Search This Blog

Sunday, April 30, 2023

การคิดคำนวณเงินเดือนของพนักงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

 ข้อหารือกฎหมายแรงงานนี้ ผมนำมาจากข้อหารือที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน หรือภาษาอังกฤษเรียก Department of Labour Protection and Welfare) กระทรวงแรงงานครับ


บริษัทเอกชนแห่งหนึงหารือเกี่ยวกับการคิดคำนวณเงินเดือนของพนักงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานของบริษัทตนเอง ประเด็นข้อหารือ คือ

1. กรณีพนักงานเริ่มทำงานในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมี 28 วัน หรือเดือนมีนาคมซึ่งมี 31 วัน ในการคำนวณจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน บริษัทฯ ใช้จำนวนวันตามปฏิทินทั้งหมดของเดือนนั้น ในการคคำนวณรายได้ต่อวันและคูณจำนวนวันที่ทำงานของเดือนนั้น เช่น

(1) พนักงานเริ่มงานในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ (มีจำนวนวัน 28 วัน) อัตราเงินเดือน เดือนละ 15,000 บาท ค่าจ้างต่อวันเป็น 15,000 หาร 28 เป็นเงินจ านวน 537.71 บาท ฉะนั้น เงินเดือน

ของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นเงิน ๕๓๕.๗๑ คูณ ๒๕ วัน เป็นเงินจ านวน ๑๓,๓๙๒.๘๖ บาท

(๒) หากพนักงานเริ่มงานในวันที่ ๔ มีนาคม ในการค านวณจ่ายเงินเดือน บริษัทฯ 

ใช้ ๑๕,๐๐๐ หาร ๓๑ วัน เป็นเงินจ านวน ๔๘๓.๘๗ บาทต่อวัน เงินเดือนของเดือนมีนาคม คิดเป็นเงิน 

๔๘๓.๑๗ บาท คูณ ๒๘ วัน เป็นเงินจ านวน ๑๓,๕๔๘.๓๖ บาท อยากทราบว่าวิธีคิดเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ 

อย่างไร


Wednesday, April 26, 2023

知られざるタイ人の性格や特徴7選 : 7 นิสัยและเอกลักษณ์ของคนไทยที่คุณยังไม่รู้

2-3 วันก่อน เพื่อนชาวญี่ปุ่นส่งลิ้งก์นี้ [https://thailand-navi.com/thai-personality] เป็นบทความภาษาญี่ปุ่นชื่อบทความ 知られざるタイ人の性格や特徴7選 (7 นิสัยและเอกลักษณ์ของคนไทยที่คุณยังไม่รู้)

ผู้เขียนบทความนี้ ผมก็ไม่ทราบว่าเขียนจากมุมมองของชาวญี่ปุ่นเองหรือเป็นคนไทยเขียน เป็นบทความที่น่าสนใจสำหรับการมองแนวคิดเชิงความแตกต่างทางวัฒธรรมธรรม การบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น หรือการบริหารธุรกิจแบบญี่ปุ่น เพื่อความเข้าใจระหว่างกันของคนไทยกับญี่ปุ่น ขออนุญาตแปลและเรียบเรียงเสริมเป็นภาษาไทย

มุมมองทั้งหมด 7 ข้อ ตามบทความนี้ เริ่มกันนะครับ


มุมมองที่ 1 คนไทยอยู่บนหลักการ "ไม่เป็นไร" (อาจหมายความว่า "คนไทยอะไร ๆ ก็ไม่เป็นไร")
ผู้เขียนบรรยายว่า คำว่า "ไม่เป็นไร" ของคนไทยนั้น อาจมีหลายความหมาย เช่นหมายถึง ไม่เป็นไร ไม่แคร์ เดี๋ยวมันก็ผ่านไปได้ ไม่ต้องคิดมาก ให้อภัยเถอะ หรือแม่แต่เป็นการแสเงความขอบคุณหรือแสดงความยินดี ก็ได้ในบางกรณี จะได้ยินคนไทยพูดบอกมาก ๆ ในแต่ละวันในหลายบริบทของการสนทนา แต่สิ่งสำคัญหคือความหมายลึก ๆ ของ "ไม่เป็นไร" แสดงถึง นิสัยใจคอและลักษณะนิสัยของคนไทยที่มีรากฐานจากการรักสงบ รักสันติ และให้อภัย

สำหรับคนญี่ปุ่น "ไม่เป็นไร" ดูจะเป็นเรื่องที่ "ไม่ไม่เป็นไร" ภาษาญี่ปุ่นน่าจะใกล้เคียงกับคำว่า 大丈夫 (ไดโจบุ : Daijobu) การพูดไม่เป็นไรเป็นการปัดความรับผิดชอบหรือแสดงออกถึงการไม่รู้สำนึกของการกระทำที่ผิดพลาด ไม่ใช่ทุกเรื่องที่จะให้อภัย คนญี่ปุ่นอาจไม่เข้าใจได้ว่า คนไทยจะให้อภัยหรือแล้วต่อกันง่าย ๆ เพียงคำว่า "ไม่เป็นไร" เท่านั้นหรอ

ในมุมมองของผมเอง รากฐานสำคัญของ "ไม่เป็นไร" ได้รับอิทธิพลจากหลักธรรมของศาสนาพุทธ หลักการให้อภัย การไม่คิดพยาบาท เลิกแล้วต่อกันไม่เป็นกรรมเวรต่อกัน หรืออีกนัยคือ การอโหสกรรม โดยการใช้คำลำลองจาก "อโหสิกรรม" แทนด้วย "ไม่เป็นไร"  เมื่อให้อภัยก็จะได้บุญกุศล

ไม่ทราบว่าพี่ ๆ คิดเห็นอย่างไรบ้างครับ

มุมมองที่ 2 คนไทยชอบพูดเรื่องส่วนตัว 
ทำความเข้าใจคำว่า "เรื่องส่วนตัว" ในมุมของคนญี่ปุ่นจะหมายถึง เช่น พอตัวเองรู้สึกอ้วน พอเจอเพื่อนที่ทำงานก็จะบอกว่า ตัวเองอ้วนขึ้น หรือแต่งหน้าไม่สวยก็จะบอกว่าวันนี้แต่งหน้าไม่สวย วันนี้ไม่อาบน้ำ วันนี้ไม่ได้ทานข้าวเช้า เป็นต้น คนไทยเองเจอหน้ากันก็จะพูดแบบไม่ได้คิดว่ามันเป็นเรื่องที่ต้องเป็นความลับหรือเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่อยากให้ใครรู้ เทียบกับคนญี่ปุ่น ถ้าเราไปบอกว่า ไม่ได้เจอกันนานเลยเธอดูอ้วนจัง เธอหนักเท่าไร คนญี่ปุ่นที่ถูกถามคงแสดงความไม่พอใจ เพราะมันเป็นเรื่องส่วนตัว หรืออาจมองได้ว่าเป็นการบูลลี่ด้วยวาจาก็ได้

ในข้อด้วยย่อมมีข้อดี แม้ว่าเรื่องส่วนตัวในมุมมองของคนญี่ปุ่นดูเป็นเรื่องต้องระมัดระมัง แต่การพูดเรื่องส่วนตัวเชิงบวก เช่น เธอสวยจังเลย เสื้อเธอสวยจังซื้อที่ไหน นาฬิกาไฮโซจังเลย สำหรับหลาย ๆ คนดีใจที่ได้รับการพูดเชิงชมเชย

ฉะนั้น คนญี่ปุ่นจึงไม่สามารถตัดสินได้ว่า การพูดเรื่องส่วนตัวของคนไทยเป็นเรื่องที่ผิดวิสัย แต่การที่คนญี่ปุ่นมาอยู่ไทยแล้วไม่พูดเรื่องส่วนตัวนี่แหละเป็นเรื่องแปลก เป็นเรื่องของความแตกต่างทางวัฒนธรรมของไทยกับญี่ปุ่น ที่จะต้องใช้หลักการบริหารข้ามวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นมาช่วยอธิบาย

มุมมองที่ 3 คนไทยมีปฏิกิริยาเกินจริงในโรงภาพยนตร์

ในมุมมองนี้ เมื่อนานมาแล้ว ผมได้ดูหนังเรื่อง สตรีเหล็ก ที่เข้าฉายที่ญี่ปุ่น ทั้ง ๆ ที่มีฉากตลกหรือฉากที่ดูตกใจ คนญี่ปุ่นในโรงหนังนั่งนิ่ง จะหัวเราะเบา ๆ มีผมที่หัวเราะจนเพื่อนญี่ปุ่นที่ไปด้วยกันสะกิดให้หัวเราะเบา ๆ ในญี่ปุ่น เป็นเรื่องปกติที่จะเงียบที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่โรงภาพยนตร์ของไทยแตกต่างออกไป เมื่อมีฉากตลกก็จะมีเสียงหัวเราะหรือเสียงตบมือดังขึ้นแบบไม่ต้องแคร์สื่อ ก็เพราะมันเป็นหนังตลกถูกไหม ถ้าจะให้กลั้นหัวเราะจะไปเสียเงินดูทำไม เราไปดูก็เพราะอยากหัวเราะ ดูเพื่อความบันเทิง ไม่ดูเพื่อเก็บกดความรู้สึก พี่ ๆ ไม่ต้องคิดเลยว่าถ้าคนญี่ปุ่นดูหนังเศร้า หรือหนังผีน่ากลัว ๆ คงจะนิ่ง ๆ แต่สำหรับคนไทย ดูหนังสือเศร้าเราก็ร้องไห้เปิดเผย จะหรี๊ดตอนผีกระโดดออกมา เราก็กรี๊ดดังลั่นไม่มีใครจะสนใจ ลักษณะของคนญี่ปุ่นจะเก็บความรู้สึก รักษาอารมณ์ไม่แสดงออกชัดเจน หลายครั้งที่คนต่างชาติไม่อาจเข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงของคนญี่ปุ่นได้

มุมมองที่ 4 ผุ้ชายไทยใจดีแต่ชอบนอกใจ
สาว ๆ ชาวญี่ปุ่นมองว่า ผู้ชายไทยนิสัยดี มีความเป็นสุภาพบุรุษทั้งคำพูดและการกระทำที่เปิดเผยชัดเจน แต่ขึ้นชื่อเรื่องการนอกใจเป็นที่หนึ่ง เช่น ผู้ชายไทยช่วยถูกของให้ผู้หญิง ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นไม่ทำ ผู้ชายไทยมักเป็นผู้จ่ายมากกว่าจะแชร์ ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นไม่ทำ ผู้ชายไทยพูดจาอ่อนหวาน ชมฝ่ายหญิงเสมอ ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นไม่ทำ เรื่องสำคัญที่สาวญี่ปุ่นชอบชายไทย คือ ผู้ชายไทยช่วยทำงานบ้าน ช่วยเลี้ยงลูก ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ช่วย


มุมมองที่ 5 สาวไทยมีนิสัยห่วงไยแต่ขี้หึง
ความห่วงไยกับขี้หึงเป็นเรื่องที่เข้าใจและแยกไม่ได้ ตอนไหนห่วงไย ตอนไหนหึง แม้กระทั้งตอนโกรธยังไม่เข้าใจว่าโกรธแบบนี้คือโกรธแบบห่วงไย หรือแบบหึงหวง 
อย่างไรก็ตามไม่ว่าสาวไทยหรือสาวญี่ปุ่นก็เป็นเรื่องที่เข้าได้ยาก ถามว่าทำไมทำอย่างนั้น คนไทยจะตอบว่า "จะได้ทำบุญ" "คนนั้นน่าสงสาร" หรือ "จะได้ช่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ บรรเทาความทุกข์อยากให้คนอื่น" ซึ่งที่ญี่ปุ่นการจะบริจาคให้ใคร จะคิดแล้วคิดอีก จนไม่ยอมควักกันง่าย ๆ

มุมมองที่ 6 คนไทยชอบช่วยเหลือผู้อื่นและชอบบริจาค
การชอบช่วยเหลือผู้อื่นนอกจากจะแสดงถึงนิสัยส่วนบุคคลแล้ว ยังยึดโยงกับศาสนาพุทธที่สอนให้ช่วยเหลือผู้อื่น สอนให้สละทรัพย์หรือเสียสละเพื่อคนที่ลำบากกว่าตนเอง คนไทยชอบไปวัด จะเห็นภาพการบริจาคเงินมากบ้างน้อยบางแล้วแต่บุคคล แต่ที่น่าแปลกใจคือ แม้ตนเองจะมีเงินไม่มากหรือจำเป็นที่ยังต้องใช้เงิน คนไทยก็กล้าจะบริจาคเงินจำนวนหนึ่งได้โดยไม่คิดว่าตนเองจะลำบาก

มุมมองที่ 7 คนไทยขอบโซเซียล
สิ่งที่น่าแปลกใจมาก คือ คนไทยโพสทุกอย่าง โพสรู้ตัวเอง กินอะไร ทำอะไร ไปที่ไหน ไปกับใคร ส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่มีรูปตนเองมากกว่ารู้ที่จะอยากให้เห็นสถานที่ เช่น ไปเที่ยวทะเลที่มีชายหาดสวยงาม แต่จะได้เห็นรูปคนโพสบังวิวทะเล จนไม่รู้ว่าทะเลสวยหาดสวยเป็นอย่างไร รูปที่มีคนอื่น ๆ ติดไปด้วยก็จะไม่มีการเบลอภาพ และไม่ขออนุญาตคนอื่นที่มีภาพติดไปด้วย รูปภาพเด็กหรือแม้แต่รู้อุบัติเหตุคนไทยก็จะลงโดยไม่ปิดบังทั้ง ๆ ที่มันเป็นภาพส่วนบุคคลหรือไม่ใช้ภาพที่ตนเองมีความเกี่ยวข้อง

ทั้งหมดเป็นมุมมองเล็ก ๆ ที่มาจากบทความจากเว็บ [https://thailand-navi.com/thai-personality] ซึ่งผมขออนุญาตย้ำว่าไม่ได้แปลตรง ๆ ทุกตัวอักษรแต่ได้เพิ่มติดความเห็นส่วนตัวเรียบเรียงเสริมด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นมุมมองของบทความนี้ที่มีต่อสังคมไทย ซึ่งเป็นเพียงมุมมองเท่านั้น ที่แต่ละท่านมีประสงการณ์ต่างกัน ไม่ได้มุ่งสร้างความขัดแย้งทางวัฒนธรรมแต่ประการใด หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้สนใจ หากผิดพลาดประการใด ยินดีให้ผู้รู้ชี้แนะให้เหมาะสมครับ

ขอบคุณครับ
ありがとうございます。

twitter @NathJarat


Thursday, April 20, 2023

"วิชาชีพวิจัย" เสริมสมรรถนะนักวิจัยไทยสู่สากล

สุภาพบุรุษสภาสตรีและพี่ ๆ ทุกท่านเคยได้ยิน #ใบประกอบวิชาชีพวิจัย กันไหมครับครับ ผมเคยได้ยินเรื่องใบประกอบวิชาชีพวิจัยมานานพบสมควร ยิ่งตอนเรียนที่ญี่ปุ่น ผมเห็นเพื่อนญี่ปุ่นหลายคนที่ทำงานเป็นนักวิจัยพยายามไปสอบรับคุณวุฒินักวิจัย ส่วนของประเทศเรานั้นไม่น่าจะมีคุณวุฒิแบบนี้ เท่าที่เข้าใจประเทศเราคงมีเพียงการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานเท่านั้น (ตามที่ผมเข้าใจเมื่อหลาย ๆ ปีก่อนนะครับ)

เมื่อไม่นานมานี้ ผมจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ  อยากจะสมัครเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ด้วยมั่นใจมากว่าเรามีปริญญาเอกและภาษาก็พอได้ พอสมัครไปทางนั้นถามถึงใบประกอบวิชาชีพวิจัย ไม่ได้สนใจถามถึงปริญญา วินาทีนั้นผมไม่เข้าใจว่าคืออะไร พอนึกพิจารณาสักครู่ เข้าใจได้ว่านั่นคือใบคุณวุฒิวชาชีพ เพราะผมเคยทำงานที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมาช่วงหนึ่งสั้น ๆ จึงพอเข้าใจได้เร็ว 

ผมเริ่มหาข้อมูลทันทีเพื่อจะขอรับใบคุณวุฒิวิชาชีพและสอบถามไปยังสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพโดยตรง จึงได้รับคำแนะนำให้ติดต่อไปที่ #สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย พี่ ๆ สามารถคลิกลิ้งก์ของสถาบันได้ที่ 

ขอเชิญผู้สนใจสมัครสอบรับใบประกอบวิชาชีพวิจัย รุ่นที่ 2 – สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย (trdoci.com)


ผมรู้สึก amazing ประเทศไทยเราดำเนินการด้านมาตรฐานอาชีพนักวิจัย เป็นที่ยอมรับระดับสากล ผมเข้าใจนะว่าพี่ ๆ หลายคนก็คงแปลกใจดังที่ผมเคยรู้สึก “มีปริญญาอยู่แล้ว ทำวิจัยเป็นอยู่แล้ว จะมีไปทำไม" 

เรื่องของการใบประกอบวิชาชีพวิจัยไม่ได้มีกฎหมายบังคับ แต่กฎหมายรับรองวิชาชีพ สามารถนำไปอ้างอิง และแสดงถึงมาตรฐานทางอาชีพนักวิจัยควรมี สำหรับผมมีความจำเป็นเพราะเห็นประโยชน์ในการทำงานต่างประเทศ ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับท่านเลขาธิการสถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะอาชีพประเทศไทย ท่านปรารถถึงความสำเร็จและเป็นความภาคภูมิใจสำหรับวิชาชีพวิจัยของประเทศ สามารถเทียบกับต่างประเทศเจริญทั้งหลายในโลกนี้ได้ 

ในกระทู้นี้ผมคงไม่ได้บรรยายอะไรมากมายนัก ผมก็อยู่ระหว่างจัดเตรียมเอกสารเพื่อขอสอบรับใบวิชาชีพวิจัยเช่นกัน ถ้าได้ผ่านตามคุณสมบัติของวิชาชีพวิจัย จะรีวิวทุกขั้นตอนให้พี่ ๆ ได้ทราบด้วย 

ตอนนี้กำลังเปิดสมัครรับใบประกอบวิชาชีพวิจัย รุ่นที่ 2 พี่ ๆ ที่สนใจลองสอบถามตามเบอร์โทรและที่อยู่ตามประกาศ  ช่วงนี้อากาศร้อนมาก แต่พอเห็นค่าไฟไม่รู้จะต้องทดอยู่แบบร้อน ๆ ดีกว่าไหมนะครับ 

กราบขอบพระคุณครับ

ณัฐพล จารัตน์

twitter @NathJarat

***อนุทินนี้เขียนขึ้นตามความคิดเห็นส่วนบุคคล เพื่อเป็นการเผยแพร่มุมมองและแลกเปลี่ยนความรู้ทั่วไป ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือพาดพึงให้เกิดความเสียหาย หากท่านพบเห็นสิ่งใด้ไม่สะดวกใจ โปรดติดต่อผมได้ทันทีครับผม***

 Also link: https://www.gotoknow.org/posts/712401