมาก

การตั้งชื่อ "ขนมโตเกียว" แทนที่จะเป็น "ขนมญี่ปุ่น" อาจมีเหตุผลดังนี้ ซึ่งผมเคยเขียนในบทความคราวที่แล้วเช่นกัน กล่าวคือ

  • การรับรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นในยุคนั้น โตเกียวเป็นเมืองที่คนไทยรู้จักมากที่สุดในญี่ปุ่น เปรียบเสมือนเป็นภาพแทนของประเทศญี่ปุ่น การใช้ชื่อ "โตเกียว" จึงเป็นการสื่อถึงความเป็นญี่ปุ่นที่เข้าใจง่าย
  • การสร้างความแตกต่างด้วยการใช้ชื่อเฉพาะ "โตเกียว" ช่วยสร้างความแตกต่างจากขนมญี่ปุ่นอื่น ๆ และสร้างเอกลักษณ์ให้กับขนมชนิดนี้
  • หลักการตั้งชื่อในภาษาไทย มักใช้คำบ่งประเภท (ขนม) ตามด้วยคำบ่งสถานที่ (โตเกียว) เป็นรูปแบบที่พบได้ทั่วไปในภาษาไทย เช่นเดียวกับการตั้งชื่ออาหารอื่น ๆ ที่บ่งบอกถึงต้นกำเนิด

ในมุมมองของผมคิดว่า ขนมโตเกียวเป็นมากกว่าขนม คือ เป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรม กล่าวคือ ขนมโตเกียวไม่ใช่แค่ขนม แต่เป็นตัวอย่างของการผสมผสานทางวัฒนธรรม (Cultural Hybridization) ที่เกิดขึ้นจากการรับเอาอิทธิพลจากวัฒนธรรมหนึ่ง มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของอีกวัฒนธรรมหนึ่ง การดัดแปลงขนมญี่ปุ่นให้กลายเป็นขนมโตเกียว แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญาของคนไทย ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการและรสนิยมของคนในสังคม ถ้าพูดแบบสัมยนี้ตามศาสตร์ทางการจัดการนวัตกรรมจะต้องใช้คำว่า นวัตกรรมแบบต่อยอด (Incremental Innovation)

มีคนอยากให้ผมฟังธงว่าใครเป็นคนแรกที่ตั้งชื่อว่าขนมโตเกียว ใครเป็นคนต้นคิดสูตรขนมโตเกียว ขนมโตเกียวขายที่ไหนเป็นแห่งแรก ผมยังคงมีหลักฐานทางเอกสารไม่เพียงพอ ต้นกำเนิดที่แท้จริงของขนมโตเกียวจะยังคงเป็นปริศนา ชวนให้ค้นหาและเป็นเรื่องราวเล่าเพิ่มรสชาติของขนมโตเกียว แต่เรื่องราวของขนมชนิดนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการเดินทางของวัฒนธรรม การปรับตัว และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ขนมโตเกียวจึงไม่ใช่แค่ขนมในตลาดนัดธรรมดา ๆ แต่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาหารของไทย

ภาพของขนมโตเกียวของป้าตลาดนัดซอยแอนแนกซ์ เขตสายไหม กรุงเทพฯ

ในยุคนี้ เพื่อให้ทันตามสมัยนิยมและสนองต่อนโยบายของรัฐบาล ผมอยากชวนวิเคราะห์ว่าขนมโตเกียวเป็น Soft Power ของขนมไทยนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ด้วยการพิจารณาจากหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิยามของ Soft Power และลักษณะเฉพาะของขนมโตเกียว

Soft Power คืออะไรนั้น ต่างคนต่างตีความ นักวิชาการสายรัฐศาสตร์ตีความเป็นเชิงรัฐศาสตร์ คนทางแฟชั่นตีความตามศาสตร์ของกระแสแฟชั่น แต่ไม่ว่านักวิชาการหรือผู้รู้ทั้งแนวสนับสนุนรัฐบาลหรือต่อต้านรัฐบาลจะตีความกันอย่างไร ขอพักไว้ก่อน ในความเห็นส่วนตัว Soft Power คือ ความสามารถในการโน้มน้าวใจหรือดึงดูดใจผู้อื่นให้คล้อยตาม โดยไม่ใช้อำนาจบังคับหรือการใช้กำลัง (Hard Power) แต่ใช้วัฒนธรรม ค่านิยม และนโยบายต่างประเทศที่น่าดึงดูดใจ เป็นเครื่องมือ ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ภาพยนตร์ เพลง อาหาร แฟชั่น หรือแม้แต่วิถีชีวิต ขนมโตเกียวมีคุณสมบัติของ Soft Power อย่างไร ผมคิดว่า

  • ความเป็นสากล (Universality) แม้จะมีชื่อ "โตเกียว" และมีต้นแบบจากขนมญี่ปุ่นบางส่วน แต่ขนมโตเกียวได้ถูกปรับปรุงและพัฒนาให้เข้ากับรสนิยมของคนไทย จนกลายเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รสชาติที่หลากหลาย ทั้งคาวและหวาน ทำให้เข้าถึงคนได้ง่าย ไม่จำกัดเชื้อชาติหรือวัฒนธรรม
  • ความเข้าถึงง่าย (Accessibility) ขนมโตเกียวมีราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด รถเข็นข้างทาง หรือแม้แต่ในห้างสรรพสินค้า ทำให้เข้าถึงผู้คนได้ทุกระดับ
  • ความน่าสนใจ (Appeal) รูปลักษณ์ที่น่ารับประทาน กลิ่นหอม และรสชาติที่อร่อย ทำให้ขนมโตเกียวเป็นที่ดึงดูดใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและวัยรุ่น
  • การเล่าเรื่อง (Storytelling) เรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของขนมโตเกียว แม้จะไม่แน่ชัด แต่ก็เป็นที่สนใจและถูกพูดถึง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และสร้างความผูกพันกับขนมชนิดนี้
  • การปรับตัว (Adaptability) ขนมโตเกียวมีการปรับตัวอยู่เสมอ มีการพัฒนาไส้ใหม่ ๆ ให้เข้ากับยุคสมัย และความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ขนมชนิดนี้ยังคงได้รับความนิยม

แล้วขนมโตเกียวในฐานะ Soft Power เป็นอย่างไร จากคุณสมบัติและอัตลักษณ์ข้างต้น ขนมโตเกียวมีศักยภาพในการเป็น Soft Power ได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในบริบทของอาหารและวัฒนธรรมอาหารของไทย บางรู้ท่านหนึ่งแนะนำให้ผมเพิ่มคำว่า "ร่วมสมัย" ผมก็มีความเห็นไม่คัดค้าน ขนมโตเกียวจะเป็น Soft Power ได้ด้วย

  • การเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารไทย แม้จะมีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่น แต่ขนมโตเกียวในรูปแบบปัจจุบันถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหารริมทางของไทย การเผยแพร่ขนมโตเกียวไปยังต่างประเทศ อาจช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารไทยในวงกว้างมากขึ้น
  • การสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ ให้อาหารเป็นสื่อกลางที่ดีในการสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนขนมโตเกียวและเรื่องราวเกี่ยวกับขนมชนิดนี้ อาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในด้านอื่น ๆ
  • การส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกขนมโตเกียวเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทย นักท่องเที่ยวที่ได้ลิ้มลองขนมโตเกียว อาจเกิดความสนใจในวัฒนธรรมไทยมากขึ้น และอยากกลับมาท่องเที่ยวอีก

หากพิจารณาขนมโตเกียวในบริบทของนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ผมคิดว่ารัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศ ด้วยการบรรจุขนมโตเกียวเข้าในแผนการประชาสัมพันธ์เป็นขนมไทยร่วมสมัย แม้จะมีชื่อที่สื่อถึงญี่ปุ่น แต่ด้วยวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับบริบทไทย ทำให้ขนมชนิดนี้มีศักยภาพที่จะเป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์พาวเวอร์ไทยได้ หากได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างเหมาะสม

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายโดยใช้ขนมโตเกียว ผมเสนอว่า เราต้องดำเนินการ

  1. การสร้างเรื่องราว (Storytelling) และอัตลักษณ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับขนมโตเกียว เช่น การเล่าถึงวิวัฒนาการจากขนมญี่ปุ่นสู่ขนมไทย การปรับปรุงรสชาติและไส้ให้ถูกปากคนไทย หรือการเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย จะช่วยเพิ่มมูลค่าและสร้างความน่าสนใจให้กับขนมชนิดนี้ รวมถึงการสร้างแบรนด์หรือสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นไทยในขนมโตเกียว

  2. การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน ด้วยการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของขนมโตเกียว ทั้งในด้านวัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต และบรรจุภัณฑ์ จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

  3. การส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การจัดงานเทศกาลขนมโตเกียว การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่าง ๆ หรือการร่วมมือกับภาคการท่องเที่ยว จะช่วยเพิ่มการรับรู้และความนิยมของขนมโตเกียว โดยการจัดร่วมกับขนมไทยอื่น ๆ ในคราวเดียวกัน แยกเป็นขนมไทยร่วมสมัย

  4. การสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การพัฒนาทักษะ และการสร้างเครือข่าย จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจ

  5. การเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมอื่น ๆ ด้วยการนำขนมโตเกียวไปผสมผสานกับวัฒนธรรมอื่น ๆ เช่น การนำเสนอขนมโตเกียวในงานเทศกาลวัฒนธรรม หรือการสร้างสรรค์ไส้ขนมโตเกียวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอาหารต่างชาติ จะช่วยเพิ่มความหลากหลายและสร้างความน่าสนใจ

ภาพของขนมโตเกียวของป้าตลาดนัดซอยแอนแนกซ์ เขตสายไหม กรุงเทพฯ


ผมลองคิดเล่นด้วยการประเมินศักยภาพของขนมโตเกียวในฐานะซอฟต์พาวเวอร์ ด้วยวิธี SWOT อย่างง่าย ๆ ธรรมดา ๆ พื้น ๆ ไม่เจาะลึก พบว่า
  • จุดแข็ง คือ ขนมโตเกียวเป็นที่รู้จักและนิยมในประเทศไทย มีราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย และมีรสชาติที่หลากหลาย
  • จุดอ่อน คือ การรับรู้ในระดับสากลยังจำกัด และยังขาดการส่งเสริมและการตลาดอย่างเป็นระบบ
  • โอกาส คือ กระแสความนิยมในอาหารริมทางและวัฒนธรรมอาหาร รวมถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นโอกาสที่ดีในการผลักดันขนมโตเกียว
  • อุปสรรค คือ การแข่งขันกับขนมและอาหารอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงความท้าทายในการรักษาคุณภาพและมาตรฐาน

อย่างที่กล่าวนั้น รัฐบาลสามารถใช้ขนมโตเกียวเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ได้ โดยมุ่งเน้นการสร้างเรื่องราว การพัฒนาคุณภาพ การส่งเสริมการตลาด และการสนับสนุนผู้ประกอบการ การทำเช่นนี้จะช่วยยกระดับขนมโตเกียวให้เป็นที่รู้จักและนิยมในระดับสากล และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย

คราวนี้ ผมมองขนมโตเกียวในฐานะตัวอย่างของ "Thailandization" หมายถึง การทำให้เป็นไทย (หรืออีกคำคือก "Thaification") กล่าวอย่างง่าย คือ ทำให้ของขนมญี่ปุ่นเป็นขนมไทย ขนมโตเกียวแสดงให้เห็นถึงกระบวนการ Thailandization อย่างชัดเจนในหลายด้าน

  1. การรับอิทธิพลจากญี่ปุ่นและแรงบันดาลใจจากขนมญี่ปุ่น เช่น โดรายากิ หรือเครปญี่ปุ่น ซึ่งเป็นขนมที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลาที่ขนมโตเกียวเริ่มปรากฏในประเทศไทย

  2. การปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์และรสชาติได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์จากขนมต้นแบบอย่างชัดเจน เช่น จากโดรายากิที่เป็นแป้งสองแผ่นประกบกัน ก็กลายเป็นแป้งแผ่นเดียวม้วนห่อไส้ต่างๆ นอกจากนี้ รสชาติของขนมโตเกียวก็ได้รับการปรับให้เข้ากับรสนิยมของคนไทย โดยมีไส้ที่หลากหลาย ทั้งคาวและหวาน เช่น ไส้ครีม ไส้ไข่ ไส้กรอก ไส้หมูสับ หรือไส้สังขยา ซึ่งเป็นรสชาติที่คนไทยคุ้นเคย

  3. การตั้งชื่อ "ขนมโตเกียว" เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการ Thailandisation แม้ว่าขนมชนิดนี้จะไม่มีขายในโตเกียวหรือญี่ปุ่น แต่ชื่อนี้กลับสื่อถึงความเป็นญี่ปุ่นในความรับรู้ของคนไทยในยุคนั้น ซึ่งอาจเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ชาญฉลาดในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

  4. การผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยจนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหารริมทางของไทย โดยมักพบเห็นได้ตามรถเข็นข้างทาง หน้าโรงเรียน หรือตลาดนัด ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่คุ้นเคยของคนไทย

  5. การสร้างความหมายใหม่ในบริบทของสังคมไทย โดยไม่ได้เป็นเพียงแค่ขนมญี่ปุ่น แต่กลายเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นที่นิยมในหมู่คนไทยทุกเพศทุกวัย และเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำในวัยเด็กของใครหลาย ๆ คน

ผมสรุปว่าขนมโตเกียวเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของกระบวนการ Thailandisation ที่ประสบความสำเร็จ โดยได้นำเอาแรงบันดาลใจจากขนมญี่ปุ่นมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และผสมผสานให้เข้ากับบริบทของสังคมไทย จนกลายเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นที่นิยม และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหารไทย การวิเคราะห์ผ่านมุมมองของ Thailandisation ช่วยให้เราเข้าใจถึงที่มาและวิวัฒนาการของขนมโตเกียวได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น และเป็นขนมไทยที่เหมาะแก่การสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ในระดับนโยบายเพื่อให้เป็นซอฟต์พาวเวอร์ขนมไทยได้อีกชิ้นหนึ่ง

ณัฐพล จารัตน์

กรุงเบอร์ลิน

อากาศเช้านี้ 3 องศา พยากรณ์อากาศคาดว่าหิมะจะตกครั้งแรกของปีนี้ 

ชมละครสั้นขาวดำ "Dinner for One" วัฒนธรรมประชานิยมในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของชาวเยอรมัน

เพื่อนชาวเยอรมันมาทานอาหารเย็นที่อาพาร์ทเม้นต์ ฉลองส่งท้ายปีเก่าของวันที่ 31 ธันวาคม 2567 อาหารเย็นมื้อนี้เป็นอาหารง่าย คือ ข้าวสวยร้อน ๆ ไข่เจียว และแกงจืดแบบไทย เสริมด้วยผลไม้และขนมหวาน ระหว่างกำลังทานข้าว เพื่อนชาวเยอรมันเล่าถึงละครสั้นเรื่อง Dinner for One สร้างโดยชาวอังกฤษแต่ไม่ดังในอังกฤษ กลับได้รับความนิยมมากในเยอรมนี คนเยอรมันจะดูเรื่องนี้ในวันส่งท้ายปี ดูซ้ำไปมาทุกปี ถือเป็นเรื่องตลกสนุกสนาน พวกเราจึงเปิด YouTube และได้ดูไปพร้อมกัน แต่ว่าตลกของคนเยอรมันนั้น คงไม่เหมาะกับคนไทยอย่างเราเสียแล้ว

ผมมองว่าการชมละครสั้นเรื่องนี้ของชาวเยอรมันเป็นพฤติกรรมสมัยใหม่หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น Pop culture (วัฒนธรรมประชานิยม) ทำให้เข้าใจและได้เรียนรู้วัฒนธรรมนี้ของชาวเยอรมันได้ด้วย 

เมื่อค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับ Dinner for One เพราะอยากเข้าใจที่มาและเพราะอะไรทำให้ละครเรื่องนี้กลายเป็นสิ่งที่ขาดเสียไม่ได้ของการฉลองส่งท้ายปี



ภาพจาก https://www.bild.de/

เรื่องย่อของ Dinner for One

Dinner for One เป็นสเก็ตช์ตลกสั้นประมาณ 18 นาที ที่เล่าเรื่องราวในงานเลี้ยงวันเกิดครบรอบ 90 ปีของ Miss Sophie หญิงชราผู้มั่งคั่งและสง่างาม เธอจัดงานเลี้ยงมื้อค่ำพิเศษเพื่อเฉลิมฉลองกับเพื่อนสนิทของเธอ 4 คน ได้แก่ Sir Toby, Admiral von Schneider, Mr. Pommeroy และ Mr. Winterbottom แต่ในความเป็นจริงแล้ว เพื่อนสนิททั้งหมดของเธอได้เสียชีวิตไปแล้ว กระนั้น Miss Sophie ยังคงรักษาประเพณีการจัดงานนี้ไว้ เพื่อให้มื้อค่ำดำเนินไปได้ตามปกติ โดยมี James บัตเลอร์ผู้ซื่อสัตย์ของเธอ ต้องสวมบทบาทเป็นเพื่อนเหล่านั้น ทั้งในการดื่มอวยพรและการตอบสนองคำพูดในแต่ละจังหวะของมื้อค่ำ

ใน Dinner for One ตัวละครหลักมีเพียงสองคนเท่านั้น แต่ทั้งสองคนสร้างเรื่องราวขับเคลื่อนความขบขันในเรื่องได้อย่างเต็มที่ ตัวละครทั้งหมด คือ
1. Miss Sophie เป็นหญิงชราที่ฉลองวันเกิดครบรอบ 90 ปีของเธอ เธอเป็นเจ้าของบ้านที่จัดมื้อค่ำพิเศษขึ้น เธอเป็นคนที่ดูสง่างาม มั่นใจ และมีความมุ่งมั่นในประเพณีของตัวเอง แม้ว่าเพื่อนสนิทของเธอเสียชีวิตไปแล้ว เธอก็ยังคงจัดงานเลี้ยงเพื่อพวกเขาเหมือนเช่นทุกปี แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงในตัวเองที่ยังคงยึดถือประเพณีแม้จะต้องฉลองเพียงลำพัง และความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับ James บัตเลอร์ที่แสดงถึงความเคารพและความคุ้นเคยระหว่างกันมาโดยตลอด

2. James เป็นบัตเลอร์ผู้รับผิดชอบดูแลมื้อค่ำของ Miss Sophie ในค่ำคืนวันเกิด เขาต้องสวมบทบาทเป็นเพื่อนสนิททั้ง 4 คนของ Miss Sophie ที่ล่วงลับไปแล้ว เขาเป็นคนที่มุ่งมั่นและพยายามปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ แม้จะต้องรับมือกับสถานการณ์ที่แปลกประหลาด อดทนและมีไหวพริบ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความขบขันในความเงอะงะ สิ่งที่เขาต้องทำประจำคือ การดื่มเครื่องดื่มแทนแขกที่ล่วงลับไปจนทำให้เขาเมามาย การสะดุดพรมเสือซ้ำ ๆ ซึ่งกลายเป็นมุขตลกหลักของเรื่อง และการพูดประโยคที่เป็นเอกลักษณ์ "The same procedure as last year, Miss Sophie?"

3. แขกที่ล่วงลับ (ในจินตนาการ) แขกเหล่านี้จะไม่ได้ปรากฏตัวในเรื่อง แต่พวกเขามีบทบาทสำคัญในเรื่องราวผ่านการสวมบทบาทของ James ประกอบด้วย
  • Sir Toby หนึ่งในเพื่อนสนิทของ Miss Sophie ตัวละครนี้แสดงถึงชายผู้มีความมั่นใจและเต็มไปด้วยเสน่ห์

  • Admiral von Schneider แขกที่มักจะปิดท้ายด้วยการพูด "Skål!" (คำดื่มอวยพรในภาษาเยอรมัน-สแกนดิเนเวียน) พร้อมทำท่าคำนับ

  • Mr. Pommeroy เพื่อนอีกคนของ Miss Sophie ที่ James สวมบทบาทระหว่างมื้อค่ำ

  • Mr. Winterbottom แขกคนสุดท้ายที่ James ต้องสวมบทบาทในการดื่มอวยพร


Dinner for One: การเป็น Pop Culture ในสังคมเยอรมัน

Dinner for One ไม่ใช่แค่สเก็ตช์ตลกธรรมดา แต่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประชานิยม (Pop Culture) ของชาวเยอรมันในช่วงสิ้นปี สะท้อนถึงหลายแง่มุมของความคิดและลักษณะเฉพาะตัวของคนเยอรมัน และการดูรายการนี้ทุกปีได้กลายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่มีความหมายมากกว่าเพียงความบันเทิง ผมคิดว่ามี 5 ประเด็น คือ

  • ความเป็นเอกลักษณ์ (Uniqueness) "Dinner for One" แม้จะเป็นผลงานจากอังกฤษ แต่กลับไม่เป็นที่รู้จักในประเทศต้นกำเนิด ทว่ากลับได้รับการยอมรับและกลายเป็นที่นิยมในเยอรมนีอย่างล้นหลาม การดู "Dinner for One" ทุกสิ้นปีได้กลายเป็นประเพณีที่ไม่เหมือนใครในเยอรมนี
  • ความนิยมที่ข้ามรุ่น ด้วยความเรียบง่ายของเรื่องราวและอารมณ์ขันที่เป็นสากล "Dinner for One" สามารถดึงดูดผู้ชมได้ทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ทำให้มันถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
  • ความเรียบง่ายและความสนุกสนาน เรื่องราวใน "Dinner for One" ไม่มีโครงเรื่องซับซ้อน แต่เต็มไปด้วยอารมณ์ขันแบบขบขัน (Slapstick Humor) ซึ่งเข้าถึงได้ง่ายและทำให้ผู้ชมรู้สึกผ่อนคลาย
  • การยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบ James บัตเลอร์ผู้เมามายและความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในมื้อค่ำสะท้อนถึงความเป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ทำให้เราหัวเราะและมองเห็นความงดงามในความผิดพลาด

"Dinner for One" กลายเป็น Pop Culture ของชาวเยอรมันเพราะความเรียบง่าย ความขบขัน และการที่มันเข้ากับจิตวิญญาณของการเฉลิมฉลองวันสิ้นปี สะท้อนถึงลักษณะนิสัยของชาวเยอรมันที่รักความมั่นคง รักษาขนบธรรมเนียม และชื่นชอบความสนุกสนานในชีวิต การดูรายการนี้ทุกปีจึงไม่ได้เป็นแค่ความบันเทิง แต่เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีและการสร้างความทรงจำร่วมกันในครอบครัวและชุมชน ชาวเยอรมันยังคงกลับมาดู "Dinner for One" ซ้ำทุกปี เพราะมันเชื่อมโยงพวกเขากับความสุข ความคุ้นเคย และขนบธรรมเนียมที่สะท้อนถึงความเป็นตัวตนของคนเยอรมัน


ความตลกหรือขบขันของ Dinner for One อยู่ตรงไหน

ความขบขันของ Dinner for One เกิดจากหลายองค์ประกอบที่สร้างอารมณ์ขันแบบสากลและง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งผมคิดว่า

  1. Slapstick Humor (อารมณ์ขันจากท่าทางและสถานการณ์)

    • การที่ James บัตเลอร์ของ Miss Sophie ต้องเล่นบทเพื่อนสนิทที่ล่วงลับไปแล้วทั้ง 4 คน และดื่มเครื่องดื่มแทนพวกเขาทำให้เขาเมามาย
    • การเดินสะดุดพรมเสือที่วางอยู่บนพื้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นมุขตลกที่เกิดจากความซ้ำซาก (repetition comedy) ซึ่งทำให้ผู้ชมหัวเราะทุกครั้งแม้จะรู้ว่ามันจะเกิดขึ้นอีก
  2. ความไม่สมบูรณ์แบบของตัวละคร

    • James พยายามทำหน้าที่ของเขาอย่างจริงจัง แต่ยิ่งดื่มมากเท่าไหร่ การกระทำของเขายิ่งวุ่นวายและตลกขบขัน
  3. บทสนทนาอันโดดเด่น

    • ประโยคที่เป็นตำนานอย่าง "The same procedure as last year, Miss Sophie?" และคำตอบ "The same procedure as every year, James." สร้างความขบขันผ่านความเรียบง่าย แต่ก็เป็นแกนสำคัญของเนื้อเรื่อง
  4. การจัดมื้ออาหารที่ไม่มีแขกจริง

    • ความตลกเกิดจากสถานการณ์ที่ Miss Sophie ยังคงจัดงานเลี้ยงวันเกิดร่วมกับเพื่อนที่เสียชีวิตไปแล้ว โดยที่ James ต้องเล่นบทเป็นทุกคนอย่างจริงจัง
ต่อมาผมก็สงสัยว่า One ในชื่อเรื่องมีความหมายอื่น ๆ หรือไม่ ผมจึงลองวิเคราะห์ ความหมายของคำว่า One ใน Dinner for One กล่าวคือ

คำว่า One ในชื่อเรื่อง Dinner for One มีความหมายที่ลึกซึ้งและเป็นสัญลักษณ์ 

  1. ความหมายตรงตัว สื่อถึง Miss Sophie ผู้จัดมื้อค่ำนี้ขึ้นมาเพียงลำพัง เพราะเพื่อนสนิทของเธอทั้ง 4 คนได้ล่วงลับไปแล้ว

  2. ความโดดเดี่ยวและความทรงจำ คำว่า One ยังสะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของ Miss Sophie ในฐานะคนสุดท้ายที่ยังคงอยู่ และยังคงรักษาความทรงจำถึงเพื่อนๆ ผ่านพิธีกรรมซ้ำๆ ที่เธอทำทุกปี

  3. สัญลักษณ์ของความเป็นตัวตนและความมั่นคง การที่ Miss Sophie ยังคงฉลองวันเกิดในแบบเดิมทุกปี สื่อถึงความมั่นคงในตัวตนและความเคารพในความทรงจำของเธอเอง แม้ว่าเธอจะเหลือเพียงลำพัง

ผมคิดว่า Dinner for One ใช้คำว่า One อย่างชาญฉลาด ไม่เพียงแต่แสดงถึงตัวละครที่ฉลองมื้อค่ำลำพัง แต่ยังสะท้อนถึงการยึดมั่นในความทรงจำ แม้เมื่อเวลาผ่านไปหรือชีวิตเปลี่ยนแปลง ความขบขันในเรื่องนี้จึงไม่ใช่แค่เพื่อความสนุก แต่ยังผสมผสานด้วยความหมายของชีวิตและความสัมพันธ์ในมิติที่ลึกซึ้งกว่าแค่อารมณ์ขันทั่วไป

จากการดูละครเรื่องนี้และสังเกตุความขบขันของเพื่อนชาวเยอรมันต่อการชมละครนี้ ทำให้ผมต้องมองความขบขันของชาวเยอรมันให้เข้าใจ การมาอาศัยอยู่ในเยอรมนี การดู Dinner for One ถือเป็นหนึ่งในวิธีในการเข้าใจวัฒนธรรมและความเป็นเอกลักษณ์ของวันสิ้นปี (Silvester) ของชาวเยอรมัน  ผมพบเองว่า (ด้วยความคิดเห็นส่วนตัว) คนเยอรมันมีความรู้สึกร่วมอย่างไรกับเรื่องนี้ คือ

1. ความสำคัญในวัฒนธรรมเยอรมัน

  • Dinner for One เป็นหนึ่งในประเพณีที่คนเยอรมันยึดถืออย่างเหนียวแน่นในวันสิ้นปี การที่รายการนี้ถูกออกอากาศซ้ำทุกปีทำให้มันกลายเป็น "สิ่งที่ต้องทำ" สำหรับชาวเยอรมันก่อนเข้าสู่ปีใหม่
  • การดูเรื่องนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงความสำคัญของการรักษาขนบธรรมเนียมและความสนุกสนานในช่วงเวลาสำคัญ

2. การเรียนรู้อารมณ์ขันแบบเยอรมัน

  • ชาวเยอรมันชื่นชอบอารมณ์ขันแบบเรียบง่ายและซ้ำซาก (repetition comedy) ซึ่ง Dinner for One แสดงออกมาได้อย่างชัดเจน การดูเรื่องนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงรสนิยมด้านความบันเทิงของพวกเขา

3. การเชื่อมโยงกับสังคมเยอรมัน

  • หากเราพูดถึง Dinner for One กับชาวเยอรมัน พวกเขาจะยิ้มและพร้อมแบ่งปันความประทับใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ มันเป็นหัวข้อสนทนาที่ช่วยเชื่อมโยงคุณกับคนในท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น
  • การรู้จักประโยคดังอย่าง "The same procedure as last year?" และ "The same procedure as every year!" จะทำให้เราเข้ากับชาวเยอรมันได้ดี เพราะมันเป็นมุขที่ทุกคนรู้จักและชื่นชอบ

4. เรียนรู้วิธีเฉลิมฉลองปีใหม่ในเยอรมัน

  • การดู Dinner for One ช่วยให้เราเข้าใจว่าวัฒนธรรมเยอรมันให้ความสำคัญกับประเพณีเล็ก ๆ ที่สร้างความสุข แม้จะเป็นรายการจากต่างประเทศ แต่พวกเขาได้นำมาประยุกต์ให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
  • คุณจะสังเกตได้ว่าชาวเยอรมันไม่ได้มองข้ามสิ่งเล็กๆ และให้ความสำคัญกับความคุ้นเคย ความทรงจำ และการหัวเราะร่วมกันในครอบครัวและเพื่อนฝูง

5. การดูเพื่อความสนุกและความเข้าใจ

  • แม้เราจะไม่ได้พูดภาษาเยอรมันคล่อง แต่ Dinner for One ไม่ได้พึ่งพาบทสนทนามากนัก คุณสามารถเพลิดเพลินกับอารมณ์ขันที่เข้าใจได้ง่าย
  • การดูเรื่องนี้เป็นเหมือนการดื่มด่ำกับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สร้างความทรงจำดี ๆ ในช่วงปีใหม่

นี่คือหนึ่งใน Cross Cultural management ที่ต้องเรียบรู้และเข้าใจตัวตนของคนเยอรมัน

ณัฐพล จารัตน์

กรุงเบอร์ลิน 

02.01.2567


ข้อมูลเรียบเรียงจาก

Wikipedia (https://de.wikipedia.org/wiki/Dinner_for_One)

Dinner for One (The British movie millions of Germans watch every New Year)

NDR (Dinner for One – Das Original - hier anschauen)

สุนทรพจน์เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ประจำปี 2025 ของนายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนี (BundesKanzler)


"สวัสดีปีใหม่" หรือในภาษาเยอรมันพูดว่า "Frohes neues Jahr 2025" ท่านนายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนี  ( Bundes-Kanzler) ท่าน Olaf Scholz กล่าวสุนทรพจน์เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ประจำปี 2025 ผ่านทางโทรศัทพ์แห่งชาติของค่ำคืนของวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ข้อความของสุนทรพจน์เข้าถึงจากลิ้งก์ของสำนักงานนายกรัฐมนตรีเยอรมนีจากนี้ 👇


ผมทำการถอดเป็นภาษาไทยด้วยการใช้เครื่องมือแปลจากข้อความภาษาเยอรมันเป็นภาษาไทย ตรวจสอบการแปลด้านภาษาอังกฤษอีกครั้ง เพื่อลดความคลาดเคลื่อนหรือความไม่แน่นอนของความหมายลงไปด้วย 
วัตถุประสงค์ของการศึกษาสุนทรพจน์นี้ เพื่อทำความเข้าใจสภาพทางสังคมเยอรมันตลอดทั้งปี เป้าหมายในปีถัดไป ความเป็นจิตวิญญาณของเยอรมัน และถอดรหัสทางการเมืองของเยอรมัน ดังนั้นผมจึงถอดข้อความทั้งหมดเพื่อความเข้าใจของตนเองเป็นหลัก ถ้าผู้รู้ท่านไดผ่านมาเห็น และพบข้อไม่เหมาะสมประการใด ขอน้อมรับคำแนะนำที่สร้างสรรค์ด้วยจิตคารวะครับผม

เบื้องต้นผทสรุปตั้งต้นของสุนทรพจน์ที่ท่านนายกเยอรมันแสดงไว้ ดังนี้
  1. แสดงความเป็นอัตลักษณ์ของคนเยอรมัน นายกเยอรมันอาจพูดถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม เช่น ความขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย และการให้ความสำคัญกับการศึกษาและนวัตกรรม เพื่อเน้นย้ำถึงลักษณะเฉพาะของคนเยอรมัน

  2. เน้นถึงการเลือกตั้ง นายกอาจเน้นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เพื่อสร้างความตระหนักรู้และกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ของตน

  3. อยากเห็นคนเยอรมันเป็นอย่างไรในปีใหม่ นายกอาจแสดงความหวังให้คนเยอรมันมีความสามัคคี มีความสุข และมีความเจริญรุ่งเรืองในปีใหม่ รวมถึงการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่า


มาถอดเนื้อหาจากตรงนี้กันครับ


สุนทรพจน์นี้เรียกว่า Neujahransprache des Bundeskanzlers zum Jahreswechsel 2024/25 (สุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีในโอกาสวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่) ผมแยกเป็นย่อหน้าตั้งแต่หน้า 1 - 4 เป็นท่อน ๆ และจะทำเป็นรายการคำศัพท์ไว้ท้ายบล๊อกครับ เริ่มกันเลยนะครับ

😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊

Liebe Mitbürgerinnen und Mitbürger! 
Vor elf Tagen ist das Böse jäh in unseren Alltag getreten. Ein fröhlicher Vorweihnachtsabend auf dem Weihnachtsmarkt von Magdeburg verwandelte sich in einen unvorstellbaren Albtraum. Fünf Menschen sind auf grausame Weise getötet worden. Mehr als 200 wurden verletzt, darunter viele sehr schwer. 

Meine Gedanken sind seither jeden Tag bei denen, die ihre Liebsten verloren haben oder noch immer um sie bangen. Den Verletzten wünsche ich, dass sie schnell wieder ganz gesund werden – an Körper und Seele.

Fassungslos stehen wir vor dieser menschenverachtenden Tat. Wie kann ein wahnsinniger Attentäter nur so viel Leid verursachen? Und nicht nur in Magdeburg fragen sich viele: Woher soll die Kraft kommen, um weiterzumachen nach solch einer Katastrophe?

สวัสดีประชาชนผู้เป็นที่รักทุกท่านครับ

เมื่อสิบเอ็ดวันที่ผ่านมา เหตุการณ์ร้ายแรงได้เข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราอย่างไม่คาดฝัน ค่ำคืนก่อนวันคริสต์มาสที่เต็มไปด้วยความสุขในตลาดคริสต์มาสของเมืองมักเดอบวร์ก กลับกลายเป็นฝันร้ายที่เกินจินตนาการ มีผู้เสียชีวิตถึงห้าคนในเหตุการณ์โหดร้ายนี้ และมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 200 คน ในจำนวนนี้ หลายคนได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัส

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ความคิดความรู้สึกของกระผมที่คำนึงถึงอยู่กับผู้ที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก หรือผู้ที่ยังคงรอคอยด้วยความกังวลต่อชะตากรรมของพวกเขา กระผมขอให้ผู้บาดเจ็บทุกคนฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจให้กลับมาแข็งแรงโดยเร็ว

เราต่างตกตะลึงกับการกระทำอันไร้มนุษยธรรมเช่นนี้ ใครเล่าจะเข้าใจได้ว่า ผู้ก่อการอันบ้าคลั่งเพียงคนเดียวสามารถสร้างความเจ็บปวดได้มากมายเช่นนี้เชียวหรือ และไม่เพียงแค่ในเมืองมักเดอบวร์กเท่านั้น หลายคนอาจตั้งคำถามว่า เราจะหาพลังใจจากที่ใดเพื่อเดินหน้าต่อไปหลังจากเหตุการณ์เลวร้ายเช่นนี้ได้ไหม


Liebe Mitbürgerinnen und Mitbürger!

Kraft entsteht aus Zusammenhalt. Und wir sind ein Land, das zusammenhält. Auch das ist in den vergangenen Tagen in Magdeburg eindrucksvoll zu spüren gewesen. 

Denken wir an die unzähligen Ersthelfer, Krankenpflegerinnen und Sanitäter, an die Ärztinnen und Ärzte, die bis zur Erschöpfung und darüber hinaus Verwundete versorgt, operiert und behandelt haben. Aus dem ganzen Land haben sich Seelsorgerinnen und Seelsorger nach Magdeburg aufgemacht, um Beistand zu leisten und Trost zu spenden. Unsere Polizistinnen und Polizisten und die Rettungskräfte vor Ort haben in der Schreckensnacht hochprofessionell gehandelt – obwohl viele von ihnen selbst unter Schock standen.

Ihnen allen gilt mein großer Dank, gilt unser großer Dank. 

Auch viele der Weihnachtsmarktbesucher selbst haben spontan geholfen. Es sind Zeugnisse dieser Hilfsbereitschaft, die mitten ins Herz gehen. Zum Beispiel die Geschichte des Verkäufers eines Würstchenstands, der die ganze Nacht über für die Verletzten und für die Rettungskräfte Tee gekocht hat. Einfach so, um irgendwie helfen zu können.

ประชาชนผู้เป็นที่รักทุกท่านครับ

พลังใจเกิดจากความสามัคคี และเราคือประเทศที่มีความสามัคคี สิ่งนี้ได้ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในช่วงวันที่ผ่านมาในเมืองมักเดอบวร์ก

ลองนึกถึงผู้ช่วยเหลือเบื้องต้นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่พยาบาล และเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพ รวมถึงแพทย์ที่ทำงานอย่างไม่ย่อท้อเพื่อดูแล รักษา และผ่าตัดผู้บาดเจ็บ ถึงแม้มันจะเกินกำลังของพวกเขาเองก็ตาม

นอกจากนี้ ยังมีนักบวชจากทั่วประเทศที่เดินทางมายังเมืองมักเดอบวร์กเพื่อให้กำลังใจและปลอบโยนผู้ประสบภัย เจ้าหน้าที่ตำรวจและทีมกู้ภัยในพื้นที่ได้ทำงานอย่างมืออาชีพในค่ำคืนแห่งความหวาดกลัว แม้ว่าพวกเขาเองจะอยู่ในอาการตกใจ

สำหรับทุกคนเหล่านี้ กระผมขอแสดงความขอบคุณอย่างยิ่ง ขอบคุณในนามของพวกเราทุกคน

ไม่เพียงแค่นั้น แม้แต่ผู้ที่มาเยี่ยมชมตลาดคริสต์มาสหลายคนเองก็ช่วยเหลืออย่างเต็มใจ ตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงน้ำใจอันอบอุ่น คือเรื่องราวของพ่อค้าขายไส้กรอกที่ต้มน้ำชาให้ผู้บาดเจ็บและเจ้าหน้าที่กู้ภัยตลอดทั้งคืน เพียงเพื่อช่วยเหลือในแบบที่เขาสามารถทำได้

นี่คือตัวอย่างของน้ำใจที่แตะหัวใจของเราทุกคนอย่างลึกซึ้ง

Liebe Mitbürgerinnen und Mitbürger!

So sind wir. So ist Deutschland. Wir sind kein Land des Gegen-Einanders, auch nicht des Aneinander-vorbei. Sondern ein Land des Mit-Einanders. Und daraus können wir Kraft schöpfen – erst recht in schwierigen Zeiten wie diesen. Und die Zeiten sind schwierig, das spüren wir alle. 

Unsere Wirtschaft hat zu kämpfen. Das Leben ist teurer geworden. Und viele blicken mit einem Gefühl wachsender Beklemmung auf Russlands brutalen Angriffskrieg gegen die Ukraine. Ich versichere Ihnen, dass wir die Ukraine nicht alleine lassen und weiter unterstützen wie niemand sonst in Europa – und dass wir weiter kühlen Kopf bewahren, damit der Krieg sich nicht ausweitet.

Angesichts solcher Sorgen ist es kein Wunder, wenn viele sich fragen: Wie geht es in Deutschland weiter? Meine Antwort darauf lautet wieder: Unser Zusammenhalt macht uns stark.

ถึงประชาชนผู้เป็นที่รักทุกท่าน

นี่คือสิ่งที่เราเป็นและนี่คือเยอรมนี เราไม่ใช่ประเทศแห่งการแตกแยก หรือการเมินเฉยต่อกัน แต่เราเป็นประเทศแห่งความร่วมมือและการอยู่ร่วมกัน และจากสิ่งนี้ เราสามารถหาพลังใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ และแน่นอนว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับพวกเราทุกคน

เศรษฐกิจของเรากำลังเผชิญกับปัญหา ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น และหลายคนมองไปยังสงครามที่รัสเซียรุกรานยูเครนด้วยความกังวลที่เพิ่มขึ้น กระผมขอให้คำมั่นว่า เราจะไม่ปล่อยให้ยูเครนต่อสู้ตามลำพัง เราจะยังคงให้การสนับสนุนยูเครนในแบบที่ไม่มีประเทศใดในยุโรปทำได้เท่า และเราจะยังคงมีสติ เพื่อป้องกันไม่ให้สงครามขยายตัวออกไป 

ในท่ามกลางความกังวลเช่นนี้ จึงไม่แปลกเลยที่หลายคนจะถามว่า "เยอรมนีจะก้าวต่อไปอย่างไร" คำตอบของกระผม ยังคงเหมือนเดิม คือ ความสามัคคีของพวกเราคือพลังอันยิ่ง

Wir sind 84 Millionen – gerade einmal ein Prozent der Weltbevölkerung! Und trotzdem die drittgrößte Wirtschaftsmacht der Welt. Weil wir fleißig sind. Weil heute mehr Frauen und Männer arbeiten gehen als je zuvor in unserer Geschichte. 

Darunter sind auch viele aus anderen Ländern, die hier bei uns mit anpacken und längst Teil der Erfolgsgeschichte Deutschlands sind. Lassen wir uns also nicht auseinanderdividieren! Von niemandem!

Bei uns kann auch ein Kind aus einer Arbeiterfamilie auf eine ordentliche Schule gehen. Jede und jeder kann sich darauf verlassen, beim Arzt oder im Krankenhaus medizinisch gut behandelt zu werden. Und bei allen Interessensunterschieden: In kaum einem anderen Land der Welt arbeiten Arbeitgeber und Arbeitnehmer so eng zusammen, wenn es um Löhne und Arbeitsbedingungen geht.

เรามีจำนวนประชากรเพียง 84 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นเพียง 1% ของประชากรโลก แต่ถึงกระนั้น เรากลับเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับสามของโลก สิ่งนี้เป็นผลมาจากความขยันหมั่นเพียรของพวกเรา เพราะในวันนี้ มีผู้หญิงและผู้ชายที่ออกมาทำงานมากกว่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของเรา

ในจำนวนนั้น ยังมีผู้คนจากประเทศอื่นๆ ที่มาร่วมทำงานกับเรา และกลายเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวความสำเร็จของเยอรมนี ดังนั้น ขออย่าให้เราแบ่งแยกกัน  ไม่ว่าจะจากใครหรือสิ่งใดก็ตาม

ในประเทศของเรา เด็กจากครอบครัวแรงงานก็สามารถเข้าถึงโรงเรียนที่ดีได้ ทุกคนสามารถมั่นใจได้ว่า จะได้รับการดูแลทางการแพทย์อย่างดี ไม่ว่าจะที่คลินิกหรือโรงพยาบาล และแม้จะมีความแตกต่างในผลประโยชน์ แต่แทบไม่มีประเทศใดในโลกที่นายจ้างและลูกจ้างทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาค่าจ้างและสภาพการทำงานเหมือนที่เราเป็นอยู่ในเยอรมนี

Kaum ein Land hat international so viele Freunde und Partner wie Deutschland. Auch das habe ich in den Tagen nach dem Anschlag von Magdeburg erlebt, als mich aus aller Welt Nachrichten des Mitgefühls erreicht haben.

Zusammenhalt entsteht auch im vermeintlich Kleinen, Alltäglichen. Wo die Großeltern auf die Enkel aufpassen, die Nachbarn für das alte Ehepaar im Haus einkaufen oder Familien ihre Angehörigen pflegen. Wo Eltern den Fahrdienst im Sportverein übernehmen oder Kuchen backen für den Schulbasar.

„Das ist doch nicht der Rede wert“, würden die meisten wahrscheinlich über ihr Engagement im Alltag sagen. Aber dieses millionenfache Einstehen füreinander ist der Rede wert. Dazu zählt die viele unbezahlte Arbeit, die Tag für Tag zuhause geleistet wird – übrigens immer noch meistens von Frauen.

แทบไม่มีประเทศใดในโลกที่มีมิตรและพันธมิตรนานาชาติมากเท่าเยอรมนี กระผมได้สัมผัสถึงสิ่งนี้ในช่วงวันหลังจากเหตุการณ์โจมตีที่เมืองมักเดอบวร์ก เมื่อมีข้อความแสดงความเสียใจและความเห็นอกเห็นใจส่งมาจากทั่วทุกมุมโลก

ความสามัคคีเกิดขึ้นได้แม้ในสิ่งเล็ก ๆ ที่ดูธรรมดาในชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อปู่ย่าตายายช่วยดูแลหลาน เมื่อเพื่อนบ้านช่วยซื้อของให้คู่สามีภรรยาสูงอายุในอาคารเดียวกัน หรือเมื่อครอบครัวดูแลสมาชิกในบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือ

หรือในกรณีที่พ่อแม่ช่วยขับรถรับส่งในชมรมกีฬา หรืออบขนมสำหรับงานโรงเรียน หลายคนอาจพูดว่า "สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญถึงขนาดต้องพูดถึง" แต่ในความเป็นจริง การช่วยเหลือกันเช่นนี้ที่เกิดขึ้นนับล้านครั้งในทุกวัน คือ สิ่งที่มีค่าควรแก่การกล่าวถึง

การทำงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน โดยเฉพาะงานในครอบครัวซึ่งยังคงเป็นหน้าที่ส่วนใหญ่ของผู้หญิง คือ ส่วนสำคัญที่หล่อหลอมความเข้มแข็งของสังคมเรา

Alle großen Erfolge beginnen mit Zusammenhalt. 

Deutschlands Wiedervereinigung – wir feiern sie im neuen Jahr zum 35. Mal. Sie war das Ergebnis hunderttausender Entscheidungen Einzelner, gemeinsam das Richtige zu tun. Mutige Bürgerinnen und Bürger der DDR gingen Seite an Seite auf die Straße und riefen trotz aller Angst vor der Stasi: „Wir sind das Volk“. Und später dann: „Wir sind ein Volk.“

Wenn also ein Land die Erfahrung gemacht hat, dass Zusammenhalt die Dinge zum Besseren verändern, dass Zusammenhalt sogar Mauern zum Einsturz bringen kann, dann sind wir das. Wir hier in Deutschland! 

Damit ist auch klar: Wie es in Deutschland weitergeht, das bestimmen Sie – die Bürgerinnen und Bürger. 

Darüber entscheiden nicht die Inhaber sozialer Medien. In unseren Debatten kann man ja manchmal den Eindruck gewinnen: Je extremer die Meinung, desto größer die Aufmerksamkeit. Aber nicht, wer am lautesten schreit, bestimmt darüber, wie es in Deutschland weitergeht. Sondern die ganz große Mehrheit der Vernünftigen und Anständigen.

ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ทุกประการล้วนเริ่มต้นจากความสามัคคี

การรวมประเทศเยอรมนี ซึ่งในปีใหม่นี้เราจะเฉลิมฉลองครบรอบ 35 ปี  คือ ผลลัพธ์ของการตัดสินใจนับแสนครั้งของแต่ละบุคคล ที่เลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องร่วมกัน

พลเมืองผู้กล้าหาญของเยอรมนีตะวันออกออกมาเดินเคียงข้างกันบนท้องถนน แม้ต้องเผชิญความหวาดกลัวต่อพวกตำรวจลับสตาซี และพวกเขาได้เปล่งเสียงว่า “พวกเราคือประชาชน” และในภายหลังได้กล่าวว่า “พวกเราคือหนึ่งเดียวกัน”

หากมีประเทศใดที่ได้เรียนรู้ว่าความสามัคคีสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น และสามารถทำลายกำแพงที่แบ่งแยกเราออกได้ ประเทศนั้นก็คือเรา ประเทศเยอรมนี

และสิ่งนี้ทำให้ชัดเจนว่า อนาคตของเยอรมนีจะเป็นเช่นไร ขึ้นอยู่กับท่าน พลเมืองทุกท่าน

ไม่ใช่เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่จะเป็นผู้ตัดสินเรา ในการอภิปรายของเรา บางครั้งอาจดูเหมือนว่า ยิ่งความคิดเห็นรุนแรงเท่าไหร่ ยิ่งได้รับความสนใจมากขึ้น

แต่ผู้ที่ส่งเสียงดังที่สุดไม่ใช่ผู้ที่กำหนดทิศทางของเยอรมนี หากแต่เป็นคนส่วนใหญ่ที่มีเหตุผลและยึดมั่นในความถูกต้องต่างหากที่จะเป็นผู้กำหนดอนาคตของเรา

Das gilt auch bei der anstehenden Bundestagswahl am 23. Februar.

Ich möchte Sie heute bitten: Gehen Sie wählen! Wer sich umschaut in der Welt, der weiß, was für eine riesige Errungenschaft freie und geheime Wahlen sind.

Und noch eine Bitte habe ich – oder vielmehr einen Wunsch. Gute Neujahrswünsche gehören am Silvesterabend ja schließlich dazu. Ich wünsche uns, dass wir uns nicht gegeneinander aufwiegeln lassen.

Nach dem furchtbaren Attentat von Magdeburg dauerte es nur wenige Minuten, bis wilde Gerüchte durchs Internet und durch die sozialen Medien geisterten. Klar ist: Wo es Versäumnisse gab bei den Sicherheitsbehörden, da werden diese aufgeklärt und abgestellt.

Nicht wenige der Gerüchte und Mutmaßungen aber haben sich inzwischen als unwahr herausgestellt. Sowas spaltet und schwächt uns. Sowas tut unserem Land nicht gut.

สิ่งนี้ยังคงเป็นจริงสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 23 กุมภาพันธ์

วันนี้ กระผมขอเรียกร้องต่อทุกท่าน โปรดไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง หากมองไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก จะเห็นได้ชัดว่า การมีสิทธิ์เลือกตั้งที่เสรีและอิสระเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม

และกระผมมีคำขออีกประการหนึ่งหรือจะเรียกว่าความปรารถนาก็ว่าได้

ในค่ำคืนก่อนวันปีใหม่ การอวยพรปีใหม่ถือเป็นธรรมเนียมที่ขาดไม่ได้ กระผมขออวยพรให้เราทุกคนไม่ยอมให้ใครหรือสิ่งใดทำให้เราขัดแย้งกัน

หลังจากเหตุการณ์โจมตีอันน่าสลดในเมืองมักเดอบวร์ก ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีก่อนที่ข่าวลือและข้อมูลเท็จจะแพร่กระจายไปทั่วอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย

สิ่งที่ชัดเจน คือ หากมีข้อบกพร่องในหน่วยงานความมั่นคง สิ่งเหล่านี้จะถูกตรวจสอบและแก้ไข แต่หลายข่าวลือและข้อสันนิษฐานที่แพร่กระจายออกมากลับถูกพิสูจน์ว่าไม่เป็นความจริง สิ่งเหล่านี้สร้างความแตกแยกและทำให้เราอ่อนแอลง สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นผลดีต่อประเทศของเราเลย

Liebe Mitbürgerinnen und Mitbürger,

wir haben es gemeinsam in der Hand: Wir können 2025 zu einem guten Jahr machen.

Mit Respekt voreinander, mit Vertrauen zueinander, mit Interesse aneinander und mit Engagement füreinander. Damit im Gepäck geht es gut weiter in Deutschland, liebe Mitbürgerinnen und Mitbürger.

Das wünsche ich unserem Land. Und Ihnen und Ihren Liebsten wünsche ich von ganzem Herzen ein frohes und glückliches neues Jahr.

ถึงประชาชนผู้เป็นที่รักทุกท่าน

เรามีความสามัคคีอยู่ในมือของเราทุกคน เราสามารถทำให้ปี 2025 เป็นปีที่ดีได้

ด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน ด้วยความไว้วางใจต่อกัน ด้วยความใส่ใจในกันและกัน และด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมื่อเรามีสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐาน ประเทศเยอรมนีของเราจะก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง 

นี่คือความปรารถนาของกระผมต่อประเทศของเรา และสำหรับท่านและครอบครัวที่รักของท่าน ขออวยพรด้วยใจจริงให้ทุกท่านมีปีใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยความสุขและโชคดี สุขสันต์ปีใหม่

😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊

ในมุมมองส่วนตัวของผมเมื่อได้อ่านและศึกษาสุนทรพนจ์นี้ มีความรู้สึกว่า สุนทรพจน์นี้แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของประชาชนเยอรมัน ความสามารถในการเผชิญวิกฤต ความภาคภูมิใจในคุณค่าของประชาธิปไตยและความเท่าเทียม รวมถึงบทบาทสำคัญในเวทีระหว่างประเทศ ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของเยอรมันที่มุ่งมั่น สร้างสรรค์ และยืนหยัดบนความสามัคคีในสังคมของเยอรมัน

ผมแบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ 
1. การแสดงความคิดของนายกรัฐมนตรี
2. การแสดงความรู้สึกของนายกรัฐมนตรี
3. การแสดงถึงความเป็น "คนเยอรมัน" 

ดังผมจะอธิบาย ดังนี้
1. การแสดงความคิดของนายกรัฐมนตรี (Ideen) สุนทรพจน์สะท้อนถึงความคิดพื้นฐานที่สำคัญของเยอรมันในหลายมิติ กล่าวคือ
  • ความสำคัญของความสามัคคี (Zusammenhalt) ความคิดเรื่องความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นจุดเด่น สะท้อนผ่านคำว่า Zusammenhalt และ Mit-Einander ที่ถูกใช้ซ้ำ ๆ ในสุนทรพจน์
  • การมองอนาคตด้วยความเชื่อมั่น มีการเน้นย้ำถึงความสามารถของประชาชนในการกำหนดอนาคตของประเทศเอง เช่น การเลือกตั้ง หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ
  • ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม (Verantwortung) มีการกล่าวถึงบทบาทของประชาชนในชีวิตประจำวัน เช่น การช่วยเหลือกันในชุมชนและการสนับสนุนยูเครนในบริบทของสงคราม
  • ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับสามของโลกถูกกล่าวถึง เพื่อแสดงถึงความสามารถของประชาชนเยอรมันในการสร้างความสำเร็จร่วมกัน

2. ความรู้สึก (Emotionen) สุนทรพจน์นี้แสดงถึงความรู้สึกหลากหลาย

  • ความเสียใจและเห็นใจ (Mitgefühl) สะท้อนถึงความเสียใจจากเหตุการณ์โจมตีที่มักเดอบวร์ก และการแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อผู้บาดเจ็บและผู้สูญเสีย
  • ความภาคภูมิใจในประเทศชาติ มีการเน้นถึงความสำเร็จของเยอรมนี เช่น การรวมประเทศ และความสามารถของประชาชนในการเผชิญวิกฤต
  • ความหวังและแรงบันดาลใจ การกล่าวถึงปีใหม่และอนาคตของประเทศในเชิงบวกแสดงถึงความหวังและความตั้งใจที่จะสร้างสังคมที่ดีขึ้นร่วมกัน

3. ความเป็นเยอรมัน (Deutschsein) ความเป็นเยอรมันถูกสะท้อนผ่านหลายมิติ

  • คุณค่าของประชาธิปไตย การเรียกร้องให้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งและการเน้นถึงความสำคัญของการเลือกตั้งที่เสรีและลับสะท้อนถึงรากฐานประชาธิปไตยของเยอรมัน
  • การให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม เช่น การเข้าถึงการศึกษาที่ดีสำหรับเด็กจากครอบครัวแรงงาน และระบบการแพทย์ที่มีคุณภาพสำหรับทุกคน
  • การทำงานหนัก (Arbeitsethik) การกล่าวถึงความขยันหมั่นเพียรและการทำงานร่วมกันของคนเยอรมันเป็นคุณลักษณะที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมการทำงานที่เข้มแข็ง
  • ความเป็นสากล เยอรมันมีมิตรและพันธมิตรนานาชาติจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทของเยอรมันในเวทีโลก
  • การเรียนรู้จากอดีต การกล่าวถึงการรวมประเทศและบทเรียนจากเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สะท้อนถึงการยึดถือประสบการณ์ที่ผ่านมาในการสร้างอนาคต

😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊

คำศัพท์และสำนวนที่น่าสนใจ100 คำ 

คำศัพท์/สำนวน (เยอรมัน)คำแปล (ไทย)
Liebe Mitbürgerinnen und Mitbürgerประชาชนผู้เป็นที่รัก
Böseความชั่วร้าย
jähอย่างฉับพลัน
Vorweihnachtsabendค่ำคืนก่อนวันคริสต์มาส
unvorstellbarer Albtraumฝันร้ายที่ไม่อาจจินตนาการได้
menschenverachtendไร้มนุษยธรรม
wahnsinniger Attentäterผู้ก่อการบ้าคลั่ง
Zusammenhaltความสามัคคี
Ersthelferผู้ช่วยเหลือเบื้องต้น
Seelsorgerผู้ให้คำปรึกษาทางจิตใจ
Schreckensnachtค่ำคืนแห่งความหวาดกลัว
hochprofessionellอย่างมืออาชีพ
Hilfsbereitschaftความพร้อมช่วยเหลือ
Verletzteผู้บาดเจ็บ
Mit-Einanderการอยู่ร่วมกัน
schwierige Zeitenช่วงเวลาที่ยากลำบาก
wachsende Beklemmungความกังวลที่เพิ่มขึ้น
brutaler Angriffskriegสงครามโจมตีที่โหดร้าย
fleißigขยันหมั่นเพียร
auseinanderdividierenแบ่งแยก
Arbeiterfamilieครอบครัวแรงงาน
medizinisch gut behandeltได้รับการดูแลทางการแพทย์อย่างดี
Löhne und Arbeitsbedingungenค่าจ้างและสภาพการทำงาน
unzählige Entscheidungenการตัดสินใจนับไม่ถ้วน
mutige Bürgerinnen und Bürgerพลเมืองผู้กล้าหาญ
wir sind ein Volkเราคือหนึ่งเดียวกัน
sozialen Medienโซเชียลมีเดีย
extremer Meinungความคิดเห็นสุดโต่ง
große Mehrheit der Vernünftigenคนส่วนใหญ่ที่มีเหตุผล
anstehende Bundestagswahlการเลือกตั้งสภาบุนเดสทากที่กำลังมาถึง
freie und geheime Wahlenการเลือกตั้งที่เสรีและลับ
wilde Gerüchteข่าวลือ
Versäumnisseข้อบกพร่อง
aufgeklärt und abgestelltถูกตรวจสอบและแก้ไข
Engagement füreinanderความมุ่งมั่นช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
Respekt voreinanderความเคารพซึ่งกันและกัน
Vertrauen zueinanderความไว้วางใจต่อกัน
Interesse aneinanderความใส่ใจในกันและกัน
frohes und glückliches neues Jahrปีใหม่ที่มีความสุขและโชคดี
Erfolgsgeschichte Deutschlandsเรื่องราวความสำเร็จของเยอรมนี
Gegeneinanderการต่อต้านกัน
Aneinander-vorbeiการเมินเฉยต่อกัน
Mitgefühlความเห็นอกเห็นใจ
Alltäglichenสิ่งธรรมดาในชีวิตประจำวัน
ein Kind aus einer Arbeiterfamilieเด็กจากครอบครัวแรงงาน
Kuchen backen für den Schulbasarอบขนมสำหรับงานโรงเรียน
unbezahlte Arbeitงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน
Zukunft Deutschlandsอนาคตของเยอรมนี
vermeintlich Kleinenสิ่งเล็กๆ ที่ดูเหมือนจะไม่สำคัญ
eng zusammenarbeitenทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด
35 Jahre Wiedervereinigung35 ปีแห่งการรวมประเทศ
Einschätzung des Stasiการประเมินของสตาซี
wachsende Beklemmungความกังวลที่เพิ่มขึ้น
Lautesten schreitผู้ที่ส่งเสียงดังที่สุด
vernünftigen Mehrheitคนส่วนใหญ่ที่มีเหตุผล
Silvesterabendค่ำคืนส่งท้ายปี
Riesige Errungenschaftความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊

ณัฐพล จารัตน์
กรุงเบอร์ลิน
๑ มกราคม ๒๕๖๘