Search This Blog

Monday, December 28, 2020

เปิดหมวก ขอทาน หรือทุนการศึกษา : วัฒนธรรมบนมุมมองของสังคมไทย

ชายสูงวัยเปิดเพลงเสียงแคนอิสาน พร้อมชักหุ่นให้เต้นราวกบกำลังเป่าแคนอย่างมีชีวิตชีวา ดูสมจริงมาก 
ที่พื้นหน้าหุ่นที่กำลังแสดง มีหมวกสีดำหงายอยู่ เป็นสัญลักษณ์ว่า ขอให้ผู้ชมที่พอใจการแสดงช่วยใส่เงินตามแต่ใจชอบให้ด้วย 

ผมยืนดูการแสดงนี้นานหลายนาที สังเกตคนที่มุงดู มีคนพาเด็กถ่ายรูปคู่กับหุ่น บางคนยืนถ่ายรูป หรือไม่ก็อัดคลิป บางคนก็เดินผ่านไปเฉย ๆ บางคนก็เดินผ่านแต่ทิ้งเงินลงในหมวก 

สิ่งที่เรากำลังดูนี่ จะเรียกว่าขอทานก็ไม่ใช่ จะเรียกการแสดงเชิงวัฒนธรรม แล้วได้รับค่าจ้าง 

งานที่ผมแวะไปคือ อยุธยามรดกโลก หรืองานกาชาดประจำปีของอยุธยา 

ภาพที่เห็นนี้ยังคู่กับสังคมไทยอีกนานเเสนนาน 

ประเด็น คือ ผมอยากยกระดับกลุ่มนี้ ให้มี แบรนด์ ทำมาเก็ตติ้ง โดยรัฐน่าจะต้องมีคล้าย ๆ อัยการที่เป็นโจทษ์ให้ผู้เสียหาย 

เราก็ควรมีมาเก็ตติ้งของจังหวัดนั้น ๆ ที่สามารถทำการตลาดให้พื้นที่นั้น ๆ แข่งกัน หรือทำให้การแสดงแบบนี้มีเฉพาะพื้นที่ 

ตอนนี้จดไว้เท่านี้ไว้มาเขียนรายละเอียดอีกที 

Wednesday, December 9, 2020

เมื่อภาษาอังกฤษกลายเป็นเพียงทักษะสามัญ ไม่ใช่ความสามารถพิเศษอีกต่อไปใน ASEAN

เมื่อภาษาอังกฤษกลายเป็นเพียงทักษะสามัญ ไม่ใช่ความสามารถพิเศษอีกต่อไปใน ASEAN


การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN community) อย่างเป็นทางการของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มนับถอยหลังไปเหลืออีกไม่ถึง 1 ปี ความเปลี่ยนแปลงต่าง ในภูมิภาคคงไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลับ หรือจะทำให้เกิดความวุ่นวายจากกฎระเบียบที่เราต้องใช้ร่วมกับกับชาติอาเซียนอื่น ๆ อันที่จริงความเป็นอาเซียน หรือความร่วมมือต่าง ๆ ของอาเซียนได้เริ่มมานานแล้วตั้งแต่มีการเปิดการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เมื่อวันที่ 28 มกราคม 1992  เป็นต้นมาและพัฒนามาเป็นประชาคนอาเซียน สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนอยากเล่าให้ผู้อ่านได้รับทราบ เป็นเรื่องของ “ภาษาอังกฤษ” อันเป็นภาษาราชการอาเซียน ตามที่บัญญัติใน กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ข้อ 34 ว่า “The Working language of ASEAN shall be English” ซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่า “ภาษาอังกฤษ” ย่อมมีบทบาทในทุกมิติในอาเซียน อย่างไรก็ตาม “ภาษาอังกฤษของเราพร้อมแล้วหรือยัง” สำหรับอนาคตในอาเซียน นี่เป็นคำถามที่ชวนให้คิดและพิจารณา



ผมมีความคิดเห็นว่า การศึกษาภาษาอังกฤษหรือการแตกตื่นการเรียนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ณ ขณะนี้ เหมือนการแตกตื่นการเรียนภาษาอังกฤษของคนสิงคโปร์ ราวปี 1967 ซึ่งในยุคนั้นคนสิงคโปร์ที่พูดภาษาอังกฤษได้มีน้อยมาก รุ่นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายสมัยนั้นพูดภาษาจีนและมาเลย์ ส่วนลูกหลานเพิ่งจะเริ่มส่งเรียนภาษาอังกฤษทั้งในโรงเรียนและในโบสถ์ ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลส่งเสริมให้ทุกคนเรียนภาษาอังกฤษด้วยการเปิดหลักสูตรต่าง ๆ เรียนเป็นภาษาอังกฤษ  การที่สิงคโปร์กำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารพื้นฐานของประเทศ มีเหตุผลว่าเพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำเอนเอียงให้ความสำคัญแก่ชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่ง กล่าวคือ หากจะกำหนดภาษาจีนให้ทุกเชื้อชาติเรียนทั้งหมด ย่อมทำให้ชาวมาเลย์ ชาวอินเดีย ชาวทมิฬ ที่เป็นพลเมืองส่วนหนึ่งของประเทศไม่พอใจ หรือแม้จะให้ภาษาจีนบังคับให้ทุกคนเรียน จะดูเป็นการให้ความสำคัญแก่คนจีนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางที่จะลดแรงกระทบทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมของคนสิงคโปร์ได้ และทำให้พลเมืองไม่ต้องเสียเวลาไปเรียนทุกภาษาของทุกเชื้อชาติในสิงคโปร์ แม้จะมีการกล่าวว่า สิงคโปร์เป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน คนจึงพูดภาษาอังกฤษได้ ซึ่งความเป็นจริงแล้วในยุคอาณานิคม ชาวสิงคโปร์ไม่โดนถูกบังคับให้เรียนภาษาอังกฤษ ในทางกลับกันชาวสิงคโปร์เรียนภาษาอังกฤษ เพราะมองเห็นแล้วว่า หากพูดภาษาอังกฤษได้ย่อมหางานทำได้ ค้าขายกับต่างประเทศได้ สามารถศึกษาหาความรู้ได้อย่างกว้างขวาง ยกระดับฐานะทางสังคมได้ และไม่ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างเชื้อชาติ  นับจากปี 1967 ที่เด็กตัวเล็ก ๆ ชาวสิงคโปร์เริ่มเรียนภาษาอังกฤษ จนกระทั้งปัจจุบันนับเป็นเวลาเกือบ 50 ปี เด็กเหล่านั้นกลายเป็นผู้ใหญ่ที่พูดภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี และแน่นอนว่าชาวสิงคโปร์ที่เกิดในยุคหลังย่อมมีทักษะภาษาอังกฤษดีมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน หรืออาจเทียบได้กับประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (mother tongue)

          สำหรับประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ อย่างเช่นประเทศไทย ปัจจุบันทุกคนกำลังเร่งเรียนภาษาอังกฤษกันอย่างจ้าละหวั่น ในอดีตคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ ดูเหมือนจะได้รับการยกย่องจากสังคม การพูดภาษาอังกฤษดูเหมือนจะกระจุกเพียงในเมืองหลวงและเมืองท่องเที่ยวเท่านั้น เช่น พัทยา ภูเก็ต เป็นต้น อีกทั้งการพูดภาษาอังกฤษได้นั้นเป็นดุจความสามรถพิเศษที่ยากจะมีใครทำได้  แต่นับจากนี้ไปผลจากโลกาภิวัตน์และการเกิดประชาคมอาเซียนกำลังทลายความคิดแบบมายาคติเหล่านั้น และกำลังจะทำให้ความสามรถในการพูดภาษาอังกฤษเป็นเพียงทักษะสามัญที่พลเมืองอาเซียนต้องทำได้ไม่แตกต่างกันอีกต่อไป แม้ว่าทักษะการพูดภาษาอังกฤษจะไม่สามารถพัฒนาให้เก่งอย่างก้าวกระโดดในทันทีทันใด แต่เชื่อได้เลยว่า ต่อไปหากใครยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ย่อมกลายเป็นเกาะดำอย่างแน่นอน

โดย ณัฐพล จารัตน์ 

เขียนไว้เมื่อ 21 ธันวาคม 2557 

Monday, December 7, 2020

Starbucks coffee : กลยุทธ์ภาพลักษณ์ที่มากกว่าการดื่มกาแฟ


ใช่แล้วครับ ถ้ามองเฉพาะคุณค่าทางโภชนาการหรืออรรถประโยชน์ของกาแฟทุกชนิด พื้นฐานที่เราทราบ คือ มีกาแฟฉันช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทของเราตื่นตัว ไม่ให้หลับหรือง่วงนอน กาแฟแค่ปกติหรือแสนแพง ก็คนมีหน้าที่ของมันเช่นนั้น

"กาแฟ" ว่ากันว่าเป็นเครื่องดื่มของชาวอาหรับ ในดินแดนของเอธิโอเปียในปัจจุบัน บริเวณนี้ในยุคโบราณมีเนินเขาชื่อ คัฟเฟ (ภาษาต้นทางไม่ทราบว่าเขียนอย่างไร) มีต้นที่เราเรียกว่าต้นกาแฟนี่เเหละ เติบโตอยู่ ชาวพื้นเมืองจะน้ำเมล็ดคัฟเฟ และบดเป็นฝงคัฟเฟ ชงดื่มเพื่อนบรรเทาความอยากอาการ ซึ่ง "คัฟเฟ" มีรากความหมายแปลว่า "ทำให้ไม่หิว" นั่นหมายความว่าท่านต้องดื่มแบบขมๆ ไม่เติมน้ำตาลหรือนมถึงจะไม่อยากอาหารนะครับ  

พอมาถึงตรงนี้พอจะเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์กาแฟลดน้ำหนักได้ไหมครับ ที่บอกว่าดื่มแล้ว ทำให้ความอยากอาหารลดลง นั่นแหละครับ "คัฟเฟ" ตามความหมายของตัวกาแฟดังเดิม 

กาแฟอย่าง Starbucks มีหน้าที่มากกว่าการลดความหิว แต่กลับทำให้ชวนเพิ่มความหิวและเพิ่มภาพลักษณ์ของผู้ดื่ม เพิ่มความดูสมัยใหม่ โก้เก๋ จนกาแฟไม่ได้ทำหน้าที่หลักตามหลักทางโภชนาการหรือตามรากความหมายเดิม 

ท่านเชื่อไหม แค่ท่านโพสรูปกำลังคุยธุรกิจกับลูกค้า ในร้าน Starbucks (สำเร็จหรือเปล่าไม่ทราบ) คนที่เห็นก็มองถึงว่า งานนี้ดูสำเร็จไปแล้ว เรื่องที่คุยคงดูไม่ใช่เรื่องของคนยุคเบบี้บูมเมอร์ คุยกันเป็นแน่แท้ 

จะว่าไปคราวหน้าผมมาเขียนอธิบายเชิงเศรษฐวัฒนธรรม (Economical culture) 

Sunday, December 6, 2020

วิทยานิพนธ์กับการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

วันนี้มีอาทิตย์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่งติดต่อมาพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นนี้ ท่านบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญ และน่าจะเป็นการป้องกันทั้งผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษา ในยุคดิจิตัลต่างคนต่างอ้างกันไปทั่ว อย่างไรก็ตามมาตรฐานการสร้างความน่าเชื่อมั่นในข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลเชิงคุณภาพ ต้องรัดกุมที่กระบวนการวิจัย สามารถตอบข้อสงสัยทักกระบวนการอย่างชัดเจนและเคลียร์ 

(ภาพมาจาก http://km.prd.go.th/พ-ร-บ-คุ้มครองข้อมูลส่วน/ , สืบค้นเมื่อ 9/12/2563)

.....
เมื่อไม่นานมานี้ ลูกศิษย์เก่าท่านหนึ่งที่ผมเคยสอนสมัยที่เขาเรียนปริญญาตรี ซึ่งตอนนี้เขาเพิ่งจบปริญญาโททางด้านสังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มาขอคำปรึกษา เนื่องจากเขากำลังจะถูกร้องเรียนจากผู้เข้าร่วมการวิจัย (ผู้ให้ข้อมูลหลักในวิทยานิพนธ์) สาเหตุเกิดจากเขาได้เปิดเผยชื่อนามสกุลจริง อาชีพ ตำแหน่งงาน และสถานที่ทำงานปัจจุบันของผู้เข้าร่วมการวิจัยโดยไม่มีวิธีการปกปิดข้อมูลใด ๆ ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ลูกศิษย์คนดังกล่าวทำการวิเคราะห์และตีความคำสัมภาษณ์แบบใส่สีตีไข่เกินเจตนารมณ์ของผู้เข้าร่วมงงานวิจัย จึงทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับความเสียหายและโกรธมาก

ผมถามเขาว่า “อาจารย์ที่ปรึกษา (วิทยานิพนธ์) ของคุณได้แนะนำให้ขออนุญาตสัมภาษณ์ตามแนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนทางสังคมศาสตร์และ เคยได้ยินเกี่ยวกับพ.ร.บ. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่กำลังจะบังคับใช้หรือไม่”

ลูกศิษย์ตอบว่า “ได้ทำหนังสือขออนุญาตสัมภาษณ์เก็บข้อมูล แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการทำวิจัยในคนเพราะคิดว่าไม่ใช่การวิจัยทางการแพทย์ ส่วนเรื่อง พ.ร.บ. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่เคยได้ยินมาก่อน”....

อ่านต่อที่ บทความ

.....
Zero to one 

https://lnkd.in/gmq6FyF

Saturday, August 1, 2020

キャベツの千切り ผักกะหล่ำปลีหั่นฝอย

千切り เป็นลักษณะการหั่นเป็นฝอยๆ เส้นเล็กๆ ยาวเรียว บ้างก็เรียก #ซอย #ฉีก 

キャベツ  กะหล่ำปลี

レタス   ผักสลัดแก้ว

大根         หัวไชเท้า

人参         แครอท

グリーンリーフ ผักกรีนลีฟ

赤キャベツ  ผักกะหล่ำปลีม่วง (คนญี่ปุ่นเห็นเป็นสีแดง จึงใช้ 赤)

ถุงผักแบบนี้ซื้อได้ที่ แม็กซ์เวลู่ #maxvalu สดใหม่ทุกวัน ในราคาน่ารัก ๆ 
 

Tuesday, July 28, 2020

แนวทางในการแก้ไขปัญหาชุมชนเพื่อการสร้างตำบลช่อสะอาด กรณีศึกษาตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ (The Community Problem Solving Methods for the ThambonChorsaardbuilding: Case Study of ThambonSawai, Prangku, Sisaket Province)

บทคัดย่อ 

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนเพื่อการต่อยอดเป็น “ตำบลช่อสะอาด” และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างชุมชน “ตำบลช่อสะอาด” ของตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำท้องถิ่น สร้างบรรยากาศการรับฟังความคิดเห็นเพื่อศึกษาหาแนวทางในการขยายเป็นตำบลช่อสะอาด โดยใช้โมเดลหมู่บ้านท่าคอยนางเป็นต้นแบบภายใต้แนวคิดตามหลักภาวนา 4 ที่ประกอบด้วย 4 เสา คือ เสากายสะอาด (ภาวิตกายะ) เสาพฤติกรรมสะอาด (ภาวิตสีละ) เสาจิตใจสะอาด (ภาวิตจิตตะ) และเสาปัญญาสะอาด (ภาวิตปัญญา) รวมไปกับการบูรณาการแนวคิด “บวร” เข้าร่วมด้วย ผลจากการศึกษาพบว่า ชุมชนตำบลสวายลงมติเห็นชอบให้ดำเนินการเข้าร่วมโครงการตำบลช่อสะอาดและต้องการนำรูปแบบช่อสะอาดเข้ามาแก้ไขปัญหาภายในตำบลและสนับสนุนการต่อต้านการคอร์รัปชันทุกรูปแบบ


คำสำคัญ:   ตำบลช่อสะอาด, ชุมชนสันติสุข, ภาวนา 4


Abstract

       The aims of this scholarly writing were to study problem solving method in order to move forward to “Tambon Chorsaard” and to present Tambon Chorsaard building progresses at Sawai, Prang Ku district Srisaket province. The studies were applied to participating and public hearing approaches by in-depth interviews with ten local leaders and voted for the new project, Tambon Chorsaard. The project was built toward the conceptual framework of  Bavana 4 consisting of Kaya-bhavana, Sila-bhavana, Citta-Bhavana and Panna-bhavana including to Borvorn (Home, Temple and School). The result of voting was that all village leaders accepted and agreed to the Tambon Chrsaard building. They hope that Tambon Chorsaard will able to reduce their local problems and support all action that caused corruptions.


Keywords:   Tambon Chorsaard, Peace Community, Bhāvanā 4


บทนำ 

โครงการพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยทางพระพุทธศาสนาชั้นนำของโลก มีหน้าที่นำหลักธรรมและแนวคิดทางพุทธศาสนาปรับประยุกต์แก้ไขปัญหาของสังคมเพื่อสันติสุขเกิดปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยและสนองนโยบายของรัฐบาลสาขาวิชาสันติศึกษาจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการสร้างความปรองดองโดยพุทธสันติวิธีให้นิสิตปริญญาเอกสามารถนำความรู้เชิงทฤษฎีจากห้องเรียนสู่การนำไปประยุกต์และทดลองดำเนินการจริงในพื้นที่จริงตำบลสวาย (Peace Studies, 2017) เพื่อศึกษากระบวนการของการเกิดปัญหา หาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ศึกษากรณีตัวอย่างที่ใกล้เคียงเพื่อหาทางออกที่เหมาะสม และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขที่ยั่งยืนตามแนวทางพุทธสันติวิธีจึงกำหนดพื้นที่และขอบเขตการศึกษา คือ ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม (PRA)ของผู้มีส่วนได้เสียในชุมชน อนึ่ง มูลเหตุสำคัญในการเลือกพื้นที่นี่ เนื่องจากหนึ่งในหมู่บ้านของจากทั้งหมด 10 หมู่บ้าน คือ บ้านท่าคอยนาง เป็นหมู่บ้านช่อสะอาดต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทยและกลายเป็นโมเดลหมู่บ้านช่อสะอาดขยายผลออกไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ หมู่บ้านช่อสะอาดเป็นโครงการต่อยอดมาจาก “หมู่บ้านศีล 5” ที่ดำเนินการจนประสบสำเร็จและบรรลุตามภารกิจที่ตั้งไว้ (Phramaha Hansa Dhammahaso, 2015)

โครงการหมู่บ้านช่อสะอาดเกิดเป็นครั้งแรกจากผลศึกษาและวิจัยพื้นที่ศึกษาปัญหา และเสนอแนวทางแก้ไข โดยใช้บ้านท่าคอยนาง ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่ในการสร้างต้นแบบ แนวคิดดังกล่าวได้รับการตอบรับจากภาครัฐและกำลังขยายไปยังหมู่บ้านต้นแบบทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อโครงการระดับหมู่บ้านได้รับเสียงชื่นชมและภาคประชาชนเรียกร้องให้ขยายโครงการอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดแนวคิดว่าจะยกระดับจาก “หมู่บ้าน” เป็น “ตำบล” ขยายจากหน่วยเล็กขึ้นเป็นหน่วยใหญ่ สร้างความเข้มแข็งในระดับตำบลต่อไป เป้าหมายของโครงการ คือ เพื่อสร้างชุมชนสันติสุขไร้การทุจริต สังคมที่มีความละอายต่อการคอร์รัปชันทุกรูปแบบ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่ได้จัดทำแผนแม่บทบูรณาการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) นำโดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ได้นำร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ๒๐ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ที่วิสัยทัศน์มุ่งสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนของประเทศประกอบกับนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่๓ (พ.ศ. 2560 - 2564)เป็นกรอบในการจัดทำแผนแม่บทบูรณาการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบระยะ๒๐ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) (The National Anti-Corruption Commission is a constitutional organization of Thailand,2017) ทั้งนี้ได้นำศาสตร์พระราชา “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ดำเนินการคู่ขนานกันไป การดำเนินการเพื่อสนองตามนโยบายภาครัฐ ต้องอาศัยสถาบันการศึกษาและภาคประชาสังคม คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและชาวชุมชนตำบลสวาย ต้องมีส่วนร่วมและบูรณาการความคิดและนำนโยบายไปปฏิบัติ ตามกรอบและตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้นมา เมื่อโครงการสามารถดำเนินการสำเร็จมีความเชื่อมั่นได้ว่าจะสร้างบรรยากาศความเป็นสังคมช่อสะอาดขยายเพิ่มเติมต่อไปจากระดับหมู่บ้าน เป็นระดับตำบล จากระดับตำบลเป็นระดับอำเภอ จากระดับอำเภอเป็นระดับจังหวัด และจากระดับจังหวัดเป็นระดับประเทศต่อไปตามลำดับ 

สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยในการดำเนินโครงการช่อสะอาด คือ มูลนิธิช่อสะอาด ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงาน ป.ป.ช. มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง คือ


  1. ให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการปลูกฝังค่านิยมคุณธรรมและจริยธรรมให้กับคนในชาติ

  2. โดยเฉพาะเยาวชนให้เป็นคนดีมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์

  3. ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและมีคุณธรรมจริยธรรม

  4. ให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

  5. ยกย่องและเผยแพร่เกียรติคุณของหน่วยงานและบุคคลที่ดีเด่นในด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและมีความซื่อสัตย์สุจริต

  6. ให้การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

  7. ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์และสาธารณกุศลหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆเพื่อสาธารณประโยชน์และสาธารณกุศลต่างๆ และ

  8. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

จากเหตุผลดังที่กล่าวมา กลุ่มนิสิตเล็งเห็นความสำคัญและสนใจศึกษาหาแนวทางในการขยายโครงการตำบลช่อสะอาด โดยใช้โมเดลหมู่บ้านท่าคอยนางเป็นต้นแบบนำตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่
จังหวัดศรีสะเกษ ได้กลายเป็นตำบลช่อสะอาดต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทย เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสังคมสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมคุณธรรมและจริยธรรมป้องกันและปราบปรามการทุจริตและมีความซื่อสัตย์สุจริตอย่างถาวรสืบต่อไป 


วัตถุประสงค์

1)  เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนเพื่อการต่อยอดเป็น “ตำบลช่อสะอาด”

2) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างชุมชน “ตำบลช่อสะอาด” ของตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่
จังหวัดศรีสะเกษ 


จาก “หมู่บ้าน” สู่ “ตำบล” 

แนวคิดการพัฒนาหมู่บ้านช่อสะอาด เป็นดำริความคิดจากการศึกษาและการทุ่มเทวิจัยของ
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ที่ประสงค์ให้ชุมชนบ้านท่าคอยนางอันเป็นบ้านเกิดของท่านให้กลายเป็นชุมชนแห่งสันติ ปราศจากการทุจริตทุกรูปแบบ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม น้อมนำคำสอนของพระพุทธเจ้าและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาปรับประยุกต์ในชุมชน

การพัฒนาหมู่บ้านช่อสะอาดเพื่อเป็นต้นแบบของหมู่บ้านช่อสะอาดที่จะนำไปขยายผลต่อและยกระดับเป็นตำบลช่อสะอาดได้นั้น ต้องอาศัยการศึกษาและวิจัยต่อเนื่องจากผลการศึกษาเดิมเพื่อให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติระยะที่๓และเป็นการนำความรู้จากห้องเรียนสู่การปฏิบัติจริงนอกชั้นเรียนนั้นกลุ่มนิสิตได้ตีกรอบในการศึกษาจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในตำบลสวายอำเภอปรางค์กู่จังหวัดศรีสะเกษโดยใช้โมเดลท่าคอยนาง เข้าไปใช้เป็นกลไกลและเป็นเครื่องมือในทุกหมู่บ้านที่อยู่ในการดูแลปกครองของตำบลสวาย ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านสวาย (หมู่ที่ 1) บ้านแสนแก้ว (หมู่ที่ 2) บ้านขาม (หมู่ที่ 3) บ้านทับขอน (หมู่ที่ 4) บ้านท่าคอยนาง (หมู่ที่ 5) บ้านกระโพธิ์น้อย (หมู่ที่ 6) บ้านไผ่ (หมู่ที่ 7) บ้านสนิท (หมู่ที่ 8) บ้านขามเหนือ (หมู่ที่ 9) และบ้านน้ำอ้อม (หมู่ที่ ๑๐) ดำเนินการภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์ (Ban Muang, 2018) คือ


  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาในเชิงกายภาพ (Physical Development)  เป็นการนำการพัฒนาตามนโยบายของภาครัฐ เพื่อตอบโจทย์ทางกายภาพของชุมชน ได้แก่ การสร้างกินดีอยู่ดี การส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำสอดคล้องกับหลักภาวิตกายะ 

  2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาในเชิงพฤติภาพ (Behavior Development)  เป็นการนำหลักธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นที่ยึดเหนี่ยว ได้แก่ ศีล 5 อันเป็นหลักฐานขั้นพื้นฐานของพุทธศาสนิกชนทั่วไป สอดคล้องกับหลักภาวิตสีละ

  3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาในเชิงจิตภาพ (Mental Development) เป็นการนำแนวคิดของ “บวร” คือ บ้าน วัด โรงเรียน หล่อหลอมร่วมกันตามหน้าที่หลักของตน สอดคล้องกับหลักภาวิตจิตตะ

  4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาในเชิงปัญญาภาพ (Intellectual Development) เป็นผลลัพธ์จากการนำหลักการทั้งหลายลงมาปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม คนในชุมชนเกิดความยั้งคิดยั้งทำ เกิดการตระหนักรู้ตัวตนและก้าวทันอารมณ์แห่งการเกิดความขัดแย้งและมีสันติภายในตนเอง สอดคล้องกับหลักภาวิตปัญญา


ดังที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อการดำเนินโครงการช่อสะอาดระดับหมู่บ้านประสบผลสำเร็จจนเกิดหมู่บ้านช่อสะอาดต้นแบบขยายหมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วประเทศตามโมเดลท่าคอยนางได้แล้ว จึงควรต่อยอดขยายโครงการขึ้นจากหมู่บ้านเพื่อให้ทุกหมู่บ้านในตำบลได้พัฒนาเป็นตำบลช่อสะอาด โดยเริ่มจากตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษเป็นตำบลต้นแบบของประเทศไทย 

ถอดบทเรียนจากการลงพื้นที่

การลงพื้นที่ของกลุ่มนิสิต ดำเนินการโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม (PRA) และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews)กับผู้นำท้องถิ่นทั้ง 10 หมู่บ้าน (Key Performance) ประกอบกับใช้ข้อมุลทุติยภูมิได้แก่ เอกสารการวิจัยและบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องเป็นข้อมูลเชิงสนับสนุน ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน 2561 ลงพื้นที่จริงร่วมกับชุมชน 2 ระยะ คือ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 25 - 26 มกราคม 2561 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2561 นอกจากนั้นยังมีการติดต่อขอข้อมูลและสอบถามกับผู้นำชุมชนโดยตรงทางโทรศัพท์ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนอย่างดี 

สืบเนื่องจากโครงการหมู่บ้านช่อสะอาดของบ้านท่าคอยนางได้วางกรอบแนวคิดและกรอบการดำเนินการเป็นแนวทางสำหรับโครงการตำบลช่อสะอาด โดยมีฐานความคิดและมีความเชื่อว่า ชุมชนในตำบลจะมีความซื่อสัตย์สุจริต ปราศจากการโกงทุกรูปแบบได้ ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถแก้ไขปัญหาภายในได้นั้น ต้องมีรากฐานของบ้านที่แข็งแรง เป็นฐานสำหรับตั้ง 4 เสาแห่งหลักภาวนา 4 (PrayudhPayutto, 2013) หรือยุทธศาสตร์ 4 อย่าง ประกอบด้วย เสากายสะอาด (ภาวิตกายะ) เสาพฤติกรรมสะอาด (ภาวิตสีละ) เสาจิตใจสะอาด (ภาวิตจิตตะ) และเสาปัญญาสะอาด (ภาวิตปัญญา) เป็นเสาค้ำจุนรองรับคาน คือวัด และหลังคาทรงไทย คือ บ้านและโรงเรียน ซึ่งทั้ง 3 สถาบัน เป็นสถาบันหลักแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนวัฒนธรรมไทย แสดงความสัมพันธ์และความกลมเกลียวระหว่างกันโดยไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้ 

รูปที่ 1 ปรัชญาและแนวพัฒนาโครงการช่อสะอาด

(Phramaha Hansa Dhammahaso, 2015)


ขั้นตอนการวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาตำบลช่อสะอาด

จากการลงพื้นที่จริงพบว่าผู้นำชุมชนตำบลสวายมีความรู้และความเข้าใจโครงการช่อสะอาดเป็น
อย่างดีเนื่องจากมีการติดตามโครงการหมู่บ้านช่อสะอาดของบ้านท่าคอยนางและเห็นพัฒนาการของโครงการตั้งแต่แรกเริ่มจนเห็นผลสัมฤทธิ์ในปัจจุบันผู้นำชุมชนในหมู่บ้านอื่นๆ ของตำบลสวายมีความคาดหวังว่าหมู่บ้านของตนเองจะสามารถเข้าร่วมโครงการเป็นหมู่บ้านช่อสะอาดหรือมีส่วนร่วมในการพัฒนาตำบลให้กลายเป็นตำบลช่อสะอาดจากฐานความรู้ดังกล่าวทำให้กลุ่มนิสิตที่ลงพื้นที่ลงไปวิเคราะห์และสำรวจความต้องการของแต่ละหมู่บ้านเริ่มต้นจากการพูดคุยการแสวงหาทางเลือกตั้งแต่ระดับหมู่บ้านโดยมีขั้นตอนการลงพื้นที่ดังนี้ 

  1. เริ่มต้นจากการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและระดมความคิดครบองค์ประกอบตามแนวคิดแบบ “บวร” คือ บ้าน วัด โรงเรียน จึงประกอบด้วยตัวแทน คือ ตัวแทนชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล พระสงฆ์ และครูอาจารย์ในพื้นที่ (Ministry of Culture, 2016)

  2. นำหลักการวิเคราะห์ SWOT Analysis เป็นเครื่องมือวิเคราะห์หาจุดแข็ง (S) จุดอ่อน (W) โอกาส (O) และภัยคุกคาม (T) ของแต่ละหมู่บ้าน หาจุดร่วมที่สามารถพัฒนาต่อยอดหรือป้องกันมิให้เกิดความไม่คุ้มค่าในการดำเนินโครงการ

  3. จัดทำประชามติ (Public Hearing)เพื่อขอความเห็นในการยอมรับในชุมชนเพื่อเข้าร่วมโครงการตำบลช่อสะอาด

  4. นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของแต่ละหมู่บ้านในการพัฒนาต่อยอดเป็นตำบลช่อสะอาดมาเขียนโครงการของบประมาณเพื่อจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของชุมชน

  5. สร้างกิจกรรมตามที่เสนอโครงการ เก็บข้อมูล และประเมินผล

ปัญหาและความต้องการของชุมชนตำบลสวาย 

ผลจากการลงพื้นที่พบปะกับตัวแทนชุมชนมีมติสอดคล้องกันว่าต้องการดำเนินโครงการตำบลช่อสะอาด ไม่มีเสียงคัดค้านจากหมู่บ้านใดเลย แต่ละหมู่บ้านมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันฉันท์เครือญาติ สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีความคล้ายคลึงกัน ปัจจัยทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไม่มีข้อแตกต่างกัน โดยเฉพาะความเป็นพหุวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน มีภาษาท้องถิ่นที่ต่างกันแต่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยภาษาอีสานอันเป็นภาษาสื่อกลางสำหรับท้องถิ่นในการสื่อสารนอกเหนือจากภาษาทางราชการ สภาพปัญหาที่ต้องการให้โครงการตำบลช่อสะอาดเข้ามามีส่วนแก้ไขดูแล จึงมีความต้องการไม่แตกต่างกันมาก ดังสรุปเป็นประเด็นปัญหาร่วมกันได้ดังนี้ 


  1. ปัญหาที่ดินที่ทำกินและความแห้งแล้ง 

  2. ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค

  3. ปัญหาด้านสาธารณูปโภค โดยเฉพาะถนนหนทางเข้าหมู่บ้าน

  4. ปัญหาจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น คนวัยทำงานไปทำงานต่างถิ่น

  5. ปัญหาการขาดการส่งเสริมอาชีพและรายได้

  6. ปัญหาการขาดผู้มีความรู้ทางด้านอินเตอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมการใช้ Internet ชุมชนเพื่อการค้าขาย

สินค้าออนไลน์ 

  1. ปัญหายาเสพติดของกลุ่มวัยรุ่น

  2. ปัญหาความไม่ต่อเนื่องของโครงการจากภาครัฐ 


จากข้อสรุปปัญหาที่ชุมชนต้องการให้โครงการตำบลช่อสะอาดเข้ามาช่วยดำเนินการแก้ไข และหวังว่าโครงการจะหาทางออกที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อชุมชน อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของชุมชนไม่ได้มองว่าปัญหาทั้งหมดเป็นอุปสรรคในการพัฒนาและต่อยอดหรือหวังเพียงต้องการความช่วยเหลือเพียงฝ่ายเดียว ในกรณีของ Internet ชุมชน ตัวแทนชุมชนกล่าวว่า ได้เข้ารับการฝึกอบรมการใช้ Internet และ e-Commerce จากหน่วยงานของภาครัฐ ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการนำความรู้ที่ได้รับการอมรมนั้นมาขยายผลและถ่ายทอดสู่ชุมชน จึงทำให้ขาดผลประโยชน์ที่ควรจะงอกเงยในจุดนี้ จึงต้องการให้โครงการตำบลช่อสะอาดหาบุคลากรช่วยเหลือและให้ความรู้ที่ถูกต้อง เป็นต้น 

กระบวนการการเข้าถึงปัญหาที่แท้จริงของการลงพื้นที่ คือ กระบวนการพูดคุยและเข้าไปคลุกคลีเสมือนเป็นคนในชุมชนที่มีความปรารถนาดี เอื้ออาทรและมีความตั้งใจอยากจะแก้ไขปัญหาที่แท้จริงให้กับชุมชน การทำตัวไม่ห่างเหินหรือแบ่งแยกของกลุ่มนิสิตกับชุนชม การใช้ภาษาท้องถิ่น การเดินตามพระสงฆ์ออกบิณฑบาตรตอนเช้า จึงเป็นการเข้าถึงและเห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนเชิงประจักษ์ได้อีกทางหนึ่ง (SinehaWangkahad, 2009)


สรุปและข้อเสนอแนะ

  1. โครงการตำบลช่อสะอาดเป็นโครงการต่อยอดจากโครงการหมู่บ้านช่อสะอาด โดยมีหมู่บ้านท่าคอยนางเป็นต้นแบบ จากการพบปะและเสียงมติส่วนใหญ่ของตัวแทนชุมชนต้องให้เกิดโครงการตำบลช่อสะอาดขึ้นในตำบลสวาย เพื่อจะเป็นตำบลช่อสะอาดต้นแบบแห่งแรกของประเทศ ซึ่งการพัฒนาท้องถิ่นดังเช่นตำบลสวายถือเป็นหัวใจสำคัญและเป็นกลไกลเพื่อพัฒนาหน่วยการปกครองที่เล็กที่สุดกล่าวคือ เริ่มจากหมู่บ้านไปสู่ตำบลเป็นที่ทราบกันดีกว่าการปกครองหรือการบริหารดูแลหมู่บ้านตามวัฒนธรรมไทยชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นๆมิใช่เป็นคนที่มีความสัมพันธ์ห่างเหินกันแต่อย่างใดแต่เป็นความสัมพันธ์แบบเครือญาติที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันเป็นทุนเดิมจึงเกิดความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและความสมัครสมานสามัคคีในกิจการของหมู่บ้านกลไกลการปกครองและการจัดการความสุขสงบของหมู่บ้านตามความคิดแบบบวรและหลักภาวนา 4 จึงเป็นแนวความคิดที่ฝังรากลึกอยู่ในก้นบึ้งของความเป็นคนไทยอย่างแยกออกมิได้ความคิดความรู้สึกแบบบวรจึงเสมือนลมหายใจเพื่อดำรงจิตวิญญาณและความสุขสงบของคนไทย หากได้นำแนวทางนี้มาต่อยอดขยายผลอย่างมีประสิทธิผลย่อมทำให้ตำบลสวายกลายเป็นตำบลช่อสะอาดในอุดมคติในที่สุด ทั้งนี้ โครงการจะต้องได้รับฉันทามติจากชุมชนเสียก่อนว่าต้องการให้เกิดตำบลช่อสะอาด ซึ่งมติของชาวตำบลสวาย คือ เห็นชอบด้วยในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาตำบลช่อสะอาด

  2. ควรมีการเก็บข้อมูลเชิงสถิติควบคู่กับการศึกษาเชิงคุณภาพ เช่น หลังจากดำเนินโครงการช่อสะอาดไปแล้วชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ จำนวนการลักขโมยหรือการทำผิดกฎหมายลดลงหรือไม่เป็นจำนวนกี่คดี เป็นต้น เพื่อให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณใช้ศึกษาต่อไป 


กิตติกรรมประกาศ

การลงศึกษาพื้นที่เพื่อให้ได้ข้อมูลในครั้งนี้ กลุ่มนิสิตขอกราบขอบพระคุณพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร., ในฐานะที่พระอาจารย์เป็นที่ปรึกษาที่ให้คำแนะนำและชี้แนะแนวทางการนำกระบวนการพุทธสันติวิธีลงมาปรับประยุกต์ใช้จริงและท่านอาจารย์ ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ ที่กรุณาให้คำปรึกษาและแนะนำในการลงพื้นที่ ขอขอบพระคุณตัวแทนชุมชนตำบลสวายทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ครูอาจารย์ พระสงฆ์ เจ้าหน้าที่รัฐทุกผ่ายที่เกี่ยวข้องและชาวบ้านในพื้นที่ที่ให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกและให้การดูแลประสานงานเป็นอย่างดีระหว่างลงพื้นที่จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสนับสนุนการเกิดโครงการตำบลช่อสะอาดต้นแบบ ณ ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษได้ ในโอกาสอันใกล้นี้ 


References 

Ban Muang. (2018). Chorsaard ordain as aSāmaera for 70,000 villages. Retrieved May 12, 

2018, from http://www.banmuang.co.th/news/education/107353.

Peace Studies. (2017).Peace Studies Curriculum. Retrieved May 12, 2018, from 

http://www.ps.mcu.ac.th/?p=166.

Phramaha Hansa Dhammahaso. (2015). From five precepts villages to Chorsaard Villages

Retrieved May 12, 2018, from http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?

article_id=2042&articlegroup_id=330.

PrayudhPayutto. (2013). Dhamma and life development. Retrieved May 12, 2018, 

from http://www.med.cmu.ac.th/secret/meded/AOMJAI_1/KMธรรมกับการเรียนการสอน.pdf.

Ministry of Culture. (2016). Borvorn (Home,Temple and School). Retrieved May 12, 2018, 

from https://www.m-culture.go.th/provincenetwork/article_attach/article_fileattach_

20161123090310.pdf

SinehaWangkahad. (2009). Multilingualism in Ban Tha Koi NgangPrang Ku District, Srisaket

Province. Retrieved May 12, 2018, from http://digi.library.tu.ac.th/thesis/lib/0568/15บทที่7.pdf.

The National Anti-Corruption Commission is a constitutional organization of Thailand. (2017). 

Anti-Corruption Master Plan 20 Years. Retrieved May 12, 2018, from

http://anticorruption.mot.go.th/mot-api/09-anti-web/upload/download//649427_2.

แผนแม่บท%20บูรณาการป้องกัน%20ปราบปรามฯ%20ระยะ%2020%20ปี%20(พ.ศ.%

202560%20-%202579).pdf.


บทความนี้เขียนจากการลงพื้นที่จริงของกลุ่มนิสิต ปริญญาเอก สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดังรายชื่อต่อไปนี้
คุณดวงจันทร์ บุญรอดชู คุณณัฐพล จารัตน์ คุณนภษร รัตนนันทชัย คุณมธประจักษ์ เติมกิจขจรสุข และคุณสุริยันต์ จันทร์ศิริ



Wednesday, January 8, 2020

หัวหน้าโกรธได้ แต่ผู้นำโกรธไม่ได้หรือ : ボスは怒られるけれど、リーダーは怒られない?

นี่เป็นคำถามที่หลายท่าน สงสัยมากว่า ความโกรธ อารมณ์โกรธ หรือการโมโห
これ問題「怒ること、怒る気持ち」について、疑問している人は多いそうです。
หัวหน้าสามารถแสดงอารมณ์โกรธได้ แต่ผู้นำไม่สามารถแสดงความโกรธได้ นั้นจริงหรือไม่ 
『ボスは怒る気持ちの表すことがでできるれど、リーダーはできないことは本当でしょう?』


ไม่ว่า ผู้นำ หรือ หัวหน้า ต่างเป็นมนุษย์ธรรมดาที่มีความโกรธ
อันเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ 
ボスでも、リーダーでも、一般人と皆さんよく知られて、怒ることは人間の基本感情と言われる。

หัวหน้า แสดงความโกรธได้ แสดงความไม่พึงพอใจได้ 
ボスはもちろん怒られる、不満できない気持ちは表すこともできる。

ผู้นำ แสดงความโกรธได้ แสดงความไม่พึงพอใจได้เช่นกัน 
リーダーももちろん怒られる、不満できない気持ちも表すこともできる。

แต่สิ่งที่ต่างกัน คือ การแสดงออกของอารมณ์โกรธ และการยับยั้งความโกรธ
でも、違いは怒る感情の表すことと、お怒ることを停止することができることだ。

โดยให้เหตุผลมาก่อนความโกรธ 
怒る前は、理由とサッキ考えよう。

ผู้นำ ต้องมีความเยือกเย็น สุขุม และนิ่งเมื่ออยู่ในสภาวะโกรธ
リーターは大人しやかだので、怒る際に、穏やかさと強さは、気づくところとなった。

โดยใช้หลักแห่งเหตุผลเข้ามาบรรเทา หรือไม่ตอบโต้ใด ๆ
理由を使用して、争わない。

ใช้ความนิ่งสยบความเคลื่อนไหวของความโกรธ
プレッシャーがあっても冷静である。

หัวหน้า อาจจะไม่สนใจที่จะระงับความโกรธ อาจแสดงออกทางสีหน้า
ボスは怒ることを止まることの気にしない。怒る顔色を出す。

จบ
終わり

#Leadership : เรียนเก่ง การศึกษาดีใช่ว่าจะเป็นผู้นำที่เก่ง


ความสามารถในการเรียน ในมุมมองของโลกตะวันออก ต้องเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราคิดว่า คนที่เรียนเก่งจะต้องเก่งไปทุกเรื่อง 

การเรียนได้เกรดเฉลี่ยสูง ได้รับรางวัลเรียน หรือจบการศึกษาได้รับเกียรตินิยม สามารถการันตีได้เชียวหรือในเชิงผู้นำ ว่ามีความเป็นผู้นำ

แน่นอนว่า การเรียนจนได้ผลการเรียนดี ย่อมมาจาก ผู้นั้นมีความขยัน อ่านหนังสือ ทำงานส่งมีคุณภาพ ส่งการบ้านตรงเวลา และมีความรับผิดชอบในการเรียนเป็นเยี่ยม ผู้นี้น่าจะเป็นผู้นำที่เก่ง
บางท่านเรียนปานกลาง ชอบทำกิจกรรมมากกว่าเรียน ทำงานและการบ้านส่งได้บ้างถึงจะไม่ดีนัก เลิกเรียนออกไปทำงานพิเศษหารายได้มาเป็นค่าเล่าเรียน หรือเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว โดนไม่รบกวนพ่อแม่ แสดงว่ามีความรับผิดชอบ คนอย่างนี้ก็น่าจะเป็นผู้นำที่ดีได้เช่นกัน

บางท่านไม่จบการศึกษาในระดับปริญญา แต่สามารถทำธุรกิจจนร่ำรวย มีลูกน้องที่ต้องดูแลนับร้อย อย่างนี้ก็เป็นผู้นำได้เช่นกัน

ระดับการศึกษา วุฒิการศึกษา เปรียบเสมือเสื้อผ้าที่ตกแต่งร่างกาย เมื่อเปลื้องผ้าออก ไม่ว่าเรียนเก่ง เรียนอ่อน การศึกษาดี หรือไม่มีการศึกษา ก็ล่อนจ้อนเหมือนกัน 
หัวหน้าชอบอวดใบประกาศณียบัตร ใบปริญญา หรือรางวัลมากมายให้คนอื่นได้เห็นกันทั่ว ด้วยความภูมิใจ 

ผู้นำ อาจมีการโอ้อวดสิ่งเหล่านี้บ้าง แต่เขาเลือกว่าเขาควรจะให้ใครดู และผู้นำจะทำให้ประจักษ์ ด้วยผลงานมากกว่าจะให้เพียงกระดาษที่บันทึกผลการเรียนเป็นตัวบอก

ผู้นำประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดความเก่งในการทำงานเพื่อประโยชน์ด้วยรวม
หัวหน้าแสดงความเก่งด้วยโอ้อวดผลการเรียนที่ดีเลิศเพื่อทำให้ตนเองดูมีราคามากกว่าคนอื่น

คงต้องแสดงให้เห็นว่าท่านต้องการแสดงบทบาทดเช่นไรในองค์กร

ขอบคุณที่แชร์ความคิดร่วมกันนะครับ
ณัฐพล จารัตน์


Tuesday, January 7, 2020

ผู้นำกับหัวหน้าแยกแยะอย่างไร Separate A Leader From A Boss

ท่านเชื่อไหมว่า การเป็นหัวหน้าที่ยากเเล้วแต่การเป็นผู้นำนี่ยากเสียยิ่งกว่า 
ผู้นำสามารถเป็นหัวหน้าได้ ในขณะที่หัวหน้าทุกคนเป็นผู้นำไม่ได้


ผู้นำ มีความหมายเชิงบวกมากกว่า หัวหน้า จริงไหมครับ
หลายต่อหลายคนฝันอยากจะเป็นหัวหน้าซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดขององค์หรือในหน่วยงานที่รับผิดชอบ มากกว่าฝันที่จะเป็นผู้นำ 


แน่นอนว่าทั้งสองหน้าที่นี้มีความเหมือนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะ


"ผู้นำได้รับความเคารพยกย่องศรัทธา ในขณะที่หัวหน้าเป็นที่รังเกียจจากลูกน้อง"
"ผู้นำดูแลและบริการลูกน้องเหมือนญาติมิตร แต่หัวหน้ามักให้ลูกน้องเอาใจ"


ผู้นำปฏิบัติตนทั้งแต่หน้าและลับหลังด้วยความรู้สึกสำนึกถึงความรับผิดชอบต่อทุกการกระทำไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ส่วนหัวหน้าสนใจเพียงผลลัพธ์ของการกระทำโดยไม่สนใจกระบวนของการได้มาซึ่งผลลัพธ์ ไม่สนใจว่าใครจะได้รับผลกระทบ แต่เรื่องดีขอรับหน้าไว้ก่อน


แล้วเรามีวิธีการแยกแยะความต่างระหว่างผู้นำกับหัวหน้าได้อย่างไร
ผู้เขียนมีข้อสังเกต 7 อย่างในการแยกแยะ คือ

1. ผู้นำชี้แนะมากกว่าบังคับให้ทำ
ผู้นำวางตัวเป็นกลางคอยให้คำแนะนำ ชี้แนะในการปฏิบัติงานช่วยคิดช่วยทำไปกับลูกน้อง ให้โอกาสลูกน้องทำงานตามความสามารถอย่างเต็มที่ หากลูกน้องทำไม่ได้อาจหาแนวทางว่า จะสอนให้ลูกน้องทำงานได้อย่างไรต่อองค์กร ลูกน้องไม่ชอบการบังคับ ยิ่งเด็กรุ่นใหม่หากโดนบังคับจิตใจเพียงนิดจะเเสดงการต่อต้านให้เห็นทันที ผู้นำจะมอบกรอบเวลาให้ลูกน้องทำงานโดยไม่ก้าวก่าย หัวหน้ามักชี้นิ้วเขียนกฎมาให้ทำตามโดยไม่สนใจความเป็นมนุษย์ผู้ที่จะเกิดความผิดพลาดได้ตลอดเวลา


นายพลวางแผนนำทัพออกรบ ในสนาบรบที่เหล่าทหารหาญกำลังเสียขวัญและขาดกำลังใจ ท่านจะเลือกนำทัพเองร่วมรบกับเหล่าทหาร หรือจะนั่งบัญชาการในกองทัพ 


2. ผู้นำจะฟังและพูดมากกว่าสั่ง
หัวหน้าชอบสั่งและสั่งสอนในสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ตามอำเภอใจ เพื่อให้ลูกน้องรู้สึกว่ามีฐานะตำแหน่งที่ด้อยกว่า ส่วนผู้นำใช้การฟังเพื่อรับฟังความคิดเห็นและเหตุผลของลูกน้อง อาจเสียเวลาฟังทั้งเรื่องไร้สาระหรือข้อแก้ตัว ผู้นำจะตั้งใจฟังและให้ความเคารพต่อความคิดเหล่านั้น นำความคิดเห็น ข้อวิจารณ์ต่างๆ มารับฟัง เปิดใจ ให้คำแนะนำปรึกษา เพื่อให้ลูกน้องให้ความไว้วางใจที่จะเป็นผู้ตามที่ดี


3. ผู้นำจูงใจมากกว่าทำให้หวาดกลัว
เมื่อมีการทำงานร่วมกันสักหนึ่งโปรเจ็คเพื่อเข้าประกวด ผู้นำจะพยายามเฟ้นหาคนที่เหมาะสม และกระตุ้นให้ลูกน้องอยากทำงานนี้ร่วมกัอย่างตั้งอกตั้งใจ มีเป้าหมายชัดเจน วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ เป้าหมายของงานชิ้นนี้สำหรับผู้นำคือ ความสมานสามัคคีของทีมที่ได้ร่วมกันทำงาน มีความหวังถึงชัยชนะแต่หากไม่สำเร็จก็พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าที่เกิดระหว่างการทำงาน โดยไม่ติหนิหรือโทษใคร หัวหน้ามุ่งเป้าเพื่อชัยชนะ ไม่เผื่อใจสำหรับความพ่ายแพ้ หากชนะก็รับความดีความชอบคนเดียว หากแพ้ก็โทษทีม หัวหน้ามักกระตุ้นลูกน้องด้วยการข่มขู่ ให้เกิดความกดดันเกรงกลัวต่อคำว่าพ่ายแพ้เเละชี้ให้เห็นผลลบที่จะเกิดขึ้น จึงไม่สนใจกระบวนการของการที่จะประสบความสำเร็จ


4. ผู้นำสอนและเรียนรู้มากกว่าคาดหวังและเพิกเฉย
ผู้นำที่แท้จริงเป็นบุคคลที่มีความเคารพต่อตนเองสูง ไม่โอ้อวดถือตัว ไม่รู้สึกอับอายที่จะบอกว่า "ไม่รู้" ในสิ่งที่ตนไม่รู้ พร้อมที่จะ "เรียนรู้" ไม่ว่าจะเรียนจากบุคคลที่ฐานะต่ำต้อยกว่าก็ตาม และเข้าใจดีว่า ไม่สายที่จะเรียน ผู้นำจะทุ่มเทให้ลูกน้อง พร้อมที่จะศึกษาเรียนรู้ไปกับลูกน้องเสมอ เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ 
หัวหน้ามักเพิกเฉยต่อคำวิจารณ์เชิงลบ ชอบอวดความสามารถของตนเองให้ผู้อื่นได้เห็น ชอบเฉพาะการสร้างภาพลักษณ์ที่ดูดี ทำตัวรู้ทุกเรื่อง ไม่ชอบให้ลูกน้องรู้มากกว่าตนเอง และมักไม่สนับสนุนความก้าวหน้าทางสติปัญญาแก่ลูกน้อง


5.ผู้นำมีส่วนร่วมในงานมากกว่าคอยกำกับอยู่ข้าง ๆ
ผู้นำมักนำตัวเองลงทำงานกับทีมด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรร มีห้าที่คอยแนะนำและส่งเสริมกิจกรรมของทีมให้ดำเนินได้อย่างสะดวกราบรื่น ช่วยคืด ช่วยทำ ช่วยส่งเสริม แต่หัวหน้ามักเป็นผู้ที่คอยดูอยู่ห่าง ๆ รอเพียงผลลัพธ์ของกิจกรรม ไม่ช่วยคิด ไม่ลงมือทำ และไม่คอยอำนวยความสะดวกแก่ทีม


6. ผู้นำจะติเตียนมากกว่าดุด่า
ผู้นำเป็นเหมือนมนุษย์ทั่วไปที่ต้องมีอารมณ์โกรธ เมื่อถึงคราวจำเป็นต้องติลูกน้อง ผู้นำจะไม่ดุด่าลูกน้องต่อหน้าอื่น หรือเมื่ออยู่ส่วนตัวก็ตาม ผู้นำเข้าใจดีว่าเขากำลังทำงานกับคน และไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะทำให้ขายหน้าผู้อื่น ผู้นำมีชั้นเชิงในการติเตียนโดยปราศจากความโกรธเคืองหรือความไม่ชอบใจส่วนตัว จะติเตียนเฉพาะในเรื่องงานเท่านั้น


7. ผู้นำให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์มากกว่ายึดติดกับยศตำแหน่ง
ผู้นำจะมองข้ามความเป็นชนชั้น ปฏิบัตรต่อทุกคนด้วยความเท่าเทียม ทำตัวให้ลูกน้องจับต้องได้ วิจารณ์ได้เพราะเข้าใจดีว่ามนุษย์มีความรู้สึกชอบ  ไม่ชอบ พอใจ ไม่พอใจเป็นเรื่องปกติธรรมดา ผู้นำสามารถยกมือไหว้ผู้อาวุโสกว่า หรือยกมือไหว้ผู้อื่นก่อนโดยไม่คำนึงว่าเขาจะตำแหน่งอะไร ไม่ชอบขี้หน้า หรือเป็นศัตรูคู่แข่ง ซึ่งผู้นำกลับจะได้ความยำเกรงเป็นการตอบแทน 


ผู้นำเห็นแม่บ้าน พนักงานทำความสะอาดกำลังทำกวาดพื้น ผู้นำจะรีบกล่าวทักทายมากกว่าจะจดจ้องชี้จุดที่แม่บ้านยังไม่กวาด หรือจะคอยจับผิดว่าแม่บ้านทำความสะอาดไม่ดี


ทั้งหมดเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนจากประสบการณ์จริงและได้ศึกษาค้นคว้า อาจจะไม่ตรงใจผู้อ่านทุกข้อ แต่หวังว่าจะเป็นแนวทางเล็กเพื่อสังเกตว่า หัวหน้าของคุณเป็นผู้นำหรือไม่



อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากตรงนี้นะครับ


Monday, January 6, 2020

ความกล้าหาญกับผู้นำ

“ผู้นำ” ไม่เรียนไม่รู้